.
เลือกหน้า
.
คำนำ
ด้วยในการประชุมเจ้าหน้าที่เซนาตุสและผู้ประสานงาน รวมถึงการไปเยี่ยมสมาชิกในสภาต่าง ๆ ได้รับทราบปัญหาจากสมาชิกในเรื่องการทำความเข้าใจเนื้อหาและการใช้ภาษาในคู่มือพลมารีย์ ประกอบกับมีการจัดแปลพระคัมภีร์ฉบับสมบูรณ์ขึ้นใหม่ ในปี ค.ศ. 2014
ดังนั้น เมื่อหนังสือคู่มือหมดลง ในการจัดพิมพ์ใหม่ จึงได้มีการพิจารณาปรับปรุงคู่มือ โดยเรียบเรียงการใช้ภาษาให้เป็นปัจจุบัน ทั้งนี้ยังคงรักษาความหมายทางด้านเทววิทยาไว้ให้ตรงกับต้นฉบับภาษาอังกฤษปี ค.ศ. 2005
เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์นี้ ที่ประชุมเจ้าหน้าที่เซนาตุสและผู้ประสานงาน จึงได้ตั้งคณะกรรมการปรับปรุงคู่มือพลมารีย์ขึ้น จำนวน 6 ท่าน โดยมี คุณพ่อชวลิต กิจเจริญ จิตตาธิการ เป็นผู้นำในการดำเนินการดังกล่าว และมีบราเดอร์วินัย มณีขาว ประธานเชนาตุส ชิสเตอร์วาภรณ์ นพคุณทอง เลขานุการเชนาตุส ชิสเตอร์รัตนา ดาราไทย ชิสเตอร์ดวงใจ เรืองสมบูรณ์ และชิสเตอร์พรรณทิพย์ ผิวเกลี้ยง ซึ่งได้รับมอบหมายจากที่ประชุมเป็นคณะทำงานในการปรับปรุงคู่มือ ปี ค.ศ. 2017 ฉบับนี้
การปรับปรุงคู่มือครั้งนี้ใช้เวลาประมาณ 2 ปี เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม ค.ศ. 2015 จนถึงเดือนกันยายน ค.ศ. 2017
ขอขอบคุณผู้มีพระคุณที่ได้สนับสนุนค่าใช้จ่ายบางส่วนในการจัดพิมพ์คู่มือฉบับนี้ รวมถึงคำภาวนาของสมาชิกพลมารีย์ทุกท่าน ช่วยให้งานนี้สำเร็จไปได้ด้วยดี
“สมาชิกทุกคนมีหน้าที่จะต้องศึกษาคู่มือให้ตลอดตามความสามารถ … ฉะนั้นจำต้องเข้าใจซึมชาบในแนวคิดการเผยแผ่ธรรมตามคู่มือนี้ และเปรสิเดียมต้องทำหน้าที่เป็นครูสั่งสอน กระบวนการนี้จะสำเร็จโดยอาศัยการอ่านคู่มือเป็นหนังสือศรัทธา การให้โอวาท และการเร่งรัดพลมารีย์ให้อ่านและศึกษาคู่มืออย่างถูกวิธี ความรู้ต้องไม่ชะงักอยู่เพียงแต่ทฤษฎี การปฏิบัติงานทุกอย่างต้องเกี่ยวข้องกับหลักที่เราเรียนรู้จากคู่มือ และเช่นนี้จึงจะสามารถเข้าใจความหมายฝ่ายวิญญาณได้ … นอกนั้นคู่มือยังมีคุณค่าเหมือนคำสอนของพระศาสนจักร เข้าใจได้ตามที่สภาสังคายนาวาติกัน ที่ 2 บัญญัติไว้” (คู่มือ บทที่ 33 ข้อ 10 หน้า 277, 279)
“เพื่อว่าการรณรงค์ในชีวิตนี้ผ่านพ้นไปแล้ว คณะพลมารีย์ของเราจะได้รวมกันให้พร้อมหน้า โดยไม่มีใครขาดสูญแม้แต่คนเดียว ในพระราชัยแห่งความรักและสิริมงคลของพระองค์ อาแมน”
คณะพลมารีย์ประเทศไทย (เซนาตุสมารีย์สมภพ)
8 กันยายน ค.ศ. 2017
ครบรอบ 96 ปี การก่อตั้งคณะพลมารีย์
.
อารัมภบท
หนังสือคู่มือ ถือว่าเป็นเสมือนเข็มทิศ ที่จะช่วยให้สมาชิกพลมารีย์ได้ทำงานอย่างมีจุดหมายปลายทาง บราเดอร์แฟร็งก์ ดั้ฟ ผู้ก่อตั้งคณะพลมารีย์มีสติปัญญาลึกซึ้ง เกี่ยวกับบทบาทของพระนางพรหมจารีมารีย์ ในแผนการไถ่กู้มนุษยชาติ รวมทั้งความเข้าใจถึงบทบาทของฆราวาส ท่านคงจะรู้และเข้าใจ แนวทางการดำเนินงานของคณะพลมารีย์เป็นอย่างดี ท่านจึงได้แต่งหนังสือคู่มือขึ้น จากต้นฉบับที่เป็นภาษาอังกฤษ หนังสือคู่มือได้รับการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ ทั่วโลก รวมทั้งภาษาไทยด้วย คู่มือจึงได้รับการแปลด้วยความอุตสาหะ เพื่อให้เนื้อหาทางด้านเทวิวิทยา สอดคล้องกับข้อความเชื่อของพระศาสนจักร ในเวลาเดียวกัน เมื่อหนังสือคู่มือได้รับการแปลเป็นภาษาไทย ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ทำให้เห็นว่าผู้ที่ทำหน้าที่แปล ได้พยายามทำงาน ให้ดีที่สุด เพื่อประโยชน์ของคณะพลมารีย์โดยส่วนรวม การคงไว้เรื่องความเชื่อ การใช้ศัพท์ในภาษาไทย ทำให้การแปลยังมีข้อบกพร่องอย่างแน่นอน
ฉะนั้น ในฐานะเป็นจิตตาธิการของเซนาตุส ได้เข้าร่วมประชุมที่มีการปรับปรุงคู่มือทุกครั้ง เพื่อจะได้เข้าใจขั้นตอนต่างๆ ตลอดจนช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ทำให้เข้าใจว่า การปรับปรุงคู่มือในครั้งนี้ เป็นการนำของพระจิตเจ้าอย่างแท้จริง ตั้งแต่วันแรกจนถึงวันสุดท้าย ในเวลาเดียวกันมีผู้มีน้ำใจดี ที่สนับสนุนการพิมพ์คู่มือ คณะพลมารีย์สัญญาว่าจะระลึกถึงทุกท่านในคำภาวนา
สุดท้าย ด้วยความเชื่อและความศรัทธาต่อพระแม่มารีย์ สมาชิกพลมารีย์หวังว่า พระแม่จะเป็นผู้นำทาง เพื่อให้พวกเราสามารถทำงาน เพื่อเกียรติมงคลของพระเป็นเจ้าอย่างแท้จริง โดยอาศัยคำแนะนำของหนังสือคู่มือ เป็นแนวทางในการทำงาน ตามจิตตารมณ์ของคณะพลมารีย์ เพื่อขยายพระราชัยของพระเป็นเจ้า ให้สอดคล้องกับความต้องการของพระศาสนจักร… ข้าแต่พระแม่มารีย์ ดวงดาราแห่งการประกาศพระวรสาร โปรดนำพวกลูกให้ตอบกระแสเรียกของการเป็นพลมารีย์อย่างชื่อสัตย์ตลอดชีวิตด้วยเทอญ
ด้วยความรักในพระแม่มารีย์
คุณพ่อชวลิต กิจเจริญ
วันระลึกถึงแม่พระแห่งลูกประคำ
วันที่ 7 ตุลาคม 2017
.
สารบัญ
อักษรย่อในพระคัมภีร์…(21)
อักษรย่อชื่อเอกสารของพระศาสนจักร…(23)
พระดำรัสของพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 ถึงคณะพลมารีย์…(26)
ข้อสังเกตเบื้องต้น…(30)
ประวัติของแฟร็งก์ ดั๊ฟ ผู้ก่อตั้งคณะพลมารีย์ และบทภาวนา…(31)
ภาพ แฟร็งก์ ดั๊ฟ…(33)
การจัดแท่นของพลมารีย์
แว็กซิลลุม ธงชัยคณะพลมารีย์ 2 แบบ
บทที่
1. ชื่อและต้นกำเนิดคณะพลมารีย์ … 1
2. วัตถุประสงค์ … 4
3. จิตตารมณ์ของคณะพลมารีย์ … 6
4. งานบริการของพลมารีย์ … 7
4.1. ต้อง “สวมเสื้อเกราะของพระเจ้า” … 7
4.2. ต้อง “เป็นพลีกรรมมีชีวิตชีวา ศักดิ์สิทธิ์ที่พระเจ้าทรงพอพระทัย” … 8
4.3. ต้องไม่เบือนหน้าหนี “งานหนักและตรากตรำ” … 8
4.4. จง “ดำเนินชีวิตในความรัก ดังที่พระคริสตเจ้าทรงรักเรา” … 9
4.5. ต้อง “ทำงานให้สำเร็จ” … 10
5. เค้าโครงความศรัทธาภักดีของคณะพลมารีย์ … 13
5.1. พระเป็นเจ้า กับ พระนางมารีย์ … 14
5.2. พระนางมารีย์ คนกลางจ่ายพระหรรษทานทุกประการ … 16
5.3. พระนางมารีย์ผู้นิรมล … 17
5.4. พระนางมารีย์ พระมารดาของชาวเรา … 18
5.5. ความศรัทธาของพลมารีย์คือรากฐานการเผยแผ่ธรรมของคณะ … 20
5.6. หากโลกรู้จักพระนางมารีย์ … 22
5.7. นำพระนางมารีย์มอบแก่ประชากรโลก … 23
6. หน้าที่ของพลมารีย์ต่อพระนางมารีย์ … 25
6.1. พลมารีย์แต่ละคน พึงถือเป็นเกียรติที่จะแสดงความศรัทธาภักดีต่อพระนางมารีย์ … 25
6.2. การถอดแบบความถ่อมองค์ของพระนางมารีย์ … 29
6.3. ความศรัทธาภักดีต่อพระนางมารีย์ต้องมีการแพร่ธรรม … 35
6.4. พยายามเข้มข้นในการรับใช้พระนางมารีย์ … 40
6.5. พลมารีย์ควรบำเพ็ญความศรัทธาภักดีต่อพระนางมารีย์ของนักบุญหลุยส์มารีย์ กรีญอง เดอ มงฟอร์ต … 45
7 . พลมารีย์ กับ พระตรีเอกภาพ … 51
8. พลมารีย์ กับ ศีลมหาสนิท … 58
8.1. พิธีบูชาขอบพระคุณ … 58
8.2. ภาควจนพิธีกรรม … 60
8.3. วจนพิธีกรรมศีลมหาสนิทร่วมเป็นหนึ่งเดียวกับแม่พระ … 60
8.4. ศีลมหาสนิท ขุมทรัพย์ของเรา … 63
9 . พลมารีย์ กับ พระกายทิพย์ของพระคริสตเจ้า … 66
9.1. บริการของพลมารีย์มีรากฐานจากหลักธรรมข้อนี้ … 66
9.2. พระนางมารีย์ กับ พระกายทิพย์ … 70
9.3. รับทนทรมานในพระกายทิพย์ … 74
10. คณะพลมารีย์ กับ การเผยแผ่ธรรม … 79
10.1. เกียรติศักดิ์ของพลมารีย์ … 79
10.2. ความจำเป็นที่ต้องมีฆราวาสแพร่ธรรม … 80
10.3. คณะพลมารีย์ กับ ฆราวาสแพร่ธรรม … 82
10.4. พระสงฆ์ กับ คณะพลมารีย์ … 83
10.5. คณะพลมารีย์ กับ วัด … 87
10.6. งานของพลมารีย์ส่งผลเป็นอุดมการณ์และกิจกรรมที่เข้มข้น … 88
10.7. การอบรมแบบวิธี ครูกับนักเรียนฝึกงาน … 90
11. โครงการของคณะพลมารีย์ … 93
11.1. การทำตัวให้เป็นคนศักดิ์สิทธิ์ – จุดมุ่งหมายและวิธีการ … 93
11.2. เป็นระบบที่มีระเบียบเคร่งครัด … 94
11.3 ความครบครันของสมาชิกภาพ … 96
11.4. ข้อผูกพันสำคัญประการแรก … 97
11.5. การประชุมเปรสิเดียมประจำสัปดาห์ … 99
12. จุดประสงค์ภายนอกของคณะพลมารีย์ … 100
12.1. งานสำคัญที่อยู่ใกล้มือ … 100
12.2. จุดมุ่งหมายที่กว้างไกลและสำคัญยิ่งขึ้น คือเป็นเชื้อฟูให้ชุมชน … 101
12.3. เชื่อมคนทั้งปวงเข้าด้วยกัน … 103
12.4. การประกอบกิจการสูงค่าเพื่อพระเจ้า … 109
13. สมาชิกภาพ … 113
14. เปรสิเดียม … 118
15. คำสัญญาของพลมารีย์ … 126
16. ขั้นเพิ่มเติมแห่งสมาชิกภาพ … 129
16.1. สมาชิกขั้นเปรโตเรียน … 129
16.2. สมาชิกสนับสนุน … 132
17. วิญญาณของพลมารีย์ผู้ล่วงลับ … 145
18. ระเบียบการประชุมเปรสิเดียม … 147
18.1. ลักษณะการประชุมทุกครั้งต้องเป็นแบบเดียวกัน … 147
18.2. ตรงตามเวลาที่กำหนด … 149
18.3. เปิดประชุม … 150
18.4. ต่อไปเป็นสายประคำห้าสิบเม็ด … 150
18.5. ทันทีต่อจากสายประคำเป็นการอ่านหนังสือศรัทธา … 151
18.6. อ่านรายงานการประชุมครั้งก่อน … 152
18.7. คำอบรมยืนยง … 153
18.8. รายงานของเหรัญญิก … 154
18.9. รับรายงานชองสมาชิก … 154
18.10. สวดบทกาเตนา (บทสายสัมพันธ์) ของพลมารีย์ … 158
18.11. การให้โอวาท (อัลลอกูชิโอ) … 159
18.12. เมื่อจบโอวาท ให้ทุกคนทำสำคัญมหากางเขน … 161
18.13. ถุงทาน … 161
18.14. ปิดการประชุม … 162
19. การประชุมและสมาชิก … 163
19.1. เคารพต่อการประชุม … 163
19.2. เปรสิเดียมต้องวางตนให้มีค่าสมกับความเคารพนี้ … 163
19.3. เปรสิเดียมต้องเคารพต่อกฎข้อบังคับ … 163
19.4. เปรสิเดียมต้องเป็นแบบอย่างยืนหยัดมั่นคงตลอดไป … 164
19.5. อากาศและแสงสว่าง … 164
19.6. จัดที่นั่งให้เหมาะสม … 165
19.7. เปรสิเดียมต้องประชุมในเวลาที่เหมาะสม … 165
19.8. ระยะเวลาประชุม … 165
19.9. ปิดประชุมเร็วเกินไป … 165
19.10. มาสายหรือกลับก่อน … 166
19.11. ระเบียบดี คือรากฐานของวินัย … 166
19.12. สำคัญยิ่งคือตรงต่อเวลา … 167
19.13. อาการสวดภาวนา … 168
19.14. การภาวนาเป็นอันเดียวกับการประชุม … 168
19.15. กิจศรัทธาที่วัดและการประชุม … 169
19.16. บทภาวนาพิเศษในการประชุม … 169
19.17. การรายงานเป็นการขัดแย้งกับความสุภาพถ่อมตนไหม … 170
19.18. ความปรองดองเป็นเครื่องแสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน … 170
19.19. งานของแต่ละคน เกี่ยวพันกับทุกคน … 171
19.20. รักษาความลับอย่างเด็ดขาด … 171
19.21. เสรีภาพในการพูด … 173
19.22. การประชุมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวสมาชิกภาพ … 173
19.23. เปรสิเดียมคือ “การประทับอยู่” ของแม่พระ … 174
20. ระบบคณะพลมารีย์เป็นระบบตายตัว … 176
21. บ้านนาชาเร็ธ ตัวอย่างของเปรสิเดียม … 178
22. บทภาวนาประจำคณะพลมารีย์ … 182
22.1. บทภาวนาเปิดประชุม … 182
22.2. บทกาเตนาของคณะพลมารีย์ (บทสายสัมพันธ์) … 184
22.3. บทภาวนาเฉพาะพลมารีย์ … 186
23. บทภาวนาเปลี่ยนแปลงไม่ได้ … 188
24. นักบุญองค์อุปถัมภ์ชองคณะพลมารีย์ … 189
24.1. นักบุญโยเชฟ … 189
24.2. นักบุญยอห์น ผู้นิพนธ์พระวรสาร … 191
24.3. นักบุญหลุยส์มารีย์ กรีญอง เดอ มงฟอร์ต … 192
24.4. อัครทูตสวรรค์มีคาแอล … 194
24.5. อัครทูตสวรรค์คาเบรียล … 195
24.6. คณะอำนาจสวรรค์ กองพลทูตสวรรค์ของพระนางมารีย์ … 197
24.7. นักบุญยอห์น ผู้ทำพิธีล้าง (ยวง บัปติสตา) … 200
24.8. นักบุญเปโตร … 202
24.9. นักบุญเปาโล … 203
25. ภาพสัญลักษณ์คณะพลมารีย์ … 204
26. แตสเซรา … 209
27. แว็กซิลลุมของพลมารีย์ ธงชัยของคณะพลมารีย์ … 210
28. การปกครองคณะพลมารีย์ … 213
28.1.กฎเกณฑ์ทั่วไปสำหรับทุกระดับหน่วยงานของคณะ … 213
28.2.คูเรียและคอมิเซียม … 226
28.3.เรเยีย … 232
28.4.เซนาตุส … 234
28.5.คอนซิเลียม … 236
29. ความภักดีของพลมารีย์ … 238
30. งานพิธีต่างๆ … 241
30.1. อาชีแอส … 241
30.2. งานประชุมใหญ่ประจำปี … 244
30.3. งานนอกสถานที่ … 246
30.4. งานฉลองเปรสิเดียม … 246
30.5. งานคอนเกรส … 246
31. การขยายคณะและหาสมาชิกใหม่ … 251
32. ข้อคัดค้านที่อาจจะได้รับ … 256
32.1. “ที่นี่ไม่จำเป็นต้องมีพลมารีย์” … 256
32.2. “หาผู้ที่เหมาะสมจะเป็นสมาชิกไม่ได้” … 257
32.3. “จะมีผู้รังเกียจการเยี่ยมของพลมารีย์” … 259
32.4. “เด็กทำงานหนักมาทั้งวันแล้ว จำต้องมีเวลาพักผ่อนบ้าง” … 259
32.5. “คณะพลมารีย์เป็นเพียงองค์กรหนึ่งที่เหมือนอีกหลาย ๆ องค์กร” … 260
32.6. “งานพลมารีย์นั้นมีองค์กรอื่น ๆ ทำอยู่แล้ว” … 261
32.7. “มีองค์กรต่าง ๆ มากอยู่แล้ว ทางที่ถูกควรจะฟื้นฟูแก้ไขคณะที่ดำเนินการอยู่” … 262
32.8. “ที่นี่เล็กนิดเดียว ไม่จำเป็นต้องมีคณะพลมารีย์” … 262
32.9. “งานบางอย่างของคณะพลมารีย์ เป็นงานฝ่ายวิญญาณซึ่งเป็นงานของพระสงฆ์” … 263
32.10. “เป็นห่วงว่าสมาชิกพลมารีย์จะไม่สามารถรักษาความลับได้” … 265
32.11. “อุปสรรคในการเริ่มต้นนั้นจะต้องมีเสมอ” … 265
33. หน้าที่พื้นฐานของพลมารีย์ … 267
33.1. เข้าประชุมเปรสิเดียมประจำสัปดาห์ตรงเวลาและสม่ำเสมอ … 267
33.2. ทำงานที่มอบประจำสัปดาห์ … 268
33.3. รายงานกิจการที่ทำด้วยวาจาต่อที่ประชุม … 270
33.4. พลมารีย์จะละเมิดความลับที่รับมอบมิได้ … 271
33.5. สมาชิกทุกคนควรมีสมุดบันทึก … 271
33.6. พลมารีย์ต้องสวดบทกาเตนา (บทสายสัมพันธ์) ของคณะพลมารีย์ทุกวัน … 272
33.7. สัมพันธภาพระหว่างสมาชิก … 273
33.8. ความสัมพันธ์ระหว่างคู่เยี่ยม … 275
33.9. การหาสมาชิกใหม่ … 276
33.10. ศึกษาหนังสือคู่มือ … 277
33.11. มีความสำนึกถึงหน้าที่เสมอ … 280
33.12. พลมารีย์ต้องภาวนาเช่นเดียวกับทำงาน … 283
33.13. ชีวิตภายในของพลมารีย์ (ก) การภาวนา (ข) พลีกรรม (ค) ศีลศักดิ์สิทธิ์ … 284
33.14. พลมารีย์ กับพระกระแสเรียกให้มาเป็นคริสตชนคาทอลิก … 291
34. หน้าที่ของเจ้าหน้าที่เปรสิเดียม … 295
34.1. จิตตาธิการ … 295
34.2. ประธาน … 299
34.3. รองประธาน … 304
34.4. เลขานุการ … 306
34.5. เหรัญญิก … 308
35. เงินทุน … 309
36. เปรสิเดียมที่ต้องกล่าวเป็นพิเศษ … 311
36.1. เปรสิเดียมเยาวชน … 311
36.2. เปรสิเดียมสามเณราลัย … 319
37. ข้อแนะนำเกี่ยวกับงานชนิดต่างๆ … 322
37.1. งานแพร่ธรรมภายในเขตวัด … 323
37.2. การออกเยี่ยมตามบ้าน … 325
37.3. การตั้งรูปพระหฤทัยในครอบครัว … 327
37.4. การสำรวจสำมะโนสัตบุรุษของวัด … 328
37.5. การเยี่ยมโรงพยาบาลรวมทั้งโรงพยาบาลโรคจิต … 329
37.6. งานเกี่ยวกับบุคคลน่ารังเกียจและด้อยโอกาสที่สุด … 333
37.7. งานเกี่ยวกับเยาวชน … 339
37.8. การเร่ขายหนังสือ … 347
37.9. การติดต่อกับกลุ่มชน … 351
37.10. งานเกี่ยวกับคนใช้คาทอลิก … 352
37.11. งานที่เกี่ยวกับทหารและคนเร่ร่อน … 353
37.12. การเผยแผ่วรรณคดีคาทอลิก … 354
37.13. ส่งเสริมธรรมเนียมร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณทุกวันและความศรัทธาต่อศีลมหาสนิท … 357
37.14. การหาและดูแลเอาใจใส่สมาชิกสนับสนุน … 359
37.15. การสนับสนุนงานธรรมทูต … 360
37.16. ส่งเสริมการเข้าเงียบ … 361
37.17. สมาคมพระหฤทัยเพื่อบรรดางดดื่มสุรา … 362
37.18. แต่ละแห่งย่อมมีความจำเป็นของตน … 363
38. ปาตรีเชียน … 365
39. จุดสำคัญในการแพร่ธรรมของคณะพลมารีย์ … 382
39.1. จะเข้าใกล้วิญญาณไม่ได้ หากไม่มีพระนางมารีย์ … 382
39.2. ต้องเพียรทน และอ่อนหวานอย่างไม่รู้สิ้นสุดต่อวิญญาณหาค่ามิได้ … 395
39.3. ความกล้าหาญแบบพลมารีย์ … 399
39.4. กิจการอันเป็นสัญลักษณ์ … 401
39.5. ต้องปฏิบัติงานอย่างเข้มแข็ง … 404
39.6. การควบคุมงานโดยเปรสิเดียม … 405
39.7 . เยี่ยมเป็นคู่ ช่วยคุ้มกันวินัยของพลมารีย์ … 406
39.8. ต้องรักษาลักษณะแนบเนียนภายในของงานพลมารีย์ … 407
39.9. ปรารถนาให้เยี่ยมทีละบ้านต่อกันไป … 408
39.10. ห้ามช่วยเหลือทางวัตถุ … 409
39.11. การเรี่ยไรเงิน … 412
39.12. ห้ามการเมืองในคณะพลมารีย์ … 412
39.13. แสวงหาและสนทนากับทุกคน … 412
39.14. ไม่มีใครเลวเกินจนแก้ไม่ได้และไม่มีดีจนเกินไป … 413
39.15. การแพร่ธรรมอย่างผิวเผินมีค่าน้อย … 414
39.16. เคล็ดลับแห่งอิทธิพลคือความรัก … 414
39.17. พลมารีย์แลเห็น และรับใช้พระคริสตเจ้าในแต่ละคนที่ไปทำงานติดต่อ … 415
39.18. พระนางมารีย์รักและเฝ้าดูแลพระบุตรผ่านทางพลมารีย์ … 415
39.19. ทุกประตูเปิดรับพลมารีย์ที่ถ่อมตนและมีสัมมาคารวะ … 417
39.20. ท่าทีการเยี่ยมสถาบัน … 418
39.21. พลมารีย์ต้องไม่พิพากษาใคร … 418
39.22. ท่าทีต่อเสียงวิพากษ์วิจารณ์ … 419
39.23. จำต้องไม่ท้อใจเลย … 420
39.24. เครื่องหมายกางเขนคือสำคัญแห่งความหวัง … 422
39.25. สำเร็จก็ยินดี ไม่สำเร็จคือความสำเร็จที่ต้องรอ … 423
39.26. ท่าทีต่อข้อบกพร่องของเปรสิเดียมและสมาชิกพลมารีย์ … 423
39.27. ห้ามการแสวงหาประโยชน์ส่วนตัว … 424
39.28. ห้ามให้ของขวัญแก่สมาชิก … 424
39.29. ไม่มีชั้นวรรณะในคณะพลมารีย์ … 425
39.30. ต้องมุ่งหมายประสานสามัคคี ไม่ใช่ตัดความสัมพันธ์ … 425
39.31. ไม่ช้าก็เร็ว พลมารีย์ต้องประสบงานยากเข็ญที่สุด … 426
39.32. ทัศนะต่ออันตราย … 426
39.33. คณะพลมารีย์ต้องอยู่ในแนวหน้าในสมรภูมิของพระศาสนจักร … 427
39.34. พลมารีย์ต้องเผยแผ่ทุกสิ่งที่เป็นคาทอลิก … 428
39.35. พรหมจารีควรประกาศสรรเสริญคือนำเรื่องแม่พระไปบอกสอนแก่มวลมนุษย์เพราะพระนางเป็นมารดาของเขาทุกคน … 429
40. จงไปเทศน์สอนพระวรสารแก่มนุษย์ทั้งมวล … 431
40.1. พระดำรัสสั่งสุดท้าย … 431
40.2. พลมารีย์ต้องมุ่งเข้าหาวิญญาณแต่ละดวง … 434
40.3.ความสัมพันธ์พิเศษกับพระศาสนจักรน้องสาวของเราธรรมประเพณีออร์โธดอกซ์ … 436
40.4. แสวงหาผู้กลับใจเข้าพระศาสนจักร … 438
40.5.ศีลมหาสนิท อุปกรณ์แห่งการกลับใจ … 444
40.6. ปัญหาหมู่ชนที่ทอดทิ้งศาสนา … 448
40.7.คณะพลมารีย์เป็นผู้สนับสนุนงานธรรมทูต สภาพการณ์ของงานธรรมทูต … 451
40.8. การจาริกแสวงบุญ เพื่อพระคริสตเจ้า … 457
40.9. ชาวบ้านพระแม่มารีย์ … 458
40.10. การแสวงหาวิญญาณในวันอาทิตย์ … 458
41. “ใหญ่ยิ่งกว่าหมดคือความรัก” … 459
41.1. สำหรับการรับเข้าในคณะพลมารีย์ … 460
41.2. ภายในคณะพลมารีย์ … 460
41.3. ท่าทีต่อองค์กรอื่น … 461
41.4. ท่าทีต่อพระสงฆ์เจ้าอาวาส … 461
ภาคผนวก 1 พระสมณสาส์นและพระดำรัสต่างๆของสมเด็จพระสันตะปาปา … 463
ภาคผนวก 2 บางส่วนจากกฤษฎีกาสภาสังคายนาวาติกัน ที่ 2 เรื่อง “พระศาสนจักร” … 470
ภาคผนวก 3 คัดมาจากกฎหมายพระศาสนจักร ว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของคริสตชนมราวาส … 474
ภาคผนวก 4 กองพลโรมัน … 477
ภาคผนวก 5 คณะพระนางมารีย์ ราชินีแห่งดวงใจ … 479
ภาคผนวก 6 เหรียญแม่พระปฏิสนธินิรมลหรือที่เรียกว่า “เหรียญอัศจรรย์” … 484
ภาคผนวก 7 คณะสายประคำศักดิ์สิทธิ์ … 487
ภาคผนวก 8 การสอนพระคริสตธรรม … 490
ภาคผนวก 9 สมาคมพระหฤทัยศักดิ์สิทธิ์ของผู้งดดื่มสุรา … 491
ภาคผนวก 10 การศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับความเชื่อ … 492
ภาคผนวก 11 บทสรุปสดุดีพระนางมารีย์ … 496
บทภาวนาของนักบุญเบอร์นาร์ด และนักบุญเอเฟรม … 500
ดรรชนี พระคัมภีร์ … 501
ดรรชนี เอกสารพระศาสนจักร … 505
ดรรชนี พระดำรัสและสมณลิขิตของพระสันตะปาปา … 511
ดรรชนี ผู้ประพันธ์และบุคคลอื่นๆ ที่น่าสนใจ … 513
ดรรชนี หัวข้อเรื่อง … 520
ข้ออ้างอิงถึงองค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา … 541
บทกวีของโยเชฟ มารีย์ พลั้งเก็ตต์ … 542
ประวัติความเป็นมาของคู่มือพลมารีย์ (ภาคภาษาไทย) … 543
หน้า 1 บทที่ 1 ชื่อและต้นกำเนิดคณะพลมารีย์
คณะพลมารีย์
“พระนางนั่นคือใครหนอ เสด็จมาดุจรุ่งอรุณ งามดั่งดวงจันทร์ รุ่งโรจน์ดั่งดวงอาทิตย์ น่าเกรงขามดุจกองทัพที่เรียงรายเป็นขบวนรบ” (พชม 6:10)
“นางพรหมจารีนั้นชื่อมารีย์” (ลก 1:27)
“คณะพลมารีย์ นับเป็นชื่อที่เหมาะสมอย่างยิ่ง” (พระสันตะปาปาปีโอ ที่ 11)
บทที่ 1
ชื่อและต้นกำเนิดคณะพลมารีย์
คณะพลมารีย์ (Legio Mariae หรือ The legion of Mary) เป็นสมาคมของชาวคาทอลิก ซึ่งพระศาสนจักรรับรองแล้ว มีพระนางพรหมจารีมารีย์นิรมล เป็นผู้นำที่ทรงพลานุภาพ พระนางเป็นคนกลางจ่ายพระหรรษทานทั้งสิ้น (พระนางงามดั่งดวงจันทร์ รุ่งโรจน์ดั่งดวงอาทิตย์ และน่าเกรงขามสำหรับซาตานและบริวารของมัน – ดุจกองทัพที่เป็นขบวนรบ) พลมารีย์รวมตัวเป็นกองทัพ เพื่อรับใช้พระศาสนจักรในสงครามตลอดกาล สู้รบกับโลกและความชั่วร้ายของมัน
“ตลอดชีวิตมนุษย์ ทั้งแต่ละคนและหมู่คณะ ต้องต่อสู้อย่างน่าตื่นเต้นระหว่างความดีกับความชั่ว ระหว่างความสว่างกับความมืด” (วาติกัน ที่ 2 :พระศาสนจักรในโลกสมัยนี้ ข้อ 13)
สมาชิกพลมารีย์ต่างหวังที่จะทำตนเองให้สมที่จะรับใช้พระมหาราชินีสวรรค์ด้วยความจงรักภักดี ด้วยฤทธิ์กุศลและความกล้าหาญ
คณะพลมารีย์จึงตั้งขึ้นในรูปกองทัพ เป็นต้นตามแบบกองทัพโรมันโบราณ โดยทับศัพท์ หมู่ หมวด กอง อย่างเดียวกันด้วย แต่กำลังคนและ
หน้า 2 บทที่ 1 ชื่อและต้นกำเนิดคณะพลมารีย์
อาวุธของพลมารีย์ ไม่ใช่แบบกองทัพฝ่ายโลกนี้
คณะพลมารีย์ ซึ่งบัดนี้นับว่าสำคัญแล้ว ถือกำเนิดอย่างต่ำต้อยที่สุด ไม่ใช่องค์กรที่มีการวางแผนไว้ก่อน จะว่าเกิดขึ้นเองอย่างฉับพลันก็ได้กฎเกณฑ์และข้อปฏิบัติก็ไม่ได้ตริตรองไว้ก่อน เพียงแต่มีการนัดแนะกันขึ้นกำหนดนัดเอาค่ำวันหนึ่งแล้วคนกลุ่มเล็ก ๆ ก็มาประชุมกัน ไม่มีใครนึกเลยว่าพวกตนจะกลายเป็นเครื่องมือของพระญาณเอื้ออาทร ผู้ทรงพระเมตตาหาที่เปรียบไม่ได้
มองภาพการประชุมคืนนั้นก็เหมือน ๆ กับการประชุมทุกวันนี้ไม่ผิดเพี้ยน ไม่ว่าจะเป็นการประชุมพลมารีย์ที่ไหนในโลก โต๊ะที่พวกเขาใช้ประชุมกัน ใช้เป็นพระแท่นง่าย ๆ ตรงกลางโต๊ะตั้งรูปแม่พระปฏิสนธินิรมล (แบบเดียวกับรูปแม่พระแห่งเหรียญอัศจรรย์) มีผ้าขาวปูรอง ข้างหน้ามีแจกันปักดอกไม้คู่หนึ่งและมีเทียนคู่หนึ่งจุดตั้งอยู่บนเชิง
การจัดดังกล่าวนี้ให้บรรยากาศสูงส่ง เป็นความคิดที่ผุดขึ้นจากคนหนึ่งที่เข้าประชุมรุ่นแรกนั้น เป็นเสมือนแก้วผลึกที่สะท้อนให้เห็นทุกสิ่งที่เป็นของคณะพลมารีย์
คณะพลมารีย์เป็นกองทัพแบบหนึ่ง นางพญาเจ้าของพวกเขาประทับอยู่แล้ว ก่อนที่พวกเขาจะมารวมกันเสียอีก พระนางทรงยืนรอรับสมาชิกที่มาสมัคร เพราะทรงทราบอยู่แล้วว่าแต่ละคนกำลังมาหาพระนาง ผู้สมัครไม่ได้เลือกพระนางเป็นแม่ทัพ พระนางต่างหากเลือกเขา และแต่นั้นมาต่างก็เดินเข้าสู่สมรภูมิร่วมกับพระนาง โดยตระหนักว่า ตราบใดที่ตนเป็นหนึ่งเดียวกับพระนางก็จะสามารถบากบั่นและได้รับชัยชนะในที่สุด
กิจการแรกที่พลมารีย์เหล่านี้ปฏิบัติร่วมกันคือคุกเข่าลง หนุ่มสาวที่มีใจร้อนรนก้มศีรษะ สวดบทอัญเชิญพระจิตเจ้า แล้วนิ้วที่เมื่อยล้าจากงาน
หน้า 3 บทที่ 1 ชื่อและต้นกำเนิดคณะพลมารีย์
ที่ทำมาทั้งวันก็บรรจงนับเม็ดสายประคำ ซึ่งเป็นกิจศรัทธาที่ง่ายดายที่สุดเมื่อจบบทวิงวอนสุดท้ายแล้ว ต่างก็พากันลุกขึ้นนั่ง ปรึกษาหารือกัน ภายใต้พระอุปถัมภ์ของพระนางมารีย์ (ซึ่งมีพระรูปประดิษฐานแทนอยู่) ว่าจะทำอย่างไรดีที่สุด ให้เป็นที่สบพระทัยพระเป็นเจ้า และให้มนุษย์ในโลกมารักพระองค์ ผลสืบเนื่องจากการปรึกษาหารือกันนี้เอง ทำให้เกิดคณะพลมารีย์โดยลักษณะและปฏิบัติการอย่างทุกวันนี้
น่าประหลาดไหมหนอ เขาเหล่านั้นที่ไม่ใช่คนสำคัญอะไร พบกันธรรมดา ๆ จะเกิดความคิดอย่างนึกไม่ถึง ว่าได้กำหนดชะตาโครงการสำคัญไว้ คงไม่มีสักคนที่รู้ตัวว่าพวกตนได้ก่อตั้งระบบพลังใหม่ ซึ่งถ้าดำเนินการอย่างเข้มแข็งและสัตย์ซื่อ จะมีพลานุภาพยิ่งใหญ่ ทั้งนี้ด้วยพระอุปถัมภ์ของพระนางมารีย์ จะสามารถบันดาลชีวิต ความโสมนัส และความหวังให้แก่ประชาชาติได้ ถึงกระนั้นการณ์ก็เป็นจริง
การลงชื่อสมัครเป็นสมาชิกพลมารีรุ่นแรก กระทำที่บ้านไมรา ถนนฟรันชิส นครดับลิน ประเทศไอร์แลนด์ เวลา 20:00 น. วันที่ 7 กันยายน ค.ศ. 1921 วันก่อนฉลองวันสมภพของพระนางมารีย์ เนื่องจากสถานที่กำเนิดชื่อแม่พระมหากรุณา องค์กรนี้จึงเป็นที่รู้จักกันในนาม “สมาคมแม่พระมหากรุณา” อยู่ชั่วระยะหนึ่ง
เหมือนกับเป็นการบังเอิญที่มีสิ่งแวดล้อมหลายสิ่งได้กำหนดวันดังกล่าว (7 กันยายน) ซึ่งขณะนั้นดูเหมือนว่าวันรุ่งขึ้นควรจะเป็นวันที่เหมาะสมกว่า อย่างไรก็ตามเมื่อเวลาผ่นไปหลายปี มีเหตุการณ์นับไม่ถ้วนพิสูจน์ให้เห็นความรักแท้ประสาแม่ ทำให้ตระหนักว่า พระแม่ได้ประทานพรชื่นใจที่สุดในวาระกำเนิดคณะพลมารีย์ วันแรกของโลก เริ่มจากเวลาค่ำไปสู่เวลาเช้า (ปฐก 1:5) และแน่นอน ต้องเป็นกลิ่นหอมแรก ไม่ใช่กลุ่มสุดท้ายที่เรา
หน้า 4 บทที่ 2 วัตถุประสงค์
พึงถวายเป็นเกียรติในวันสมภพของพระแม่ จึงเหมาะสมแล้วกับวาระแรกตั้งองค์กร (พลมารีย์) ซึ่งมีจุดหมายแรกมั่นคง ที่จะดำเนินการเยี่ยงพระแม่มารีย์คือเชิดชูพระเกียรติพระคริสตเจ้าและนำพระองค์ไปสู่มวลมนุษย์
“พระนางมารีย์เป็นแม่ของอวัยวะทั้งสิ้นของพระคริสตเจ้า เหตุว่าอาศัยพระ-เมตตาของพระนาง ที่ทรงร่วมให้กำเนิดเหล่าสัตบุรุษในพระศาสนจักร พระนางเป็นแม่พิมพ์ทรงชีวิตของพระเจ้า นั่นคือผ่านทางพระนางเท่านั้น ที่ “มนุษย์พระ” (The God – Man) ทรงมีพระวรกายตามธรรมชาติได้ โดยไม่สูญเสียความเป็นพระเจ้า และเฉพาะในพระนางเท่านั้นที่มนุษย์สามารถกลายเป็นพระเจ้าได้โดยเหมาะสม เท่าที่ธรรมชาติมนุษย์สามารถเป็นได้ ทั้งนี้เดชะพระหรรษทานของพระเยซูคริสตเจ้า” (นักบุญออกัสติน)
“คณะพลมารีย์แสดงโฉมหน้าแท้จริงของพระศาสนจักรคาทอลิก” (พระสันตะปาปายอห์น ที่ 23)
บทที่ 2
วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ของคณะพลมารีย์ คือ เพื่อพระสิริรุ่งโรจน์ของพระเป็นเจ้าทางความศักดิ์สิทธิ์ของสมาชิก ซึ่งพัฒนาด้วยการภาวนา และร่วมมือทำงานอย่างแข็งขัน ภายใต้การนำฝ่ายพระศาสนจักร ในงานของพระนางมารีย์และของพระศาสนจักร คือบดขยี้หัวงู (ปีศาจ) และขยายพระอาณาจักรของพระคริสตเจ้า
โดยขึ้นอยู่กับความเห็นชอบของสภาคอนซิเลียม และข้อบังคับที่ตราไว้ในหนังสือคู่มือทางการุของคณะ สมาชิกพลมารีย์อยู่ในบังคับบัญชา
หน้า 5 บทที่ 2 วัตถุประสงค์
ของพระสังฆราชแห่งสังฆมณฑล และพระสงฆ์เจ้าวัด เกี่ยวกับงานบริการสังคมและกิจการคาทอลิกทุกรูปแบบ ซึ่งผู้ใหญ่ฝ่ายพระศาสนจักรดังกล่าวจะพิจารณาว่าควรไม่ควร ที่พลมารีย์สมควรจะปฏิบัติ เพื่อประโยชน์แก่สวัสดิภาพของพระศาสนจักร พลมารีย์จะไม่ทำการใด ๆ ที่พระสงฆ์เจ้าอาวาสหรือสมณะประมุขไม่อนุมัติ
คำว่า “สมณะประมุข” ในหนังสือนี้หมายถึงสมณะผู้ปกครองท้องถิ่น เช่น พระสังมราชแห่งสังฆมณฑล หรือ ผู้ใหญ่ที่พระศาสนจักรมอบหมายให้ปกครอง
(ก) เป้าหมายเร่งด่วนขององค์กรต่างๆ ในระดับงานแพร่ธรรม ตามจุดประสงค์ของพระศาสนจักร คือ การประกาศพระวรสาร การทำให้มนุษย์ มีความศักดิ์สิทธิ์ และการอบรมให้เขามีมโนธรรมคริสตชน เพื่อเขาจะได้แทรกจิตตารมณ์พระวรสาร เข้าไปในสังคมและสิ่งแวดล้อม
(ข) การที่ฆราวาสได้ร่วมงานกับพระฐานานุกรม ตามวิธีของเขาเองนั้น เป็นการนำประสบการณ์ของเขามาใช้ให้เป็นประโยชน์ และรับผิดชอบในการบริหารองค์กรของตน ในการพิจารณาสภาพที่จะนำการอภิบาลสัตบุรุษของพระศาสนจักรมาปฏิบัติและในการคิดและนำแผนการนั้นมาปฏิบัติ
(ค) ฆราวาสปฏิบัติการนั้นเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เช่นเดียวกับระบบการทำงานของร่างกาย จนกระทั่งแสดงให้เห็นลักษณะเป็นหมู่คณะของพระศาสนจักรเด่นชัดขึ้น และการแพร่ธรรมยังผลดียิ่งขึ้นด้วย
(ง) ไม่ว่าฆราวาสจะมาทำงานแพร่ธรรมด้วยตนเอง หรือรับเชิญ มาร่วมงานกับพระฐานานุกรมก็ตาม ถือว่าเขามาทำงานภายใต้การนำของพระฐานานุกรม และต่อมามีการรับรองอย่างแจ่มชัดถึงการมาร่วมงานนี้” (สมณกฤษฎีกาว่าด้วยการแพร่ธรรมของฆราวาส ข้อ 20)
หน้า 6 บทที่ 3 จิตตารมณ์ของคณะพลมารีย์
บทที่ 3
จิตตารมณ์ของคณะพลมารีย์
จิตตารมณ์ของคณะพลมารีย์ คือจิตตารมณ์ของพระนางมารีย์เองโดยเฉพาะพลมารีย์มุ่งเจริญรอยตามพระนาง ในเรื่องการถ่อมองค์อย่างลึกซึ้งในความนอบน้อมเชื่อฟังสมบูรณ์แบบ ในความอ่อนหวานเยี่ยงทูตสวรรค์ในการสวดภาวนาเป็นนิจ ในการทรมานกายเสมอ ในความบริสุทธิ์ไม่ด่างพร้อย ในความอดทนอย่างวีรชน ในความชาญฉลาดจากเบื้องบน ในความรักพระเป็นเจ้าอย่างไม่เห็นแก่ตัวเลย และเหนืออื่นใดในความเชื่อของพระนางอันเป็นคุณธรรมที่มีล้นเหลือเฉพาะพระนางแต่ผู้เดียว ไม่มีผู้ใดเสมอเหมือน
พลมารีย์ได้รับความรักและความเชื่อของพระนางมารีย์เป็นแรงดลใจจึงพยายามทำทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นงานอะไรโดย “ไม่บ่นเลยว่าเป็นไปไม่ได้เพราะเชื่อว่าอาจทำได้และทำได้ทุกสิ่ง” (จำลองแบบพระคริสต์ ภาค 3 บทที่ 5)
“แบบฉบับดีเลิศแห่งชีวิตฝ่ายวิญญาณและการแพร่ธรรมสำหรับฆราวาสทุกฐานะคือพระนางพรหมจารีมารีย์ ราชินีแห่งคณะอัครสาวก ขณะที่พระนางดำรงชีวิตในโลกเหมือนคนอื่น ๆ ต้องเอาใจใส่และทำงานในครอบครัวนั้น พระนางร่วมชิดสนิทกับพระบุตรตลอดเวลาและร่วมมีส่วนในงานของพระองค์อย่างไม่มีใครทำเหมือนได้ … ทุกคนควรเคารพศรัทธาภักดีต่อพระนางและฝากชีวิตกับการแพร่ธรรมไว้ในความเอาใจใส่ของพระนาง” (กฤษฎีกาว่าด้วยการแพร่ธรรมของฆราวาส ท้ายข้อ 4)
หน้า 7 บทที่ 4 งานบริการของพลมารีย์
บทที่ 4
งานบริการของพลมารีย์
1. ต้อง “สวมเสื้อเกราะของพระเจ้า” (อฟ 6:11)
คณะพลมารีย์ตั้งชื่อเลียนแบบกองทัพโรมันชั่งมีชื่อเสียงมาเป็นร้อย ๆ ปี ในเรื่องความจงรักภักดี ความกล้าหาญ ความมีวินัยเคร่งครัด ความอดทน มีประสิทธิภาพสูง ล้วนแล้วแต่เพื่อจุดหมายปลายทางที่ต่ำต้อยและหวังสมบัติฝ่ายโลก (ดูภาคผนวก 4 กองพลโรมัน) เห็นได้ชัดว่าพลมารีย์ไม่อาจถวายนามนี้แด่พระนางได้ เพราะคุณสมบัติดังกล่าวเป็นมาตรฐานต่ำสุดสำหรับงานพลมารีย์อยู่แล้ว (เปรียบประดุจถวายสร้อยสังวาลย์ที่แกะเพชรออกเสียแล้ว)
นักบุญเคลเมนต์ผู้กลับใจโดยเป็นผู้ร่วมงานของนักบุญเปโตรและเปาโลเป็นผู้เสนอให้พระศาสนจักรจัดระเบียบปกครองแบบกองทัพโรมัน
“ใครเล่าคือศัตรู ก็คือคนชั่วที่ขัดพระประสงค์ของพระเป็นเจ้าฉะนั้นให้เราโดดเข้าสงครามฝ่ายพระคริสตเจ้า และมอบตัวเองอยู่ในบังคับบัญชาอันรุ่งโรจน์ของพระองค์ ให้พิจารณาทหารโรมันที่อยู่ในระเบียบวินัยในความพร้อมและในการเชื่อฟังคำสั่ง ใช่ว่าทหารโรมันทุกคนจะเป็นหัวหน้าผู้บังคับบัญชาระดับสูง หรือระดับต่ำ แต่ทุกคนในตำแหน่งของตนจะเล็กหรือใหญ่ก็ตาม จะถือพระบัญชาของจักรพรรดิและนายเหนือตนเป็นที่ตั้งผู้ใหญ่จะมีได้อย่างไรถ้าไม่มีผู้น้อย และผู้น้อยจะเป็นอย่างไรถ้าไม่มีผู้ใหญ่เอกภาพของแต่ละองค์กรย่อมเกี่ยวพันกันและมีส่วนช่วยเหลือกันและกัน
“ให้เราดูตัวอย่างอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย ศีรษะจะไม่มีความหมายเลยถ้าไม่มีเท้า เช่นเดียวกัน เท้าก็ไม่มีความหมายเลยถ้าขาดศีรษะ อวัยวะในร่างกายเรานั้น
หน้า 8 บทที่ 4 งานบริการของพลมารีย์
แม้จะเป็นส่วนที่เล็กที่สุดก็ตาม ถือว่าสำคัญและมีคุณค่าต่อร่างกายโดยส่วนรวม ตามข้อเท็จจริงทุก ๆ ส่วนทำงานร่วมกัน ส่งเสริมกัน พึ่งกัน จึงต่างต้องยอมเชื่อฟังทางเดียวกันเพื่อประโยชน์ของทั้งร่างกายนั้นเอง” (จากสารถึงชาวโครินธ์ ค.ศ. 96 บทที่ 36, 37 ของนักบุญเคลเมนต์ พระสันตะปาปาและมรณสักขี)
2. ต้อง “เป็นพลีกรรมมีชีวิตชีวา ศักดิ์สิทธิ์ ที่พระเจ้าทรงพอพระทัยและไม่ใช่แบบชาวโลก” (รม 12:1-2)
จากพื้นฐานเช่นนี้ พลมารีย์ที่ชื่อสัตย์จะบังเกิดฤทธิ์กุศลยิ่งใหญ่ตามปัจจัยที่สูงขึ้น โดยเฉพาะจะเป็นความใจกว้างที่มีศักดิ์ศรี อันสะท้อนความนึกคิดของนักบุญเทเรชาแห่งอาวิลาที่ว่า “มรณสักขีเยี่ยงนี้แหละที่ข้าพเจ้าปรารถนา : ที่รับจะรับมาก ที่จ่ายจะจ่ายน้อย ๆ”
เมื่อรำพึงถึงพระเยชูผู้ถูกตรึงกางเขน พระผู้ประทานลมปราณเฮือกสุดท้ายและพระโลหิตหยดสุดท้ายด้วยแล้ว พลมารีย์จำต้องรับใช้ถวายผลงานที่แสดงให้ประจักษ์ว่า ได้ถวายจนสิ้นทั้งกายและใจเช่นกัน
“มีอะไรอีกที่ฉันจะทำได้เพื่อสวนองุ่นของฉัน แต่ยังไม่ได้ทำ” (อสย 5: 4)
3. ต้องไม่เบือนหน้าหนี “งานหนักและตรากตรำ” (2 คร 11:27)
คาทอลิกที่ศรัทธาลุกร้อน จะต้องไม่ประมาทและเตรียมพร้อมที่จะเผชิญกับเครื่องประหัตประหารหรือต้องทรมาน
โดยทั่วไปแล้ว การอุทิศตนทำงานพลมารีย์จะอยู่ระดับธรรมดาแต่ก็เป็นโอกาสพอที่จะฝึกงานขั้นวีรกรรมแท้แบบเงียบ
งานแพร่ธรรมของพลมารีย์จะเข้าไปเกี่ยวกับคนมากหลาย ที่อยากอยู่ให้ไกลอิทธิพลที่ดี และจะแสดงออกนอกหน้าว่าไม่พอใจต้อนรับผู้มาด้วยความหวังดี คนเหล่านี้เอาชนะได้ แต่วิธีการต้องเป็นไปด้วยความอดทนและกล้าสู้
หน้า 9 บทที่ 4 งานบริการของพลมารีย์
การแสดงออกที่ไม่ชวนให้คบ สีหน้าบอกบุญไม่รับและถ้อยคำบาดหูบาดใจ สีหน้าเยาะหยันและเสียงวิจารณ์ทางลบ แล้วยังเรื่องจากตัวเอง เช่น ความอิดโรยทั้งกายและใจ ผลกระทบจากความล้มเหลวและความไม่รู้คุณคนทั้งยังจากสิ่งแวดล้อม เช่น อากาศที่หนาวเหน็บ ฝนตกไม่ลืมหูลืมตา น้ำครำโคลนตมและกลิ่นเหม็นน่ารังเกียจ ตรอกซอกมืดมัว หาความเจริญตาเจริญใจไม่ได้ ไหนจะความกังวลเรื่องงาน แถมให้ต้องคิดถึงศีลธรรมเสื่อมโทรมศาสนาห่างหาย มีแต่ทุกข์ทับถมให้ต้องแบกไว้ทั่วหน้ากัน
ทั้งหมดนี้จะให้เย็นตาเย็นใจไม่มี แต่ถ้ารู้จักเผชิญกับสิ่งไม่พึงใจทั้งหลายเหล่านี้ ฟันฝ่าด้วยความชื่นชม แปรให้เป็นความพอใจ กัดฟันสู้จนถึงที่สุด ผลที่ออกมาถ้าเอาขึ้นชั่ง จะเห็นได้ว่าใกล้ความรัก ซึ่งมีผู้เดียวเท่านั้นที่ให้ได้คือท่านที่ยอมตายถวายชีวิตเพื่อสหายของท่าน
“ข้าพเจ้าจะตอบแทนพระยาห์เวห์ได้อย่างไร ให้สมกับที่ทรงดีต่อข้าพเจ้า” (สดด 116:12)
4. จง “ดำเนินชีวิตในความรัก ดังที่พระคริสตเจ้าทรงรักเราและทรงมอบพระองค์เพื่อเราเป็นเครื่องบูชาที่มีกลิ่นหอมถวายแด่พระเจ้า” ( อฟ 5:2)
เคล็ดลับความสำเร็จในการติดต่อกับผู้อื่นนั้น อยู่ที่การสร้างความสัมพันธ์ติดต่อกันถึงตัวบุคคล ตามวิธีการแห่งความรักและเห็นอกเห็นใจกันไม่ใช่การแสดงความรักเพียงผิวเผิน แต่จะต้องแน่นแฟ้นพอที่จะเรียกว่ามิตรภาพได้ บ่อยครั้งเรื่องนี้ ต้องอาศัยพลีกรรมด้วย เช่น ขณะที่อยู่ท่ามกลางสังคมหรูหราต้องไปพบกับคนที่เคยไปเยี่ยมเขาขณะถูกจองจำ หรือปรากฎตัวเข้ากลุ่มกับคนซอมช่อเหมือนขอทาน หรือต้องเข้าไปจับมือเป็นมิตรกับกรรมกร หรือไปร่วมวงกินข้าวกับยาจกในบ้านเท่ารูหนู ล้วนผิดกาลเทศะทำให้อึดอัดวางตัวไม่ถูก แต่ถ้าเราเลี่ยงไม่ปฏิบัติ ท่าทีความเป็นมิตรก็จะ
หน้า 10 บทที่ 4 งานบริการของพลมารีย์
เป็นเพียงการเสแสร้ง ความสัมพันธ์อันดีจะขาดสะบั้น วิญญาณที่ช่วยไว้ก็จะกลับทรุดลงสู่ความมืดมนอย่างเดิม
ที่สุดของงานที่ได้ผลจริง ๆ อยู่ที่ความพร้อมที่จะอุทิศตัวเต็มที่ ปราศ-จากความพร้อมเช่นนี้งานนั้นก็ไม่มีสาระสำคัญ พลมารีย์ที่กำหนดขอบเขตการอุทิศตนว่า “จะอุทิศได้เพียงเท่านี้เท่านั้น มากกว่านี้ไม่ได้” ต่อให้ทุ่มเททำงานสักเท่าไรก็ตาม ผลที่ได้รับจะเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้น ตรงกันข้ามถ้ามีความพร้อมที่จะอุทิศตัวทำงาน ผลที่ได้จะใหญ่หลวง
“พระเยชูเจ้าทรงตอบว่า ท่านจะสละชีวิตเพื่อเราหรือ” (ยน 13:38)
5. ต้อง “ทำงานให้สำเร็จ” (2 ทธ 4:7)
ดังนั้นงานของคณะพลมารีย์จึงเป็นงานบริการที่ไม่มีขอบเขต หรือข้อจำกัด กล่าวเช่นนี้ไม่ใช่คำแนะนำเพื่อได้ผลสมบูรณ์แบบเท่านั้น แต่เพื่อความจำเป็นต้องกระทำด้วย เพราะถ้าไม่เล็งผลเลิศแล้ว ไหนเลยจะได้สมาชิกที่อดทนยั่งยืนได้สำเร็จ งานเผยแผ่ธรรมที่ต้องพยายามดำเนินการชั่วชีวิตจัดได้ว่าเป็นวีรกรรมและจะมีได้ก็แต่ในความพยายามอย่างไม่ลดละที่จะประกอบกิจขั้นวีรกรรมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นบำเหน็จตอบแทนใหญ่หลวงแล้ว
ความพยายามอย่างไม่ลดละ ไม่ใช่เรื่องเดียวที่พลมารีย์จะต้องจดจำ หน้าที่หรืองานทุกอย่างในคณะ จะต้องตีตราไว้เลยว่า มีความสำคัญที่จะต้องกระทำด้วยความพยายามอดทนเสมอเหมือนกันหมด ความเปลี่ยนแปลงจะต้องมีแน่นอน สถานที่และคนที่ไปเยี่ยมเยียนย่อมมีต่างกันไปงานเก่าสำเร็จแล้ว งานใหม่คงมีต่อไป ทั้งหมดนี้เป็นการหมุนเวียนของชีวิตตามธรรมดา ไม่ใช่การทำงานตามอารมณ์ จับจด หรือคอยแต่จะหางานใหม่ๆล้วนจะพาให้ถึงจุดจบที่ทำให้วินัยดีที่สุดพังทลาย
หน้า 11 บทที่ 4 งานบริการของพลมารีย์
ด้วยความขยาดกับการชอบเปลี่ยน ชอบของใหม่ คณะพลมารีย์จึงร่ำร้องไม่หยุดยั้ง ขอให้พลมารีย์มีอารมณ์ที่หนักแน่น และจากการประชุมทุกครั้งเมื่อมอบงานให้สมาชิก มักจะกำชับไปด้วยว่า “ทำให้สำเร็จ”
ความสำเร็จแท้จริงขึ้นอยู่กับความพยายามที่มั่นเหมาะ ซึ่งเป็นผลจากการมุ่งมั่นที่จะเอาชนะ กำลังใจมุ่งมั่นไม่ลดละเช่นนี้ จะไม่ยอมถอยเลย ด้วยเหตุนี้คณะพลมารีย์ถือว่าทั้งสาขาและสมาชิกมีทัศนคติเหมือนกันหมดคือไม่ยอมรับความพ่ายแพ้ หรือเพียงจำแนกประเภทงานในทำนองว่า “ทีท่ามีหวัง” หรือ “ไม่สู้จะมีหวัง” หรือ “ไม่มีทางสำเร็จ” ฯลฯ
งานพลมารีย์ถ้าจัดให้งานใดเป็นประเภท “ไม่มีทางสำเร็จ” ก็เท่ากับการปล่อยให้วิญญาณซึ่งหาค่าไม่ได้ลงนรกโดยไม่ได้ทำอะไรเลย อีกทั้งยังเป็นการแสดงให้เห็นว่า ความปรารถนาให้สำเร็จทันตาเห็น สำคัญกว่าจุดหมายแท้จริงของการแพร่ธรรม (ซึ่งแม้ยังไม่เห็นผลวันนั้น ก็อาจบังเกิดผลในวันหน้าได้) ทำนองเดียวกับการหว่านข้าว หว่านแล้วจะให้งอกเป็นต้นขึ้นมาทันทีไม่ได้ งานแพร่ธรรมถ้ายังไม่เนผลทันทีก็ท้อถอยไม่ได้ มิฉะนั้นก็ต้องทอดทิ้งงานนั้น
เป็นที่รู้กันแล้วว่า การกำหนดผลงานใดก็ตาม ว่า “ไม่มีทางสำเร็จ”จะทำให้งานอื่นพลอยเสียไปด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้ ไม่ว่าจะทำงานอะไร จะเกิดความไม่แน่ใจงานที่ทำนั้นจะสมกับความพยายามหรือเปล่า ความสงสัยไม่แน่ใจเล็กน้อยเพียงไรก็ตาม จะทำให้งานเป็นอัมพาตได้
ที่ร้ายที่สุดคือ ความเชื่อจะเลิกแสดงบทบาทในงานของพลมารีย์เนื่องจากจะปฏิบัติงานแต่ที่เล็ก ๆ น้อย ๆ เท่าที่ชอบด้วยเหตุผลเท่านั้นเองเมื่อความเชื่อถูกละเลย และความตั้งใจในงานแห้งขอดไป ความขลาดเขลา ใจแคบ และความฉลาดทางโลกซึ่งถูกกำกับไว้ จะหลั่งไหลพรั่งพรูเข้ามาแทนที่
หน้า 12 บทที่ 4 งานบริการของพลมารีย์
และความจะปรากฎว่าคณะพลมารีย์ทำงานอย่างไม่เต็มใจ ครึ่งๆ กลางๆ เป็นของถวายพระที่น่าละอายอย่างยิ่ง
งานของพลมารีย์นั้น สำคัญอยู่ที่เจตนาอันแน่วแน่ ส่วนโครงการดำเนินงานนั้นยังเป็นรองการกระทำที่จริงจัง ฉะนั้นสมาชิกพลมารีย์ไม่จำเป็นต้องเป็นคนมีอิทธิพล หรือมั่งคั่งเป็นเศรษฐี แต่จะต้องมีความเชื่อที่ไม่สั่นคลอน
งานของพลมารีย์นั้น ไม่จำเป็นต้องโดดเด่น แต่จะต้องเป็นความพยายามที่ไม่ท้อถอย
งานนั้นไม่จำเป็นต้องปราดเปรื่องแต่จะต้องเป็นความรักที่ไม่รู้จักโรยรา
งานนั้นไม่จำเป็นต้องใช้พลังมหาศาล แต่จะต้องอยู่ในวินัยที่เข้มงวด งานของพลมารีย์ยืนหยัดมั่นคง ไม่มีการท้อถอย หรือเสียกำลังใจเหมือนหลักศิลาท่ามกลางวิกฤตการณ์ คือ ต่อเนื่องตลอดรอดฝั่ง มุ่งหวังความสำเร็จ เมื่อสำเร็จก็ไม่เย่อหยิ่ง ไม่ยึดมั่นกับความสำเร็จนั้น จะต่อสู้กับความล้มเหลว จนแล้วจนรอด จนความล้มเหลวพ่ายแพ้ ชนะความยากลำบาก และความจำเจ ซึ่งล้วนแต่เบิกทางให้ความเชื่อและความมานะบากบั่น สมาชิกพลมารีย์จะต้องพร้อมและเด็ดขาดเมื่อถูกเรียก แม้จะยังไม่ถึงเวรก็ตื่นตัวอยู่ทุกขณะ แม้จะไม่มีการต่อสู้หรือมีศัตรู ก็ให้ลาดตระเวนอย่างเข้มแข็ง ไม่ประมาท เพื่องานของพระเป็นเจ้า
พลมารีย์จะไม่ท้อถอย แม้จะเป็นงานที่เสมือนเหลือบ่ากว่าแรงก็ยินดีเข้าประทังไม่ให้เกิดช่องโหว่ เปิดทางให้ศัตรู จะไม่ถือว่างานใดใหญ่เกินตัว หรือหน้าที่ใดไร้ค่า แต่จะเอาใจใส่ทำงานอย่างละเอียดถี่ล้วนเหมือนกันหมด ให้ความตั้งใจจริง มานะอดทน และปฏิบัติงานทุกอย่างด้วยความอดทน
หน้า 13 บทที่ 5. เค้าโครงความศรัทธาภักดีของคณะพลมารีย์
พลมารีย์จะทำงานเหมือนประจำการ เพื่อความรอดของวิญญาณตลอดเวลา พร้อมเสมอที่จะโอบอุ้มผู้อ่อนแอ ฟันฝ้ามรสุมความอ่อนแอให้หลุดพ้น เฝ้าจ้องคอยจังหวะที่จะช่วยผู้ใจแข็งกระด้างเผลออ่อนไหวให้เขาได้วิญญาณรอด พลมารีย์จะไม่เหนื่อยหน่ายที่จะค้นหาวิญญาณที่หลงทางให้คืนกลับ จะไม่คิดถึงตัวเองเลย แต่จะยืนอยู่เคียงข้างกางเขนของเพื่อนมนุษย์และจะอยู่กับเขาจนกระทั่งได้ช่วยเขาสำเร็จ
งานของพลมารีย์จะต้องไม่ล้มเหลว เพราะพลมารีย์ได้ถวายตัวกับ “พระนางพรหมจารีทรงสัตย์” และเมื่อใช้ชื่อพระนางตั้งคณะ จำเป็นอยู่เองที่คณะจะพึงปฏิบัติตนให้สมชื่อ เพื่อถวายเกียรติแด่พระนาง
บทที่ 5
เค้าโครงความศรัทธาภักดีของคณะพลมารีย์
เค้าโครงความศรัทธาภักดีของคณะพลมารีย์ เห็นได้จากบทภาวนาของคณะ รากฐานของคณะพลมารีย์นั้น สร้างบนความเชื่อศรัทธาในพระเป็นเจ้าและในความรักของพระองค์ที่มีต่อเรามนุษย์ พระองค์ทรงปรารถนาพระสิริรุ่งโรจน์ยิ่งใหญ่จากความบากบั่นของเรา และจะบันดาลให้ความบากบั่นนั้นนิรมลผุดผ่องบังเกิดผลและดำรงอยู่ถาวร
มนุษย์เรานั้นเปลี่ยนแปลงระหว่างความเย็นเฉยกับความวิตกกังวล เพราะเราคิดว่า พระองค์ไม่สนพระทัยดูงานของเรา แต่ตรงกันข้าม ถ้าเปรียบงานเป็นต้นไม้ พระองค์เองทรงเป็นผู้ปลูกเราเป็นเพียงผู้รับดำเนินการให้เกิดเป็นผล โดยพระองค์ทรงอุ้มอยู่ตลอด
หน้า 14 บทที่ 5. เค้าโครงความศรัทธาภักดีของคณะพลมารีย์
เวลาที่ปฏิบัติงาน ความสำเร็จแต่ละเรื่องล้วนมาจากพระองค์มากกว่าที่จะมาจากฝีมือเรา พระองค์ทรงปรารถนายิ่งกว่าเรามากนักที่จะให้คนบาปกลับใจ เราปรารถนาเป็นคนศักดิ์สิทธิ์ แต่พระประสงค์ของพระองค์ในเรื่องนี้มากมายกว่าเราหลายล้านเท่า
สาระสำคัญที่พลมารีย์จะต้องยึดถือ คือให้รู้ถึงความใกล้ชิดสนิทกับพระเป็นเจ้า พระบิดาแสนประเสริฐและในงานสองสถานคือปฏิบัติตัวเองให้ศักดิ์สิทธิ์และให้รับใช้เพื่อนมนุษย์ งานนี้จะไม่เป็นปัญหาเลย นอกเสียจากจะขาดความไว้วางใจ การที่เรามีความเชื่อมั่นเพียงพอ พระเป็นเจ้าจะทรงใช้เราพิชิตโลกมาถวายพระองค์
“เพราะทุกคนที่เกิดจากพระเจ้าชนะโลกแล้ว ชัยชนะที่ชนะโลกก็คือความเชื่อของเรา” (1 ยน 5:4)
