
1. This, the seventh annual World Day of the Poor, is a fruitful sign of the Father’s mercy and a support for the lives of our communities. As its celebration becomes more and more rooted in the pastoral life of the Church, it enables us to discover ever anew the heart of the Gospel. Our daily efforts to welcome the poor are still not enough. A great river of poverty is traversing our cities and swelling to the point of overflowing; it seems to overwhelm us, so great are the needs of our brothers and sisters who plead for our help, support and solidarity. For this reason, on the Sunday before the Solemnity of Jesus Christ King of the Universe, we gather around his Table to receive from him once more the gift and strength to live lives of poverty and to serve the poor.
1. วันคนยากจนสากล ซึ่งปีนี้เป็นครั้งที่ 7 เป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของพระเมตตาจากพระเจ้าพระบิดาที่ได้ทำให้เกิดผลอันอุดม และยังเป็นสิ่งที่เกื้อหนุนให้ประชาคมต่าง ๆ ของเราทั้งหลายได้มีชีวิตชีวา เมื่อการระลึกถึงวันคนยากจนสากลนี้ได้หยั่งรากมั่นคงขึ้นเรื่อย ๆ ภายในชีวิตการอภิบาลของพระศาสนจักร ก็จะทำให้เราทั้งหลายสามารถค้นพบอีกครั้งถึงหัวใจของพระวรสาร ลำพังความพยายามของเราทั้งหลายในแต่ละวันเพื่อต้อนรับคนจนนั้นยังไม่เพียงพอ กระแสน้ำยิ่งใหญ่แห่งความยากจนกำลังไหลหลากผ่านเมืองต่าง ๆ ของเรา และเอ่อท่วมมากขึ้นจนแทบจะล้นตลิ่ง เราทั้งหลายอาจรู้สึกว่า ความขาดแคลนของบรรดาพี่น้องของเราที่ร้องหาความช่วยเหลือ การสนับสนุน และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีมากมายเกินกว่าที่เราจะรับไหว ด้วยเหตุนี้ ในวันนี้ซึ่งเป็นวันอาทิตย์สุดท้ายก่อนถึงการสมโภชพระเยซูคริสตเจ้า ราชาแห่งสากลจักรวาล เราจึงมารวมตัวกันรอบโต๊ะอาหารของพระองค์ เพื่อที่จะเราจะได้รับของขวัญและพละกำลังกันอีกครั้ง สำหรับการที่เราจะมีชีวิตอย่างยากจน และสำหรับการที่เราจะรับใช้คนยากจน
“Do not turn your face away from anyone who is poor” (Tob 4:7). These words help us to understand the essence of our witness. By reflecting on the Book of Tobit, a little-known text of the Old Testament, yet one that is charming and full of wisdom, we can better appreciate the message the sacred writer wished to communicate. We find ourselves before a scene of family life: a father, Tobit, embraces his son, Tobias, who is about to set out on a lengthy journey. The elderly Tobit fears that he will never again see his son, and so leaves him his “spiritual testament”. Tobit had been deported to Nineveh and is now blind, and thus doubly poor. At the same time, he remains always certain of one thing, expressed by his very name: “The Lord has been my good”. As a God-fearing man and a good father, he wants to leave his son not simply material riches, but the witness of the right path to follow in life. So he tells him: “Revere the Lord all your days, my son, and refuse to sin or to transgress his commandments. Live uprightly all the days of your life, and do not walk in the ways of wrongdoing” (4:5).
“อย่าเบือนหน้าจากใครก็ตามที่เป็นคนยากจน” (ทบต. 4,7) คำพูดนี้ช่วยให้เราเข้าใจถึงสาระสำคัญแห่งการเป็นพยานของเราทั้งหลาย หากเราไตร่ตรองพิจารณาหนังสือโทบิต ซึ่งเป็นหนังสือหนึ่งที่ไม่เป็นที่รู้จักมากนักในพันธสัญญาเดิม แต่มีเสน่ห์น่ารักและเปี่ยมไปด้วยปรีชาญาณ ก็จะช่วยให้เรารู้ถึงคุณค่าของข้อความที่ผู้รจนาพระคัมภีร์ต้องการสื่อ เราเห็นว่าตนเองได้มาอยู่ต่อหน้าเหตุการณ์อันนี้ซึ่งเป็นชีวิตครอบครัว โทบิตผู้เป็นบิดา กำลังสวมกอดโทบียาห์ผู้เป็นบุตรชายซึ่งกำลังจะออกเดินทางไกล บิดาผู้สูงวัยกลัวว่าตนเองจะไม่ได้เห็นลูกอีก จึงได้มอบ “พินัยกรรมฝ่ายจิต” ให้แก่โทบียาห์ โทบิตเป็นหนึ่งในผู้ที่ถูกกวาดต้อนมาที่นครนีนะเวห์ และตอนนี้ตาบอดมองไม่เห็น จึงเรียกได้ว่าเขาเป็นคนยากจนที่ตกทุกข์ได้ยากถึงสองชั้น แต่ในขณะเดียวกันเขายังคงมั่นใจในสิ่งหนึ่งซึ่งแสดงออกผ่านทางชื่อของเขาว่า “พระเจ้าเป็นสมบัติของข้าพเจ้า” ในฐานะที่โทบิตเป็นผู้ที่ยำเกรงพระเจ้าและเป็นบิดาที่ดี นอกจากเขาจะต้องการให้ลูกของตนได้รับตกทอดทรัพย์สมบัติในทางวัตถุแล้ว เขายังอยากให้ลูกได้รับคำพูดที่เป็นพยานถึงหนทางที่ถูกต้องในการดำเนินชีวิต เขาจึงบอกกับลูกว่า “ลูกเอ๋ย จงระลึกถึงองค์พระผู้เป็นเจ้าทุกวันตลอดชีวิตของลูก อย่าจงใจทำบาปหรือละเมิดบทบัญญัติของพระองค์เลย จงทำความดีทุกวันตลอดชีวิต อย่าดำเนินตามหนทางที่ไม่ถูกต้อง” (ทบต. 4,5)
2. We see immediately that what the elderly Tobit asks of his son is not simply to think of God and to call upon him in prayer. He speaks of making concrete gestures, carrying out good works and practising justice. He goes on to state this even more clearly: “To all those who practice righteousness give alms from your possessions, and do not let your eye begrudge the gift when you make it” (4:7).
