พิธีฉลองแห่งการคืนดี (ศีลอภัยบาป) “24 ชั่วโมงสำหรับพระเจ้า”

“Whatever gains I had, these I have come to regard as loss because of Christ” (Phil 3:7). That is what Saint Paul tells us in the first reading. And if we ask ourselves what were those things that he no longer considered important in his life, and was even content to lose in order to find Christ, we realize that they were not material riches, but a fund of “religious” assets. Paul was devout and zealous, just and dutiful (cf. vv. 5-6). Yet, this very religiosity, which could have seemed a source of pride and merit, proved to be an impediment for him. Paul goes on to say: “I have suffered the loss of all things, and I regard them as rubbish, in order that I may gain Christ” (v. 8). Everything that had given him a certain prestige, a certain fame…; “forget it: for me, Christ is more important”.

            “สิ่งที่เคยเป็นประโยชน์แก่ข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้าละทิ้งเพราะพระคริสตเจ้า” (ฟิลิปปี 3:7) จากบทอ่านที่หนึ่ง นี่คือสิ่งที่นักบุญเปาโลบอกพวกเรา และหากพวกเราลองถามตัวเองว่ามีอะไรบ้างที่นักบุญเปาโลมองว่าไม่ได้เป็นสิ่งสำคัญในชีวิตของท่าน ยิ่งไปกว่านั้นท่านยังยินดีที่จะสูญเสียสิ่งเหล่านี้นเพื่อที่จะได้พบกับพระเยซูคริสต์ พวกเราจะเห็นว่าสิ่งเหล่านั้นไม่เกี่ยวกับความมั่งคั่งร่ำรวยทางวัตถุ แต่เป็นสินทรัพย์ “ทางศาสนา” นักบุญเปาโลเป็นผู้ที่เปี่ยมด้วยความเชื่อความศรัทธา ความกระตือรือร้น ความชอบธรรมและซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ (เทียบ ข้อ 5-6) ทั้งนี้ความศรัทธาอย่างแรงกล้า ซึ่งเหมือนจะเป็นแหล่งกำเนิดของความภาคภูมิใจและความดีงาม นักบุญเปาโลกลับถือว่าเป็นสิ่งกีดขวางสำหรับท่าน โดยนักบุญเปาโลกล่าวต่อว่า: “ข้าพเจ้าจึงยอมสูญเสียทุกสิ่ง ข้าพเจ้าเห็นว่าทุกสิ่งเป็นปฏิกูล เพื่อจะได้องค์พระคริสตเจ้ามาเป็นกำไร” (ข้อ 8) ทุกสิ่งที่ทำให้นักบุญเปาโลมีอภิสิทธิ์ และชื่อเสียง… “จงลืมมันทั้งหมด สำหรับข้าพเจ้า พระเยซูทรงสำคัญกว่า”

People who are extremely rich in their own minds, and proud of their religious accomplishments, consider themselves better than others – how frequently does this happen in a parish: “I’m from Catholic Action; I’m going to help the priest; I do the collection… it’s all about me, me, me”; how often people believe themselves better than others; each of us, in our hearts, should reflect on whether this has ever happened – they feel satisfied that they cut a good figure. They feel comfortable, but they have no room for God because they feel no need for him. And many times “good Catholics”, those who feel upright because they go the parish, go to Mass on Sunday and boast of being righteous, say: “No, I don’t need anything, the Lord has saved me”. What has happened?  They have replaced God with their own ego, and although they recite prayers and perform works of piety, they never really engage in dialogue with the Lord.  They perform monologues in place of dialogue and prayer. Scripture tells us that only “the prayer of the humble pierces the clouds” (Sir 35:1), because only those who are poor in spirit, and conscious of their need of salvation and forgiveness, come into the presence of God; they come before him without vaunting their merits, without pretense or presumption. Because they possess nothing, they find everything, because they find the Lord.