“พระเจ้าทรงพระปรีชาและทรงรอบรู้ลึกล้ำเพียงใด คำตัดสินของพระองค์สุดที่จะหยั่งรู้ได้ และมรรคาของพระองค์สุดที่จะเข้าใจได้” (รม 11:33) เราอาจกล่าวได้ว่า “พระนางมารีย์ประทับอยู่ตรงใจกลางของ “วิธีดำเนินการสุดจะอธิบาย” และ “การตัดสินพระทัยสุดจะเข้าใจ” เหล่านั้นพอดีตามน้ำพระทัยนิรันดรของพระผู้สูงสุดและพระนางก็โอนอ่อนผ่อนตามแสงสว่างแห่งความเชื่อ แม้จะยังไม่เข้าใจชัดเจน พระนางก็เต็มใจยินยอมน้อมรับทุกสิ่งในแผนการของพระเป็นเจ้าอย่างสิ้นเชิง” (พระนางมารีย์ พระมารดาพระผู้ไถ่ RMat 14)
1. พระเป็นเจ้า กับ พระนางมารีย์
ถัดจากพระเป็นเจ้า คณะพลมารีย์ยึดความเลื่อมใสศรัทธาต่อพระนางมารีย์เป็นสรณะ เพราะพระนางเป็น “องค์มหัศจรรย์สุดบรรยายของพระเจ้าสูงสุด” (พระสันตะปาปาปีโอ ที่ 9) แล้วพระนางอยู่ในสายสัมพันธ์กับพระเป็นเจ้าในตำแหน่งอะไร
หน้า 15 บทที่ 5. เค้าโครงความศรัทธาภักดีของคณะพลมารีย์
พระเป็นเจ้าทรงสร้างพระนางอย่างเดียวกับที่ทรงสร้างมนุษย์อื่นๆ ในโลก คือสร้างออกมาจากความว่างเปล่าแท้ ๆ และแม้ว่าในกาลต่อมาพระองค์จะเชิดชูพระนาง ประทานพระหรรษทานล้นเหลือก็ตามที แต่เมื่อมาเทียบกับองค์พระผู้สร้างแล้ว พระนางก็เป็นเสมือนความว่างเปล่า กระนั้นก็ดีพระนางโดดเด่นกว่าใครทั้งหมด – ในจำนวนสิ่งสร้างของพระเจ้า เพราะพระองค์ประทานให้พระนางมากกว่าสิ่งสร้างอื่น ๆ พระนางยิ่งได้รับมากเท่าใดก็ยิ่งเป็นการแสดงผลงานของพระเจ้ามากเท่านั้น
พระเป็นเจ้าโปรดประทานให้พระนางยิ่งใหญ่ ตั้งแต่นิรันดรแล้ว พระนางอยู่ในพระเจตนารมณ์ของพระองค์ควบคู่กับพระผู้ไถ่มาโดยตลอด พระองค์โปรดให้พระนางได้ชิดสนิทกับโครงการพระหรรษทาน บันดาลให้พระนางเป็นพระชนนีของพระบุตร รวมทั้งบรรดาที่รวมเป็นหนึ่งเดียวกับพระบุตร
ที่ทรงโปรดปรานพระนางมากมายถึงเพียงนี้ ประการแรก เพราะพระองค์นั้นได้รับผลตอบแทนจากพระนางมากมายสุดคณนา เกินกว่าที่พระองค์จะได้รับจากมวลมนุษย์และนักบุญทั้งหลายในโลก ประการที่สองด้วยเหตุผลดังกล่าว พระองค์ทรงมุ่งหวังอาศัยวิถีทางของพระองค์ซึ่งเราไม่อาจเห็นได้ปรุโปร่ง กระทำให้เราสามารถถวายพระเกียรติแด่พระองค์ได้
ดังนั้น การภาวนาและการบริการด้วยความรักซึ่งเราถวายพระนางมารีย์พระมารดาผู้ช่วยให้เรารอด ทุกสิ่งที่เราถวายพระนาง จะถึงพระเป็นเจ้าด้วยอย่างแน่นอนและเต็มบริบูรณ์ การที่พระนางจะถวายต่อให้พระเป็นเจ้านั้นมีแต่จะทวีคูณ ไม่มีการลดน้อยถอยลง พระนางเป็นยิ่งกว่าผู้เสนอที่ซื่อสัตย์ พระเป็นเจ้าทรงแต่งตั้งให้พระนางเป็นหนทางของพระมหากรุณาธิคุณในพระสิริมงคลของพระองค์ และพระหรรษทานที่เราได้รับ ล้วนทวีคูณ
หน้า 16 บทที่ 5. เค้าโครงความศรัทธาภักดีของคณะพลมารีย์
มากขึ้น เนื่องจากมีพระนางประทับอยู่ด้วยนั่นเอง
พระบิดานิรันดรทรงพอพระทัยรับสักการบูชาของมนุษย์ ผ่านทางพระนางมารีย์ พระองค์ทรงพอพระทัยสถาปนาพระนางให้เป็นท่อธาร ให้มนุษย์ได้รับพระพรนานาประการ ที่ประทานตามพระสรรพานุภาพของพระองค์ เริ่มดัวยองค์พระมหากรุณาธิคุณเอง คือพระบุคคลที่สองผู้ทรงรับสภาพเป็นมนุษย์ทรงชีวิตแท้และเป็นความรอดแต่ทางเดียวของเรามนุษย์
“หากข้าพเจ้าสมัครใจขึ้นอยู่กับแม่พระ ก็เพื่อจะได้กลายเป็นข้าบริการของพระบุตร หากข้าพเจ้าปลงใจตกเป็นกรรมสิทธิ์ของพระนางก็เพื่อจะได้ถวายความจงรักภักดีแด่พระเป็นเจ้า ในฐานะเป็นพสกนิกรให้มั่นคงแน่วแน่ทวีขึ้น” (นักบุญอิลเดฟองโช)
2. พระนางมารีย์ คนกลางจ่ายพระหรรษทานทุกประการ
ความไว้วางใจที่คณะพลมารีย์มีต่อพระนางมารีย์นั้นมากอย่างไม่มีขอบเขต เพราะเรารู้ว่าอาศัยพระมหากรุณาธิคุณของพระเจ้าทำให้พระนางทรงอำนาจไม่จำกัด ทุกสิ่งที่พึงประทานได้พระองค์ก็ประทานแก่พระนางและทุกสิ่งที่พระนางได้รับก็ทรงได้รับเต็มบริบูรณ์ พระองค์ทรงมอบให้พระนางเป็นท่อธารพระหรรษทานสำหรับนำเรามนุษย์ หากเราร่วมเป็นหนึ่งเดียวกับพระนาง เราจะเข้าชิดสนิทกับพระเจ้าได้ง่ายขึ้นและจะได้รับพระหรรษทานสะดวกขึ้นด้วย
ถ้าเป็นได้ดังกล่าว เราจะได้เข้าอยู่ในกระแสแห่งพระหรรษทานพระนางเป็นพระชายาของพระจิตเจ้า จึงทรงเป็นสายธารพระหรรษทานทุกประการที่พระเยซูเจ้าทรงบำเพ็ญไว้
ทุกสิ่งที่เราได้รับเป็นผลจากการเสนอของพระนาง พระนางไม่ได้พอพระทัยเป็นเพียงส่งต่อให้เราเท่านั้น พระนางเป็นผู้เสนอขอทุกอย่างให้เราคณะพลมารีย์เชื่อแน่นอนในงานดังกล่าวที่พระนางทรงกระทำจึงได้กำหนด
หน้า 17 บทที่ 5. เค้าโครงความศรัทธาภักดีของคณะพลมารีย์
ให้สมาชิกทุกคนมีความศรัทธาภักดีพิเศษต่อพระนางมารีย์ “คนกลางจ่ายพระหรรษทานทุกประการ”
“พึงพิจารณาให้ดีเถิด ถึงความรักลุกร้อนที่พระเป็นเจ้าทรงปรารถนาให้เราถวายเกียรติแด่พระนางมารีย์ ในเมื่อเราเห็นแล้วว่าพระองค์ได้ทรงมอบสรรพความดีให้แก่พระนางจนครบสิ้นแล้ว ทุกสิ่งที่เรามีที่เกี่ยวกับความหวัง พระหรรษทานหรือการเอาวิญญาณรอดนั้น จึงได้หลั่งไหลมาสู่เราทางพระนางทั้งสิ้น ขออย่าได้สงสัยเลย” (นักบุญเบอร์นาร์ด : Sermo de Aquaeductu)
3. พระนางมารีย์ผู้นิรมล
ลักษณะประการที่สองของความศรัทธาของคณะพลมารีย์คือความศรัทธาต่อการปฏิสนธินิรมล ตั้งแต่การประชุมครั้งปฐมฤกษ์แล้ว สมาชิกพลมารีย์ปฏิบัติเหมือนที่ปฏิบัติอยู่ทุกวันนี้ไม่ผิดเพี้ยน คือภาวนาและปรึกษาหารือร่วมกันรอบพระแท่นที่ประดิษฐานพระรูปพระนางมารีย์ปฏิสนธินิรมล
ยิ่งกว่านั้นยังจะกล่าวได้ว่าการเริ่มมีชีวิตของคณะพลมารีย์นั้นได้เริ่มหายใจด้วยการร้องถวายพระเกียรติสูงส่งพิเศษของพระนางล้วนเป็นการเตรียมทางสู่เกียรติคุณและอภิสิทธิ์นานาประการซึ่งจะไหลหลั่งสู่พระนางต่อไป
พระเป็นเจ้าตรัสถึงการปฏิสนธินิรมล ในข้อความเดียวกันกับที่ทรงสัญญาแต่แรกว่าจะประทานพระนางให้เรามนุษย์ การปฏิสนธินิรมลนี้เป็นอภิสิทธิ์ของพระนางแต่ผู้เดียวและพร้อมกับเอกสิทธิ์นี้ จึงได้มีคำพยากรณ์สวรรค์ติดตามมา คือพระนางทรงเป็นพระมารดาพระเจ้า เป็นผู้ขยี้หัวงูพญาปีศาจในการไถ่บาปมนุษย์และเป็นพระมารด่าของมนุษยชาติ
“เราจะทำให้เจ้าและหญิงเป็นศัตรูกัน ให้ลูกหลานของเจ้าและ
หน้า 18 บทที่ 5. เค้าโครงความศรัทธาภักดีของคณะพลมารีย์
ลูกหลานของนางเป็นศัตรูกันด้วย เขาจะเหยียบหัวของเจ้าและเจ้าจะกัดสั้นเท้าของเขา” (ปฐก 3:15)
คณะพลมารีย์สร้างความมั่นใจและไว้ใจจากพระวาจาดังกล่าวนี้เพื่อให้มีกำลังต่อสู้กับบาปทั้งปวง ผลมารีย์ต่างมุ่งหมายที่จะเป็นเผ่าพันธุ์ของพระนางอย่างแท้จริง เพราะมีหลักประกันแห่งชัยชนะ
คณะพลมารีย์ ยิ่งยึดพระนางเป็นมารดาของตนมั่นคงเท่าไรก็ยิ่งจะเป็นศัตรูกับอำนาจมืดคือปีศาจมากยิ่งขึ้นเท่านั้นและจะต้องรณรงค์ทำสงครามกันจนได้ชัยชนะเบ็ดเสร็จในบั้นปลาย
“พระคัมภีร์ที่มีอยู่ในพันธสัญญาเดิม พันธสัญญาใหม่ รวมทั้งพระวาจาที่น่าเชื่อถือ ต่างบ่งบอกถึงบทบาทในการไถ่บาป ที่พระมารดาของพระผู้กอบกู้ จะต้องแสดงให้เราทราบยิ่งที่ยิ่งชัดเจนมากขึ้นและเรียกร้องความสนใจจากเราได้ไม่น้อย พระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิมเล่าประวัติการไถ่กู้เป็นการตระเตรียมเป็นขั้นเป็นตอนอย่างช้า ๆ เพื่อรองรับการเสด็จมาสู่โลกของพระคริสตเจ้า เมื่อเรานำเอาเอกสารโบราณที่สุดเท่าที่พระศาสนจักรมีอยู่มาอ่าน เราสามารถเข้าใจอรรถรสอาศัยแสงสว่างจากการเปิดเผยของพระเยชูคริสตเจ้าที่ได้รับต่อ ๆ มาภายหลังจนสมบูรณ์ เอกสารเหล่านั้นเผยให้เห็นรูปโฉมของสตรีผู้หนึ่งอย่างเด่นชัดขึ้นเป็นลำดับ และสตรีผู้นั้นเป็นใครอื่นมิได้ นอกจากพระมารดาของพระผู้ไถ่นั่นเอง อาศัยแสงสว่างแห่งการเปิดเผยอีกเช่นกัน เราจึงทราบว่า หลังจากที่บิดามารดาเดิมได้กระทำผิด พระเป็นเจ้าทรงสัญญาว่าสตรีจะมีชัยชนะเหนืองู พระมารดาของพระผู้ไถ่ก็เริ่มก่อร่างสร้างเค้าจากคำพยากรณ์นั้นแล้ว” (เทียบ ปฐก 3:15) (ธรรมนูญเรื่องพระศาสนจักร ข้อ 55)
4. พระนางมารีย์ พระมารดาของชาวเรา
ถ้าเราถือสิทธิในมรดกฐานะเป็นบุตร เราก็จะต้องระลึกในพระคุณของแม่ผู้ให้กำเนิดและที่มาของมรดกนั้น
หน้า 19 บทที่ 5. เค้าโครงความศรัทธาภักดีของคณะพลมารีย์
ลักษณะประการที่สามแห่งความศรัทธาของคณะพลมารีย์ ต่อพระนาง คือการถวายเกียรติแด่พระนางเป็นพิเศษ ที่ทรงเป็นพระมารดาแท้จริงของเรามนุษย์ ซึ่งพระนางเป็นเช่นนั้นจริงๆ
พระนางมารีย์ทรงเป็นมารดาของพระคริสตเจ้า และมารดาของเราด้วย เมื่อพระนางกล่าวรับคำถวายพรของทูตสวรรค์ว่า “ข้าพเจ้าเป็นผู้รับใช้ขององค์พระผู้เป็นเจ้า ขอให้เป็นไปกับข้าพเจ้าตามวาจาของท่านเถิด” (ลก 1:38 ) พระนางได้รับความเป็นพระมารดาในวินาทีนั้นเอง และการไถ่บาปของมนุษย์ก็ได้เริ่มแต่บัดนั้นด้วย
ต่อมาท่ามกลางความวิปโยคใหญ่หลวงบนเขากัลวารีโอ พระเยซูเจ้าตรัสกับพระมารดาจากมหากางเขนว่า “แม่ นี่คือลูกของแม่” แล้วตรัสกับศิษย์ผู้นั้นว่า “นี่คือแม่ของท่น” (ยน 19:26-27) พระเยซูเจ้าประทานพรนี้แก่มนุษยชาติผ่านทางนักบุญยอห์น
พระนางมารีย์ทรงร่วมมืออย่างสมบูรณ์ ด้วยการยอมรับและทนทุกข์ทรมาน เพื่อให้มนุษยชาติได้บังเกิดใหม่ทางวิญญาณและมีพระนางเป็นมารดาอย่างแท้จริง
การที่จะเป็นบุตรของพระนาง เราต้องทำตัวให้เหมาะสมที่จะเป็นบุตร โดยเฉพาะให้เป็นเสมือนลูกเล็ก ๆ ที่ต้องพึ่งแม่ทุกย่างก้าว เราจะต้องขอพึ่งพระนางให้เลี้ยงดูเรา ทรงนำเรา ทรงสอน ทรงรักษายามป่วยไข้ ทรงปลอบประโลมยามทุกข์ร้อนเศร้าหมอง ทรงแนะนำเมื่อเกิดปัญหา ทรงเรียกให้คืนกลับเมื่อเราพลัดพรากหลงทางและเมื่อเราฝากเนื้อฝากตัวกับพระนางด้วยความศรัทธาสุดหัวใจ เราจะได้เจริญวัยคล้ายพระเชษฐาของเรา คือพระเยซูเจ้าและมีส่วนในงานของพระองค์ที่ต่อสู้กับบาปและเอาชนะบาป
หน้า 20 บทที่ 5. เค้าโครงความศรัทธาภักดีของคณะพลมารีย์
“พระนางมารีย์เป็นพระมารดาของพระศาสนจักรนั้น มิใช่เพียงพระนางเป็นพระมารดาของพระคริสตเจ้าและชิดสนิทกับพระองค์เป็นที่สุด ที่พระบุตรพระเจ้าทรงรับธรรมชาติมนุษย์จากพระนาง พระองค์ทรงรับเอาเนื้อหนังเป็นมนุษย์ที่ปราศจากบาปเท่านั้น แต่พระนางยังทรงฉายแสงเป็นประกายในหมู่ผู้รับเลือกให้เป็นแบบฉบับแห่งคุณธรรมต่าง ๆ ด้วย ไม่มีมารดาปุถุชนคนใดจะจำกัดงานของตนเกี่ยวกับการสืบทอดอนุชนรุ่นใหม่ เขาจำต้องสืบทอดงานของตนในทางให้อาหารและสั่งสอนบุตรของตน
พระนางพรหมจารีมารีย์ก็เช่นกัน เมื่อได้ร่วมการถวายบูชาไถ่บาปมนุษย์กับพระบุตรอย่างใกล้ชิดจนสมควรกับตำแหน่งที่พระบุตรทรงยกย่อง ไม่ใช่เป็นเพียงมารดาของนักบุญยอห์นอัครสาวกเท่านั้น แต่เราอาจจะเน้นหนักได้ว่า เป็นมารดาของมนุษยชาติโดยมีนักบุญยอห์นเป็นตัวแทน
ขณะนี้พระนางก็ยังคงทำหน้าที่เป็นแม่ของมนุษย์อยู่ในสวรรค์ ในฐานะผู้ให้กำเนิดและพัฒนาชีวิตพระ ในวิญญาณแต่ละดวงของมนุษย์ที่ได้รับการไถ่กู้แล้ว
นี่คือความจริงที่ปลอบใจเรา ซึ่งพระเจ้าผู้ทรงพระปรีชารอบรู้สูงสุดประทานให้มนุษย์และเป็นส่วนในพระธรรมล้ำลึกแห่งความรอด ซึ่งคริสตชนทุกคนต้องถือเป็นข้อความเชื่อด้วย” (พระสมณสารสมเด็จพระสันตะปาปาปอล ที่ 6 : การถวายตัวแด่พระแม่เจ้า Signum Magnum, 13 พ.ค. 1967)
5. ความศรัทธาของพลมารีย์คือรากฐานการเผยแผ่ธรรมของคณะ
หน้าที่สำคัญอย่างหนึ่งของคณะพลมารีย์ คือการแสดงความศรัทธาอย่างสุดใจต่อพระมารดาของพระเป็นเจ้า คณะจะแสดงให้เห็นก็โดยทางสมาชิกพลมารีย์เท่านั้น พลมารีย์แต่ละคนจึงต้องปฏิบัติกิจศรัทธานั้นในการรำพึงภาวนาอย่างขะมักเขม้นและทำงานอย่างร้อนรน
หากความศรัทธาดังกล่าวจะเป็นเครื่องบูชา ที่คณะพลมารีย์พึงถวายงานนั้นจะต้องเป็นจุดประสงค์สำคัญของงาน ของคณะ ไม่แพ้ความ
หน้า 21 บทที่ 5. เค้าโครงความศรัทธาภักดีของคณะพลมารีย์
สำคัญที่สมาชิกจะต้องประชุมประจำสัปดาห์และปฏิบัติงาน ที่รับมอบหมายจริงจังทุก ๆ อย่าง
จะต้องถือปฏิบัติให้เป็นหนึ่งเดียว ความสำนึกในความสำคัญนี้ จะต้องเป็นจิตตารมณ์ของพลมารีย์ทุกคนซึ่งจะต้องตอกย้ำไว้เสมอ
แต่ความเป็นหนึ่งเดียวกันนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก เพราะเป็นเรื่องที่สมาชิกแต่ละคนควบคุมได้ จะให้ดีหรือเสียก็ได้ สมาชิกทุกคนจึงเป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ดูแลความมั่นคงนี้ หากพลมารีย์ไม่เป็น “เสมือนศิลาที่มีชีวิต กำลังก่อสร้างขึ้นเป็นวิหารของพระจิตเจ้า” (1 ปต 2:5) แล้วไชร้ก็นับได้ว่าโครงสร้างคณะพลมารีย์เกิดความเสียหายในจุดที่สำคัญยิ่ง
ในกรณีที่โครงสร้างคณะพลมารีย์ขาดศิลาที่มีชีวิต ระบบแบบแผนของคณะก็จะถึงความพินาศ ขาดความร่มเย็น ย่อมไม่สามารถจะคุ้มครองสมาชิกของตนได้ ยิ่งกว่านั้นหากมีความบกพร่องดังกล่าว คณะพลมารีย์ก็จะไม่เป็นที่รวมของจิตตารมณ์อันสูงส่งและศักดิ์สิทธิ์ ทั้งจะไม่ได้เป็นจุดเริ่มต้นของงานขั้นวีรกรรมด้วย
หากสมาชิกมีความเลื่อมใสศรัทธาต่อพระแม่เจ้า โดยพร้อมหน้าแล้วไซร้ เอกภาพทางด้านความคิด จุดประสงค์และกิจกรรมก็จะบังเกิดขึ้นกับคณะพลมารีย์ให้เป็นที่น่าอัศจรรย์ใจ
ความเป็นหนึ่งเดียวกันเช่นนี้ มีค่ายิ่งในสายพระเนตรพระเป็นเจ้า พระองค์จึงประทานฤทธิกุศลอันเป็นอานุภาพที่ไม่มีสิ่งใดต่อต้านได้ ถ้าเพียงแต่ละคนที่มีความศรัทธาแท้ต่อพระนางมารีย์ ได้รับหรรษทานมากมายเช่นนี้ คณะบุคคลที่มีน้ำหนึ่งใจเดียวกัน สวดภาวนาพร้อมกับพระนาง (กจ 1:11) ผู้ได้รับทุกสิ่งจากพระเป็นเจ้า จะไม่ได้รับพระหรรษทานยิ่งกว่าหรือองค์กรที่จะร่วมมีส่วนในจิตตารมณ์ของพระนาง ปฏิบัติงานเต็มที่ตามโครงการ
หน้า 22 บทที่ 5. เค้าโครงความศรัทธาภักดีของคณะพลมารีย์
ของพระเป็นเจ้า ในเรื่องการแจกจ่ายพระหรรษทานเล่า องค์กรชนิดนี้หรือที่พระจิตจะไม่เสด็จมาประทับอยู่ (กจ 2:4) และ จะไม่มี “ปาฏิหาริย์และเครื่องหมายอัศจรรย์เป็นจำนวนมาก” (กจ 2:43)
“พระนางพรหมจารีขณะประทับอยู่ในห้องประชุมเตรียมรับพระจิตนั้นได้ภาวนาพร้อมกับบรรดาอัครสาวกด้วยใจร้อนรนอย่างที่สุด พระนางวิงวอนขอให้พระศาสนจักรได้รับพระคุณอันสมบูรณ์ของพระจิตเจ้า อันเป็นของขวัญสูงสุดของพระคริสตเจ้าและเป็นสมบัติอันไม่รู้จักสิ้นสุดเลย” (พระสันตะป่าปาเลโอ ที่ 13 ในพระสมณสาส์น ลูกประคำ Jucunda Semper, 1894)
6. หากโลกรู้จักพระนางมารีย์
สำหรับพระสงฆ์ที่กำลังปฏิบัติงานแทบสิ้นหวัง ท่ามกลางผู้เฉยเมยต่อพระศาสนา โปรดพิจารณาถ้อยคำของคุณพ่อเฟเบอร์ – ที่คัดจากคำนำของท่านในหนังสือ “หลักการถวายตัวอย่างแท้ต่อพระมารดา” ของท่านนักบุญหลุยส์มารีย์ กรีญอง เดอ มงฟอร์ต (ซึ่งเป็นแหล่งดลใจหลายหลากแก่คณะพลมารีย์) คุณพ่อแนะนำให้หันมาพิจารณาดูคณะพลมารีย์ เผื่อจะเป็นประโยชน์แก่พระสงฆ์ผู้นั้นบ้าง
คุณพ่อเฟเบอร์ อรรถาธิบายว่า เหตุก็เพราะมนุษย์รู้จักและรักพระนางมารีย์มีไม่ถึงครึ่งของที่ควรจะเป็น ผลที่ตามมาจึงน่าเศร้าสำหรับวิญญาณทั้งหลาย ความศรัทธาต่อพระนางมีน้อยนิด อ่อนแอ น่าสงสารความเชื่อในความศรัทธานั้นก็ไม่มี เหตุนี้พระเยชูเจ้าจึงไม่มีใครรัก เฮเรติกไม่กลับใจ พระศาสนจักรไม่ได้รับการเชิดชู วิญญาณที่ควรจะศักดิ์สิทธิ์กลับอับเฉา ศีลศักดิ์สิทธิ์ไม่มีผู้มารับเท่าที่ควร วิญญาณต่างๆ มิได้รับการประกาศพระธรรมอันร้อนรน
“พระเยซูเจ้าถูกบดบัง เพราะพระนางถูกกีดกันให้อยู่เบื้องหลัง
หน้า 23 บทที่ 5. เค้าโครงความศรัทธาภักดีของคณะพลมารีย์
วิญญาณเป็นพัน ๆ จึงต้องพินาศ เพราะเขาไม่มีโอกาสมารู้จักพระแม่มารีย์ ที่เป็นเช่นนี้ เพราะความศรัทธาที่เราถวายพระนางนั้น เป็นแต่เพียงผิวเผินเป็นแต่เงาของความศรัทธา ซึ่งน่าเสียดายยิ่ง เพราะได้กลายเป็นสาเหตุแห่งความเสื่อม ความชั่วร้าย ความเฉื่อยชามากมาย”
อย่างไรก็ตาม ถ้าเราจะเชื่อการเปิดเผยของนักบุญต่างๆ ก็จะเห็นว่าพระเป็นเจ้าทรงประสงค์ ให้ความศรัทธาต่อพระมารดาของพระองค์ยิ่งใหญ่ไพศาลอีกรูปแบบหนึ่ง..
“ขอให้ทดลองความศรัทธาต่อแม่พระด้วยตนเองเถิด และจะต้องประหลาดใจในพระหรรษทานที่ได้รับ และการเปลี่ยนแปลงในวิญญาณของตนและที่สุดจะแน่ใจว่า ความศรัทธาต่อแม่พระมีประสิทธิภาพเหลือเชื่อในการช่วยวิญญาณให้รอดและนำพระราชัยของพระเป็นเจ้ามาถึงได้จริง”
“พระเป็นเจ้าโปรดให้พระนางพรหมจารีทรงฤทธิ์ บดขยี้หัวงูปีศาจฉันใด ก็จะโปรดให้วิญญาณที่ร่วมสนิทกับพระนางเอาชนะบาปได้ฉันนั้น เรื่องนี้เราต้องเชื่ออย่างมั่นคงและไว้ใจอย่างแน่นแฟ้น
ข้าแต่พระมารดาของพระเจ้า พระเป็นเจ้าทรงปรารถนาจะประทานสารพัดให้แก่เรา บัดนี้ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมแล้วแต่ตัวเราและพระนาง ผู้ได้รับและได้สะสมสารพัดเหล่านี้ เพื่อแจกจ่ายให้เราอีกต่อหนึ่ง ทุกอย่างย่อมแล้วแต่ความสัมพันธ์ของเรากับพระนาง ผู้ได้รับสารพัดนี้จากพระเป็นเจ้า” (Gratry)
7. นำพระนางมารีย์มอบแก่ประชากรโลก
ถ้าความศรัทธาต่อพระนางมารีย์บันดาลความมหัศจรรย์ได้มากมายเช่นนี้ จุดประสงค์ของพลมารีย์คือใช้ความศรัทธานั้นให้บังเกิดผลคือทำให้โลกรู้จักพระนางและผู้ที่จะทำงานนี้ได้ดีที่สุด คือองค์กรฆราวาสแพร่ธรรม เพราะฆราวาสมีจำนวนไม่จำกัด ทำได้แข็งขัน เพราะเข้าถึงทุกแห่ง
หน้า 24 บทที่ 5. เค้าโครงความศรัทธาภักดีของคณะพลมารีย์
และด้วยความรักร้อนรนที่มีต่อแม่พระ จะผูกดวงใจทุกดวงให้อยู่ในความรักนั้นโดยใช้กิจการทุกอย่างเพื่อทำให้จุดประสงค์สำเร็จ
พลมารีย์เชิญพระนามของพระนางมาเป็นชื่อคณะด้วยความภูมิใจสุดพรรณนา เป็นคณะที่สร้างความเป็นปีกแผ่นบ่นรากฐานของความไว้วางใจในพระนางอย่างไม่มีขอบเขตเยี่ยงทารกไว้ใจแม่ จึงได้ปลูกฝังความไว้วางใจที่ศรัทธาในดวงใจของสมาชิกพลมารีย์แต่ละคน ทำให้พลมารีย์เป็นหน่วยปฏิบัติการด้วยความจงรักภักดีและอยู่ในระเบียบวินัย
คณะพลมารีย์ไม่ใช่จะโอ้อวดความสำเร็จในผลงานของคณะ เพียงแต่ตระหนักในระบบปฏิบัติของคณะที่มีความสำคัญ เปรียบได้กับเครื่องจักรที่เดินเครื่องด้วยมือของผู้ใหญ่ทางศาสนา สำหรับต่อสู้การผจญทางโลกเป็นองค์กรซึ่งพระนางมารีย์เรียกใช้ได้ ตามน้ำพระทัยของพระมารดาที่จะช่วยวิญญาณต่าง ๆ และทำสงครามไม่รู้จบกับการขยี้หัวงูปีศาจร้าย
“ผู้ใดทำตามพระประสงค์ของพระเจ้า ผู้นั้นเป็นพี่น้องชายหญิง และเป็นมารดาของเรา” (มก 3:35) “ช่างประเสริฐ ช่างเป็นเกียรตินี่กระไร พระเยซูเจ้าทรงพระกรุณายกย่องให้ชาวเรารุ่งเรืองสูงส่งเพียงไร บรรดาสตรี (ในพระวรสาร) ยกย่องพระนางผู้นำพระองค์มาสู่ประชากรโลกว่าเป็นผู้มีลาภอย่างยอดเยี่ยม แต่ก็จะอะไรเล่าที่กีดกันไม่ให้สตรีเหล่านั้นได้มีส่วนในความเป็นมารดาเช่นนั้นเล่า เหตุว่าในที่นี้พระวรสารกล่าวถึงการบังเกิดชนิดใหม่ คือความเป็นบิดามารดาแบบใหม่” (นักบุญยอห์น คริสชอสโตม)
หน้า 25 บทที่ 6 หน้าที่ของพลมารีย์ต่อพระนางมารีย์
บทที่ 6
หน้าที่ของพลมารีย์ต่อพระนางมารีย์
1. พลมรีย์แต่ละคน พึงถือเป็นเกียรติที่จะแสดงความศรัทธาภักดีต่อพระนางมารีย์ โดยการรำพึงจริงจัง และพยายามบำเพ็ญชีวิตตามความศรัทธาภักดีนั้น นี่คือความรับผิดชอบประจำหน้าที่ ซึ่งสมาชิกทุกคนได้รับมอบจากคณะพลมารีย์ และต้องถือเป็นส่วนที่จำเป็นยิ่งในหน้าที่พลมารีย์สำคัญกว่าข้อผูกพันอื่นใดของการเป็นสมาชิก (ดูเรื่องเค้าโครงความศรัทธาภักดีของพลมารีย์ บทที่ 5 และภาคผนวกที่ 5 คณะพระนางมารีย์ ราชินีแห่งดวงใจ)
คณะพลมารีย์มุ่งนำพระนางมารีย์มาสู่โลก เพื่อเป็นปัจจัยอันไม่รู้พลาดพลั้งที่จะนำโลกไปถวายพระเยซูเจ้า แน่นอนทีเดียว พลมารีย์ที่ปราศจากพระนางมารีย์ในใจ ไม่อาจมีส่วนในงานนี้เลย เขาแยกทางกับจุดมุ่งหมายของพลมารีย์ เป็นทหารที่ปราศจากอาวุธ สายสัมพันธ์ที่ขาดสะบั้น หรือคล้ายกับแขนอัมพาต ซึ่งแม้ว่าติดอยู่กับร่างกายก็จริง แต่ทำประโยชน์ไม่ได้เลย
สิ่งที่ทุกกองทัพ (รวมทั้งคณะพลมารีย์ด้วย) ต้องพยายามเอาใจใส่ที่สุด คือการผูกพันทหารทุกคนไว้กับผู้นำ เพื่อให้แผนการของผู้นำ นำออกปฏิบัติอย่างพร้อมเพรียงราบรื่น ให้กองทัพนั้นปฏิบัติงานดั่งคนคนเดียว การฝึกและกฎวินัยซึ่งจัดทำไว้อย่างละเอียดถี่ถ้วนก็มีจุดประสงค์เพื่อการนี้
นอกจากนี้ ทหารในกองทัพอันลือชื่อในประวัติศาสตร์ล้วนเลื่อมใสผู้นำของเขา อันกระชับความเป็นหนึ่งเดียวกับผู้นำให้แน่นแฟันยิ่งขึ้น บันดาลให้ยินยอมเสียสละโดยง่าย เพื่อให้สำเร็จตามแผนการของผู้นำ อาจกล่าวได้ว่าผู้นำคนนั้นเป็นแรงกระตุ้นและวิญญาณของทหาร อยู่ในดวงใจของทหาร
หน้า 26 บทที่ 6 หน้าที่ของพลมารีย์ต่อพระนางมารีย์
เป็นอันหนึ่งเดียวกับเขา ฯลฯ เหล่านี้ซี้ให้เห็นอิทธิพลของผู้นำและแสดงให้เห็นความจริงตามที่เป็นอยู่
แต่ความเป็นหนึ่งเดียวดังว่านี้ อย่างดีที่สุดก็เป็นเพียงชั่วอารมณ์หนึ่งหรืออย่างเครื่องจักร ความสัมพันธ์ของวิญญาณคริสตชนคาทอลิกกับพระนางมารีย์ผู้เป็นแม่ของตน ไม่ใช่เช่นนั้นเลย เมื่อกล่าวว่าพระนางมารีย์อยู่ในวิญญาณของพลมารีย์ผู้สัตย์ซื่อ ดูเป็นการวาดภาพความสนิทสนมซึ่งมีผลน้อยกว่าที่เป็นจริงอย่างเปรียบไม่ได้ สภาพความจริงนั้นพระศาสนจักรสรุปถวายพระนามเป็นเกียรติแด่พระนางว่า “มารดาพระหรรษทาน” “คนกลางจ่ายพระหรรษทานทั้งสิ้น”
พระนามเหล่านี้ แสดงให้เห็นอานุภาพของพระนางเหนือชีวิตวิญญาณ เพียบพร้อมจนกระทั่งแม้ความเป็นหนึ่งเดียวในโลกที่ใกล้ชิดกันที่สุด – คือแม่กับทารกในครรภ์ – ก็ยังไม่อาจนำมาเปรียบกับความสนิทสนมของพระนาง (กับเรา) ได้
วิธีการอย่างอื่นในธรรมชาติรอบตัวอาจช่วยให้เราเข้าใจส่วนที่พระนางมีอยู่ ในการปฏิบัติของพระเป็นเจ้าเกี่ยวกับพระหรรษทาน เช่น โลหิตไม่อาจจ่ายไป (เลี้ยงร่างกาย) ถ้าหัวใจไม่สูบฉีด ดวงตาเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อแลเห็นสิ่งต่าง ๆ (โดยอาศัยแสงสว่าง) และนก – แม้กระพือปีก – ก็บินไม่ได้ถ้าไม่มีอากาศ วิญญาณก็เช่นกัน ตามระเบียบที่พระทรงจัดไว้ ไม่สามารถขึ้นไปหาพระหรือทำงานของพระองค์โดยปราศจากพระนางมารีย์
การที่เราขึ้นกับพระนางมารีย์นี้ มีอยู่โดยที่เราไม่ทันรู้ตัวก็ได้ เนื่องด้วยไม่ใช่เป็นผลของความนึกคิด หรือความรู้สึกของเราเลย หากเป็นการจัดสรรของพระเป็นเจ้าทั้งสิ้น แต่เราสามารถและควรอย่างยิ่งที่จะกระชับให้การขึ้นกับพระนางนี้ แน่นแฟันยิ่งขึ้นด้วยการตั้งใจร่วมมือของเรา การกระชับ
หน้า 27 บทที่ 6 หน้าที่ของพลมารีย์ต่อพระนางมารีย์
แน่นแฟ้นเป็นหนึ่งเดียวกับพระนาง “ผู้แจกจ่ายพระโลหิตของพระคริสตเจ้า” (ตามคำของนักบุญโบนาเวนตรา) เป็นบ่อเกิดแห่งความศักดิ์สิทธิ์และเป็นท่อธารเหลือเชื่อแห่งพลังเหนือวิญญาณผู้อื่น
บรรดาวิญญาณที่ไม่อาจสามารถจะไถ่ให้หลุดพ้นจากการเป็นทาสของบาป ด้วยอาศัยการแพร่ธรรมอันเปรียบกับทองเรียบๆ นั้น วิญญาณทุก ๆ ดวงนั้นจะได้รับอิสระ ในเมื่อพระนางมารีย์อาจจะประดับทองเรียบ ๆ นั้นด้วยมณีรัตน์ คือ พระโลหิตแสนประเสริฐ ที่พระนางมีสิทธิ์แจกจ่ายได้ตามพระทัยชอบ
ดังนั้นหลังจากได้ถวายตัวอย่างลุกร้อนแล้ว ก็ให้รื้อฟื้นบ่อย ๆ ด้วยประโยคสั้น ๆ ที่บรรจุคำถวายตัวนั้น (เช่น “ข้าแต่พระราชินีและพระมารดาของลูก ลูกเป็นของพระแม่ทั้งสิ้น และสรรพสิ่งที่เป็นกรรมสิทธิ์ของลูกก็เป็นของพระแม่ด้วย) ความคิดที่ว่าพระนางทรงอิทธิพลอยู่ในวิญญาณเสมอนั้นต้องนำมาปฏิบัติอย่างมีระเบียบและจริงจัง จนกระทั่งอาจกล่าวได้ว่า วิญญาณนั้น “หายใจเอาพระนางมารีย์ ดูจร่างกายหายใจเอาอากาศ” (นักบุญหลุยส์มารีย์ กรีญอง เดอ มงฟอร์ต)
ในเวลาร่วมพิธีมิสชา รับศีลมหาสนิท เฝ้าศีล สวดสายประคำ เดินรูปสิบสี่ภาค และกิจศรัทธาอื่น ๆ วิญญาณพลมารีย์ต้องพยายามทำให้ตนเป็นเสมือนพระนางมารีย์ และพยายามรำพึงพระรหัสธรรมแห่งการไถ่กู้มนุษย์ให้รอดพ้นผ่านทางพระนาง เนื่องด้วยพระนางผู้ซื่อสัตย์ยอดเยี่ยมนั้นได้เจริญชีวิตอยู่กับเหตุการณ์ไถ่กู้มนุษย์ให้รอดพ้นนี้พร้อมกับพระผู้ไถ่บาปและได้มีส่วนที่จำเป็นยิ่งในการนั้นด้วย
ฉะนั้น เมื่อพลมารีย์เจริญรอยตามพระนาง ขอบคุณพระนางอย่างซาบซึ้ง ชื่นชมและโศกเศร้าพร้อมกับพระนาง ถวายแด่พระนาง สิ่งที่ ดานเต
หน้า 28 บทที่ 6 หน้าที่ของพลมารีย์ต่อพระนางมารีย์
เรียกว่า “เป็นการศึกษาที่ยาวนานและความรักที่ยิ่งใหญ่” ระลึกถึงพระนางทุกคราวที่ภาวนา ทำงาน และกิจฝ่ายวิญญาณ ลืมตนเองและความสามารถของตนเพื่อจะขึ้นอยู่กับพระนาง เมื่อนั้นวิญญาณของพลมารีย์จะเต็มไปด้วยภาพของพระนางและมีแต่ความคิดถึงพระนาง จนกระทั่งวิญญาณทั้งสองนั้นกลายเป็นวิญญาณเดียวกัน
พลมารีย์ที่ดื่มด่ำอยู่ในวิญญาณของพระนางเช่นนี้ ย่อมมีส่วนร่วมในความเชื่อของพระนาง ความสุภาพถ่อมตนของพระนาง ดวงหทัยนิรมลของพระนาง (และเหตุนี้ก็ได้รับอำนาจคำภาวนาของพระนางด้วย) และในไม่ช้าจะแปรรูปเป็นคล้ายกับพระคริสตเจ้า ผู้ทรงเป็นจุดหมายของชีวิตทั้งมวล
อีกนัยหนึ่งโดยสนิทในตัวพลมารีย์และอาศัยทางพลมารีย์ พระนางร่วมมีส่วนในทุกหน้าที่ของพลมารีย์ และทรงทำหน้าที่มารดาวิญญาณทั้งหลายจนกระทั่งว่าในทุกคนที่พลมารีย์ให้บริการ และเพื่อนสมาชิกด้วยกันนั้น พลมารีย์ไม่ใช่เพียงรู้สึกเหมือนตนได้แลเห็นและรับใช้พระคริสตเจ้าเท่านั้นแต่เหมือนเป็นพระนางมารีย์เอง ที่มาแลเห็นและรับใช้วิญญาณเหล่านั้นด้วยความปรานีและประคบประหงม ซึ่งพระนางเคยปฏิบัติต่อพระวรกายของพระบุตรเอง
เมื่อบรรดาสมาชิกเจริญเติบโตเป็นแบบเดียวกับพระนางมารีย์ ดังนั้นคณะพลมารีย์ก็เห็นประจักษ์เองว่า ตนเป็นคณะของพระนางมารีย์โดยแท้จริง เป็นหนึ่งเดียวกับภารกิจของพระนางโดยมีหลักประกันในชัยชนะกับพระนางด้วย คณะพลมารีย์จะนำพระนางมาสู่โลก และพระนางจะประทานความสว่างแก่โลก บันดาลให้โลกลุกโพลงด้วยไฟความรัก
“จงเจริญชีพด้วยความยินดีพร้อมกับพระนางมารีย์ รับความทุกข์โศกทุกอย่าง
หน้า 29 บทที่ 6 หน้าที่ของพลมารีย์ต่อพระนางมารีย์
พร้อมกับพระนาง ลำบากกับพระนาง สวดภาวนากับพระนาง หย่อนใจกับพระนางพักผ่อนกับพระนาง แสวงหาพระเยชูด้วยกันกับพระน่าง โอบอุ้มพระเยซูเจ้าและพำนักที่นาชาเร็ธด้วยกันกับพระเยซูและพระนางมารีย์ ไปกรุงเยรูซาเล็มกับพระนาง อยู่ใกล้มหากางเขนของพระเยชู ฝังตัวท่านเองพร้อมกับพระเยชู คืนชีพพร้อมกับพระเยชูและพระนางมารีย์ ขึ้นสวรรค์พร้อมกับพระเยซูและพระนาง จงเจริญชีพและตายด้วยกันกับพระเยซูและพระนางมารีย์เถิด” (โธมัส อา เคมปีส – บทเทศน์อบรมนวกชน)
2. การถอดแบบความถ่อมองค์ของพระนางมารีย์ เป็นทั้งรากฐานและเครื่องมือของกิจการคณะพลมารีย์
คณะพลมารีย์ปราศรัยกับสมาชิกเป็นภาษากองทัพและการยุทธ นี่ก็เหมาะสมเพราะคณะเป็นเครื่องมือและปฏิบัติการภายนอกของพระนาง ซึ่งเป็นประดุจกองทัพที่เรียงรายเป็นขบวนรบ และกำลังทำสงครามอันฉกาจเพื่อวิญญาณของทุกคน
ยิ่งกว่านั้นการต่อสู้แบบนักรบนี้ก็เป็นแรงดึงดูดของมนุษยชาติ พลมารีย์รู้ว่าตนเป็นทหาร จึงพยายามกระตุ้นเตือนตนเองให้ปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัดเยี่ยงทหาร แต่งานสงครามของพลมารีย์ ไม่ใช่ของโลกนี้และต้องทำตามกลศึกแบบสวรรค์
ไฟที่ร้อนระอุอยู่ในใจของพลมารีย์แท้นั้น ลุกขึ้นจากเถ้าถ่านชนิดที่ต่ำต้อยและไม่เห็นแก่ตนเองเท่านั้น ในบรรดาคุณสมบัตินี้ ที่เด่นคือฤทธิ์กุศลความถ่อมตน ซึ่งโลกมักเข้าใจผิดและสบประมาท ถึงกระนั้นก็เป็นฤทธิ์กุศลที่น่าเคารพ และแข็งแกร่ง สามารถบันดาลศักดิ์ศรีอันประหลาดและความแข็งแกร่งมาสู่บรรดาผู้เสาะหาและบำเพ็ญฤทธิ์กุศลนี้
ในระบบคณะพลมารีย์ ความถ่อมตนแสดงบทบาทเป็นเอก ประการแรกความถ่อมตนเป็นอุปกรณ์จำเป็นแห่งการแพร่ธรรมของพลมารีย์ เหตุว่า
หน้า 30 บทที่ 6 หน้าที่ของพลมารีย์ต่อพระนางมารีย์
ความสำเร็จผลและความเจริญในด้านการติดต่อส่วนบุคคล ซึ่งคณะพลมารีย์วางใจไว้ใช้อย่างกว้างขวางในการงานนั้น ก็เรียกร้องคนงาน (สมาชิก) ที่สุภาพสงบเสงี่ยม ซึ่งจะทำเช่นนั้นได้ก็เฉพาะผู้ที่มีใจสุภาพอ่อนโยนแท้เท่านั้น ความสุภาพยังมีความสำคัญสำหรับคณะพลมารีย์ ยิ่งกว่าเพียงเป็นอุปกรณ์แห่งกิจการภายนอก กล่าวคือยังเป็นบ่อเกิดแห่งกิจการนั้นด้วย ขาดความสุภาพถ่อมตน กิจการของพลมารีย์ก็ไร้ผล
นักบุญโธมัส อไควนัส กล่าวว่า พระคริสตเจ้าทรงกำชับชาวเราเรื่องความสุภาพถ่อมตนยิ่งกว่าเรื่องอื่น ๆ เพราะฤทธิ์กุศลนี้ขจัดอุปสรรคสำคัญแห่งการเอาวิญญาณรอดของเรามนุษย์ ฤทธิ์กุศลอื่นทั้งหมดพลอยมีค่าจากความสุภาพนี้เอง พระเป็นเจ้าจะทรงพระเมตตาปรานีก็เฉพาะเมื่อมีความสุภาพถ่อมตน เมื่อความเจียมตนจืดจาง ของประทานอื่นๆ ก็ถูกถอนคืนไป
การเสด็จมารับเอาเนื้อหนัง (ของพระบุตร) องค์ท่อธารพระหรรษทานทั้งสิ้น ก็อาศัยความถ่อมเจียมตน (ของพระนางมารีย์) พระนางกล่าวไว้ในบทมักญีฟีกัตว่า พระเป็นเจ้าทรงแสดงฤทธานุภาพแห่งฝีพระหัตถ์ในพระนางคือพระองค์ทรงใช้พระสรรพานุภาพใหญ่ยิ่งในพระนาง และพระนางประกาศเหตุผลว่า นี่เพราะความถ่อมตนของพระนาง ได้ดึงดูดพระเป็นเจ้าให้ทรงเหลียวแล และเสด็จลงมาลบล้างโลกเก่าและเริ่มโลกใหม่
แต่พระนางมารีย์ จะเป็นต้นแบบของความสุภาพถ่อมตนได้อย่างไรในเมื่อความบริบูรณ์ด้วยกุศลของพระนางนั้น ที่จริงมากมายจนสุดคณนาและพระนางก็ทราบข้อนี้อยู่ พระนางสุภาพถ่อมตน เพราะรู้อยู่เหมือนกันว่าพระนางรับการไถ่อย่างสมบูรณ์กว่ามนุษย์ทุกคน ความศักดิ์สิทธิ์นั้น พระนางได้รับมาจากพระบารมีของพระบุตร พระนางตระหนักเช่นนี้
หน้า 31 บทที่ 6 หน้าที่ของพลมารีย์ต่อพระนางมารีย์
ความเข้าใจของพระนางนั้น เปี่ยมไปด้วยความสำนึกในพระกรุณาธิคุณของพระเป็นเจ้า ว่าเพราะพระนางได้รับจากพระเป็นเจ้ามากกว่ามนุษย์อื่นใด จึงรู้สึกเป็นหนี้พระองค์มากกว่าใครอื่นด้วย ฉะนั้นทีท่าความถ่อมตนอันสง่างดงามของพระนางนั้น จึงเป็นไปอย่างราบเรียบสม่ำเสมอ
ดังนั้น เมื่อพลมารีย์ศึกษาถึงพระนาง ก็จะรู้ว่าเนื้อแท้ของความถ่อมตนจริงคือสำนึกและยอมรับรู้ชื่อ ๆ ว่า ตนเป็นอะไรแน่ต่อหน้าพระเป็นเจ้าเข้าใจว่าตนมีแต่ความไม่มีค่าเท่านั้น นอกนั้นล้วนเป็นสิ่งที่พระเป็นเจ้าโปรดประทานแก่วิญญาณเปล่า ๆ พระองค์จะเพิ่มขึ้น ลดลง หรือถอนคืนหมดก็ทำได้ เช่นเดียวกับที่พระองค์เท่านั้นที่ได้ประทานไว้
ความรู้สึกว่าตนเองขึ้นอยู่กับผู้อื่นย่อมแสดงให้เห็นชัด โดยชอบทำงานต่ำต้อยที่ไม่มีใครปรารถนา โดยพร้อมจะรับคำสบประมาท และถูกบอกปัดอย่างเหยียดหยาม และโดยทั่วไปในท่าทีเคารพการแสดงน้ำพระทัยของพระเป็นเจ้า อันจะแสดงให้เห็นภาพของพระนางมารีย์เอง เมื่อพระนางกล่าวว่า “ข้าพเจ้าเป็นผู้รับใช้ขององค์พระเป็นเจ้า” (ลก 1:38)
ความจำเป็นที่พลมารีย์จะต้องเป็นหนึ่งเดียว (เอกภาพ) กับพระราชินีของตน เรียกร้องไม่ใช่เพียงแต่ปรารถนาจะเป็นหนึ่งเดียวกันเท่านั้น แต่ยังต้องการความสามารถเพื่อให้เกิดเอกภาพนั้นด้วย บุคคลผู้หนึ่งอาจตั้งใจจะเป็นทหารที่ดี แต่ถึงกระนั้นเขาก็อาจไม่มีคุณสมบัติเลยในอันที่จะเป็นฟันเฟืองที่มีประสิทธิภาพ สำหรับเครื่องจักรรบส่วนรวม เพราะเหตุนั้นการสนิทสนมของเขากับแม่ทัพของตนไม่ทำให้บังเกิดผล (แก่กองทัพ) จนบางครั้งอาจกลายเป็นอุปสรรคต่อแผนการรบก็ได้
เช่นเดียวกันพลมารีย์อาจรู้สึกใคร่จะแสดงบทบาทสำคัญในแผนงานของพระราชินีของตน กระนั้นก็ดี เขาอาจไม่สามารถรับสิ่งที่พระนางมารีย์
หน้า 32 บทที่ 6 หน้าที่ของพลมารีย์ต่อพระนางมารีย์
ปรารถนานักหนาจะประทานให้ สำหรับทหารธรรมดา การไม่สามารถที่ว่านี้อาจเกิดจากขาดความกล้าหาญ สติปัญญา ความเหมาะสมฝ่ายกายและอื่น ๆ แต่สำหรับพลมารีย์ การไม่สามารถนั้นจะเนื่องมาจากขาดฤทธิ์กุศลความสุภาพถ่อมตน
วัตถุประสงค์ของคณะพลมารีย์ คือ ทำให้สมาชิกของตนศักดิ์สิทธิ์และฉายแสงความศักดิ์สิทธิ์นั้นไปสู่โลกวิญญาณต่อไป แต่ไม่อาจมีความศักดิ์สิทธิ์ได้ หากขาดความสุภาพถ่อมตน ยิ่งกว่านั้น การแพร่ธรรมของคณะพลมารีย์ผ่านทางพระนางมารีย์ แต่จะทำงานร่วมกับพระนางไม่ได้ หากไม่มีความละม้ายคล้ายพระนางบ้าง ก็เมื่อบกพร่องฤทธิ์กุศลพิเศษของพระนางคือความสุภาพถ่อมตน ก็จะมีความละม้ายคล้ายพระนางไม่ได้เลย ถ้าการสนิทสนมเป็นหนึ่งเดียวกับพระนางเป็นเงื่อนไขจำเป็น เปรียบเหมือนรากเหง้าของกิจการพลมารีย์ทั้งหมด เนื้อดินที่รากนั้นอาศัยงอกงามก็คือความสุภาพถ่อมตน ถ้าขาดเนื้อดินนั้น ชีวิตพลมารีย์ก็จะร่วงโรยไป
ดังนั้นการรณรงค์ซึ่งคณะพลมารีย์ทำเพื่อวิญญาณ จึงต้องเริ่มในใจของพลมารีย์แต่ละคน ทุกคนต้องทำสงครามกับตนเอง ต้องเอาชนะจิตตารมณ์ จองหองและเห็นแก่ตนเองอย่างเด็ดขาด การต่อสู้กับความชั่วในตนเองและความพยายามอยู่ตลอดเวลาที่จะให้มีเจตนาอันบริสุทธิ์นั้น เป็นงานที่เกินกำลังมากมาย เป็นการสู้รบตลอดชีพ
การไว้วางใจในความอุตสาหะพยายามของตนเองอย่างเดียวนั้นจะทำให้ต้องเป็นฝ่ายแพ้ตลอดกาล เพราะความจองหองนั้นคอยหาโอกาสเข้ามาแทรกแชงด้วยเสมอ แม้ในการสู้รบกับตนเอง คนที่ตกหลุมทรายดูดอยู่นั้น กล้ามเนื้อของเขาจะมีประโยชน์อะไร จำเป็นต้องมีหลักยึดเหนี่ยวที่มั่นคง
หน้า 33 บทที่ 6 หน้าที่ของพลมารีย์ต่อพระนางมารีย์
พลมารีย์ที่รัก ที่ยึดมั่นอันเข้มแข็งของท่านคือพระนางมารีย์ จงไว้วางใจในพระนางอย่างเต็มเปี่ยม พระนางจะไม่ทำให้ท่านผิดหวัง เพราะพระนางหยั่งรากลึกอยู่ในความสุภาพถ่อมตน ซึ่งเป็นฤทธิ์กุศลอันจำเป็นที่สุดสำหรับท่าน ผู้ใดชื่อสัตย์ต่อการบำเพ็ญจิตตารมณ์ยอมอยู่ในความปกครองของพระนาง ผู้นั้นจะได้พบวิธีบรรลุถึงความสุภาพอย่างดีเลิศและง่ายดายตามที่นักบุญหลุยส์มารีย์ กรีญอง เดอ มงฟอร์ต เรียกว่า “เป็นเคล็ดลับนำพระหรรษทาน ซึ่งน้อยคนนักจะรู้จัก สามารถทำให้เราปล่อยวางตัวตนได้รวดเร็ว โดยไม่ต้องออกแรงเท่าใดนัก และในเวลาเดียวกันทำให้เราเต็มไปด้วยพระเป็นเจ้า และกลายเป็นผู้ครบครัน”
เชิญใคร่ครวญว่าเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น เมื่อพลมารีย์หันเข้าหาพระนางมารีย์ก็จำเป็นต้องหันเหจากตนเอง พระนางฉวยโอกาสนี้ชูเราให้สูงขึ้น ทำให้มีการตายจากตนเองอย่างเหนือธรรมชาติ ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามบทบัญญัติอันเคร่งครัด แต่ได้ผลดีของชีวิตคริสตชนคาทอลิก (ยน 12:24-25)
ส้นเท้าของพระนางพรหมจารีผู้สุภาพขยี้หัวงูปีศาจ คือการบูชาตนเองพร้อมกับอีกหลายหัว คือ
1. ที่ชอบยกตนเอง เหตุว่าถ้าพระนางมารีย์ ผู้เปี่ยมด้วยความครบครัน จนพระศาสนจักรขนานนามว่า กระจกเงาความยุติธรรม เปี่ยมด้วยฤทธานุภาพ หาขอบเขตไม่ได้ในอาณาจักรพระหรรษทาน กระนั้นก็ดีเรายังเห็นพระนางคุกเข่า เหมือนผู้รับใช้ต่ำต้อยที่สุดของพระเป็นเจ้า สาอะไรกับพลมารีย์จะต้องสำนึกว่าตนเป็นใครและควรปฏิบัติอย่างไร
2. ที่ชอบแสวงหาแต่ตนเอง เหตุว่า เมื่อได้มอบตนเองและทรัพย์สมบัติทั้งสิ้น ทั้งฝ่ายวิญญาณและฝ่ายโลกให้พระนางทรงใช้ประโยชน์ตามที่เห็นเหมาะสมแล้ว พลมารีย์จึงถวายบริการแด่พระนางสืบไป ด้วยจิตตารมณ์
หน้า 34 บทที่ 6 หน้าที่ของพลมารีย์ต่อพระนางมารีย์
ของผู้ใจกว้างขวางเด็ดเดี่ยวไม่เปลี่ยนแปลง
3. ที่ไม่ต้องการพึ่งพาผู้อื่น เพราะนิสัยพึ่งพิงพระนางมารีย์เสมอนั้นทำให้ผู้นั้นไม่ไว้วางใจในพละกำลังของตน หากไม่ได้รับความช่วยเหลือจากพระนาง
4. ที่ซอบอวดตัว เพราะการเช้าส่วนร่วมกับพระนาง ทำให้สำนึกถึงการขาดแคลนของตนเอง (ซึ่งที่จริงมีแต่ความว่างเปล่า) พลมารีย์ได้มอบสิ่งใดของตนในการเข้าหุ้นกับพระนางนี้ นอกจากความอ่อนแออันน่าสงสารของตนเอง
5. ที่รักแต่ตนเอง เหตุว่ายังมีอะไรจะรักอีกหรือ เมื่อพลมารีย์ดื่มด่ำในความรัก และเฝ้าแต่ใฝ่ฝันถึงพระราชินีของตนแล้ว ที่จะหันจากพระนางมาชมเชยตนเองนั้นมีน้อยนัก
6. ที่หลงตนเอง เหตุว่า การร่วมมือกับพระนางนั้น จะยกฐานะของตนอย่างแน่นอน พลมารีย์พยายามหลอมตนเองตามแบบของพระนางและทะเยอทะยานที่จะบรรลุถึงเจตนาบริสุทธิ์อันสมบูรณ์แบบของพระนางด้วย
7. ที่ชอบให้ตนออกหน้า เมื่อติดตามที่พระนางคิด ย่อมใฝ่ใจแต่เรื่องพระเป็นเจ้าเท่านั้น จึงไม่มีสมองสำหรับวางแผนยกตนหรือเห็นแก่บำเหน็จรางวัล
8. ที่ชอบยึดแต่ใจตนเอง เมื่อยอมขึ้นกับพระนางทั้งครบแล้วพลมารีย์ย่อมไม่ยอมเชื่อการยุแหย่ความอยากของตนเอง และเงี่ยหูคอยรับฟังเสียงกระซิบของพระหรรษทานอยู่เสมอ
สำหรับพลมารีย์ผู้ลืมตนเองอย่างแท้จริงนั้น จะไม่มีอุปสรรคอันใดสามารถขัดสู้อิทธิพลประสาแม่ของพระนางได้เลย พระนางจะบันดาลให้เกิดพลังงานการเสียสละ ชนิดที่ลำพังพลมารีย์เองไม่สามารถจะทำได้ ทำให้
หน้า 35 บทที่ 6 หน้าที่ของพลมารีย์ต่อพระนางมารีย์
เขาเป็นทหารชั้นดีของพระคริสตเจ้า (2 ทธ 2:3) เหมาะสำหรับบริการอันมีเกียรติชื่งสมาชิกพลมารีย์ได้ถวายคำสัญญาไว้
“พระเป็นเจ้าทรงพอพระทัยประกอบการงานโดยไม่มีอะไรเป็นเครื่องมือจากรากฐานลึกซึ้งนี้ พระเจ้าทรงสร้งสรรค์สรรพสิ่งด้วยพระฤทธานุภาพ เราควรเพียบพร้อมด้วยใจลุกร้อน ที่จะเทิดทูนพระสิริรุ่งโรจน์ของพระเป็นเจ้า และขณะเดียวกันพึงสำนึกถึงความไม่เหมาะสมของเราที่จะเผยแผ่พระเกียรตินั้น เราจงดำลงสู่เหวแห่งความว่างเปล่าของเรา จงหลบไปช่อนอยู่ใต้ร่มเงาแห่งความต่ำต้อยของเรา จงสงบอยู่จนพระฤทธานุภาพจะทรงเห็นควรให้งานของเรากลายเป็นอุปกรณ์แห่งพระสิริรุ่งโรจน์
เพื่อสำเร็จพระประสงค์นี้ พระองค์จะทรงใช้อุปกรณ์ที่ตรงข้ามทีเดียวกับที่เราคาดหวังไว้ รองจากพระเยชูคริสตเจ้า ยังไม่เคยมีใครถวายพระสิริรุ่งโรจน์แด่พระเป็นเจ้าเทียบเท่าพระนางพรหมจารีมารีย์ ถึงกระนั้น สิ่งเดียวที่พระนางตั้งใจมั่นอยู่เสมอนั้นคือการตายจากตนเองโดยสิ้นเชิง ความถ่อมองค์ของพระนางดูเหมือนขัดแย้งกับรูปการณ์ของพระเป็นเจ้า แต่ที่จริงกลับตรงกันข้าม ความถ่อมองค์อย่างเด็ดขาดนี้เอง กลับช่วยให้ทัศนะที่เปี่ยมด้วยพระเมตตาของพระเป็นเจ้านั้น เป็นอันสัมฤทธิ์ผลได้ง่ายขึ้น” (Grou : Interior of Jesus and Mary)
3. ความศรัทธาภักดีต่อพระนางมารีย์ต้องมีการแพร่ธรรม
มีกล่าวอยู่ตอนหนึ่งในหนังสือคู่มือนั้น เน้นว่า ในพระคริสตเจ้าเราจะเลือกอะไรตามใจไม่ได้ จะเลือกรับพระคริสตเจ้าผู้รุ่งเรือง โดยไม่ยอมรับพระคริสตเจ้าผู้ทนทุกข์ถูกเบียดเบียนเข้ามาในชีวิตของเราไม่ได้ เพราะมีแต่พระคริสตเจ้าองค์เดียวซึ่งไม่อาจแบ่งแยกได้ เราต้องรับพระองค์ตามที่ทรงเป็นอยู่จริง
หากเราเข้าเฝ้าพระองค์เพื่อแสวงหาความสงบสุข อาจกลับพบความทุกข์ดังถูกตรึงติดกับกางเขนของพระองค์ได้ สิ่งตรงกันข้ามเข้ามาปะปน
หน้า 36 บทที่ 6 หน้าที่ของพลมารีย์ต่อพระนางมารีย์
อย่างแยกไม่ออก ไร้ความทุกข์ก็อดกิ่งชัยพฤกษ์ ขาดหนามก็ขาดบัลลังก์ไม่มีความขมขื่นก็ไม่มีเกียรติมงคล ไม่มีกางเขนก็ไม่มีมงกุฎ เราพยายามให้ได้อย่างหนึ่งก็กลับพบอีกอย่างหนึ่งด้วย
แน่นอนกฎเดียวกันนี้ใช้ได้กับพระนางมารีย์ด้วย เราจะแบ่งพระนางเป็นส่วน ๆ และเลือกเอาแต่ที่เราพอใจนั้นไม่ได้ เราไม่อาจร่วมความชื่นชมกับพระนาง โดยที่ขณะเดียวกันนั้นจะไม่ให้ดวงใจเราเจ็บปวดรวดร้าวแบบเดียวกันกับพระนางก็ไม่ได้ด้วย
ถ้าเราต้องการรับพระนางมาอยู่กับเรา เหมือนกับนักบุญยอห์นศิษย์ที่รัก (ยน 19:27) เราก็ต้องรับพระนางไว้ครบถ้วน ถ้าเราเต็มใจรับพระนางแต่เพียงส่วนเดียว เราอาจจะไม่ได้รับพระนางเลย เห็นชัดแน่นอนว่าผู้ที่เลื่อมใสต่อพระนาง จำต้องระมัดระวังและพยายามถอดแบบบุคลิกลักษณะและภารกิจของพระนางทุกด้าน
เขาจำต้องไม่สนใจพิเศษต่อสิ่งซึ่งมิใช่สำคัญที่สุด เช่น เป็นการดีที่เราจะนับถือพระนาง ในแบบอย่างที่เป็นเลิศด้านฤทธิ์กุศล ซึ่งเราต้องพยายามบำเพ็ญ แต่หากทำเช่นนั้นแล้ว ก็ไม่ทำอะไรอีก ก็จะได้ชื่อว่าเป็นการศรัทธาภักดีต่อพระนางเพียงส่วนหนึ่งและเล็กน้อยเต็มที เพียงแต่วอนขอพระนางไม่เป็นการเพียงพอ แม้จะได้วอนขอมากสักเพียงไรก็ยังไม่พอ หากเพียงแต่รู้และชื่นชมในวิธีการสุดคณนา น่าพิศวง ซึ่งพระตรีเอกภาพแวดล้อมพระนางด้วยพระสิริรุ่งโรจน์ สร้างแผนการในพระนางและบันดาลให้พระนางสะท้อนพระคุณลักษณะของพระองค์เอง
จริงอยู่คุณสมบัติน่าเคารพเกี่ยวกับพระนางทั้งหมดนี้เราต้องถวายแด่พระนาง แต่ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของทั้งหมด ความศรัทธาภักดีที่ครบถ้วนต่อพระนางต้องเป็นไปโดยร่วมเป็นหนึ่งเดียวกับพระนาง ความเป็นหนึ่งเดียว
หน้า 37 บทที่ 6 หน้าที่ของพลมารีย์ต่อพระนางมารีย์
โดยแท้ หมายถึงการร่วมชีวิตเดียวกันกับพระนาง และชีวิตของพระนางไม่ใช่ประกอบด้วยการเรียกร้องความนิยมชมเชยเป็นข้อใหญ่ แต่เป็นการติดต่อแจกจ่ายพระหรรษทาน
ทั้งชีวิตและโชคชะตาของพระนางคือ ความเป็นแม่ ขั้นแรกของพระคริสตเจ้า ต่อมาเป็นแม่ของมนุษย์ เพื่อสำเร็จดังนี้ พระตรีเอกภาพโปรดเตรียมและเนรมิตพระนางขึ้น หลังจากได้ปรึกษาหารือกันแต่นิรันดร (ตามคำกล่าวของนักบุญออกัสติน) เมื่อวันทูตสวรรค์มาแจ้งข่าว พระนางได้ย่างเข้าสู่งานอันน่ามหัศจรรย์นี้ และแต่นั้นมา พระนางได้กลายเป็นมารดาที่ขยัน สาละวนอยู่กับภารกิจแม่บ้าน ภาระนี้ดำเนินอยู่ชั่วระยะหนึ่งที่นาชาเร็ธแต่ไม่ช้าบ้านหลังน้อยก็กลายเป็นโลกอันไพศาล และพระบุตรของพระนางก็ขยายให้เป็นบ้านของมนุษยชาติ และเป็นดังนี้สืบต่อมาตลอดเวลา งานแม่บ้านของพระนางดำเนินเรื่อยไป และทั้งหมดในนาชาเร็ธที่เติบใหญ่ขึ้นแล้วนั้นไม่มีอะไรลุล่วงไปโดยไม่ได้อาศัยพระนาง การเอาใจใส่ต่อพระวรกายของพระคริสตเจ้า เป็นการต่อเติมความเอาใจใส่ของพระนางให้ครบถ้วน ผู้แพร่ธรรมเพียงแต่เข้าช่วยทำหน้าที่แม่ ซึ่งพระนางกำลังปฏิบัติอยู่ ตามความที่กล่าวมานี้ แม่พระอาจประกาศว่า “เราคือการแพร่ธรรม” คล้ายกับที่พระนางกล่าวว่า “เราคือการปฏิสนธินิรมล”
โดยที่ ความเป็นแม่ของบรรดาวิญญาณ เป็นหน้าที่อันจำเป็นที่สุดและเป็นชีวิตของพระนางเอง ดังนั้นหากผู้ใดไม่ได้มีส่วนในความเป็นแม่ฝ่ายวิญญาณนี้ ผู้นั้นก็ไม่ได้ร่วมเป็นหนึ่งเดียวโดยแท้จริงกับพระนาง
ฉะนั้น ขอยืนยันสภาพความจริงอีกครั้งว่า ความศรัทธาภักดีต่อพระนางมารีย์ต้องประกอบด้วยการบริการช่วยวิญญาณ พระนางมารีย์ที่ไม่เป็นแม่และคริสตชนที่ไม่ได้แพร่ธรรม ก็มีลักษณะเหมือนกัน ทั้งสองอย่างนี้
หน้า 38 บทที่ 6 หน้าที่ของพลมารีย์ต่อพระนางมารีย์
ไม่ครบ ไม่จริง ไม่เป็นสาระ ไม่ต้องตามพระประสงค์ของพระเป็นเจ้า
โดยเหตุนี้ คณะพลมารีย์ไม่ได้ตั้งอยู่บนหลักสองประการ คือ พระนางมารีย์และการแพร่ธรรม แต่ที่แท้บนหลักเดียวเท่านั้นคือพระนางมารีย์ หลักนี้เองครอบคลุมการแพร่ธรรม และ (ถ้าเข้าใจถูกต้อง) ตลอดทั้งชีวิตคริสตชนคาทอลิกไว้ด้วย
เพียงแต่คิด จะไม่บรรลุผลเลย ทูลถวายบริการแต่ปากแด่พระนางมารีย์ จะไม่เกิดผลอะไรเหมือนกัน อย่าคิดว่างานแพร่ธรรมจะเลื่อนลอยลงมาจากสวรรค์สู่บุคคลที่ไม่ทำอะไร มีแต่รอคอยให้การเป็นไป น่ากลัวว่าพวกที่ไม่ทำงานเหล่านี้จะว่างงานอยู่เรื่อยไป การถวายตัวเราเป็นผู้แพร่ธรรมจะให้ได้ผลจริง ก็มีแต่ลงมือทำงานแพร่ธรรมนั่นเอง พอลงมือเช่นนี้ ทันทีทันใดพระนางมารีย์รับเอากิจการของเราไปเป็นของพระนาง กลายเป็นกิจการของพระมารดา