2. เราทั้งหลายต่างเห็นได้ในทันทีว่า สิ่งที่โทบิตผู้แก่ชราร้องขอต่อลูกชายของเขา ไม่ได้มีเพียงการให้เขาคิดถึงพระเจ้าและร้องหาพระองค์ในการอธิษฐานภาวนาเท่านั้น แต่เขายังพูดถึงการแสดงออกอย่างเป็นรูปธรรมด้วยการกระทำกิจการดี และการทำตนอย่างชอบธรรม เขาได้พูดต่อไปอย่างชัดเจนยิ่งขึ้นอีกว่า “จงแบ่งทรัพย์สมบัติของลูกส่วนหนึ่งไว้ทำทาน อย่าเสียดายสิ่งที่ลูกให้เป็นทาน” (ทบต. 4,7)
The words of this wise old man make us think. We are reminded that Tobit had lost his sight after having performed a work of mercy. As he himself tells us, from youth he had devoted his life to works of charity: “I performed many acts of charity for my kindred and my people who had gone with me in exile to Nineveh in the land of the Assyrians… I would give my food to the hungry and my clothing to the naked; and if I saw the dead body of any of my people thrown out behind the wall of Nineveh, I would bury it” (1:3.17).
คำพูดของผู้เฒ่าผู้เปี่ยมด้วยปรีชาญาณเช่นนี้เป็นสิ่งที่ทำให้เราคิด คำพูดนี้ทำให้เราทั้งหลายนึกถึงเรื่องที่ว่า โทบิตกลายเป็นคนมองไม่เห็นหลังจากที่เขาได้ทำกิจเมตตา โทบิตเองได้เคยบอกกับเราทั้งหลายว่า เขาได้อุทิศชีวิตของตนเพื่อทำกิจเมตตามาตั้งแต่อายุยังน้อย “ข้าพเจ้าให้ทานมากมายแก่พี่น้องและเพื่อนร่วมชาติที่ถูกเนรเทศพร้อมกับข้าพเจ้าไปยังนครนีนะเวห์ ในแผ่นดินอัสซีเรีย […] ข้าพเจ้าให้ขนมปังแก่ผู้หิวโหยและให้เสื้อผ้าแก่ผู้ที่ไม่มีเสื้อผ้าสวมใส่ ถ้าข้าพเจ้าเห็นศพของเพื่อนร่วมชาติที่ถูกฆ่าและถูกโยนทิ้งไว้นอกกำแพงเมืองนีนะเวห์ ข้าพเจ้าก็นำไปฝัง” (ทบต. 1,3, 1,17)
For this act of charity, the king had deprived him of all his goods and reduced him to utter poverty. Still, the Lord had need of Tobit; once he regained his post as an official, he courageously continued to do as he had done. Let us hear his tale, which can also speak to us today. “At our festival of Pentecost, which is the sacred festival of weeks, a good dinner was prepared for me and I reclined to it. When the table was set for me and an abundance of food was placed before me, I said to my son Tobias, ‘Go, my child, and bring whatever poor person you may find of our people among the exiles of Nineveh, who is wholeheartedly mindful of God, and he shall eat together with me. I will wait for you, until you come back’” (2:1-2). How meaningful it would be if, on the Day of the Poor, this concern of Tobit were also our own! If we were to invite someone to share our Sunday dinner, after sharing in the Eucharistic table, the Eucharist we celebrate would truly become a mark of communion. If it is true that around the altar of the Lord we are conscious that we are all brothers and sisters, how much more visible would our fraternity be, if we shared our festive meal with those who are in need!
การที่โทบิตได้ทำกิจเมตตาเช่นนี้เป็นเหตุให้พระราชาริบเอาทรัพย์สินทั้งหมดของโทบิตไป ทำให้เขากลายเป็นคนยากจนแร้นแค้นอย่างถึงที่สุด อย่างไรก็ตาม พระเจ้าทรงมีแผนการสำหรับโทบิต และหลังจากที่เขาได้กลับสู่ตำแหน่งราชการ เขาก็ยังคงปฏิบัติเช่นเดิมต่อไปอย่างกล้าหาญ ให้เราไปฟังเรื่องราวของโทบิตที่ยังคงเป็นสิ่งที่ย้ำเตือนเราทั้งหลายในปัจจุบันว่า “ในวันฉลองเปนเตกอสเตหรือวันฉลองสัปดาห์ เขาเตรียมอาหารอย่างดีไว้ให้ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าก็มานั่งที่โต๊ะ ซึ่งมีอาหารหลายอย่าง ข้าพเจ้าพูดกับโทบียาห์บุตรของข้าพเจ้าว่า ‘ลูกเอ๋ย จงออกไปเถิด ถ้าพบคนยากจนที่ระลึกถึงองค์พระผู้เป็นเจ้าสุดจิตใจในหมู่พี่น้องของเราที่ถูกเนรเทศมายังกรุงนีนะเวห์ด้วยกัน ก็จงนำเขามาร่วมโต๊ะกินอาหารกับเรา พ่อจะรอจนกว่าลูกจะกลับมา’” (ทบต. 2,1-2) ในวันนี้ซึ่งเป็นวันแห่งคนยากจน ให้เราทั้งหลายลองคิดดูว่า จะเป็นการดีแค่ไหนหากสิ่งที่โทบิตให้ความสำคัญอันนี้ ได้กลายมาเป็นสิ่งที่เราทั้งหลายให้ความสำคัญด้วยเช่นกัน การที่เราทั้งหลายต่างร่วมเฉลิมฉลองในพิธีบูชาขอบพระคุณ ย่อมจะกลายมาเป็นสัญลักษณ์บ่งบอกถึงความสนิทสัมพันธ์ได้อย่างแท้จริง หากว่าเราสามารถเชิญให้ใครสักคนมาร่วมโต๊ะอาหารเย็นวันอาทิตย์ หลังจากที่เราทั้งหลายได้ร่วมกันกินดื่มจากโต๊ะอาหารในพิธีบูชาขอบพระคุณแล้ว เราทั้งหลายต่างรู้ตัวว่าทุกคนเป็นพี่น้องกันเมื่อตอนที่เรามาล้อมรอบพระแท่น แต่ให้เราลองคิดดูว่า หากว่าเรานำมื้ออาหารแห่งการเฉลิมฉลองไปแบ่งปันกับคนยากไร้ แล้วจะทำให้ความเป็นพี่น้องกันของเราทั้งหลายปรากฏให้เห็นจริงมากขึ้นอีกแค่ไหน
Tobias did as his father told him, but he returned with the news that a poor man had been murdered and thrown into the market place. Without hesitating, the elderly Tobit got up from the table and went to bury that man. Returning home exhausted, he fell asleep in the courtyard; some bird droppings fell on his eyes and he became blind (cf. 2:1-10). An irony of fate: no good deed goes unpunished! That is what we are tempted to think, but faith teaches us to go more deeply. The blindness of Tobit was to become his strength, enabling him to recognize even more clearly the many forms of poverty all around him. In due time, the Lord would give him back his sight and the joy of once more seeing his son Tobias. When that day came, we are told, “Tobit saw his son and threw his arms around him, and he wept and said to him, ‘I see you, my son, the light of my eyes!’ Then he said, ‘Blessed be God, and blessed be his great name, and blessed be all his holy angels. May his holy name be blessed throughout all the ages. Though he afflicted me, he has had mercy upon me. Now I see my son Tobias’” (11:13-14).