            ใครก็ตามที่คิดว่าตนนั้นร่ำรวยอย่างมาก และภูมิใจที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาต่าง ๆ เชื่อว่าตนเองนั้นเป็นคนดีกว่าผู้อื่น เรื่องดังกล่าวเคยเกิดขึ้นในวัดของเราบ่อยครั้ง : “ฉันเป็นกรรมการวัด ฉันจะช่วยเหลือบาดหลวง ฉันจะรับผิดชอบถุงทาน…มีแต่ ฉัน และก็ฉัน ฉันเท่านั้น” กี่ครั้งแล้วที่ผู้คนต่างเชื่อว่าตนนั้นเหนือกว่าผู้อื่น พวกเราแต่ละคนควรพิจารณาว่าเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวภายในจิตใจของพวกเราหรือไม่  ผู้คนเหล่านั้นรู้สึกว่าตนนั้นเป็นคนดี พวกเขารู้สึกสบายใจ แต่ทว่าพวกเรากลับไม่มีพื้นที่สำหรับพระเจ้า เนื่องจากพวกเราเห็นว่าไม่ได้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพระองค์ หลายครั้งที่ “คริสตชนคาทอลิกที่ดี” รู้สึกว่าตนนั้นเป็นคริสตชนที่ซื่อตรง เนื่องจากพวกเราไปวัด ไปมิสซาวันอาทิตย์ และคุยโม้ว่าพวกเขาเป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ : “ไม่ ฉันไม่ต้องการสิ่งอื่นใด พระเจ้าทรงช่วยฉันให้รอด” จากเรื่องราวนี้เกิดอะไรขึ้น ? พวกเขาได้แทนที่พระเจ้าด้วยความยิ่งทะนงของพวกเขา แม้ว่าพวกเขาจะสวดภาวนา และปฏิบัติกิจศาสนาต่าง ๆ พวกเขาไม่เคยสนทนากับพระองค์อย่างจริงจัง พวกเขาแค่คุยกับตัวเอง แทนที่จะสนทนากับพระเจ้า และสวดภาวนา พระคัมภีร์บอกพวกเราว่า “คำอธิษฐานของผู้ต่ำต้อยทะลุเมฆ” (บุตรสิรา35:17) ทั้งนี้ก็เป็นเพราะว่าผู้ที่มีใจยากจนเท่านั้นจะพบกับพระเจ้า ซึ่งพวกเขาเป็นผู้ที่ตระหนักอยู่เสมอว่าพวกเขาต้องการความรอดและการให้อภัย พวกเขามาอยู่ต่อพระพักตร์พระองค์โดยไม่คุยโอ้อวดถึงคุณความดีต่าง ๆ ของพวกเขา เสแสร้งหรืออวดดี เนื่องพวกเขาไม่ได้มีสิ่งใดเลย พวกเขาพบทุกสิ่ง พวกเขาพบพระเจ้า

Jesus offers us this teaching in the parable that we have just heard (cf. Lk 18:9-14). It is the story of two men, a Pharisee and a tax collector, who both go to the Temple to pray, but only one reaches the heart of God. Even before they do anything, their physical attitude is eloquent: the Gospel tells us that the Pharisee prayed, “standing by himself” right at the front, while the tax collector, “standing far off, would not even look up to heaven” (v. 13), out of shame. Let us reflect for a moment on these attitudes.

            พระเยซูคริสต์ทรงมอบคำสอนนี้ให้แก่พวกเราผ่านอุปมาเปรียบเทียบซึ่งพวกเราพึ่งได้ฟัง (เทียบ ลก. 18:9-14) เรื่องราวของชายสองคน ฟาริสีและคนเก็บภาษี ซึ่งไปอธิษฐานภาวนาในพระวิหาร แต่มีคนเดียวเท่านั้นที่เข้าถึงดวงหทัยของพระเจ้า ก่อนที่พวกเขาจะทำสิ่งใด ลักษณะท่าทางของแต่ละคนเผยให้เห็นถึงทัศนคติของพวกเขาโดยพระวรสารเล่าว่าฟาริสี “ยืนอธิษฐานภาวนา” และอยู่ด้านหน้า ในขณะที่คนเก็บภาษี “ยืนอยู่ห่างออกไป ไม่กล้าแม้แต่จะเงยหน้าขึ้นมองท้องฟ้า” (ข้อ 13) ซึ่งเขารู้สึกละอายใจ พ่อขอให้พวกเราไตร่ตรองทัศนะของฟาริสีและคนเก็บภาษีชั่วครู่