ยิ่งกว่านั้น พระนางมารีไม่อาจทำหน้าที่อย่างครบครันโดยปราศจากความช่วยเหลือของชาวเรา แต่แน่นอน ท่านอาจจะเห็นว่าความคิดนี้หนักเกินไป พระนางพรหมจารีผู้ทรงฤทธิ์ยังต้องพึ่งความช่วยเหลือของผู้อ่อนแอเช่นเรานี้ เป็นไปได้หรือ แต่ความจริงก็เป็นเช่นนั้น วิธีดำเนินงานชนิดหนึ่งของพระเป็นเจ้าคือต้องการให้มนุษย์ร่วมมือด้วย และพระองค์จะไม่ช่วยมนุษย์ให้รอด นอกจากอาศัยมนุษย์ด้วยกัน
จริงอยู่คลังพระหรรษทานของพระนางมารีย์มีอยู่บริบูรณ์ล้นเหลือแต่พระนางไม่อาจจกจ่ายพระหรรษทานได้ หากขาดความช่วยเหลือของเราหากพระนางสามารถใช้ฤทธิ์อำนาจตามใจพระนาง โลกก็จะกลับใจในชั่วพริบตาเดียว แต่พระนางต้องเฝ้าคอยจนกว่าความร่วมมือจากมนุษย์จะมาถึง ขาดความร่วมมือนี้แล้ว พระนางไม่อาจปฏิบัติหน้าที่มารดาได้ และวิญญาณก็จะขาดพระหรรษทาน
หน้า 39 บทที่ 6 หน้าที่ของพลมารีย์ต่อพระนางมารีย์
ดังนั้น พระนางย่อมยินดีต้อนรับไม่ว่าผู้ใด ที่มอบตนจริงเพื่อตอบสนองความประสงค์ของพระนาง พระนางจะใช้เขาให้เป็นประโยชน์กับแต่ละคนและกับทุกคน ไม่เลือกว่าศักดิ์สิทธิ์เหมาะสม หรือทุพพลภาพไม่เหมาะสม ต้องการทุกคนไม่เว้นใครเลย แต่ผู้ที่ต่ำต้อยที่สุดก็อาจส่งพลังงานของพระนางได้เป็นอันมาก ฝ่ายผู้ที่ดีกว่า พระนางก็จะอาศัยส่งฤทธานุภาพของพระนางอย่างเต็มที่ จงคิดถึงแสงแดดที่ส่องเจิดจ้าผ่านหน้าต่างใสสะอาดแต่พร่ามัวเมื่อผ่านหน้าต่างสกปรกเถิด
“พระเยชูเจ้าและพระนางมารีย์ไม่ใช่อาดัมและเอวาคนใหม่ดอกหรือที่ต้นไม้กางเขนได้นำมาด้วยกันทั้งปริเวทนาและความรัก เพื่อชดใช้ความผิดที่พ่อแม่เดิมกระทำไว้ในสวนเอเดน พระเยชูทรงเป็นบ่อเกิด ส่วนพระนางมารีย์เป็นท่อธารแห่งพระหรรษทานซึ่งทำให้เราเกิดใหม่ฝ่ายวิญญาณและช่วยเราให้ได้รับถิ่นสวรรค์กลับคืน
เราจงพร้อมใจกับพระคริสตเจ้าถวายพระพรแด่พระนาง เพราะพระองค์ทรงสถาปนาให้เป็นมารดามหากรุณา ราชินีของชาวเรา แม่ที่รักยิ่งของชาวเรา คนกลางจ่ายพระหรรษทานของพระองค์ ผู้แจกจ่ายพระคลังของพระองค์ พระบุตรพระเป็นเจ้าโปรดให้พระมารดาของพระองค์รุ่งโรจน์ด้วยพระเกียรติมงคล พระเดชานุภาพและพระฤทธานุภาพในฐานะที่พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตราธิราช
เนื่องจากพระนางร่วมเป็นหนึ่งเดียวกับกษัตริย์ของมวลมรณสักขี ในฐานะเป็นพระมารดาและผู้ช่วยพระองค์ในงานใหญ่หลวงคือการไถ่มนุษยชาติ ฉะนั้น พระนางจึงคงร่วมสนิทกับพระองค์ตลอดไป ทรงฤทธิ์ชนิดที่อาจกล่าวได้ว่าไม่มีขอบเขตในการจ่ายแจกพระหรรษทานซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากการไถ่บาปนั้น จักรวรรดิของพระนางไพศาลเหมือนกับของพระบุตร จนกระทั่งไม่มีอะไรเลยอยู่นอกครอบครองของพระนาง” (พระสันตะป่าปาปีโอ ที่ 12 – พระโอวาทวันที่ 21 เมษายน 1940 และวันที่ 13 พฤษภาคม 1945)
หน้า 40 บทที่ 6 หน้าที่ของพลมารีย์ต่อพระนางมารีย์
4. พยายามเข้มข้นในการรับใช้พระนางมารีย์
ไม่ว่ากรณีใด ๆ ไม่ควรถือเอาจิตตารมณ์ที่ตนขึ้นอยู่กับพระนางมารีย์นี้มาเป็นข้อแก้ตัว ที่จะให้ขาดความพยายามหรือยอมให้เกิดความบกพร่องขึ้นในระบบได้ ตรงกันข้าม เพราะเมื่อผู้ใดทำงานกับพระนางมารีย์ และทำเพื่อพระนางอย่างบริบูรณ์จริงแล้ว จำต้องเลือกถวายเฉพาะที่ดีที่สุดเป็นบรรณาการ เขาต้องทำงานอย่างเข้มแข็งและประณีต
บางครั้งความผิดพลาดที่เกิดจากเปรสิเดียม ซึ่งปรากฎว่าไม่ได้พยายามเพียงพอ ในเรื่องปฏิบัติงานตามปกติของคณะพลมารีย์ หรือในการขยายคณะหรือการหาสมาชิกใหม่ บางครั้งเคยได้ยินคำตอบดังต่อไปนี้ “ฉันไม่วางใจในกำลังของฉันเอง ฉันมอบกิจการทั้งหมดไว้แด่แม่พระ ให้ดลบันดาลผลที่ถูกตามวิถีทางของพระนางเอง” บ่อยครั้งคำตอบนี้ เกิดจากบุคคลที่ตั้งใจดีจริงแต่มักจะเข้าใจผิดว่าการอยู่เฉย ๆ ของตนนั้นเป็นความดีชนิดหนึ่ง ราวกับว่าการแสวงหาวิธีปฏิบัติและความพยายามของตนนั้น เป็นการแสดงว่าตนมีความเชื่อไม่พอ
อาจมีภัยได้เหมือนกัน เมื่อนำสิ่งเหล่านี้ไปคิดตามประสามนุษย์และถือตามเหตุผลว่า เมื่อตนเป็นเครื่องมือของผู้ทรงพลังมหาศาลแล้ว ตนจะพยายามออกแรงมากหรือน้อยไม่เป็นเรื่องสำคัญ อาจนึกว่า ทำไมคนจนที่เข้าหุ้นกับมหาเศรษฐีจะต้องเข้าเนื้อตนเอง ช่วยออกเงินอีกหนึ่งสตางค์รวมเข้าไปในเงินกองกลางที่ล้นถุงอยู่แล้วเล่า
จึงจำเป็นต้องเน้นถึงหลักการหนึ่ง ซึ่งพลมารีย์จำต้องถือเป็นหลักปฏิบัติงานของตน คือว่าพลมารีย์หาใช่เป็นแต่เพียงเครื่องมือที่ไม่มีชีวิตจิตใจของพระนางมารีย์เท่านั้น เขายังต้องร่วมมืออย่างจริงจังกับพระนางเพื่อทำให้วิญญาณของมวลมนุษย์มั่งคั่งและไถ่ให้เป็นอิสระ ในการร่วมมือ
หน้า 41 บทที่ 6 หน้าที่ของพลมารีย์ต่อพระนางมารีย์
เช่นนี้ต่างฝ่ายต่างให้สิ่งที่อีกฝ่ายหนึ่งไม่มีจะให้
พลมารีย์อุทิศกิจการและความสามารถของตน นี่แหละที่เป็นของทั้งสิ้นของเขา ฝ่ายพระนางมารีย์มอบตัวพระนางเอง พร้อมกับความบริสุทธิ์และฤทธิ์อำนาจทั้งสิ้นของพระนาง แต่ละฝ่ายมีข้อผูกพันที่จะพลีอย่างสิ้นเชิง ถ้าพลมารีย์เคารพต่อจิตตารมณ์เข้าหุ้นส่วนกันนั้น ฝ่ายพระนางมารีย์จะไม่มีอะไรขาดตกบกพร่องเลย ฉะนั้นโชคชะตาแห่งกิจการงานนั้นอาจกล่าวได้ว่าขึ้นอยู่กับพลมารีย์ทั้งสิ้น เขาจึงต้องทุ่มเทเรี่ยวแรงและสติปัญญาทั้งหมดและบันดาลให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นด้วยวิธีดีเลิศ และความพยายามพากเพียรจนถึงที่สุด
แม้รู้อยู่ว่าพระนางมารีย์กำลังจะประสิทธิ์ผลอันพึงพอใจโดยไม่จำเป็นต้องพึ่งความพยายามของพลมารีย์ กระนั้นก็ดีจำต้องใช้ความพยายามอย่างเต็มขนาด อย่างแข็งขันราวกับว่าทั้งหมดขึ้นอยู่กับความพยายามพากเพียรนั้น ทั้ง ๆ ที่พลมารีย์วางใจอย่างไร้ขอบเขตในความช่วยเหลือของพระนางมารีย์ ความพยายามของเขาก็ต้องอยู่ในระดับสูงสุดเสมอ ความใจกว้างของพลมารีย์ต้องขึ้นสูงเท่ากับความไว้วางใจ
หลักการที่ต้องปฏิบัติตามความเชื่ออย่างไม่มีขอบเขต ร่วมกันไปกับความบากบั่นแข็งขันถูกวิธีนี้ เหล่านักบุญได้กล่าวไว้อีกอย่างหนึ่ง คือเมื่อกล่าวว่าเราต้องภาวนาราวกับว่าอะไรทั้งหมดขึ้นอยู่กับการภาวนานั้นอย่างเดียว ไม่มีอะไรขึ้นกับความพยายามของเราเลย แล้วเราก็ต้องบากบั่นราวกับว่าทุกสิ่งขึ้นอยู่กับความบากบั่นของเราแต่อย่างเดียว
จะคำนวณว่า ความยากเข็ญเท่านั้น และก็ลงแรงเท่านั้น ตามส่วนกันไม่ได้ หรือจะคิดว่า “สิ่งที่ต้องการนี้ จะต้องลงทุนให้น้อยสักเท่าไรจึงพอจะสำเร็จได้ ก็ไม่ได้ด้วย แม้ในเรื่องฝ่ายโลก จิตตารมณ์เอาแต่ต่อรองเช่นนี้
หน้า 42 บทที่ 6 หน้าที่ของพลมารีย์ต่อพระนางมารีย์
ก็มักจะผิดหวัง ในเรื่องเหนือธรรมชาติ จะผิดหวังเสมอ เพราะจะทำให้ขาดพระหรรษทานที่จำเป็นที่สุดที่จะให้กิจการนั้นสำเร็จผล ยิ่งกว่านั้นการตัดสินแบบมนุษย์ก็ไม่อาจเชื่อถือได้ สิ่งที่ดูเผิน ๆ ว่าเป็นไปไม่ได้ บ่อยครั้งพอเริ่มลงมือ กลับเป็นไปได้ ตรงกันข้าม ผลที่หวุดหวิดจะเอื้อมถึงอยู่แล้ว กลับหลุดมืออยู่เรื่อย ๆ และในที่สุดคนอื่นกลับเก็บไปเสียก่อน
ในระเบียบฝ่ายวิญญาณ ผู้ที่เก่งแต่คำนวณเช่นนี้ จะยิ่งวันตกต่ำลงทุกที และที่สุดจะไม่สามารถทำอะไรให้เกิดผลได้เลย วิถีทางแน่นอนอย่างเดียวคือพากเพียรอย่างไม่อั้น ในงานแต่ละชิ้นไม่ว่าใหญ่หรือเล็ก พลมารีย์จะทุ่มเทความพากเพียรขั้นสูงสุด บางทีความพยายามถึงขั้นดังกล่าวอาจจะไม่จำเป็นก็เป็นได้ บางทีเพียงแตะต้อง งานนั้นก็จะเสร็จสมบูรณ์แล้ว และถ้ามีจุดประสงค์เพียงให้งานสำเร็จเท่านั้น ก็ถูกต้องแล้วที่จะออกแรงเพียงเล็กน้อยและไม่มากกว่านั้น ตามที่ไขรอนกล่าวว่า เราคงจะไม่ยกกระบองของเฮอร์คิวลิสขึ้นเพื่อทุบผีเสื้อหรือตัวริ้น
แต่พลมารีย์ต้องสำนึกว่า เขาไม่ได้ทำงานเพื่อหวังผลสำเร็จโดยตรง เขาทำงานเพื่อพระแม่เจ้า โดยไม่คำนึงว่างานยากหรือง่าย และในกิจทุกอย่างพลมารีย์ต้องใช้ความพยายามดีที่สุดไม่ว่างานใหญ่หรือเล็ก ดังนั้นจึงสมกับที่จะได้รับความร่วมมือเต็มที่จากพระแม่เจ้า แม้กระทั่งการอัศจรรย์ก็จะเกิดขึ้นได้หากจำเป็น ถ้าผู้ใดทำได้แต่เล็กน้อย แต่ทำอย่างสิ้นสุดจิตใจ พระนางจะเสด็จมาช่วยเขาพร้อมกับฤทธิ์อำนาจ และจะบันดาลให้กำลังอันเล็กน้อยของเขานั้นเกิดผลเท่ากับพลังของยักษ์ หากพลมารีย์ได้พยายามเต็มความสามารถของตนแล้ว แต่ยังอยู่ไกลลิบจากผลสำเร็จ พระนางมารีย์จะเนรมิตสะพานขึ้นเชื่อมงานนั้น จนกระทั่งลงเอยสำเร็จสมความปรารถนา
หน้า 43 บทที่ 6 หน้าที่ของพลมารีย์ต่อพระนางมารีย์
และแม้พลมารีย์ลงแรงทำงานอย่างหนึ่งให้สำเร็จ เกินกว่าที่จำเป็นไปตั้งสิบเท่าก็ตาม ไม่ใช่ว่าจะสูญเปล่าสักนิดเดียว เหตุว่างานทั้งหมดนั้นไม่ใช่ทำถวายพระนาง และไม่ใช่เพื่อรับใช้โครงการและความประสงค์อันกว้างขวางของพระนางดอกหรือ พระนางยินดีรับความบากบั่นล้นปริมาณนั้นจะทบทวีขึ้นอย่างเหลือเฟือ แล้วประทานแก่รายที่ขาดแคลนในครอบครัวของพระคริสตเจ้า สิ่งใดที่มอบไว้ในมือของแม่บ้านรอบคอบแห่งนาซาเร็ธจะไม่มีอะไรสูญเปล่าเลย
แต่ตรงกันข้าม ถ้าความพยายามของพลมารีย์ น้อยกว่าที่เขาควรจะทำได้ เมื่อนั้นพระนางก็ไม่สามารถประทานความช่วยเหลือได้อย่างเต็มที่เพราะความเพิกเฉยของพลมารีย์เอง ความเป็นปีกแผ่นในการได้ร่วมทรัพย์สินกับพระนาง ซึ่งจะพาให้ได้สิ่งประเสริฐต่าง ๆ เกิดมาเลิกล้มลง เป็นการสูญเสียแก่บรรดาวิญญาณ และพลมารีย์ที่ทอดทิ้งความพยายามของตนเท่านั้น
ฉะนั้น เป็นการเปล่าประโยชน์สำหรับพลมารีย์ที่จะแก้ตัว เมื่อไม่ได้ใช้ความพยายามของตนให้เพียงพอ หรือพอใจในกลวิธีอันไม่บริสุทธิ์ของตนโดยอ้างว่าตนวางใจอยู่กับพระนางทั้งสิ้นแล้ว แน่นอน ความไว้วางใจชนิดนี้ซึ่งทำให้เขาคลายจากความพยายามออกแรงให้เหมาะสม นับว่าเป็นความอ่อนแอ และเป็นสิ่งเลวทรามต่ำต้อย เขาพยายามให้พระนางแบกภาระซึ่งเขาเองพอจะแบกได้ มีอัศวินธรรมดาผู้ใดบ้าง ที่จะรับใช้เทพีของเขาประหลาดถึงเพียงนี้
ดังนั้น สมมุติว่ายังไม่ได้พูดอะไรถึงเรื่องนี้ ขอให้กลับมาพูดถึงหลักฐานข้อมูลแห่งความร่วมมือของพลมารีย์กับพระนางมารีย์อีกครั้งหนึ่ง พลมารีย์ต้องถวายความสามารถของตนอย่างเต็มที่ ไม่ใช่หน้าที่ของพระนาง
หน้า 44 บทที่ 6 หน้าที่ของพลมารีย์ต่อพระนางมารีย์
ที่จะชดเชยสิ่งที่พลมารีย์ปฏิเสธไม่ยอมให้ จะไม่เป็นการเหมาะสมสำหรับพระนางที่จะปลดเปลื้องพลมารีย์ให้ไม่ต้องใช้ความพยายาม ปฏิบัติให้ถูกวิธี อดทน ใช้ความคิดของตน ซึ่งเขาสามารถทำได้ และจำเป็นต้องทำเพื่อพระคลังของพระเป็นเจ้า
พระนางปรารถนาจะประทานอย่างอุดมสมบูรณ์ แต่พระนางก็ไม่อาจทำได้ นอกจากสำหรับวิญญาณที่มีใจกว้างขวางจะช่วย ฉะนั้น โดยที่ปรารถนาให้พลมารีย์ลูกรักได้รับผลเต็มที่จากความมั่งคั่งของพระนาง พระนางจึงเชิญชวนเขาให้มาทำงาน “ด้วยสิ้นสุดจิตใจ สิ้นสุดวิญญาณ สิ้นสุดสติปัญญาและสิ้นสุดกำลังของตน” ตามพระวาจาของพระบุตร ที่ตรัสไว้ในพระวรสาร (มก 12:30)
พลมารีย์ต้องอาศัยพระนางมารีย์ ช่วยเติมต่อกิจการตามธรรมชาติของเขาให้ครบถ้วน ช่วยชำระสะสาง ทำให้ดีเต็มที่ ยกให้สูงเหนือธรรมชาติ ช่วยความพยายามป้อแป้ตามภาษามนุษย์ให้ขันแข็ง สามารถประกอบงานซึ่งลำพังตนไม่สามารถทำได้ แต่เหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องใหญ่โต ดังคำในพระวรสารว่าจะสามารถยกรากภูเขาเหวี่ยงลงสู่ทะเล ทำให้แผ่นดินราบเป็นหน้ากลอง ถนนหนทางตัดตรง พาไปสู่เมืองสวรรค์
“ชาวเราล้วนเป็นคนใช้ที่ไม่มีประโยชน์ แต่เรารับใช้เจ้านาย (พระเป็นเจ้า) ซึ่งรู้หลักเศรษฐกิจอย่างเยี่ยม ซึ่งไม่ปล่อยให้อะไรเสียเปล่าเลย แม้เหงื่อหน้าผากสักหยดเดียวของเราก็ไม่สูญเปล่า แม้น้ำค้างหยดหนึ่งจากท้องฟ้า ข้าพเจ้าไม่ทราบว่าวาสนาของหนังสือเล่มนี้จะเป็นอย่างไร ข้าพเจ้าจะสามารถเขียนจนเสร็จได้หรือไม่ หรือจะถึงเพียงตรงที่อยู่ใต้ปากกานี้ก็ไม่รู้ แต่ข้าพเจ้ารู้ดี พอเป็นเหตุให้ข้าพเจ้าทุ่มเทกำลังกายและอายุขัยของข้าพเจ้าที่เหลืออยู่ ไม่ว่ามากหรือน้อย ลงในหนังสือนี้ทั้งสิ้น” (เฟรเดอริก โอชานัม)
หน้า 45 บทที่ 6 หน้าที่ของพลมารีย์ต่อพระนางมารีย์
5. พลมารีย์ควรบำเพ็ญความศรัทธาภักดีต่อพระนางมารีย์ของนักบุญหลุยส์มารีย์ กรีญอง เดอ มงฟอร์ต
เป็นสิ่งพึงปรารถนาให้พลมารีย์ ปฏิบัติความศรัทธาภักดีต่อพระนางโดยลักษณะเด่นเป็นพิเศษ ตามที่นักบุญหลุยส์มารีย์ กรีญอง เดอ มงฟอร์ตสอนไว้ เรื่อง “ความศรัทธาภักดีแท้” หรือ “ทาสของพระนางมารีย์” ในหนังสือ 2 เล่มของท่านชื่อ “ความศรัทธาภักดีแท้ต่อพระนางพรหมจารี” และ “เคล็ดลับของพระนางมารีย์” (ดูภาคผนวกที่ 5 ท้ายเล่มนี้)
ความศรัทธาภักดีเช่นนั้น เรียกร้องให้มีพิธีสัญญาชิดสนิทกับพระนางมารีย์ ให้ผู้นั้นถวายตนอย่างสิ้นเชิงแด่พระนาง รวมทั้งความนึกคิด การกระทำและทุกสิ่งในครอบครองทั้งฝ่ายกายและวิญญาณ ในอดีต ปัจจุบันและอนาคต ไม่ได้สงวนไว้สำหรับตนแม้แต่น้อยที่สุด กล่าวสั้น ๆ ผู้ถวายมอบตนในลักษณะของทาสที่ไม่มีอะไรเป็นกรรมสิทธิ์เลย ทั้งหมดขึ้นอยู่และสุดแล้วแต่พระนางจะพอพระทัยจัดการ
แต่ที่จริงทาสฝ่ายโลกนี้ ยังมีอิสระกว่าทาสของพระนางมารีย์มาก ทาสฝ่ายโลกยังคงเป็นเจ้าของความนึกคิด และชีวิตภายในของตน และดังนี้ทุกอย่างที่สำคัญแก่ตนจึงยังอาจเป็นอิสระ แต่ผู้ถวายตนแด่พระนางมารีย์นั้นมอบหมดทั้งสิ้น คือความนึกคิดทุกอย่าง ความเคลื่อนไหวทั้งมวลฝ่ายวิญญาณคุณความดีที่เร้นลับ และทุกสิ่งภายในของตนทั้งสิ้น ทั้งหมดตลอดไปจนลมหายใจสุดท้าย ยอมยกมอบแด่พระนาง เพื่อพระนางจะได้ใช้จ่ายทั้งหมดนั้นเพื่อพระเป็นเจ้า
เป็นลักษณะของความเป็นมรณสักขีอย่างหนึ่ง เป็นการถวายบูชาตนเองแด่พระเป็นเจ้า พร้อมกับพระนางมารีย์ผู้เป็นเสมือนแท่นสักการบูชานั้น ที่จริงช่างเหมาะสมกันแท้กับยัญบูชา ซึ่งพระคริสตเจ้าทรงถวายพระองค์
หน้า 46 บทที่ 6 หน้าที่ของพลมารีย์ต่อพระนางมารีย์
เอง ซึ่งเริ่มแรกเช่นเดียวกันในอุระของพระนาง ยืนยันอย่างเปิดเผยในอ้อมแขนของพระนาง เมื่อชูขึ้นในวันถวายในพระวิหาร ติดประจำตลอดพระชนมชีพของพระองค์ และจบสิ้นลงบนเนินกัลวารีโอ บนกางเชนแห่งดวงหทัยของพระนางมารีย์เช่นเดียวกัน
ความศรัทธาภักดีเริ่มด้วยพิธีถวายตัวเป็นทางการ แต่หลักสำคัญอยู่ที่การดำรงชีพตามคำถวายตัวนั้นโดยตลอด ความศรัทธาภักดีไม่ใช่เป็นแต่เพียงกิจการชั่วครู่ แต่เป็นสภาพความเป็นอยู่ที่ถาวร กิจถวายตัวนั้น แม้จะรื้อฟื้นบ่อยเพียงใด ก็จะมีค่าเพียงคำสวดชั่วครู่ชั่วยาม นอกจากพระนางมารีย์จะได้เข้าครอบครองทั้งชีวิต ไม่ใช่เพียงบางนาทีหรือบางชั่วโมงเท่านั้น มิฉะนั้นจะเปรียบดังต้นไม้ที่ปลูกไว้แต่ไม่แตกราก
แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า จิตใจต้องจดจ่ออยู่กับการถวายตัวนั้นเป็นนิจศีล เช่นเดียวกับชีวิตร่างกายที่ดำเนินอยู่ด้วยการหายใจหรือการเต้นของหัวใจ ทั้ง ๆ ที่เราไม่ได้ตั้งใจทำฉันใด ความศรัทธาภักดีก็เป็นฉันนั้นด้วย แม้ไม่ตั้งใจก็จริงอยู่ แต่ก็ยังผลแก่ชีวิตวิญญาณเรื่อยไปไม่หยุดยั้ง เพียงแต่พยายามกระตุ้นเตือนการสำนึกเป็นครั้งเป็นคราวว่า ตนเป็นกรรมสิทธิ์ของพระนางมารีย์ ด้วยการตั้งใจคิด ด้วยกิจการและบทภาวนาสั้นๆ ก็พอแล้ว ขอแต่ให้ตนรับรู้อย่างมั่นคงถาวรว่าตนขึ้นอยู่กับพระนาง ให้ความคิดนี้ อย่างน้อยยังคงแว่วอยู่ในจิตใจเสมอ และนำมาปฏิบัติทั่วๆ ไปในพฤติการณ์ต่างๆ แห่งชีวิต
หากตนรู้สึกมีความลุกร้อนในเรื่องที่กล่าวมานี้ ก็นับว่าดีอยู่ แต่หากไม่ได้เป็นเช่นนั้น ก็ไม่ทำให้คุณค่าของความศรัทธาภักดีนี้เปลี่ยนแปลงไป เนื่องด้วยปรากฏบ่อย ๆ ว่า ความรู้สึกลุกร้อนนี้ทำให้สิ่งต่างๆ อ่อนแอและไว้วางใจไม่ได้
หน้า 47 บทที่ 6 หน้าที่ของพลมารีย์ต่อพระนางมารีย์
พึงสังเกตให้ดีว่า ความศรัทธาภักดี ย่มไม่ขึ้นกับความกระตือรือร้นหรืออารมณ์แต่อย่างใดเลย เช่นเดียวกับอาคารที่สูงลิบทุกหลัง บางครั้งก็ร้อนอบอ้าวเพราะแสงอาทิตย์ แต่รากฐานอันลึกของอาคารนั้นเย็นเฉียบเหมือนก้อนหินที่รองรับอยู่
ตามธรรมดา เหตุผลมักจะเยือกเย็น ความตั้งใจดีจริงอาจจะเย็นเฉียบดังน้ำแข็ง ตัวความเชื่อเองอาจเย็นเฉียบเหมือนเพชรพลอย ความเย็นนี่แหละเป็นรากฐานของความศรัทธาภักดี เมื่อมีรากฐานเยือกเย็นดังว่าแล้วความศรัทธาภักดีนั้นจะมั่นคงในตัวเอง น้ำแข็งและพายุ ซึ่งเคยทำให้ภูเขาต้องพังทลายมาแล้วกลับจะทำให้ความศรัทธาภักดีนี้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นอีก
พระหรรษทาน ซึ่งเราได้รับขณะปฏิบัติความศรัทธาภักดี และความสำคัญของความศรัทธาภักดีในชีวิตด้านความศรัทธาของพระศาสนจักรนั้นพอที่จะชี้แสดงอย่างมีเหตุผลว่า ความศรัทธาภักดีนั้นเป็นเสมือนสารแท้มาจากสวรรค์ นักบุญหลุยส์มารีย์ กรีญอง เดอ มงฟอร์ต เองก็ได้อ้างไว้เด็ดขาดเช่นนั้น ท่านยังให้คำมั่นสัญญาอีกมากมาย และยืนยันมั่นคงว่า จะได้สมจริงตามคำสัญญาทุกประการ หากได้ปฏิบัติครบถ้วนตามเงื่อนไขนั้น
เกี่ยวกับประสบการณ์ประจำวันเล่า จงถามบรรดาที่บำเพ็ญความศรัทธาภักดีอย่างจริงจัง ดูเถิดจะเห็นว่า เขาจะพูดถึงผลประโยชน์ของความศรัทธาภักดีนั้น ด้วยความเชื่อมั่นเพียงใด ถามเชาดูเถิดว่า เขาไม่ได้หลงตกเป็นเหยื่อของความรู้สึกหรือการคิดฝันเองหรือ เขาจะยืนยันเสมอว่าไม่มีปัญหาเลยในเรื่องนั้น ก็เมื่อผลมีประจักษ์เช่นนี้ จะเหมาเอาว่าเป็นเรื่องหลอกลวงอย่างไรได้
ถ้าเราจะนำผลของประสบการณ์จากบรรดาผู้ที่สอน เข้าใจ และบำเพ็ญความศรัทธาภักดีมารวมกันเข้า ก็ดูเหมือนเป็นการแน่นอนที่ว่าความ
หน้า 48 บทที่ 6 หน้าที่ของพลมารีย์ต่อพระนางมารีย์
ศรัทธาภักดีนั้นทำให้ชีวิตภายในฝังรากหยั่งลึก โดยทำให้เกิดการไม่เนแก่ตัวและเจตนาบริสุทธิ์เป็นคุณลักษณะพิเศษ มีความรู้สึกว่ามีสิ่งหนึ่งคอยนำทางและคุ้มกัน คือความแน่นอนอันน่าชื่นชม ว่าบัดนี้เขากำลังดำรงชีวิตอย่างได้ประโยชน์ดีที่สุด ทำให้รู้สึกมองเหตุการณ์ต่าง ๆ อย่างเหนือธรรมชาติ มีความกล้าหาญเด็ดเดี่ยว ความเชื่อมั่นคงขึ้น ซึ่งบันดาลให้เขาทรหดไม่ว่าในธุระแสนเข็ญใด ๆ มีความอ่อนโยนและสุขุม อันทำให้รู้จักเข้มแข็งถูกต้องตามกาลเทศะ ยังมีความสุภาพถ่อมตน คอยคุ้มครองคุณธรรมเหล่านี้อีกชั้นหนึ่งด้วย เขาจะต้องรับว่าพระหรรษทานที่ตนได้รับนั้นล้วนพิเศษไปกว่าธรรมดาทั้งสิ้น
บ่อย ๆ มีงานสำคัญที่ต้องทำ ซึ่งปรากฎชัดว่าอยู่เหนือคุณสมบัติและความสามารถตามธรรมชาติของเขา กระนั้นก็ดี พร้อมๆ กันนั้นก็ได้รับความช่วยเหลือมากมาย ซึ่งทำให้เขาสามารถแบกภาระอันทรงเกียรติ แต่แสนจะหนักนี้ได้โดยไม่ชวนเซ กล่าวสั้น ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนกับการเสียสละอันดีเลิศด้วยการปฏิบัติตามความศรัทธาภักดี โดยขายตนเองเป็นทาสแบบนั้น เขาจะได้รับตอบแทนเป็นร้อยเท่า ตามที่ได้สัญญาไว้แก่ผู้ที่พลีตนเองเพื่อทวีพระสิริรุ่งโรจน์ยิ่งใหญ่ของพระเป็นเจ้า “เมื่อเรารับใช้ เราย่อมได้คุ้มครอง เมื่อเราให้ เรากลับมั่งมี เมื่อเรายอมแพ้ เรากลับเป็นผู้กำชัยชนะ”
บางคนคิดถึงเรื่องฝ่ายวิญญาณของตน คล้ายกับเรื่องการค้า คือคิดว่าตนจะกำไรหรือขาดทุนเท่านั้น บุคคลเหล่านี้ตกใจ เมื่อมีผู้แนะนำให้ทอดทิ้งทรัพย์ฝ่ายวิญญาณ คือบุญกุศลทั้งสิ้นของตน แม้จะให้อยู่ในหัตถ์ของพระมารดาฝ่ายวิญญาณของเราก็ตาม ได้ยินคำพูดเช่นนี้ก็มีว่า “ถ้าข้าพเจ้ามอบทุกสิ่งแด่พระนางมารีย์ แล้วเวลาที่ข้าพเจ้าจากชีวิตนี้ ไม่ต้องไปยืนมือเปล่าต่อหน้าพระมหาตุลาการ และฉะนั้นก็อาจจะต้องไปจมในไฟชำระ
หน้า 49 บทที่ 6 หน้าที่ของพลมารีย์ต่อพระนางมารีย์
ตลอดกาลนานหรือ” ต่อคำถามเช่นนี้ มีผู้ให้คำตอบอย่างแปลกๆ ว่า “หามิได้ไม่ใช่เช่นนั้นเลย เพราะแม่พระก็อยู่ในขณะพิพากษานั้นด้วย” ข้อสังเกตนี้ลึกซึ้งน่าคิดมากทีเดียว
แต่ข้อคัดค้านในการถวายตัวนั้น ตามปกติเกี่ยวกับการไม่กล้าตัดสินใจมากกว่าความเนแก่ตัวแต่อย่างเดียว เป็นการยากที่จะเข้าใจว่าบางสิ่งบางอย่างที่เรามีหน้าที่จำต้องภาวนาให้ เช่น ครอบครัว มิตรสหายประเทศชาติ พระสันตะปาปา ฯลฯ เหล่านี้จะเป็นอย่างไร ถ้าเรามัวเอาทรัพย์ฝ่ายวิญญาณไปถวายแม่พระจนหมดสิ้น
อย่าไปเอาใจใส่กับความหวาดเกรงเหล่านั้น มาถวายตัวแด่พระนางอย่างกล้าหาญเถิด มีพระนางอยู่ด้วย ทุกสิ่งก็ปลอดภัย พระนางเป็นผู้พิทักษ์แม้พระคลังของพระเป็นเจ้า พระนางย่อมสามารถเป็นผู้พิทักษ์ผลประโยชน์ของบรรดาที่วางใจในพระนางด้วย ดังนั้นจงทุ่มเทสินทรัพย์แห่งชีวิตของท่านพร้อมกับหนี้สินทั้งหมด กล่าวคือข้อผูกมัด และหน้าที่ทุกชนิดในดวงหทัยอันเลิศล้ำของพระนางเถิด ในการสัมพันธ์กับท่าน พระนางจะกระทำราวกับว่าไม่ได้มีลูกคนอื่นนอกจากท่นคนเดียว ความรอดของท่าน ความศักดิ์สิทธิ์ของท่าน ความจำเป็นร้อยแปดของท่าน เป็นที่ประจักษ์ทั่วถ้วนแก่พระนาง เมื่อท่านภาวนาตามความประสงค์ของพระนาง ก็ท่านเองนี่แหละเป็นความประสงค์แรกของพระนาง
แต่ในเรื่องนี้เมื่อเราถูกเรียกร้องให้เสียสละ ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องพิสูจน์ว่าในการกระทำเช่นนี้จะไม่มีวันขาดทุนเลย เพราะการมุ่งพิสูจน์เช่นนี้เท่ากับเป็นการทำลายรากฐานของการมุ่งถวายนั้น ทำให้เสียลักษณะการเสียสละและหมดคุณค่า ขอให้เราหวนระลึกถึงกาลครั้งกระโน้น ที่มหาชนราวหมื่นหรือหมื่นสองพันคน อยู่ในที่เปลี่ยวและกำลังหิว (ยน 6:1-14)
หน้า 50 บทที่ 6 หน้าที่ของพลมารีย์ต่อพระนางมารีย์
คนจำนวนทั้งหมดนั้นมีเพียงแต่คนเดียวนำอาหารติดตัวมา คือขนมปัง 5 ก้อนกับปลา 2 ตัว เขาถูกขอร้องให้เสียสละอาหารทั้งหมดนั้นเพื่อประโยชน์ส่วนรวม เขาก็ยอมสละด้วยความเต็มใจ แล้วขนมปังไม่กี่ก้อน ปลาไม่กี่ตัวนั้น พระองค์ทรงรับมาเสกหักแบ่งแจกให้มหาชน ที่สุดคนมากมายทั้งหมดนั้นได้รับประทานจนอิ่มทั่วทุกคน และในจำนวนคนเหล่านั้น ผู้ที่เสียสละอาหารเดิม 7 ชิ้นนั้นก็ได้รับประทานด้วย และแม้กระนั้นยังมีขนมปังเหลือกว่า 12 กระจาดพูนๆ
บัดนี้สมมุติว่าเขาผู้นั้นพูดว่า “คนมากมายพิลึก ขนมปังและปลาเล็ก ๆ น้อยๆ นี้ จะไปพอยาไส้อะไร ยิ่งกว่านั้นฉันก็ต้องการอาหารนั้นสำหรับตัวฉันและครอบครัวที่กำลังหิว ให้ไม่ได้ดอก” แต่ไม่ใช่เช่นนั้นเลย เขายอมให้ ตัวเขาเองและประชาชนจึงได้รับอาหาร เนื่องจากการทำอัศจรรย์มากยิ่งกว่าที่ให้ไปเสียอีก แน่นอน ที่เหลืออีก 12 กระจาดก็ตกเป็นของเขาด้วยถ้าเขาจะเรียกร้องเอา
วิธีการของพระเยซูเจ้าและพระนางมารีย์ เกี่ยวกับวิญญาณที่มอบถวายกรรมสิทธิ์โดยไม่ขยักหรือเกี่ยงงอนก็เป็นเช่นนี้เสมอ ของถวายเช่นนี้เป็นคุณช่วยปลดเปลื้องความขาดแคลนของคนจำนวนมหาศาล ยิ่งกว่านั้นความจำเป็นและความตั้งใจของตนซึ่งดูเหมือนจะต้องได้รับความเสียหาย (เพราะการเสียสละนี้) ก็กลับได้รับผลจนเต็มลัน แถมยังมีพระมหากรุณาแผ่กระจายอยู่ตลอดทั่วไปด้วย
ดังนี้จงเร่งมาเฝ้าพระนางมารีย์ พร้อมกับขนมปังและปลาอันเล็กน้อยของเรา ใส่หัตถ์พระนาง เพื่อพระเยซูเจ้ากับพระนางจะได้ทวีขนมปังกับปลานั้น จนสามารถเลี้ยงวิญญาณของคนเป็นล้าน ๆ ที่กำลังหิวโหยอยู่ในที่เปลี่ยวแห้งแล้งแห่งโลกนี้
หน้า 51 บทที่ 7 พลมารีย์ กับ พระตรีเอกภาพ
แบบแผนการสวดภาวนาและประกอบกิจวัตรของเรา ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนหลังจากการถวายตัวนี้ วิถีชีวิตก็คงดำเนินไปเช่นเดิม เราคงสวดภาวนาต่อไปตามความตั้งใจต่าง ๆ ตามเคย และเพื่อจุดประสงค์พิเศษทั้งหมด ทั้งนี้โดยถวายให้แล้วแต่น้ำพระทัยของพระนางมารีย์ในอนาคตด้วย
**พระนางมารีย์ แสดงพระบุตรแก่ชาวเรา และกล่าวเชื้อเชิญเราเหมือนกับที่พูดกับคนใช้แต่ก่อนที่เมืองกานาว่า ‘เขาบอกให้ท่านทำอะไร ก็จงทำเถิด’ (ยน 2:5) หากเราทำตามพระนางสั่งคือ เทน้ำไม่มีรสชาติ อันได้แก่ กิจการเบ็ดเตล็ดร้อยแปดประจำวันของเรา ลงสู่ภาชนะแห่งความรักและเสียสละ อัศจรรย์ที่กานาก็จะบังเกิดขึ้นใหม่ น้ำจะเปลี่ยนเป็นเหล้าองุ่นโอชะ กล่าวคือเป็นพระหรรษทานแสนประเสริฐสำหรับเราเองและผู้อื่น (Cousin)
บทที่ 7
พลมารีย์ กับ พระตรีเอกภาพ
เป็นเรื่องเต็มไปด้วยความหมาย ที่คณะพลมารีย์เริ่มกิจการร่วมกันด้วยการสวดบทร้องหาพระจิตเจ้า แล้วต่อไปจึงกราบทูลพระนางมารีย์และพระบุตรด้วยการสวดลูกประคำ
และเมื่อออกแบบแว็กซิลลุมในไม่กี่ปีต่อมา ก็เกิดมีความหมายเช่นเดียวกันอีกโดยไม่ได้นึกฝันเลย กล่าวคือ พระจิตเจ้าได้เป็นลักษณะที่เด่นในเครื่องหมายนั้นอีก นี่ก็แปลก เพราะแว็กชิลลุมนั้นเป็นผลิตผลของความคิดทางศิลปี ไม่ใช่ทางเทวศาสตร์เลย เครื่องหมายที่ไม่ใช่ทางศาสนาคือธงชัยของกองทัพโรมันนั้น นำมาดัดแปลงเข้ากับจุดประสงค์ของกองทัพ
หน้า 52 บทที่ 7 พลมารีย์ กับ พระตรีเอกภาพ
ของพระนางมารีย์ นกพิราบเข้ามาแทนที่นกอินทรี พระรูปแม่พระแทนรูปจักรพรรดิหรือกงสุล (โรมัน) ถึงกระนั้น ผลสุดท้ายภาพนั้นก็หมายถึงพระจิตเจ้าผู้ทรงใช้พระนางมรีย์เป็นประดุจท่อธาร สำหรับประทานอิทธิพลอันทรงชีวิตแก่โลกและทรงเป็นผู้ครอบครองคณะพลมารีย์
ต่อมาภายหลัง เมื่อวาดภาพแตสเชรา ก็เกิดความหมายเช่นเดียวกันอีกคือ พระจิตเจ้าทรงปกป้องคณะพลมารีย์ และเดชะพระฤทธานุภาพของพระองค์ สงครามอันยืดเยื้อก็ได้สำเร็จลง พระนางพรหมจารีบดขยี้หัวงูปีศาจกองพลของพระนางก้าวหน้าเข้าต่อกรกับปรปักษ์ เพื่อชัยชนะดังที่พยากรณ์ไว้แล้ว
ยังมีพฤติการณ์เพิ่มเติมอันน่าสนใจอีก คือสีของคณะพลมารีย์เป็นสีแดง ไม่ใช่สีฟ้าอย่างที่ใคร ๆ นึก การกำหนดสีเช่นนี้เกี่ยวกับการตกลงในรายละเอียดปลีกย่อย คือเกี่ยวกับสีของรัศมีรอบพระเศียรของแม่พระในแว็กชิลลุมและรูปแตสเซรา ต่างรู้สึกว่าสัญลักษณ์ของคณะพลมารีย์ควรเป็นภาพแสดงให้เห็นว่าแม่พระเต็มเปี่ยมด้วยพระจิตเจ้า คือควรให้รัศมีรอบพระเศียรเป็นสีเดียวกับสีพระจิตเจ้า พาให้คิดต่อไปว่าสีประจำคณะพลมารีย์ควรเป็นสีแดง ภาพแตสเซราจึงตกเป็นสีเดียวกัน คือภาพพระนางมารีย์เป็นรูปลำไฟอย่างในพระคัมภีร์ ลุกโชนลุกร้อนด้วยพระจิตเจ้า
ดังนั้น เมื่อแต่งคำสัญญาของพลมารีย์ แม้จะก่อให้เกิดประหลาดใจบ้างในชั้นแรก แต่ก็ต้องดำเนินตามหลัก คือคำสัญญานั้นควรเป็นคำกราบทูลพระจิตเจ้า ไม่ใช่ทูลพระราชินีของคณะพลมารีย์ ข้อนี้เน้นให้เห็นอีกว่าองค์ผู้ให้ชีวิตแก่โลกตลอดมาคือ พระจิตเจ้าเสมอ แม้แต่พระคุณเล็กน้อยที่สุดที่แต่ละคนได้รับและผู้แทนของพระองค์คือพระนางมารีย์เสมอ
ด้วยอภินิหารของพระจิตที่แสดงในพระนางมารีย์ พระบุตรนิรันดร
หน้า 53 บทที่ 7 พลมารีย์ กับ พระตรีเอกภาพ
จึงทรงกำเนิดเป็นมนุษย์ ด้วยเหตุนี้มนุษยชาติจึงร่วมชิดสนิทกับพระตรีเอกภาพและพระนางมารีย์เองจึงอยู่ในอันดับสัมพันธ์พิเศษ กับแต่ละพระบุคคลไม่มีใครเสมอเหมือน อันความสัมพันธ์สามด้านของพระนางนี้ อย่างน้อยชาวเราต้องเข้าใจได้บ้าง เนื่องด้วยการเข้าใจวิธีการของพระเป็นเจ้านั้น จัดเป็นพระหรรษทานสุดแสนประเสริฐ แต่ไม่ใช่พระหรรษทานอันสุดเอื้อมของชาวเรานักบุญต่าง ๆ ยืนยันว่า จำเป็นต้องแยกแยะพระบุคคลทั้งสามเช่นนี้ และจำเป็นต้องเอาใจใส่แต่ละพระบุคคลให้เหมาะสม บทข้าพเจ้าเชื่อของนักบุญอาธานาส มีทำนองเป็นบัญญัติ ซ้ำยังคาดโทษผู้ไม่เชื่อไว้อย่างแปลกประหลาดด้วย อันความจำเป็นนี้เกิดจากความจริงที่ว่า จุดประสงค์บั้นปลายของการสร้างโลกและการเสด็จลงมาบังเกิดเป็นมนุษย์ ก็คือเพื่อพระสิริรุ่งโรจน์ของพระตรีเอกภาพนั่นเอง
แต่พระธรรมล้ำลึกอันเหลือที่จะเข้าใจได้ถึงเพียงนั้น ใครหรือจะสามารถเข้าใจได้แม้แต่สลัว ๆ แน่นอน จำเป็นต้องอาศัยแสงสว่างจากพระเท่านั้น แต่พระคุณนี้จะได้รับเมื่อวิงวอนขอพระนางอย่างไว้วางใจ เหตุว่าพระนางได้รับการไขแสดงอย่างแจ้งชัดถึงเรื่องพระตรีเอกภาพนี้ เป็นปฐมฤกษ์ในโลกคือโอกาสที่แม่พระรับสารจากอัครทูตสวรรค์ พระตรีเอกภาพได้ประกาศพระองค์แก่พระนางมารีย์ ผ่านทางอัครทูตสวรรค์ว่า “พระจิตเจ้าจะเสด็จลงมาเหนือท่านและพระอานุภาพของพระผู้สูงสุดจะแผ่เงาปกคลุมท่าน เพราะฉะนั้นบุตรที่เกิดมา จะเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ และจะรับนามว่าบุตรของพระเจ้า” (ลก 1:35)
ในการไขแสดงนี้ ชี้ชัดว่าพระเป็นเจ้าทรงเป็นสามพระบุคคล ตอนแรกกล่าวถึงพระจิตเจ้า ผู้เป็นผู้บันดาลให้พระบุตรทรงรับเอาเนื้อหนัง ตอนที่สองกล่าวถึงพระเจ้าสูงสุดพระบิดาของพระองค์ที่จะบังเกิดเป็นมนุษย์
หน้า 54 บทที่ 7 พลมารีย์ กับ พระตรีเอกภาพ
ตอนที่สามกล่าวถึงพระบุตร ผู้ “จะเป็นผู้ยิ่งใหญ่และพระเจ้าผู้สูงสุดจะทรงเรียกเขาเป็นบุตรของพระองค์” (ลก 1:32)
การรำพึงถึงการที่พระนางมารีย์มีความสัมพันธ์กับพระบุคคลหนึ่งก็อย่างหนึ่งแตกต่างกันนั้น ช่วยให้เราเข้าใจง่ายขึ้นว่า ทั้งสามพระบุคคลนี้แตกต่างกันอย่างไร
เกี่ยวกับพระบุคคลที่สอง พระนางมารีย์มีความสัมพันธ์ชนิดที่เราเข้าใจง่ายที่สุด กล่าวคือเป็นความสัมพันธ์ในฐานะที่พระนางเป็นแม่ แต่ความเป็นแม่ของพระนางกอบด้วยความใกล้ชิดสนิทถาวรและเหนือความสัมพันธ์ใด ๆ ตามประสามนุษย์
ในกรณีของพระเยชูเจ้ากับพระนางมารีย์ วิญญาณต่อวิญญาณเป็นหนึ่งเดียวกันเป็นอันดับหนึ่ง ส่วนฝ่ายร่างกายนั้นเป็นอันดับรอง จนกระทั่งแม้เมื่อร่างกายแยกกันเมื่อพระเยชูทรงบังเกิด เอกภาพของทั้งสองท่านไม่ได้สิ้นสุดลง แต่ยังคงดำเนินต่อไปอย่างแน่นแฟ้น สนิทสนมสุดที่จะเข้าใจได้เช่นที่พระศาสนจักรประกาศว่า พระนางมารีย์ ไม่ใช่เป็นเพียงแต่ “ผู้ช่วย” พระบุคคลที่สอง – กล่าวคือเป็นผู้ร่วมในการกอบกู้โลก คนกลางจ่ายพระหรรษทานเท่านั้น – แต่ที่จริงพระนางเป็น “ผู้เหมือนพระองค์” จริงๆ ด้วย
เกี่ยวกับพระจิตเจ้าพระนางมารีย์ได้รับนามตามปกติว่าเป็นพระวิหารหรือที่ประทับของพระองค์ แต่คำเหล่านี้ยังแสดงถึงความเป็นจริงไม่เพียงพอ ที่จริงนั้นพระจิตโปรดให้พระนางเป็นหนึ่งเดียวกับพระองค์จนพระนางได้รับศักดิ์รองจากพระองค์เอง พระนางใกล้ชิดที่สุดกับพระจิตเจ้าเป็นหนึ่งเดียวกับพระองค์ ได้รับชีวิตจากพระองค์ จนกระทั่งพระจิตเจ้านั่นแหละคือวิญญาณของพระนางเอง
หน้า 55 บทที่ 7 พลมารีย์ กับ พระตรีเอกภาพ
พระนางไม่ใช่เป็นเพียงแต่อุปกรณ์หรือท่อธารของกิจการของพระองค์เท่านั้น พระนางยังเป็นผู้ร่วมมืออันชาญฉลาดและรอบคอบของพระองค์จนกระทั่งเมื่อใดที่พระนางทำ เมื่อนั้นแหละพระจิตเจ้าก็กระทำด้วยเมื่อใครไม่ยอมรับความช่วยเหลือของพระนาง ก็จะไม่ได้รับจากพระจิตเจ้าด้วย
พระจิตเจ้าคือองค์ความรัก ความงดงาม เดซานุภาพ ญาณสุขุม ความบริสุทธิ์ และคุณลักษณะอื่น ๆ ซึ่งเป็นของพระเป็นเจ้า ถ้าพระจิตเจ้าเสด็จลงมาอย่างเต็มเปี่ยมเมื่อไหร่ ความขาดแคลนทุกชนิดจะหมดไป และปัญหาอันยุ่งยากที่สุดก็สามารถแก้ไขให้สำเร็จไปตามน้ำพระทัยของพระได้
บุคคลที่พึ่งอาศัยพระจิตเจ้าเป็นประจำ (เพลง สดด 77) จะได้รับความช่วยเหลือเสมอจากพระสรรพานุภาพของพระเป็นเจ้า เงื่อนไขอันหนึ่งที่โน้มนำพระจิตเจ้ามาสู่เรา คือให้เราเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของพระนางกับพระจิตเจ้า ส่วนเงื่อนไขสำคัญอีกอันหนึ่งคือเราต้องเข้าใจให้ซึ้งว่าพระจิตเจ้านั้นเป็นพระบุคคลอันแท้จริง และต่างกับพระบุคคลอื่น มีหน้าที่ส่วนของพระองค์ต่อชาวเรา แต่ความเข้าใจพระองค์เช่นนั้นจะไม่ยั่งยืน หากไม่คอยปักใจหันหาพระองค์ให้บ่อยครั้งพอสมควร อาศัยที่คอยเหลียวหาพระองค์ ความศรัทธาภักดีทุกอย่างต่อพระนางพรหมจารี ย่อมเปิดทางกว้างไปหาพระจิตเจ้าทั้งสิ้น
โดยเฉพาะพลมารีย์ย่อมสามารถใช้สายประคำเพื่อประโยชน์เช่นนี้บทสวดลูกประคำ ไม่ใช่เป็นเพียงความศรัทธาภักดีเบื้องต้นต่อพระจิต เนื่องจากไม่เป็นเพียงบทภาวนาสำคัญต่อแม่พระเท่านั้น แต่เนื้อหาของบทภาวนาเองคือข้อรำพึง 20 ข้อนั้น ก็ยังเฉลิมพระเกียรติพระกรณียกิจสำคัญ ซึ่งพระจิตเจ้ามีส่วนร่วมในการไถ่บาปนั้นด้วย
หน้า 56 บทที่ 7 พลมารีย์ กับ พระตรีเอกภาพ
ความสัมพันธ์ของพระนางมารีย์ต่อพระบิดานิรันดร
ตามปกติถือว่าอยู่ในฐานะพระธิดา ตำแหน่งนี้มุ่งหมายชี้ให้เห็น
(ก) ฐานะของพระนางเป็น “ยอดของมวลสิ่งสร้าง เป็นลูกโปรดปรานที่สุดของพระเป็นเจ้า เป็นผู้ใกล้ชิดและที่รักยิ่งของพระองค์” (นิวแมน)
(ข) ความครบครันแห่งความเป็นหนึ่งเดียวของพระนางกับพระเยชูคริสตเจ้า ทำให้พระนางเกิดมีความสัมพันธ์ใหม่กับพระบิดา โดยเหตุนี้พระนางจึงมีสมญาเป็นพระธิดาฝ่ายจิตของพระบิดา
(ค) ความเด่นชัดนี้ยิ่งกว่ามนุษย์ใดในความละม้ายคล้ายพระบิดาพระนางจึงเหมาะที่จะประทานแก่โลก ซึ่งดวงประทีปตลอดนิรันดร (พระเยซูเจ้า) อันเนื่องมาจากพระบิดา
“ในฐานะเป็นพระมารดาของพระเป็นเจ้า พระนางได้บังเกิดความเกี่ยวข้องเป็นพิเศษกับพระบิดาเจ้า” (Lepicier)
แต่ตำแหน่ง “พระธิดา” (ที่กล่าวแล้ว) อาจยังไม่พอที่จะโน้มนำเราให้เข้าใจ ถึงอิทธิพลเนื่องจากสายสัมพันธ์ซึ่งพระนางมีต่อพระบิดา ที่ดำเนินไประหว่างชาวเราผู้เป็นลูกของพระบิดาและลูกของพระนาง “พระองค์ได้ทรงแผ่ความไพบูลย์ของพระองค์แก่พระนาง เท่าที่สิ่งสร้างจะพึงรับได้ เพื่อจะได้สามารถประทานฤทธิ์แก่พระนางให้บังเกิดพระบุตร และอวัยวะทั้งมวลแห่งพระกายทิพย์ (Mystical Body)” (นักบุญหลุยส์มารีย์ กรีญอง เดอ มงฟอร์ต)
ความสัมพันธ์ของพระนางต่อพระบิดาเป็นส่วนประกอบพื้นฐานและสถิตสถาพรในการที่ทุกวิญญาณจะได้รับชีวิต พระประสงค์ของพระเป็นเจ้ามีอยู่ว่า สิ่งใดที่พระองค์ประทานแก่มนุษย์จะต้องเกิดผลตอบสนองเป็นความซาบซึ้ง และการร่วมมือจากฝ่ายเราด้วย
หน้า 57 บทที่ 7 พลมารีย์ กับ พระตรีเอกภาพ
เพราะฉะนั้น ความเป็นหนึ่งเดียวกันอันประทานชีวิต ระหว่างพระบิดากับพระนางมารีย์นั้น ต้องเป็นเรื่องที่รำพึงนึกถึงบ่อย ๆ และขอแนะนำให้พลมารีย์ระลึกถึงความจริงข้อนี้ขณะสวดบทข้าแต่พระบิดา อันเป็นบทที่สวดบ่อย ๆ บทนี้พระเยชูคริสตเจ้าของเราทรงแต่งขึ้น ฉะนั้นจึงบรรจุคำวอนขอสิ่งที่ถูกต้องด้วยวิธีดีเลิศ ถ้าตั้งใจสวดด้วยความเลื่อมใสตามจิตตารมณ์ของพระศาสนจักรคาทอลิก จำต้องบรรลุถึงจุดประสงค์อย่างดีเต็มที่ คือถวายพระเกียรติแด่พระบิดาและยอมรับรู้ว่าพระคุณที่พระองค์โปรดประทานแก่เราอย่างอุดมสมบูรณ์นั้นล้วนผ่านทางพระนางมารีย์ทั้งนั้น
“เพื่อพิสูจน์ให้เห็นความจำเป็นที่เราต้องขึ้นแก่พระนางมารีย์ ในที่นี้ขอให้เราหวนระลึกถึงบรรดาตัวอย่าง ที่พระบิดา พระบุตร และพระจิต ประทานไว้เกี่ยวกับการที่ต้องขึ้นแก่พระนางนี้ พระบิดาไม่ได้ประทาน และจะไม่ประทานพระบุตรเว้นแต่โดยทางพระนาง พระองค์ไม่ได้รับใครเป็นบุตร เว้นแต่โดยทางพระนาง และไม่ได้โปรดประทานพระหรรษทานเว้นแต่ทางพระนาง
พระจิตเจ้า ไม่ได้โปรดให้พระเยคริสตเจ้าปฏิสนธิเว้นแต่โดยทางพระนางทั้งไม่ได้ให้กำเนิดแก่อวัยวะแห่งพระรหัสกายของพระคริสตเจ้า เว้นแต่โดยทางพระนางและโดยเฉพาะทางพระนางเท่านั้น ที่พระจิตโปรดแจกจ่ายพระคุณและของประทานต่างๆ
หลังจากเห็นตัวอย่างมากมายของพระตรีเอกภาพแล้ว หากไม่ตาบอดอย่างอุกฤษฏ์แล้วเราจะตีตนออกห่างจากพระนาง ไม่ถวายตัวแด่พระนาง และขึ้นกับพระนางได้ละหรือ” (นักบุญหลุยส์มารีย์ กรีญอง เดอ มงฟอร์ต : Treatise on True Devotion,Par.140)
หน้า 58 บทที่ 8 พลมารีย์ กับ ศีลมหาสนิท
บทที่ 8
พลมารีย์ กับ ศีลมหาสนิท
1. พิธีบูชาขอบพระคุณ
เคยเน้นมาแล้วว่า จุดประสงค์แรกของคณะพลมารีย์ คือ การทำให้สมาชิกเป็นคนศักดิ์สิทธิ์ ยิ่งกว่านั้นความศักดิ์สิทธิ์นี้ยังเป็นปัจจัยแห่งการปฏิบัติงาน เหตุว่าพลมารีย์มีพระหรรษทานในตนเองเพียงไร ก็สามารถเป็นท่อธารแจกจ่ายพระหรรษทานไปยังผู้อื่นได้เพียงนั้น เนื่องจากนี้ พลมารีย์จึงเริ่มสมาชิกภาพของตนโดยร้องขอให้ได้รับพระจิตเจ้าอย่างเต็มเปี่ยม ผ่านทางพระนางมารีย์ และให้ได้รับใช้เสมือนเป็นอุปกรณ์แห่งพระฤทธานุภาพของพระองค์ เพื่อนิมิตแผ่นดินเสียใหม่
พระหรรษทานทุกชนิดที่เราวอนขอนี้ ไหลมาจากบูชาของพระเยซูคริสตเจ้าบนเนินกัลวารีโอ โดยอาศัยมิสชา การถวายบูชาบนกางเขนคงดำเนินเรื่อยไปท่ามกลางมนุษย์ มิสชาไม่ใช่เป็นเพียงพิธีสัญลักษณ์แทนเหตุการณ์ในอดีตเท่านั้น แต่ยังนำเอาพระกรณียกิจสูงสุดที่พระคริสตเจ้าประกอบเสร็จสิ้นบนเนินกัลวารีโอ และได้ไถ่กู้มนุษย์โลกนั้น ให้มาบังเกิดขึ้นอย่างแท้จริงในปัจจุบันท่ามกลางชาวเราด้วย
บูชาบนกางเขนไม่ได้ประเสริฐกว่ามิสซา เพราะทั้งสองอย่างนี้เป็นศีลบูชาหนึ่งเดียวกันนั่นเอง ส่วนเวลาและระยะห่างกันนั้น พระสรรพานุภาพของพระเป็นเจ้าได้โปรดให้แตกต่างกัน พระสงฆ์และเครื่องบูชายังคงเป็นอันเดียวกัน ต่างกันก็เฉพาะที่สิ่งประกอบเท่านั้น มิสซาบรรจุของถวายทุกสิ่งของพระคริสตเจ้าแด่พระเป็นเจ้า และมีทุกสิ่งที่พระองค์ได้มาสำหรับมวลมนุษย์ และของถวายของบรรดาผู้ร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณนั้นเล่า ก็กลาย
หน้า 59 บทที่ 8 พลมารีย์ กับ ศีลมหาสนิท
เป็นหนึ่งเดียวกับของถวายยิ่งใหญ่ของพระคริสตเจ้าด้วย
ฉะนั้น ถ้าพลมารีย์ปรารถนาจะมีส่วนแบ่งอันอุดมในพระพรแห่งการไถ่บาปสำหรับตัวเองก็ดี ผู้อื่นก็ดี ก็ต้องหันเข้าพึ่งมิสชา แต่เนื่องด้วยโอกาสและพฤติการณ์แวดล้อมของแต่ละคนแตกต่างกันมาก คณะพลมารีย์จึงมิได้กำหนดข้อผูกพันใด ๆ แก่สมาชิกในเรื่องนี้ กระนั้นก็ดี ด้วยความห่วงใยสมาชิกและการงานของเขา คณะพลมารีย์ ขอเร่งเร้าและวิงวอนให้สมาชิกแต่ละท่านร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณบ่อย ๆ ทุกวันถ้าทำได้ และเมื่อร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณก็ให้รับศีลมหาสนิทด้วย
พลมารีย์จะกระทำกิจการต่าง ๆ ด้วยความเป็นหนึ่งเดียวกับพระนางมารีย์ โดยเฉพาะเมื่อร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณอันเป็นกิจสำคัญ
เราทราบดีแล้วว่า พิธีบูชาขอบพระคุณประกอบด้วยความสัมพันธ์สองส่วนคือภาควจนพิธีกรรมและภาคศีลมหาสนิท ข้อสำคัญที่ไม่ควรลืมก็คือทั้ง 2 ภาค มีความเกี่ยวข้องใกล้ชิดจนนับรวมเป็นคารวกิจอันเดียวกัน (SC ธรรมนูญพิธีกรรม 56) ด้วยเหตุนี้ สัตบุรุษควรร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณแต่ต้นจนจบ เพื่อจะได้รับการอบรมโดยฟังพระวาจาของพระเป็นเจ้า และชุบเลี้ยงตัวด้วยพระกายของพระคริสตเจ้า (SC ธรรมนูญพิธีกรรม 48, 51)
“พิธีบูชาขอบพระคุณไม่ใช่เป็นเพียงสัญลักษณ์ เตือนให้ระลึกถึงศีลบูชาบนมหากางเขนเท่านั้น ตรงกันข้าม การถวายบูชาบนกางเขน โดยที่เป็นสิ่งจริงทีเดียวที่ไม่ขึ้นต่อกาลเวลา มีอยู่ในขณะนั้นอย่างแท้จริง ระยะทางและเวลาเป็นอันยกเลิกพระเยซูองค์เดียวกับที่สิ้นพระชนมับนกางเขน สถิตอยู่ในมิสชา บรรดาสัตบุรุษที่ชุมนุมกันที่นั้น ร่วมเป็นหนึ่งเดียวกับน้ำพระทัยของพระองค์ในศีลบูชา และโดยทางพระเยซูผู้ประทับอยู่ต่อหน้า เขาก็พร้อมกันถวายแด่พระบิดาเจ้าสวรรค์ประดุจเครื่องบูชาที่มีชีวิต ดังนั้นมิสชาเป็นของจริงชัดเจนยอดเยี่ยม เป็นความจริงแน่ชัดแห่งกลโกธา และสายธาร
หน้า 60 บทที่ 8 พลมารีย์ กับ ศีลมหาสนิท
แห่งความทุกข์โศกเศร้า ความรักและภักดี วีรกรรมเละจิตพลีกรรม ก็ไหลหลั่งจากพระแท่นผ่านมาสู่หมู่สัตบุรุษที่กำลังภาวนาอยู่” (Karl Adam : The Spirit of Catholicism)
2. ภาควจนพิธีกรรม
ก่อนอื่น มิสชา (บูชาขอบพระคุณ) คือการเฉลิมฉลองความเชื่อเป็นความเชื่ออันเดียวกันกับที่เราได้รับจากการที่เราได้ยินได้ฟังพระวาจาของพระเป็นเจ้า เป็นความเชื่อที่ยังต้องการการหล่อเลี้ยงจากพระวาจาต่อๆ ไป ในบทที่กล่าวถึงกฎจารีตมิสชา (ข้อ 9) มีข้อความอยู่ตอนหนึ่งว่า “เมื่อมีการอ่านพระคัมภีร์ในโบสถ์ เป็นพระเป็นเจ้าพระองค์เองที่กำลังตรัสกับประชากรของพระองค์ และพระคริสตเจ้าซึ่งสถิตอยู่ในพระวาจาของพระองค์ก็เป็นผู้ประกาศพระวรสาร ดังนั้น การอ่านพระวาจาของพระเป็นเจ้า จึงเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดของพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ ทุกคนที่รวมอยู่ที่นั่นควรสดับฟังด้วยคารวะ” การเทศน์ก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เพราะเป็นส่วนจำเป็นของพิธีบูชาขอบพระคุณ ในวันอาทิตย์และวันฉลองที่บังคับ ส่วนในวันธรรมดา ถ้ามีการเทศน์ด้วยก็จะดี โดยอาศัยการเทศน์นี้แหละที่พระสงฆ์อธิบายความหมายของพระคัมภีร์ตามแนววินิจฉัยของพระศาสนจักร เพื่อเสริมสร้างความเชื่อของสัตบุรุษ
ขณะที่เข้าร่วมในวจนพิธีกรรม เรามีพระแม่เจ้าเป็นแบบฉบับ เพราะพระนางเป็น “พรหมจารีผู้นอบน้อมรับพระวาจาของพระเจ้าด้วยความเชื่อ ในกรณีของพระนาง ความเชื่อนั้นได้กลับกลายเป็นประตูและหนทางสู่ความเป็นแม่ของพระ” (MCul 17)
3. วจนพิธีกรรมศีลมหาสนิทร่วมเป็นหนึ่งเดียวกับแม่พระ
พระคริสตเจ้าของเราไม่ได้เริ่มกิจการไถ่บาปโดยขาดความยินยอม
หน้า 61 บทที่ 8 พลมารีย์ กับ ศีลมหาสนิท
ของพระนางมารีย์ พระองค์ทรงขออย่างสง่าและได้รับอย่างอิสระ เช่นเดียวกัน พระองค์ไม่ได้ทำให้กิจการไถ่บาปบนเนินกัลวารีโอสำเร็จไป โดยที่พระนางไม่ได้ประทับอยู่และยินยอม “เนื่องจากพระนางร่วมเป็นหนึ่งเดียวกับทุกข์ทรมานและน้ำพระทัยของพระคริสตเจ้า พระนางสมควรยิ่งที่จะกลายเป็นผู้ปฏิสังขรณ์โลกที่เสียไป และเป็นผู้แจกจ่ายพระหรรษทานทั้งสิ้นที่พระเยชูทรงได้มาด้วยพระโลหิตและการสิ้นพระชนม์ของพระองค์” (AD 9)
พระนางประทับยืนแทบเชิงกางเขนของพระเยชูเจ้าบนเนินเขากัลวารีโอ เป็นตัวแทนมนุษย์ทั้งมวล ณ ที่นั้นและในมิสซาทุกครั้ง พระผู้ไถ่ก็ถวายพระองค์ในสภาพเดียวกันโดยพระนางมารีย์ประทับอยู่ด้วย ในฐานะร่วมภารกิจกับพระคริสตเจ้าเช่นเคย – พระนางคือ สตรีผู้นั้น ที่พระเป็นเจ้าได้ตรัสไว้แต่แรกเริ่มแล้วว่า จะเป็นผู้บดขยี้หัวงู ฉะนั้นจะร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณให้ถูกต้อง ควรร่วมใจกับพระนางด้วยความรักเถิด
และพร้อมกับพระนางมารีย์บนเนินกัลวารีโอนั้น ก็มีผู้แทนของคณะพลมารีย์กองหนึ่งรวมอยู่ด้วย คือนายร้อยและทหารของเขา ผู้มีส่วนร่วมทุกข์ในการถวายเครื่องบูชาไถ่บาปมนุษย์นี้ แม้ที่จริงพวกเขาไม่รู้ว่าพวกเขากำลังตรึงพระคริสตเจ้าแห่งพระสิริรุ่งโรจน์ (1 คร 2:8) และน่ามหัศจรรย์ใหญ่ยิ่งแท้ ๆ พระหรรษทานก็ได้พรั่งพรูสู่พวกเขา