โทบียาห์ได้ทำตามที่บิดาบอก แต่เขากลับมาหาบิดาพร้อมกับข่าวที่ว่า ชายผู้ยากจนคนหนึ่งถูกฆ่าและโยนทิ้งไว้ที่ตลาด โทบิตได้ฟังแล้วก็ลุกขึ้นออกจากโต๊ะอาหารและไปฝังศพชายดังกล่าว แม้ว่าเขาจะอายุมากแล้ว แต่เขาได้ทำเช่นนี้อย่างไม่ลังเล ทว่าเมื่อเขากลับมาบ้านและนอนหลับที่กลางลานบ้านด้วยความเหน็ดเหนื่อย ก็ปรากฏว่ามีมูลนกตกลงมาเข้าตาของเขา ทำให้ตามองไม่เห็น (เทียบ ทบต. 2,1-10) เรื่องนี้อาจชักจูงให้เราหลงคิดไปว่า ช่างเป็นเรื่องโชคชะตากลั่นแกล้ง เพราะคนที่ทำดีกลับต้องเจอกับการลงโทษ แต่ความเชื่อของเราทั้งหลายสอนให้เราทั้งหลายคิดไตร่ตรองอย่างลึกซึ้งกว่านั้นว่า ในเวลาต่อมา การที่โทบิตมองไม่เห็นได้กลายเป็นความแข็งแกร่งอย่างหนึ่งของเขา สิ่งนี้ทำให้เขาได้รู้ชัดเจนยิ่งขึ้นถึงความยากจนรูปแบบต่าง ๆ มากมายที่อยู่รอบตัว และเมื่อถึงเวลาที่สมควร องค์พระผู้เป็นเจ้าก็ได้ทำให้สายตาของโทบิตกลับคืนมา และทำให้เขาได้รับความปิติยินดีจากการได้เห็นหน้าโทบียาห์ผู้เป็นบุตรชายอีกครั้ง พระคัมภีร์ได้เล่าให้เราฟังว่า เมื่อถึงเวลานั้น “โทบิตเข้าสวมกอดบุตรชายและร้องไห้ พูดว่า ‘ลูกเอ๋ย ลูกเป็นแสงสว่างของดวงตาของพ่อ พ่อมองเห็นลูกแล้ว’ แล้วเขาพูดต่อไปว่า ‘ขอถวายพระพรแด่พระเจ้า ขอถวายพระพรแด่พระนามยิ่งใหญ่ของพระองค์ ขอถวายพระพรแด่ทูตสวรรค์ศักดิ์สิทธิ์ทุกองค์ของพระองค์ ขอพระนามยิ่งใหญ่ของพระองค์พิทักษ์รักษาเราไว้ตลอดกาล ขอถวายพระพรแด่ทูตสวรรค์ทุกองค์ของพระองค์ตลอดไป เพราะแม้พระองค์ทรงทำให้ข้าพเจ้าต้องเจ็บป่วย แต่แล้วก็ทรงพระกรุณาต่อข้าพเจ้า บัดนี้ ข้าพเจ้าแลเห็นโทบียาห์บุตรของข้าพเจ้าแล้ว’” (ทบต. 11,13-14)
3. We may well ask where Tobit found the courage and the inner strength that enabled him to serve God in the midst of a pagan people and to love his neighbour so greatly that he risked his own life. That of Tobit is a remarkable story: a faithful husband and a caring father, he was deported far from his native land, where he suffered unjustly, persecuted by the king and mistreated by his neighbours. Despite being such a good man, he was put to the test. As sacred Scripture often teaches us, God does not spare trials to those who are righteous. Why? It is not to disgrace us, but to strengthen our faith in him.