The Pharisee stood by himself. He is sure of himself, standing proudly erect, like someone to be respected for his accomplishments, like a model. With this attitude, he prays to God, but in fact he celebrates himself. I go to the Temple, I observe the Law, I give alms… Formally, his prayer is perfect; publicly, he appears pious and devout, but instead of opening his heart to God, he masks his weaknesses in hypocrisy. How often we make a façade of our lives. This Pharisee does not await the Lord’s salvation as a free gift, but practically demands it as a reward for his merits. “I’ve completed my tasks, now I demand my prize”. This man strides right up to the altar of God and takes his place in the front row, but he ends by going too far and puts himself before God!

            ฟาริสียืนอธิษฐานภาวนา เขามั่นใจในตนเอง ยืนตัวตรง ราวกับว่าเป็นผู้ที่ได้รับความเคารพเชิดชูจากความสำเร็จของเขา เหมือนกับเป็นบุคคลตัวอย่าง ด้วยทัศนะเช่นนี้ เขาอธิษฐานภาวนาต่อพระเจ้า แต่ทว่าในความเป็นคริงแล้ว เขาเฉลิมฉลองยกย่องตนเอง ฉันไปพระวิหาร ฉันปฏิบัติตามพระบัญญัติ ฉันให้ทาน… ตามขนบแบบแผนนั้น การอธิฐานภาวนาของฟาริสีนั้นไร้ที่ติ และสำหรับสาธารณชน เขาดูเหมือนเป็นคนศรัทธาและปฏิบัติศาสนกิจอย่างเคร่งครัด กี่ครั้งเล่าที่พวกเราสร้างภาพให้กับตัวเราเอง  ฟาริสีผู้นี้ไม่ได้รอการไถ่กู้ของพระเจ้าราวกับว่าเป็นของขวัญที่ไม่ต้องการสิ่งตอบแทน แต่เขากลับร้องขอการไถ่กู้ราวกับว่าเป็นรางวัลหลังจากที่เขาได้ปฏิบัติตนอย่างดี “ฉันได้ทำงานของฉันเสร็จแล้ว ดังนั้นฉันขอรางวัลของฉัน “ฟาริสีผู้นี้ยืนตรงหน้าแท่นบูชา และเลือกแถวหน้าสุด แต่ทว่าเขาไปไกลเกินไป และกลับกลายเป็นว่าเขาอยู่ข้างหน้าพระเจ้า !”

The tax collector, on the other hand, stands far off. He doesn’t push himself to the front; he stays at the back. Yet that distance, which expresses his sinfulness before the holiness of God, enables him to experience the loving and merciful embrace of the Father. God could come to him precisely because, by standing far off, he had made room for him. He doesn’t speak about himself, he addresses God and asks for forgiveness. How true this is, also with regard to our relationships in our families, in society, and in the Church! True dialogue takes place when we are able to preserve a certain space between ourselves and others, a healthy space that allows each to breathe without being sucked in or overwhelmed. Only then, can dialogue and encounter bridge the distance and create closeness. That happens in the life of the tax collector: standing at the back of the Temple, he recognizes the truth of how he, a sinner, stands before God. “Far off”, and in this way making it possible for God to draw near to him.