“เชิญใช้มโนภาพ คำนึงเห็นเองเถิด” นักบุญเบอร์นาร์ดกล่าวว่า “สายตาแห่งความเชื่อหยั่งลึกสักเพียงไร จงตั้งใจพินิจว่าความเชื่อมีตาแหลมคมเพียงไร บนเนินกัลวารีโอนั่นเอง ความเชื่อทำให้นายร้อยเห็นชีวิตในความตายและรู้จักวิญญาณสูงสุดในลมหายใจที่กำลังจะวายปราณ” เมื่อพินิจดูร่างกายองค์ยัญบูชาอันยับเยินที่สิ้นใจแล้ว พวกทหารนั้นก็ประกาศก้องว่า พระองค์เป็นพระบุตรของพระเจ้าแน่ทีเดียว (มธ 27:54)
หน้า 62 บทที่ 8 พลมารีย์ กับ ศีลมหาสนิท
การที่พวกทหารกักขพะโหดร้ายกลับใจนั้นเป็นผลอันรวดเร็วอย่างไม่ทันคาดหมาย จากคำภาวนาของพระนางมารีย์ ลูกแปลกประหลาดพวกนี้พระมารดาของมวลมนุษย์ทรงรับเข้าไว้เป็นปฐมฤกษ์บนเนินกัลวารีโอ แต่เพราะลูกเหล่านี้เองที่ทำให้พระนางรักชื่อ “พลมารีย์” ดังนั้น เป็นการแน่นอนทีเดียวว่า เมื่อพลมารีย์ของพระนางเอง ผู้ประสงค์จะร่วมความตั้งใจกับพระนางมีส่วนในการที่พระนางร่วมงานกับพระบุตร พากันร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณทุกวัน เมื่อนั้นพระนางจะรวบรวมเขารอบ ๆ พระนางและประทาน “ตาแหลมคม” แห่งความเชื่อแก่เขา พร้อมกับดวงหทัยเยมล้นของพระนางเอง วิธีนี้จะทำให้เขาได้รับผลกำไรอันล้นเหลือ ด้วยการมีส่วนอย่างใกล้ชิด ในการถวายศีลบูชาอันประเสริฐแห่งเนินกัลวารีโอสืบต่อไป
เมื่อพลมารีย์เห็นพระบุตรของพระเป็นเจ้าถูกยกขึ้น เขาก็จะร่วมใจเข้ากับพระองค์ เป็นแต่ยัญบูชาเดียว เหตุว่าพิธีบูชาขอบพระคุณเป็นการบูชาของเขา เช่นเดียวกับที่เป็นศีลบูชาของพระองค์ แล้วเขาก็ควรจะรับพระกายของพระองค์ด้วย เพราะการรับพระมังสะแห่งยัญบูชาพร้อมกับพระสงฆ์เป็นสิ่งจำเป็น หากจะรับผลแห่งศีลบูชาอย่างสมบูรณ์
พลมารีย์จะเข้าใจบทบาทสำคัญของพระนางมารีย์ ผู้เป็นเอวาคนใหม่ในอัตถ์ข้อลึกลับเหล่านั้น ตามบทบาทนี้แหละ “เมื่อพระบุตรสุดเสน่หาของพระนางกำลังไถ่บาปมนุษยชาติให้สำเร็จไปบนพระแท่นกางเขน พระนางประทับยืนข้างพระองค์ รับทนทมานและไถ่บาปพร้อมกับพระองค์” (พระสันตะปาปาปีโอ ที่ 11) เมื่อพลมารีย์ออกจากมิสซาแล้ว พระนางก็จะอยู่กับเขาบันดาลให้เขามีส่วนแบ่งและมีบทบาทในการบริหารพระหรรษทานเพื่อให้แต่ละคนและทุกคนที่พลมารีย์พบปะทำงานช่วยเหลือนั้น ได้รับแจกจ่ายขุมทรัพย์แห่งการไถ่บาปอย่างอุดมบริบูรณ์
หน้า 63 บทที่ 8 พลมารีย์ กับ ศีลมหาสนิท
“เมื่อพิธีบูชาขอบพระคุณดำเนินไปถึงภาครับศีล ช่วงที่มีพระกายของพระคริสตเจ้าสถิตบนพระแท่น คริสตชนคาทอลิกที่ร่วมในพิธีบูชาขอบพระคุณมักจะหวนรำลึกถึงความเป็นมารดาของพระนางมารีย์ เพราะทุกคนตระหนักดีว่าพระนางเป็นผู้ให้กำเนิดพระกายของพระคริสตเจ้านั่นเอง
แต่ไหนแต่ไรมา คริสตชนคาทอลิกมักจะเชื่อมโยงความศรัทธาต่อพระนางมารีย์ กับการนมัสการศีลมหาสนิทเข้าไว้ด้วยกัน นี่เป็นข้อเท็จจริงที่เห็นได้จากพิธีจารีตทั้งภาคตะวันตกและตะวันออก จากประเพณีที่ยึดถืออยู่ตามคณะนักบวช จากขบวนการสมัยใหม่เพื่อจิตวิญญาณ ซึ่งมีขบวนการสำหรับเยาวชนร่วมอยู่ด้วย และจากพิธีกรรมต่างๆ ที่มีอยู่ตามวิหารที่ถวายแด่พระแม่เจ้า พระแม่มารีย์ชักนำสัตบุรุษให้เข้าหาศีลมหาสนิท” (RMat 44)
4. ศีลมหาสนิท ขุมทรัพย์ของเรา
ศีลมหาสนิทเป็นศูนย์กลางและเป็นบ่อเกิดพระหรรษทาน ฉะนั้นศีลมหาสนิทจะต้องเป็นหลักสำคัญในแผนการพลมารีย์ กิจกรรมร้อนรนที่สุดจะกลายเป็นไร้ค่า หากขาดการสำนึกไปชั่วขณะว่า จุดประสงค์สำคัญของกิจกรรมนั้นคือ เพื่อตั้งพระราชัยแห่งศีลมหาสนิทในดวงใจของคนทั้งหลายเหตุว่าถ้าได้ปฏิบัติดังนี้แล้ว จุดประสงค์ที่พระเยซูเจ้าเสด็จมาในโลกจึงจะเป็นอันลุล่วงไปได้
จุดประสงค์นั้นคือ ประทานพระองค์แก้วิญญาณต่าง ๆ เพื่อพระองค์จะได้บันดาลให้วิญญาณเหล่านั้นเป็นหนึ่งเดียวกับพระองค์ อุปกรณ์สำคัญสำหรับประทานพระองค์แก่วิญญาณคือศีลมหาสนิท พระคริสตเจ้าตรัสว่า “เราเป็นปังทรงชีวิตที่ลงมาจากสวรรค์ ใครที่กินปังนี้ จะมีชีวิตอยู่ตลอดไปและปังที่เราจะให้นี้ คือเนื้อของเรา เพื่อให้โลกมีชีวิต” (ยน 6:51-52)
ศีลมหาสนิทคือสารประโยชน์อันดีเลิศเพราะพระเยซูเจ้าเองประทับ
หน้า 64 บทที่ 8 พลมารีย์ กับ ศีลมหาสนิท
อยู่ในศีลศักดิ์สิทธิ์นี้ เหมือนกับที่พระองค์เคยอยู่ที่บ้านนาชาเร็ธ หรือในห้องรับอาหารที่เยรูซาเล็ม ศีลมหาสนิทไม่ใช่เป็นเพียงสัญลักษณ์ของพระองค์หรือเป็นเครื่องมือแห่งอานุภาพของพระองค์เท่านั้น แต่เป็นองค์พระเยซูคริสตเจ้าเองทุกประการ แม้แต่พระนางเองซึ่งเคยปฏิสนธิและถนอมกล่อมเลี้ยงพระองค์มา “ได้พบพระบุตรจากอุทรของพระนางเอง ในแผ่นศีลอันศักดิ์สิทธิ์นั้นและได้รื้อฟื้นชีวิตอันผาสุก ณ เบธเลเฮมและนาชาเร็ธ โดยร่วมชีวิตเป็นหนึ่งเดียวกับพระองค์ในศีลมหาสนิทนั้น” (St. Peter Julian Eymard)
แม้หลายคนที่ถือว่าพระเยซูเจ้าดีกว่าบุคคลที่ได้รับการดลใจจากพระเพียงเล็กน้อย ก็อดที่จะนับถือและถอดแบบพระองค์ไม่ได้ ถ้าความคิดเห็นในพระองค์สูงกว่านั้น เขาคงจะได้ถวายคารวะต่อพระองค์มากกว่านั้นเป็นแน่ฉะนั้นผู้ที่ถือความเชื่อควรปฏิบัติเช่นไรเกี่ยวกับพระองค์เล่า คริสตชนคาทอลิกที่มีแต่เชื่อ แต่ไม่ได้ปฏิบัติตามจะมีข้อแก้ตัวอย่างไรได้ พระเยซูองค์นั้นที่คนอื่นพิศวงชมเชย เราคริสตชนคาทอลิกเป็นเจ้าของพระองค์ ผู้ประทับอยู่ตลอดกาลในศีลมหาสนิท คริสตชนคาทอลิกจะเข้าหาพระองค์ได้โดยเสรีและสามารถรับพระองค์ได้ทุกวันและควรอย่างยิ่งที่จะทำเช่นนั้น เพื่อได้พระองค์เป็นอาหารเลี้ยงวิญญาณ
เมื่อใคร่ครวญดังนี้ ให้รู้สึกเศร้าใจนี่กระไรที่มรดกแสนประเสริฐมาถูกทอดทิ้งเช่นนี้ บางคน ทั้งๆ ที่มีความเชื่อถึงศีลมหาสนิทยังปล่อยให้บาปและความไร้คิดลิดรอนตนเองจากศีลมหาสนิทที่จำเป็นยิ่งสำหรับเลี้ยงวิญญาณ ที่พระคริสตเจ้าของเราตั้งใจจะประทานให้ตั้งแต่แรกมาประทับในโลก แม้ขณะเป็นกุมารอ่อนที่เบธเลเฮม (เบธเลเฮม แปลว่า บ้านขนมปัง) พระองค์บรรทมบนฟางนั้น ที่ซึ่งพระองค์เป็นข้าวสาลีทิพย์ มุ่งหมายจะกลาย
หน้า 65 บทที่ 8 พลมารีย์ กับ ศีลมหาสนิท
เป็นปังสวรรค์บันดาลให้มนุษย์เป็นหนึ่งเดียวกับพระองค์และเป็นหนึ่งเดียวกับสมาชิกอื่น ๆ ในพระกายทิพย์ของพระองค์
พระนางมารีย์เป็นมารดาแห่งพระกายทิพย์นี้ ครั้งก่อนพระนางเคยดูแลเอาใจใส่พระกุมารเยชู บัดนี้พระนางก็ปรารถนาเป็นอย่างยิ่งที่จะเลี้ยงดูพระกายทิพย์ซึ่งพระนางเองเป็นมารดาไม่ยิ่งหย่อนไปกว่านั้น ดวงหทัยของพระนางปวดร้าวสักเพียงไร เมื่อเห็นพระกุมารเยซูในพระกายทิพย์กำลังอดอยากหิวโหย เนื่องจากมีน้อยคนนักได้รับการเลี้ยงดูด้วยปังสวรรค์ และที่ไม่ได้รับเสียเลยก็มีจำนวนมาก ขอเชิญบรรดาที่มุ่งหน้าร่วมมือกับพระนางในการให้การดูแลประสาแม่ต่อวิญญาณต่าง ๆ นั้น จงเข้าแบ่งส่วนในความทุกข์ประสาแม่ของพระนาง พยายามพร้อมกับพระนางที่จะระงับความโหยหิวแห่งพระกายทิพย์นั้น เราจำต้องใช้กิจการพลมารีย์ทุกวิถีทางเร่งเร้าให้ทุกคนรู้จักและรักศีลมหาสนิทและปัดเป่าบาป และความเฉื่อยชาซึ่งพามนุษย์ห่างจากศีลนี้ การเชิญชวนคนมารับศีลมหาสนิทแต่ละครั้ง เป็นผลกำไรสุดคณนาอย่างแท้จริง ศีลมหาสนิทย่อมบำรุงเลี้ยงพระกายทิพย์ทั้งครบของพระคริสตเจ้าโดยผ่านทางวิญญาณของแต่ละคน ทั้งบันตาลให้เจริญขึ้น ทั้งในพระปรีชาญาณและพระหรรษทาน เฉพาะพระพักตร์พระเจ้า และต่อหน้ามนุษย์ (ลก 2:52)
“ความสนิทสนมใกล้ชิดเป็นหนึ่งเดียวของพระมารดากับพระบุตรในพระภารกิจการไถ่กู้บรรลุถึงขั้นสูงสุดที่เนินเขากัลวารีโอ ที่ซึ่งพระคริสตเจ้า “ทรงถวายพระองค์โดยปราศจากตำหนิมลทินแด่พระเจ้า” (ฮบ 9:14) และยังเป็นที่ซึ่งพระนางมารีย์ทรงยืนอยู่ข้างไม้กางเขน (เทียบ ยน 19:25) “และพระนางรู้สึกเจ็บปวดรวดร้าวพร้อม ๆ กับพระบุตรแต่องค์เดียวของพระนาง ณ ที่นั้น พระนางรวมหัวอกแม่เข้ากับการบูชายัญของพระบุตร และยินยอมพร้อมใจที่จะสังเวยเครื่องบูชานี้ที่พระนางเองเป็นผู้ให้กำเนิดแด่พระบิดาเจ้า”
หน้า 66 บทที่ 9 พลมารีย์ กับ พระกายทิพย์ของพระคริสตเจ้า
“เพื่อให้การถวายบูชาบนกางเขนดำรงอยู่ตลอดไป ทุกศตวรรษ พระผู้ไถ่ของเราทรงตั้งศีลมหาสนิท (พิธีบูชาขอบพระคุณ) ไว้เป็นอนุสรณ์การสิ้นพระชนม์และการฟื้นคืนพระชนม์ชีพของพระองค์ และมอบอนุสรณ์นี้ไว้แก่พระศาสนจักร พระศาสนจักรจึงได้เชิญชวนสัตบุรุษให้มาร่วมเฉลิมฉลองการเลี้ยงปัสกาของพระคริสดเจ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันอาทิตย์โดยพร้อมเพรียงกัน จนกว่าพระองค์จะเสด็จกลับมาใหม่พระศาสนจักรก็ได้กระทำการนี้ โดยเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับบรรดานักบุญในสวรรค์และกับพระนางพรหมจารีเป็นพิเศษ เพราะพระศาสนจักรก็ถอดแบบความรักอันร้อนรนและความเชื่อที่ไม่เคยหวั่นไหวของพระแม่เจ้า” (Mcul 20)
บทที่ 9
พลมารีย์ กับ พระกายทิพย์ของพระคริสตเจ้า
1. บริการของพลมารีย์มีรากฐานจากหลักธรรมข้อนี้
ตั้งแต่ประชุมเริ่มแรกของสมาชิกพลมารีย์ ก็ได้เน้นถึงลักษณะเหนือธรรมชาติของบริการซึ่งพวกเขากำลังทำ การเข้าติดต่อกับบุคคลอื่น พึงเต็มเปี่ยมด้วยความสุภาพอ่อนโยน แต่ทั้งนี้มิใช่เพราะสาเหตุตามธรรมชาติเท่านั้นต้องถือว่าคนที่ตนติดต่อเสมือนเห็นเป็นองค์พระเยชูคริสตเจ้าเอง สิ่งใดที่สมาชิกปฏิบัติต่อผู้อื่น แม้ที่อ่อนแอต่ำต้อยที่สุด ต้องจำไว้ว่าตนได้ปฏิบัติต่อพระคริสตเจ้าเอง ตามที่พระองค์เองสอนว่า “เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า ท่านทำสิ่งใดต่อพี่น้องผู้ต่ำต้อยที่สุดของเราคนหนึ่ง ท่านก็ทำสิ่งนั้นต่อเรา” (มธ 25:40)
ตั้งแต่ประชุมครั้งแรกเป็นอย่างไร ต่อมาก็อย่างนั้นเสมอ คณะไม่เคยลดความพยายามที่จะให้สมาชิกพลมารีย์สำนึกว่า จิตตารมณ์นี้ต้องเป็นรากฐาน
หน้า 67 บทที่ 9 พลมารีย์ กับ พระกายทิพย์ของพระคริสตเจ้า
การปฏิบัติงานของเขา วินัยก็ดี ความกลมเกลียวภายในของคณะพลมารีย์ก็ดี ขึ้นอยู่กับหลักการเดียวกันนี้ เป็นต้น สมาชิกพลมารีย์ต้องยอมรับนับถือเจ้าหน้าที่และเพื่อนสมาชิกแต่ละคน เหมือนดังเคารพต่อพระคริสตเจ้าเองเพื่อเป็นหลักประกันว่าความจริงดังกล่าวมานี้ประทับแน่นแฟ้นในจิตใจสมาชิก จึงได้กำหนดข้อความนี้ไว้ในคำอบรมยืนยง ซึ่งอ่านเดือนละครั้งในการประชุมเปรสิเดียม นอกนั้น คำอบรมยืนยงเน้นหลักการอีกข้อหนึ่งของคณะพลมารีย์คืองานนั้นต้องกระทำด้วยจิตตารมณ์เป็นหนึ่งเดียวกับพระนางมารีย์ จนกระทั่งเป็นพระนางเองที่กระทำงานนั้นจริง ๆ ทางสมาชิกพลมารีย์
หลักเหล่านี้ซึ่งสร้างระบบพลมารีย์ขึ้น ก็เป็นผลสืบจากคำสอนเรื่องพระกายทิพย์ของพระคริสตเจ้า คำสอนนี้เป็นสาระสำคัญของบรรดาจดหมายของนักบุญเปาโล ก็ไม่น่าประหลาดใจอะไร เพราะเป็นการประกาศหลักคำสอนที่ทำให้ท่านนักบุญกลับใจ มีแสงจ้าจากสวรรค์ คนสำคัญในการเบียดเบียนพวกคริสตชนคาทอลิก ถูกแสงกระทบนัยนัตามืดบอด ฟุบลงกับพื้นดิน ครั้นแล้วเขาได้ยินพระสุรเสียงน่าเกรงขามว่า “เซาโล เซาโล ท่านเบียดเบียนเราทำไม ?” เซาโลจึงถามว่า “พระเจ้าข้า พระองค์คือใคร” พระองค์ตรัสว่า “เราคือเยชูซึ่งท่านกำลังเบียดเบียน” (กจ 9:4-5) จะประหลาดใจอะไรที่ถ้อยคำนี้ได้ลุกร้อนในจิตใจของท่านนักบุญ จนท่านต้องพูดและเขียนแสดงความจริงนี้ออกมาเสมอ
นักบุญเปาโลพรรณนาความเป็นหนึ่งเดียว อันมีอยู่ระหว่างพระคริสตเจ้ากับผู้รับศีลล้างบาปแล้ว ว่าเหมือนกับความเป็นหนึ่งเดียวกันระหว่างศีรษะกับอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกายมนุษย์ แต่ละส่วนมีจุดประสงค์และทำงานเฉพาะของตน บางส่วนสง่าผ่าเผย บางส่วนลดหลั่นลง แต่ทั้งหมดอาศัยกัน
หน้า 68 บทที่ 9 พลมารีย์ กับ พระกายทิพย์ของพระคริสตเจ้า
และกันและมีชีวิตเดียวกัน ร่วมกันทั้งหมด ส่วนหนึ่งเสียหายก็พลอยเกี่ยวพันถึงทั้งหมด ส่วนใดบังเกิดผลดีก็พลอยได้ดีด้วยกัน
พระศาสนจักรเป็นพระกายทิพย์ของพระคริสตเจ้า พร้อมทั้งความไพบูลย์ของพระองค์ (อฟ 1:22 – 23) พระคริสตเจ้าเป็นศีรษะ เป็นประมุขเป็นความบริบูรณ์อันจะขาดเสียมิได้ จากส่วนนั้นเอง อวัยวะอื่น ๆ ทั้งหมดแห่งพระกายทิพย์ได้พละกำลังและกระทั่งชีวิตของตน
ศีลล้างบาปทำให้เราสนิทชิดเชื้อกับพระคริสตเจ้าด้วยสายสัมพันธ์แน่นแฟ้นสุดคำนึงถึง ฉะนั้นพึงเข้าใจเถิดว่า พระกายทิพย์นั้น ไม่ได้หมายถึงพระกายลม ๆ แล้ง ๆ พระคัมภีร์ก็ใช้คำองอาจว่า “เราเป็นส่วนแห่งพระกายของพระองค์ ของเนื้อหนังและกระดูกของพระองค์” (อฟ 5:30)
ข้อผูกพันศักดิ์สิทธิ์เกี่ยวกับความรักและบริการ มีขึ้นระหว่างอวัยวะต่าง ๆ กับศีรษะ (พระคริสต์) และระหว่างอวัยวะ (สัตบุรุษ) ด้วยกัน (1 ยน 4:15-21 ) เปรียบกับร่างกายจะช่วยให้เห็นจริงในข้อผูกพันดังกล่าวมานี้อย่างชัดเจน และนี่เป็นเพียงครึ่งเดียวตามที่เป็นจริง
ข้อความจริงนี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นศูนย์กลางพระสัจธรรมแห่งพระศาสนาคริสตชน ก็เพราะที่จริง ชีวิตเหนือธรรมชาติทั้งมวล พระหรรษทานทั้งสิ้นที่มนุษย์ได้รับ ล้วนเป็นผลของการไถ่บาปทั้งสิ้น การไถ่บาปเล่าก็ตั้งอยู่บนหลักความจริงที่ว่า พระคริสตเจ้าและพระศาสนจักรรวมกันเข้าเป็นแต่พระกายทิพย์บุคคลเดียว จนกระทั่งการที่พระคริสตเจ้าผู้เป็นศีรษะ ทรงทำการใช้โทษบาปก็ดี ย่อมตกเป็นของอวัยวะอื่น ๆ ของพระองค์ คือของสัตบุรุษทั้งมวล
นี่คือเหตุผลว่า ทำไมพระคริสตเจ้าของเราจึงสามารถรับทนทรมานแทนมนุษย์ และสามารถลบล้างบาปซึ่งพระองค์เองไม่ได้กระทำ “พระคริสตเจ้า
หน้า 69 บทที่ 9 พลมารีย์ กับ พระกายทิพย์ของพระคริสตเจ้า
ทรงเป็นศีรษะของพระศาสนจักร พระองค์ทรงเป็นผู้ช่วยพระศาสนจักรซึ่งเป็นพระกายให้รอดพ้น” (อฟ 5:23) กิจกรรมของพระกายทิพย์คือกิจกรรมของพระคริสตเจ้าเอง สัตบุรุษเข้าร่วมเป็นกายเดียวกับพระองค์และเจริญชีวิตทนทรมาน ตายในพระองค์ และกลับคืนสู่พระชนม์ชีพของพระองค์ด้วย
ศีลล้างบาปทำให้ผู้รับศักดิ์สิทธิ์ไป ก็เพราะได้สถาปนาความเกี่ยวพันอันทรงชีวิตระหว่างพระคริสตเจ้ากับวิญญาณ บันดาลให้ความศักดิ์สิทธิ์จากศีรษะไหลลงสู่อวัยวะต่างๆ
ศีลศักดิ์สิทธิ์อื่น ๆ เป็นต้นศีลมหาสนิท มีไว้เพื่อกระชับความเป็นหนึ่งเดียว ระหว่างพระกายทิพย์กับศีรษะของตน ยิ่งกว่านั้น ความเป็นหนึ่งเดียวนี้ยังแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น อาศัยการแสดงความเชื่อและความรัก อาศัยสัมพันธ์ทางการปกครองของพระศาสนจักรและการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในพระศาสนจักร อาศัยการยอมรับทนลำบากและรับทรมานด้วยดี และโดยทั่วไปอาศัยสรรพกิจแห่งชีวิตคริสตชนคาทอลิก กิจการทั้งหมดนี้จะบังเกิดผลเป็นพิเศษ เฉพาะอย่างยิ่งเมื่อวิญญาณเต็มใจทำงานร่วมกับพระนางมารีย์
พระนางเป็นสายสัมพันธ์เด่นชัดแห่งความเป็นหนึ่งเดียว เนื่องจากเป็นพระมารดาของศีรษะและอวัยวะอื่นๆ “เราเป็นส่วนแห่งพระกายของพระองค์ ของเนื้อหนัง และกระดูกของพระองค์” (อฟ 5:30) และเพราะเหตุนี้ชาวเราจึงเป็นลูกของพระนางมารีย์ พระมารดาของพระองค์โดยครบถ้วนแท้จริง
จุดประสงค์แต่อย่างเดียวที่มีพระนางมารีย์คือ จะได้ปฏิสนธิและบังเกิดพระคริสตเจ้าทั้งครบ ได้แก่พระกายทิพย์พร้อมด้วยอวัยวะต่างๆ อย่างสมบูรณ์ เชื่อมต่อกันดี (อฟ 4:15-16) และเป็นอันเดียวกับศีรษะของตนคือพระเยชูคริสตเจ้า
หน้า 70 บทที่ 9 พลมารีย์ กับ พระกายทิพย์ของพระคริสตเจ้า
พระนางมารีย์กระทำงานนี้สำเร็จด้วยความร่วมมือและเดชะอานุภาพของพระจิตเจ้า ผู้ทรงเป็นชีวิตและวิญญาณแห่งพระกายทิพย์นั้นอาศัยการทะนุถนอมในอ้อมอกของพระนาง วิญญาณจะเติบโตในพระคริสตเจ้าและบรรลุความเป็นผู้ใหญ่เต็มที่ (อฟ 4:13-15)
“ในแผนการของพระเกี่ยวกับการไถ่บาป พระนางมารีย์มีส่วนสำคัญผิดกับคนอื่น ๆ ในระหว่างอวัยวะแห่งพระกายทิพย์ พระนางมีตำแหน่งพิเศษเฉพาะของตนคือ ตำแหน่งแรกรองจากศีรษะ ในพระอวัยวะทั้งครบของพระคริสตเจ้า พระนางมารีย์ทำหน้าที่ผูกพันกับชีวิตทั้งร่างอย่างใกล้ชิด พระนางคือหัวใจของร่างนั้น… หรือพูดให้ง่ายขึ้น หน้าที่ของพระนางต่อพระกายทิพย์ (ตามคำนักบุญเบอร์นาร์ด) เป็นเสมือนคอเชื่อมศีรษะกับส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย คำเปรียบเทียบนี้เน้นให้เห็นเป็นอย่างดีว่า พระนางเป็นคนกลางทั่วไประหว่างพระเศียรกับอวัยวะอื่น ๆ ของพระองค์
อย่างไรก็ดี เมื่อคำนึงถึงอิทธิพลสำคัญที่สุดที่พระนางอำนวยทั้งหมด และคิดถึงฤทธิ์ของพระนางเป็นที่สอง รองจากพระเป็นเจ้าในการงานเกี่ยวกับชีวิตเหนือธรรมชาติแล้ว เปรียบพระนางกับลำคอดูไม่เหมาะสมเท่ากับเปรียบเทียบกับหัวใจ เหตุว่าลำคอเป็นแค่ข้อต่อเท่านั้น ไม่ได้มีบทบาทในการเริ่มต้นหรืออิทธิพลเหนือชีวิต ตรงกันข้ามหัวใจเป็นที่รวมของชีวิตรับความมั่งคั่งก่อน แล้วจึงแจกจ่ายความมั่งคั่งนั้นไปทั่วร่างกาย” (Mura : Le Corps Mystique de Christ)
2. พระนางมารีย์ กับ พระกายทิพย์
หน้าที่ต่าง ๆ ที่พระนางมารีย์ได้ปฏิบัติ เช่น การเลี้ยงดู ทะนุถนอมและรักพระวรกายของพระบุตร ยังเป็นหน้าที่ของพระนางจะปฏิบัติต่อทุก ๆอวัยวะในพระกายทิพย์ ทั้งในพี่น้องต่ำต้อยที่สุดเช่นเดียวกับผู้มีเกียรติสูงส่ง
ดังนั้น เมื่อ “อวัยวะแต่ละส่วนจะเอาใจใส่ซึ่งกันและกัน” (1 คร 12:25) อวัยวะเหล่านั้นมิได้กระทำโดยมิได้ขึ้นต่อพระนางมารีย์ แม้จะไม่รู้ว่าพระนาง
หน้า 71 บทที่ 9 พลมารีย์ กับ พระกายทิพย์ของพระคริสตเจ้า
ประทับอยู่ เพราะลืมตัวหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ตาม อวัยวะเหล่านั้นเพียงแต่รวมความพยายามของตนเข้ากับพระนางเท่านั้น เป็นงานของพระนางอยู่แล้วและพระนางได้กระทำอย่างประณีตเรื่อยมาตั้งแต่วันรับสารจากอัครทูตสวรรค์จนถึงเดี๋ยวนี้
นอกจากนี้จึงไม่ใช่พลมารีย์ที่เป็นผู้นำพระนาง ช่วยเขาในการรับใช้อวัยวะอื่น ๆ แห่งพระกายทิพย์ แต่เป็นพระนางเองทรงเรียกพลมารีย์ช่วยพระนาง โดยที่เป็นงานพิเศษเฉพาะของพระนาง จึงไม่มีใครสามารถเข้าไปมีส่วนได้ นอกจากพระนางจะโปรดอนุญาต
ขอให้บรรดาผู้ที่พยายามรับใช้ผู้อื่น แต่ยังจำกัดหน้าที่และเอกสิทธิ์ของพระนางอยู่นั้น จงคำนึงถึงผลอันสมเหตุผลของคำสอนเกี่ยวกับพระกายทิพย์นี้เถิด ยิ่งกว่านั้นหลักคำสอนนี้ยังมีบทเรียนสำหรับบรรดาที่ประกาศตนยอมรับพระธรรมคัมภีร์ แต่เวลาเดียวกันก็ไม่รับรู้หรือสบประมาทพระมารดาของพระเจ้าด้วย ให้บุคคลเช่นนี้ระลึกว่า พระคริสตเจ้าได้ทรงรักมารดาของพระองค์และเชื่อฟังพระนาง (ลก 2:51) และจำไว้ว่าพระฉบับแบบของพระองค์ก็ผูกพันอวัยวะแห่งพระกายทิพย์นั้นให้ปฏิบัติด้วย “จงนับถือ…มารดาของเจ้า” (อพย 20:12) ตามพระบัญญัติของพระเป็นเจ้า เขาจำต้อนับถือพระนางแบบลูกที่รักแม่ มนุษย์ทุกสมัยต้องถวายพระพรแด่แม่ผู้นั้น (ลก 1:48)
ไม่มีใครรับใช้เพื่อนมนุษย์ได้ นอกจากร่วมงานกับพระนางมารีย์ฉันใด ก็ไม่มีใครปฏิบัติหน้าที่นี้ให้มีคุณค่าได้ นอกจากจะร่วมเจตนาของตนกับพระนางฉันนั้น จึงเป็นอันว่ายิ่งชิดสนิทเป็นหนึ่งเดียวกับพระนาง ก็ยิ่งปฏิบัติพระบัญญัติที่ให้รักพระและรับใช้เพื่อนมนุษย์ได้โดยสมบูรณ์ยิ่งขึ้น (1 ยน 4:19-21)
หน้า 72 บทที่ 9 พลมารีย์ กับ พระกายทิพย์ของพระคริสตเจ้า
หน้าที่เฉพาะของพลมารีย์ในพระกายทิพย์คือ แนะนำ ปลอบโยนและส่องสว่างแก่ผู้อื่น หน้าที่นี้ไม่อาจกระทำเหมาะสมครบครันได้ หากไม่สำนึกว่าฐานะของพระศาสนจักรคือ พระกายทิพย์ของพระคริสตเจ้า ตำแหน่งและเอกสิทธิ์ของพระศาสนจักร เอกภาพ อำนาจหน้าที่ ความเติบโต การรับทรมาน มหัศจรรย์ ชัยชนะ การแจกจ่ายพระหรรษทานและการยกบาปเหล่านี้จะเชื่อถือซาบซึ้งได้ เมื่อเข้าใจว่าพระคริสตเจ้าทรงเจริญในพระศาสนจักรและทรงประกอบภารกิจสืบเนื่องมาเสมอทางพระศาสนจักร พระศาสนจักรเองเป็นผู้ถอดแบบพระชนมชีพ และเหตุการณ์ทั้งหมดในพระชนม์ชีพของพระคริสตเจ้า
สมาชิกทุกคนในพระศาสนจักร ได้รับเรียกจากพระคริสตเจ้าผู้เป็นศีรษะให้เข้าส่วนในงานของพระกายทิพย์ “เราอ่านพบในธรรมนูญเรื่องพระศาสนจักร (ข้อ 7) “คราวที่พระคริสตเจ้าทรงมอบพระจิตเจ้าของพระองค์แก่บรรดาพี่น้องที่ได้ทรงเรียกจากประชาชาติทั้งหลาย พระองค์ได้ทรงสถาปนาพวกเขาให้มีส่วนร่วมในพระกายทิพย์ของพระองค์เอง ใน “พระกาย” นั้น ชีวิตของพระคริสตเจ้าถ่ายทอดไปถึงทุกคนที่มีความเชื่อ… อันว่าอวัยวะต่างๆ ในร่างกายมนุษย์ แม้มีมากอวัยวะด้วยกัน รวมเป็นร่างกายเดียวกันฉันใด บรรดาสัตบุรุษในพระคริสตเจ้าก็รวมเป็นร่างกายเดียวกันฉันนั้น (เทียบ 1 คร 12:12) ในการเสริมสร้าง “พระวรกาย” ของพระคริสตเจ้าก็เช่นเดียวกัน อวัยวะมีหลากหลายและหน้าที่กี่มีแตกต่างกันไป” พระจิตของพระเจ้าประสาทพระพรพิเศษนานาประการ เป็นการเชิญชวนผู้คนให้ประกอบศาสนบริการต่างๆ และบริการในรูปแบบอื่น ๆ . …” (CL 20)
ถ้าจะประเมินว่าบริการแบบหนควรเป็นอัตลักษณ์ของพลมารีย์ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของพระกายทิพย์ เราก็ต้องจับตาดูที่พระแม่เจ้า
หน้า 73 บทที่ 9 พลมารีย์ กับ พระกายทิพย์ของพระคริสตเจ้า
พระนางเปรียบเสมือนหัวใจของพระกายทิพย์ทีเดียว หน้าที่ของพระนางไม่ต่างกับหัวใจที่อยู่ในร่างกายคนเรา นั่นคือ สูบฉีดโลหิตของพระคริสตเจ้าไปตามเส้นโลหิตใหญ่น้อยในพระกายทิพย์ ยังให้มีชีวิตและเจริญเติบโตขึ้นเหนือสิ่งอื่นใด พระนางทำไปเพราะรัก เหตุนี้ ขณะที่สมาชิกพลมารีย์ทำงานแพร่ธรรมพร้อมกับพระนางมารีย์อยู่นั้น ก็ขอให้พวกเขาร่วมกันทำหน้าที่สำคัญที่สุดของพระนางในฐานะเป็นหัวใจของพระกายทิพย์ด้วย
“ดวงตาพูดกับมือไม่ได้ว่า ‘เราไม่ต้องการเจ้า’ และศีรษะก็พูดกับเท้าไม่ได้ว่า ‘เราไม่ต้องการเจ้า’ (1 คร 12:21) ขอให้เรื่องนี้เป็นบทเรียนสอนพลมารีย์ให้เห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการประกาศแพร่ธรรมเขาไม่ใช่เป็นเพียงกายเดียวกับพระคริสตเจ้า และขึ้นอยู่กับพระองค์เท่านั้น แต่ทำนองเดียวกัน พระคริสตเจ้าผู้เป็นศีรษะ โดยนัยที่แท้ ก็ขึ้นอยู่กับเขาด้วย จนแม้พระคริสตเจ้าของเรา ก็ต้องตรัสกับพลมารีย์ว่า “เราต้องการเจ้าให้มาช่วยงานกอบกู้กับเราและทำให้วิญญาณศักดิ์สิทธิ์”
การที่ศีรษะต้องพึ่งร่างกายนี้ นักบุญเปาโลกล่าวไว้ว่า ถ้าความทรมานของพระคริสตเจ้ายังขาดสิ่งใด ท่านก็เสริมให้สมบูรณ์ด้วยการทรมานในกายของท่านเอง (คส 1:24) สำนวนน่าสะดุดใจนี้ไม่ได้หมายความว่างานของพระคริสตเจ้าเกิดบกพร่องอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ที่แท้เป็นการเน้นให้เห็นเพียงหลักการที่ว่า แต่ละอวัยวะของร่างกายต้องอุทิศสิ่งที่สามารถอุทิศได้เพื่อช่วยตนเองและผู้อื่นให้รอดพ้น (ฟป 2:12)
ขอให้เรื่องนี้สอนพลมารีย์ถึงเรื่องพระกระแสเรียกสูงส่งของตนในพระกายทิพย์ กล่าวคือเพื่อส่งเสริมภารกิจที่ขาดของพระคริสตเจ้าให้เต็มช่างเป็นเครื่องดูลใจดีแท้แก่พลมารีย์ว่า พระคริสตเจ้าทรงต้องการตนให้นำความสว่างและความหวังไปสู่บรรดาผู้อยู่ในความมืด นำความปลอบใจ
หน้า 74 บทที่ 9 พลมารีย์ กับ พระกายทิพย์ของพระคริสตเจ้า
แก่ผู้ทุกข์ร้อน นำชีวิตแก่ผู้ตายอยู่ในบาป เห็นจะไม่ต้องกล่าวก็ได้ว่าตกเป็นตำแหน่งหน้าที่ของพลมารีเป็นพิเศษที่จะต้องถอดแบบความรัก ความเชื่อฟังอันสูงส่งซึ่งพระคริสตเจ้าผู้เป็นศีรษะได้แสดงต่อพระมารดาของพระองค์และพระกายทิพย์ต้องลอกแบบกระทำสืบไป
**ตามที่นักบุญเปาโลให้ความมั่นใจแก่ชาวเราว่า ตัวท่านได้ทำให้ความทุกข์ทรมานของพระคริสตเจ้าเต็มบริบูรณ์ (ในเลือดเนื้อของท่าน) เราก็อาจกล่าวโดยสัตย์จริงว่าคริสตชนคาทอลิกแท้ที่เป็นอวัยวะของพระคริสตเจ้า และร่วมสนิทกับพระองค์โดยทางพระหรรษทาน เมื่อเขากระทำอะไรตามจิตตารมณ์ของพระเยชูคริสตเจ้า ก็สืบและดำเนินกิจการซึ่งพระเยชูคริสตเจ้าทรงกระทำสมัยที่เจริญชีพอย่างสงบสุขในโลกจนสำเร็จบริบูรณ์
ดังนั้นเมื่อคริสตชนคาทอลิกสวดภาวนา เขาก็สืบต่อการสวดภาวนาของพระเยซูขณะเจริญพระชนม์ในโลก เมื่อเขาทำงาน ก็ทำชดใช้แทนที่ยังขาดอยู่ในพระชนมชีพ และพระกรณียกิจของพระเยชู เราต้องเป็นเสมือนพระคริสตเจ้าหลายองค์ในโลก สืบต่อพระชนม์ชีพและกิจการของพระองค์ ทำหน้าที่และสู้ทนลำบากทุกอย่างในจิตตารมณ์ของพระเยชู กล่าวคือ อยู่ในลักษณะศักดิ์สิทธิ์สมกับของพระเป็นเจ้า (St. John Eudes : Kingdom of Jesus)
3. รับทนทรมานในพระกายทิพย์
ภารกิจของสมาชิกพลมารีย์นำเขาเข้าใกล้ชิดกับมนุษยชาติ โดยเฉพาะกับมนุษยชาติที่กำลังทนทุกข์ยาก จะนั้นพลมารีย์ควรเข้าใจซึ้งถึงสิ่งที่โลกเน้นว่าเป็นความทุกข์ยากลำบาก ผู้ที่ไม่เคยผ่านความทุกข์ยากเลยตลอดชีวิตเห็นจะไม่มี แทบทุกคนต่อสู้กับความทุกข์ยากลำบาก เขาพยายามปลดเปลื้องถ้าไม่สำเร็จก็ทอดอาลัยตายอยากอยู่ในความทุกข์นั้น การกระทำดังนี้ทำให้แผนการไถ่บาปไร้ผล ตามแผนการนี้ต้องการให้ใช้ความลำบากกลับเป็นทาง
หน้า 75 บทที่ 9 พลมารีย์ กับ พระกายทิพย์ของพระคริสตเจ้า
สร้างกุศลในทุกชีวิต เช่นเดียวกับการทอผ้าก็ต้องมีด้าย ทั้งเส้นแนวยืนและแนวนอนประกอบกัน
ขณะที่ความทุกข์ยาก ซึ่งดูเหมือนแทรกเข้ามาขวางและขัดกับชีวิตมนุษย์ที่แท้ทำให้ชีวิตนั้นเพียบพร้อมไพบูลย์ขึ้น เหตุว่าพระคัมภีร์ก็สอนเราทุกหน้าว่า สำหรับชาวเรา “ไม่เพียงพระพรที่จะเชื่อในพระองค์เท่านั้น แต่รวมพระพรที่จะทนทรมานเพื่อพระองค์ด้วย” (ฟป 1:29) อีกตอนหนึ่งกล่าวว่า “ถ้าเราตายพร้อมกับพระองค์ เราจะมีชีวิตอยู่กับพระองค์ด้วย ถ้าเราอดทนมั่นคงเราย่อมจะครองราชย์พร้อมกับพระองค์ด้วย” (2 ทธ 2:11-12)
วาระที่เราตายในพระคริสตเจ้านั้น แสดงให้เห็นโดยกางเขนซึ่งหยาดเยิ้มด้วยพระโลหิต บนกางเขนนี้ศีรษะของเรา (พระคริสตเจ้า) เพิ่งกระทำกิจการของพระองค์สำเร็จไป แทบเชิงมหากางเขนนั้นมีสตรีผู้หนึ่งยืนอยู่เศร้าโศกจนดูเหมือนมิอาจทรงชีวิตต่อไปได้ สตรีนั้นคือพระมารดาพระผู้ไถ่ และแม่ของผู้รับการไถ่นั่นเอง โลหิตที่ไหลกระเซ็นกระจัดกระจายอย่างไร้ค่า แต่กลับเป็นค่าไถ่บาปมนุษย์โลก ล้วนสีบมาจากโลหิตของพระนางเอง ตั้งแต่นั้นมาพระโลหิตนั้นจะไหลแผ่ซ่านไปทั่วพระกายทิพย์ กล่าวคือฉีดชีวิตไปยังทุกซอกทุกมุมของพระกายนั้น
แต่จะต้องเข้าใจถึงผลทั้งหมดแห่งการไหลของพระโลหิตนี้ เพื่อจะได้นำมาประกอบใช้ให้เป็นประโยชน์ ธารโลหิตนี้ทำให้วิญญาณเหมือนพระคริสตเจ้า และเป็นพระคริสตเจ้าอย่างครบครัน ไม่ใช่เป็นเพียงพระคริสตเจ้า แห่งความชื่นชมและพระสิริรุ่งโรจน์ที่เบธเลเฮมและที่ภูเขาทาบอร์เท่านั้น แต่ยังเป็นพระคริสตเจ้าแห่งความปวดร้าวและพลีพระชนมชีพที่บนเนินกัลวารีโอนั้นด้วย
คริสตชนทุกคนพึงสำนึกความจริงว่า เขาไม่อาจเลือกรับเพียงอย่างใด
หน้า 76 บทที่ 9 พลมารีย์ กับ พระกายทิพย์ของพระคริสตเจ้า
อย่างหนึ่งในพระคริสตเจ้า พระนางมารีย์ตระหนักข้อนี้ดี แม้ในวันชื่นชมที่พระนางรับสาร พระนางรู้ว่า พระนางไม่ได้รับเชิญให้เป็นมารดาแห่งความชื่นชมเท่านั้น แต่ยังเป็นสตรีแห่งความเศร้าโศกด้วย แต่พระนางอุทิศตนถวายพระโดยเด็ดขาดเสมอมา และบัดนั้นพระนางก็ได้รับพระคริสตเจ้าอย่างครบครัน
พระนางต้อนรับชีวิตทั้งมวลของพระกุมาร ทั้งๆ ที่ทราบตลอดว่าวิถีชีวิตของพระองค์จะเป็นอย่างไร พระนางเต็มใจร่วมทุกข์แสนเข็ญกับพระองค์ไม่น้อยกว่าเต็มใจร่วมสุขกับพระองค์ด้วย ในวาระนั้นดวงใจของท่านทั้งสองเข้าสนิทชิดเชื้อจนเกือบใกล้เป็นดวงเดียวกัน ต่อแต่นั้นไป ดวงใจทั้ง 2 จะเต้นด้วยกันในพระกายทิพย์และเพื่อพระกายทิพย์
ด้วยเหตุนี้ พระนางมารีย์ได้กลายเป็นคนกลางจ่ายพระหรรษทานทุกประการ เป็นภาชนะฝ่ายจิต ซึ่งรองรับพระโลหิตล้ำเลิศไว้แล้วแจกจ่ายไปที่เป็นไปแล้วแก่พระนางมารีย์เช่นไร ก็จะเป็นแก่ลูก ๆ ทั้งหมดของพระนางด้วยเช่นเดียวกัน มนุษย์จะสามารถเป็นประโยชน์แก่พระแค่ไหน สุดแล้วแต่ความใกล้ชิดเป็นหนึ่งเดียวกับดวงพระคริสตหฤทัย จากดวงพระทัยนั้น มนุษย์สามารถได้รับถ่ายทอดพระโลหิตอย่างสมบูรณ์ เพื่อนำมาแจกจ่ายแก้วิญญาณอื่นๆ
แต่ความเป็นหนึ่งเดียวกับดวงพระทัยและพระโลหิตของพระคริสตเจ้านั้นจะต้องเป็นไปตลอดพระชนมชีพของพระองค์ทั้งครบ ไม่ใช่เฉพาะตอนใดตอนหนึ่งเท่านั้น มิฉะนั้นจะเป็นการกระทำที่ไร้สาระและไม่บังควรเลยที่จะรับรองพระมหากษัตริย์ทรงพระเกียรติมงคล และผลักไสบุรุษผู้โศกเศร้า เหตุว่าทั้ง 2 เป็นพระคริสตเจ้าองค์เดียวกัน ผู้ที่ไม่ยอมร่วมทางกับบุรุษผู้โศกเศร้า ผู้นั้นย่อมไม่มีส่วนในภารกิจเกี่ยวกับวิญญาณ
หน้า 77 บทที่ 9 พลมารีย์ กับ พระกายทิพย์ของพระคริสตเจ้า
ของพระองค์ ทั้งจะไม่มีส่วนในพระสิริรุ่งโรจน์ภายหลังด้วย
ฉะนั้น เชิญรำพึงและดูว่า ความทุกข์ยากนั้นเป็นพระหรรษทานอย่างหนึ่งเสมอ ถ้าไม่ใช่สำหรับเยียวยารักษา สำหรับประทาน พลานุภาพไม่ใช่เป็นการลงโทษ เนื่องจากบาปเสมอไป นักบุญเอากุสติโน กล่าวว่า “เข้าใจเถิดว่าความทุกข์ยากของมนุษยชาติ ไม่ใช่การลงโทษทัณฑ์เลย เหตุว่าความลำบากมีคุณลักษณะเป็นยาชมทรงสรรพคุณดีต่างหาก”
อีกประการหนึ่ง พระมหาทรมานของพระคริสตเจ้าในฐานะที่เป็นคุณพิเศษอันล้นค่า ไหลท่วมท้นเข้าสู่ร่างกายของผู้ปราศจากบาป และผู้ศักดิ์สิทธิ์ ก็เพื่อปรับปรุงให้เขาครบครันเหมือนพระองค์ทวีขึ้น การแลกเปลี่ยนคลุกเคล้าความทุกข์แก่กัน เป็นรากฐานแห่งการทรมานกายทรกรรมใจใช้โทษบาปทั้งมวล
การเปรียบเทียบกับการหมุนเวียนของโลหิตในกายมนุษย์ จะทำให้เห็นตำแหน่งและจุดมุ่งหมายของความทนทุกข์ชัดขึ้น เชิญรำพึงและดูว่าชีพจรที่เต้นอยู่นั้น คือการเต้นของหัวใจ โลหิตอบอุ่นจากหัวใจไหลจากหัวใจมาสู่มือ มือเป็นอวัยวะหนึ่งติดอยู่กับร่างกาย หากมือเกิดเย็นลงเส้นโลหิตหดตีบลง การไหลของโลหิตจะไม่สะดวก ถ้าเย็นลงไปอีก อาการไหลก็ลดน้อยลงด้วย ถ้าเย็นจนโลหิตหยุดไหล จะเย็นเฉียบหมดความรู้สึกเส้นเอ็นเริ่มตาย มือนั้นก็ปราศจากชีวิตไร้ประโยชน์ กลายเป็นมือที่ตายแล้วหากทิ้งไว้ในสภาพเช่นนี้ ก็จะเกิดโรคเนื้อตาย
อาการเย็นเป็นขั้น ๆ นี้ ชี้ให้เห็นสภาพที่อาจเป็นไปได้ของอวัยวะในพระกายทิพย์ ที่อาจจะรับพระโลหิตได้น้อยลง ๆ จนอยู่ในอันตรายถึงตายเหมือนกับมือที่เนื้อตายต้องตัดทิ้ง เราทราบดีว่าในกรณีมือเท้าเย็นชืดเราต้องทำอย่างไร จะต้องหาวิธีทำให้เลือดหมุนเวียนใหม่ เพื่อกลับมีชีวิตขึ้น การ
หน้า 78 บทที่ 9 พลมารีย์ กับ พระกายทิพย์ของพระคริสตเจ้า
ฉีดเลือดเข้าเส้นที่หดตีบเป็นงานยาก เจ็บปวด กระนั้นก็ดี ความเจ็บปวดนั้นเป็นสัญญาณชื่นชมยินดี
คริสตชนคาทอลิกส่วนมากก็คล้ายมือเท้าเย็นเฉียบ แม้ไม่ถึงกับหมดความรู้สึกก็จริงอยู่ แต่น้อยครั้งทีเดียวที่เขาจะยอมรับตามความจริงว่าเป็นคนเย็นชาเสียแล้ว อย่างไรก็ตามเขาไม่ได้รับพระโลหิตตามขนาดที่พระคริสตเจ้าทรงปรารถนา ดังนั้นพระองค์จึงต้องฉีดพระชนมชีพเข้าไปสู่พวกเขาเหล่านั้น อาการที่พระโลหิตไหลเข้า ก่อให้เส้นโลหิตที่ตีบนั้นบิกกว้างออก ทำให้เจ็บปวดและนี่แหละคือความเจ็บปวดแห่งชีวิต กระนั้นก็ดี เมื่อเข้าใจถึงเรื่องความเจ็บปวดตามนี้ดีแล้ว จะไม่บังเกิดความยินดีแทนความเจ็บปวดหรือ เหตุว่าความรู้สึกทรมานลำบากนี่แหละ แสดงว่า มีพระคริสตเจ้าประทับอยู่ใกล้ ๆ แล้ว
**พระเยชูคริสตเจ้าทรงรับทนทรมานทั้งหมดเท่าที่พระองค์ต้องทน ทรงทนทุกข์ทรมานจนไม่มีอะไรขาดตกบกพร่อง พระมหาทรมานของพระองค์จบสิ้นแล้วหรือ จริงอยู่ส่วนพระเศียรเสร็จสิ้นแล้ว แต่ในส่วนลำตัวยังทรงทรมานอยู่ จะนั้น เป็นการถูกต้องแล้วที่พระคริสตเจ้าผู้ยังรับทรมานอยู่ในพระวรกาย พระองค์ทรงปรารถนาให้ชาวเราเข้าส่วนใช้โทษด้วยกันกับพระองค์
ความเป็นหนึ่งเดียวของชาวเราเองกับพระองค์ ก็เรียกร้องว่าควรทำเช่นนั้นด้วยว่าเมื่อชาวเราเป็นพระรกายของพระองค์ และเป็นอวัยวะของกันและกันทุกสิ่งที่ศีรษะรับทน อวัยวะอื่น ๆ ก็ควรร่วมลำบากด้วย (นักบุญออกัสติน)
หน้า 79 บทที่ 10 คณะพลมารีย์ กับ การเผยแผ่ธรรม
บทที่ 10
คณะพลมารีย์ กับ การเผยแผ่ธรรม
1. เกียรติศักดิ์ของพลมารีย์
การที่จะแสดงถึงเกียรติศักดิ์ของการแพร่ธรรมซึ่งพลมารีย์ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติ และความสำคัญของงานพลมารีย์ต่อพระศาสนจักรนั้น เราคงจะสรรหาคำกล่าวเน้นอื่นไม่ได้เท่ากับแถลงการณ์ของสมณะผู้มีอำนาจดังต่อไปนี้
“ฆราวาสโดยเหตุที่ร่วมชิดสนิทกับพระคริสตเจ้าผู้เป็นพระประมุขนั้นเองจึงมีสิทธิและหน้าที่ที่จะเป็นผู้แพร่ธรรม เมื่อมราวาสเข้าเป็นส่วนในพระกายทิพย์ของพระคริสตเจ้ดยอาศัยศีลล้างบาป และมีกำลังเข้มแข็งด้วยฤทธิ์อำนาจของพระจิตเจ้าเมื่อรับศีลกำลัง ก็ถือเป็นพระคริสตเจ้าเองที่ทรงใช้เขาไปทำการแพร่ธรรม การที่ฆราวาสได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมณราชตระกูลและเป็นชนชาติศักดิ์สิทธิ์ (เทียบ 1 ปต 2:4-10) ก็เพื่อทำให้กิจการทุกอย่างของเขากลายเป็นของถวายฝ่ายจิต และเพื่อประกาศยืนยันถึงองค์พระคริสตเจ้าทั่วพื้นพิภพ หัวใจของการแพร่ธรรมทั้งหมดอยู่ที่ความรักผู้แพร่ธรรมได้รับความรักนี้พร้อมการหล่อเลี้ยงเอาไว้จากศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ และโดยเฉพาะศีลมหาสนิท” (สมณกฤษฎีกาว่าด้วยการแพร่ธรรมของฆราวาส 3)
“พระสันตะปาปาปีโอ ที่ 12 เคยตรัสไว้ว่า ‘บรรดาสัตบุรุษ เป็นต้นฆราวาส ดำเนินชีวิตอยู่ในแนวหน้าของพระศาสนจักร ตามความคิดเห็นของพวกเขา พระศาสนจักรก็คือตัวตั้งด้านศีลธรรมสำหรับสังคมมนุษย์เมื่อเป็นเช่นนี้ ยิ่งวันพวกเขาก็น่าจะมีจิตสำนึกที่ชัดเจนยิ่งขึ้นว่า พวกเขา
หน้า 80 บทที่ 10 คณะพลมารีย์ กับ การเผยแผ่ธรรม
หาได้สังกัดอยู่ในพระศาสนจักรเท่านั้น แต่พวกเขานั่นแหละเป็นพระศาสนจักร กล่าวคือประชาคมสัตบุรุษบนโลกนี้ ภายใต้การเป็นผู้นำของพระสันตะปาปาองค์ประมุขสูงสุด และของบรรดาสังฆราชที่ร่วมสหพันธ์กับพระองคั ทั้งหมดนี้รวมกันคือพระศาสนจักร… .” (CL9)
“พระนางมารีย์ทรงอิทธิพลทางจิตใจเหนือมนุษย์ ซึ่งเราไม่สามารถจะอธิบายได้ดีไปกว่าการเปรียบเทียบกับพลังงานฟิสิกส์ ว่าด้วยแรงดึงดูดและแรงเกาะเหนี่ยวในสสารซึ่งย่อมรวบรวมเทห์และส่วนประกอบเข้าเป็นรูปเดียวกันตามธรรมชาติ… เราคิดว่าได้อธิบายมาแล้วว่า พระนางมารีย์มีส่วนเกี่ยวข้องในกิจการสำคัญทุกอย่างซึ่งรวมกันเข้าเป็นสังคม รวมทั้งอารยธรรมที่แท้ของสังคมนั้น ๆ ด้วย” (Petitalot)
2. ความจำเป็นที่ต้องมีฆราวาสแพร่ธรรม
ความเจริญสมบูรณ์ของชุมชนคาทอลิก ขึ้นอยู่กับการที่มีคนประเภทแพร่ธรรมเป็นจำนวนมาก บุคคลเหล่านี้เป็นฆราวาสก็จริง แต่มีเจตจำนงเหมือนพระสงฆ์ มีส่วนช่วยพระสงฆ์ในการปกครอง คอยอำนวยการติดต่อระหว่างพระสงฆ์และฆราวาสอย่างใกล้ชิดสนิทสนม ความมั่นคงย่อมเกิดจากความร่วมมือร่วมใจระหว่างพระสงฆ์กับฆราวาส
แต่ทว่าคุณลักษณะสำคัญของการแพร่ธรรมคือความสนใจจริงในสวัสดิภาพและงานของพระศาสนจักรและความสนใจดังกล่าวจะมีไม่ได้ ถ้าไม่มีการร่วมมือกัน องค์กรแพร่ธรรมจึงเปรียบเสมืนแม่พิมพ์สำหรับผลิตบรรดาอัครสาวก
ถ้าที่ใดไม่ปรากฎคุณลักษณะการแพร่ธรรมดังกล่าวนี้ อนุชนรุ่นหลังจะต้องพบกับปัญหาเรื่องความไม่สนใจต่อพระศาสนจักรและขาดความสำนึกทั้งมวลต่อความรับผิดชอบ แล้วเราจะหวังอะไรดีจากพระศาสนจักรคาทอลิกแบบเด็กอมมือเช่นนี้ พระศาสนจักรนั้นจะปลอดภัยก็เฉพาะเวลา
หน้า 81 บทที่ 10 คณะพลมารีย์ กับ การเผยแผ่ธรรม
ปกติเท่านั้นหรือ ประวัติศาสตร์ชี้ให้เห็นว่า ฝูงแกะที่ประสาทเย็นชาจะแตกฝูงได้ง่าย ๆ และจะนำมาซึ่งความหายนะสู่นายชุมพาของตน หรือมิฉะนั้นก็ตกเป็นเหยื่อของสุนัขป่าดุร้ายฝูงแรก
พระคาร์ดินัลนิวแมนให้หลักความคิดว่า “ทุกกาลสมัย ฆราวาสนี่แหละเป็นเครื่องวัดจิตตารมณ์คาทอลิก”
“หน้าที่สำคัญของคณะพลมารีย์คือพัฒนามราวาสให้เกิดสำนึกในพระกระแสเรียกของตน มีข้อน่าวิตกประการหนึ่งคือเราฆราวาสอาจจะเข้าใจผิดคิดว่า พระศาสนจักรก็คือ พระสงฆ์และนักบวช ผู้ที่พระเป็นเจ้าโปรดประทานสิ่งหนึ่ง ซึ่งชาวเราตั้งชื่อเป็นพิเศษว่าพระกระแสเรียก ชวนให้หลงเข้าใจว่า ชาวเรากลายเป็นบุคคลไร้ความสำคัญหากเพียงได้ทำตามกำหนดไว้ในปริมาณน้อยที่สุดเท่านั้นก็คงจะมีโอกาสเอาวิญญาณรอดได้แล้ว เราลืมไปว่า พระคริสตเจ้า “ทรงเรียกชื่อแกะของตนทีละตัว” (ยน 10:3)
ทั้งลืมวาทะของนักบุญเปาโล (กท 2:20) ผู้ซึ่งเหมือนกับชาวเรา คือท่านไม่ได้อยู่ที่เขากัลวารีโอด้วยตนเอง นักบุญเปาโลว่า “พระบุตรของพระเจ้าผู้ทรงรักข้าพเจ้าและทรงมอบพระองค์เพื่อข้าพเจ้า”
ชาวเราแต่ละคน แม้เป็นเพียงช่างไม้ในหมู่บ้านเหมือนพระเยซูเจ้า หรือเป็นเพียงแม่บ้านชอมช่อเหมือนพระมารดา ก็มีพระกระแสเรียก พระเป็นเจ้าทรงเรียกเราเป็นรายตัว ให้ทูลถวายความรักและบริการของตนแด่พระองค์ สำหรับงานพิเศษโดยเฉพาะ อันคนอื่นอาจจะทำได้ดีกว่าก็จริงอยู่ แต่เข้าทำแทนกันไม่ได้ ทั้งนี้เพราะไม่มีใครนอกจากข้าพเจ้าเองสามารถถวายดวงใจของข้าพเจ้าแด่พระเป็นเจ้า หรือสามารถทำงานของข้าพเจ้า
ความรู้สึกเฉพาะตัวเกี่ยวกับหน้าที่ทางศาสนาดังนี้แหละ ที่คณะพลมารีย์ต้องการอบรมให้เจริญขึ้น สมาชิกจะทำเป็นทองไม่รู้ร้อน หรือทำพอให้งานเสร็จไปเท่านั้นไม่ได้แต่ละคนต้องเป็นอะไรและต้องทำอะไรสักอย่างสำหรับพระเป็นเจ้า พระศาสนาไม่ใช่
หน้า 82 บทที่ 10 คณะพลมารีย์ กับ การเผยแผ่ธรรม
เรื่องปลีกย่อยของชีวิตอีกต่อไป หากได้กลายเป็นเครื่องดลใจ เครื่องนำชีวิตเรานี่เองทำให้เกิดจิตตารมณ์แพร่ธรรม เกิดความปรารถนาเข้ารับทำงานของพระเยซูเจ้าสืบต่อไป ปรารถนาเป็นพระคริสตเจ้าอีกองค์หนึ่ง ปรารถนาปรนนิบัติพระองค์แม้ในพี่น้องที่ต่ำต้อยที่สุด
ดังนี้พลมารีย์จึงเป็นฆราวาสที่ทำการงานแทนคณะนักบวช เป็นความครบครันประสาคริสตชนคาทอลิกที่ปรากฎในชีวิตฆราวาส เป็นผู้ขยายพระราชัยของพระคริสตเจ้าท่ามกลางชาวโลกในปัจจุบัน” (Msgr. Alfred O’Rahilly)
3. คณะพลมารีย์ กับ มราวาสแพร่ธรรม
งานแพร่ธรรมก็เหมือนกับงานหลักที่สำคัญอื่นๆ เป็นงานที่เป็นนามธรรมและเย็นชืด มหันตภัยแท้จริงของงานนี้ คือ คิดว่าไม่อาจโน้มนำจิตใจใครก็ได้ จนฆราวาสไม่ตอบสนองพระกระแสเรียกอันสูงส่งที่พระเป็นเจ้าทรงหยิบยื่นให้ และซ้ำร้ายอาจพาให้เข้าใจว่า ฆราวาสไม่สามารถตอบสนองได้ ความเสียหายที่ตามมาคือ ฆราวาสเลิกพยายามปฏิบัติงานอันเป็นหน้าที่ของตน ซึ่งจะขาดเสียมิได้ ที่จะช่วยพระศาสนจักรทำสงครามกับมารร้าย
ท่านผู้ทรงคุณวุฒิที่จะตัดสิน (คือ ฯพณฯ พระคาร์ดินัล ริเบรี อดีตพระสมณทูต ประจำมิสชังในแอฟริกา และในประเทศจีน) ได้กล่าวว่า
“คณะพลมารีย์คือองค์กรแพร่ธรรม ที่แต่งรูปร่างงดงามชวนให้หลงใหล เต็มไปด้วยชีวิตชีวาจนดึงดูดคนไว้ได้มากมาย คณะนี้เป็นไปตามที่สมเด็จพระสันตะปาปาปีโอ ที่ 11 ทรงกำหนดไว้ คือขึ้นตรงต่อพระนางพรหมจารี พระมารดาของพระเจ้า เคร่งครัดในเรื่องคุณภาพของสมาชิกซึ่งมีความสำคัญสู่การรวมพลัง มีเครื่องคุ้มกันโดยอาศัยการสวดภาวนา การพลีกรรม มีระบบที่แน่นอน และร่วมมือกับพระสงฆ์ในทุกเรื่อง คณะพลมารีย์จึงเป็นความมหัศจรรย์ของโลกปัจจุบัน”
หน้า 83 บทที่ 10 คณะพลมารีย์ กับ การเผยแผ่ธรรม
คณะพลมารีย์ให้ความเคารพเชื่อฟังพระสงมั มากกว่าที่จะเป็นเพียงเคารพผู้ใหญ่ที่ควรแก่การเคารพ การแพร่ธรรมของพลมารีย์ตั้งอยู่บนฐานของท่อธารพระหรรษทานทางพิธีบูชาขอบพระคุณและศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ซึ่งพระสงฆ์เป็นผู้ประกอบพิธี ความพยายามที่จะแพร่ธรรมต้องยึดหลักนี้เป็นสำคัญ คือการนำอาหารวิญญาณสู่ประชาชน ผู้ป่วยและผู้หิวโหย หลักการแรกของกิจการพลมารีย์ก็ควรจะดำเนินตามนี้ คือนำพระสงฆ์เข้าหาประชาชนอาจเป็นไปไม่ได้ที่พระสงฆ์จะไปด้วยตนเองเสมอ แต่ทุกแห่งพระสงฆ์จะต้องมีอิทธิพลและเข้าใจสัตบุรุษของตน
พลมารีย์ถือว่า การแพร่ธรรมตามแนวคิดนี้สำคัญมาก งานของฆราวาสจะเป็นกลุ่มก้อน ทำงานร่วมกับพระสงฆ์ โดยให้ท่านเป็นผู้กำกับการและอยู่ในความสนใจร่วมกัน พลมารีย์จะแสวงหาอย่างลุกร้อน สนับสนุนความพยายามของพระสงฆ์ และทำให้ท่านชิดสนิทกับประชาชนอย่างกว้างขวางเพื่อประชาชนเมื่อต้อนรับพวกเขา จะได้ต้อนรับพระองค์ที่ทรงใช้เขาเหล่านั้นมา
“เราบอกความจริงกับท่านทั้งหลายว่า ใครรับผู้ที่เราส่งไปก็รับเรา ใครรับเราก็รับพระองค์ผู้ทรงส่งเรามา” (ยน 13:20)
4. พระสงฆ์ กับ คณะพลมารีย์
การที่พระสงฆ์มีกลุ่มชนที่ศรัทธาอยู่รอบตัวท่าน เพื่อช่วยแบ่งเบางานของท่าน นับเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ยิ่ง เหมือนพระเยซูเจ้าเองที่ทรงเป็นแบบฉบับในการที่พระองค์ทรงตระเตรียมแผนการเพื่อให้โลกกลับใจ พระองค์ก็ได้ทรงรวบรวมบุคคลที่ทรงเลือกไว้กลุ่มหนึ่ง เพื่อที่จะทรงอบรมสั่งสอนด้วยพระองค์เอง ให้เขาเปี่ยมด้วยจิตตารมณ์ของพระองค์
พวกอัครสาวกต่างได้จดจำวิธีการของพระองค์และนำไปใช้ด้วยการป่าวประกาศให้ทุกคนร่วมมือกับพวกท่าน ในการกู้วิญญาณให้รอด
หน้า 84 บทที่ 10 คณะพลมารีย์ กับ การเผยแผ่ธรรม
พระคาร์ดินัล ปิซชารโด ได้กล่าวไว้อย่างงดงามว่า อาจเป็นได้ที่ชาวต่างถิ่นจากกรุงโรม (กจ 2:10) ที่มาฟังคำเทศนาของพวกอัครสาวกในวันพระจิตตาคม ได้เป็นพวกแรกที่ประกาศเกียรติคุณของพระคริสตเจ้าที่กรุงโรม เท่ากับเริ่มหว่านเชื้อความเชื่อแห่งพระศาสนจักร ซึ่งไม่ช้านักบุญเปโตรและเปาโลจะได้สถาปนาขึ้นอย่างเป็นทางการในเวลาต่อมา
“จะเป็นเพราะเหตุอื่นได้อย่างไร เพราะอัครสาวกทั้ง 12 องค์จะปฏิบัติงานได้อย่างไร ท่ามกลางโลกอันกว้างใหญ่ไพศาล หากท่านไม่รวบรวมสมัครพรรคพวกทั้งชายหญิง ทั้งหนุ่มสาว ผู้สูงอายุ โดยบอกกล่าวให้ทราบทั่วกันว่า พวกเรามีสมบัติสวรรค์วิเศษสุด มาช่วยเราแจกจ่ายให้ได้รับทั่วหน้ากันเถิด” (พระสันตะปาปาปีโอ ที่ 11)
เมื่อได้อัญเชิญพระดำรัสของสมเด็จพระสันตะป่าปามาพระองค์หนึ่งแล้ว ต่อไปนี้จะขออัญเชิญของอีกพระองค์หนึ่งมาไว้ด้วย เพื่อให้ตัวอย่างงานของพระคริสตเจ้าและอัครสาวกเกี่ยวกับงานช่วยประชากรโลกให้กลับใจเป็นแบบอย่างแก่พระสงฆ์ทุกองค์ (ซึ่งเปรียบเสมือนพระคริสตเจ้าอีกองค์หนึ่ง)ให้ปฏิบัติงานของท่านในโลกเล็ก ๆ ของท่าน ไม่ว่าจะเป็นงานในเขตวัดหรือในตำบลที่ท่านประจำอยู่หรือเกี่ยวกับงานพิเศษของท่านก็ตามดังต่อไปนี้
“วันหนึ่งขณะที่สมเด็จพระสันตะปาปาปีโอ ที่ 10 (นักบุญปีโอ ที่ 10) ประทับอยู่ท่ามกลางพระคาร์ดินัลหลายท่าน พระองค์ท่านทรงตั้งคำถามว่า “อะไรเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะช่วยสังคมปัจจุบัน?”