3. เราอาจสงสัยว่า โทบิตได้รับความกล้าหาญและความแข็งแกร่งภายในเช่นนี้มาจากไหน เขาจึงสามารถรับใช้พระเจ้าได้ท่ามกลางคนนอกศาสนา และรักเพื่อนบ้านได้อย่างมากมายจนถึงขนาดยอมเสี่ยงชีวิตตนเอง เรื่องราวของโทบิตเป็นเรื่องสำคัญน่าประทับใจ เขาเป็นสามีที่ซื่อสัตย์และเป็นบิดาที่ดูแลบุตรอย่างดี เขาถูกกวาดต้อนไปยังที่ห่างไกลจากบ้านเกิด เขาต้องทุกข์ทรมานอย่างไม่เป็นธรรมที่นั่น เขาถูกพระราชาเบียดเบียน และถูกเพื่อนบ้านรังแก เขาเป็นคนดี แต่เขาถูกทดลอง พระคัมภีร์สอนเราบ่อยครั้งว่าพระเจ้ามิได้ละเว้นผู้ชอบธรรมให้เขาไม่ต้องพบกับการทดลอง สิ่งนี้เป็นเพราะอะไร [พระองค์ทำเช่นนี้]ไม่ใช่เพื่อทำให้เราต้องเสื่อมเสียหรืออับอาย แต่เป็นการกระทำเพื่อให้ความเชื่อของเราที่มีต่อพระองค์แข็งแกร่งยิ่งขึ้น
Tobit, in his time of trial, discovers his own poverty, which enables him to recognize others who are poor. He is faithful to God’s law and keeps the commandments, but for him this is not enough. He can show practical concern for the poor because he has personally known what it is to be poor. His advice to Tobias thus becomes his true testament: “Do not turn your face away from anyone who is poor” (4:7). In a word, whenever we encounter a poor person, we cannot look away, for that would prevent us from encountering the face of the Lord Jesus. Let us carefully consider his words: “from anyone who is poor”. Everyone is our neighbour. Regardless of the colour of their skin, their social standing, the place from which they came, if I myself am poor, I can recognize my brothers or sisters in need of my help. We are called to acknowledge every poor person and every form of poverty, abandoning the indifference and the banal excuses we make to protect our illusory well-being.
ในยามที่โทบิตต้องเผชิญกับการทดลอง เขาได้ค้นพบความยากจนของตนเอง ทำให้เขามองเห็นคนยากจนคนอื่น ๆ ลำพังเพียงแค่การที่เขาซื่อสัตย์ต่อพระบัญญัติของพระเจ้าและปฏิบัติตามพระบัญญัตินั้นยังไม่เพียงพอ ในตอนนี้ เขาสามารถแสดงความห่วงใยต่อคนจนออกมาได้ในทางปฏิบัติ เพราะเขาเคยประสบกับตัวเองแล้วว่าความยากจนนั้นเป็นอย่างไร เช่นนี้แล้ว คำแนะนำของโทบิตที่ให้ไว้แก่โทบียาห์ว่า “อย่าเบือนหน้าจากใครก็ตามที่เป็นคนยากจน” (ทบต. 4,7) จึงได้กลายเป็นพินัยกรรมของโทบิตอย่างแท้จริง กล่าวคือ เมื่อใดก็ตามที่เราพบคนยากจน เราไม่อาจเบือนหน้าหนีได้ เพราะหากทำเช่นนี้ ก็อาจทำให้เราทั้งหลายไม่ได้พบเห็นพระพักตร์ของพระเยซูเจ้า ให้เราพิจารณาอย่างระมัดระวังเกี่ยวกับคำว่า “ใครก็ตามที่เป็นคนยากจน” คนทุกคนล้วนเป็นเพื่อนบ้านของเรา ไม่ว่าเขาจะมีผิวสีอะไร มีฐานะอะไรในสังคม หรือเป็นคนมาจากไหน หากเราเองเป็นคนยากจน เราก็ย่อมจะสามารถมองเห็นพี่น้องของเราที่ต้องการความช่วยเหลือ เราทั้งหลายถูกเรียกให้มองเห็นคนยากจนทุกคนและความยากจนในทุกรูปแบบ ให้เราละทิ้งความรู้สึกเมินเฉยไม่สนใจ และให้ละทิ้งข้ออ้างซ้ำซากต่าง ๆ ที่เราใช้เพื่อปกป้องภาพลวงตาของเราที่ว่ามีความอยู่ดีกินดีแล้ว ไม่มีปัญหา
4. We are living in times that are not particularly sensitive to the needs of the poor. The pressure to adopt an affluent lifestyle increases, while the voices of those dwelling in poverty tend to go unheard. We are inclined to neglect anything that varies from the model of life set before the younger generation, those who are most vulnerable to the cultural changes now taking place. We disregard anything that is unpleasant or causes suffering, and exalt physical qualities as if they were the primary goal in life. Virtual reality is overtaking real life, and increasingly the two worlds blend into one. The poor become a film clip that can affect us for a moment, yet when we encounter them in flesh and blood on our streets, we are annoyed and look the other way. Haste, by now the daily companion of our lives, prevents us from stopping to help care for others. The parable of the Good Samaritan (cf. Lk 10:25-37) is not simply a story from the past; it continues to challenge each of us in the here and now of our daily lives. It is easy to delegate charity to others, yet the calling of every Christian is to become personally involved.