            ในทางตรงกันข้าม คนเก็บภาษียืนห่างออกไป เขาไม่ได้ไปด้านหน้า ทว่าเขาอยู่ด้านหลัง แม้ว่าเขาจะอยู่ห่างไกล ซึ่งเผยให้เห็นถึงความบาปของเขาต่อหน้าความศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้า เขาได้สัมผัสถึงความรักและความเมตตาของพระบิดา พระเจ้าทรงสามารถมาหาเขาได้ เนื่องจากการที่เขายืนห่างออกไปทำให้มีที่ว่างสำหรับพระองค์ คนเก็บภาษีไม่ได้พูดเรื่องเกี่ยวกับตน แต่เขาพูดกับพระเจ้าและขอให้พระองค์ประทานอภัยให้เขา นี่เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้น ทั้งในครอบครัวของพวกเรา ในสังคมและในศาสนจักร ! การพูดคุยที่แท้จริงเกิดขึ้นเมื่อพวกเราสามารถเว้นระยะห่างระหว่างตัวพวกเราเองและคนอื่น ๆ อันที่ว่างซึ่งช่วยให้แต่ละคนสามารถหายใจได้ โดยไม่เบียดเสียดหรือรู้สึกอึดอัด ด้วยแนวทางนี้เท่านั้นที่การสนทนาและพบปะสามารถเชื่อมระยะห่าง และสร้างความใกล้ชิดขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับคนเก็บภาษี : เขายืนอยู่ข้างหลังในพระวิหาร เขารับรู้ว่าเขาเป็นคนบาปที่ยืนอยู่ต่อหน้าพระเจ้า การ “ยืนอยู่ห่างออกไป” เป็นหนทางที่ช่วยให้พระเจ้าทรงสามารถพาเขามาอยู่ใกล้กับพระองค์

Brothers, sisters, let us remember this: the Lord comes to us when we step back from our presumptuous ego. Let us reflect: Am I conceited? Do I think I’m better than others? Do I look at someone with a little contempt? “I thank you, Lord, because you have saved me and I’m not like those people who understand nothing; I go to church, I attend Mass; I am married, married in church, whereas they are divorced sinners…”: is your heart like this? That is the way to perdition. Yet to get closer to God, we must say to the Lord: “I am the first of sinners, and if I have not fallen into the worst filth it is because your mercy has taken me by the hand. Thanks to you, Lord, I am alive; thanks to you, Lord, I have not destroyed myself with sin”. God can bridge the distance whenever, with honesty and sincerity, we bring our weaknesses before him. He holds out his hand and lifts us up whenever we realize we are “hitting rock bottom” and we turn back to him with a sincere heart. That is how God is. He is waiting for us, deep down, for in Jesus he chose to “descend to the depths” because he is unafraid to descend even to our inner abysses, to touch the wounds of our flesh, to embrace our poverty, to accept our failures in life and the mistakes we make through weakness and negligence, and all of us have done so. There, deep down, God waits for us, and he waits for us especially in the sacrament of Penance, when, with much humility, we go to ask forgiveness, as we do today. God is waiting for us there.