พระคาร์ดินัลองค์หนึ่งทูลตอบว่า “สร้างโรงเรียนคาทอลิก พระเจ้าข้า”
ทรงตอบว่า “ไม่ใช่”
พระคาร์ดินัลอีกองค์ถวายความเห็นว่า “เพิ่มวัดมาก ๆ พระเจ้าข้า”
ทรงตอบปฏิเสธอีกว่า “ไม่ใช่”
หน้า 85 บทที่ 10 คณะพลมารีย์ กับ การเผยแผ่ธรรม
พระคาร์ดินัลองค์ที่สาม ทูลเสนอว่า “รณรงค์เพิ่มจำนวนนักบวชพระเจ้าช้า”
ทรงกล่าวอีกว่า “ไม่ใช่ ไม่ใช่ทั้งนั้น ที่จำเป็นที่สุดในขณะนี้ คือ ให้ทุกวัดมีกลุ่มฆราวาสที่มีคุณธรรม มีความรู้ น้ำใจเข้มแข็งมุ่งมั่นในงานแพร่ธรรม”
ในบั้นปลายพระชนมชีพ สมเด็จพระสันตะปาปาพระองค์นี้ทรงถือว่าการช่วยโลกให้รอดนั้น อยู่ที่การอบรม สั่งสอน และความลุกร้อนของพระสงฆ์ และการอุทิศตนของคริสตชนคาทอลิก ที่จะเผยแผ่ธรรมด้วยวาจาและกิจการ แต่ที่สำคัญที่สุดจะต้องเป็นแบบฉบับที่ดี
ในสังฆมณฑลต่างๆ ที่พระองค์เคยปกครอง ก่อนที่จะได้รับเลือกเป็นพระสันตะปาปา พระองค์ทรงถือว่าจำนวนสัตบุรุษที่สามารถแพร่ธรรมสำคัญกว่าจำนวนคริสตชนคาทอลิกในทะเบียนวัด พระองค์ทรงความเห็นว่าจะเป็นกลุ่มชนชั้นใดก็ตาม ย่อมมีบุคคลที่คัดเลือกมาอบรมเป็นผู้แพร่ธรรมได้ พระองค์จึงจัดพระสงฆ์ในปกครองตามความสามารถ และความลุกร้อนในการปฏิบัติภารกิจสงฆ์ของแต่ละคนเป็นหลัก (Chautard : The Soul of the Apostolate)
“ภารกิจของสงฆ์ผู้อภิบาล มิใช่จำกัดอยู่แค่การเอาใจใส่สัตบุรุษของตนเป็นรายบุคคลเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมไปถึงการจัดตั้งกลุ่มคริสตชนคาทอลิกให้เป็นปีกแผ่น แต่ถ้าอยากจะปลูกฝังจิตตารมณ์กลุ่มอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ก็จะต้องให้กลุ่มสนใจ ไม่ใช่เพียงกับพระศาสนจักรท้องถิ่นเท่านั้น แต่กับพระศาสนจักรระดับโลกด้วย กลุ่มแต่ละกลุ่ม นอกจากจะสนับสนุนการเอาใจใส่ดูแลสัตบุรุษภายในกลุ่มของตนเองแล้ว ก็ควรจะสวมวิญญาณธรรมทูต และช่วยกันปูทางให้มนุษย์ทุกคนได้เข้าถึงพระคริสตเจ้า
หน้า 86 บทที่ 10 คณะพลมารีย์ กับ การเผยแผ่ธรรม
กลุ่มควรเอาใจใส่เป็นพิเศษต่อผู้ที่กำลังเรียนคำสอนกับผู้ที่เพิ่งกลับใจ ซึ่งค่อย ๆ เรียนรู้และลองดำเนินชีวิตแบบคริสตชนคาทอลิกดู” (สมณกฤษฎีกาว่าด้วยงานและชีวิตสงฆ์ 6)
“พระเจ้าผู้ทรงรับเอากายเป็นมนุษย์ ทรงเห็นความจำเป็นที่จะต้องทรงละพระกายทิพย์ของพระองค์ไว้ในโลก มิฉะนั้นงานของพระองค์จะจบลงที่เขากัลวาริโอเท่านั้น การสิ้นพระชนมชีพของพระองค์ช่วยให้มนุษย์ได้รอด แต่จะมีสักกี่คนที่ได้ไปสวรรค์ ถ้าไม่ได้พระศาสนจักรช่วยนำชีวิตจากมหากางเขนมาสู่มวลมนุษย์ พระคริสดเจ้าแสดงพระองค์ในตัวพระสงฆ์ด้วยวิธีพิเศษ พระสงฆ์เปรียบเสมือนมีหัวใจผนวกที่จะสูบฉีดโลหิดเหนือธรรมชาติสู่โลหิตชีวิตของวิญญาณ พระสงฆ์เป็นส่วนสำคัญในระบบถ่ายเทความศักดิ์สิทธิ์จากพระกายพระคริสตเจ้า ถ้าพระสงฆ์ทำไม่สำเร็จ ระบบนั้นจะขัดข้อง และผู้ที่พึ่งพระสงฆ์จะไม่ได้รับชีวิตที่พระคริสตเจ้าต้องการประทานแก่มนุษย์ พระสงฆ์จะต้องเป็นที่พึ่งของสัตบุรุษในขอบเขตที่พึงให้ เช่นเดียวกับที่พระคริสตเจ้าทรงเป็นหลักของพระศาสนจักร
ผู้ติดตามพระคริสตเจ้าเป็นส่วนขยายพระองค์ให้กว้างขวาง ไม่ใช่เป็นแต่คนงานผู้ติดตาม ผู้ใกล้ชิด หรือผู้ให้อนุเคราะห์ ท่านได้รับชีวิตของพระองค์ ท่านมีส่วนในงานของพระองค์เอง จึงควรมีทัศนะเช่นเดียวกับพระองค์ พระสงฆ์ควรจะเป็นหนึ่งเดียวกับพระคริสตเจ้าในทุกด้านทุกกรณี พระคริสตเจ้าทรงเห็นความจำเป็นที่จะมีกลุ่มชีวิตจิตทำงานให้พระองค์ พระสงฆ์ก็ควรจะเป็นเช่นกัน ท่านรวมกลุ่มผู้จะทำงานเป็นหนึ่งเดียวกับท่าน หากพระสงฆ์ไม่มีกลุ่มสมาชิกที่มีชีวิต คือกลุ่มผู้ช่วยที่ท่านตั้งขึ้นมาเอง มาร่วมกับท่าน ช่วยงานของท่าน ก็ถือได้ว่างานของท่านแทบจะไม่มีคุณค่าอะไรท่านจะโดดเดี่ยวขาดความช่วยเหลือ
“ดวงตาพูดกับมือไม่ได้ว่า ‘เราไม่ต้องการเจ้า’ และศีรษะก็พูดกับเท้าไม่ได้ว่า ‘เราไม่ต้องการเจ้า’ ” (1 คร 12:21)
หน้า 87 บทที่ 10 คณะพลมารีย์ กับ การเผยแผ่ธรรม
ด้วยเหตุนี้ ถ้าพระคริสตเจ้าทรงตั้งพระกายทิพย์ของพระองค์เป็นหลักของการที่พระองค์ทรงเป็นหนทาง ความจริงและชีวิตสำหรับวิญญาณ ตามระเบียบเช่นเดียวกันนี้ควรจะเป็นปฏิบัติการของพระคริสตเจ้าองค์ใหม่คือพระสงฆ์นั่นเอง หากพระสงฆ์ไม่ได้นำวิธีการเช่นนี้ ให้ได้ระดับตามที่กล่าวถึงในจดหมายถึงชาวเอเฟชัส (อฟ 4:12, เพื่อเตรียมบรรดาผู้ศักดิ์สิทธิ์ไว้สำหรับงานรับใช้เสริมสร้างพระกายของพระคริสตเจ้า) มักใช้เกี่ยวกับการสร้างพระกายทิพย์ให้สมบูรณ์ วิธีการนั้นก็จะลดมาตรการที่จะให้ชีวิตศักดิ์สิทธิ์กับวิญญาณทั้งหลายและให้บังเกิดมรรคผลจากวิธีการนั้น
ยิ่งกว่านั้น พระสงฆ์เองก็จะถูกทิ้งให้ขาดจากคุณธรรม เพราะเหตุที่แม้เป็นงานของศีรษะสั่งการเพื่อให้ร่างกายมีชีวิต แต่ร่างกายก็มิได้สำคัญน้อยไปกว่า เราต้องยอมรับว่า ศีรษะอยู่ได้เพราะร่างกายเจริญ ศีรษะอ่อนแอลงเมื่อร่างกายอ่อนแรง
พระสงฆ์ที่ไม่เข้าใจถ่องแท้ในกฎแห่งงานของพระสงฆ์ดังกล่าว จะดำรงชีวิตงานของท่าน รับรู้อำนาจของท่านเพียงน้อยนิด แท้จริงแล้วขอบเขตอำนาจของท่านในพระคริสตเจ้านั้นมากมายจรดขอบฟ้า” (คุณพ่อ F.J. Ripley)
5. คณะพลมารีย์ กับ วัด
“สมัยนี้ ฆราวาสของเรามีความเก่งกาจสามารถไปเสียทุกเรื่องด้วยเหตุนี้พวกเขาก็น่าจะมีความสามารถไม่น้อย เพื่อจัดตั้งกลุ่มที่ฝักใฝ่เรื่องวัด โดยเฉพาะขึ้นในเขตวัดของตน ทั้งนี้ เพื่อจะได้กระตุ้นสมาชิกให้กระตือรือร้นออกไปแพร่ธรรมกับคนต่างศาสนา และคนที่เคยเข้าศาสนาแล้วแต่กลับออกไปหรือไม่ก็เพิกเฉยต่อการดำเนินชีวิตแบบคริสตชนคาทอลิก” (CL 27) เป็นที่น่าสังเกตว่า เมื่อคณะพลมารีไปเปิดสาขาที่ใด ก็จะนำเอาจิตตารมณ์ขอการทำงานเป็นหมู่คณะเข้าไปในที่นั้นด้วย คณะพลมารีย์จะฝึกให้ฆราวาสคุ้นเคยกับการทำงานเคียงบ่เคียงไหล่กับพระสงฆ์ภายในท้องที่วัดและมีส่วนร่วมรับผิดชอบในงานอภิบาลสัตบุรุษ การที่ทางวัดกำหนดให้มีการ
หน้า 88 บทที่ 10 คณะพลมารีย์ กับ การเผยแผ่ธรรม
ประชุมเป็นประจำทุกสัปดาห์นั้นเป็นสิ่งที่ดีอยู่แล้ว เพื่อควบคุมกิจกรรมหลากหลายของวัด อย่างไรก็ตาม ถ้าอยากจะให้ดียิ่งไปกว่านั้น ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมของวัดเหล่านี้ หากได้เข้าเป็นสมาชิกพลมารีย์ก็จะได้รับการอบรมฝ่ายจิตใจ เพื่อช่วยพวกเขาให้เข้าใจว่า วัดก็คือชุมชนของผู้ที่ถวายสดุดีบูชา
นอกนั้น พวกเขายังจะได้เรียนรู้หลักปฏิบัติงานที่มีระเบียบแบบแผนซึ่งจะช่วยพวกเขาให้สามารถเข้าถึงทุกคนภายในเขตปกครองของวัด เพื่อเสริมสร้างให้เป็นสังคมที่เป็นปีกแผ่น งานแพร่ธรรมบางอย่างในท้องที่วัดที่พลมารีย์อาจรับมาดำเนินการได้ มีบรรยายอยู่ในบทที่ 37, ข้อแนะนำเกี่ยวกับงานชนิดต่างๆ
“พระสงฆ์ต้องถือว่า กิจการคาทอลิกเป็นส่วนหนึ่งโดยแท้ของงานที่ท่านบริหารฝ่ายสัตบุรุษก็ต้องถือว่า กิจการคาทอลิกเป็นหน้าที่ของชีวิตคริสตชนคาทอลิก” (พระสันตะปาป่าปีโอ ที่ 11)
6. งานของพลมารีย์ส่งผลเป็นอุดมการณ์และกิจกรรมที่เข้มข้น
งานของพระศาสนจักรนั้น ถ้ามัวแต่ระมัดระวังป้องกันสัจธรรมอย่างกวดขันเท่านั้น ย่อมจะมีแต่ทางเสียเปรียบ ถ้าเยาวชนเกิดติดนิสัยอยู่กับทางโลกล้วน ๆ หรือไม่ถือศาสนาเป็นอุดมการณ์ ซึ่งเป็นการเรียกร้องตามธรรมชาติก็จะเป็นปัญหาอันตรายสำหรับอนุชนรุ่นหลังที่จะต้องชดใช้
ในเรื่องนี้พลมารีย์ก็ช่วยได้ ด้วยการวางแผนทำงานด้วยความพยายามและเสียสละชนิดที่สามารถจะจำคำสองคำ คือ “อุดมคติ” กับ “ปฏิบัติการ” มาเป็นเสมือนผู้ถือสาส์นนำทางให้กับพระศาสนจักร
ท่านเลกกี นักประวัติศาสตร์ ได้กล่าวไว้ว่า อุดมคติครองโลก ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ผู้ที่มีอุดมคติสูงย่อมเป็นผู้ยกฐานะของมนุษย์ให้สูงได้ ทั้งนี้
หน้า 89 บทที่ 10 คณะพลมารีย์ กับ การเผยแผ่ธรรม
ต้องเข้าใจว่า อุดมคตินั้นจะต้องอยู่ในหลักปฏิบัติได้ และดีพอที่จะเป็นข้อเท็จจริงที่สามารถสร้างความสำคัญให้คนปรารถนาจะปฏิบัติตาม ด้วยเหตุนี้อาจจะกล่าวได้ว่าอุดมคติของงานพลมารีย์นั้น สอดคล้องกับคุณลักษณะทั้งสองประการดังกล่าว
ที่สำคัญนั้น งานของพลมารีย์ทำให้สมาชิกได้รับพระพร สมาชิกหรือลูกหลานของพวกเขามีกระแสเรียกเป็นพระสงฆ์และนักบวชจำนวนมาก
แต่อาจมีคำแย้งว่า ในท่ามกลางความเห็นแก่ตัวอันมีอยู่ดาษดื่นเห็นจะไม่มีใครอาสาแบกภารกิจเป็นสมาชิกพลมารีย์ คิดเช่นนี้ผิดคนเป็นอันมากที่สนองคำเรียกร้องเข้ามาทำงานที่ไม่เป็นกิจลักษณะนั้น จะเลิกล้มไปเองอย่างไม่เหลือร่องรอยไว้เลย ส่วนคนจำนวนน้อยที่เข้ามาเพื่อบุกบั่นทำงานอย่างจริงจังนั้นจะมั่นคงอยู่ จิตตารมณ์ของพวกหลังนี้จะค่อย ๆ แผ่ไปถึงคนอื่นจำนวนมาก
พลมารีย์เปรสิเดียมเดียวก็สามารถเป็นเครื่องมือทรงพลัง เพื่อช่วยพระสงฆ์ชักชวนฆราวาสให้มาร่วมมือกันประกาศข่าวดี แก่ผู้ที่อยู่ในความรับผิดชอบของทางวัด ดังนี้แหละชั่วโมงครึ่งต่อสัปดาห์ซึ่งประชุมกัน ชี้แจงแนะนำให้กำลังใจและอบรมทางวิญญาณให้แก่สมาชิก จะทำให้พระสงฆ์ได้อยู่ในทุกแห่ง รับฟังทุกสิ่ง มีอิทธิพลเหนือทุกคนและสามารถทำงานแพร่ธรรมได้มากมายเกินกว่าลำพังตัวท่านเองจะทำได้สำเร็จ ที่จริง ยิ่งอำนวยการหลายเปรสิเดียม ก็ยิ่งได้ประโยชน์ตามใจร้อนรนของพระสงฆ์
ดังนั้น เมื่อมีพลมารีย์เป็นเครื่องมือ (แม้จะเป็นเครื่องมือต่ำต้อยดั่งไม้เท้า ย่าม สาแหรกเหวี่ยง ก้อนหินของดาวิด แต่โดยอาศัยพระนางมารีย์บันดาลให้เป็นเครื่องมือวิเศษ) จะทำให้พระสงฆ์สามารถเป็นดาวิดอีกองค์หนึ่งตั้งหน้ามุ่งมั่นเอาชนะยักษ์โคเลียธ อันได้แก่มิจฉาทิฐิและบาป
หน้า 90 บทที่ 10 คณะพลมารีย์ กับ การเผยแผ่ธรรม
“อำนาจทางธรรมต่างหาก ไม่ใช่ทางวัตถุ ที่จะพิสูจน์ให้โลกเห็นงานการของท่านและนำชัยมาสู่ท่าน ไม่ใช่ว่าเป็นยักษ์จึงทำอะไร ๆ ก็ได้มากที่สุด ดูแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ (ปาเลสไตน์) ชิเล็กเท่าไร ถึงกระนั้นก็ยังชนะประชากรชาวโลกได้ อัตติกา (กรุงเอเธนส์) เป็นถิ่นเล็กนิดเดียว แต่ก็เป็นสำนักกลางของนักปราชญ์
โมเสสเพียงคนเดียว เอลียาห์ ดาวิด นักบุญเปาโล นักบุญอาธานาส นักบุญเลโอ เหล่านี้ก็เพียงคนเดียวเท่านั้น พระหรรษทานล้วนแสดงผลอาศัยบุคคลไม่กี่คนเสมอ สายตาอันแหลมคม ความแน่ใจอันไม่รู้จักคลอนแคลน ความปักใจอันแน่วแน่ของคนจำนวนน้อย โลหิตของมรณสักขี วาจาหรือการมองอย่างเอาการเอางาน คำภาวนาของนักบุญ กิจกรรมขั้นวีรกรรม วิกฤดิการณ์ชั่วระยะหนึ่ง คำพูดที่เต็มไปด้วยพลัง สิ่งเหล่านี้แหละที่เป็นเครื่องมือของสวรรค์ อย่ากลัว ฝูงแกะน้อยเอ๋ย พระองค์ซึ่งประทับอยู่ในท่ามกลางพวกท่าน ทรงสรรพานุภาพ จักทรงกระทำกิจใหญ่หลวงเพื่อท่าน” (พระคาร์ดินัล นิวแมน)
7. การอบรมแบบวิธี ครูกับนักเรียนฝึกงาน
ความคิดเห็นที่ว่าการอบรมผู้แพร่ธรรม ด้วยการฟังปาฐกถาและศึกษาตำรานั้น เป็นเรื่องธรรมดาทั่วไป แต่คณะพลมารีย์เชื่อว่าการอบรมแบบนั้นไม่ได้ผล ถ้าไม่มีการปฏิบัติควบคู่กันไป การที่จะพูดถึงงานแพร่ธรรมโดยมิได้ผนวกงานที่ต้องปฏิบัติเข้าด้วยแล้ว ผลที่ได้รับจะตรงข้ามกับที่หมายไว้คงจะเป็นที่ยอมรับว่าการอธิบายวิธีทำงานการใด ๆ ก็ตาม จำจะต้องอธิบายถึงความยากในการปฏิบัติ ตลอดจนแนะจิตตารมณ์และวิธีทำอย่างมีคุณภาพด้วย การที่จะบอกกล่าวเช่นนี้กับผู้ที่เราชักชวนให้เข้ากลุ่ม แต่ไม่ได้แสดงวิธีปฏิบัติให้เห็นว่าเป็นงานที่เขาทำได้และง่ายด้วย สมาชิกก็จะเสียขวัญและหมดกำลังใจที่จะรับงานนั้น
ยิ่งกว่านั้นระบบปาฐกถานั้นสร้างนักทฤษฎี และคนที่คิดจะพาให้โลกกลับใจอาศัยแรงปัญญาอย่างเดียว เขาเหล่านี้จะไม่สมัครใจทำงานที่
หน้า 91 บทที่ 10 คณะพลมารีย์ กับ การเผยแผ่ธรรม
ต่ำต้อยตลอดจนงานที่ยากลำบาก ที่จะต้องติดตามและติดต่อกับคนแต่ละคนๆ ซึ่งเป็นงานพื้นฐานที่จำเป็นที่จะทำงานอื่น ๆ ต่อไป และงานเช่นนี้แหละเป็นงานที่พลมารีย์สมัครใจทำอยู่ทุกวันนี้
วิธีการอบรมพลมารีย์ ใช้วิธีการแบบครูกับนักเรียนผู้ฝึก แบบนี้เป็นวิธีการดีที่สุดในการฝึกวิชาชีพและงานฝีมือ ได้ผลอย่างไม่ผิดพลาดเลย แทนที่จะพร่ำสอนบอกกล่าว ครูจะเอางานที่จะให้ทำมาวางให้ดูต่อหน้า และจะชี้แนะสอนกับตัวอย่างที่เห็นได้ ให้รู้ถึงวิธีทำตรงไหนควรทำอย่างไร สอนไปทำให้ดูไปด้วย เสร็จแล้วจึงให้นักเรียนทดลองทำ โดยมีครูคอยติชมอยู่ตลอดเวลา วิธีนี้ไม่ช้าไม่นานก็จะได้ช่างฝีมือที่มีความสามารถ
การบรรยายทั้งหมด ควรจะเป็นเรื่องของงานที่ต้องทำ ทุกคำพูดจะต้องต่อเนื่องกับการกระทำ หากไม่ทำเช่นนี้ ผลที่ได้รับจะไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วยหรือไม่ก็จะจำกันไม่ได้ น่าประหลาดใจ การสอนแบบปาฐกถานั้น แม้นักศึกษาที่ฟังอยู่ตลอดเวลาก็ยังจำอะไรได้น้อย
ข้อควรคำนึงอีกประการคือ ถ้าหาสมาชิกเข้ากลุ่มแพร่ธรรมด้วยการอบรมชักชวนแบบปาฐกถานั้นคงจะหาได้ยาก น้อยคนจะสมัคร คนโดยมากนั้นเมื่อพ้นเกณฑ์เรียนในโรงเรียน ต่างก็คงเบื่อที่จะกลับเป็นนักเรียนอีก ยิ่งคนที่ไม่ใช่พวกมีความรู้สูง ๆ ยิ่งกลัวจะถูกเกณฑ์เข้าห้องเรียน แม้ว่าห้องเรียนนั้นจะเป็นห้องเรียนศักดิ์สิทธิ์ก็ตามที ด้วยเหตุนี้ระบบการศึกษาแพร่ธรรมจึงไม่สามารถดึงดูดใจคนได้แพร่หลาย
เรื่องของพลมารีย์นั้นเป็นระบบง่าย ๆ หนักไปในทางจิตวิทยามากกว่า สมาชิกพลมารีย์บอกเล่าให้คนอื่นฟังว่า “มาทำงานกับฉันซี” มาแล้วก็ไม่มีการเข้าห้องเรียนอบรม แต่มีงานให้ทำ เป็นงานที่มีคนเคยทำด้วยกันมาแล้วทั้งนั้น คนที่จะมาเป็นสมาชิกต่างก็ทราบว่า งานที่ทำนั้นไม่เกินความสามารถ
หน้า 92 บทที่ 10 คณะพลมารีย์ กับ การเผยแผ่ธรรม
ของตนและจะยินดีเข้าร่วมคณะด้วย
หลังจากที่เป็นพลมารีย์แล้ว ต่างก็จะรู้ว่าคนนั้นทำงานได้ เพราะได้ฟังคนอื่นทำเช่นกัน และยังได้ฟังรายงานของเพื่อนพลมารีย์ พร้อมกับคำชี้แจงแนะวิธีทำงานอย่างไรจะได้ผลดีที่สุด มิช้าตนเองก็จะจัดเจนในงานนั้น
“บางครั้งคณะพลมารีย์ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าสมาชิกล้วนขาดความรู้ ความชำนาญเฉพาะกิจ หรือมิฉะนั้นก็ตำหนิว่าคณะไม่เน้นให้สมาชิกใช้เวลาศึกษานาน ๆ ขอชี้แจงว่า
ก) คณะใช้สมาชิกที่มีความสามารถมากกว่าให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นอย่างมีระเบียบ
ข) ขณะที่ช่วยเลี่ยงความกดดันอย่างหนักในการศึกษา คณะพยายามด้วยความเหมาะสมที่จะให้สมาชิกทำงานแพร่ธรรมตามคุณลักษณะเฉพาะของแต่ละคน
ค) จุดประสงค์หลักก็เพื่อสร้างกรอบการทำงานในลักษณะที่คณะจะกล่าวกับคริสตชนคาทอลิกธรรมดาๆ ว่า
จงนำความสามารถพิเศษอันน้อยนิดของท่านมาเถอะ เราจะสอนให้ท่านพัฒนาและโดยอาศัยพระนางมารีย์ จงใช้ความสามารถน้อยนิดนั้นทำงานเพื่อพระสิริรุ่งโรจน์ของพระเจ้า
จงอย่าลืมว่าคณะพลมารีย์ตั้งขึ้นเพื่อคนต่ำต้อยและคนอับโชค พอๆ กับเพื่อผู้คงแก่เรียนและผู้ทรงอำนาจ” (คุณพ่อ Thomas P.O’ Flynn, C.M. อดีตจิตตาธิการคอนชิเลียม)
หน้า 93 บทที่ 11 โครงการของคณะพลมารีย์
บทที่ 11
โครงการของคณะพลมารีย์
1. การทำตัวให้เป็นคนศักดิ์สิทธิ์ – จุดมุ่งหมายและวิธีการ
วิธีการสำคัญทั่วไป ที่คณะพลมารีย์นำออกมาใช้เพื่อให้สำเร็จผลตามความมุ่งหมาย คือการอุทิศตนเองภายใต้การนำของพระจิตเจ้า โดยมีพระหรรษทานเป็นหลักคอยประคับประคอง มีพระสิริรุ่งโรจน์ของพระเป็นเจ้าและความรอดของวิญญาณเป็นจุดมุ่งหมายปลายทางและวัตถุประสงค์
การทำตัวให้เป็นคนศักดิ์สิทธิ์ ไม่ใช่จุดมุ่งหมายของคณะพลมารีย์เท่านั้น แต่ยังเป็นปัจจัยแรกในการปฏิบัติงานของคณะ “เราเป็นเถาองุ่น ท่านทั้งหลายเป็นกิ่งก้าน ผู้ที่ดำรงอยู่ในเราและเราดำรงอยู่ในเขา ก็ย่อมเกิดผลมาก เพราะถ้าไม่มีเรา ท่านก็ทำอะไรไม่ได้เลย” (ยน 15:5)
“สภาสังคายนาแห่งนี้ขอแถลงไขพระธรรมล้ำลึกเกี่ยวกับพระศาสนจักรอย่างชัดเจนดังนี้ เป็นข้อความเชื่อที่ว่า พระศาสนจักรนั้นศักดิ์สิทธิ์ตลอดกาล ทั้งนี้ก็เพราะว่าพระคริสตเจ้า องค์พระบุตร พร้อมกับพระบิดาและพระจิต “ศักดิ์สิทธิ์เพียงผู้เดียว” สมตามพระเกียรติศักดิ์ พระคริสตเจ้าทรงรักพระศาสนจักรปานประหนึ่งเจ้าสาวจนถึงกับทรงยอมพลีพระชนม์เพื่อพระศาสนจักรจะได้ศักดิ์สิทธิ์ (อฟ 5:25-26) พระองค์ยังทรงรับพระศาสนุจักรเข้าร่วมเป็นพระวรกายและประทานพระพรของพระจิตเจ้าให้เพื่อเป็นการเทิดพระสิริรุ่งโรจน์ เพราะฉะนั้น ทุกคนในพระศาสนจักร จะเป็นสมาชิกพระฐานานุกรมก็ดี หรืออยู่ภายใต้การปกครองของพระฐานานุกรมก็ดี ควรจะทำตนให้เป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ตรงตามคำของอัครสาวกที่ว่า “พระประสงค์ของพระเจ้าคือให้ท่านเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์” (1 ธส 4:3 เทียบ อฟ 1:4)
หน้า 94 บทที่ 11 โครงการของคณะพลมารีย์
ความศักดิ์สิทธิ์ของพระศาสนจักรนี้สังเกตเห็นได้ครั้งแล้วครั้งเล่าจากพลานุผลของพระหรรษทานที่พระจิตเจ้าทรงดลบันดาลให้เกิดขึ้นในวิญญาณของสัตบุรุษ ทั้งนี้จะเป็นอื่นไปไม่ได้ ความศักดิ์สิทธิ์ของพระศาสนจักรแสดงออกในรูปแบบแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับว่าบุคคลที่พยายามมุ่งสู่ความรักอันครบครันเหล่านั้น มีรากฐานเช่นไรในสังคม ปรากฎการณ์ดังกล่าวส่งเสริมให้ผู้คนก้าวหน้าในความศักดิ์สิทธิ์ ความศักดิ์สิทธิ์ของพระศาสนจักรยังปรากฎให้เห็นในรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ กล่าวคือการดำรงชีวิตที่นิยมเรียกกันว่า “ตามคำแนะนำของพระวรสาร” พระจิตเจ้าเองทรงเป็นผู้ดลใจให้ผู้คนหันมาดำเนินชีวิตตามคำแนะนำนี้ คริสตชนคาทอลิกจำนวนไม่น้อยพากันดำเนินชีวิตดังกล่าว บ้างก็เป็นการส่วนตัว บ้างก็ดำเนินในกรอบหรือสถานะที่พระศาสนจักรอนุมัติรับรอง การดำเนินชีวิตตามคำแนะนำของพระวรสารของคริสตชนคาทอลิกเป็นและเหมาะสมที่จะเป็นข้อยืนยันและตัวอย่างเด่นชัดของความศักดิ์สิทธิ์ของพระศาสนจักร” (ธรรมนูญเรื่องพระศาสนจักร ข้อ 39)
2. เป็นระบบที่มีระเบียบเคร่งครัด
ทรัพยากรอันมีพลังธรรมชาติมหาศาลจะสูญเปล่า ถ้าไม่มีการควบคุมเช่นเดียวกันความกระตือรือร้นที่ไม่เป็นระเบียบ ความลุกร้อนที่ไม่มีแนวมุ่งมั่นจะไม่มีทางให้บังเกิดผลยิ่งใหญ่ ทั้งภายในหรือภายนอกและมักจะไม่ยั่งยืน
คณะพลมารีย์สำนึกในความสำคัญดังกล่าว จึงได้วางระเบียบปฏิบัติให้สมาชิกมีแผนชีวิตเพื่อดำเนินตามมากกว่าให้มุ่งทำงานเป็นสำคัญ คณะพลมารีย์จึงได้วางระเบียบแบบแผนที่เคร่งครัด ผิดกับระบบอื่นที่เพียงแต่แนะนำหรือปล่อยให้เป็นที่เข้าใจกันเอง และของพลมารีย์ยังมีรายละเอียดให้ปฏิบัติอย่างเคร่งครัดด้วย ให้ผลตอบแทนที่แน่นอนคือ วิริยภาพและความเจริญก้าวหน้าในด้านคุณความดีนานาชนิด ล้วนเป็นรากฐานที่ตั้งของตัวระบบเอง ซึ่งเป็นความดีครบครันแบบคริสตชนคาทอลิก อันได้แก่
หน้า 95 บทที่ 11 โครงการของคณะพลมารีย์
ความเชื่อ ความรักต่อพระนางมารีย์ ความไม่ขลาดกลัว การเสียสละเพื่อผู้อื่น ภราดรภาพ การหมั่นสวดภาวนา สุขุมรอบคอบ ความเพียร เชื่อฟัง สุภาพถ่อมตน ร่าเริง และจิตตารมณ์แพร่ธรรม
“ความเจริญงอกงามของกิจการมราวาสแพร่ธรรม นับว่าเป็นปรากฏการณ์พิเศษชนิดหนึ่งในสมัยปัจจุบันนี้ เพียงแต่จำนวนสมาชิกผู้ปฏิบัติงานเท่านั้น ก็เป็นกำลังอันมหันต์ขององค์การนี้แล้ว แต่รู้สึกว่าการตระเตรียมบุคคลเพื่อองค์การนี้ยังบกพร่องอยู่ เมื่อเราพิจารณาดูคณะนักบวชจำนวนมาก ซึ่งได้ตั้งขึ้นอย่างเหมาะสมยิ่งสำหรับบรรดาผู้สามารถสละโลกได้ แล้วเมื่อหันมาพิจารณารูปร่างขององค์กรซึ่งคิดว่าดีพอแล้วสำหรับบุคคลที่ยังอยู่กับโลก เราจะเห็นว่าแตกต่างกันราวฟ้ากับดินทีเดียว ฝ่ายหนึ่งพยายามอย่างสุขุมละเอียดลออ เพื่อให้ได้ผลเลิศที่สุดจากสมาชิกแต่ละคน อีกฝ่ายหนึ่งการตระเตรียมบุคคลนั้นกระทำกันอย่างง่าย ๆ และผิวเผินเหลือเกิน
จริงอยู่ระบบนั้นเรียกร้องให้สมาชิกเสียสละบ้าง แต่สำหรับสมาชิกส่วนใหญ่แล้วมีก็แต่ปฏิบัติกิจในรอบสัปดาห์หนึ่ง ๆ เท่านั้น และระบบเองไม่พยายามสั่งอะไรให้มากกว่านั้นได้อีก จำเป็นต้องระลึกว่าตนมีหน้าที่สูงส่งกว่านั้น จะไม่ให้ระบบเป็นประดุจไม้ค้ำจุนสมาชิกระหว่างที่บุญยาตราอยู่ในโลกนี้ เป็นเสมือนกระดูกสันหลังสำหรับให้วิญญาณยืนหยัดอยู่ได้จนตลอดชีวิตเช่นนั้นหรือ
ไม่ต้องสงสัยเลย คณะนักบวชจำต้องเป็นเสมือนแบบแผนสำหรับมราวาสผู้ปฏิบัติงานร่วมกัน จึงพอจะอนุโลมได้ว่า คุณภาพของานที่จะกระทำนั้นจะดีเท่าไรก็แล้วแต่ว่าได้กระทำไปตามวิธีการของนักบวชมากน้อยสักเพียงไร แต่ปัญหามีอยู่ว่าเราจะยึดถืออะไรเป็นเกณฑ์เกี่ยวกับความเคร่งครัดของระเบียบวินัย (ขององค์กรฆราวาส) นั้น ทั้งนี้เพราะว่าระเบียบวินัยนั้น แม้เป็นสิ่งที่พึงประสงค์ เพื่อประสิทธิภาพของการงานก็จริงอยู่ แต่ก็น่ากลัวว่าหากปล่อยให้เคร่งครัดเลยเถิดไปแล้วจะเกิดผลร้าย คือทำให้ใครๆ พากันขยาดไม่กล้าสมัครเข้าเป็นสมาชิก พึงสำเหนียกไว้เสมอว่า ที่เรากำลังพูดถึงนี้
หน้า 96 บทที่ 11 โครงการของคณะพลมารีย์
คือองค์กรมราวาสที่ถาวร มิใช่นักบวชใหม่คณะหนึ่งหรือองค์กรที่จะกลายเป็นคณะนักบวชในตอนหลังดังที่มีตัวอย่างพรั่งพราวอยู่ในประวัติศาสตร์
จุดหมายเป็นอย่างนี้ มิใช่อย่างอื่นคือ ชักนำบุคคลให้มาเข้าองค์กรอันทรงประสิทธิภาพ ทั้ง ๆ ที่ยังดำเนินชีวิตเป็นฆราวาสอย่างที่เราท่านรู้กันอยู่ใครเคยมีรสนิยมทางใดและประกอบกิจธุระใดนอกเหนือไปจากที่เกี่ยวกับพระศาสนาแท้ ๆ ก็ยอมให้ดำเนินต่อไปได้ วินัยที่ตราขึ้นไม่ควรให้เกินขนาดที่คนส่วนมาก ซึ่งองค์กรมุ่งหมายจะทำประโยชน์ให้จะปฏิบัติได้ แต่ไม่ควรหย่อนกว่านั้น” (คุณพ่อไมเกิ้ล ครีดอน จิตตาธิการองค์แรกของคอนชิเลียม)
3. ความครบครันของสมาชิกภาพ
คณะพลมารีย์ถือว่าความครบครันของสมาชิกภาพ เป็นไปตามขนาดที่สมาชิกผู้นั้นภักดีต่อระบบของคณะ มิใช่ตามความพอใจ หรือตามขนาดของความสำเร็จภายนอก ซึ่งตอบสนองความพยายามของเขา
สมาชิกจะเป็นสมาชิกดีเพียงไร ต้องแล้วแต่ว่าเขาจะนอบน้อมต่อระบบของคณะเพียงไรเท่านั้น จิตตาธิการและประธานเปรสิเดียม จะต้องพยายามให้สมาชิกคำนึงถึงความจริงข้อนี้อยู่ในใจเสมอ เช่นนี้จะทำให้เกิดอุดมคติซึ่งเข้าถึงได้ (ซึ่งความสำเร็จและความพอใจในผลงานไม่สามารถบรรลุถึงได้) และเป็นวิธีเดียวเท่านั้นที่แก้ปัญหาเรื่องเบื่อความซ้ำชาก ปัญหาเรื่องงานน่ารังเกียจ เรื่องความล้มเหลวที่คิดเองหรือที่ล้มเหลวจริงก็ตามทีมิฉะนั้นแล้วการเริ่มงานแพร่ธรรม ซึ่งมีทีท่าว่าจะได้ผลดี ก็จะต้องจบสิ้นอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้
“พึงสังเกตว่า การรับใช้ในคณะของพระแม่มารีย์ ไม่ได้วัดความดีกันตามขนาดความสำคัญของตำแหน่งที่เราครองอยู่ แต่ตามขนาดของจิตตารมณ์เหนือธรรมชาติและความลุกร้อนเพื่อพระแม่มารีย์ ที่ชาวเราอุทิศตนสำหรับหน้าที่ ซึ่งเรารับมอบหมาย
หน้า 97 บทที่ 11 โครงการของคณะพลมารีย์
ไว้ด้วยความนอบน้อมเชื่อฟัง ไม่ว่างานนั้นจะต่ำต้อยเพียงใด ไม่ว่าจะช่อนเร้นเพียงไหนก็ตาม” (Petit Traite de Mariologie : Marianiste)
4. ข้อผูกพันสำคัญประการแรก
หน้าที่สำคัญที่สุดเป็นอันดับแรก ที่คณะพลมารีย์วางไว้เป็นหน้าที่ถือปฏิบัติของสมาชิกแต่ละคน คือการร่วมประชุมตามระเบียบ กระจกรวมแสงมีความสำคัญต่อแสงอาทิตย์ฉันใด การประชุมก็มีความสำคัญต่อสมาชิกฉันนั้น จุดรวมแสงรวมความร้อนเข้าด้วยกัน ทำให้ทุกสิ่งที่อยู่ใกล้ลุกเป็นไฟ การประชุมนี่แหละเป็นที่รวมของสมาชิกให้เป็นคณะพลมารีย์ การตัดความสัมพันธ์นี้เสีย หรือไม่เห็นความสำคัญแล้ว สมาชิกก็จะค่อยๆร่อยหรอ งานของคณะก็จะล้มเหลว ตรงกันข้ามยิ่งให้ความเคารพต่อการประชุมมากเท่าใด พลังของคณะก็ยิ่งเข้มแข็งขึ้นเท่านั้น
ข้อความต่อไปนี้ เขียนขึ้นในปีแรก ๆ ที่ตั้งคณะพลมารีย์ แสดงให้เห็นเรื่องราวของคณะในสมัยนั้นที่ไม่ต่างกับสมัยนี้ ให้เห็นถึงความสำคัญของการประชุมที่ยังไม่เปลี่ยนแปลง คงเป็นจุดรวมความสำคัญของคณะมาโดยตลอด “สำหรับคนในคณะ จะดีเด่นสักเพียงไรไม่สำคัญ ต่างพอใจที่จะทำตัวประดุจฟันเฟือง คือยอมขึ้นกับตัวเครื่องจักร อันได้แก่ทุกคนที่รวมกันเป็นคณะ ถ้าไม่ได้รวมตัวกันดังกล่าว ปัจเจกชนแต่ละคนจะอยู่ว่างเปล่าไร้ประโยชน์ แต่ถ้ารวมกันแล้ว แต่ละคนจะไม่ได้ทำงานตามกำลังอันน้อยของตน แต่ทำตามความลุกร้อนและพลังความยอดเยี่ยมของแต่ละคน ซึ่งเปรียบได้กับถ่านดิบกับถ่านที่ลุกโชนอยู่กลางเตาใหญ่ เป็นอุปมาเห็นชัดฉันใดก็ฉันนั้น
“เมื่อนั้นแล้วคณะจะมีความพิเศษของตัวเอง ผิดจากความเป็นมาของแต่ละคนที่รวมเป็นคณะ และคุณลักษณะพิเศษนี่แหละที่เปรียบเสมือน
หน้า 98 บทที่ 11 โครงการของคณะพลมารีย์
แม่เหล็กดึงดูดสมาชิกยิ่งกว่าผลงานที่งดงามหรือเร่งด่วน คณะก่อให้เกิดประเพณีอันดีงาม ความจงรักภักดี ความเคารพนับถือ และการเชื่อฟัง และสามารถทำให้สมาชิกมีความคิดเห็นที่ดีงาม ล่องสนทนากับสมาชิกสักคนและท่านจะเห็นว่าเขาวางใจในคณะ ดังเช่นวางใจในมารดาผู้ชาญฉลาด ซึ่ง
เป็นการถูกต้อง
“ความวางใจเช่นนี้ไม่ใช่หรือ ที่ช่วยสมาชิกไม่ตกหลุมพราง ไม่ลุกร้อนโดยปราศจากความรอบคอบ ไม่ท้อถอยเมื่อผิดหวัง ไม่ยโสเมื่อประสบความสำเร็จ ไม่เกิดความลังเลในความคิดเมื่อขาดการสนับสนุน ไม่ขลาดเมื่ออยู่ตามลำพัง และกล่าวโดยทั่วไป ไม่ให้ตกบ่อทรายดูด เหมือนผู้ไร้ความชำนาญ คณะรับเจตนาดีซึ่งเปรียบดังวัตถุดิบมาอบรมตามแผนการให้ออกไปทำงาน แผ่ขยายได้ผลต่อเนื่องไม่หยุดยั้ง” (คุณพ่อไมเกิ้ล ครีดอน จิตตาธิการองค์แรกของคอนชิเลียม)
“เมื่อพิเคราะห์คณะของพระแม่มารีย์เท่าที่เกี่ยวพันกับชาวเราผู้เป็นสมาชิก จะเห็นว่าคณะนี้เป็นการซยาย เป็นการแสดงประจักษ์ตาให้เห็นพระนางมารีย์ พระแม่เจ้าเบื้องบนสวรรค์ของชาวเรา พระนางกรุณารับเราเข้าไว้ในคณะ ประดุจรับเราไว้ในอกที่รักปรานีประสาแม่ของพระนาง เพื่อหลอมหล่อเราเข้าพิมพ์เดียวกับพระเยซูเจ้า ทำให้เราได้เป็นลูกที่มีสิทธิพิเศษ แล้วมอบงานแพร่ธรรมให้เป็นงานของเรา และดังนี้แหละโปรดให้เราได้รับส่วนในหน้าที่ของพระนาง คือผู้ร่วมไถ่วิญญาณ สำหรับชาวเรามูลเหตุซึ่งเป็นผลประโยชน์ของคณะก็คือ มูลเหตุซึ่งเป็นผลประโยชน์ของพระนางมารีย์นั่นเอง” (Petit Traite de Mariologie : Marianiste)
หน้า 99 บทที่ 11 โครงการของคณะพลมารีย์
5. การประชุมเปรสิเดียมประจำสัปดาห์
เปรสิเดียมจัดให้มีการประชุมประจำสัปดาห์ ท่ามกลางบรรยากาศที่เหนือธรรมชาติ เพราะความไพบูลย์แห่งการภาวนา แรงความศรัทธาที่ปฏิบัติและด้วยจิตตารมณ์แห่งความเป็นพี่เป็นน้อง พลมารีย์แต่ละคนได้รับมอบหมายงานและแต่ละคนรายงานกิจที่ตนได้ปฏิบัติ
การประชุมประจำสัปดาห์เป็นหัวใจของพลมารีย์ ซึ่งฉีดโลหิตเลี้ยงชีวิตไหลสู่เส้นเลือดน้อยใหญ่ทุกเส้น เป็นประดุจโรงไฟฟ้าที่ให้เกิดแสงสว่างและพลังงาน เป็นประหนึ่งท้องพระคลัง จ่ายแจกทรัพย์ให้พอใช้เป็นการสันนิบาตอันยิ่งใหญ่ ซึ่งมีพระเป็นเจ้าประทับเป็นประธานอยู่ตามสัญญาแต่ไม่ประจักษ์ในสายตา เป็นที่ซึ่งประทานพระหรรษทานพิเศษ เจาะจงให้งานแต่ละชิ้นที่รับมอบ และเป็นที่ซึ่งสมาชิกต่างอิ่มเอมด้วยจิตตารมณ์ของวินัยนักบวช ที่ปรารถนาจะให้เป็นที่พอพระทัยพระเป็นเจ้าก่อนอื่นใด และเพื่อให้ตนเป็นคนศักดิ์สิทธิ์ เสร็จแล้วจึงหันมาใส่ใจในตัวองค์กรของคณะซึ่งได้สถาปนาขึ้นให้เหมาะสมที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว แล้วจึงดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งตัวเองจะชอบหรือไม่ชอบไม่สำคัญเสียแล้ว
ฉะนั้นสมาชิกพลมารีย์จำต้องถือว่า การเข้าประชุมเปรสิเดียมประจำสัปดาห์ เป็นหน้าที่แรกและศักดิ์สิทธิ์ยิ่งของตน ไม่สามารถจะใช้อะไรอื่นมาทดแทนได้ หากขาดการประชุมสียแล้ว งานของพลมารีย์จะไม่เป็นผล และในไม่ช้านักจะติดตามมาด้วยตัวสมาชิกเองหลบลี้หนีจากคณะ
“สำหรับบรรดาผู้ที่ไม่ได้เดินไปพร้อมกับพระนางมารีย์ เราขอยืมวาทะของนักบุญออกัสตินมากล่าวดังนี้ว่า “ท่านน่ะวิ่งเก่งดอก แต่วิ่งออกนอกลู่นอกทาง แล้วท่านจะไปถึงอะไรในบั้นปลาย” (Petitalot)
หน้า 100 บทที่ 12 จุดประสงค์ภายนอกของคณะพลมารีย์
บทที่ 12
จุดประสงค์ภายนอกของคณะพลมารีย์
1. งานสำคัญที่อยู่ใกล้มือ
คณะพลมารีย์ไม่ได้มุ่งปฏิบัติงานอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นพิเศษ แต่มีงานสำคัญอย่างยิ่งประการแรกที่ถือปฏิบัติคือ ทำให้สมาชิกเป็นคนศักดิ์สิทธิ์เพื่อให้เป็นไปตามนี้ ข้อแรกขึ้นอยู่กับตัวสมาชิกเองที่จะเข้าประชุมต่างๆ ของคณะด้วยความศรัทธา และการภาวนาในที่ประชุม ซึ่งจะผูกและสานเป็นแนวเดียวกันในกิจกรรมทุกอย่างของสมาชิก
กระนั้นก็ดี คณะพลมารีย์เลือกใช้วิธีเฉพาะ เพื่อกล่อมเกลาความศักดิ์สิทธิ์ให้เข้าลักษณะการแพร่ธรรม ใส่ไฟให้ลุกโชนจนตัวเองต้องกระจายความร้อนนั้นออกไป การแพร่ความร้อนนี้ ไม่ใช่เพียงแต่เป็นการใช้พลังที่พัฒนาแล้ว แต่ (อาศัยปฏิกิริยาชนิดหนึ่ง) เป็นวิธีการที่จำเป็นของการพัฒนาพลังนั้น เพราะจิตตารมณ์แพร่ธรรมจะพัฒนาได้ก็ด้วยการแพร่ธรรม
ด้วยเหตุนี้ คณะพลมารีย์จึงมอบพันธะให้สมาชิกแต่ละคน ให้ทำงานตามแต่เปรสิเดียมจะกำหนดทุกสัปดาห์ โดยถือว่าเป็นข้อกำหนดที่จำเป็นและสำคัญประการแรก การรับมอบงานในที่ประชุมเป็นการแสดงการเชื่อฟังต่อที่ประชุม เปรสิเดียมสามารถอนุมัติงานใดก็ได้ที่เห็นว่าเหมาะสมให้เป็นงานประจำสัปดาห์ให้สมาชิกทำ นอกจากจะมีการยกเว้นบางประการซึ่งจะอธิบายภายหลัง
ในทางปฏิบัติ คณะต้องมีแนวทางและความมุ่งหมายให้สมาชิกทำงานที่มีความจำเป็นเหมาะสมกับความต้องการในขณะที่มอบงาน และในความจำเป็นต่างๆ นั้น จะต้องมุ่งให้ทำงานที่จำเป็นเร่งด่วนที่สุดก่อน
หน้า 101 บทที่ 12 จุดประสงค์ภายนอกของคณะพลมารีย์
เพราะความร้อนรนในการปฏิบัติที่คณะมุ่งจะก่อให้ประทุในใจพลมารีย์นั้นจะเป็นผลได้ก็ต่อเมื่องานที่ให้ทำนั้นมีความหมายคู่ควรที่จะให้สมาชิกทำงานไร้สาระเล็ก ๆ น้อย ๆ จะเป็นผลร้ายต่อความร้อนรนที่จะทำงาน ใจที่พร้อมจะช่วยวิญญาณ ที่จะสนองความรักของพระคริสตเจ้า ความพยายามและพลีกรรมเพื่อพระมหาทรมาน และการสิ้นพระชนม์ของพระองค์ ล้วนจะมาลงเอยที่ความท้อถอยและเย็นเฉยหมดความกระตือรือร้น
“ซุบสร้างข้าพเจ้าใหม่ มิใช่ง่ายเหมือนเมื่อทรงสร้างข้าพเจ้ามา พระองค์ตรัสแล้วสรรพสิ่งก็เป็นอันสำเร็จขึ้นมา เมื่อทรงสร้างข้าพเจ้านั้นง่ายและสำเร็จฉับพลันด้วยอาศัยพระวาจาเดียว แต่เมื่อทรงไถ่กู้ข้าพเจ้าสิ ต้องตรัสหลายครั้ง ทำมหัศจรรย์หลายหน ทั้งยังต้องทนทรมานมากด้วย” (นักบุญเบอร์นาร์ด)
2. จุดมุ่งหมายที่กว้างไกลและสำคัญยิ่งขึ้นคือเป็นเชื้อฟูให้ชุมชน
แม้ว่างานที่กำลังทำอยู่จะสำคัญ แต่คณะพลมารีย์ก็มิได้ยกให้เป็นจุดมุ่งหมายสุดยอดแห่งการเผยแผ่ธรรม งานของพลมารีย์อาจจะใช้เวลาสองหรือสามชั่วโมง หรืออาจจะมากในสัปดาห์ก็จริง แต่คณะพลมารีย์มองลึกกว่านั้น คือปรารถนาจะให้ทุกชั่วโมงในแต่ละสัปดาห์ได้กระจายแผ่ความร้อนที่ได้รับจากการเผยแผ่ธรรมที่ลุกโพลงอยู่ในเตาของพลมารีย์เอง ระบบที่สามารถก่อให้เกิดความลุกร้อนในวิญญาณดังกล่าว ได้บันดาลให้เกิดอานุภาพมหาศาล จิตตารมณ์การเผยแผ่ธรรมได้เข้ามาบงการควบคุมความคิด คำพูด และการกระทำทุกขั้นตอนและไม่จำกัดการแสดงออกเฉพาะกาลเวลาหรือสถานที่
บุคคลที่ขลาดหรือมีคุณวุฒิด้อยที่สุด จะกลับมีกำลังดลบันดาลให้มีความสามารถชักนำผู้อื่นให้คล้อยตาม ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน สภาพอย่างไร แม้ไม่อยู่ในลักษณะท่าทีแพร่ธรรมอย่างเห็นได้ชัด เขาก็สามารถขจัดบาปและความเย็นเฉยได้ ซึ่งล้วนจะต้องถอยฉากให้กับอำนาจที่เหนือกว่า ประสบการณ์ทั่วโลกก็เป็นเช่นกัน
หน้า 102 บทที่ 12 จุดประสงค์ภายนอกของคณะพลมารีย์
แม่ทัพระลึกถึงงานที่สำเร็จด้วยความภูมิใจฉันใด คณะพลมารีย์ก็ภูมิใจในความสำเร็จฉันนั้น เมื่อประมวลผลงานประจำที่สมาชิกทำอยู่ตามบ้าน ร้านค้า โรงงาน โรงเรียน สำนักงาน ตลอดจนที่ต่าง ๆ สำหรับใช้ทำงานหรือสำหรับพักผ่อนก็ตาม
แม้ในที่ซึ่งความบาปและไร้ศาสนาเป็นไปอย่างชั่วช้าที่สุด ราวกับขุดสนามเพลาะไว้ แต่หอรบของกษัตริย์ดาวิดอีกหอหนึ่ง (คือพลมารีย์) จะเข้าสกัดกั้นและคุกคามความชั่วร้ายนั้น จะต้องไม่ยอมอ่อนข้อในเรื่องความเหลวแหลกทางศีลธรรมนี้ และต้องพยายามบำบัดให้จงได้ เพราะมันเป็นเรื่องเศร้าใจ จึงต้องภาวนา และยืนหยัดต่อสู้อย่างทรหดไม่ยอมเลิก แล้วจะสำเร็จในบั้นปลายอย่างแน่นอน
คณะพลมารีย์จะเริ่มด้วยการชักจูงสมาชิก ให้มีความเพียรอดทนสวดวิงวอนร่วมใจเดียวกับพระราชินีมารีย์ แล้วคณะก็จะส่งสมาชิกออกไปประกอบกรรมดีตามที่ต่าง ๆ ที่เต็มไปด้วยบาป และความยากลำบากมากมาย ทำให้เกิดไฟประทุในความปรารถนาที่จะทำงานยิ่งใหญ่กว่า ในที่สุดก็จะมองหางานประจำวันตามทางใหญ่น้อย เพื่อสอดส่องทำงานให้รุ่งเรืองขึ้นไปอีก
พลมารีย์เชื่อในระบบที่เป็นระเบียบของคณะว่า ถ้าพระศาสนจักรได้ใช้กำลังของคณะอย่างจริงจัง จะได้ประสิทธิภาพอย่างสำคัญในการชำระโลกที่เต็มไปด้วยบาปให้สะอาดได้ ดูจากผลงานของจำนวนสมาชิกกลุ่มเล็ก ๆ ที่มีความร้อนรน ผลงานจะไม่ยิ่งใหญ่ขึ้นอีกหรือถ้าเป็นผลงานของกลุ่มรวมไม่ต้องนึกถึงจำนวนคน ด้วยเหตุนี้คณะพลมารีย์จึงมุ่งหวังที่จะขยายจำนวนสมาชิกให้ทวีคูณกว้างขวาง ให้เป็นกองพลสมดังชื่อของคณะ
จำนวนสมาชิกที่ปฏิบัติงาน และจำนวนสมาชิกสนับสนุน ตลอดจนผู้ได้รับความช่วยเหลือจากการปฏิบัติงานของตน ยกให้พ้นสภาพคนเย็นเฉย
หน้า 103 บทที่ 12 จุดประสงค์ภายนอกของคณะพลมารีย์
หรือทอดทิ้งเชิงปฏิบัติ ให้กลายเป็นสัตบุรุษที่กระตือรือร้นของพระศาสนจักรทำให้ได้เช่นนี้จะเป็นประโยชน์แก่หมู่บ้านนั้น เมืองนั้นสักเพียงไร สัตบุรุษจะไม่เพียงแต่อาศัยอยู่กับพระศาสนจักร แต่จะเป็นพลังงานนำให้พระศาสนจักรขยับขยายกำลังได้กว้างขวาง จะเป็นโดยทางตรง หรือทางสหพันธ์นักบุญก็ตามที เป็นพลังนำไปยังที่มืดมนจนทั่วโลก
ทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นอุดมคติดีเลิศ – คือการรวบรวมมนุษย์เป็นคณะถวายพระเป็นเจ้า ว่าไปแล้วจะถือเป็นอุดมคติเท่านั้นก็ไม่ได้ แต่ยังเป็นสิ่งที่สามารถปฏิบัติได้ในโลกปัจจุบัน ขอแต่อย่าหลับตาเอามือกอดอกเท่านั้น
“ถูกแล้ว มราวาสเป็นเชื้อชาติที่รับเลือกสรร เป็นสมณราชตระกูล ฆราวาสได้รับการเชิญชวนให้เป็น ‘เกลือของแผ่นดิน’ และ ‘แสงสว่างส่องโลก’ ฆราวาสมีกระแสเรียกและพันธะจำเพาะที่จะปฏิบัติตามพระวรสารให้เป็นชีวิตจิตใจ แล้วนำพระวรสารนั้นสอดแทรกในชีวิตของสังคมที่เขาอาศัยและประกอบอาชีพอยู่ ทำนองเดียวกันกับเชื้อฟูคลุกเคล้าในแป้ง พลังที่มีอิทธิพลกำหนดทิศทางของโลกได้แก่การเมือง สื่อมวลชน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วัฒนธรรม การศึกษา อุตสาหกรรม และแรงงาน ทั้งหมดนี้ก็พอดีเป็นสนามที่มราวาสมีความสามารถพอตัวที่จะเข้าไปทำการแพร่ธรรมหากพลังเหล่านี้รับการควบคุมโดยบุคลากรที่เป็นสาวกแท้ของพระคริสตเจ้า และในเวลาเดียวกันพวกเขาก็เป็นผู้เชี่ยวชาญรอบรู้ด้านวิชาการและทักษะ แน่นอน เมื่อถึงขั้นนั้น โลกทั้งโลกก็จะรับการปฏิรูปจากภายในโดยพระฤทธานุภาพของพระคริสตเจ้า” (พระดำรัสของสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 ที่ เมืองไลมริก ประเทศไอร์แลนด์ ตุลาคม ค.ศ. 1979)
3. เชื่อมคนทั้งปวงเข้าด้วยกัน
“จงแสวงหาพระอาณาจักรของพระเจ้า และความชอบธรรมของพระองค์ก่อน” (มธ 6:33) นั่นคือทำงานเพื่อวิญญาณโดยตรง เป็นงานหลัก
หน้า 104 บทที่ 12 จุดประสงค์ภายนอกของคณะพลมารีย์
ที่รวมงานทั้งหลายของคณะพลมารีย์ อย่างไรก็ตามต้องไม่มองข้ามงานอื่น ๆ ที่ “ได้ผนวกเข้าไว้ด้วย” เช่น งานพลมารีย์มีคุณค่าทางสังคม เป็นที่ยอมรับว่าเป็นสินทรัพย์ของประเทศชาติ และเป็นผลได้ทางฝ่ายวิญญาณของประชาชนในประเทศนั้นๆ ด้วย
เครื่องจักรกลของสังคมจะดำเนินงานสำเร็จ ก็เหมือนเครื่องจักรทั่วๆ ไปจำต้องอาศัยส่วนประกอบที่ทำงานสอดคล้องร่วมมือกัน แต่ละชิ้นส่วนในตัวเครื่องเปรียบได้กับตัวคนแต่ละคน จำต้องทำงานสอดคล้องตามลักษณะงาน หากจะมีการขัดแย้งก็ต้องให้น้อยที่สุด
ถ้าแต่ละส่วนหรือแต่ละคนไม่ทำงานเต็มที่ จะเกิดความหมดเปลืองเปล่าประโยชน์ ทำให้เสียดุลการทำงาน ฟันเฟืองก็ไม่ทำงานสัมพันธ์กัน การแก้ไข ซ่อมก็ทำไม่ได้ เพราะตรวจหาต้นตอที่เกิดติดขัดก็ยากยิ่ง ร้อนถึงการซ่อมใหญ่ ซึ่งต้องใช้ทั้งแรงงาน แรงเงินจำนวนมาก แม้จะแก้ได้สำเร็จก็จะทำให้เกิดความแคลงใจในประสิทธิภาพของเครื่อง หรือในความร่วมงานอย่างทันใจ จนเกิดความล้มเหลวทีละเล็กทีละน้อย
ชุมชนเป็นกลุ่มคนที่มีชีวิตเต็มพลังเช่นนี้ จะไม่หยุดนิ่งทั้ง ๆ ที่ส่วนประกอบผิดฝาผิดตัว แต่จะเป็นพลังผลักดันที่ไม่สมประกอบ เต็มไปด้วยความยากแค้น ไม่สวยและไม่ปกติสุข ได้ทุ่มเททั้งเงินทั้งความพยายามเพื่อให้ส่วนประกอบต่างๆ ซึ่งควรจะทำงานได้อย่างคล่องแคล่ว และเป็นแหล่งพลังงานนั้นสามารถทำงานได้ แต่ผลลัพธ์ก็คือ เกิดปัญหา การอลเวง และวิกฤติการณ์ร้อยแปด
ใครจะปฏิเสธได้ แม้ในประเทศที่มีระเบียบวินัยดีที่สุดในปัจจุบันจะไม่มีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น ทั้งนี้เพราะความเห็นแก่ตัวกลายเป็นกฎประจำชีวิตของแต่ละคน ความเกลียดชัง ทำให้ชีวิตของคนเปลี่ยนสู่พลังแห่งการ
หน้า 105 บทที่ 12 จุดประสงค์ภายนอกของคณะพลมารีย์
ทำลายล้างอย่างน่ากลัว และทุกวันไม่ว่าที่ไหนล้วนแล้วต้องปรากฏเหตุร้ายใหม่อยู่เสมอ แสดงให้เห็นสัจธรรมข้อนี้ ชื่งอาจจะกล่าวตามคำของไบรอัน โอ ฮิกกินส์ (Brian O’ Higgins) ที่ว่า “มนุษย์ที่ปฏิเสธพระเจ้า ที่ทรยศต่อพระเจ้า จะเป็นคนใจคดต่อทุกคนและทุกสิ่ง ทั้งในโลกและในสวรรค์” รัฐเป็นแต่เพียงที่รวมบุคคล จะหมายมั่นให้บรรลุจุดสุดยอดได้สักเพียงไรในเมื่อนานาชาติเต็มไปด้วยอันตรายและความเจ็บปวด สิ่งที่จะมอบให้ประชากรโลก มีอะไรเล่า นอกจากจะแบ่งปันความอลเวงเล็กๆ น้อยๆ ให้เท่านั้นเอง
สังคมจะเปลี่ยนแปลงสักเพียงไร ถ้าจะมีพลังอะไรสักอย่างที่แพร่ถึงกันเหมือนโรคติดต่อ เป็นพลังที่ให้อุดมคติแห่งการเสียสละตนเอง การเผื่อแผ่ความรักให้กัน ล้วนเป็นอุดมการณ์ที่จะให้เป็นที่รื่นรมย์ทั้งสิ้นแก่แต่ละคน จะเกิดผลการเปลี่ยนแปลงอะไร ความบาดหมางที่เป็นแผลฉกรรจ์ได้รับการรักษาจนหายดี และชีวิตก็มีความเป็นอยู่ในระดับอื่น
สมมุติว่า จะมีสักชาติหนึ่งที่คิดจะก้าวหน้า ส่งเสริมความเป็นอยู่ให้สูงส่ง ทำตัวให้เป็นตัวอย่างให้ปรากฎในสายตาชาวโลก ว่าเป็นประชาชนที่ยึดถือความเชื่อเป็นหลักปฏิบัติและใช้แก้ปัญหาาต่างๆ
อย่างนี้แล้วจะมีใครสงสัยหรือว่า ประชาชาตินื้จะไม่เด่นเหมือนคบไฟส่องสว่างในโลก ทำให้คนทั่วโลกต้องมานั่งแทบเท้า เพื่อขอศึกษาว่าทำได้อย่างไร
บัดนี้ไม่มีปัญหาเลยว่า คณะพลมารีย์จะไม่มีอำนาจที่จะทำให้ฆราวาสมาสนใจศาสนาอย่างจริงจัง และถอดความรู้สึกในอุดมการณ์ให้กับผู้ที่มาอยู่ในอิทธิพลของพลมารีย์ ทำให้คนเหล่านั้นลืมความแตกแยกทางโลก ความแตกต่างและความเป็นปรปักษ์กัน แต่กลับมามีความปรารถนาแรงกล้าจะ
หน้า 106 บทที่ 12 จุดประสงค์ภายนอกของคณะพลมารีย์
ทำงานเพื่อความรักที่มีต่อมนุษยชาติทั้งมวลเท่านั้น อุดมคติดังกล่าวนี้หยั่งรากอยู่ในศาสนา จึงมิใช่เพียงความรู้สึกชั่วแล่น แต่เป็นความคิดของแต่ละคนที่จะให้บริการรับใช้ บันดาลให้เกิดความเสียสละ ส่งให้บรรลุถึงวีรกรรมชั้นสูงและจะยังคงอยู่เช่นนั้นไม่เลือนหายหรือหมดสิ้นไป
ทำไมหรือ เหตุอยู่ที่แรงจูงใจ อำนาจใดก็ตามจะต้องมีแหล่งกำเนิดคณะพลมารีย์มีแรงจูงใจมุ่งมั่นที่จะทำงานบริการรับใช้ชุมชน เนื่องจากพระเยซูเจ้าและพระนางมารีย์ทรงเป็นชาวนาซาเร็ธ ทั้งสองพระองค์รักเมืองของพระองค์ รักประเทศของพระองค์ด้วยความศรัทธาเลื่อมใสทางศาสนา เพราะสำหรับคนยิวนั้น ความเชื่อในศาสนาและความรักประเทศชาตินั้นกลมกลืนจนเป็นหนึ่งเดียวกัน พระเยซูเจ้าและพระนางมารีย์ทรงมีชีวิตในถิ่นฐานของพระองค์ด้วยความถูกต้องทุกประการ ไม่ว่าจะเป็นคนหรือเป็นสิ่งของ ทั้งสองพระองค์ให้ความสนใจอย่างลึกซึ้งทุกอย่าง ไม่มีใครจะกล่าวหาพระองค์ได้เลยว่า พระองค์เฉยเมยหรือไม่สนใจไม่ว่าจะด้วยเรื่องใด
โลกทุกวันนี้เป็นประเทศของพระองค์ และแต่ละแห่งก็คือเมืองนาชาเร็ธของพระองค์ ในชุมชนที่ได้รับศีลล้างบาป พระองค์ทรงมีความผูกพันลึกซึ้งกับผู้คน แน่นหนาเสียยิ่งกว่าพี่น้องทางสายโลหิตเสียอีก แต่ความรักของพระองค์นี้เป็นไปทางพระกายทิพย์ของพระองค์ ถ้าอวัยวะต่างๆ ในพระกายทิพย์นั้นได้แสดงออกซึ่งจิตตารมณ์จะรับใช้ชุมชนที่ตนอาศัยอยู่ พระเยซูเจ้าและพระนางมารีย์ก็เข้าสู่ชุมชนนั้น และประทานอานุภาพส่งเสริม ไม่เพียงให้กับวิญญาณชนหมู่นั้นแต่ประการเดียว แต่ยังจะทรงเหลียวแลให้ประโยชน์กับสิ่งแวดล้อมที่นั่นด้วย ที่นั้นจะเจริญขึ้นทางวัตถุ ปัญหาต่างๆจะสิ้นไป จะเป็นความเจริญที่หาจากที่อื่นไม่ได้แล้ว
คริสตชนในทุกถิ่นที่ต่างก็มีหน้าที่ซึ่งหมายถึงความรักชาติ รักท้องถิ่น
หน้า 107 บทที่ 12 จุดประสงค์ภายนอกของคณะพลมารีย์
ที่เป็นที่ตั้ง ความรักชาติที่แท้จริงนั้นไม่มีขอบเขตมิใช่หรือ ไม่มีแผนที่หรือตัวอย่างเป็นมาตรฐานแสดงว่าอะไรคือความรักชาติ ที่จะพอชี้ให้เห็นได้ก็คือการอุทิศตน และความเสียสละให้ประเทศเมื่อมีสงคราม แต่แรงกระตุ้นเช่นนี้มาจากความเกลียดมากกว่าความรัก และเป็นแนวให้เกิดการทำลายล้างสังหาร ฉะนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องหารูปแบบความรักชาติอย่างสันติแสดงให้เห็นเป็นตัวอย่างเพื่อเป็นหลักปฏิบัติ
ด้วยจิตตารมณ์การรับใช้ชุมชนในเชิงสันตินี่แหล่ะ ที่คณะพลมารีย์เร่งรัดภายใต้การอุทิศตนแท้จริงต่อประเทศชาติ งานบริการเช่นนั้นไม่ใช่จะทำไปเพราะมีจิตตารมณ์เป็นสื่อกระตุ้น แต่จะต้องให้บริการนั้นและกิจการทุกอย่างที่กระทำ เป็นงานที่ส่งเสริมให้กระทำเพื่อช่วยวิญญาณ
การงานใดก็ตามที่บังเกิดผลก้าวหน้าระดับความเจริญทางวัตถุเท่านั้นถือว่าทำให้การอุทิศตนแท้จริงต่อประเทศชาติ ต้องไขว้เขวไปจากแนวความคิดที่แท้จริง
พระคาร์ดินัลนิวแมนได้ให้แนวคิดอย่างสมบูรณ์ เมื่อท่านกล่าวว่าความก้าวหน้าทางวัตถุนั้น หากไม่ได้ควบคู่พร้อม ๆ กับการปฏิบัติทางจริยธรรมจะเป็นเรื่องที่แม้เพียงนึกถึงก็น่ากลัวสียแล้ว ความก้าวหน้าทั้งทางโลกและทางธรรม จะต้องดำเนินให้ได้ความสมดุลที่ถูกต้อง จึงจะเหมาะสมและควรแก่การอนุรักษ์
หนังสือเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว หาอ่านได้จากคอนซิเลียม ชื่อ True Devotion to the Nation โดยแฟร็งก์ ตั้ฟ
ขอให้คนทั้งโลกคิดให้ดี หากคณะพลมารีย์เป็นดังเช่นว่า คือบริการที่มีอยู่นั้น พร้อมจะบริการได้ทันที เปรียบได้กับวีรกรรมอัศวิน ที่มีอำนาจวิเศษสามารถเชื่อมมนุษย์ ที่ประเสริฐเลิศกว่าสงครามเทพนิยายของพระเจ้าอาร์เธอร์
หน้า 108 บทที่ 12 จุดประสงค์ภายนอกของคณะพลมารีย์
ในบทประพันธ์ยอดนิยมของเทนนิสันเสียอีก ซึ่งมีความตอนหนึ่งว่า
“พระองค์ทรงประชุมชักชวนอัศวินทั่วราชอาณาจักร ทั้งอัศวินในแว่นแคว้นของพระองค์และจากนานาราชอาณาจักรให้มารวมอยู่ด้วยกันเป็นอัศวินโต๊ะกลมเลื่องชื่อของพระองค์ ทรงเลือกเฟ้นแต่อัศวินที่ทรงเกียรติดีเด่น เป็นยอดคน ให้เป็นแบบฉบับของบุคคลพึงรับใช้โลกอันกว้างใหญ่และประเดิมการประกอบกรรมอันดีงามเป็นแสงธรรมนำยุค”
“พระศาสนจักรซึ่งเป็นทั้งหมู่คณะที่แลเห็นได้ และเป็นทั้งกลุ่มชนฝ่ายจิตเดินหน้าไปพร้อมกันกับมนุษยชาติและประสบการณ์ เช่นเดียวกับทางโลกเหมือนกันพระศาสนจักรทำงานเหมือนเป็นเชื้อฟูและเป็นวิญญาณของสังคมมนุษย์ ซึ่งจะต้องรื้อฟื้นในพระคริสตเจ้าและแปรรูปเป็นครอบครัวของพระเจ้า…
“สภาสังคายนานี้ขอเตือนคริสตชนคาทอลิกซึ่งเป็นเสมือนพลเมืองของสองนครต้องปฏิบัติหน้าที่ทางโลกตามมโนธรรม และตามจิตตารมณ์ของพระวรสาร บางคนทราบว่าเราไม่มีเมืองอย่างที่กล่าวถึง แต่ให้แสวงหาเมืองที่จะมาถึงข้างหน้า จึงคิดว่าเขาอาจปัดความรับผิดชอบทางโลกเสียเลย เช่นนี้แสดงว่าเขาลืมไปว่าอาศัยความเชื่อ เขามีความจำเป็นยิ่งกว่าครั้งใด ๆ ที่จะทำตัวให้สมกับหน้าที่ ซึ่งทุกคนจะต้องปฏิบัติดามกระแสเรียกที่ถูกที่ควรของตน” (สภาสังคายนาวาติกัน ที่ 2 : กฤษฎีกาว่าด้วยพระศาสนจักรในโลกสมัยนี้ 40, 43)
คำตอบในภาคปฏิบัติเกี่ยวกับภารกิจและความจำเป็นในเรื่องนี้ที่สภาสังคายนาได้ขีดเส้นใต้เป็นความสำคัญนั้น คณะพลมารีย์กำหนดไว้แล้วในขบวนการที่มีมาตั้งแต่ ค.ศ. 1960 และเป็นที่รู้จักกันในนามความศรัทธาแท้จริงต่อประเทศชาติ การวัดผลความสำเร็จมีคะแนนแน่นอนชี้ไปยังการพัฒนาที่เป็นไปได้อย่างกว้างขวาง แต่ขอย้ำว่าสิ่งที่คณะพลมารีย์ให้ทางโลกนั้นไม่ใช่ความรู้ความสามารถและการกระทำที่เลอเลิศพิเศษ ไม่ใช่ความจัดเจนที่ดีเด่น ไม่ใช่จำนวนคนงานที่มากมาย แต่เป็น
หน้า 109 บทที่ 12 จุดประสงค์ภายนอกของคณะพลมารีย์
พลังจิตที่กล้าแข็ง ซึ่งเป็นพลังอำนาจทางโลก สามารถอยู่ในบังคับบัญชาที่จะช่วยชูกลุ่มประชากรของพระเจ้าที่มองเห็นคุณค่าที่จะนำมาใช้ แต่ความคิดริเริ่มที่จะให้ต้องมาจากคณะพลมารีย์ แม้มีจิตตารมณ์ที่จะหลีกเสี่ยงทางฝ่ายโลก คณะพลมารีย์ก็จะต้องมีสติเกี่ยวกับความหมายตามกฤษฎีกาแห่งสภาสังคายนาที่กล่าวมาแล้วนี้ เขาจะต้องมีจิตสำนึกอยู่เสมอว่า มนุษย์จะต้องอยู่ท่ามกลางโลกทางวัตถุ และความรอดของเขาก็เกี่ยวกับวิถีทางโลกเช่นเดียวกัน” (Father Thomas P.0′ Flynn C.M. อดีตจิตตาธิการคอนชิเลียม)
4. การประกอบกิจการสูงค่าเพื่อพระเจ้า
ในยุคที่พระศาสนจักรกำลังถูกคุกคามจากภยันตราย เราอยากเป็นคนที่กล้าทำจริง พวกอเทวนิยมและพวกอศาสนานิยมพากันโฆษณาชวนเชื่ออย่างเก่งกาจ และเผยแพร่อิทธิพลอันชั่วร้ายออกไปเป็นวงกว้างอย่างไม่หยุดยั้งแทบจะครอบงำโลกก็ว่าได้
เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับแสนยานุภาพนี้ คณะพลมารีย์ดูไม่ผิดอะไรกับคนธรรมดาสามัญเพียงหยิบมือเดียว ถึงกระนั้น ความแตกต่างกันอย่างฟ้ากับดินนี้กลับทำให้เกิดความฮึกเหิม คณะพลมารีย์ประกอบด้วยบุคคลที่มีความสนิทชิดเชื้อกับพระนางพรหมจารีผู้ทรงอานุภาพยิ่ง ใช่แต่เท่านั้น พลมารีย์ยังมีหลักการอันยิ่งใหญ่และรู้จักนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้น่าจะเป็นไปได้ที่ว่าพระผู้ทรงสรรพนุภาพ ทรงบันดาลให้บังเกิดเหตุการณ์อันใหญ่ยิ่งแก่พลมารีย์และผ่านทางพลมารีย์ ทรงบันดาลให้บังเกิดแก่คนอื่นๆ
เป้าหมายของคณะพลมารีย์ตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิงกับเป้าหมายของกองพลอื่น ๆ ที่ปฏิเสธ “พระเยชูคริสต์ ผู้ทรงเป็นเจ้านายและทรงเป็นองค์พระผู้เป็นเจ้าเพียงพระองค์เดียวของเรา” (ยด 1:4) เป้าหมายของคณะพลมารีย์คือนำพระเป็นเจ้าและศาสนาไปมอบให้แก่วิญญาณทั้งหลาย
หน้า 110 บทที่ 12 จุดประสงค์ภายนอกของคณะพลมารีย์
ส่วนเป้าหมายของอีกฝ่ายคือ กระทำทุกอย่างที่ตรงกันข้าม ถึงกระนั้นแผนการของพลมารีย์หาได้คิดค้นขึ้นมาโดยไม่มีเจตนาที่จะเผชิญหน้ากับจักรวรรดิอธรรมนี้ ที่จริงแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างมันก่อร่างสร้างฐานขึ้นมาอย่างเรียบง่ายกว่าที่คิดมากนัก ก่อนอื่น คนกลุ่มเล็ก ๆ กลุ่มหนึ่งร่วมชุมนุมกันรอบ ๆ รูปปั้นของพระนางมารีย์และทูลพระนางว่า “โปรดนำหน้าพวกลูกด้วย” จากนั้นพร้อมกับแม่พระ พวกเขาก็เริ่มออกเยี่ยมสถานพยาบาลใหญ่แห่งหนึ่งในเมือง และรู้สึกว่าได้สัมผัสกับองค์พระบุตรของพระแม่เองภายใต้รูปปรากฎของผู้ป่วย คนโศกเศร้าเสียใจและคนหมดหวัง พวกเขาถึงได้มาเข้าใจว่าองค์พระบุตรก็ประทับอยู่ในสมาชิกมนุษยชาติแต่ละคนเช่นเดียวกัน และยังเข้าใจอีกว่าพวกเขาควรร่วมมือกับพระนางมารีย์ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ที่แม่พึงปฏิบัติต่อองค์พระบุตรซึ่งประทับอยู่ในบุคคลเหล่านั้น
ด้วยประการฉะนี้ พวกเขาจึงร่วมมือพร้อมกับแม่พระ และลงมือทำงานด้านบริการพื้น ๆ และแล้ว คนกลุ่มเล็กๆ เมื่อคราแรกเริ่ม ก็ได้ขยับขยายกลายเป็นพลมารีย์อันเกรียงไกร และคณะพลมารีย์นั้นก็ยังกำลังทำงานพื้น ๆ อยู่ทั่วโลก เป็นงานที่แสดงถึงความรักที่พระเป็นเจ้ามีต่อมนุษย์และเป็นงานที่แสดงถึงความรักที่พลมารีย์มีต่อมนุษย์เพราะเห็นแก่พระเป็นเจ้า และไม่ว่าแห่งหนใด ความรักนั้นได้แสดงให้เห็นซึ่งพลังที่สามารถโน้มน้าวและเอาชนะจิตใจมนุษย์ได้
ดูแล้วก็คล้าย ๆ กับขบวนการพลมารีย์ อเทวนิยมแสดงเจตนารมณ์ที่จะรักและรับใช้เพื่อนมนุษย์ พวกเขาอ้างอย่างลม ๆ แล้ง ๆ ว่ายึดถือภราดรภาพเป็นอุดมการณ์อันสูงส่ง คนเป็นล้าน ๆ หลงเชื่ออุดมการณ์นั้นในนามของอุดมการณ์ พวกเขาพากันผละทิ้งศาสนาที่พวกเขาคิดว่าไร้น้ำยา ทั้งนี้ทั้งนั้นสถานการณ์ใช่ว่าจะสิ้นหวังเสียทีเดียว ยังมีอยู่วิธีหนึ่งที่พอจะช่วยพวกหัวรั้น-
หน้า 111 บทที่ 12 จุดประสงค์ภายนอกของคณะพลมารีย์
เรือนล้านเหล่านั้น ให้คืนสู่ความเชื่อและปกป้องผู้คนอีกนับไม่ถ้วนไม่ให้หลงผิดไป
ความหวังที่จะช่วยวิญญาณเหล่านั้นอยู่ที่การนำเอาสัจธรรมที่ค้ำจุนโลกอยู่มาใช้ เป็นสัจธรรมที่นักบุญยอห์น เวียนเน เจ้าอาวาสเมืองอาร์สเคยกล่าวถึงไว้ว่า “ผู้ใดรักโลกมากที่สุด และพิสูจน์ให้เห็น ย่อมได้ไว้เป็นกรรมสิทธิ์นั้นแล” เมื่อมีใครคนใดคนหนึ่งมีความเชื่อแท้จริง และอาจจะถึงกับยอมพลีชีพเพื่อยืนยันความเชื่อนั้นก็เป็นไปได้
ดังนั้น ความรักแบบถูก ๆ ไม่อาจชนะใจใครได้ คาทอลิกแบบครึ่งๆ กลาง ๆ ก็ทำเช่นนั้นไม่ได้เหมือนกัน เพราะเขาเกือบจะเอาตัวเองไม่รอดอยู่แล้ว ผู้ที่จะกระทำได้ก็คือ คาทอลิกที่รักพระคริสตเจ้าด้วยสิ้นสุดจิตใจและรักพระองค์ที่เขาเห็นอยู่ในมนุษย์ทุกคนทุกสถานภาพ
เราต้องนำความรักสูงสุดของพระคริสตเจ้ามาปฏิบัติอย่างจริงจังถึงขนาดมีแรงจูงใจให้ผู้ที่พบเห็นยอมรับว่า นั่นไม่ใช่เป็นแค่กิจวัตรของสมาชิกชั้นหัวกะทิของพระศาสนจักร ทว่าเป็นอัตลักษณ์ของพระศาสนจักรเองทีเดียว เหตุฉะนี้ ฆราวาสจะต้องรวมตัวกันเป็นองค์กรหลากหลายเพื่อแสดงออกซึ่งความรักนี้ให้ปรากฏในชีวิตประจำวันของตน
แต่ไม่เหลือวิธีอื่นอีกแล้วหรือ ถึงได้ใช้เจตนารมณ์อันสูงส่งนี้มาปลุกใจสมาชิกทุกระดับในพระศาสนจักร ใช่ เพราะภารกิจนี้หนักอึ้ง ปัญหานั้นมีมากมายโยงใยกันไปไกลสุดสายตา กองกำลังที่ครองพื้นที่ก็มากมายสุดคณนายังทำให้คนใจแกร่งกล้าสักปนใดก็มีโอกาสล้มพับไปได้ แต่สำหรับพลมารีย์นั้นมีแม่พระเป็นหัวใจ และหัวใจนั้นก็คือความเชื่อและความรักที่ไม่จำเป็นต้องเอื้อนเอ่ย คิดได้ดังนี้ พลมารีย์ก็กวาดสายตามองไปทั่วโลก และทันใดนั้นก็รู้สึกตื่นเต้นกับประกายแห่งความหวังที่ว่า “ผู้ใดรักโลกมากที่สุดย่อมได้หัวใจ
หน้า 112 บทที่ 12 จุดประสงค์ภายนอกของคณะพลมารีย์
ไว้เป็นกรรมสิทธิ์” จากนั้นพลมารีย์ก็หันไปมองมหาราชินีของตน พลางอ้อนวอนอย่างที่เคยทำเหมือนเมื่อคราวแรกเริ่มว่า “โปรดนำหน้าพวกลูกด้วย”
“คณะพลมารีย์กำลังเผชิญหน้ากับแสนยานุภาพฝ่ายตรงกันข้าม ซึ่งได้แก่ ลัทธิอเทวนิยมและอศาสนานิยม แสนยานุภาพเหล่านี้ใช้การโฆษณาต่อเนื่องทางสิ่งพิมพ์ โทรทัศน์และวีดีโอ เป็นสื่อนำเรื่องการทำแท้ง การหย่าร้าง การคุมกำเนิด ยาเสพติดและความหยาบโลนโหดร้ายทุกรูปแบบเข้าไปสู้ใจกลางครอบครัว ความชื่อและไร้เดียงสาของทารกแรกเกิดทุกราย จึงอยู่ในภาวะล่อแหลมต่ออิทธิพลบ่อนทำลายนี้
เพื่อต่อต้านการล้างสมองดังกล่าว จะต้องถึงขนาดระดมพลชาวคาทอลิกทั้งหมดจึงจะพอฟัดพอเหวี่ยง คณะพลมารีย์มีกลอุปกรณ์เหมาะเจาะเพื่อจุดประสงค์นี้แต่ตัวกลอุปกรณ์เองนั้นไร้ประโยชน์ หากปราศจากแรงผลักดันอย่างเพียงพอ พลังขับเคลื่อนนี้อยู่ที่จิตตารมณ์ของคณะพลมารีย์ซึ่งประกอบด้วยการเรียนรู้ซึ้งถึงพระจิตเจ้าและการไว้วางใจในพระองค์ ความศรัทธาแท้จริงต่อพระนางพรหมจารีมารีย์ ความศรัทธานี้จะต้องหล่อเลี้ยงไว้ด้วยศีลมหาสนิท ปังทรงชีวิต
เมื่ออำนาจสองฝ่ายประจันหน้ากัน จิตตารมณ์ของพลมารีย์จะเป็นต่อ แต่ละวันพลมารีย์จะแบกกางเขนของพระอาจารย์เจ้า ออกปต่อกรอย่างมีประสิทธิภาพกับความหย่อนยานสมัยใหม่ การอนุโลมผ่อนปรนสมัยใหม่และการโอนอ่อนผ่อนตามกระแสสมัยใหม่ซึ่งกำลังทำลายล้างสังคมของเราอยู่ทุกวันนี้ และพลมารีย์จะประสบชัยชนะในที่สุด” (Father Aedan McGrath, S.S.C.)