4. เราทั้งหลายต่างมีชีวิตอยู่ในยุคสมัยที่ไม่ได้สนใจต่อความจำเป็นของคนยากจนกันมากนัก มีแรงกดดันมากขึ้นที่บีบให้เราต้องมีวิถีชีวิตแบบคนรวย ขณะที่เสียงของผู้คนที่ต้องใช้ชีวิตในความยากจนกลับถูกเมินเฉย เราทั้งหลายมีแนวโน้มที่จะเพิกเฉยต่อสิ่งต่าง ๆ ที่ผิดแผกออกไปจากวิถีชีวิตอย่างหนึ่งที่ถูกนำเสนอต่อคนรุ่นหนุ่มสาว ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่เปราะบางมากที่สุดต่อความเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมที่กำลังเกิดขึ้น เราทั้งหลายไม่สนใจต่อสิ่งต่าง ๆ ที่ไม่น่าพึงใจหรือทำให้เกิดความทุกข์ ขณะที่เรากลับยกย่องคุณลักษณะทางกายจนเหมือนกับว่าเป็นเป้าหมายที่สำคัญที่สุดของชีวิต ความจริงในโลกเสมือนกำลังครอบงำชีวิตในความเป็นจริง และโลกทั้งสองนี้ก็กำลังผสมปนเปกันมากขึ้นเรื่อย ๆ คนยากจนกลายเป็นภาพวิดีทัศน์ที่อาจกระทบจิตใจเราได้ชั่วขณะหนึ่ง แต่เวลาที่เราได้พบกับคนยากจนที่มีเนื้อหนังตามท้องถนน เรากลับรู้สึกรังเกียจและหันหน้าหนีไปทางอื่น ความเร่งรีบที่ได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน คอยขัดขวางไม่ให้เราสละเวลาไปช่วยดูแลเอาใจใส่ผู้อื่น การอุปมาเรื่องชาวสะมาเรียที่ดี (เทียบ ลก. 10,25-37) ไม่ได้เป็นเพียงเรื่องจากอดีต แต่ยังเป็นสิ่งที่คงท้าทายเราแต่ละคนภายในชีวิตประจำวันของเราในที่นี้และในเวลานี้ การนำภาระหน้าที่ทำกิจเมตตาไปยกให้คนอื่นทำแทนนั้นเป็นเรื่องง่าย อย่างไรก็ตาม เป็นความจริงว่าคริสตชนทุกคนได้รับกระแสเรียกให้เข้ามามีส่วนร่วม[ทำกิจเมตตา]ด้วยตัวเอง[โดยตรง]
5. Let us thank the Lord that so many men and women are devoted to caring for the poor and the excluded; they are persons of every age and social status who show understanding and readiness to assist the marginalized and those who suffer. They are not superheroes but “next door neighbours”, ordinary people who quietly make themselves poor among the poor. They do more than give alms: they listen, they engage, they try to understand and deal with difficult situations and their causes. They consider not only material but also spiritual needs; and they work for the integral promotion of individuals. The Kingdom of God becomes present and visible in their generous and selfless service; like the seed that falls on good soil, it takes root in their lives and bears rich fruit (cf. Lk 8:4-15). Our gratitude to these many volunteers needs to find expression in prayer that their testimony will increasingly prove fruitful.
5. ให้เราขอบคุณพระเจ้า เพราะมีชายหญิงจำนวนมากมายที่อุทิศตนเพื่อดูแลคนยากจนและผู้คนที่ถูกกีดกัน คนเหล่านี้มาจากช่วงวัยและสถานะทางสังคมที่แตกต่างกันไป แต่เขาเหล่านั้นต่างแสดงความเข้าใจและพร้อมที่จะช่วยเหลือคนชายขอบและคนตกทุกข์ได้ยาก พวกเขาไม่ใช่วีรบุรุษทรงอิทธิฤทธิ์ แต่เป็นคนทั่วไป เป็น “เพื่อนบ้านข้างเคียง” ของเรา ที่ได้ทำตนอย่างเงียบ ๆ เป็นคนจนท่ามกลางหมู่คนจน พวกเขาไม่ได้เพียงแต่ให้ทาน แต่เขารับฟัง เข้าไปมีส่วนร่วม พยายามทำความเข้าใจและแก้ไขสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ยากลำบาก รวมถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดสถานการณ์เช่นนั้นขึ้น พวกเขาไม่ได้คำนึงถึงแต่ความจำเป็นทางวัตถุเท่านั้น แต่ยังคำนึงถึงความจำเป็นฝ่ายจิตด้วย พวกเขาทำงานเพื่อส่งเสริมการพัฒนาบุคคลแต่ละคนในแบบองค์รวม อาณาจักรพระเจ้าได้มีอยู่และปรากฏเห็นได้ผ่านการรับใช้ที่ใจกว้างและไม่เห็นแก่ตนเองของพวกเขา เหมือนกับเมล็ดพืชที่ตกยังดินดี ที่ได้หยั่งรากในชีวิตของพวกเขาและทำให้เกิดผลอันอุดม (เทียบ ลก. 8,4-15) ให้เราขอบใจจิตอาสาเหล่านี้ผ่านการภาวนาด้วย เพื่อที่การเป็นพยานของพวกเขาจะปรากฏผลอันอุดมยิ่ง ๆ ขึ้นไป
6. On this, the sixtieth anniversary of the encyclical Pacem in Terris, we do well to take to heart the following words of Pope Saint John XXIII: “Every human being enjoys the right to life, to bodily integrity and to the means necessary for the proper development of life, including food, clothing, shelter, medical care, rest, and, finally, the necessary social services. In consequence, every individual has the right to be looked after in the event of ill health; disability stemming from work; widowhood and forced unemployment; as well as in other cases when, through no fault of his own, he or she is deprived of the means of livelihood” (ed. Carlen, No. 11).
6. ในปีนี้ ซึ่งเป็นโอกาสครบรอบ 60 ปีของสมณสาส์นเวียน Pacem in Terris ของสมเด็จพระสันตะปาปานักบุญยอห์นที่ยี่สิบสาม ให้เราน้อมรับคำสอนของท่านที่ว่า “มนุษย์ทุกคนมีสิทธิที่จะมีชีวิต สิทธิในบูรณภาพทางร่างกาย และสิทธิในการเข้าถึงสิ่งที่จำเป็นต่อการพัฒนาชีวิตอย่างเหมาะสม ที่รวมถึงอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย การรักษาพยาบาล การพักผ่อน และในท้ายที่สุด ได้แก่ บริการทางสังคมที่จำเป็น ดังนั้น มนุษย์ทุกคนจึงมีสิทธิที่จะได้รับการดูแลในกรณีเจ็บป่วย ในกรณีที่ต้องทุพพลภาพจากการทำงาน ในกรณีที่ต้องสูญเสียคู่สมรส ในกรณีที่ต้องว่างงานโดยไม่มีทางเลือกอื่น ตลอดจนในกรณีอื่น ๆ ที่เป็นการสูญเสียช่องทางทำมาหากินโดยไม่ได้มาจากความผิดของเขาเอง” (ข้อ 11)
How much still needs to be done for this to become a reality, not least through a serious and effective commitment on the part of political leaders and legislators! For all the limitations and at times the failures of politics in discerning and serving the common good, may the spirit of solidarity and subsidiarity continue to grow among citizens who believe in the value of voluntary commitment to serving the poor. Certainly there is a need to urge and even pressure public institutions to perform their duties properly, yet it is of no use to wait passively to receive everything “from on high”. Those living in poverty must also be involved and accompanied in a process of change and responsibility.