            ลูก ๆ ที่รัก พ่อขอให้พวกเราจำไว้ว่า : พระเจ้าทรงมาหาพวกเรา เมื่อพวกเราถอยออกจากความหยิ่งทะนงตัวของพวกเรา พ่อขอให้พวกเราพิจารณาดังนี้ : เราภูมิใจในตัวเองมากเกินไปหรือไม่ ? เราคิดว่าเราเหนือกว่าคนอื่น ๆ หรือไม่ ? เราดูถูกคนอื่นหรือไม่ แม้เพียงเล็กน้อย ? “ฉันขอบคุณพระองค์ ผู้ทรงช่วยให้ฉันรอด และไม่ทำให้ฉันเหมือนคนเหล่านี้ซึ่งไม่เข้าใจอะไรเลย ฉันไปวัด ฉันเข้าร่วมมิสซา ฉันแต่งงาน แต่งงานในศาสนจักร แต่ทว่าพวกเขาเหล่านั้นเป็นคนบาป คนบาปที่ได้หย่าร้าง…” หัวใจของลูกเป็นเช่นนี้หรือไม่ ? นั่นเป็นหนทางที่นำไปสู่หายนะ หากพวกเราอยากเข้าใกล้พระเจ้า พวกเราจำเป็นต้องกล่าวแก่พระองค์ว่า : “ลูกเป็นคนบาปคนแรก และถ้าลูกไม่ได้ตกลงไปความสกปรกโสมม นั่นเป็นเพราะว่าพระองค์ทรงเมตตาลูก และทรงพยุงลูกไว้ด้วยพระหัตถ์ของพระองค์ ลูกขอขอบคุณพระองค์ที่ทรงทำให้ลูกยังมีชีวิต ลูกขอขอบคุณพระองค์ที่ทรงไม่ปล่อยให้ลูกถูกทำลายด้วยบาปของลูก” พระเจ้าทรงสามารถเชื่อมระยะทางไม่ว่าจะห่างไกลเพียงใด ด้วยความซื่อสัตย์และความจริงใจ เมื่อพวกเรายอมรับความอ่อนแอต่าง ๆ ต่อหน้าพระองค์ ยิ่งไปกว่านั้น พระองค์จะทรงยื่นพระหัตถ์เพื่อพยุงพวกเราให้ลุกขึ้นยืน ทุกครั้งที่พวกเราเห็นว่าพวกเรานั้นกำลัง “อยู่ในจุดตกต่ำที่สุด” แต่พวกเราเลือกที่จะหันกลับไปหาพระองค์อย่างจริงใจ และนี่ก็คือวิถีของพระเจ้า พระองค์ทรงรอพวกเรา โดยดำดิ่งลึกลงไปในจิตใจ ซึ่งพระเยซูคริสต์ทรงเลือกที่จะ “เสด็จลงไปยังแผ่นดินเบื้องล่าง” เนื่องจากพระองค์ไม่กลัวที่จะลงไป แม้ว่าจะต้องลงไปในเหวลึกภายในจิตใจของพวกเรา เพื่อที่พระองค์ทรงสามารถสัมผัสแผลทางกายต่าง ๆ อ้าแขนรับความยากจนของพวกเรา และยอมรับความล้มเหลวในชีวิตและความผิดพลาดต่าง ๆ ของพวกเรา ซึ่งมาจากความอ่อนแอและความไม่ใส่ ซึ่งพวกเราทุกคนต่างเคยผิดพลาดและล้มเหลว ลึกเข้าไปภายในจิตใจ พระเจ้าทรงรอพวกเรา พระองค์ทรงรอคอยพวกเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในศีลอภัยบาป เมื่อพวกเราไปขอให้ยกโทษ ด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตน ซึ่งพวกเราต่างได้ทำในวันนี้ พระเจ้าทรงรอคอยพวกเราที่นั่น

Brothers and sisters, today let each of us make an examination of conscience, because the Pharisee and the tax collector both dwell deep within us. Let us not hide behind the hypocrisy of appearances, but entrust to the Lord’s mercy our darkness, our mistakes. Let us think about our wretchedness, our mistakes, even those that we feel unable to share because of shame, which is alright, but with God they must show themselves. When we go to confession, we stand “far off”, at the back, like the tax collector, in order to acknowledge the distance between God’s dream for our lives and the reality of who we are each day: poor sinners. At that moment, the Lord draws near to us; he bridges the distance and sets us back on our feet. At that moment, when we realize that we are naked, he clothes us with the festal garment. That is, and that must be, the meaning of the sacrament of Reconciliation: a festal encounter that heals the heart and leaves us with inner peace. Not a human tribunal to approach with dread, but a divine embrace in which to find consolation.