หน้า 113 บทที่ 13 สมาชิกภาพ
บทที่ 13
สมาชิกภาพ
1. คณะพลมารีย์เปีดรับคาทอลิกทุกคนที่
ก. ถือศาสนาด้วยใจสัตย์ซื่อ
ข. มีใจปรารถนาจะปฏิบัติงานมราวาสแพร่ธรรมของคณะพลมารีย์
ค. พร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่แต่ละเรื่องและทุก ๆ เรื่องที่ผูกพันสมาชิกคณะพลมารีย์
2. ผู้ที่ปรารถนาจะเข้าคณะพลมารีย์จะต้องสมัครเข้าเป็นสมาชิกในเปรสิเดียม
3. ผู้สมัครที่อายุต่ำกว่า 18 ปี เป็นสมาชิกได้เฉพาะในเปรสิเดียมเยาวชนเท่านั้น ดูบทที่ 36 โดยเฉพาะข้อที่ 6
4. เมื่อมีผู้แจ้งความจำนงขอเป็นสมาชิก ประธานเปรสิเดียมที่รับใบสมัครจะต้องสืบจนเป็นที่พอใจว่า บุคคลนั้น มีคุณสมบัติ ถูกต้องตามระเบียบของคณะจึงจะอนุมัติรับเป็นสมาชิกได้
5. ก่อนที่จะลงทะเบียนจดชื่อผู้สมัครเป็นสมาชิกสมบูรณ์ ผู้สมัครจะต้องผ่านระยะทดลองให้เป็นที่พอใจก่อน 3 เดือน แต่ผู้สมัครสามารถเริ่มงานพลมารีย์ได้ตั้งแต่วันแรกที่เป็นสมาชิก
6. ผู้สมัครทุกคนจะได้รับแจกใบแตสเซรา
7. การรับสมัครสมาชิกจะสมบูรณ์เมื่อได้ถวายคำสัญญาและจดชื่อลงในทะเบียนสมาชิกประจำเปรสิเดียม คำสัญญาของพลมารีย์นั้นอยู่ในบทที่ 15 จัดไว้ในลักษณะที่สะดวกแก่การอ่าน
หน้า 114 บทที่ 13 สมาชิกภาพ
ฯพณฯ มงชินญอร์ มอนตินี (ต่อมาคือสมเด็จพระสันตะปาปา ปอลที่ 6) ได้มีหนังสือในพระนามสมเด็จพระสันตะปาปาปีโอ ที่ 12 ว่า “คำสัญญาแบบประกาศกแพร่ธรรมและเกี่ยวกับพระนางมารีย์นี้ ได้ทำให้พลมารีย์เข้มแข็งในการทำสงครามของพระศาสนจักรทั่วพิภพ โดยเฉพาะบรรดาผู้ทนทุกข์ถูกเบียดเบียน เพราะความเชื่อ”
คำสัญญาของพลมารีย์มีอธิบายไว้ในหนังสือชื่อ “เทวศาสตร์แห่งการแพร่ธรรม” (The Theology of the Apostolate) ซึ่งพระคาร์ดินัล L.J. Suenens เป็นผู้ประพันธ์และแปลเป็นภาษาต่าง ๆ หลายภาษา พลมารีย์ทุกคนควรจะได้อ่านและศึกษา เพราะมีหลักการสำคัญๆ มากมาย แสดงไว้เป็นแนวทางให้ฆราวาสคริสตชนคาทอลิกทั่วไปถือปฏิบัติในการแพร่ธรรม
ก. เมื่อระยะทดลองสิ้นสุดลงเป็นที่พอใจแล้ว ผู้สมัครจะได้รับแจ้งหนึ่งสัปดาห์ล่วงหน้าว่าจะมีพิธีรับเข้าเป็นสมาชิก ระหว่างสัปดาห์นั้นผู้สมัครควรจะทบทวนอ่านคำสัญญาให้เข้าใจทั้งถ้อยคำและเนื้อหาของคำสัญญา เพื่อจะได้ไม่ติดขัดเมื่อถึงวันพิธีรับเข้าเป็นสมาชิกจะได้ถวายคำสัญญาได้คล่องด้วยความเข้าใจถ่องแท้และเลื่อมใสศรัทธา
ข. การถวายคำสัญญานี้กระทำในระหว่างการประชุมเปรสิเดียมตามปกติคือทันทีที่สวดบทกาเตนาเสร็จ ขณะที่สมาชิกยังยืนอยู่ เชิญแว็กชิลลุมมาตั้งไว้ใกล้ผู้สมัคร ซึ่งถือกระดาษคำสัญญาในมือช้าย อ่านคำสัญญาดังๆ ออกชื่อตนเองให้ถูกที่
เมื่อเริ่มอ่านย่อหน้าที่สามในคำสัญญา ให้ผู้สมัครใช้มือขวาจับด้ามแว็กซิลลุม และจับไว้เช่นนั้นจนกล่าวคำสัญญาจบ ครั้นแล้วพระสงฆ์ (ถ้าท่านอยู่ด้วย) จะอวยพรพลมารีย์ใหม่ และชื่อของเขาก็จะได้รับการบันทึกลงในทะเบียนสมาชิก
หน้า 115 บทที่ 13 สมาชิกภาพ
ค. เมื่อเรียบร้อยแล้ว พลมารีย์ในที่ประชุมต่างจะนั่งเพื่อฟังโอวาท (อัลโลกูซีโอ) แล้วดำเนินการประชุมต่อไปตามปกติ
ง. ในกรณีที่เปรสิเดียมยังไม่มีแว็กซิลลุม ให้ผู้สมัครถือรูปภาพเครื่องหมายแทน จะใช้แตสเซราก็ได้
8. เมื่อปรากฎว่า ผู้สมัครมีคุณสมบัติสมควรแล้ว ไม่ควรถ่วงเวลาให้ถวายคำสัญญา จะทำพิธีรับสมาชิกใหม่ครั้งละสองคนหรือมากกว่าก็ได้ แต่ไม่สู้จะเป็นที่ปรารถนานัก เพราะการรวมผู้สมัครหลาย ๆ คน ในพิธีรับสมาชิกใหม่คราวเดียวกัน จะทำให้แต่ละคนรู้สึกความสง่างามของพิธีลดน้อยลง
9. พิธีรับสมาชิกอาจจะสร้างความอึดอัดใจโดยเฉพาะแก่สมาชิกที่รู้สึกอ่อนไหวง่าย หากเป็นเช่นนั้นจริงก็ยิ่งดี เพราะพิธีที่สง่งามนั้น จะมีความขลังและความสำคัญเป็นพิเศษสำหรับเขา ซึ่งเป็นผลดีสำหรับงานที่เขาจะกระทำในฐานะสมาชิกพลมารีย์ต่อไปในอนาคต
10. เป็นหน้าที่ของรองประธาน ที่จะต้อนรับผู้สมัคร อบรมเขาให้รู้จักหน้าที่ ให้ความร่วมมือช่วยเหลือเขา ตลอดเวลาในระยะทดลองและในเวลาต่อ ๆ ไปอีกด้วย แต่สมาชิกทั้งหมดควรมีส่วนร่วมมือด้วย
11 . ในกรณีที่ผู้สมัครยังไม่ปรารถนาจะถวายคำสัญญาด้วยเหตุผลใดก็ตาม ระยะทดลองอาจจะขยายต่อไปอีกสามเดือน เปรสิเดียมก็มีสิทธิ์ที่จะประวิงเวลาทำพิธีถวายคำสัญญาของผู้สมัคร จนกระทั่งเห็นว่าผู้สมัครมีความเหมาะสม
ทำนองเดียวกัน เป็นการเหมาะสมที่จะให้ผู้สมัครมีเวลาพอสมควรในการตัดสินใจ แต่เมื่อหมดกำหนดระยะทดลองรอบที่สองแล้ว ผู้สมัครจะต้องถวายคำสัญญาโดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ หรือมิฉะนั้นก็จะลาออกจากเปรสิเดียม
หน้า 116 บทที่ 13 สมาชิกภาพ
สมาชิกที่ถวายคำสัญญาแล้ว หากเกิดปัญหาคิดจะเพิกถอนคำสัญญาก็ให้เขาสมัครใจลาออกเอง
ระยะทดลองและการถวายคำสัญญา เป็นประตูเข้าสู่คณะพลมารีย์จึงไม่บังควรปล่อยปละละเลยเปิดประตูทิ้งไว้ เปิดโอกาสให้บุคคลไม่พึงปรารถนาเข้าไปได้ มิฉะนั้นแล้วจะทำให้มาตรฐานของคณะเสื่อมลง และความเข้มข้นของจิตตารมณ์ก็จะพลอยจางลงด้วย
12. จิตตาธิการไม่จำเป็นต้องถวายคำสัญญา แต่ท่านมีสิทธิ์จะทำได้และหากว่าท่านเข้าพิธีถวายคำสัญญา ท่านจะทำให้เปรสิเดียมภูมิใจและถือเป็นเกียรติและสมาชิกในเปรสิเดียมจะยินดีพอใจอย่างยิ่ง
13. คำสัญญาควรจะสงวนไว้เพื่อความมุ่งหมายเฉพาะเท่านั้นไม่ควรจะใช้เป็นบทถวายตัวในพิธีอาชีแอส หรือพิธีงานอื่น ๆ แต่หากพลมารีย์จะใช้เป็นบทสวดภาวนาส่วนตัวย่อมทำได้
14 . การขาดประชุมเปรสิเดียมนั้น ควรจะพิจารณาด้วยความเห็นใจและดูกรณีให้สมเหตุสมผล ไม่ควรถอนชื่อออกจากทะเบียนง่าย ๆ โดยเฉพาะในกรณีเจ็บป่วยแม้ว่าเขาจะหยุดต่อเนื่องเป็นเวลานาน ในกรณีที่สมาชิกภาพสิ้นสุดลง และได้ถอนชื่อจากทะเบียนเป็นทางการแล้ว หากจะมีการสมัครใหม่ก็จะต้องมีกำหนดระยะทดลองใหม่ และการถวายคำสัญญาก็จะต้องทำใหม่ด้วย
15. เฉพาะในงานพลมารีย์ และเพื่อประโยชน์ของงานพลมารีย์ ให้สมาชิกใช้คำนำหน้าเรียกกันว่า “บราเดอร์” และ “ซิสเตอร์” แล้วแต่ว่าเป็นชายหรือหญิง
16. สมาชิกจะรวมกันเป็นกลุ่มเปรสิเดียมชาย เปรสิเดียมหญิง เปรสิเดียมเยาวชนชาย เปรสิเดียมเยาวชนหญิง หรือเปรสิเดียมรวมชายหญิงก็ได้ สุดแท้แต่ความจำเป็นหรือความเห็นชอบของคูเรีย
หน้า 117 บทที่ 13 สมาชิกภาพ
คณะพลมารีย์เริ่มจากเป็นองค์กรของสตรีและก่อตั้งก่อนเปรสิเดียมชาย เปรสิเดียมแรกถึงแปดปี แต่ก็ได้วางบรรทัดฐานอันเหมาะสมให้กับองค์กรฝ่ายชาย ขณะนี้มีเปรสิเดียมชาย และเปรสิเดียมรวมชายหญิงมากมาย เปรสิเดียมแรกที่ถือกำเนิดในอเมริกา แอฟริกา และจีน ล้วนเป็นเปรสิเดียมชาย
แม้หญิงก็ได้รับเกียรติในคณะ แต่หนังสือคู่มือ (ภาษาอังกฤษ) นี้ใช้สรรพนามเพศชายตลอดทั้งเล่ม แทนสรรพนามทั้ง 2 เพศ นี่เป็นธรรมเนียมทางการเพื่อหลีกเลี่ยงความซ้ำซากในการใช้สรรพนามเพศชายหรือเพศหญิง
“พระศาสนจักรตั้งขึ้นเพื่อจุดประสงค์จะเผยแผ่พระอาณาจักรของพระคริสตเจ้าไปทั่วโลก เพื่อพระสิริรุ่งโรจน์ของพระบิดาเจ้า เพื่อให้มนุษย์ทุกคนได้มีส่วนในการไถ่กู้ให้รอดของพระองค์ และอาศัยพระศาสนจักร ทั่วโลกจะได้สนิทสัมพันธ์กับพระคริสตเจ้า กิจกรรมทุกอย่างทางพระกายทิพย์มุ่งไปยังประตูชัยนี้ ที่เรียกว่าการแพร่ธรรม ซึ่งพระศาสนจักรดำเนินการมากมายหลายวิธีผ่านทางมวลสมาชิกของตนเพราะธรรมชาติพระกระแสเรียกคริสตชนคาทอลิกคือกระแสเรียกการแพร่ธรรมนั่นเอง
ไม่มีคนใดในโครงสร้างของร่างกายที่มีชีวิตจะอยู่นิ่งเฉย ทุกส่วนจะมีหน้าที่ต้องกระทำเพื่อให้ชีวิตแก่ร่างกายนั้น ในทำนองเดียวกัน พระกายของพระคริสตเจ้าซึ่งหมายถึงพระศาสนจักร ทุกส่วนจะมีหน้าที่ร่วมกัน ‘ร่างกายทุกส่วนประสานสัมพันธ์กันอย่างสนิทแน่นแฟ้น … ร่างกายจึงเจริญเติบโตขึ้นด้วยความรัก’ (อฟ 4:16) แท้จริงการรวมเป็นหนึ่งเดียวแห่งอวัยวะในกายพระศาสนจักรนี้ และโครงสร้างของส่วนต่างๆ กลมกลืนสนิทแน่นจนกล่าวได้ว่า ถ้าส่วนใดล้มเหลวที่จะช่วยเหลือ เพื่อความเจริญของพระศาสนจักร ถือว่าส่วนนั้นไม่ทำประโยชน์ให้ทั้งพระศาสนจักรและไม่มีประโยชน์ต่อตนเองด้วย” (กฤษฎีกาเรื่องการแพร่ธรรมของฆราวาส ข้อ 2)
หน้า 118 บทที่ 14 เปรสิเดียม
บทที่ 14
เปรสิเดียม
1. หน่วยของพลมารีย์ มีนามว่า “เปรสิเดียม”
คำภาษาลาตินนี้ เคยใช้หมายถึง ทหารหมู่หนึ่งในกองทัพ ซึ่งทำหน้าที่เฉพาะ เช่น หน่วยระวังหน้า หน่วยรักษาป้อม หน่วยรักษาการณ์ ฉะนั้นคำเปรสิเดียมนี้จึงเหมาะสมสำหรับใช้กับหน่วยหนึ่งของคณะพลมารีย์
2. แต่ละเปรสิเดียมตั้งชื่อตามที่นิยมถวายเกียรติแด่พระแม่ เช่น “แม่พระกรุณา” หรือตามเอกสิทธิ์ของพระนาง เช่น “แม่พระปฏิสนธินิรมล” หรือตามเหตุการณ์ในชีวิตของพระนาง เช่น “แม่พระเสด็จเยี่ยม” เป็นบุญของพระสังฆราชสักเพียงไร ที่จะได้เห็นทั่วสังฆมณฑลของตนมีเปรสิเดียมตั้งขึ้นเพียงพอ จนเป็นดังบทเร้าวิงวอนที่มีชีวิตของพระนางมารีย์
3. เปรสิเดียมมีอำนาจบังคับบัญชาเหนือสมาชิกของตนทั้งหมดและมีอำนาจควบคุมกิจกรรมของเขาด้วย ส่วนสมาชิก ก็เชื่อฟัง ภักดีต่อคำสั่งที่ชอบทั้งหมดของเปรสิเดียม
4. แต่ละเปรสิเดียม จะต้องขึ้นกับสภาคอนชิเลียมโดยตรง หรือโดยทางสภาที่รับรองแล้วดังจะกล่าวในตอนต่อไป มิฉะนั้นถือว่าไม่มีสมาชิกภาพของคณะพลมารีย์ ดังนั้นจะตั้งเปรสิเดียมใหมขึ้นไม่ได้โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นทางการจากคูเรียของตน หรือจากเซนาตุสที่ใกล้ชิด (หากติดต่อกับคูเรียไม่สะดวก) หรือขั้นสุดท้ายจากคอนซิเลียม เปรสิเดียมต้องขึ้นโดยตรงกับคณะปกครองดังกล่าวนี้
5. ไม่มีเปรสิเดียมตั้งขึ้นได้ในวัดใดหากไม่ได้รับความยินยอมจากพระสงฆ์เจ้าอาวาสหรือสมณะประมุข เจ้าอาวาสหรือสมณะประมุขจะ
หน้า 119 บทที่ 14 เปรสิเดียม
ได้รับเชิญมาประกอบพิธีเปิดเปรสิเดียม
6. เปรสิเดียมต้องประชุมทุกสัปดาห์ และต้องดำเนินการประชุมตามวิธีที่อธิบายไว้ในบทที่ว่าด้วยระเบียบการประชุมเปรสิเดียม (บทที่ 18)
ข้อบังคับนี้เปลี่ยนไม่ได้โดยเด็ดขาด แต่ก็จะมีผู้เสนอครั้งแล้วครั้งเล่าด้วยเหตุผลวิเศษต่าง ๆ ว่าเป็นการยากที่จะประชุมทุกสัปดาห์ ให้ประชุมเดือนละครั้ง หรือปักษ์ละครั้ง ก็จะเป็นการเพียงพอ
เรื่องนี้ขอตอบว่าไม่มีกรณีแวดล้อมใด ๆ เลย ที่คณะพลมารีย์จักยินยอมกำหนดประชุมเป็นอย่างอื่น นอกจากสัปดาห์ละครั้ง ทั้งไม่ได้มอบหมายให้สภาใด ๆ ของคณะมีอำนาจเปลี่ยนกฎข้อนี้ หากจะพิจารณาเฉพาะการจัดระเบียบการปฏิบัติงานเป็นข้อใหญ่ การประชุมเพียงเดือนละครั้งก็อาจใช้ได้ ทั้ง ๆ ที่ยังสงสัยอยู่ว่า งานนั้นกระทำกันประจำสัปดาห์ตามกฎหรือไม่
แต่เจตนาที่เป็นชีวิตจิตใจของการประชุม คือการสวดภาวนาพร้อมกันประจำสัปดาห์ และไม่จำเป็นจะต้องชี้แจงว่า ถ้ากำหนดประชุมเป็นอย่างอื่นผิดไปจากสัปดาห์ละครั้งแล้ว ย่อมไม่สามารถทำให้เป็นไปตามเจตนานี้แน่
การประชุมประจำสัปดาห์อาจต้องเรียกร้องความเสียสละตนเองบ้าง ถ้าคณะไม่อาจมั่นใจว่าการเรียกร้องเช่นนี้สำเร็จ ก็จะเอาอะไรอื่นเป็นพื้นฐานสำหรับตัวระบบเองเล่า
7. แต่ละเปรสิเดียมต้องมีพระสงฆ์หรือนักบวชท่านหนึ่งเป็นจิตตาธิการ ยังต้องมีประธาน รองประธาน เลขานุการและเหรัญญิก
ผู้มีตำแหน่งดังกล่าวมานี้เป็น “เจ้าหน้าที่” ของเปรสิเดียม และเป็นผู้แทนของเปรสิเดียมในคูเรีย หน้าที่ของเจ้าหน้าที่เหล่านี้จะกล่าวในบทที่ 34 แต่หน้าที่แรกคือทำงานที่รับมอบ (ประจำสัปดาห์) ตามปกติ เป็นที่น่าพอใจจนสามารถเป็นตัวอย่างแก่สมาชิกอื่นทั้งหมด
หน้า 120 บทที่ 14 เปรสิเดียม
8. เจ้าหน้าที่เปรสิเดียมจะต้องรายงานให้เปรสิเดียมของตนทราบเกี่ยวกับการประชุมคูเรียแต่ละครั้ง และดังนี้จะช่วยให้สมาชิกของเปรสิเดียมได้สัมพันธ์กับความเป็นไปของคูเรีย
9. จิตตาธิการได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งจากเจ้าอาวาสหรือสมณะประมุข และจะอยู่ในตำแหน่งได้นานตามความพอใจของผู้ตั้ง
จิตตาธิการองค์หนึ่งจะรับดูแลมากกว่าหนึ่งเปรสิเดียมก็ได้
ถ้าจิตตาธิการไม่อาจเข้าประชุมเปรสิเดียม ท่านอาจตั้งพระสงฆ์อื่นหรือนักบวช หรือในกรณีพิเศษให้พลมารีย์ที่มีคุณสมบัติ ซึ่งเรียกว่าตรีบูน) มาทำหน้าที่จิตตาธิการแทนท่านก็ได้
แม้จิตตาธิการควรรับทราบล่วงหน้าถึงการประชุม แต่ก็ไม่ได้ทำให้การประชุมขาดสาระความสมบูรณ์ หากท่นไม่ได้เข้าประชุมนั้น
จิตตาธิการ มีตำแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่คนหนึ่งของเปรสิเดียม ท่านจะสนับสนุนอำนาจพลมารีย์ถูกต้องทุกอย่าง
10. จิตตาธิการมีอำนาจชี้ขาดในปัญหาทั้งหมดทางศาสนาหรือศีลธรรม ที่อาจมีขึ้นในการประชุม เปรสิเดียม และมีอำนาจจะยับยั้งการกระทำใด ๆ ของเปรสิเดียม เพื่อรอคำชี้ขาดของเจ้าอาวาสหรือสมณะประมุข
“สิทธินี้เป็นอาวุธที่จำเป็น แต่ก็เช่นเดียวกับอาวุธอื่น ๆ ต้องใช้ด้วยวิจารณญาณสุขุม ระมัดระวัง มิฉะนั้นจะกลายเป็นอาวุธทำลาย ไม่ใช่เครื่องป้องกัน เมื่อคณะสร้างสรรค์และดำเนินไปด้วยดีแล้ว ไม่จำเป็นใช้สิทธินี้เลย” (Civardi : A Manual of Catholic Action) 11. เจ้าหน้าที่เปรสิเดียม นอกจากจิตตาธิการ จะต้องได้รับแต่งตั้งจากคูเรีย ถ้ายังไม่มีคูเรีย ให้สภาสูงถัดขึ้นไปเป็นผู้แต่งตั้งเพื่อหลีกเลี่ยงการอภิปรายเกี่ยวกับคุณวุฒิ ของผู้ที่ควรเป็นเจ้าหน้าที่
หน้า 121 บทที่ 14 เปรสิเดียม
เนื่องจากบางคนอาจอยู่ที่นั้นด้วย ฉะนั้น ทางที่พึงปฏิบัติเมื่อตำแหน่งเจ้าหน้าที่ว่างลงให้ประธานคูเรีย หลังจากสืบโดยละเอียดแล้ว (โดยเฉพาะจากจิตตาธิการของเปรสิเดียมนั้น) เพื่อให้ได้บุคคลเหมาะสมที่สุด แล้วจึงเสนอชื่อแก่คูเรีย เมื่อคูเรียเห็นว่าเหมาะสมก็อาจแต่งตั้งผู้นั้น
12. เจ้าหน้าที่เปรสิเดียมทุกคน (นอกจากจิตตาธิการ) ดำรงตำแหน่งคราวละสามปี จะได้รับแต่งตั้งใหม่อีกสามปีก็ทำได้ คือรวมทั้งหมดหกปี เมื่อสิ้นอายุตำแหน่งแล้ว ห้ามดำเนินการในหน้าที่ของตำแหน่งนั้นต่อไป
การสับเปลี่ยนเจ้าหน้าที่ไปรับตำแหน่งอื่น หรือในตำแหน่งเดิมในที่อื่น ให้ถือว่าเหมือนแต่งตั้งใหม่
เจ้าหน้าที่ผู้หนึ่งผู้ใด หลังจากได้หยุดพักมาเป็นเวลาสามปีแล้วจะรับตำแหน่งเดิมนั้นในเปรสิเดียมเดิมอีกครั้งหนึ่งก็ได้
จะเนื่องด้วยเหตุผลใดก็ตาม เจ้าหน้าที่ใดอยู่ในตำแหน่งไม่ครบสามปี ให้ถือว่าครบสามปีแล้ว นับแต่วันที่พ้นจากหน้าที่นั้น เมื่อนั้นกฎปกติสำหรับการพิจารณาการต่ออายุในตำแหน่งดังนี้
ก) หากเขายังอยู่ในระยะสามปีแรก ผู้นั้นในระหว่างเวลาที่ยังไม่สิ้นอายุนั้นเขาอาจได้รับแต่งตั้งให้รับตำแหน่งเดิมนั้น เป็นระยะเวลาอีกสามปี และ
ข ) หากเกิดปัญหาในระยะสามปีครั้งที่สอง ต้องรอให้ครบสามปีก่อนนับแต่พ้นจากตำแหน่ง จึงจะรับแต่งตั้งในตำแหน่งเดิมได้
ปัญหาระยะเวลารับหน้าที่ต้องชี้ขาดบนพื้นฐานของหลักการทั่วไปอันตรายที่จำต้องคอยสอดส่องอยู่เสมอตลอดเวลาแต่ต้นจนปลายไม่ว่าในองค์กรใด แต่โดยเฉพาะในองค์กรอาสาสมัครงานศาสนา คือองค์กรนั้นหรือหน่วยใดหน่วยหนึ่งขององค์กรนั้น จะเสื่อมสลายไป อันตรายเรื่องนี้
หน้า 122 บทที่ 14 เปรสิเดียม
ร้ายแรงมาก เป็นวิสัยของมนุษย์ที่ปล่อยให้ความกระตือรือร้นซบเชา ปล่อยให้จิตตารมณ์จำเจเข้ามา ชอบวิธีการพิมพ์เดียวกันหมด ฝ่ายความชั่วที่ต้องผจญนั้นเปลี่ยนวิธีการเสมอ
วิธีการที่ไม่ได้ผลนี้ ที่สุดจะพาให้งานไร้ผลและขาดความกระตือรือร้นจนองค์กรไม่อาจยึดเหนี่ยวสมาชิกที่เป็นรูปแบบพึงปรารถนาที่สุดไว้ได้และจะเกิดมีสภาพอ่อนแอ จะเป็นอย่างไรก็ตาม ต้องระวังมิให้เกิดภัยเช่นนี้ในคณะพลมารีย์ได้เป็นอันขาด ต้องให้สมาชิกแต่ละคนและทุกคน ทั้งในสภาและเปรสิเดียมต่าง ๆ ตั้งมั่นอยู่ในความกระตือรือร้นเสมอ แน่นอนผู้ที่ต้องเอาใจใส่มากที่สุด คือบรรดาเจ้าหน้าที่ผู้เป็นบ่อเกิดแห่งความลุกร้อน เขาเหล่านี้จะต้องรักษาความลุกร้อนสูงสุดไว้เสมอ และข้อนี้จะประสบผลดีก็โดยมีการผลัดเปลี่ยน
หากเจ้าหน้าที่เหลวไหล ทุกสิ่งก็อับเฉาหมด หากเขาหมดความลุกร้อนและความกระตือรือร้น คณะที่เขาควบคุมก็พลอยเสื่อมทรามตามกันไปด้วยและที่ร้ายที่สุดสมาชิกจะพอใจในสภาพเป็นอยู่จนติดนิสัยแล้ว และเมื่อเป็นดังนี้ก็ตกในสภาพหมดหวังที่จะแก้ไข นอกจากวิธีจากภายนอก
ตามทฤษฎี วิธีแก้ไขก็คือตรากฎให้เปลี่ยนกำหนดเวลาอยู่ในตำแหน่งนั้นเป็นครั้งเป็นคราวไป แต่ทางปฏิบัติแล้ววิธีนี้อาจไม่บังเกิดผล เนื่องจากบุคคลฝ่ายปกครองจะไม่สำนึกว่า ความเสื่อมโทรมกำลังมีอยู่ในหมู่ตน และคงจะยืดอายุตำแหน่งหน้าที่อยู่เรื่อยไป
เหตุนี้ ดูเหมือนว่า ที่แน่นอนอย่างเดียวคือระบบการเปลี่ยนเจ้าหน้าที่โดยไม่คำนึงถึงคุณความดีหรือสิ่งแวดล้อมใดๆ ทั้งสิ้น วิธีปฏิบัติของคณะนักบวชต่าง ๆ เป็นแบบ่อย่างดีแก่คณะพลมารีย์ คือจำกัดให้เจ้าหน้าที่ดำรงตำแหน่งได้เพียง 6 ปี โดยมีข้อกำหนดว่า หลังจากสามปีแรกแล้ว
หน้า 123 บทที่ 14 เปรสิเดียม
ถ้าจำเป็นก็ให้ต่ออายุได้ (จากข้อชี้ขาดของคณะพลมารีย์เรื่องกำหนดระยะดำรงตำแหน่งของเจ้าหน้าที่)
13. นโปเลียนกล่าวว่า “พลทหารเลวไม่มี มีแต่นายทหารเลว” เป็นถ้อยคำเหน็บแนม ทำนองว่าพลทหารจะเป็นอย่างไร สุดแต่นายทหารจะอบรมพลมารีย์ก็เช่นกัน จะไม่มีวันดีกว่ามาตรฐานของจิตตารมณ์และการงานที่บรรดาเจ้าหน้าที่ได้สร้างไว้ ฉะนั้นเจ้าหน้าที่จึงต้องเป็นบุคคลดีที่สุดเท่าที่หาได้ หากคนงานต้องทำงานให้สมกับค่าจ้าง พลมารีย์ยิ่งต้องทำตนให้สมกับตำแหน่งผู้นำให้มากยิ่งขึ้น
การแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ ที่ดี ขึ้นสืบตำแหน่ง ควรหมายความว่าคุณภาพของเปรสิเดียมจะเจริญมั่นคงขึ้นเสมอ เหตุว่าเจ้าหน้าที่ใหม่แต่ละคนขณะที่ขะมักเขม้นระวังมาตรฐานของเปรสิเดียมไม่ให้ตกต่ำลง ตนเองก็จะพยายาม ช่วยให้เจริญขึ้นด้วย ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งแห่งความมั่นคงของเปรสิเดียม
14. โดยเฉพาะการแต่งตั้งประธานควรพินิจพิเคราะห์ให้มาก ความผิดพลาดในเรื่องนี้อาจพาให้เปรสิเดียมพินาศ ต้องพิจารณาบุคคลแต่ละคนตามข้อกำหนดต่างๆ ดังจะกล่าวไว้ในบทที่ 34 ส่วนที่ 2 เกี่ยวกับประธานบุคคลที่มีทีท่าว่าจะไม่สามารถปฏิบัติตามกฎเหล่านี้ได้ ไม่ควรให้รับตำแหน่งเป็นอันขาดแม้จะมีความดียิ่งใหญ่ในทางอื่นก็ตาม
15. คูเรียต้องเปลี่ยนประธาน เมื่อจะแก้ไขเปรสิเดียมที่อ่อนแอให้ดีขึ้น นอกจากมีเหตุผลตรงกันข้ามที่พิเศษจริง ๆ เกือบทุกกรณี ความเสื่อม (ของเปรสิเดียม) เกิดจากความเพิกเฉยหรือหย่อนสมรรถภาพของประธานในการปกครอง
16. ในระหว่างการทดลอง พลมารีย์จะดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่แทนหรือเจ้าหน้าที่ชั่วคราวเท่านั้นในเปรสิเดียมอาวุโสได้
หน้า 124 บทที่ 14 เปรสิเดียม
หากความเป็นเจ้าหน้าที่นั้นไม่ได้ถูกถอนระหว่างทดลอง ก็กลายเป็นการดำรงตำแหน่งโดยสมบูรณ์ และเวลาที่รับหน้าที่มาแล้วนั้น ให้นับเป็นส่วนหนึ่งของกำหนดสามปีดังกล่าวแล้วข้างต้น
17. สมาชิกเปรสิเดียมหนึ่งจะลาออกจากเปรสิเดียมของตนไปเข้าเปรสิเดียมอื่นไม่ได้ นอกจากได้รับความยินยอมจากประธานของเปรสิเดียมเดิม และเปรสิเดียมใหม่ที่รับสมาชิกเช่นนี้จะต้องปฏิบัติตามธรรมนูญและข้อบังคับที่เกี่ยวกับการรับสมาชิกใหม่ เว้นแต่ในเรื่องการทดลองและถวายคำสัญญาไม่ต้องกระทำอีก การอนุญาตให้ย้ายนี้ หากไม่มีเหตุผลสมควร ห้ามหน่วงเหนี่ยว การอุทธรณ์ในกรณีนี้ให้กระทำต่อคูเรีย
18. ประธานเปรสิเดียม เมื่อหารือกับเจ้าหน้าที่อื่นแล้ว มีสิทธิสั่งพักสมาชิกคนใดของเปรสิเดียมได้ ตามเหตุผลที่พิจารณาโดยรอบคอบแล้วเห็นว่าเพียงพอ และไม่จำเป็นต้องชี้แจงเหตุผลของการกระทำเช่นนั้นต่อเปรสิเดียม
19. คูเรียมีสิทธิ์ให้ออก หรือสั่งพักสมาชิกคนใดของเปรสิเดียม หากจะอุทธรณ์ให้กระทำต่อสภาสูงถัดขึ้นไป คำตัดสินของสภาสูงถัดขึ้นไปนั้นถือเป็นเด็ดขาด
20. ข้อพิพาทเกี่ยวกับการแบ่งงานในระหว่างเปรสิเดียม ให้คูเรียเป็นผู้ขี้ขาด
21 . เป็นหน้าที่จำเป็นของเปรสิเดียม ในการจัดหาและดูแลสมาชิกสนับสนุนของตนให้เข้มแข็ง
ขอให้สังเกตดูกองพันทหาร ซึ่งมีนายทหารที่ดี เป็นกองที่กล้าหาญ วินัยและอาวุธดี ดูน่าแข็งแกร่งสักเพียงไร กระนั้นก็ดี กองพันนั้นก็ทรงประสิทธิภาพชั่วระยะสั้นเท่านั้น ทุก ๆ วันกองพันนั้นยังต้องพึ่งคนงานจำนวนมาก บ้างส่ง
หน้า 125 บทที่ 14 เปรสิเดียม
กระสุน บ้างส่งอาหาร เครื่องนุ่งห่มและเวชภัณฑ์ การตัดขาดจากหน่วยบริการเหล่านี้ เพียงสู้รบได้สองสามวัน กองพันอันสง่าน่าเกรงขามนั้นจะเป็นอย่างไร
กองสนับสนุนเกี่ยวพันกับกองพันทหารฉันใด สมาชิกสนับสนุนก็เกี่ยวพันกับเปรสิเดียมฉันนั้น สมาชิกสนับสนุนนับเป็นส่วนหนึ่งของระบบถ้าขาดไปเปรสิเดียมก็ไม่สมบูรณ์
วิธีที่เหมาะในการติดต่อกับฝ่ายสนับสนุน คือติดต่อเป็นรายบุคคลเพียงแต่ส่งหนังสือเวียน ไม่พอช่วยให้บรรลุความสำเร็จในหน้าที่สำคัญนี้
22. กองทัพย่อมคาดการณ์ล่วงหน้าเสมอโดยการตั้งโรงเรียนฝึกทหาร เช่นเดียวกัน ควรถือเป็นเรื่องจำเป็นเรื่องหนึ่งของระบบที่แต่ละเปรสิเดียมอาวุโสที่จะจัดตั้งเปรสิเดียมเยาวชน ควรตั้งพลมารีย์อาวุโสสองคนเป็นเจ้าหน้าที่เปรสิเดียมเยาวชน เนื่องจากการฝึกเยาวชนต้องการคุณสมบัติบางอย่าง จึงไม่ใช่พลมารีย์อาวุโสทุกคนจะเหมาะสมกับหน้าที่นี้ ฉะนั้นจึงต้องเลือก (เจ้าหน้าที่สองคนนั้นให้รอบคอบ) พลมารีย์อาวุโสที่มาทำหน้าที่ในเปรสิเดียมเยาวชนนี้ถือว่าเพียงพอสำหรับงานที่บังคับสำหรับเปรสิเดียมอาวุโส เขาจะเป็นผู้แทนของเปรสิเดียมเยาวชนในคูเรีย (อาวุโส) หรือคูเรียเยาวชนหากตั้งขึ้นแล้ว
เจ้าหน้าที่อีกสองตำแหน่งควรบรรจุสมาชิกเยาวชน เพื่อเขาจะได้มีโอกาสฝึกให้รู้จักรับผิดชอบและเป็นตัวแทนเปรสิเดียมในคูเรียเยาวชนสมาชิกเยาวชนจะเข้าประชุมคูเรียอาวุโสไม่ได้
“รังสีของดวงอาทิตย์มีนับอนันต์ แต่แสงสว่างมีหนึ่งเท่านั้น กิ่งก้านของต้นไม้มีมาก แต่ลำต้นมีแต่หนึ่ง มีรากยึดเหนียวแน่น เคลื่อนที่ไม่ได้” (นักบุญชีปรีอาโน เรื่องเอกภาพของพระศาสนจักร)
หน้า 126 บทที่ 15 คำสัญญาของพลมารีย์
บทที่ 15
คำสัญญาของพลมารีย์
ข้าแต่พระจิตเจ้า ข้าพเจ้า (ชื่อผู้สมัคร)
วันนี้ขอสมัครเป็นพลมารีย์ของพระนางมารีย์
แต่โดยที่ตระหนักว่า ลำพังข้าพเจ้าไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่โดยสมควรได้
จึงขอพระองค์เสด็จมายังข้าพเจ้า ให้ข้าพเจ้าเต็มเปี่ยมไปด้วยพระองค์
เพื่อให้ฤทธิ์ของพระองค์ค้ำจุนกิจการต่ำต้อยของข้าพเจ้า ให้กลายเป็นเครื่องมือทำงานตามพระประสงค์อันทรงอำนาจของพระองค์
ข้าพเจ้าทราบดีว่า ที่พระองค์เสด็จมาโปรดชีวิตใหมให้แก้โลกทางพระเยซูเจ้านั้นพระองค์ไม่ได้พอพระทัยจะให้สำเร็จไป หากไม่ผ่านทางพระนางมารีย์
ข้าพเจ้าทราบดีว่า หากไม่มีพระนาง เราจะไม่สามารถรู้จักหรือรักพระองค์ได้ พระนางเป็นผู้แจกจ่ายพระคุณ ฤทธิ์กุศล และพระหรรษทานทุกประการของพระองค์ให้แก่ผู้ที่พระนางพอพระทัย ตามเวลา ตามปริมาณและตามวิธีที่พระนางพอพระทัยด้วย
ข้าพเจ้าตระหนักใจด้วยว่า เคล็ดลับแห่งการปฏิบัติงานให้ดีเลิศของพลมารีย์ ขึ้นอยู่กับความเป็นหนึ่งเดียวครบครันกับพระนาง ผู้เป็นหนึ่งเดียว โดยครบบริบูรณ์กับพระองค์
ฉะนั้นขณะที่ข้พเจ้าจับเครื่องหมายพลมารีย์ อันจะช่วยข้าพเจ้าให้มองเห็นความจริงต่างๆ ข้างบนนี้
ข้าพเจ้าก็อยู่เฉพาะพักตร์ของพระองค์ ดุจทหารและบุตรของพระนาง ข้าพเจ้าขอประกาศว่า ข้าพเจ้าขึ้นอยู่กับพระนางอย่างสิ้นเชิง พระนางคือ
หน้า 127 บทที่ 15 คำสัญญาของพลมารีย์
พระมารดาฝ่ายวิญญาณของข้าพเจ้า ดวงพระทัยของพระนางและดวงใจของข้าพเจ้าเป็นหนึ่งเดียวกัน
และจากดวงใจเพียงดวงเดียวกันนี้ พระนางทรงย้ำพระวาจาแต่ปางก่อนว่า “ข้าพเจ้าคือผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้า” และพระองค์ก็เสด็จมาประกอบกิจการอันยิ่งใหญ่ โดยทางพระนางอีกวาระหนึ่ง
ขอให้ฤทธิ์ของพระองค์ครอบคลุมข้าพเจ้า เสด็จมาสถิตในวิญญาณช้าพเจ้าด้วยไฟความรัก
ให้วิญญาณข้าพเจ้าเป็นหนึ่งเดียวกับความรัก และเจตจำนงของพระนางมารีย์ที่จะกอบกู้โลกให้รอด
เพื่อให้ข้าพเจ้าบริสุทธิ์ผุดผ่องในพระนาง ดังที่พระองค์โปรดให้พระนางเป็นผู้นิรมล
เพื่อให้องค์พระคริสต์พระเจ้าของข้าพเจ้า ทรงพระเจริญในตัวข้าพเจ้าอาศัยพระบารมีของพระองค์ เพื่อให้ข้าพเจ้าพร้อมกับพระมารดาได้นำพระเยซูเจ้ามาแสดงให้แก่โลก และแก้วิญญาณที่ปรารถนาพระองค์
เพื่อว่าเมื่อวิญญาณเหล่านั้นและข้าพเจ้าได้ชัยชนะแล้ว จะได้เสวยราชย์กับพระนางตลอดไป ในพระสิริรุ่งโรจน์ของพระตรีเอกภาพ
ข้าพเจ้ามั่นใจว่า พระองค์จะทรงรับข้าพเจ้าเช่นนี้ ใช้ข้าพเจ้าและบันดาลให้ความอ่อนแอของข้าพเจ้ากลับเข้มแข็งขึ้นในวันนี้
ข้าพเจ้าจึงเข้าประจำหน้าที่ในคณะพลมารีย์และกล้าให้สัญญาว่าจะรับใช้พระองค์ด้วยความซื่อสัตย์
ข้าพเจ้ารับจะปฏิบัติตามวินัยของคณะอย่างครบถ้วนตามวินัยชื่งผูกพันข้าพเจ้าไว้กับเพื่อนสมาชิกและหล่อหลอมข้าพเจ้าทั้งหลายเป็นรูปกองทัพคุ้มกันเป็นแถว ขณะเดินทัพไปพร้อมกับพระนางมารีย์
หน้า 128 บทที่ 15 คำสัญญาของพลมารีย์
เพื่อปฏิบัติตามน้ำพระทัยของพระองค์ กระทำมหัศจรรย์แห่งพระหรรษทานของพระองค์ซึ่งเนรมิตแผ่นดินขึ้นใหม่และสถาปนาพระราชัยของพระองค์เหนือทุกสิ่ง พระจิตเจ้าข้า
เดชะพระนามพระบิดา และพระบุตรและพระจิต อาแมน
“ควรสังเกตว่าคำสัญญาของพลมารีย์นี้ กราบทูลพระจิตเจ้า พระองค์ได้รับความจงรักภักดีน้อยเหลือเกินจากคริสตชนคาทอลิกทั่วๆ ไป พลมารีย์จึงถวายความรักพระองค์เป็นพิเศษ งานของพลมารีย์ซึ่งทำตัวของตนเอง และสมาชิกอื่นๆ แห่งพระกายทิพย์ของพระคริสตเจ้าให้ศักดิ์สิทธิ์ก็ขึ้นอยู่กับฤทธิ์และการงานของพระจิตเจ้าจึงต้องสนิทชิดเชื้อกับพระองค์มากทีเดียว
เพื่อสำเร็จผลสองสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง คือศรัทธาต่อพระจิตเจ้า รวมทั้งจงรักภักดิ์ต่อพระนางมารีย์ ซึ่งพระจิตเจ้าปฏิบัติงานร่วมกัน โดยไม่แยกกันเลย อาจจะเป็นเพราะขาดความจงรักภักดีต่อพระมารดา ยิ่งขาดความศรัทธาต่อพระจิตเจ้า จึงทำให้คริสตชนคาทอลิกทั่วไปไม่จงรักภักดีแท้จริงต่อพระจิตเจ้า ทั้งๆ ที่ หนังสือและคำเทศนาก็มีอยู่หลากหลายในเรื่องนี้ “เมื่อพลมารีย์ได้รักพระนางมารีย์ พระราชินีและมารดาของเขาอย่างบริบูรณ์อยู่แล้ว ถ้าได้เพิ่มความศรัทธาต่อพระจิตเจ้าให้มากยิ่งขึ้นด้วย ก็จะทำให้แผนการของพระเป็นเจ้าสมบูรณ์ยิ่งขึ้น สมกับที่ทรงมุ่งหมายไว้ให้พระจิตเจ้ากับพระนางมารีย์ทรงเป็นหนึ่งเดียวกัน ในการประทานชีวิตใหม่แก่ชาวโลก หากเป็นอย่างนี้ความพากเพียรของพลมารีย์คงเกิดผล คือเพิ่มพูนกำลังและความสำเร็จทวีขึ้นอย่างแน่นอน
บทภาวนาแรกที่พลมารีย์เคยสวด คือ บทร้องหาพระจิตเจ้า แล้วจึงถึงสายประคำ การเปีดประชุมพลมารีย์แต่ละคราว จึงปฏิบัติตามแบบนี้เรื่อยมาจนบัดนี้ ฉะนั้น การมอบพิธีรับสมาชิกใหม่ไว้ในความอุปการะของพระจิตเจ้า จึงนับว่าเหมาะสมยิ่ง ชวนให้หวนระลึกถึงวันสมโภชพระจิตเจ้า เมื่อพระหรรษทานของงานแพร่ธรรมจาก
หน้า 129 บทที่ 16 ขั้นเพิ่มเติมแห่งสมาชิกภาพ
พระจิตเจ้าผ่านมาทางพระนางมารีย์ด้วย พลมารีย์ที่แสวงหาพระจิตเจ้าทางพระนางมารีย์ย่อมจะได้รับพระคุณอุดมสมบูรณ์ของพระองค์ ซึ่งมีพระคุณแห่งความรักอันแท้จริงต่อพระนางมารีย์รวมอยู่ด้วย
นอกจากนี้ คำสัญญานั้นวางรูปแบบไว้เหมาะสมยิ่งนักกับความศรัทธาภักดีของพลมารีย์ ตามที่แสดงไว้บนเครื่องหมายของคณะ เพราะเครื่องหมายนั้นมีรูปนกพิราบ (สัญลักษณ์ของพระจิตเจ้า) กำลังเป็นประธานอยู่เหนือพลมารีย์ และกิจการเพื่อวิญญาณของคณะโดยอาศัยพระนางมารีย์” (คัดจากรายงานการประชุมคอนชิเลียม ครั้งที่ 88)
[ถ้อยคำที่ยกมากล่าวนี้ ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของคำสัญญาของพลมารีย์]
บทที่ 16
ขั้นเพิ่มเติมแห่งสมาชิกภาพ
นอกจากสมาชิกประจำการตามปกติ คณะพลมารีย์ยังมีสมาชิกอีกสองประเภท
1. สมาชิกชั้นเปรโตเรียน (Praetorian)
ลำดับเปรโตเรียน* เป็นขั้นสูงของสมาชิกประจำการ ได้แก่บรรดาผู้ที่ปฏิบัติตามข้อผูกพันสมาชิกตามปกติแล้วยังเพิ่ม
1 ) สวดบทภาวนาทั้งครบทุกวัน บทภาวนาในแตสเชราของพลมารีย์
2) ร่วมพิธีมิสชาและรับศีลมหาสนิททุกวัน สำหรับข้อนี้ขออย่าให้ผู้ใดกลัวไม่ยอมเป็นเปรโตเรียน โดยเกรงว่าจะไม่สามารถร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณ หรือรับศีลมหาสนิทได้ทุกวัน ไม่มีใครรู้แน่ว่าจะทำได้สม่ำเสมอ
…………………………………
* กองทหารชั้นเยี่ยมในกองทัพโรมัน
หน้า 130 บทที่ 16 ขั้นเพิ่มเติมแห่งสมาชิกภาพ
โดยไม่ขาดเลย ผู้ที่บกพร่องไปบ้าง ไม่เกินสัปดาห์ละครั้งหรือสองครั้งก็สามารถลงนามในทะเบียนเปรโตเรียนได้
3) สวดบททำวัตรบางอย่างที่พระศาสนจักรรับรองแล้วทุกวัน เช่น บททำวัตรน้อยของพระนางพรหมจารี บททำวัตรน้อยของแม่พระปฏิสนธินิรมล ลูกประคำ 150 เม็ด (ถ้าเป็นประเภท 3 ของคณะโดมินิกัน) บทข้าแต่พระบิดา วันทามารีย์ และพระสิริรุ่งโรจน์ อย่างละ 12 จบ (ถ้าเป็นประเภท 3 ของคณะฟรังชิสกัน) หรือสวดส่วนสำคัญของบททำวัตรของพระสงฆ์ เช่น บททำวัตรเช้าและทำวัตรเย็น)
บางครั้งมีผู้เสนอให้รำพึงแทนสวดบททำวัตร หรือเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ข้อเสนอนี้ไม่สอดคล้องกับคติสำคัญของสมาชิกเปรโตเรียนซึ่งต้องการให้พลมารีย์ผู้นั้น เป็นหนึ่งเดียวกับกิจสำคัญทางการของพระกายทิพย์ งานที่พลมารีย์ปฏิบัติเป็นส่วนหนึ่งของงานแพร่ธรรมทางการของพระศาสนจักรอยู่แล้ว แต่สมาชิกภาพเปรโตเรียนหมายมุ่งให้พลมารีย์ผู้นั้น ยิ่งสนิทชิดเชื้อกับชีวิตส่วนรวมของพระศาสนจักรมากยิ่งขึ้น แน่นอน จึงต้องกำหนดให้ร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณและรับศีลมหาสนิท เพราะสองอย่างนี้เป็นพิธีศูนย์กลางของพระศาสนจักร ช่วยรื้อฟื้นกิจการของคริสตชนคาทอลิกอันดีเลิศอยู่ทุกวัน
ในพิธีกรรมรองจากพิธีบูชาขอบพระคุณ คือการทำวัตร เป็นการวิงวอนส่วนรวมของพระศาสนจักร ซึ่งมีพระคริสตเจ้าทรงภาวนาอยู่ด้วยในการสวดบททำวัตรใดก็ตาม ซึ่งประกอบด้วยบทเพลงสดุดี เราใช้บทภาวนาที่ได้รับการดลใจจากพระจิตเจ้า ดังนั้นก็เข้าใกล้ชิดกับเสียงส่วนรวมซึ่งพระบิดาเจ้าทรงสดับฟัง เพราะเหตุนี้สมาชิกเปรโตเรียนจึงต้องสวดบททำวัตรและไม่ใช่รำพึง
หน้า 131 บทที่ 16 ขั้นเพิ่มเติมแห่งสมาชิกภาพ
อัครสังฆราช ลีน (Leen) กล่าวแก่พลมารีย์ว่า “ขณะที่พระหรรษทานเติบโตในตัวเรา ความรักก็จำต้องแสดงตนในรูปแบบใหม่” การสวดบททำวัตรทั้งครบทุกวัน สำหรับผู้ที่อยู่ในฐานะจะสวดได้ จะเป็นการขยายตัวของความรักดังกล่าวแล้ว
ต่อไปนี้เป็นสิ่งที่ควรเข้าใจ คือ
ก) เปรโตเรียนเป็นแต่เพียงขั้นหนึ่งของสมาชิกภาพ ไม่ใช่หน่วยแยกจากพลมารีย์ ดังนั้นจึงไม่ต้องแยกตั้งเปรสิเดียมสำหรับสมาชิกประเภทนี้โดยเฉพาะ
ข) การเข้าเป็นสมาชิกขั้นเปรโตเรียน ต้องถือเป็นเพียงสัญญาเฉพาะตัวของพลมารีย์แต่ละคนเท่านั้น
ค) เพื่อหาสมาชิกขั้นเปรโตเรียน ห้ามใช้การบังคับโดยมารยาทแม้แต่น้อย ดังนั้น แม้ว่าอาจจะเสนอแนะพลมารีย์และควรเสนอบ่อยๆ ให้รับขั้นสมาชิกนี้ก็ตาม ถึงกระนั้นก็ห้ามจดชื่อหรือกล่าวถึงชื่อนั้นอย่างเปิดเผย
ง) จะเริ่มเป็นสมาชิกเปรโตเรียนก็ต่อเมื่อลงชื่อในทะเบียนเฉพาะแล้ว
จ) จิตตาธิการและประธานต้องพยายามหาสมาชิกเปรโตเรียนเพิ่มขึ้นเสมอ แต่ขณะเดียวกันต้องติดต่อกับสมาชิกที่มีอยู่แล้ว เพื่อดูว่ายังปฏิบัติตามข้อบังคับครบถ้วนหรือไม่
หากจิตตาธิการยินยอมให้บันทึกชื่อของท่าน (จิตตาธิการ) ลงในทะเบียนเปรโตเรียน ก็จะทำให้สมาชิกภาพพลมารีย์ของท่านเพิ่มพูน และผูกพันท่านกับเปรสิเดียมแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ทั้งจะเป็นคุณประโยชน์มาก ช่วยให้การหาสมาชิกเปรโตเรียนได้ผลยิ่งขึ้นด้วย
หน้า 132 บทที่ 16 ขั้นเพิ่มเติมแห่งสมาชิกภาพ
คณะพลมารีย์หวังผลอย่างมากจากเปรโตเรียน อาศัยการสวดภาวนาจะนำสมาชิกมากหลาย ให้มีชีวิตใกล้ชิดสนิทกับพระเป็นเจ้ามากยิ่งขึ้น เป็นการรวมจิตตารมณ์รักการภาวนาเข้ามาในระบบพลมารีย์ และพลมารีย์เองจะยิ่งพยายามเสียสละเพื่อจิตตารมณ์รักการสวดภาวนานี้ อันจะเกิดผลดีอย่างแน่นอนแก่กิจการฝ่ายวิญญาณทั้งหมดของคณะพลมารีย์ ช่วยให้พลมารีย์ยิ่งที่ยิ่งนิยมมอบกิจการทั้งปวงของตนไว้ในคำภาวนา เป็นเหตุให้สำนึกบริบูรณ์ยิ่งขึ้นว่าจุดหมายสำคัญแท้จริงของตน คือทำให้สมาชิกมีจิตตารมณ์เหนือธรรมชาติยิ่งขึ้น
“ท่านจะต้องเติบโต ข้าพเจ้ารู้ดี เป็นจุดหมายปลายทางของท่าน เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชื่อคาทอลิก เป็นอภิสิทธิ์แห่งมรดกที่ตกทอดมาจากอัครสาวก แต่การขยายทางด้านวัตถุโดยไม่สอดคล้องกับศีลธรรม คิดแล้วออกจะน่ากลัวเอาการอยู่” (พระคาร์ดินัลนิวแมน : Present Position of Catholics)
2. สมาชิกสนับสนุน
สมาชิกภาพนี้เปิดโอกาสให้ทุกท่านเป็นได้ ไม่ว่าจะเป็นพระสงฆ์ นักบวช หรือฆราวาส สมาชิกประเภทนี้ประกอบด้วยบุคคลที่ไม่สามารถหรือไม่ปรารถนาที่จะรับหน้าที่สมาชิกประจำการ แต่ยินดีที่จะช่วยเหลือสนับสนุนกิจการพลมารีย์โดยทางคำภาวนา
สมาชิกสนับสนุนนี้แบ่งออกเป็น 2 ขั้นคือ
ก) สมาชิกภาพขั้นต้น สมาชิกเหล่านี้มีชื่อเรียกว่า “สมาชิกสนับสนุนธรรมดา”
ข) สมาชิกภาพขั้นสูงขึ้นไป สมาชิกเหล่านี้มีชื่อเรียกว่า “สมาชิกอัดยูตอเรียน”
เกี่ยวกับสมาชิกสนับสนุนนี้ไม่มีกฎเกณฑ์เรื่องอายุ
หน้า 133 บทที่ 16 ขั้นเพิ่มเติมแห่งสมาชิกภาพ
คำภาวนาของสมาชิกสนับสนุนนี้ ไม่จำเป็นที่จะต้องอุทิศแก่พลมารีย์โดยตรงเสมอไป การที่จะสวดภาวนาเพื่อเป็นเกียรติมงคลแด่พระนางมารีย์ก็เป็นการเพียงพอแล้ว เพราะฉะนั้นบางครั้งอาจเป็นได้ที่คณะพลมารีย์จะไม่ได้รับอะไรเลยจากคำภาวนาเหล่านี้ ในกรณีเช่นนั้น คณะพลมารีย์ก็ไม่ปรารถนาที่จะรับในเมื่อคำภาวนานั้นจะมีประโยชน์สำหรับเหตุอื่นมากกว่า แต่เมื่อความจริงมีว่า คำภาวนานี้มาจากคณะพลมารีย์ แน่นอนจะต้องมีอิทธิพลโน้มน้าวให้พระราชินีแห่งคณะพลมารีย์ทรงเอาพระทัยใส่ในความต้องการของคณะด้วย
แต่กระนั้นก็ดี เป็นการสมควรอย่างยิ่งที่จะมอบคำภาวนาและกิจการพลมารีย์ทั้งสิ้นแด่พระนางมารีย์ ในฐานะเป็นของขวัญอันมิได้ถูกแบ่งตัดทอนเลย สำหรับพระนางที่จะใช้ตามน้ำพระทัย การปฏิบัติเช่นนี้จะทำให้คำภาวนาและกิจการของเรามีระดับสูงขึ้นในด้านความมีใจกว้างและในขณะเดียวกันก็จะทำให้มีค่ามากขึ้นด้วย เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจเราให้ปฏิบัติตามนี้ เราอาจจะสวดภาวนาสั้น ๆ ถวายตนแด่พระนางทุกวัน เช่น “พระแม่มารีย์ผู้นิรมลคนกลางจ่ายพระหรรษทานทุกประการ ลูกขอมอบส่วนคำภาวนา กิจการและความยากลำบาก เท่าที่พระจะประทานแก่ลูก แด่พระแม่ด้วย”
สมาชิกสนับสนุนทั้ง 2 ขั้นนี้ทำหน้าที่อยู่ในคณะพลมารีย์ เป็นเสมือนปีกทั้งสองของนก อาศัยปีกที่แผ่กว้างโดยที่มีการสนับสนุนมากมาย และอาศัยการกระพือปีกอันทรงพลัง ด้วยจังหวะการภาวนาอย่างสัตย์ซื่อของเขา คณะพลมารีย์สามารถโผขึ้นสู่อุดมคติและความพากเพียรเหนือธรรมชาติอาจบินรวดเร็ว ไปไหน ๆ ได้ดังใจนึก แม้ทิวเขาก็มิอาจขัดขวางได้ แต่ถ้าปีกดังกล่าวหุบเสียแล้วคณะพลมารีย์ต้องหมดเรี่ยวแรงอยู่ตามพื้นดิน อุปสรรคเพียงเล็กน้อยก็พอให้ชะงักได้
หน้า 134 บทที่ 16 ขั้นเพิ่มเติมแห่งสมาชิกภาพ
สมาชิกภาพขั้นต้น : สมาชิกสนับสนุนธรรมดา
สมาชิกแผนกนี้ มีชื่อเรียกว่า “สนับสนุน” เป็นปีกซ้ายแห่งกองทัพคำภาวนาของพลมารีย์ กิจปฏิบัติของสมาชิกสนับสนุน คือสวดบทภาวนาที่บรรจุในแตสเชราทุกวัน ได้แก่บทร้องหาพระจิต ลูกประคำ 50 เม็ดและบทวิงวอนต่าง ๆ บทกาเตนา (สายสัมพันธ์) และบทที่เรียกบท “ภาวนาปิดประชุม” บทเหล่านี้อาจแบ่งสวดได้ตลอดวันแล้วแต่สะดวก
บุคคลที่ตามปกติสวดลูกประคำประจำวันอยู่แล้วไม่ว่าจะเพื่อจุดประสงค์อะไรก็ตาม สามารถเป็นสมาชิกสนับสนุนได้โดยไม่จำต้องสวดลูกประคำเพิ่มอีก
“ผู้ที่ภาวนาเป็นผู้ช่วยวิญญาณของมนุษย์ทั้งหลาย เขาช่วยพี่น้อง อาศัยฤทธิ์ดึงดูดอันสามารถกอบกู้และทรงพลังของวิญญาณที่มีความเชื่อ รู้และเจตนา เขาคอยจัดหาทุกสิ่งตามที่นักบุญเปาโลร้องขอจากเรา เหนืออะไรอื่นทั้งหมด คือส่งคำภาวนาวิงวอน และขอบพระคุณพระเป็นเจ้าแทนมนุษย์ทั้งปวง ‘จงอธิษฐานภาวนาอยู่เสมอ ขอพระจิตเจ้าทรงดลใจคำอธิษฐานวอนขอต่าง ๆ ทุกโอกาส จงตื่นเฝ้า’ (อฟ 6:18)