ในการที่จะให้สิ่งเหล่านี้เกิดเป็นจริงขึ้นมาได้นั้น ยังมีสิ่งที่เราทั้งหลายต้องดำเนินการอยู่อีกมาก เป็นเรื่องสำคัญยิ่งที่บรรดาผู้นำทางการเมืองและผู้ออกกฎหมายจะต้องมีความมุ่งมั่นอย่างจริงจังและทำให้เกิดผลในทางปฏิบัติ ถึงแม้ว่าการเมืองจะมีข้อจำกัด หรือหลายครั้งอาจไม่ประสบความสำเร็จในการไตร่ตรองแยกแยะและการรับใช้ความดีส่วนรวมก็ตาม แต่ขอให้จิตวิญญาณแห่งความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและการแบ่งหน้าที่กันทำในภาคส่วนต่าง ๆ ของสังคม ได้เติบโตขึ้นในหมู่พลเมืองที่เชื่อในคุณค่าของการสมัครใจมุ่งมั่นรับใช้คนยากจน แน่นอนว่าการเรียกร้องหรือแม้กระทั่งการกดดันหน่วยงานสาธารณะให้ทำหน้าที่ของตนอย่างเหมาะสมนั้นเป็นสิ่งจำเป็น แต่ลำพังการงอมืองอเท้ารอคอยสิ่งต่าง ๆ ”จากเบื้องบน” นั้นไม่ได้ทำให้เกิดประโยชน์อะไร บรรดาผู้คนที่ใช้ชีวิตอยู่ในความยากจนจะต้องได้รับโอกาสให้เข้ามามีส่วนร่วม และให้มีคนเดินเคียงข้างคอยสนับสนุนพวกเขาภายในกระบวนการแห่งความเปลี่ยนแปลงและการมีส่วนรับผิดชอบ
7. In addition, we must once more acknowledge new forms of poverty, as well as those described earlier. I think in particular of peoples caught up in situations of war, and especially children deprived of the serene present and a dignified future. We should never grow accustomed to such situations. Let us persevere in every effort to foster peace as a gift of the risen Lord and the fruit of a commitment to justice and dialogue.
7. นอกจากนี้ เราทั้งหลายจะต้องยอมรับกันอีกครั้งว่า มีรูปแบบใหม่ ๆ ของความยากจน นอกเหนือจากสิ่งที่ได้กล่าวถึงไปก่อนหน้านี้แล้ว ข้าพเจ้าคิดคำนึงถึงผู้คนที่ตกอยู่ท่ามกลางสงคราม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็ก ๆ ที่ถูกแย่งเอาปัจจุบันอันสงบสุขและอนาคตที่สมศักดิ์ศรีไปจากพวกเขา เราทั้งหลายจะต้องไม่ยอมให้ตนเองเคยชินกับสถานการณ์เช่นนี้ ให้เราทั้งหลายมีความวิริยะอุตสาหะในการพยายามทุกวิถีทางเพื่อเสริมสร้างสันติภาพ ในฐานะที่สันติภาพเป็นของขวัญที่องค์พระผู้เป็นเจ้าผู้กลับคืนชีพได้ทรงมอบไว้ให้เรา ให้สันติภาพได้เป็นผลแห่งความมุ่งมั่นต่อความเป็นธรรมและการพูดคุยเสวนา
Nor can we ignore those forms of speculation in various sectors, which have led to dramatic price increases that further impoverish many families. Earnings are quickly spent, forcing sacrifices that compromise the dignity of every person. If a family has to choose between food for nourishment and medical care, then we need to pay attention to the voices of those who uphold the right to both goods in the name of the dignity of the human person.
นอกจากนี้ เราทั้งหลายยังไม่อาจเพิกเฉยต่อการเก็งกำไรในภาคส่วนต่าง ๆ ที่ทำให้ค่าครองชีพสูงขึ้นอย่างมาก และทำให้ครอบครัวจำนวนมากมีฐานะยากจนลงไปอีก รายได้ของพวกเขาถูกนำไปใช้หมดอย่างรวดเร็ว บีบให้พวกเขาต้องสละหลายสิ่งหลายอย่าง สิ่งนี้บ่อนทำลายศักดิ์ศรีของมนุษย์ทุกคน หากมีกรณีที่ครอบครัวหนึ่งจำต้องเลือกระหว่างอาหารและการรักษาพยาบาลทางการแพทย์ เราทั้งหลายก็จำเป็นต้องหันมาสนใจต่อเสียงของผู้คนที่ยืนหยัดค้ำจุนสิทธิในการได้รับทั้งสองอย่างนี้ในนามของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
Then too how can we fail to note the ethical confusion present in the world of labour? The inhumane treatment meted out to many male and female laborers; inadequate pay for work done; the scourge of job insecurity; the excessive number of accident-related deaths, often the result of a mentality that chooses quick profit over a secure workplace… We are reminded of the insistence of Saint John Paul II that “the primary basis of the value of work is man himself… However true it may be that man is destined for work and called to it, in the first place, work is ‘for man’ and not man ‘for work’” (Laborem Exercens, 6).
เมื่อคำนึงเช่นนี้ เราย่อมจะสังเกตเห็นว่า ภายในโลกของการจ้างแรงงานมีความสับสนเรื่องจริยศาสตร์อยู่ [เราต่างเห็นว่า]มีการที่แรงงานชายหญิงจำนวนมากถูกปฏิบัติในทางที่ขัดกับมนุษยธรรม มีการที่แรงงานได้รับค่าแรงที่ไม่เพียงพอเมื่อคำนึงถึงงานที่เขาทำ มีความยากลำบากที่เกิดจากความไม่มั่นคงในอาชีพ มีผู้เสียชีวิตมากมายจากอุบัติเหตุที่เกี่ยวกับการทำงาน สิ่งเหล่านี้มักเกิดจากทัศนคติที่ให้ความสำคัญต่อผลกำไรระยะสั้นมากกว่าการสร้างอาชีพที่มั่นคง นักบุญยอห์น ปอลที่สองได้เน้นย้ำเตือนใจเราว่า “พื้นฐานสำคัญที่สุดของคุณค่าในการทำงาน คือตัวมนุษย์เอง … ถึงแม้จะเป็นความจริงว่ามนุษย์ต้องทำงาน และได้รับกระแสเรียกให้ไปทำงาน แต่ในประการแรกสุดนั้น การทำงานมีไว้ ‘เพื่อมนุษย์’ ไม่ใช่ว่ามนุษย์มีไว้ ‘เพื่อการทำงาน’” (สมณสาส์นเวียน Laborem Exercens, ข้อ 6)
8. This list, deeply troubling in itself, only partially accounts for the situations of poverty that are now part of our daily lives. I cannot fail to mention in particular an increasingly evident form of poverty that affects young people. How much frustration and how many suicides are being caused by the illusions created by a culture that leads young people to think that they are “losers”, “good for nothing”. Let us help them react to these malign influences and find ways to help them grow into self-assured and generous men and women.