            ลูก ๆ ชายหญิงทั้งหลาย วันนี้ขอให้พวกเราแต่ละคนพิจารณามโนธรรม เนื่องจากทั้งฟาริสีและคนเก็บภาษีต่างอยู่ในตัวของพวกเรา ลึกเข้าไปในจิตใจของพวกเรา ขอให้พวกเราไม่หลบซ่อนอยู่ในความเสแสร้งหลอกหลวง แต่มอบด้านมืดของพวกเรา ความผิดที่พวกเราได้กระทำแก่พระองค์ พ่อขอให้พวกเราคิดถึงความทุกข์ยาก ความผิดต่าง ๆ ของพวกเรา ถึงแม้ว่าเรื่องราวเหล่านั้นจะเป็นเรื่องน่าอายสำหรับพวกเราที่จะแบ่งปันแก่คนอื่น ๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ อย่างไรก็ตาม เมื่ออยู่กับพระเจ้า พวกเราจำเป็นต้องบอกเล่าเรื่องราวน่าอับอายนี้ เมื่อพวกเราไปสารภาพบาป พวกเรายืน “ห่างออกไป” โดยอยู่ด้านหลังเหมือนกับคนเก็บภาษี เพื่อที่จะได้รู้ว่าพื้นที่ระหว่างความฝันของพระเจ้าที่พระองค์ทรงมีเกี่ยวกับพวกเรา และสิ่งที่เราเป็นอยู่ในทุกวัน : คนบาปที่น่าเวทนา ในช่วงเวลานั้น พระองค์ทรงเข้ามาใกล้กับพวกเรา พระองค์ทรงเชื่อมพื้นที่ว่างนั้น และทรงรักษาพวกเราให้กลับมาสมบูรณ์แข็งแรงอีกครั้ง และในช่วงเวลานั้นเอง พวกเราก็จะเห็นว่าพวกเรานั้นต่างเปลือยเปล่า ถึงกระนั้นพระองค์จะทรงสวมเสื้อผ้าที่แสนงดงามสำหรับงานฉลอง และทั้งหมดนี้ก็คือ ความหมายของศีลอภัยบาป : การพบปะที่รื่นเริง ที่เยียวยาจิตใจและฟื้นฟูความสงบสุขภายในพวกเรา ซึ่งไม่ได้เป็นการขึ้นศาลเพื่อตัดสินโทษอย่างพวกเราเห็นกัน แต่เป็นการเข้าโอบกอดพระเจ้าเพื่อค้นหาความสุขที่แท้จริง

One of the most beautiful aspects of how God welcomes us is his tender embrace. If we read of when the prodigal son returns home (cf. Lk 15:20-22) and begins to speak, the father does not allow him to speak, he embraces him so he is unable to speak. A merciful embrace. Here, I address my brother confessors: please, brothers, forgive everything, always forgive, without pressing too much on people’s consciences; let them speak about themselves and welcome them like Jesus, with the caress of your gaze, with silent understanding. Please, the sacrament of Penance is not for torturing but for giving peace. Forgive everything, as God will forgive you everything. Everything, everything, everything.

            หนึ่งในสิ่งที่สวยงามที่สุดจากการที่พระเจ้าทรงต้อนรับพวกเรา คือ การโอบกอดของพระองค์ที่เปี่ยมด้วยความรัก ความเมตตา ความเข้าใจ ถ้าพวกเราอ่านเรื่องราวของลูกจอมล้างจอมผลาญที่เดินทางกลับบ้าน (เทียบ ลก. 15:20-22) และเริ่มที่จะพูด แต่ทว่าพ่อของเขากลับไม่ให้เขาพูดอะไร แต่กลับสวมกอดเขาเพื่อที่เขาไม่สามารถพูดได้ นี่เป็นการโอบกอดอันเปี่ยมด้วยความรักและความเมตตา ทั้งนี้พ่อขอพูดกับพี่น้องที่เป็นผู้ฟังแก้บาป:

            พ่อขอร้อง พี่น้องที่รัก พ่อขอให้ยกโทษ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใด และขอให้ยกโทษตลอด โดยไม่ต้องเน้นให้ผู้ที่มาแก้บาปพิจารณามโนธรรมของมากนัก แต่ให้พวกเขาพูดเกี่ยวกับตัวเขา และให้ต้อนรับพวกเขาเหล่านั้นเหมือนกับพระเยซูคริสต์ มองพวกเขาด้วยสายตาอันอ่อนโยน และความเข้าอกเข้าใจ พ่อขอเน้นว่า ศีลอภัยบาปไม่ใช่การทรมาน แต่เป็นการมอบสันติสุข พ่อขอให้ยกโทษสำหรับทุกเรื่อง ราวกับพระเจ้าทรงยกโทษให้พวกท่านสำหรับทุกอย่างที่ท่านทำ ทุกเรื่อง ทุกสิ่ง ทุกอย่าง

In this season of Lent, with contrite hearts let us quietly say, like the tax collector, “God, be merciful to me, a sinner!” (v. 13). Let us do so together: God, be merciful to me, a sinner! God, when I forget you or I neglect you, when I prefer my words and those of the world to your own word, when I presume to be righteous and look down on others, when I gossip about others, God, be merciful to me, a sinner! When I care nothing for those all around me, when I’m indifferent to the poor and the suffering, the weak and the outcast, God, be merciful to me, a sinner! For my sins against life, for my bad example that mars the lovely face of Mother Church, for my sins against creation, God, be merciful to me, a sinner! For my falsehoods, my duplicity, my lack of honesty and integrity, God, be merciful to me, a sinner! For my hidden sins, which no one knows, for the ways in which I have unconsciously wronged others, and for the good I could have done and yet failed to do, God, be merciful to me, a sinner!