ไม่รู้สึกหรือว่าถ้าหยุดตื่นเฝ้า เลิกยืนหยัด เลิกพยายาม เลิกยึดมั่น ทุกสิ่งก็จะเฉื่อยซาลง โลกจะทรุดหนักลง พี่น้องของท่านจะรู้สึกอ่อนแอ หมดที่สนับสนุน แน่นอนเป็นเช่นนี้จริง ๆ เราแต่ละคนมีส่วนช่วยจรรโลงโลกไว้ ใครที่หยุดทำงาน และหยุดตื่นเฝ้าก็เป็นภาระแก่ผู้อื่น” (Gratry : Les Sources)
ก. สมาชิกขั้นสูงขึ้นไป – ขั้นอัดยูตอเรียน
สมาชิกขั้นนี้เป็นปีกขวาของคณะพลมารีย์ฝ่ายคำภาวนา ได้แก่บรรดาที่(ก) สวดภาวนาทั้งครบในแตสเซราทุกวัน และ (ข) รวมทั้งจะร่วมพิธีมิสชาและรับศีลมหาสนิททุกวัน และจะสวดบททำวัตรบางแบบที่พระศาสนจักรรับรองแล้ว
หน้า 135 บทที่ 16 ขั้นเพิ่มเติมแห่งสมาชิกภาพ
คุณค่าพิเศษเกี่ยวกับบททำวัตรให้ดูสมาชิกภาพขั้นเปรโตเรียน
สมาชิกภาพขั้นอัดยูตอเรียน คือชั้นพิเศษของสมาชิกสนับสนุนธรรมดาเช่นเดียวกับเปโตเรียน เป็นขั้นพิเศษของสมาชิกประจำการ ข้อปฏิบัติที่เพิ่มเติมก็เหมือนกัน
การที่สมาชิกขั้นนี้บกพร่องในกิจปฏิบัติเพียงครั้งหรือสองครั้งในหนึ่งสัปดาห์ ไม่ควรถือเป็นข้อบกพร่องที่ร้ายแรง
บททำวัตรนี้ไม่จำเป็นสำหรับนักบวชที่ต้องสวดตามวินัยของคณะ
ควรพยายามส่งเสริมให้ผู้ที่เป็นสมาชิกสนับสนุนธรรมดา เป็นสมาชิกขั้นอัดยูตอเรียน เพราะจะเผยวิถีทางที่แท้แห่งชีวิตให้ ข้อความที่ได้กล่าวในบทที่ว่าด้วยสมาชิกขั้นเปรโตเรียน เกี่ยวกับการที่สมาชิกคณะพล์มารีย์ควรรวมเป็นอันหนึ่งเดียวกันกับคำภาวนาของพระศาสนจักรและคุณค่าพิเศษของบททำวัตรนั้น ก็สามารถนำมาใช้กับสมาชิกอัดยูตอเรียนได้เช่นกัน
พระสงฆ์และนักบวชควรที่จะได้รับการขอร้องเป็นพิเศษให้เป็นอัดยูตอเรียน คณะพลมารีย์ปรารถนาเป็นอย่างยิ่งที่จะเป็นหนึ่งเดียวกับชั้นบุคคลถวายตัวเหล่านี้ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เจริญชีวิตในการภาวนาใกล้ชิดสนิทกับพระเป็นเจ้า ท่านเหล่านี้เปรียบประดุจสถานีส่งพลังฝ่ายวิญญาณในพระศาสนจักร เมื่อสัมพันธ์อย่างมั่นเหมาะกับสถานีพลังงานนี้ จักรกลคณะพลมารีย์ก็สามารถขับเคลื่อนด้วยพลังงานที่ไม่มีอะไรต้านทานได้
เมื่อพิจารณาดูจะเห็นว่าสมาชิกภาพนี้เพิ่มกิจปฏิบัติพิเศษ เหนือกิจปฏิบัติที่ต้องบังคับของท่านเพียงเล็กน้อยเหลือเกิน มีไม่มากไปกว่าการสวดบทกาเตนา (บทสายสัมพันธ์) อันเป็นบทภาวนาของพลมารีย์และบทภาวนาสั้น ๆ ซึ่งกินเวลาเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้น แต่โดยอาศัยความสัมพันธ์นี้กับคณะพลมารีย์ ท่านเหล่านี้ก็มีความสามารถที่จะเป็นพลังผลักดันของคณะได้
หน้า 136 บทที่ 16 ขั้นเพิ่มเติมแห่งสมาชิกภาพ
อาร์คีมีดีส ในสมัยโน้นเคยกล่าวว่า “ขอคานและหมอนรองสักอันหนึ่งและข้าพเจ้าจะงัดโลกทั้งโลกขึ้น” เมื่ออัดยูตอเรียนร่วมเป็นหนึ่งเดียวกับคณะพลมารีย์ จะเห็นว่าคณะพลมารีย์นี้เองเป็นหมอนรองอันจำเป็นของคานงัดอันยาวแห่งคำภาวนาศักดิ์สิทธิ์ของตน ซึ่งกลายเป็นพลังสรรพานุภาพสำหรับยกวิญญาณที่จมอยู่ในห้วงทุกข์ทั่วโลกให้ลอยขึ้น และยกปัญหาให้เคลื่อนพ้นไปได้
“ในห้องประชุมตั้งศีลมหาสนิท อันเป็นสถานที่ซึ่งพระศาสนจักรได้ตั้งรากฐานอย่างแน่นแฟ้น ด้วยอาศัยพระคุณของพระจิต ณ ที่นั้นพระนางมารีย์ในท่ามกลางอัครสาวกและสานุศิษย์ที่ชุมนุมพร้อมกัน ได้เริ่มบทบาทอย่างเปิดเผย และยังคงปฏิบัติต่อไปเสมออย่างเร้นลับและสนิทชิดเชื้อยิ่งขึ้น กล่าวคือ รวบรวมมนุษย์มาภาวนาเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และประทานชีวิตวิญญาณเดชะคำเสนออันทรงสรรพฤทธิ์ของพระนาง ‘ทุกคนร่วมอธิษฐานภาวนาสม่ำเสมอ เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันพร้อมกับบรรดาสตรี รวมทั้งมารีย์พระมารดาของพระเยซูเจ้าและพระประยูรญาติของพระองค์’ (กจ 1:14)” (Mura : พระกายทิพย์ของพระคริสตเจ้า)
ข้อควรพิจารณาทั่วไปเกี่ยวกับสมาชิกสนับสนุนทั้งสองแผนก
1. หน้าที่เพิ่มเติม คณะพลมารีย์ขอวิงวอนสมาชิกสนับสนุน ทั้งสองแผนกให้สังวรว่า เงื่อนไขอันจำเป็นแห่งสมาชิกภาพดังกล่าวแล้วนั้นไม่ใช่เป็นการจำกัดขอบเขตหน้าที่สมาชิก แต่ให้ถือเป็นเพียงขั้นต่ำสุดที่จะพึงปฏิบัติจึงขอให้สวดและทำกิจการเพิ่มเติมโดยแข็งขันเป็นพิเศษเพื่อความประสงค์นี้
ขอเสนอแนะสำหรับอัดยูตอเรียนพระสงฆ์ ให้ระลึกถึงเป็นพิเศษในทุกมิสซา และบางครั้งบางคราวให้ถวายมิสซา ตามความประสงค์ของพระนางมารีย์และคณะพลมารีย์ สมาชิกสนับสนุนอื่น ๆ ควรเสียสละบ้าง
หน้า 137 บทที่ 16 ขั้นเพิ่มเติมแห่งสมาชิกภาพ
ตามสมควร เพื่อขอมิสซาเป็นครั้งคราวตามความประสงค์เช่นเดียวกัน
แม้ว่าสมาชิกสนับสนุนจะเสียสละเพื่อคณะพลมารีย์ด้วยใจกว้างสักเพียงไรก็ตาม เขาจะได้รับตอบแทนเป็นร้อยเท่า พันเท่า ล้านเท่า ทั้งนี้เป็นไฉน ก็เนื่องจากคณะพลมารีย์สอนสมาชิกสนับสนุน เช่นเดียวกับสมาชิกประจำการ ว่าพระนางมารีย์ยิ่งใหญ่สักป่านใด เรียกเขามาเป็นทหารรับใช้พระนางและสอนเขาให้รู้จักรักพระนางให้ถูกต้อง ทั้งหมดนี้เป็นกำไรใหญ่หลวงซึ่งแม้คำว่า “ล้านเท่า” ก็มิอาจนำมาเปรียบเทียบได้ เป็นการยกระดับชีวิตวิญญาณให้สูงขึ้นและดังนี้ก็เป็นหลักประกันชีวิตนิรันดรอันรุ่งโรจน์เพิ่มขึ้นด้วย
2. ใครเล่าจะไม่ยอมถวายของขวัญชนิดนี้แด่พระนาง เพราะพระนางเป็นพระราชินีของคณะพลมารีย์ เช่นเดียวกันยังเป็นพระราชินีของสากลโลกและของทุกแผนกทุกกรณี ดังนั้นถวายแด่พระนางก็เท่ากับถวายไปบำบัดถิ่นที่แร้นแค้นที่สุด ช่วยในกรณีที่คำภาวนาจะสำเร็จสมตามความประสงค์มากที่สุด
3. ในการแจกจ่ายพระคุณของพระนางมารีย์ผู้นิรมล ควรจะคำนึงถึงความต้องการของชีวิต และหน้าที่ตามปกติของแต่ละคน รวมทั้งข้อผูกพันอื่น ๆ ทั้งหมดด้วย จึงอาจมีผู้ถามว่า “ข้าพเจ้าปรารถนาจะร่วมมือด้วย แต่ข้าพเจ้าก็ได้ถวายทุกสิ่งแด่พระนางแล้ว โดยไม่คำนึงถึงอะไรทั้งสิ้น หรือไม่ก็ถวายแกวิญญาณในไฟชำระ หรือแก่บรรดาธรรมทูตจนหมดสิ้นแล้ว ทุกสิ่งหมดแล้ว จึงไม่มีอะไรเหลือสำหรับคณะพลมารีย์อีก ดังนั้นข้าพเจ้าจะมีประโยชน์อะไรสำหรับจะเป็นสมาชิกสนับสนุน”
คณะพลมารีย์ขอตอบว่า ถ้าได้บุคคลที่ไม่เห็นแก่ตัวเลยเช่นนี้มาช่วยคณะพลมารีย์ ก็นับว่าประเสริฐยิ่ง เพียงท่านรู้สึกห่วงใยจะช่วยคณะพลมารีย์ก็เป็นคำภาวนาเพิ่มเติมในตัวแล้ว เป็นข้อพิสูจน์ให้เห็นเจตนาบริสุทธิ์เป็น
หน้า 138 บทที่ 16 ขั้นเพิ่มเติมแห่งสมาชิกภาพ
พิเศษ เป็นคำเรียกร้องอันทรงพลังยิ่งต่อความโอบอ้อมอารีไม่มีขอบเขตของพระนางผู้เฝ้ารักษาพระคลังของพระเป็นเจ้า
แน่นอนว่า ถ้าท่านเข้าเป็นสมาชิกสนับสนุน พระนางจะสนองความปรารถนาของท่าน ความตั้งใจใหม่ก็จะได้รับผล ทั้งความตั้งใจเก่าๆ ก็ไม่สูญเสียเลย เหตุว่าพระนางผู้เป็นทั้งพระราชินีและพระมารดาน่าอัศจรรย์ยิ่งนี้ มีวิธีการอยู่ว่า แม้ทรงใช้ของถวายของเรา ไปช่วยเหลือผู้อื่นอย่างเสรีจากคลังฝ่ายวิญญาณของเรา กระนั้นก็ดี เราเองกลับร่ำรวยอย่างประหลาด
การที่พระนางเข้ามาเกี่ยวข้องทำให้บังเกิดผลทวีคูณ การทวีคูณอย่างประหลาดนี้ นักบุญหลุยส์มารีย์ กรีญอง เดอ มงฟอร์ต เรียกว่าเป็นเคล็ดลับแห่งพระหรรษทานและได้บรรยายไว้ดังนี้ “พึงสังเกตว่ากิจการกุศลของเราเมื่อผ่านทางพระหัตถ์ของพระนางมารีย์ กิจการเหล่านี้ได้รับเพิ่มพูนความบริสุทธิ์และบุญกุศลเป็นผลตามมา ทั้งเพิ่มคุณค่าทางชดใช้บาปและเพิ่มผลแห่งคำวิงวอนขอด้วย เพราะเหตุนี้เองจึงสามารถเป็นเครื่องบรรเทาทุกข์วิญญาณในไฟชำระ และทำให้คนบาปกลับใจได้ดีกว่าหากมิได้ผ่านพระหัตถ์อันบริสุทธิ์และเผื่อแผ่ของพระนางมารีย์” (จากความศรัทธาภักดีต่อพระนางมารีย์ ของนักบุญหลุยส์มารีย์ กรีญอง เดอ มงฟอร์ต ข้อ 172)
มนุษย์ทุกคนต้องการวิธีการวิเศษของกิจการอันน่าชื่นชมนี้ เพราะอาศัยวิธีนี้ ใครมีสมบัติเท่าไรก็นำไปทำให้เกิดดอกเบี้ยร้อยเท่าพันทวี และเมื่อทำหน้าที่สำเร็จแล้วสมบัตินั้นก็กลับคืนสู่เจ้าของอีก ทั้งยังได้รับผลกำไรเพิ่มขึ้นด้วย วิธีการวิเศษนี้ได้แก่ถวายการเป็นสมาชิกสนับสนุน ที่ซื่อสัตย์แด่พระนางมารีย์นั่นเอง
4. อาจเป็นได้เพราะวิญญาณตกทุกข์ได้ยาก ซึ่งคณะพลมารีย์ไปติดต่อนั้นมีจำนวนมากมายด้วยกัน ฉะนั้นจึงคล้ายกับว่า แม่พระมีส่วนโปรด
หน้า 139 บทที่ 16 ขั้นเพิ่มเติมแห่งสมาชิกภาพ
ให้คณะพลมารีย์ของพระนาง มีพลังชักนำอย่างที่ไม่มีอะไรต้านทานได้ พลมารีย์จะไม่รู้สึกลำบากที่จะได้มิตรสหายมาเป็นสมาชิกสนับสนุน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับคณะพลมารีย์และและเป็นคุณประโยชน์แก่สมาชิกสนับสนุนเองเพราะด้วยวิธีนี้เขาได้เข้าสมทบในสมาชิกภาพของคณะพลมารีย์และพลอยมีส่วนในคำภาวนาและกิจการงานของคณะพลมารีย์ด้วย
5. อนึ่ง ปรากฏว่า สมาชิกสนับสนุนของคณะพลมารีย์หรือแผนกคำภาวนาก็มีอำนาจดึงดูดความสนใจ เช่นเดียวกับสมาชิกแผนกประจำการ บุคคลที่ไม่เคยคิดจะสวดลูกประคำทุกวัน กลับยินดีปฏิบัติตามข้อผูกมัดของสมาชิกสนับสนุน ซึ่งขอร้องให้สวดบทภาวนาทั้งหมดตามใบแตสเซราเป็นประจำทุกวัน ดังที่กล่าวไว้แล้วโดยละเอียด
บุคคลมากหลายในสถานพยาบาล สถานสงเคราะห์และสถาบันอื่นๆ ซึ่งสิ้นหวัง ครั้นเข้าเป็นสมาชิกสนับสนุนของคณะ ก็กลับมีชีวิตชีวาเสียใหม่เช่นเดียวกัน คนเป็นอันมากตามชนบทและผู้ที่เจริญชีวิตท่ามกลางสิ่งแวดล้อมซึ่งชักนำให้มีความคิดเห็นว่า การถือศาสนาเป็นเรื่องไม่สนุก หรือไม่ก็เป็นของจำเจน่าเบื่อ ครั้นมาเป็นสมาชิกสนับสนุนก็กลับสำนึกว่าเขามีความสำคัญต่อพระศาสนจักร ไม่ใช่แต่เท่านั้นยังรู้สึกว่า ตนมีส่วนในผลได้ผลเสียของคณะถ้ามีโอกาสอ่านข่าวสารของคณะเพียงบางเรื่องก็ตั้งใจอ่านอย่างจริงจัง
เขารู้สึกว่าตนได้มีส่วนในการชิงชัยเพื่อวิญญาณด้วย แม้จะห่างไกลเท่าไรก็ตาม เขาตระหนักว่าคณะจำต้องพึ่งคำภาวนาของเขา ข่าวคราวจากที่ต่าง ๆ ที่น่าภาคภูมิและตื่นเต้นสำหรับวิญญาณ ก็พอทำให้ชีวิตของเขาพลอยตื่นเต้นไปกับผลงานอันแสนไกลนั้นด้วย ความเป็นอยู่ของเขาได้เปลี่ยนสภาพไปหมดเพราะความรู้สึกว่าตนได้ร่วมมือกับการชิงชัยนั้น แม้ผู้ทรงคุณธรรมเลิศล้ำเพียงไรก็ยังต้องการความคิดเช่นนี้มากระตุ้นเตือนเขาอยู่
หน้า 140 บทที่ 16 ขั้นเพิ่มเติมแห่งสมาชิกภาพ
6. ทุกเปรสิเดียมควรกระตือรือร้นนำชาวคาทอลิกทุกคนในท้องที่ของตนมาเป็นสมาชิกสนับสนุน ถ้าได้เช่นนี้เท่ากับได้เตรียมเนื้อนาดีสำหรับงานแพร่ธรรมของคณะในด้านอื่น ๆ การออกเยี่ยมเพื่อจุดประสงค์ดังกล่าวซึ่งนับว่าน่าชม คงจะมีผู้ต้อนรับอย่างดีทั่วไปและหวังว่าจะได้ผลดีไม่น้อย
7. การหาสมาชิกจากบรรดาสมาคมคาทอลิก หรือกิจกรรมคาทอลิกแขนงอื่นมาเป็นสมาชิกสนับสนุน มีแต่จะยังผลให้คณะนั้น ๆ เกิดความครบครันตามจิตตารมณ์ยิ่งขึ้น ด้วยว่าเขาจะได้เป็นหนึ่งเดียวกันทางคำภาวนา ความเห็นอกเห็นใจและอุดมคติ ภายใต้การอุปถัมภ์ของพระนางมารีย์ โดยไม่มีอะไรก้าวก่ายอิสรภาพ หรือลักษณะเฉพาะของแต่ละคณะเลย และไม่ได้ทำให้การสวดภาวนาเกิดชัดแย้งกับกิจการเดิม พึงจำไว้ว่าคำภาวนาของสมาชิกสนับสนุนถวายเป็นเกียรติมงคลแด่พระนางมารีย์ และมิใช่เพื่อคณะพลมารีย์อย่างเดียว
8. ผู้ที่ไม่ใช่คาทอลิก จะเป็นสมาชิกสนับสนุนตามปกติไม่ได้ แต่ในกรณีที่ (เป็นครั้งคราว) บุคคลชนิดนี้จะสมัครสวดบทภาวนาของคณะทั้งหมดทุกวันก็ควรมอบแตสเซราให้ และส่งเสริมให้ปฏิบัติตามเจตนาดีเลิศของเขา จดบันทึกชื่อเขาไว้ต่างหากเพื่อติดต่อสืบไป แน่นอนว่าพระแม่เจ้าจะสนใจต่อความต้องการของวิญญาณนั้น
9. จุดประสงค์แห่งกิจภาวนาที่ควรแนะนำให้สมาชิกสนับสนุนทราบก็คือ เพื่อคณะพลมารีย์สามารถและรณรงค์เพื่อวิญญาณได้ทั่วโลก มากกว่าเพื่อความต้องการเฉพาะท้องที่ของตน พึงแนะนำให้สมาชิกสนับสนุนจดจำใส่ใจไว้เสมอว่า แม้ตนเองไม่ได้อยู่ในตำแหน่งต้องสู้รบก็จริง กระนั้นก็ดีเขาก็มีบทบาทสำคัญยิ่ง เปรียบได้กับคนงานทำกระสุน และส่งเสบียงอาหาร หากขาดบุคคลประเภทนี้ กำลังรบก็หมดพลานุภาพ
หน้า 141 บทที่ 16 ขั้นเพิ่มเติมแห่งสมาชิกภาพ
10. การรับสมาชิกสนับสนุนไม่ควรกระทำอย่างง่าย ๆ ควรให้เขาคุ้นเคยกับข้อกำหนดโดยครบถ้วนเสียก่อน และควรมั่นใจอย่างมีเหตุผลว่าเขาจะซื่อสัตย์ต่อข้อกำหนดเหล่านั้น
11. ควรชี้แจงให้สมาชิกสนับสนุน เข้าใจถึงการงานภายในของคณะด้วย ทั้งนี้โดยมุ่งหมายจะให้เขาเพิ่มความสนใจในบริการของตน และเพื่อว่า ก) ในปัจจุบัน เขาได้ปรับปรุงคุณลักษณะของเขาให้ดีขึ้น เป็นผลให้ใจแน่วแน่ในบริการนี้ และ ข) ในอนาคตจะได้เลื่อนชั้นขึ้นเป็นสมาชิกประเภทสมบูรณ์ เพื่อนำเขาไปสู่การเป็นสมาชิกขั้นอัดยูตอเรียน และสมาชิกประจำการ
12. จำเป็นต้องติดต่อกับสมาชิกสนับสนุนเสมอ เพื่อให้คงอยู่ในสมาชิกภาพและสนใจคณะพลมารีย์เรื่อยไป และจะเป็นงานอันน่าชื่นชมสำหรับพลมารีย์บางท่าน ซึ่งมีอุดมคติจะปฏิบัติหน้าที่มอบหมายให้ก้าวหน้าเสมอ
13. ควรให้สมาชิกสนับสนุนทุกคนทราบถึงคุณประโยชน์ยิ่งใหญ่ของการเช้าเป็นสมาชิกคณะสายประคำศักดิ์สิทธิ์ เนื่องจากสมาชิกสนับสนุนสวดภาวนามากกว่าที่คณะสายประคำขอร้องอยู่แล้ว จึงมีแต่ลงชื่อในทะเบียนของคณะ
14. เช่นเดียวกัน เพื่อความเจริญก้าวหน้าอย่างสมบูรณ์ของทหารฝ่ายสนับสนุนของพระนางมารีย์ อย่างน้อยควรอธิบาย “เรื่องความศรัทธาภักดีต่อพระนางมารีย์” หรือการถวายชีวิตของตนแด่พระนางให้สมาชิกประเภทนี้ทราบ หลายคนอาจยินดีให้บริการที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นเพื่อพระนางเรื่องการถวายตัวอย่างแท้จริงต่อพระนางมารีย์นี้ เรียกร้องให้ถวายสมบัติฝ่ายวิญญาณแด่พระนาง ผู้ซึ่งพระเป็นเจ้าเองทรงแต่งตั้งให้เป็นเหรัญญิกแห่งสวรรค์
หน้า 142 บทที่ 16 ขั้นเพิ่มเติมแห่งสมาชิกภาพ
อย่ากลัวว่าจะมีข้อบกพร่องในเรื่องนี้ เพราะความประสงค์ของพระนางก็เพื่อประโยชน์ของพระคริสตหฤทัย คือแผ่ไปทั่วความต้องการทุกอย่างของพระศาสนจักร ปกคลุมงานแพร่ธรรมทั้งหมด แผ่ไพศาลไปทั่วโลกลงไปจนถึงวิญญาณที่รอเวลาอยู่ในไฟชำระ ปรารถนาลุกร้อนให้สำเร็จตามพระประสงค์ของพระนางมารีย์ คือเอาใจใส่ถึงความต้องการทั้งหมดแห่งพระกายทิพย์ของพระคริสตเจ้า เหตุว่าพระนางยังเป็นแม่ที่เอาใจใส่ในทุกวันนี้ ไม่น้อยกว่าในสมัยที่อยู่ที่บ้านนาชาเร็ธ ปฏิบัติตามพระประสงค์ของพระนางหมายความว่าเดินตรงไปสู่จุดหมาย คือทำตามพระประสงค์ของพระองค์นั่นเอง แต่หากต้องเดินไปด้วยตนเอง จะต้องเดินวกวนและจะนำเขาไปสู่จุดหมายปลายทางได้หรือ
เพื่อป้องกันมิให้บางคนอาจคิดไปว่า ความศรัทธานี้เหมาะสำหรับบุคคลที่เจริญก้าวหน้าแล้วเท่านั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะจำไว้ว่า บุคคลที่นักบุญหลุยส์มารีย์ กรีญอง เดอ มงฟอร์ต ได้เตือนถึงเรื่องสายประคำ ความศรัทธาภักดีต่อพระนางมารีย์และการเป็นทาสศักดิ์สิทธิ์แห่งความรักนั้นคือวิญญาณที่หลุดจากการเป็นทาสของบาป รู้คำสอนน้อยและลืมแม้กระทั่งความจริงพื้นฐานของคำสอน
15. สิ่งที่น่าจะจัดทำขึ้น และเป็นสิ่งพึงปรารถนา คือ จัดให้สมาชิกสนับสนุนมาพบปะชุมนุมกันบ้าง การประสานงานเช่นนี้ ย่อมทำให้อุดมคติการแพร่ธรรมและการสวดภาวนาของคณะพลมารีย์ ขยายเข้าในการชุมนุมนั้น จนที่สุดจะพากันทำตามอุดมคติอันสูงส่งของคณะ
16. คณะส่งเสริมความศรัทธาใดที่ประกอบด้วยสมาชิกขั้นสนับสนุนนี้ จะมีค่าไม่น้อยหน้าคณะศรัทธาอื่นๆ ยิ่งไปกว่านั้น คณะนี้เป็นส่วนหนึ่งของคณะพลมารีย์ มีความอบอุ่นและสีสันของพลมารีย์ทุกประการ
หน้า 143 บทที่ 16 ขั้นเพิ่มเติมแห่งสมาชิกภาพ
บทที่ 16 ขั้นเพิ่มเติมแห่งสมาชิกภาพ 143
การประชุมเป็นครั้งคราวของคณะเช่นนี้ จะช่วยให้สมาชิกสัมผัสกับจิตตารมณ์และความต้องการของคณะพลมารีย์ เป็นหลักประกันให้เขาชื่อสัตย์ต่อข้อกำหนดของตนในฐานะเป็นสมาชิกสนับสนุนเสมอ
17. ควรมีจุดประสงค์ที่จะนำสมาชิกสนับสนุนทุกคนมาเป็นปาตรีเชียน เพราะทั้งสองฝ่ายนี้ต่างเกื้อกูลกันให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น การประชุมปาตรีเซียนจะทำให้คำแนะนำที่ให้จัดประชุมสมาชิกสนับสนุนเป็นครั้งคราวสำเร็จผล การประชุมนี้ จะทำให้เขาสัมผัสกับคณะพลมารีย์และพัฒนาเข้าสู่วิถีทางสำคัญ อีกประการหนึ่ง ถ้าปาตรีเซียนเข้าเป็นสมาชิกสนับสนุน ก็จะเป็นการยกระดับเขาให้ก้าวหน้าสืบต่อๆ ไป
18. ห้ามใช้สมาชิกสนับสนุน ไปทำงานตามปกติของคณะพลมารีย์ข้อเสนอที่จะใช้สมาชิกสนับสนุนให้เป็นประโยชน์ในทางนี้ ดูเหมือนว่าน่าเลื่อมใสและเป็นการดีที่จะนำสมาชิกสนับสนุนให้ก้าวหน้าไปอีก แต่เมื่อใคร่ครวญแล้วจะเห็นว่าเป็นการเสี่ยงมาก ที่ให้ทำงานพลมารีย์โดยไม่ได้มีการประชุมคณะพลมารีย์ อีกนัยหนึ่งคือมองข้ามเงื่อนไขสำคัญของการเป็นสมาชิกประจำการ
19. ที่ใดที่เห็นว่า ควรกระทำและสามารถทำได้ ก็ให้สมาชิกสนับสนุนเข้าร่วมกระทำพิธีอาชีแอส ซึ่งเป็นพิธีที่สง่างามสำหรับเขา และนำเขาให้สนิทสนมกับสมาชิกประจำการ สมาชิกสนับสนุนซึ่งปรารถนาถวายตัวทีละคนควรกระทำต่อจากสมาชิกประจำการ
20. คำวิงวอนในแตสเซราสำหรับสมาชิกสนับสนุน คือ “พระมารดามารีย์ผู้นิรมล คนกลางจ่ายพระหรรษทานทุกประการ ช่วยวิงวอนเทอญ”
21. คำเรียกร้องของคณะพลมารีย์ต่อสมาชิกประจำการ “ให้เตรียมพร้อมเพื่อรับใช้วิญญาณเสมอ” ยังใช้ได้เช่นกันสำหรับสมาชิกสนับสนุนสมาชิกสนับสนุนก็เช่นเดียวกับสมาชิกประจำการ ต้องพยายามเต็มที่ ที่จะ
หน้า 144 บทที่ 16 ขั้นเพิ่มเติมแห่งสมาชิกภาพ
นำผู้อื่นมาร่วมงานของคณะพลมารีย์ ด้วยการสานต่อบทสายสัมพันธ์ของคณะ ซึ่งจะเป็นดังสายใยทองคำที่ถักทอคำภาวนาห่อหุ้มโลกทั้งหมด
22. มีผู้เสนอแนะว่าบทภาวนาอันเป็นกิจวัตรของสมาชิกสนับสนุนควรตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมกับคนตาบอด หรือไม่รู้หนังสือหรือเป็นเด็ก ทำให้คิดถึงความจริงที่ว่า ข้อบังคับข้อใดก็ตาม หากผ่อนผันลงแล้ว มักจะสูญเสียพลังที่ผูกมัดเราไว้ไปด้วย นอกจากนี้ การที่จะดูแลให้เป็นไปตามคำผ่อนผันนั้น ยังเป็นสิ่งเหลือวิสัยอย่างแจ้งชัดทีเดียว เพราะไม่นานจะต้องยอมผ่อนผันตามสำหรับพวกรู้หนังสือ หรือที่ตาพิการบางส่วนหรือผู้ที่มีภารกิจมาก นานไปการผ่อนผันก็จะกลายเป็นธรรมเนียมไป คณะพลมารีย์ต้องยืนหยัดในกิจวัตรมาตรฐานเสมอ ถ้าเกินกำลังของบางคน เขาก็เป็นสมาชิกสนับสนุนไม่ได้ แต่เขาอาจให้ความช่วยเหลืออันล้ำค่แก่คณะพลมารีย์ทางคำภาวนาตามถนัดของตน และควรสนับสนุนให้เขากระทำเช่นนั้น
23. จะขอร้องให้สมาชิกสนับสนุนช่วยจ่ายค่าแตสเชรา กับค่าบัตรสมาชิกภาพก็ได้ นอกจากนั้นแล้ว ห้ามเรียกเก็บค่าบำรุงใด ๆ ในการเป็นสมาชิกสนับสนุนอีก
24. ทะเบียนสมาชิกสนับสนุน ประกอบด้วยรายชื่อและที่ติดต่อแยกเป็นอัดยูตอเรียน และสมาชิกสนับสนุนธรรมดา แต่ละเปรสิเดียมต้องเก็บรักษาไว้และยื่นต่อคูเรียเป็นครั้งคราว หรือต่อเจ้าหน้าที่ผู้มาเยี่ยม ทะเบียนนี้ต้องได้รับการตรวจตราถี่ถ้วนว่าทำถูกต้องหรือเปล่า มีการแสวงหาสมาชิกใหม่อยู่เสมอ และสมาชิกได้รับการเยี่ยมเป็นครั้งคราว เพื่อให้มั่นใจว่า เมื่อจับคันไถแล้วเขาจะไม่เหลียวดูข้างหลัง (เทียบ ลก 9:62)
25. สมาชิกภาพของสมาชิกสนับสนุนเริ่มขึ้น เมื่อจดชื่อลงทะเบียนสมาชิกสนับสนุนของเปรสิเดียมใดเปรสิเดียมหนึ่ง ทะเบียนนี้ต้องอยู่ในความเอาใจใส่ของรองประธาน
หน้า 145 บทที่ 17 วิญญาณของพลมารีย์ผู้ล่วงลับ
26. ชื่อผู้สมัครเป็นสมาชิกสนับสนุนต้องจดไว้ในบัญชีเล่มชั่วคราวจนกว่าจะได้ผ่านระยะทดลองสามเดือนแล้ว ต่อจากนั้นเปรสิเดียมต้องพิจารณาให้เป็นที่พอใจว่า ข้อบังคับของสมาชิกได้รับการปฏิบัติโดยสัตย์จริงแล้วจึงลงชื่อผู้สมัครในทะเบียนสมาชิกสนับสนุนได้
“พระเยซูเจ้าผู้พระทัยดีจะประทานบำเหน็จอะไรแก่เรา เป็นการตอบแทนวีรกรรมขั้นสูง ที่เราถวายกุศลกิจทุกอย่างของเรา โดยผ่านพระหัตถ์ของพระแม่เจ้า ถ้าพระองค์ประทานรางวัลร้อยเท่า แม้ในโลกนี้ แก่บรรดาที่สละสิ่งภายนอก อันเป็นแต่สิ่งชั่วคราว เพราะรักพระองค์ พระองค์จะประทานบำเหน็จอีกสักเท่าไร แก่ผู้ที่สละทรัพย์ภายในวิญญาณแด่พระองค์เล่า” (นักบุญหลุยส์มารีย์ กรีญอง เดอ มงฟอร์ต)
บทที่ 17
วิญญาณของพลมารีย์ผู้ล่วงลับ
การรณรงค์สิ้นสุดลงแล้ว พลมารีย์ลาโลกนี้อย่างสมเกียรติ คราวสุดท้ายนี้เอง เขาได้รับการรับรองเป็นทางการในบริการของคณะแล้ว เขาจะเป็นพลมารีย์ตลอดนิรันดร เพราะคณะได้สร้างสวรรค์นิรันดรนั้นแก่เขา พลมารีย์ได้เป็นแบบอย่างและแม่พิมพ์แก่ชีวิตวิญญาณของเขา ยิ่งกว่านั้นอำนาจคำวิงวอนอย่างพร้อมเพรียง ที่สมาชิกประจำการและสนับสนุนสวดทุกวันอย่างศรัทธา ให้คณะพลมารีย์อยู่พร้อมหน้ากันโดยไม่ขาดสูญสักคนเดียวนั้น ได้ช่วยให้เขาฟันฝาภยันตรายและความยากลำบากตลอดทางอันแสนไกลของเขา
ช่างน่ายินดีสักเพียงไรสำหรับพลมารีย์ทุกคน ทั้งผู้ล่วงลับไปแล้วและผู้ที่กำลังภาวนาอุทิศให้ แต่อย่างไรก็ตาม ย่อมมีความเศร้าโศกในการที่
หน้า 146 บทที่ 17 วิญญาณของพลมารีย์ผู้ล่วงลับ
มิตรสหายต้องล่วงลับไป จึงจำเป็นต้องภาวนาให้ทหารหาญผู้ล่วงลับไปแล้วนั้นหลุดพ้นจากไฟชำระโดยเร็วพลัน
เมื่อสมาชิกประจำการคนใดถึงแก่กรรม เปรสิเดียมนั้นควรขอหนึ่งมิสชาอุทิศให้วิญญาณของเขาโดยไม่ชักช้า และสมาชิกแต่ละคนของเปรสิเดียมนั้น ควรสวดบทภาวนาของพลมารีย์ทั้งครบ รวมทั้งลูกประคำเป็นพิเศษอย่างน้อยหนึ่งครั้ง เพื่ออุทิศแก้วิญญาณนั้นด้วย แต่หน้าที่นี้ไม่รวมไปถึงญาติผู้ล่วงลับของสมาชิก พลมารีย์จำนวนมากที่สุด มิใช่เฉพาะจากเปรสิเดียมของผู้ล่วงลับนั้นเท่านั้น ควรจะไปร่วมพิธีมิสซาอุทิศแก่เขาและร่วมพิธีปลงศพด้วย
ขอเตือนว่าควรสวดลูกประคำและบทภาวนาของพลมารีย์ ขณะพิธีปลงศพ กำลังดำเนินอยู่ อาจสวดได้ทันทีต่อจากบทภาวนาของพระศาสนจักร (ที่พระสงฆ์สวด) ก็ได้ ธรรมเนียมนี้ นอกจากเป็นคุณมากแก่ผู้ล่วงลับแล้วยังเป็นการปลุกปลอบใจอันซาบซึ้งแก่วงศ์ญาติผู้โศกเศร้า แก่พลมารีย์เองและแก่มิตรสหายทุกคน ณ ที่นั้นด้วย
หวังใจว่าการสวดภาวนาดังกล่าวนี้ จะได้กระทำกันมากกว่าหนึ่งครั้งระหว่างเวลาที่ศพยังตั้งอยู่ และทั้งหน้าที่ที่จะคิดถึง (เขาในคำภาวนา) ก็คงจะไม่สิ้นสุดลงเพียงแค่นั้นด้วย
ในเดือนพฤศจิกายนทุกปี แต่ละเปรสิเดียมจะขอมิสชาอุทิศแก่วิญญาณของพลมารีย์ผู้ล่วงลับแล้ว มิใช่เฉพาะของเปรสิเดียมนั้นอย่างเดียว แต่สำหรับทั่วโลกในวาระเช่นนี้ เช่นเดียวกับโอกาสอื่นทั้งหลายเมื่อมีการสวดให้พลมารีย์ผู้ล่วงลับย่อมหมายความถึงสมาชิกทุกขั้นที่ล่วงลับไปแล้วด้วย
“ไฟชำระเป็นส่วนหนึ่งแห่งอาณาจักรของพระนางมารีย์ ที่นั่นมีลูก ๆ ของพระนางอยู่ด้วย เขาทนทุกข์ชั่วคราว คอยเวลาเข้าสู่เกียรติมงคลนิรันดร
หน้า 147 บทที่ 18 ระเบียบการประชุมเปรสิเดียม
นักบุญวินเชนต์ แฟรเร นักบุญเบอร์นาดิน ชาวเชียนนา หลุยส์ เดอ บลัวส์ เช่นเดียวกับคนอื่น ๆ ประกาศชัดแจ้งว่า พระนางมารีย์เป็นราชินีแห่งไฟชำระ และนักบุญหลุยส์มารีย์ กรีญอง เดอ มงฟอร์ต เร่งเร้าให้ชาวเราคิดและกระทำตามความเชื่อนี้ ท่าน (นักบุญ) ปรารถนาให้เรามอบคำภาวนาและกิจใช้โทษอันมีค่าของเราไว้ในพระหัตถ์พระนางมารีย์ ท่านสัญญาว่าเพื่อตอบแทนการเสียสละของเรานั้น พระนางจะช่วยวิญญาณที่เรารักให้รับความบรรเทาอย่างอุดมบริบูรณ์มากยิ่งกว่าเราตั้งใจให้วิญญาณนั้น ๆ โดยตรงเสียอีก” (Lhoumeau : La Vie Spirituelle a l’Ecole de St. Louis-Marie de Montfort)
บทที่ 18
ระเบียบการประชุมเปรสิเดียม
1. ลักษณะการประชุมทุกครั้งต้องเป็นแบบเดียวกัน สมาชิกควรนั่งรอบโต๊ะ ด้านหนึ่งของโต๊ะจัดแท่นเล็กชั่วคราวสำหรับการประชุม พระรูปแม่พระปฏิสนธินิรมล (ในลักษณะการแจกจ่ายพระหรรษทาน) สูงราว 2 ฟุต (60 ชม.) ประดิษฐานอยู่บนผ้าขาวขนาดพองาม ข้าง ๆ มีแจกันปักดอกไม้ 1 คู่ และเชิงเทียนมีเทียนจุดอยู่ 1 คู่ เยื้องไปข้างหน้าทางขวานิดหน่อยของพระรูปควรตั้งแว็กชิลลุมดังอธิบายไว้ในบทที่ 27
ภาพถ่ายแสดงวิธีจัดแท่นและแว็กซิลลุมจะพบได้ในภาพแทรกของหนังสือคู่มือเล่มนี้
เนื่องจากประสงค์จะให้พระรูปปั้นนั้น แทนพระราชินีผู้ประทับอยู่กลางหมู่ทหารของพระนาง จึงห้ามแยกแท่นจากโต๊ะประชุม หรือเลื่อนพระรูปไว้นอกวงสมาชิกที่ประชุม

หน้า 148 บทที่ 18 ระเบียบการประชุมเปรสิเดียม
ความรักประสาลูกต่อพระแม่เจ้าสวรรค์ของเราสอนว่า เครื่องใช้และดอกไม้ควรเลือกชนิดดีเท่าที่จะหาได้ ค่าใช้จ่ายชื้ออุปกรณ์ดังกล่าวมิใช่รายการซ้ำอีก (ซื้อหนเดียวใช้ได้ตลอด) อาจมีผู้ใจบุญหรือเป็นโชคดีให้เปรสิเดียมมีแจกันและเชิงเทียนเป็นเงิน ควรจะมีพลมารีย์คนหนึ่งถือเป็นหน้าที่อันมีเกียรติที่จะรักษาเว็กซิลลุม แจกันและเชิงเทียน ให้สะอาดสุกปลั่งอยู่เสมอและจัดหาดอกไม้และเทียนมาจากเงินทุนของเปรสิเดียม
ถ้าหาดอกไม้ตามธรรมชาติไม่ได้จริง ๆ ก็อนุญาตให้ใช้ดอกไม้ประดิษฐ์โดยแชมกิ่งก้านใบเขียวบ้างให้แลดูเป็นธรรมชาติ
ในภูมิอากาศที่จำเป็นต้องป้องกันเทียนมิให้ดับ อาจใช้โป๊ะบังส่วนของเทียนบ้างก็ได้
คำ “Legio Mariae” (คณะพลมารีย์) อาจปักไว้บนผ้าปูโต๊ะก็ได้แต่มิใช่ชื่อของเปรสิเดียม ควรมุ่งเพื่อความเป็นหนึ่งเดียวกันมากกว่าแตกแยก
“พระนางมารีย์เป็นคนกลางจ่ายพระหรรษทาน ก็เพราะพระนางเป็นพระมารดาของพระเยซูเจ้า นั่นเป็นเหตุและผลที่สัมพันธ์กัน และเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของพระแม่ที่จริงแล้วพระเยชูเจ้าผู้เดียวเป็นคนกลางจ่ายพระหรรษทาน พระนางมารีย์เพียงมีส่วนร่วมกับพระเยชูเจ้าในการแจกจ่าย มนุษย์คนอื่น 1 ก็มีส่วนร่วมกับพระเยซูเจ้าในการแจกจ่ายในกรณีที่แตกต่างกันไป แต่จะเทียบกับพระนางมารีย์ไม่ได้ ตามความเป็นจริงแล้ว ไม่มีสิ่งสร้างใดที่จะมาเสมอเหมือนองค์พระวจนาถรับเอากายและพระผู้กอบกู้ แต่ในขณะเดียวกันพระผู้กอบกู้ทรงเป็นคนกลางแต่เพียงพระองค์เดียว นอกจากพระองค์จะไม่ทรงหวงแหนนอกจากหน้าที่แล้ว ยังประสงค์จะแบ่งปันโดยเปิดโอกาสให้สิ่งสร้างได้มีส่วนร่วมมือกับพระองค์ในหลากหลายรูปแบบ ด้วยประการฉะนี้ พระผู้เป็นเจ้าทรงจำแนกแจกจ่ายความดีหนึ่งเดียวของพระองค์ ออกมาเป็นรูปธรรมแตกต่างกันไปแก่สิ่งสร้างของพระองค์” (RMat 38)
หน้า 149 บทที่ 18 ระเบียบการประชุมเปรสิเดียม
2. ตรงตามเวลาที่กำหนด สมาชิกต้องเข้าประจำที่และเริ่มการประชุม ตรงเวลา (ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อประสิทธิภาพของเปรสิเดียม) ดังนั้นเพื่อเริ่มตรงเวลา บรรดาเจ้าหน้าที่จำต้องมาก่อนเวลา เพื่อจัดเตรียมสิ่งที่จำเป็นในการประชุม
เปรสิเดียมไม่ควรเริ่มประชุมโดยขาดกำหนดงานที่จดไว้ ซึ่งเรียกว่า “ใบงาน” นี้ต้องเตรียมล่วงหน้าก่อนการประชุมทุกครั้ง และประธานจะมอบงานตามใบนี้ ในใบงานควรมีรายละเอียดของงานทั้งหมดที่เปรสิเดียมกำลังทำ และข้างหลังแต่ละรายการจะมีชื่อสมาชิกผู้รับมอบงานนั้น รายการงานที่มอบนี้ไม่จำเป็นจะต้องเรียงลำดับให้เหมือนกันในการประชุมทุกครั้งไปแต่ควรเรียกชื่อสมาชิกทุกคนที่จดไว้และรับฟังรายงานของแต่ละคน แม้ว่าเขาอาจจะร่วมทำงานกันสองคนหรือมากกว่านั้นก็ตาม
ก่อนปิดการประชุม ควรแน่ใจว่าสมาชิกแต่ละคนได้รับมอบงานสำหรับสัปดาห์ต่อไป
ประธานควรมีสมุดปกแข็งเพื่อบันทึกงานที่มอบไว้ทุก ๆ สัปดาห์
“อุดมคติ แม้จะดูลุกร้อนสักเพียงใด ต้องมิใช่ข้อแก้ตัวสำหรับอารมณ์เลื่อนลอยมิอาจปฏิบัติได้เป็นอันขาด ดังที่เคยซี้แสดงแล้ว อัจฉริยภาพของนักบุญอิกญาชิโอนั้น สำคัญอยู่ที่ท่านนักบุญรู้จักนำพลังงานทางศาสนา มาใช้อย่างระมัดระวังและมีระเบียบแบบแผน
ไอน้ำจะไม่มีประโยชน์อันใด กลับจะน่ารำคาญเสียด้วย หากไม่มีกระบอกสูบและลูกสูบให้ไอน้ำทำงาน ความศรัทธาลุกร้อนสูญเสียไปสักเท่าไร เมื่อวิญญาณนั้นมิได้พิจารณาตัว อย่างละเอียดและนำมาใช้เพื่อกิจการใดให้แน่นอนไป เบนชินหนึ่งแกลลอน ถ้าใช้ผิดอาจทำให้รถยนต์ระเบิดได้ หากระมัดระวังและรู้จักใช้ ก็อาจใช้พารถไปสู่ยอดเนินเขาได้” (Msgr. Alfred O’ Rahilly : Life of Father William Doyle)
หน้า 150 บทที่ 18 ระเบียบการประชุมเปรสิเดียม
3. เปิดประชุม ด้วยบทร้องหาพระจิตเจ้า ผู้ทรงเป็นบ่อเกิดแห่งพระหรรษทาน ชีวิต ความรัก ซึ่งเรานิยมนับถือว่าพระนางมาย์เป็นทางผ่านอีกทอดหนึ่ง
“นับแต่วาระที่พระนางทรงปฏิสนธิพระบุตรเจ้าในครรภ์ หากจะว่าไปแล้วพระนางก็ได้รับมอบหมายอำนาจเหนือกระบวนการทุกอย่างของพระจิตเจ้า เกี่ยวกับมนุษยโลกจนกระทั่งไม่มีสิ่งสร้างใดได้รับพระหรรษทานจากพระเป็นเจ้า นอกจากผ่านพระนางผู้เป็นคนกลาง … พระนางเป็นผู้จัดการแจกจ่ายพระคุณ ฤทธิ์กุศลและพระหรรษทานของพระจิตเจ้าให้แก่ผู้ที่พระนางพอพระทัย ตามเวลา ตามปริมาณและวิธีที่พระนางพอพระทัยด้วย” (St. Bernardine : Sermon on the Nativity)
[หมายเหตุ : ข้อความตอนท้ายนี้เกือบทุกคำ เหมือนกับข้อเขียนของนักบุญอัลเบอร์ต ผู้ยิ่งใหญ่ Biblia Mariana, Liber Esther I ผู้เจริญชีพ 200 ปี ก่อนนักบุญเบอร์นาดิน]
4. ต่อไปเป็นสายประคำห้าสิบเม็ด จิตตาธิการจะก่อสิบเม็ดที่หนึ่ง ที่สาม ที่ห้า สมาชิกก่อสิบเม็ดที่สอง และที่สี่ ขออย่าให้สมาชิกผู้ใดปฏิบัติคล้ายกับว่า สายประคำเป็นบทภาวนาเงียบ พึงสวดด้วยศักดิ์ศรีและคารวะราวกับเห็นประจักษ์ตาว่า พระนางเองมาประทับสดับฟัง ไม่ใช่เพียงรูปแทนพระนางเท่านั้น
โดยที่สายประคำมีส่วนสำคัญยิ่งในชีวิตของพลมารีย์ ทั้งทางข้อบังคับและทั้งคำแนะนำ จึงขอให้ทุกคนสมัครเข้าคณะสายประคำศักดิ์สิทธิ์ (ดูภาคผนวก 7) ถึงจะไม่ได้วางข้อผูกมัดไว้เกินกว่าที่ถือตามปกติอยู่แล้วก็ตาม การเข้าคณะก็ทำให้การสวดสายประคำได้รับประโยชน์สูงขึ้น จะทวีพระคุณการุณย์จากการสวดยิ่งขึ้นด้วย
ข้อที่ต้องจำคือพระการุญนี้ส่วนใหญ่ได้รับจากการขานพระนาม
หน้า 151 บทที่ 18 ระเบียบการประชุมเปรสิเดียม
“เยซู” อย่างศรัทธาในบทวันทามารีย์ ถ้าจะให้สวดบทวันทามารีย์นี้เป็นไปอย่างเหมาะสม ควรให้จบตอนแรกแล้ว จึงเริ่มตอนสองเพื่อให้การขานพระนาม “เยซู” เป็นไปด้วยความเคารพ (จะเห็นได้จากการสวดบทนี้ในภาษาลาตินและภาษาอังกฤษ เป็นต้น)
สมเด็จพระสันตะปาปาปอล ที่ 6 ทรงเน้นว่า สายประคำต้องเก็บรักษาไว้ เพราะเป็นการภาวนาแท้ บรรจุเหตุการณ์ในพระคัมภีร์ สรุปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งประวัติการกอบกู้ไว้ทั้งหมด และบรรจุวัตถุประสงค์สำคัญแสดงถึงบทบาทของแม่พระในประวัติศาสตร์แห่งความรอดนั้น
“ในวิธีการสวดต่าง ๆ ไม่มีอะไรดีเลิศไปกว่าการสวดสายประคำ เป็นการสรุปคารวกิจทั้งสิ้นที่เราต้องมีต่อพระนางมารีย์ เป็นยาแก้ไขความชั่วร้ายต่างๆ ของเรา และเป็นบ่อเกิดแห่งพระพรทุกอย่างด้วย” (พระสันตะป่าปาเลโอ ที่ 13)
“แต่ในบทภาวนาทั้งหลาย สายประคำเป็นบทงดงามกว่าหมด และอุดมด้วยพระหรรษทาน เป็นที่พอพระทัยของพระนางพรหมจารีมารีย์มากกว่าหมด ฉะนั้นจงรักสายประคำ และสวดด้วยใจศรัทธาทุกวัน นี่แหละคือพินัยกรรมชื่งเรามอบไว้แก่ท่านจะได้ใช้ระลึกถึงเรา” (นักบุญปีโอ ที่ 10)
“สำหรับคริสตชนคาทอลิก หนังสือเล่มเอกคือพระวรสาร และสายประคำเป็นการสรุปพระวรสารที่แท้” (ลากอร์แดร์)
“เป็นไปไม่ได้ ที่พระเป็นเจ้าจะไม่รับฟังคำภาวนาของหลายคน ถ้าพร้อมใจกันอ้อนวอนขอ” (นักบุญโธม้ส อไควนัส : ในมัทธิว บทที่ 18)
5. ทันทีต่อจากสายประคำเป็นการอ่านหนังสือศรัทธา โดยจิตตาธิการ (หรือประธาน ถ้าท่านไม่อยู่) ควรจำกัดเวลาอ่านราว 5 นาที การเลือกหนังสือศรัทธาเป็นไปโดยเสรี แต่ขอแนะนำอย่างจริงจังว่า อย่างน้อยในระยะปีแรก ๆ ของเปรสิเดียมให้อ่านหนังสือคู่มือ เพื่อให้สมาชิก
หน้า 152 บทที่ 18 ระเบียบการประชุมเปรสิเดียม
คุ้นกับข้อความที่อยู่ในนั้น และกระตุ้นเขาให้ศึกษาคู่มืออย่างจริงจัง
เมื่ออ่านจบ เป็นธรรมเนียมให้สมาชิกทำสำคัญมหากางเขนพร้อมกัน
“ไม่ต้องสงสัยเลยว่า พระนางมารีย์สมแล้วที่จะได้รับพระพร ก็เพราะพระนางทรงเป็นพระมารดาบังเกิดเกล้าของพระเยซูเจ้า (หญิงที่ให้กำเนิดและให้นมเลี้ยงท่านช่างเป็นสุขจริง ลก 11:27) แต่เหตุผลที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็เป็นเพราะ เมื่อคราวรับสารจากอัครทูตสวรรค์คาเบรียลนั้น พระนางได้น้อมรับและยอมเชื่อพระวาจาของพระเป็นเจ้า พระนางมีบุญเพราะนอบน้อมเชื่อฟังพระเป็นเจ้า พระนางมีบุญเพราะพระนางมารีย์ทรงเก็บเรื่องทั้งหมดเหล่านี้ไว้ในพระทัยและยังทรงคำนึงถึงอยู่ (เทียบ ลก 1:38, 45 ; 2:19, 51) และนำไปปฏิบัติเป็นชีวิตจิตใจตลอดอายุชัยของพระนาง เหตุนี้ เราอาจพูดได้อย่างเต็มปากว่า คำอวยพรของพระเยซูเจ้าซึ่งดูเผิน ๆ ว่าจะไปขัดแย้งกับคำอวยพรของหญิงนิรนาม ที่จริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ คำอวยพรของทั้งสองสอดคล้องกันอย่างเหมาะสม สำหรับมารดาพรหมจารีผู้นี้ ซึ่งขนานนามตนเองเรียบง่ายว่า ‘ผู้รับใช้ของพระเจ้า”” (RMat 20)
6. อ่านรายงานการประชุมครั้งก่อน และถ้าสมาชิกที่เข้าประชุมรับรองก็ให้ประธานเซ็นชื่อกำกับ รายงานควรอยู่สายกลาง คือไม่ยาวหรือสั้นเกินและการประชุมแต่ละครั้งต้องมีเลขอันดับประจำด้วยความสำคัญของรายงาน ได้เน้นไว้แล้วในหัวข้อกล่าวถึงหน้าที่เลขานุการ (บทที่ 34) โดยที่รายงานเป็นรายการแรกของกิจการประชุมตามปกติจึงมี
ความสำคัญ เสมือนตำแหน่งสำคัญทางยุทธศาสตร์ คุณภาพของรายงานและวิธีอ่านนี้อาจยังผลดีหรือร้ายแก่สิ่งอื่นทั้งหมดที่ติดตามมา
รายงานที่ดีก็เหมือนกับตัวอย่างดี รายงานไม่ดีก็เหมือนกับตัวอย่างไม่ดีและจำเป็นต้องเน้นว่า รายงานที่เขียนไว้ดี แต่อ่านไม่ดี ก็จัดอยู่ในขั้นรายงานไม่ดีด้วย ตัวอย่างเช่นนั้นย่อมมีพลังสะเทือนใจสมาชิก กระทบกระเทือน
หน้า 153 บทที่ 18 ระเบียบการประชุมเปรสิเดียม
ไปถึงความตั้งใจ ตลอดจนการรายงานของเขา จนกระทั่งว่าการประชุมจะดีหรือไม่ดี ก็อยู่ที่รายงานการประชุมจะดีหรือไม่ดีเท่านั้น และคุณภาพของงานจะคล้อยตามลักษณะของการประชุมด้วย (การประชุมดี การทำงานประจำสัปดาห์ต่อมาก็ดีด้วย)
ดังนั้น เลขานุการ เมื่อจัดเตรียมรายงานอันเป็นงานสุขุม ขอให้ไตร่ตรองความจริงต่างๆ ดังกล่าว และเปรสิเดียม ก็ควรตรวจสอบดูแลรายงานการประชุม เพื่อประสิทธิภาพของตนเองด้วย
“ที่จริงก็น่าอับอาย ถ้าในเรื่องนี้เป็นจริงตามพระวาจาของพระคริสตเจ้าที่ว่า ‘บุตรของโลกนี้มีความเฉลียวฉลาดกว่าบุตรของความสว่าง’ (ลก 16:8) ชาวเราอาจสังเกตว่าพวกเขาชะมักเขมันในกิจการสักเพียงไร เขาหมั่นตรวจสอบบัญชีรายรับรายจ่ายทำบัญชีถูกต้องแน่นอนสักเพียงไร เขาเสียดายเมื่อสูญเสียและร้อนใจแก้ไขสักเพียงไร” (นักบุญปีโอ ที่ 10)
7. คำอบรมยืนยง คำอบรมยืนยงนี้ควรแทรกไว้ในสมุดมอบงาน (หรือใช้วิธีอื่น ซึ่งมั่นใจว่าจะไม่ลืมเวลาต้องการ) และประธานอ่านเสียงดังในการประชุมแรกของทุกเดือน ทันทีหลังจากการลงชื่อกำกับรายงานการประชุมแล้ว
คำอบรมยืนยง
“หน้าที่ของพลมารีย์ เรียกร้องให้พลมารีย์แต่ละคนปฏิบัติดังนี้คือ
1) เข้าประชุมเปรสิเดียมประจำสัปดาห์ ตรงเวลาและสม่ำเสมอและรายงานกิจการที่ทำ พอเหมาะและได้ยินถนัด
2) สวดบทกาเตนา (สายสัมพันธ์) ประจำวัน
3) กระทำงานอันมีสาระจริงจังของคณะพลมารีย์ ด้วยจิตตารมณ์แห่งความเชื่อ และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพระนางมารีย์ จนกระทั่งถือว่า
หน้า 154 บทที่ 18 ระเบียบการประชุมเปรสิเดียม
บุคคลที่ไปติดต่อและเพื่อนสมาชิก เป็นดังพระคริสตเจ้า และตนเป็นดังพระนางมารีย์มารับใช้พระองค์เสียใหม่
4) รักษาความลับอย่างเด็ดขาด ในเรื่องที่ทราบจากการประชุมหรือ การติดต่อทำงานพลมารีย์”
“โดยอาศัยข้าพเจ้า พระนางมารีย์ยังปรารถารักพระเยชู ในดวงใจของบรรดาที่ข้าพเจ้าสามารถจุดไฟความรักแก่เขา อาศัยงานแพร่ธรรมและคำภาวนาอย่างสม่ำเสมอของข้าพเจ้า หากข้าพเจ้าทำตัวเหมือนพระนางอย่างครบถ้วน พระนางก็แจกจ่ายพระหรรษทานและความรักแก่ข้าพเจ้าอย่างท่วมท้น จนข้าพเจ้ากลายเป็นสายธารที่ท่วมล้นไปสู่วิญญาณอื่น ๆ ต่อไป อาศัยข้าพเจ้า พระนางจะสามารถรักพระเยซู และบันดาลให้พระองค์ชื่นชมมิใช่ทางดวงใจข้าพเจ้าเองเท่านั้น แต่ยังผ่านทางดวงใจนับไม่ถ้วน ซึ่งเป็นหนึ่งเดียวกับใจข้าพเจ้า” (De Jaegher : The Virtue of Trust) [ข้อความที่ยกมานี้ไม่ต้องอ่านเป็นส่วนหนึ่งของคำอบรมยืนยง]
8. รายงานของเหรัญญิก เหรัญญิกต้องรายงานทุกสัปดาห์ แสดงรายรับรายจ่ายของเปรสิเดียม และยอดเงินปัจจุบัน
“หลายครั้งวิญญาณก็สูญเสียไปเพราะขาดเงิน หรืออีกนัยหนึ่งคือขาดการร่วมมือที่ครบครันกว่าในการแพร่ธรรม” (James Mellett, C.s. Sp.)