8. สิ่งต่าง ๆ ที่ได้กล่าวถึงไปนี้ ถึงแม้จะเป็นเรื่องน่าทุกข์ใจในตัวมันเอง แต่แท้จริงแล้วเป็นเพียงส่วนเสี้ยวอันเดียวของสิ่งต่าง ๆ ที่บ่งชี้ถึงสภาวะความยากจน ซึ่งบัดนี้ได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเราทั้งหลายแล้ว ข้าพเจ้าจำต้องกล่าวถึงเป็นพิเศษต่อรูปแบบหนึ่งของความยากจนที่กำลังปรากฏให้เห็นมากขึ้นเรื่อย ๆ และส่งผลกระทบต่อคนหนุ่มสาว ภาพลวงตาต่าง ๆ จากวัฒนธรรมที่ชักจูงให้คนหนุ่มสาวคิดว่าตนเป็น “ผู้แพ้” เป็นคนที่ “ไม่มีค่า” ได้ทำให้เกิดความคับข้องใจและทำให้มีคนฆ่าตัวตายมากมายเหลือเกิน ให้เราทั้งหลายช่วยเหลือคนหนุ่มสาว ให้พวกเขาสามารถตอบโต้อิทธิพลอันเลวร้ายเช่นนี้ และให้เขาได้หาแนวทางเพื่อที่จะเติบโตเป็นชายหญิงที่มีความมั่นใจในตนเอง และมีความใจกว้าง[ให้แก่ผู้อื่น]
When speaking of the poor, it is easy to fall into rhetorical excess. It is also an insidious temptation to remain at the level of statistics and numbers. The poor are persons; they have faces, stories, hearts and souls. They are our brothers and sisters, with good points and bad, like all of us, and it is important to enter into a personal relation with each of them.
เวลาที่พูดเรื่องคนยากจน เป็นเรื่องง่ายที่จะใช้คำพูดหรูหรามากมายเกินความจำเป็น นอกจากนี้ยังต้องพบกับการผจญที่ยั่วยุให้เราทั้งหลายยึดติดอยู่แต่กับสถิติและตัวเลข [ให้เราอย่าลืมว่า]คนยากจนแต่ละคนเป็นมนุษย์ มีใบหน้า มีเรื่องราว มีหัวใจ และมีจิตวิญญาณ พวกเขาเป็นพี่น้องของเรา มีทั้งดีและชั่วไม่ต่างจากเราทั้งหลาย และเป็นเรื่องสำคัญที่เราจะต้องไปมีความสัมพันธ์ส่วนตัวกับพวกเขาแต่ละคน
The Book of Tobit teaches us to be realistic and practical in whatever we do with and for the poor. This is a matter of justice; it requires us to seek out and find one another, in order to foster the harmony needed for the community to feel itself as such. Caring for the poor is more than simply a matter of a hasty hand-out; it calls for reestablishing the just interpersonal relationships that poverty harms. In this way, “not turning our face away from anyone who is poor” leads us to enjoy the benefits of mercy and charity that give meaning and value to our entire Christian life.
หนังสือโทบิตสอนให้เราเผชิญความจริงและมีความเป็นนักปฏิบัติในทุกเวลาที่เราทำงานร่วมกับคนยากจนและเพื่อคนยากจน สิ่งนี้เป็นประเด็นเรื่องความเป็นธรรม ซึ่งเรียกร้องให้เราออกไปหาและพบปะซึ่งกันและกันเพื่อที่จะเสริมสร้างความปรองดอง อันเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการที่จะให้ประชาคมรู้สึกว่ามีความปรองดองกัน[ภายในสังคม] การเอาใจใส่คนยากจนไม่ได้เป็นเพียงการแจกเงินหรือสิ่งของอย่างลวก ๆ แต่เป็นสิ่งที่เรียกร้องให้มีการฟื้นฟูความสัมพันธ์ที่เป็นธรรมระหว่างบุคคลต่าง ๆ ให้กลับมีขึ้นมาใหม่อีกครั้งหลังจากที่ความสัมพันธ์อันนี้ถูกทำร้ายโดยความยากจน ดังนี้แล้ว การ “ไม่เบือนหน้าจากใครก็ตามที่เป็นคนยากจน” จะนำพาให้เราทั้งหลายได้รับผลดีอันเกิดจากความรักความเมตตา ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ชีวิตคริสตชนทั้งครบของเรามีความหมายและมีคุณค่า
9. May our concern for the poor always be marked by Gospel realism. Our sharing should meet the concrete needs of the other, rather than being just a means of ridding ourselves of superfluous goods. Here too, Spirit-led discernment is demanded, in order to recognize the genuine needs of our brothers and sisters and not our own personal hopes and aspirations. What the poor need is certainly our humanity, our hearts open to love. Let us never forget that “we are called to find Christ in them, to lend our voice to their causes, but also to be their friends, to listen to them, to speak for them and to embrace the mysterious wisdom which God wishes to share with us through them” (Evangelii Gaudium, 198). Faith teaches us that every poor person is a son or daughter of God and that Christ is present in them. “Just as you did it to one of the least of these who are members of my family, you did it to me” (Mt 25:40).