            ในเทศกาลมหาพรตนี้ ด้วยหัวใจที่ยอมรับผิด ขอให้พวกเรากล่าวอย่างเงียบ ๆ เหมือนกับคนเก็บภาษี  “ข้าแต่พระเจ้า โปรดทรงพระกรุณาต่อข้าพเจ้าคนบาปด้วยเถิด!” (v. 13)

            ขอให้พวกเราทุกคนกล่าวด้วยกัน : ข้าแต่พระเจ้า โปรดทรงพระกรุณาต่อข้าพเจ้าคนบาปด้วยเถิด! ข้าแต่พระองค์ เมื่อลูกลืมพระองค์ หรือมองข้ามพระองค์ ยามที่ลูกเห็นว่าคำพูดของลูกนั้นดีกว่าวาจาของพระองค์ ยามที่ลูกมองว่าลูกเป็นผู้ชอบธรรมและดูถูกคนอื่น ๆ ยามที่ลูกนินทาคนอื่น! ยามที่ลูกไม่สนใจคนรอบข้าง ยามที่ลูกไม่รู้สึกยินดียินร้อยกับคนยากไร้และคนที่กำลังทนทุกข์ทรมาน ผู้คนที่อ่อนแอ และคนที่อยู่ชายขอบของสังคม ข้าแต่พระเจ้า โปรดทรงพระกรุณาต่อข้าพเจ้าคนบาปด้วยเถิด! สำหรับบาปที่ลูกทำต่อชีวิต ตัวอย่างไม่ดีที่ลูกเป็น ซึ่งทำร้ายใบหน้าของศาสนจักร สำหรับบาปที่ลูกทำต่อสิ่งสร้างต่าง ๆ ข้าแต่พระเจ้า โปรดทรงพระกรุณาต่อข้าพเจ้าคนบาปด้วยเถิด! สำหรับคำโกหกที่ลูกได้กล่าวไป การเสแสร้งหลอกหลวงที่ลูกได้ทำ การที่ลูกไม่ซื่อสัตย์ และซื่อตรง ข้าแต่พระเจ้า โปรดทรงพระกรุณาต่อข้าพเจ้าคนบาปด้วยเถิด! สำหรับบาปที่หลบซ่อนภายในใจของลูก ซึ่งไม่มีใครรู้ สำหรับสิ่งที่ลูกได้กระทำผิดต่อผู้อื่นโดยที่ลูกไม่ได้ตั้งใจ และสำหรับความดีงามต่าง ๆ ที่ลูกควรทำ แต่ยังคงล้มเหลวที่จะทำ ข้าแต่พระเจ้า โปรดทรงพระกรุณาต่อข้าพเจ้าคนบาปด้วยเถิด!

In silence, let us repeat these words for a few moments, with a repentant and trusting heart: God, be merciful to me, a sinner! And in this act of repentance and trust, let us open our hearts to the joy of an even greater gift: the mercy of God.

            ในความเงียบนั้น พ่อขอให้พวกเราทบทวนคำพูดเหล่านี้ซักพักหนึ่ง ด้วยหัวใจที่สำนึกผิดและเปี่ยมด้วยความไว้ใจ : ข้าแต่พระเจ้า โปรดทรงพระกรุณาต่อข้าพเจ้าคนบาปด้วยเถิด! นี่เป็นการสำนึกผิดและการไว้ใจ ขอให้พวกเราเปิดหัวใจของพวกเราเพื่อรับความชื่นชมยินดีอันมาจากของความที่ยิ่งใหญ่ : ความเมตตาของพระเจ้า

(วิษณุ ธัญญอนันต์ และธัญภรณ์ ลีกำเนิดไทย เก็บบทเทศน์นี้มาแบ่งปันและไตร่ตรอง)