9. ความใส่ใจที่เราทั้งหลายมีให้แก่คนยากจนจะต้องมาพร้อมกับทัศนคติการเผชิญกับความเป็นจริงในแนวพระวรสาร การแบ่งปันจะต้องตอบสนองความต้องการที่เป็นรูปธรรมของผู้อื่น โดยไม่เป็นเพียงการจ่ายแจกสิ่งที่เรามีมากเกินกว่าที่จะใช้ได้เอง ในที่นี้เช่นกัน จำเป็นต้องมีการไตร่ตรองแยกแยะที่นำทางโดยพระจิตเจ้า เพื่อที่[เราทั้งหลาย]จะสามารถรับรู้ความต้องการที่แท้จริงของพี่น้อง ไม่ใช่เป็นการ[สนองตอบ]ความหวังหรือความปรารถนาส่วนตัวของเราเอง แน่นอนว่าคนยากจนต้องการ[สัมผัส]จิตวิญญาณความเป็นมนุษย์ ต้องการให้มีคนเปิดใจรักพวกเขา ให้เราทั้งหลายอย่าลืมว่า “เราทั้งหลายต่างถูกเรียกให้ไปแสวงหาพระคริสตเจ้าในตัวพวกเขา เป็นปากเสียงเรียกร้องแทนพวกเขา แต่ขณะเดียวกัน ก็ให้เราทั้งหลายเป็นมิตรของพวกเขา รับฟังพวกเขา พูดแทนพวกเขา และเปิดใจน้อมรับปรีชาญาณอันน่าพิศวงที่พระเจ้าต้องการแบ่งปันกับเราทั้งหลายผ่านทางพวกเขา” (สมณสาส์นเตือนใจ Evangelii Gaudium, ข้อ 198) ความเชื่อได้สอนเราทั้งหลายว่า คนยากจนทุกคนเป็นลูกชายหญิงของพระเจ้า และว่าพระคริสตเจ้าประทับอยู่ภายในเขา “เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า ท่านทำสิ่งใดต่อพี่น้องผู้ต่ำต้อยที่สุดของเราคนหนึ่ง ท่านก็ทำสิ่งนั้นต่อเรา” (มธ. 25,40)
10. This year marks the 150th anniversary of the birth of Saint Therese of the Child Jesus. In a page of her autobiography, Story of a Soul, she tells us: “I have come to realize that perfect charity means putting up with other people’s faults, not being at all taken aback by their faults, being edified by the smallest acts of virtue that we see practised. But above all, I have come to realize that charity must not remain locked in the depths of one’s heart: ‘No one’, Jesus says, ‘lights a candle to put it under a bushel basket, but puts it on a candle-stand, so that it can give light to everyone in the house’. For me, that candle represents the charity that must give light and bring joy not only to those dearest to me, but to everyone in the house, with the exception of none” (Ms C, 12r°).
10. ปีนี้ครบรอบ 150 ปีชาตกาลของนักบุญเทเรซาแห่งพระกุมารเยซู ภายในอัตชีวประวัติของท่าน ชื่อหนังสือ เรื่องราวของวิญญาณดวงหนึ่ง ท่านได้เล่าไว้ว่า “ฉันได้ตระหนักว่า ความรักที่สมบูรณ์แบบ คือการอดทนยอมรับความผิดพลาดของผู้อื่น การไม่ตระหนกตกใจต่อความผิดพลาดของเขา และการเรียนรู้จากกิจการดีของผู้อื่นที่เราได้เห็น ไม่ว่ากิจการนั้นจะเล็กน้อยเท่าใดก็ตาม แต่เหนือสิ่งอื่นใด ฉันได้ตระหนักว่าความรักจะต้องไม่ถูกพันธนาการให้อยู่ที่ภายในเบื้องลึกของหัวใจ พระเยซูเจ้าตรัสว่า ‘ไม่มีใครจุดเทียนแล้วเอามาวางไว้ใต้ถัง แต่ย่อมตั้งไว้บนเชิงเทียน จะได้ส่องสว่างแก่ทุกคนในบ้าน’ สำหรับฉันแล้ว เทียนนั้นเป็นสัญลักษณ์สื่อถึงความรัก ที่จะต้องให้แสงสว่างและนำมาซึ่งความปิติยินดี ไม่เฉพาะแก่ผู้คนที่สำคัญต่อฉันมากที่สุดเท่านั้น แต่จะต้องให้แก่ทุกคนในบ้าน ไม่ยกเว้นใครทั้งสิ้น” (Ms C, 12r°).
In this house of ours, which is the world, everyone has a right to experience the light of charity; no one must be deprived of that light. May the steadfast love of Saint Therese stir our hearts on this World Day of the Poor, and help us not to “turn our face away from anyone who is poor”, but to keep it always focused on the human and divine face of Jesus Christ our Lord.
ในโลกใบนี้ซึ่งเป็นบ้านของเราทั้งหลาย มนุษย์ทุกคนมีสิทธิที่จะได้สัมผัสแสงสว่างแห่งความรัก จะต้องไม่มีใครที่ถูกกีดกันออกจากแสงสว่างอันนี้ ขอให้ความรักมั่นคงของนักบุญเทเรซาได้กระตุ้นจิตใจของเราทั้งหลายในวันคนยากจนสากลนี้ และช่วยให้เราไม่ “เบือนหน้าจากใครก็ตามที่เป็นคนยากจน” แต่ให้เราจดจ่ออยู่เสมอต่อพระพักตร์ของพระเยซูคริสตเจ้า องค์พระผู้เป็นเจ้าของเราทั้งหลาย ทั้งพระพักตร์ในสภาพมนุษย์และในสภาพพระเจ้าของพระองค์
Rome, Saint John Lateran, 13 June 2023
Memorial of St. Anthony of Padua, Patron of the Poor.
ให้ไว้ ณ มหาวิหารนักบุญยอห์นลาเตรัน กรุงโรม 13 มิถุนายน 2023
วันระลึกถึงนักบุญอันตนแห่งปาดัว นักบุญองค์อุปถัมภ์ของคนยากจน
FRANCIS
ฟรานซิส
*(วิษณุ ธัญญอนันต์ และวรินทร เติมอริยบุตร เก็บสารของพระสันตะปาปาฟรานซิสมาแบ่งปันและเพื่อการไตร่ตรอง)