9. รับรายงานของสมาชิก สมาชิกควรนั่งเวลารายงาน ควรรายงานด้วยวาจา แต่จะมีบันทึกช่วยก็ได้
เปรสิเดียมไม่ควรถือว่าการที่พลมารีย์ไม่ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบนั้นเป็นเรื่องธรรมดา เมื่อสมาชิกมีอุปสรรคจริงจังมิอาจทำงานได้ ก็ควรอธิบายเหตุผล (ถ้าทำได้) การขาดรายงานโดยไม่ให้เหตุผล ทำให้รู้สึกว่าเป็นการละเลยหน้าที่และเป็นตัวอย่างไม่ดีแก่สมาชิกทุกคนถ้าสมาชิกเห็นความสำคัญของการงานตามที่ควรแล้ว ความจำเป็น
หน้า 155 บทที่ 18 ระเบียบการประชุมเปรสิเดียม
ที่จะต้องแก้ตัวนั้นอาจมีได้ แต่ก็น้อยเต็มที และบุญที่เป็นเช่นนั้น เพราะในบรรยากาศที่มีแต่การแก้ตัวนั้น ความลุกร้อนและวินัยย่อมเสื่อมคลายลง
รายงานนั้นมิใช่เสนอต่อประธานคนเดียว เพราะทุกคนก็จำจะต้องร่วมฟังอยู่ด้วย เมื่อคนหนึ่งพูดกับอีกคนหนึ่งเพียงคนเดียว ระดับเสียงย่อมลดลงเองตามระยะที่พูดจนแทบไม่ได้ยิน หมายความว่าถ้อยคำที่พูดกับประธานย่อมทำให้ผู้อื่นที่อยู่ไกลออกไปได้ยินไม่ชัด
การรายงานและการชี้แจงต้องออกเสียงดังได้ยินทั่วห้อง ถึงแม้ว่ารายงานจะเพียบพร้อมและสัตย์จริง แต่ถ้าหลายคนไม่ได้ยิน รายงานนั้นถือเป็นผลเสื่อมต่อการประชุม ไม่รายงานเลยจะดีกว่า การกระซิบมิใช่เครื่องหมายแสดงความสงบเสงี่ยมหรืออ่อนโยน ดังที่บางท่านนึก ใครเล่าสงบเสงี่ยม ใครเล่าอ่อนโยนเหมือนพระนางมารีย์ กระนั้นก็ดีใครบ้างจะคิดว่า พระนางจะพูดพึมพำหรือพูดแบบที่คนอยู่ใกล้ ๆ ก็ไม่ได้ยินว่าพูดอะไร ขอพลมารีย์ทั้งหลายจงถอดแบบพระราชินีของเราในเรื่องนี้ เช่นเดียวกับในเรื่องอื่นๆทั้งหมดเถิด
ประธานต้องไม่ยอมรับคำรายงาน ที่ต้องใช้ความพยายามจึงจะได้ยิน แต่ก่อนอื่นขอให้ประธานทำตนอย่าให้เป็นที่ตำหนิได้ ประธานเป็นผู้กะเสียงของสมาชิกทั้งหมด ตามปรกติสมาชิกพูดเบากว่าประธาน ถ้าประธานพูดเบาหรือแบบสนทนา รายงานของสมาชิกจะลดเหลือขั้นกระซิบ เพราะเมื่อสมาชิกพูดชัดถ้อยชัดคำแล้วประธานพูดค่อย ๆ สมาชิกจะเห็นว่าตนกำลังตะโกนและจะลดเสียงจนฟังไม่ได้ศัพท์ สมาชิกต้องเตือนทุกคนรวมทั้งประธานให้พูดดัง จิตตาธิการต้องวางตนเป็นแพทย์ เตือนทุกคนพูดให้ได้ยิน ถือเป็นเรื่องสำคัญในการรักษาสุขภาพของเปรสิเดียม
อันที่จริง รายงานมีความสำคัญต่อการประชุมเท่ากับการภาวนา
หน้า 156 บทที่ 18 ระเบียบการประชุมเปรสิเดียม
ทั้งสองต่างสนับสนุนกันและกัน ทั้งสองจำเป็นสำหรับการประชุมเปรสิเดียม
รายงานเชื่อมกิจการเข้ากับเปรสิเดียม ดังนั้นการรายงานต้องเป็นเครื่องแสดงการงานของสมาชิกอย่างชัดแจ้ง ดังภาพยนตร์ที่ปรากฎบนจอสามารถทำให้สมาชิกอื่นรู้สึกมีส่วนในงาน ตัดสิน วิจารณ์ และรับบทเรียนจากงานนั้นได้ เช่นเดียวกันรายงานต้องแสดงว่าได้ใช้ความพยายามและประสบผล และด้วยเจตนารมณ์อย่างไร พร้อมทั้งแสดงเวลาที่ใช้ วิธีการปฏิบัติ สิ่งที่ยังไม่ได้ผล และบุคคลที่ยังมิได้ติดต่อด้วย
การประชุมควรเป็นไปอย่างมีชีวิตชีวาและร่าเริง ฉะนั้น การรายงานควรเป็นที่น่าสนใจและให้ความรู้แก่ที่ประชุม สุดวิสัยจะเชื่อว่าเปรสิเดียมอยู่ในสภาพดี หากการประชุมเป็นไปอย่างน่าเบื่อหน่าย และไม่ต้องสงสัยว่าสมาชิกหนุ่มสาวจะผละหนีหาย
งานบางชนิดเต็มไปด้วยสิ่งต่าง ๆ ช่วยให้รายงานดีได้ง่าย งานบางอย่างก็ไม่อาจทำได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น อะไรที่ผิดปกติแม้เล็กน้อย ควรจดจำนำมารายงานด้วย
รายงานต้องไม่ยาวเกินไป ไม่สั้นเกินไป เป็นต้นต้องไม่ใช้ประโยคช้ำชาก การบกพร่องในเรื่องนี้ มิใช่แสดงว่าสมาชิกผู้นั้นกำลังละเลยหน้าที่เท่านั้น แต่ยังแสดงว่าสมาชิกอื่น ๆ ก็กำลังช่วยเหลือให้เขาละเลยด้วย เรื่องนี้กระทบกระเทือนถึงเจตนารมณ์ทั้งมวลของพลมารีย์ในเรื่องควบคุมการงานเพราะเปรสิเดียมไม่สามารถควบคุมงานได้ นอกจากได้รับรายงานอย่างครบถ้วนจากสมาชิก
โดยทั่วไป งานของพลมารีย์ยากมากจนกระทั่งหากที่ประชุมไม่คอยเอาใจใส่พิจารณาความมานะบากบั่นในงาน เป็นการกระตุ้นเตือนสมาชิกอยู่เสมอ ก็น่ากลัวจะเกิดเฉื่อยชากันไป ขออย่าให้เป็นเช่นนี้ เขาอยู่ในคณะพลมารีย์
หน้า 157 บทที่ 18 ระเบียบการประชุมเปรสิเดียม
เพื่อที่จะทำความดีมากเท่าที่จะทำได้ และบางทีในกรณีที่ความรังเกียจตามธรรมชาติกำลังแสดงฤทธิ์มากที่สุด เป็นเวลานั้นเองที่ต้องการงานของเขามากที่สุดเช่นเดียวกันเป็นการประชุมนี่เองที่ฝึกหัดความเข้มแข็งแบบพลมารีย์ซึ่งปราบความอ่อนแอทั้งสิ้น และกระตุ้นให้สมาชิกปฏิบัติงานจนสำเร็จแต่ถ้ารายงานนั้นขี้แสดงแต่เพียงเล็กน้อยในสิ่งที่สมาชิกกระทำเปรสิเดียมก็สามารถควบคุมงานของสมาชิกได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น จะไม่กระตุ้นให้ทำดีขึ้น และไม่คุ้มครองสมาชิกเลย สมาชิกสูญเสียความสนใจและคำแนะนำจากเปรสิเดียม และเขาจะดำรงอยู่มิได้หากขาดสิ่งสำคัญนี้วินัยของพลมารีย์จะไม่สามารถยึดเหนี่ยวสมาชิกนั้นไว้ได้ ส่งผลให้ทุกฝ่ายไม่มีความสุข
อย่าลืมว่ารายงานที่ไม่ดี จะมีผลรุนแรงชักจูงสมาชิกอื่นๆ ให้เลียนแบบตามไปด้วย วิธีนี้เอง ทำให้ผู้ที่ปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะรับใช้คณะพลมารีย์กลับกลายเป็นผู้ทำลายคณะอย่างน่าเศร้าที่สุด
ไม่มีพลมารีย์คนใดควรจะพึงพอใจ เพียงเสนอรายงานที่ดีเท่านั้น ทำไมไม่เล็งให้สูงสุดเล่า ทำงานให้ดีบริบูรณ์ แล้วยังพยายามรายงานเป็นแบบอย่างแก่เปรสิเดียมอีก และดังนี้จะเป็นการฝึกสมาชิกอื่นทั้งในการทำงานและวิธีรายงานด้วย เอ็ดมันด์ เบิก (Edmund Burke) กล่าวว่า “ตัวอย่างเป็นโรงเรียนของมนุษยชาติ และพวกเขาจะไม่เรียน ณ ที่อื่นใดอีก”
โดยการกระทำดังนี้ สมาชิกคนเดียวสามารถยกฐานะทั้งเปรสิเดียมขึ้นสู่สมรรถภาพยอดเยี่ยม การรายงาน แม้มิใช่เป็นการประชุมทั้งหมด แต่ก็สำคัญมากเสมือนศูนย์กลางของการประชุม เพราะสามารถบันดาลให้สิ่งอื่นทุกอย่างในเปรสิเดียม เกิดปฏิกิริยาคล้อยตามทั้งในทางดีหรือไม่ดี
ในตอนต้น ได้ชี้ให้เห็นว่าควรนึกถึงพระนางมารีย์ มาเป็นแบบอย่าง
หน้า 158 บทที่ 18 ระเบียบการประชุมเปรสิเดียม
การรายงาน แต่ความคิดถึงพระนางสามารถนำมาช่วยได้ในด้านอื่น ๆ ทุกอย่างด้วย การเหลือบดูรูปพระนางก่อนรายงานจะทำให้เกิดความคิดเช่นนั้น แน่นอนถ้าผู้ใดพยายามรายงานโดยนึกถึงพระนางเองกำลังกระทำ เขาก็จะไม่รายงานบกพร่อง ไม่ว่าในส่วนใด ๆ เลย
“คริสตชนคาทอลิกบางคนมองพระนางมารีย์แต่เพียงเป็นผู้บริสุทธิ์และสง่างามหาที่เปรียบมิได้ เป็นผู้อ่อนโยนละมุนละไมเหนือสตรีที่เคยมีในโลก ดังนี้น่ากลัวว่าเขาจะมีความศรัทธาต่อพระนางเพียงตามอารมณ์ หรือ ถ้าเป็นผู้มีนิสัยแข็งแกร่ง จะรู้สึกพึงพอใจในพระนางเพียงเล็กน้อย เขาไม่เคยสำนึกเลยว่า พระนางพรหมจารีที่แสนจะละมุนละไม พระมารดาที่แสนจะอ่อนโยนผู้นี้ แท้จริงพระนางยังเป็นยอดหญิงอดทนที่สุดและไม่เคยมีใครแข็งแกร่งเหมือนพระนางด้วย” (Neubert : Marie dans le Dogme)
10. สวดบทกาเตนา (บทสายสัมพันธ์) ของพลมารีย์ ณ เวลากำหนด ทุกคนยืนขึ้นสวดบทกาเตนาของพลมารีย์ (ดูบทที่ 22) เวลากำหนดนี้เท่าที่สังเกตก็ราวกึ่งกลางระหว่าง (ประธาน) เซ็นชื่อกำกับรายงานการประชุมครั้งก่อน ถึงปลายการประชุม (ซึ่งจะเป็นหนึ่งชั่วโมงตั้งแต่เปิดประชุม การประชุมโดยปกติกินเวลาทั้งสิ้นชั่วโมงครึ่ง)
“พระนางนั่นคือใครหนอ” ทุกคนสวดพร้อมกัน : ส่วน “วิญญาณข้าพเจ้า” สวดสลับกันฝ่ายละข้อ ระหว่างจิตตาธิการ (หรือประธาน ถ้าท่านไม่อยู่) กับสมาชิก : ส่วน “เราจงภาวนา” ให้จิตตาธิการ (หรือประธาน) สวดแต่ลำพัง
ไม่ต้องทำสำคัญมหากางเขนเมื่อเริ่มบทกาเตนา ให้ทำพร้อมกันตรงวรรคแรกเมื่อเริ่ม “วิญญาณข้าพเจ้า” เมื่อจบ “เราจงภาวนา” ไม่ต้องทำสำคัญมหากางเขน เพราะจะเริ่มการให้โอวาทต่อทันที
ในคณะพลมารีย์ ไม่มีอะไรงดงามเท่ากับการสวดบทกาเตนา พร้อม
หน้า 159 บทที่ 18 ระเบียบการประชุมเปรสิเดียม
กันนี้ ไม่ว่าในยามเปรสิเดียมชื่นชมยินดี หรือผิดหวัง หรือเบื่อหน่ายจากงานจำเจ บทกาเตนาจะโชยมาดุจสายลมจากสวรรค์ หอมระรื่นด้วยกลิ่นของพระนาง ซึ่งเป็นทั้งดอกช่อนกลิ่นและกุหลาบ พาให้สดชื่นรื่นรมย์อย่างประหลาดทีเดียว นี่มิใช่เพียงการพรรณนาให้เห็นเด่นชัดเท่านั้น พลมารีย์ทุกคนย่อมรู้แน่แก่ใจดีแล้ว
“ข้าพเจ้าขอเน้นบทวิญญาณข้าพเจ้า ว่าเป็นเอกสารสำคัญพิเศษแสดงให้เห็นความเป็นมารดาแห่งพระหรรษทานของพระนางมารีย์ พระนางพรหมจารีผู้ศักดิ์สิทธิ์ผู้เป็นหนึ่งเดียวกับพระคริสตเจ้า ตามที่รู้ก็ตั้งแต่วาระที่ทูตสวรรค์มาแจ้งสาร พระนางนี้ประกาศตัวเองเป็นผู้แทนของมนุษยชาติทั้งสิ้น สัมพันธ์ใกล้ชิดกับ ‘มนุษย์ทุกสมัย’ และผูกพันแน่นแฟ้นกับบรรดาที่เป็นของพระนางอย่างแท้จริง บทสดุดีของพระนาง เป็นบทเพลงหมายถึงความเป็นมารดาฝ่ายวิญญาณของพระนาง” (Bernard, O.P. : Le Myst’ere de Marie)
“บท ‘วิญญาณข้าพเจ้า’ นี้นับว่าเป็นบทภาวนาที่พระนางมารีย์ช่างสรรหามาได้อย่างยอดเยี่ยม จัดเป็นบทเพลงที่นิยมร้องกันในยุคที่กำลังรอคอยการเสด็จมาของพระผู้ใถ่ ท่วงทำนองสะท้อนให้เห็นความปีติยินดีของประชากรพระเป็นเจ้าสมัยโบราณ ผสมผสานกับความปีติยินดีของประชากรใหม่ นักบุญอิเรเนอุสเคยจินตนาการไว้ว่า เพลงสดุดีของพระนางมารีย์ ทำให้เราสามารถสัมผัสความยินดีของอับราฮัม (เทียบ ยน 8:56) เมื่อพระเป็นเจ้าตรัสสัญญากับท่านว่า จะส่งพระผู้ไถ่มา และทำให้เราสามารถได้ยินเสียงโห่ร้องยินดีของพระศาสนจักร ทุกครั้งที่คำทำนายต่าง ๆ ได้กลับกลายเป็นจริง … สรุปแล้วเพลงสดุดีของพระนางมารีย์ เป็นที่รู้จักดีอย่างกว้างขวาง และได้กลายเป็นบทภาวนาของทั่วทั้งพระศาสนจักรทุกยุคทุกสมัย” (MCul 18)
11. การให้โอวาท (อัลลอกูซิโอ)* เมื่อสมาชิกนั่งลงแล้วจิตตาธิการให้โอวาทสั้น ๆ นอกจากในกรณีพิเศษ โอวาทนี้ควรเป็นการอธิบายหนังสือ
หน้า 160 บทที่ 18 ระเบียบการประชุมเปรสิเดียม
คู่มือ โดยมุ่งหมายให้สมาชิกคุ้นเคยกับทุกเรื่องที่บรรจุในหนังสือนั้น สมาชิกควรเห็นคุณค่าของโอวาทให้มาก เพราะมีบทบาทสำคัญในความเจริญของสมาชิกเอง การรับผิดชอบต่อสมาชิกมีอยู่แน่ฉะนั้น หากไม่อบรมสมาชิกให้ใช้ความสามารถเต็มที่ ก็ไม่ยุติธรรมต่อสมาชิกและคณะพลมารีย์ด้วย เพื่อบรรลุจุดประสงค์ดังนี้จำเป็นจะต้องให้สมาชิก รู้จักองค์กรของตนอย่างดี การศึกษาหนังสือคู่มือจะช่วยได้มากให้บรรลุถึงจุดประสงค์นี้ก็จริง แต่จะแทนการให้โอวาทไม่ได้ สมาชิกจะเชื่อว่าตนได้ศึกษาคู่มือแล้ว ก็ต่อเมื่อได้ตั้งใจอ่านจบไปสองสามครั้งแล้ว แท้จริงแม้จะอ่านสิบหรือยี่สิบจบ ก็ยังไม่เรียนรู้ตามที่คณะพลมารีย์ปรารถนา ควรอาศัยวิธีอธิบายใจความในคู่มือสัปดาห์แล้วสัปดาห์เล่า ปีแล้วปีเล่า จนสมาชิกคุ้นเคยกับทุกข้อความที่บรรจุอยู่อย่างบริบูรณ์
ในกรณีที่จิตตาธิการไม่อยู่ ควรให้ประธาน หรือสมาชิกอื่นที่ประธานมอบหมายเป็นผู้อธิบาย ขอเน้นว่าเพียงแค่อ่านจากคู่มือไม่พอถือเป็นการให้โอวาท
การให้โอวาทไม่นานกว่า 5 หรือ 6 นาที
ความแตกต่างระหว่างเปรสิเดียมรับโอวาทเรียบร้อยตลอด กับเปรสิเดียมที่รับโอวาทไม่ดี ก็เหมือนกับความแตกต่างระหว่างกองทัพที่รับการฝึกหัดและที่มิได้รับการฝึกหัด
“ข้าพเจ้ารู้สึกแต่นานแล้วว่า เนื่องจากโลกเสื่อมลงอย่างรวดเร็วเช่นนี้ คล้ายกับว่าพระเป็นเจ้าจะทรงเหนี่ยวรั้งหัวใจของมนุษย์ไว้ไม่อยู่ ดูพระองค์ยิ่งทรงห่วงใยกิจการยิ่งใหญ่ อันเกิดจากบรรดาผู้ที่ยังสัตย์ชื่อต่อพระองค์อยู่ บางทีพระองค์ไม่อาจรวบรวมกองทัพมหาศาล รอบธงชัยของพระองค์ได้ แต่ก็ทรงประสงค์ให้ทุกคนในกองทัพเป็นวีรบุรุษที่จงรักภักดีต่อพระองค์ ถ้าเพียงแต่ชาวเราสามารถเข้าไปอยู่ในกลุ่มคนใจกว้างนั้น
หน้า 161 บทที่ 18 ระเบียบการประชุมเปรสิเดียม
ข้าพเจ้าเชื่อว่าไม่มีพระหรรษทานใด ซึ่งพระอค์จะไม่ประทานแก่เรา เพื่อช่วยกิจการที่พระองค์ทรงใส่พระทัยคือการทำตัวเราเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ไป” (Msgr. Alfred O’ Rahilly: Life of Father William Doyle)
12. เมื่อจบโอวาท ให้ทุกคนทำสำคัญมหากางเชน แล้วดำเนินการรายงานและกิจการอื่น ๆ ต่อไป
“แน่นอนที่เดียวว่า พระนางมารีย์พูดจาปราศรัยอย่างหญิงสตรีผู้เพียบพร้อม พระนางคงจะได้เป็นนักประพันธ์อย่างง่ายดาย เพราะมีนิสัยเอนเอียงไปทางนี้แล้ว พระนางตรัสอะไร พระวาจาล้วนอ่อนหวานน่าฟัง ดังบทประพันธ์โดยแท้ พระนางทรงกล่าวข้อความเห็นรูปแจ้งชัดสวยงาม มีวาทศิลป์ทางคำพูด” (Lord : Our Lady in the Modern World)
13. ถุงทาน หลังจากการให้โอวาท ให้เวียนถุงทานทันที โดยสมาชิกทุกคนจะบริจาคตามฐานะของตน จุดประสงค์เพื่อเป็นทุนใช้จ่ายต่าง ๆ ในเปรสิเดียม ส่งไปบำรุงคูเรียและสภาสูงขึ้นไป ขอย้ำว่าสภาต่างๆ ไม่มีปัจจัยดำรงตนเอง ทั้งในหน้าที่ปกครองและขยายงาน นอกจากที่ได้รับจากเปรสิเดียม (ดูบทที่ 35 เรื่อง เงินทุน)
การประชุมไม่ชะงักขณะเก็บทานนี้ ถุงควรผ่านไปโดยไม่เปิดเผยจากสมาชิกคนหนึ่งถึงอีกคนหนึ่ง และแต่ละคนควรใส่มือในถุง แม้จะมิได้บริจาคอะไรลงไป
ควรเตรียมถุงที่เหมาะสมสำหรับรับการบริจาคของสมาชิก ไม่ควรใช้ถุงมือหรือถุงกระดาษ
การบริจาคถือเป็นความลับ เพราะจำเป็นต้องให้บรรดาผู้มีรายได้ดีกับผู้อัตคัด มีสภาพเท่ากันในเปรสิเดียม จะนั้นควรเคารพต่อหลักความลับและสมาชิกไม่ควรเปิดเผยกับเพื่อนว่าตนบริจาคเท่าไร
หน้า 162 บทที่ 18 ระเบียบการประชุมเปรสิเดียม
อีกประการหนึ่ง ทุกคนควรเข้าใจว่า เงินทานที่สมาชิกแต่ละคนบริจาคนั้นมิใช่สำหรับเปรสิเดียมเท่านั้น แต่สำหรับการดำเนินกิจการสำคัญของคณะพลมารีย์ทั้งหมด ฉะนั้นเรื่องเงินทานนี้จึงไม่ควรทำเป็นพิธี หากบริจาคน้อยเกินไป จนเขาไม่รู้สึกอะไร ก็ไม่สมกับข้อผูกพันที่ให้มีการเก็บทานขึ้น ที่จริงเท่ากับเปิดโอกาสพิเศษให้เขาได้มีส่วนในภารกิจไพศาลของคณะ ฉะนั้นการบริจาคสมทบทุนนี้ ควรเป็นการแสดงความรู้สึกมีส่วนรับผิดชอบและความใจกว้างของตน
เงินทานของแต่ละคนเท่านั้นถือเป็นความลับ ส่วนยอดเงินแจ้งให้ทราบได้และแน่นอนต้องลงบัญชี และต้องรายงานให้ทราบตามระเบียบ
“เมื่อพระเยชูเจ้าทรงชมเชยทานของหญิงหม้าย ‘ซึ่งมิใช่จากเงินที่เหลือใช้ แต่จากความขัดสนของตน’ (ลก 21:3-4) ชาวเราสงสัยว่าพระองค์อาจคิดถึงพระนางมารีย์ พระมารดาของพระองค์กระฆัง” (Orsini : History of the Blessed Virgin)
14. ปิดการประชุม เมื่อจัดธุระทุกอย่าง รวมทั้งการมอบงานแก่สมาชิกทุกคน และลงบัญชีการเข้าประชุมแล้ว การประชุมก็สิ้นสุดด้วยบทภาวนาปิดประชุม และการอวยพรของพระสงฆ์
การประชุมต้องไม่นานกว่าหนึ่งชั่วโมงครึ่ง นับแต่เริ่มประชุมตามเวลาที่กำหนด
“เราบอกความจริงแก่ท่านอีกว่า ถ้าท่านสองคนบนแผ่นดินพร้อมใจกันอ้อนวอนขอสิ่งหนึ่งสิ่งใด พระบิดาของเราผู้สถิตในสวรรค์จะประทานให้ เพราะว่าที่ใดมีสองหรือสามคนชุมนุมกันในนามของเรา เราอยู่ที่นั่นในหมู่พวกเขา” (มธ 18:19- 20)
หน้า 163 บทที่ 19 การประชุมและสมาชิก
บทที่ 19
การประชุมและสมาชิก
1. เคารพต่อการประชุม ในระเบียบตามธรรมชาติทุกแห่ง การถ่ายทอดพลังขึ้นอยู่กับการประสาน หรือขาดการติดต่อ เช่นเดียวกันในระบบพลมารีย์ ก็สามารถขาดการติดต่อสำคัญขึ้นได้ในจุดหนึ่ง สมาชิกผู้หนึ่งอาจเข้าประชุมเรื่อย ๆ แต่กระนั้น ก็ได้รับการถ่ายทอดแต่น้อย หรือไม่ได้รับเลยซึ่งแรงบันดาลใจ ความศรัทธาลุกร้อนและพละกำลัง ตามที่กล่าวมาแล้วว่าเป็นชีวิตจิตใจของพลมารีย์ การประชุมและสมาชิกต้องสมัครสมานเป็นหนึ่งเดียวกันและความเป็นหนึ่งเดียวกันนี้จะไม่บังเกิดขึ้น หากสมาชิกเข้าประชุมอย่างเครื่องจักรเท่านั้น ระหว่างสมาชิกกับการประชุมจำต้องมีสิ่งหนึ่งเป็นสัมพันธ์อันทรงประสิทธิภาพ สิ่งนั้นคือ ความเคารพ ทุกสิ่งในระบบพลมารีย์ขึ้นอยู่กับความเคารพของสมาชิกต่อการประชุม (ซึ่งแสดงออกเป็นความนบนอบเชื่อฟัง ความภักดีและความนับถือ)
2. เปรสิเดียมต้องวางตนให้มีค่าสมกับความเคารพนี้ คณะใดไม่ยกมาตรฐานให้สูงกว่าระดับเฉลี่ยของสมาชิก ย่อมขาดคุณสมบัติเอกของการเป็นผู้นำ และมิช้าสมาชิกจะเสื่อมความเคารพ
3. เปรสิเดียมต้องเคารพต่อกฎข้อบังคับ พลมารีย์ย่อมได้รับการถ่ายทอดชีวิตของคณะตามสัดส่วน ที่เขาให้ความเคารพต่อเปรสิเดียมและเนื่องจากสาระสำคัญแห่งจิตตารมณ์ของพลมารีย์ คือพยายามทำให้ดีเลิศ เปรสิเดียมก็ต้องวางตนให้เป็นที่เคารพของสมาชิกให้มากที่สุด เพื่อจะได้มีอิทธิพลเหนือสมาชิกให้มากที่สุดด้วย เปรสิเดียมที่พะวงให้สมาชิกนับถือ แต่เปรสิเดียมเองไม่มีความนิยมนับถือกฎข้อบังคับ เกี่ยวกับงานที่ตนปฏิบัติอยู่
หน้า 164 บทที่ 19 การประชุมและสมาชิก
เปรสิเดียมนั้นเท่ากับสร้างอยู่บนทราย เพราะเหตุนี้เองจึงเห็นได้ว่า ตลอดหนังสือเล่มนี้ ได้พยายามย้ำเรื่องความจำเป็น ต้องยึดถือระเบียบการประชุมและวิธีดำเนินการอื่น ๆ ตามที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด
4. เปรสิเดียมต้องเป็นแบบอย่างยืนหยัดมั่นคงตลอดไป คณะพลมารีย์ปรารถนาให้การพูดและดำเนินงานการประชุมสามารถเป็นแบบอย่างแก่สมาชิกที่ลุกร้อนที่สุด และสามารถทำเช่นนี้ได้อาศัยที่มีสมาชิกหลายคนด้วยกัน พลมารีย์นั้น หากจะพิจารณาแต่ละคน อาจมีเหตุขัดข้อง ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิก เพราะป่วย วันหยุด หรือกรณีอันหลีกเลี่ยงไม่ได้อื่น ๆ แต่เปรสิเดียมประกอบด้วยบุคคลมากคนด้วยกัน คงจะไม่มีอุปสรรคขัดข้องเช่นนี้พร้อมกันหมด จึงสามารถอยู่เหนือข้อจำกัดของสมาชิกแต่ละคนได้
การประชุมประจำสัปดาห์ไม่ควรละเว้นในกรณีใด นอกจากจำเป็นจริง ๆ หากประชุมตามวันที่กำหนดไม่ได้จริง ๆ ก็ควรเลื่อนไปประชุมวันอื่น การที่จำนวนสมาชิกส่วนใหญ่ไม่มา ไม่พอเป็นเหตุให้งดการประชุม สมาชิกน้อยคนประชุมยังดีกว่าไม่ประชุมเสียเลย จริงอยู่ ที่ประชุมเพียงเท่านั้น คงทำธุระไม่ได้เท่าไร แต่อย่างน้อยเปรสิเดียมก็ได้ทำหน้าที่สำคัญที่สุดลุล่วงไปแล้ว ทำให้การงานในการประชุมครั้งต่อ ๆ ไปจะเกิดผลเหลือคณนา เนื่องด้วยสมาชิกจะเกิดเลื่อมใสยำเกรงในสิ่งหนึ่ง ซึ่งได้บันดาลให้งานเกิดผลโดยแทบมิต้องพึ่งบุคคลที่มีส่วนสำคัญในงานนั้น ซึ่งคงยืนหยัดอยู่ตลอดกาลทั้ง ๆ ที่ตนอ่อนแอ บกพร่องและสัญญาไว้ต่างๆ สิ่งเหล่านี้ ล้วนสะท้อนให้เห็น ถึงลักษณะสำคัญของพระศาสนจักรเอง
5. อากาศและแสงสว่าง ห้องประชุมควรมีแสงสว่างดีและอุณหภูมิพอเหมาะ บกพร่องในเรื่องนี้ จะเปลี่ยนการประชุมที่ควรจะเพลิดเพลิน
หน้า 165 บทที่ 19 การประชุมและสมาชิก
ให้กลายเป็นที่ทรมานไป และเกิดความเสียหายแก่อนาคตของเปรสิเดียมได้
6. จัดที่นั่งให้เหมาะสม เก้าอี้ หรืออย่างน้อยม้านั่ง ต้องจัดหาไว้ให้เรียบร้อย ถ้าสมาชิกต้องนั่งกระจายตามโต๊ะเรียนหรือตามที่นั่งซึ่งจัดขึ้นอย่างกะทันหัน จะเกิดบรรยากาศไม่เป็นระเบียบขึ้น จิตตารมณ์คณะพลมารีย์ซึ่งประกอบด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อยไหนเลยจะเจริญอยู่ได้
7. เปรสิเดียมต้องประชุมในเวลาที่เหมาะสม ความจริงที่ว่าคนโดยมากทำงานเวลากลางวันก็ควรประชุมตามปกติในตอนค่ำหรือวันอาทิตย์ แต่ก็มีหลายคนทำงานตอนค่ำและกลางคืน และก็ต้องจัดประชุมในเวลาที่เหมาะกับเขา
เช่นเดียวกัน คนทำงานเป็นผลัด ชั่วโมงทำงานของเขาแบ่งเป็นกะก็ต้องคิดถึงเขาด้วย สองเปรสิเดียมซึ่งเวลาประชุมต่างกันมาก ควรจะร่วมมือกันรับสมาชิกประเภทนี้จะได้เลือกเข้าประชุมเปรสิเดียมใดก็ได้ตามเวลาว่างของเขา เพื่อให้การประชุมและทำงานต่อเนื่องกัน เปรสิเดียมทั้งสองพึงประสานงานกันอย่างใกล้ชิด
8. ระยะเวลาประชุม การประชุมต้องไม่นานกว่า หนึ่งชั่วโมงครึ่ง นับแต่เวลาเปิดประชุมตามกำหนด หากว่าทั้ง ๆ ที่ประชุมอย่างมีประสิทธิภาพก็ปรากฏว่าต้องตัดงานออกบ่อย ๆ หรือต้องเร่งรัดอย่างไม่ถูกต้องเพื่อจะได้ปิดประชุมตามกำหนด ก็เป็นสัญญาณแสดงว่า เปรสิเดียมนั้นมีงานต้องทำมากเกินไป และควรตั้งอีกเปรสิเดียมหนึ่ง
9. ปิดประชุมเร็วเกินไป การประชุมกินเวลาอย่างน้อยเท่าไรไม่ได้กำหนดไว้ แต่ถ้าประชุมเสร็จเร็วกว่าหนึ่งชั่วโมงอยู่เสมอ (ซึ่งในการประชุมนั้นการสวดภาวนา อ่านหนังสือศรัทธา รายงาน และการให้โอวาทก็กินเวลาเข้าไปครึ่งชั่วโมงแล้ว) ก็ส่อให้เห็นมีอะไรบกพร่องสักอย่าง อาจ
หน้า 166 บทที่ 19 การประชุมและสมาชิก
เกี่ยวกับจำนวนสมาชิก หรือปริมาณงานที่ทำ หรือคุณภาพของการรายงานควรจัดการแก้ไขเสีย
ในวงการอุตสาหกรรม หากละเลยไม่ใช้เครื่องจักรให้ทำงานเต็มที่ ในเมื่อมีสินค้าต้องผลิตป้อนความต้องการของตลาด ย่อมถือว่าทำผิดระบบอุตสาหกรรมอย่างร้ายแรง เช่นเดียวกัน ระบบของพลมารีย์ก็ต้องให้ทำงานสุดความสามารถ ไม่มีใครกล้ากล่าวว่าไม่ต้องการผลิตให้มากที่สุดในด้านวิญญาณ
10. มาสายหรือกลับก่อน สมาชิกที่มาสาย ไม่ทัน “บทภาวนาเปิดประชุม” ต้องคุกเข่าสวดบทภาวนา (ในแตสเซรา) ซึ่งอยู่ก่อนลูกประคำและคำวิงวอนต่อจากลูกประคำนั้น เป็นการส่วนตัว แต่การขาดสวดลูกประคำกับเปรสิเดียมนั้นไม่ต้องสวดอีก เช่นเดียวกัน สมาชิกที่จำต้องออกก่อนปิดประชุมควรขออนุญาตประธานเสียก่อน แล้วคุกเข่าสวด “บทข้าแต่พระชนนีพระเจ้า” และคำวิงวอนที่ต่อลงมา
ไม่ว่าในกรณีใดที่จะอนุญาตให้มาช้าหรือกลับก่อนหลายครั้งติดต่อกันได้ จริงอยู่ สมาชิกนั้นยังอาจทำงานและรายงานได้ แต่การเมินเฉยต่อการสวดบทเปิดหรือปิดประชุมพร้อมกัน ชวนให้เชื่อว่าจิตใจได้ห่างเหินหรือกลับเป็นศัตรูต่อจิตตารมณ์ของคณะ ซึ่งเป็นจิตตารมณ์แห่งการภาวนาเสียแล้ว สมาชิกภาพแบบนี้จะเป็นผลร้าย มิใช่ผลดี
11. ระเบียบดี คือรากฐานของวินัย คณะวางใจว่าจิตตารมณ์ของการมีวินัยในสมาชิกจะเจริญเพิ่มพูนขึ้น เพราะสาเหตุ 4 ประการคือ (ก) การประชุมสัตย์ซื่อตามข้อบังคับ (ข) ทำหน้าที่หนึ่ง แล้วอีกหน้าที่หนึ่ง ต่อกันไปตามระเบียบ (ค) จัดกิจการตรงตามเวลากำหนด (ง) เห็นได้แจ้งชัดว่าเรายึดพระนางมารีย์เป็นหลักสำคัญของระเบียบเรียบร้อยนี้ คณะหมั่นสร้างวินัยให้สมาชิก หากขาดจิตตารมณ์เคร่งครัดด้านวินัยนี้เสียแล้ว การ
หน้า 167 บทที่ 19 การประชุมและสมาชิก
ประชุมก็เสมือนศีรษะที่มีปัญญาแจ่มใส แต่ร่างกายเป็นอัมพาต ไม่มีกำลังยึดเหนี่ยวหรือกระตุ้นเตือนสมาชิกได้ หรือแม้จะอบรมเขาไม่ว่าในทางใดๆ ขาดวินัยสมาชิกก็จะตกเป็นเหยื่อของความโน้มเอียง ตามธรรมชาติมนุษย์ที่จะทำงานโดยลำพัง หรือแทบไม่ให้มีการควบคุมเลย ทำบ้างไม่ทำบ้างตามแต่เวลาและวิธีที่ตนชอบ ดังนี้ความดีที่ไหนจะเกิดขึ้น
ตรงกันข้าม หากมีการถือวินัยด้วยความเต็มใจ เพื่อจุดมุ่งหมายเหนือธรรมชาติแล้ว จะเกิดเป็นพลังยิ่งใหญ่ที่สุดอย่างหนึ่งของโลก การมีระเบียบวินัยเช่นนี้จะไม่มีอะไรสามารถต้านทานได้ หากดำเนินไปอย่างเด็ดขาด แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นไปอย่างร่าเริง และเต็มใจอ่อนน้อมต่ออำนาจปกครองของพระศาสนจักร
เมื่อคณะมีวินัยเป็นลักษณะจิตตารมณ์ ก็เท่ากับมีขุมทรัพย์ที่สามารถแผ่เผื่อออกภายนอกได้ด้วย เป็นของขวัญประมาณค่ามิได้ เพราะว่าโลกเราอยู่ระหว่างระบอบสองขั้ว คือระหว่างการใช้อำนาจกดขี่ หรือไม่ก็ปล่อยอย่างไม่มีขอบเขตเสียเลย การขาดวินัยภายในอาจกลบเกลื่อนได้ด้วยกิจการอันมีวินัยแข็งแกร่งภายนอก ซึ่งเกิดจากประเพณีหรือการบังคับ ที่ใดบุคคลหรือหมู่คณะยึดถือแต่วินัยภายนอกอย่างเดียว จะพลันทรุดโทรมทันทีที่วินัยนั้นถูกเพิกถอนเช่นในยามวิกฤติการณ์ แม้วินัยภายในสำคัญกว่าระบบวินัยภายนอกเอนกอนันต์ก็จริง แต่มิใช่ประการหลังนี้จะหมดความสำคัญก็หามิได้ที่จริงต่างต้องอาศัยกัน เมื่อทั้งสองประสานกันได้สัดส่วน พร้อมกับมีแรงศรัทธาในพระศาสนาสมทบ ก็กลายเป็นเชือกสามเกลียว ซึ่งพระคัมภีร์กล่าวว่า “จะไม่ขาดง่ายๆ” ( ปญจ 4:12)
12. สำคัญยิ่งคือตรงต่อเวลา ถ้าไม่ตรงต่อเวลา คำสั่งของพระเป็นเจ้าที่ว่า “จงจัดเรื่องในบ้านให้เรียบร้อย” (อสย 38:1) ก็ไม่สามารถปฏิบัติ
หน้า 168 บทที่ 19 การประชุมและสมาชิก
ให้ครบถ้วนได้ ระบบที่ทำให้สมาชิกไม่มีระเบียบ เท่ากับทำให้สมาชิกผิดวินัยนอกจากนั้นยังทำลายความเคารพ ซึ่งเป็นรากฐานแห่งการอบรมอันถูกต้องและวินัยทั้งสิ้น แน่นอนการมองข้ามสิ่งจำเป็นที่สุดบางอย่างที่สังเกตเห็นง่าย ๆ เป็นการกระทำแบบขาดสติ ทำนองสุภาษิตที่ว่าปล่อยให้เรือทั้งลำเสียเพราะเสียดายค่าชันน้ำมันยางเล็ก ๆ น้อยๆ
บางครั้งเอานาฬิกาวางไว้เรียบร้อยบนโต๊ะ แต่ตลอดเวลาประชุมมิได้เอาใจใส่ต่อนาฬิกาเลย บางรายเอาใจใส่เฉพาะเวลาเริ่ม ตอนกลางและปลายการประชุมแต่ไม่เอาใจใส่เรื่องกำหนดเวลาในการรายงานและธุระอื่น ๆ ที่จริงหลักเรื่องการตรงเวลาและระเบียบนี้ ต้องนำมาใช้ในทุกสิ่ง แต่ต้นจนปลาย
หากเจ้าหน้าที่บกพร่องดังกล่าวนี้ สมาชิกอื่นควรทักท้วง หาไม่เขาก็สมรู้ร่วมคิดและส่งเสริม
13. อาการสวดภาวนา ปรากฏว่าบางคนใจร้อน จนรั้งใจไม่อยู่ในเรื่องสวดภาวนา การชิงสวดไปก่อนคนอื่น ๆ พาให้ทั้งเปรสิเดียม พลอยสวดด้วยวิธีซึ่งแทบเป็นการขาดความเคารพ ที่จริง มีข้อบกพร่องอยู่อย่างหนึ่งที่มีอยู่ทั่ว ๆ ไปไม่มากก็น้อย นั่นคือ การสวดเร็วเกินไป คล้ายกับส่อให้เห็นว่าไม่ใยดีต่อคำสั่งที่กำชับสมาชิกให้ภาวนา ราวกับแม่พระเองประจักษ์แก่ตาของเขา มิใช่เห็นแต่รูปพระนางตั้งอยู่เท่านั้น
14. การภาวนาเป็นอันเดียวกับการประชุม หลายครั้งแล้ว มีผู้เสนอให้สวดสายประคำต่อหน้าศีลมหาสนิท แล้วสมาชิกจึงค่อยกลับเข้าห้องประชุม ที่ยอมตามข้อเสนอนี้ไม่ได้ เพราะถือว่าเอกภาพของการประชุมเป็นสิ่งสำคัญ ของระบบพลมารีย์ทั้งหมด เมื่อการภาวนาเป็นอันเดียวกับการประชุม กิจการทั้งหมดก็มีลักษณะเป็นภาวนาอย่างเอก (ก่อให้เกิดผลเลิศ
หน้า 169 บทที่ 19 การประชุมและสมาชิก
ทางวีรกรรมและความบากบั่น) ซึ่งจะเสียคุณลักษณะดังกล่าว หากบทภาวนาส่วนใหญ่แยกไปกระทำเสียที่อื่น การเปลี่ยนแปลงดังนี้จะทำให้ลักษณะทั้งหมดของการประชุมเปลี่ยนไปด้วย และจะเปลี่ยนลักษณะของคณะพลมารีย์เองซึ่งตั้งมั่นอยู่บนหลักการประชุม ความจริงผลของการกระทำเช่นนั้น แม้จะบังเกิดผลใหญ่หลวงสักเพียงไร ก็มิใช่คณะพลมารีย์แล้ว เมื่อได้อธิบายเช่นนี้แล้ว เห็นจะไม่จำเป็นต้องชี้แจงว่า การละเว้นการสวดสายประคำ หรือบทภาวนาส่วนอื่นใด ไม่ว่าในกรณีใด ยิ่งอนุมัติไม่ได้เลย ลมหายใจสำคัญต่อมนุษย์ฉันใด การสวดสายประคำก็สำคัญต่อการประชุมต่างๆ ของคณะพลมารีย์ฉันนั้น
15. กิจศรัทธาที่วัดและการประชุม ด้วยเหตุผลดังกล่าวแล้วเปรลิเดียมใดสวดบทภาวนาของพลมารีย์ที่วัดหรือที่อื่นก่อนการประชุมมาแล้วเปรสิเดียมนั้นยังต้องสวดบทภาวนาทั้งครบสำหรับการประชุมเปรสิเดียม
16. บทภาวนาพิเศษในการประชุม มีผู้ถามเนืองๆ ว่าจะถวายคำภาวนาเวลาประชุมเพื่อจุดประสงค์พิเศษได้หรือไม่ เนื่องจากเสียงเรียกร้องในเรื่องเช่นนี้มีมาก จึงเห็นจำเป็นกำหนดโดยชัดเจนดังนี้
(ก) หากเป็นปัญหาเรื่องถวายบทภาวนาในการประชุมตามปกติของพลมารีย์เพื่อจุดมุ่งหมายพิเศษใด ๆ ให้ถือเป็นระเบียบว่า บทภาวนานั้น ๆ ควรอุทิศตามความประสงค์ของพระแม่เจ้า พระราชินีของคณะ มิใช่เพื่อความประสงค์อื่น
(ข) ถ้าเป็นปัญหาเกี่ยวกับการเพิ่มบทภาวนาอื่นเข้ากับบทภาวนาของคณะ เพื่อจุดประสงค์พิเศษต่างๆ ขอให้ถือเป็นระเบียบว่า บทภาวนาที่มีก็ยาวอยู่แล้ว ตามปกติจึงไม่ควรเพิ่มอะไรอีก
อย่างไรก็ดียอมรับว่าบางครั้ง อาจมีกิจพิเศษเกี่ยวกับคณะ ที่ควรมี
หน้า 170 บทที่ 19 การประชุมและสมาชิก
บทภาวนาพิเศษ ในกรณีเช่นนั้น อาจเติมบทภาวนาสั้น ๆ เข้าในบทภาวนาปกติในการประชุมได้ ขอย้ำว่า การเพิ่มเติมเช่นนี้พึงมีแต่น้อยครั้ง
(ค) แน่นอน อนุญาตให้แนะนำสมาชิกสวด โดยมีจุดมุ่งหมายพิเศษได้เมื่อภาวนาส่วนตัว
17. การรายงานเป็นการขัดแย้งกับความสุภาพถ่อมตนไหม มีสมาชิกหลายท่านแก้ตัวว่า การรายงานไม่เป็นของสำคัญ เพราะรู้สึกเป็นการขัดแย้งกับความสุภาพถ่อมตน โดยที่ยกเอาคุณความดีที่ทำ มาโอ้อวด แต่ความเย่อหยิ่งที่เลียนแบบความสุภาพก็มีเหมือนกัน นักกวีกล่าวไว้ว่าเป็นบาปที่ปีศาจชอบมาก ฉะนั้นสมาชิกเหล่านี้ ควรระมัดระวังเรื่องนี้ เพราะในความคิดของเขานั่นเอง อาจมีความเย่อหยิ่งแฝงไว้ มิใช่ความถ่อมตนทั้งยังแฝงความปรารถนามิใช่น้อยที่จะยกเว้นมิให้กิจการงานของตนได้รับการควบคุมจากเปรสิเดียม
แน่นอน ความสุภาพถ่อมตนที่แท้จะไม่ส่งเสริมให้เขาทำสิ่งแปลกปลอม ซึ่งถ้าสมาชิกอื่นปฏิบัติตาม จะไม่เป็นการทำลายเปรสิเดียมหรือความชื่อ ๆ ประสาคริสตชนคาทอลิกก็ย่อมบังคับสมาชิกให้หลีกเลี้ยงเรื่องดีเด่นคนเดียวอยู่อย่างแน่นอนแล้ว ให้ยอมอ่อนน้อมต่อข้อบังคับและประเพณีของคณะ และเข้ามีส่วนอย่างเต็มที่ ซึ่งเป็นส่วนจำเป็นในการเสริมสร้างเปรสิเดียม เพราะแต่ละรายงานเท่ากับอิฐแผ่นหนึ่ง (ในการก่อสร้าง) ดังกล่าวไว้แล้ว
18. ความปรองดองเป็นเครื่องแสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน โดยที่ความปรองดองเป็นการแสดงภายนอก ให้เห็นจิตตารมณ์ความรักในการประชุมจึงต้องพยายามให้มีในขั้นสูงและมีประสิทธิภาพ หมายถึงความปรองดองรวมอยู่ด้วยเสมอ ความดีที่สำเร็จโดยเสียความปรองดอง เป็น
หน้า 171 บทที่ 19 การประชุมและสมาชิก
ผลได้อันน่าสงสัย ส่วนความล้มเหลวที่สำคัญเพราะขัดกับความปรองดองต้องระวังอย่าให้เข้ามาในคณะได้ เหมือนหลีกโรคระบาดที่ร้ายแรง บุคคลที่ยกตนข่มท่าน คอยจับผิด เจ้าอารมณ์ วาจาเผ็ดร้อนเยาะเย้ยถากถาง ท่าทางวางโต คนอย่างนี้เข้าประชุมที่ไหนมีแต่จะทำให้ความกลมเกลียวนั้นเสื่อมลง
19. งานของแต่ละคน เกี่ยวพันกับทุกคน การประชุมเริ่มด้วยการภาวนา ชวนให้ทุกคนสำนึกว่า ต่างมีส่วนร่วมงานเท่ากัน ความรู้สึกถึงการที่ทุกคนมีส่วนเท่ากันนี้ ควรแสดงออกมาทุกรายการตลอดการประชุมฉะนั้นการสนทนาหรือหัวเราะระหว่างส่วนตัวสมาชิกไม่ควรมีขึ้นเลย
ควรอบรมสมาชิกให้รู้ว่าทุกเรื่องมิใช่เกี่ยวกับสมาชิกคนหนึ่งหรือสองคน แต่เกี่ยวกับผู้เข้าประชุมทุกคน ถึงขนาดที่แต่ละคนร่วมจิตใจตามไปเยี่ยมทุก ๆ คน หรือทุก ๆ สถานที่ ที่สมาชิกรายงานว่าได้ไปเยี่ยม หากมิได้สำนึกดังนี้ สมาชิกจะเป็นแต่ติดตามการรายงานด้วยการตั้งใจฟัง และพิจารณางานของสมาชิกอื่นเท่านั้น แท้ที่จริง ตลอดเวลาจะเพียงแต่เอาใจใส่ติดตามการรายงานอันน่าสนใจเท่านั้นยังไม่พอ จำต้องรู้สึกใกล้ชิดสนิทกันตลอดเวลาคล้ายกับว่าเรื่องเหล่านั้นเกี่ยวพันกับตนโดยเฉพาะทีเดียว
20. รักษาความลับอย่างเด็ดขาด คำอบรมยืนยงที่เตือนย้ำสมาชิกทุกเดือน ต้องเข้าใจชัดเจนว่า การรักษาความลับเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ในโครงการของคณะพลมารีย์
ทหารขาดความกล้าหาญถือว่าน่าอับอาย แต่ถ้าทรยศก็ร้ายกาจอย่างไม่มีอะไรเปรียบ การนำเรื่องที่ทราบจากการประชุมเปรสิเดียมไปพูดข้างนอกถือว่าเป็นการทรยศ แต่ขณะเดียวกันก็จำต้องกระทำทุกสิ่งให้สมเหตุผลคนใจร้อนชนิดไม่รู้จักกาลเทศะมีอยู่เนือง ๆ บุคคลจำพวกนี้ อ้างว่า เพื่อเห็นแก่ความรักต่อเพื่อนมนุษย์ สมาชิกไม่ควรให้เปรสิเดียมทราบถึงชื่อ
หน้า 172 บทที่ 19 การประชุมและสมาชิก
หรือรายงานเกี่ยวกับกรณีผู้เมินเฉยต่อศาสนา ฟังเผิน ๆ ข้อแนะนำนี้ก็น่าชมแต่ที่จริงเป็นการผิด ทั้งเป็นภัยแก่ชีวิตของคณะพลมารีย์ด้วย เพราะเปรสิเดียมไม่อาจดำเนินไปในสภาพเช่นนั้นได้
(ก) การรับทำตามเช่นว่านั้น ขัดแย้งกับข้อปฏิบัติที่สมาคมทั่วไปนิยมทำไม่ว่าสมาคมใดล้วนถือเป็นธรรมเนียมจะอภิปรายเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตน
(ข) หากสรุปในแง่เหตุผลจริง ๆ แล้ว ข้อเสนอนั้น ยังต้องหมายความว่าแม้แต่คู่เยี่ยม ก็ต้องรักษาความลับแก่กันด้วย
(ค) หน่วยแห่งกิจการความรู้และความรัก ไม่ใช่เป็นเพียงสมาชิกแต่ละคนหรือคู่เยี่ยมแต่ละคู่ ที่แท้เปรสิเดียมเองเป็นหน่วยนั้น และรายละเอียดแห่งกิจการตามปกติก็ต้องยกขึ้นมาอ้าง ผลประโยชน์แท้จริงของความรักนั้นเองกลับจะได้รับความเสียหาย
(ง) ไม่มีอะไรคล้ายคลึงกันเลยกับกรณีของพระสงฆ์ หน้าที่ศักดิ์สิทธิ์ของพระสงฆ์ทำให้ท่านอยู่คนละชั้นกับพลมารีย์ ในการเยี่ยม พลมารีย์ก็ไม่รู้อะไรเหนือไปกว่าคนอื่นพึงรู้ และบ่อยครั้งเรื่องนั้นก็เป็นที่รู้กันทั่วไประหว่างเพื่อนบ้านใกล้เคียง หรือตำบลใกล้ ๆ นั้นแล้ว
(จ) หากยกเลิกข้อผูกมัดที่สมาชิกต้องรายงานโดยครบถ้วนก็เท่ากับยกเลิกความหมาย การควบคุมรายงานอย่างถูกต้อง ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับคณะ บรรดาคำแนะนำ ชี้ช่องหรือคำวิจารณ์ที่มีประสิทธิภาพก็ให้กันไม่ได้ ทำให้เจตนารมณ์สำคัญของเปรสิเดียมไม่สามารถเกิดผลได้การอบรมและคุ้มกันสมาชิก มีรากฐานจากการรายงาน หากยกเลิกเสีย จะอบรมคุ้มกันสมาชิกอย่างไร หากตรวจการปฏิบัติงานประจำสัปดาห์ของสมาชิกจะเห็นความบกพร่องทุกชนิด แต่เมื่อสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น ก็อย่ามาตำหนิคณะ
หน้า 173 บทที่ 19 การประชุมและสมาชิก
(ฉ) น่าประหลาดที่สุดก็คือ เครื่องผูกพันความลับเองกลับถูกคลายให้หละหลวม เพราะหลักประกันความลับของคณะ (ดังที่รักษาความลับกันดีเลิศในปัจจุบัน) ได้แก่การที่เปรสิเดียมควบคุมการปกครองสมาชิกไว้หากคลายการควบคุมนี้ เครื่องผูกพันความลับก็จะพลอยเสียความเข้มแข็งไปด้วย พูดตรง ๆ เปรสิเดียมไม่ใช่เป็นหน่วยรักษาความรักและความลับแต่ยังเป็นหลักค้ำประกันความรักและความลับนั้นด้วย
รายงานที่เสนอต่อที่ประชุม ต้องถือเหมือนความลับที่ครอบครัวปรึกษาหารือกัน และควรให้เสรีภาพในการรับรู้จนกว่าจะเกิดการละเมิดขึ้น ถึงกระนั้นทางแก้ไขไม่ใช่งดรายงาน แต่ให้ขับผู้ทรยศไปเสียให้พ้น
แน่นอน มีบางครั้งสถานการณ์แวดล้อมบังคับให้จำต้องถือเป็นความลับเด็ดขาด เรื่องอย่างนี้ควรปรึกษากับจิตตาธิการทันที (หรือถ้าท่านขัดข้องให้ปรึกษากับผู้ทรงคุณวุฒิพอ ๆ กัน) ซึ่งจะตัดสินเรื่องนั้น
21. เสรีภาพในการพูด เป็นการถูกต้องไหมที่จะแสดงข้อโต้แย้งในระเบียบวิธีการประชุม บรรยากาศของเปรสิเดียมไม่ควรเป็นแบบทหารแต่ควรเป็นลักษณะ “ครอบครัว” ฉะนั้นควรยินดีรับ “การติเพื่อก่อ” จากบรรดาสมาชิก แต่แน่นอนคำชี้แจงนั้นต้องไม่มีน้ำเสียงท้าทาย หรือขาดความเคารพต่อเจ้าหน้าที่
22. การประชุมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวสมาชิกภาพ มนุษย์เรามักใจร้อน อยากจะเห็นผลสำเร็จในทันที และแล้วก็กลับไม่พอใจในผลที่ได้รับที่จริงผลที่ปรากภูมิใช่เครื่องทดสอบแน่นอน ว่างานนั้นประสบความสำเร็จแล้วสมาชิกคนหนึ่งพอเริ่มงานก็เกิดผลทันที อีกคนหนึ่งพากเพียรอย่างเข้มแข็งแต่ไม่ได้ผลเลย จึงเกิดความคิดว่าออกแรงเปล่า แล้วก็ทิ้งงาน จนทำให้งานซึ่งวัดคุณค่าจากผลภายนอกฝ่ายเดียว กลายเป็นแหล่งอันตราย อันจะไม่ยึดเหนี่ยวสมาชิกธรรมดาให้อยู่ได้นาน
หน้า 174 บทที่ 19 การประชุมและสมาชิก
อันว่าเครื่องยึดเหนี่ยวดังว่านั้นจำเป็นที่สุด พลมารีย์จะพบเครื่องยึดเหนี่ยวนี้ในขุมทรัพย์แห่งคำภาวนา พิธีการ บรรยากาศพิเศษ รายงานที่กระทำประจำสัปดาห์ มิตรภาพอันศักดิ์สิทธิ์ แรงดึงดูดของวินัย ความสนใจอย่างจริงจัง และความเป็นระเบียบเรียบร้อย ซึ่งรวมกันอยู่ในการประชุมเปรสิเดียมแต่ละสัปดาห์
ในที่เช่นนี้ ไม่มีอะไรชวนให้คิดว่าตนได้ออกแรงเสียเปล่าซึ่งทำให้สมาชิกภาพสั่นคลอน แต่ทุกสิ่งมีแต่ผูกมัดสมาชิกให้แน่นแฟ้น เนื่องจากการประชุมนี้กระทำสืบเนื่องกันสม่ำเสมอ จึงเกิดความรู้สึกเหมือนเครื่องจักรเดินเรียบสนิท ย่อมพาไปสู่จุดปลายทางแน่วแน่ สมตามที่มั่นหมายไว้ และเป็นเครื่องประกันมั่นคงว่าจะทำงานสำเร็จแน่นอน อันเป็นหลักค้ำประกันสมาชิกภาพมั่นคงถาวร ขอให้พลมารีย์คำนึงต่อไปเล็กน้อย โดยให้คิดว่าเครื่องกลไกนี้แท้จริงเป็นจักรกลของพระนางมารีย์ เพื่อใช้ในการสงครามขยายอาณาจักรของพระบุตร พลมารีย์เป็นส่วนต่าง ๆ ของเครื่องจักรนั้นการทำงานของเครื่องจักรขึ้นอยู่กับวิธีการที่พลมารีย์อุทิศตนเข้าร่วมมีส่วนด้วยความเป็นสมาชิกสัตย์ชื่อของเขา หมายถึงเครื่องจักรเดินบริบูรณ์ พระนางจะทรงใช้สอยให้สำเร็จประโยชน์ตามที่ทรงปรารถนา ผลเหล่านี้จะสมบูรณ์เพราะ “พระนางมารีย์เท่านั้น ทรงรู้อย่างบริบูรณ์ว่าพระสิริรุ่งโรจน์ใหญ่ยิ่งของพระเป็นเจ้าอยู่ตรงไหน” (นักบุญหลุยส์มารีย์ กรีญอง เดอ มงฟอร์ต)
23. เปรสิเดียมคือ “การประทับอยู่” ของแม่พระ คำแนะนำต่างๆในบทนี้ มุ่งหมายให้สมาชิกแต่ละคน ตระหนักถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น เพื่อจะได้เป็นหน่วยที่พร้อมในการรับใช้แพร่ธรรมอย่างเป็นทางการของพระศาสนจักร
ถ้าเปรียบเทียบความสัมพันธ์การแพร่ธรรมเป็นกลุ่ม กับการแพร่-
หน้า 175 บทที่ 19 การประชุมและสมาชิก
ธรรมของแต่ละคน ก็เหมือนกับความสัมพันธ์ระหว่างศาสนพิธีกรรมกับการสวดภาวนาส่วนตัวแต่ละคน
การแพร่ธรรมนั้น เรากระทำเป็นหนึ่งเดียวกับพระนางมารีย์ และได้รับความเอาใจใส่อย่างต่อเนื่องจากความเป็นมารดาของพระนาง “ที่มอบพระบุตรแก่โลก พระบุตรผู้ทรงเป็นชีวิต และทรงฟื้นฟูสรรพสิ่งเพื่อการนี้ พระเป็นเจ้าโปรดให้พระนางอุดมด้วยพระคุณอันเหมาะสม รับกับบทบาทสูงส่งของพระนาง” (พระธรรมนูญว่าด้วยพระธรรมกล่าวถึงพระศาสนจักร ข้อ 56)
พระนางทรงสืบทอดบทบาทนี้ต่อไป โดยอาศัยบรรดาที่จงใจช่วยพระนาง เปรสิเดียมเสนอกลุ่มผู้รักวิญญาณ กระหายที่จะช่วยพระนาง ในบทบาทนี้ แน่นอนพระนางก็จะรับความช่วยเหลือนี้
ฉะนั้นเปรสิเดียมเปรียบเหมือนกับการประทับอยู่ ในรูปแบบหนึ่งของพระนาง อาศัยวิธีนี้พระนางจะแสดงบทบาทจ่ายแจกพระคุณพิเศษของพระนางและบันดาลความเป็นมารดาของพระนางสืบต่อไป
ดังนั้นเป็นที่หวังว่า เปรสิเดียมที่ชื่อสัตย์ต่ออุดมการณ์ของเขา จะสามารถเผยแผ่ชีวิตใหม่ เยียวยารักษา และแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่ใดมีปัญหาก็จะใช้หลักการฝ่ายวิญญาณนี้เข้าช่วยได้
“จงก้มลงรับแอกของปรีชาญาณมาแบกไว้ อย่าขัดเคืองที่ปรีชาญาณล่ามท่านไว้ จงเข้าหาปรีชาญาณสุดจิตสุดใจ จงเดินตามทางของปรีชาญาณสุดกำลัง จงตามรอยเท้าแสวงหาปรีชาญาณ แล้วปรีชาญาณจะแสดงตนแก่ท่าน เมื่อพบปรีชาญาณแล้วก็อย่าปล่อยให้หลุดไป ในที่สุด ท่านจะได้พักผ่อนกับปรีชาญาณ และปรีชาญาณจะกลายเป็นความยินดีสำหรับท่าน โช่ตรวนของปรีชาญาณจะเป็นเครื่องป้องกันแข็งแรงสำหรับท่าน ปลอกคอที่ปรึชาญาณสวมให้ท่าน จะเป็นเสมือนอาภรณ์รุ่งโรจน์ แอกที่ปรีชาญาณให้ท่านแบก ก็จะเป็นเสมือนเครื่องประดับทองคำ โช่ตรวนที่ปรีชาญาณล่ามท่านไว้ จะเป็นเสมือนเชือกสีม่วงแดง” (บสร 6:25-30)
หน้า 176 บทที่ 20 ระบบคณะพลมารีย์เป็นระบบตายตัว
บทที่ 20
ระบบคณะพลมารีย์เป็นระบบตายตัว
1. สมาชิกพลมารีย์ไม่มีเสรีภาพ ที่จะเปลี่ยนแปลงกฎข้อบังคับหรือการปฏิบัติตามอำเภอใจ ระบบที่ได้กล่าวถึงนี้ ก็คือระบบของคณะพลมารีย์ การดัดแปลงแต่ละอย่าง แม้เล็กน้อย จะพากันให้เกิดดัดแปลงอย่างอื่นต่อไปอีกแน่นอน จนที่สุดจะเป็นคณะที่พลมารีย์อยู่เพียงแต่ชื่อเท่านั้น แต่มีสิ่งที่เป็นของพลมารีย์น้อยที่สุด ผลมารีย์จะไม่ลังเลและปฏิเสธที่จะเกี่ยวข้องกับองค์กรนั้นทันที แม้งานที่ได้ปฏิบัติไปแล้วจะวิเศษเพียงใดก็ตาม
2. จากประสบการณ์แสดงว่า ชื่อขององค์กรใดไม่ว่ามีความหมายจริงจังแต่น้อยสำหรับบางคน เพราะเขาเหล่านี้จะถือว่า เป็นการกดขี่บังคับ หากมิได้ปล่อยเขาให้มีโอกาสแทรกความคิดเห็นของตนเอง เข้าไปภายใต้นามขององค์กรที่มีมาตรฐานอยู่แล้ว
บางครั้ง “พวกหัวสมัยใหม่” นี้ จะเปลี่ยนเกือบทุกอย่างในคณะพลมารีย์เพียงแต่รักษาชื่อของคณะไว้ พวกนี้มิได้ตระหนักเลยหรือว่าการที่จะแปรสภาพอันมั่นคงของคณะพลมารีย์และสมาชิก เป็นไปตามแบบของตนอย่างไม่ถูกต้องนั้น ร้ายเสียยิ่งกว่าการปลอมแปลง เพราะคณะพลมารีย์นั้นเกี่ยวกับงานฝ่ายวิญญาณเป็นสำคัญ
3. แต่ละท้องถิ่นก็เหมือนกับบุคคล มักชอบคิดว่าตนแตกต่างกว่าที่อื่น และจำเป็นต้องมีกฎข้อบังคับพิเศษสำหรับตน เหตุฉะนี้จึงมีผู้เสนอบ่อย ๆ ว่า ระบบของพลมารีย์ควรยอมอนุโลม ตามสภาพแวดล้อม ที่อ้างว่าเป็นกรณีพิเศษ การดัดแปลงเช่นนี้ ถ้าหากทำไปแล้ว ผลลัพธ์คงลำบากใจมิใช่น้อย เพราะความคิดของพวกนั้น ลงรอยเดียวกันหมดคือ มิใช่เกิดจาก
หน้า 177 บทที่ 20 ระบบคณะพลมารีย์เป็นระบบตายตัว
ความจำเป็น (เพราะคณะได้แสดงให้เห็นแล้วว่า คณะมีลักษณะใช้ได้ทั่วไป)แต่เกิดจากจิตตารมณ์ปลอมที่ชอบเป็นอิสระเท่านั้น
การกระทำเช่นนี้จะไม่มีวันได้รับพระพรพิเศษจากสวรรค์ และผลของอิสรภาพแบบนี้คือมีแต่จะร่วงโรยตกต่ำไป อย่างไรก็ดีมิใช่ง่ายที่จะให้คนประเภทนี้ เข้าใจตามที่กล่าวมานั้น อย่างน้อยที่สุดเมื่อมีผู้ใช้สิทธิมาตัดสินเป็นการส่วนบุคคลในเรื่องเกี่ยวกับกฎระเบียบของพลมารีย์ ทางเดียวที่มีเกียรติสำหรับคนประเภทนี้คือ ให้เขางดเกี่ยวข้องกับชื่อพลมารีย์ในกิจการต่างๆ ของเขา
4. ยิ่งกว่านั้น เล่ห์เหลี่ยมการเลือกเพียงบางส่วน ซึ่งบุคคลฉลาดเกินไปมักชอบปฏิบัติไม่เคยประสบผลสำเร็จ ในอันที่จะทำให้การเลียนแบบนี้มีความราบรื่น และแรงบันดาลใจที่ดี อันเป็นพลังแท้จริงของพลมารีย์ดั้งเดิมจึงปรากฏผลว่าการผ่าตัดนั้นเหลือแต่ซากศพ ผลดีที่สุดก็เพียงสร้างเครื่องจักรงาม ๆ เครื่องหนึ่งเท่านั้น เมื่อเกิดผลร้ายหรือการล้มเหลว ก็จะต้องเผชิญกับการรับผิดชอบอย่างหนัก
5. สภาต่าง ๆ ของคณะพลมรีย์มีไว้ เพื่อรักษาระบบของคณะให้ครบถ้วน ต้องชื่อตรงต่อหน้าที่ ซึ่งตนได้รับมอบหมายไว้
“ระบบคณะพลมารีย์เป็นระบบดีเลิศ” (สมเด็จพระสันตะป่าปายอห์น ที่ 23)
“ท่านต้องรับไว้ทั้งหมด หรือไม่ก็ปฏิเสธทั้งหมด ลดหย่อนดีแต่จะทำให้อ่อนแอบั่นทอนดีแต่พิการ การที่จะรับทั้งหมด นอกจากสิ่งที่เป็นส่วนอันจะขาดเสียมิได้นั้นนับว่าเป็นการโฉดเขลาโดยแท้” (Newman : Essay on Development)
หน้า 178 บทที่ 21 บ้านนาชาเร็ธ ตัวอย่างของเปรสิเดียม
บทที่ 21
บ้านนาซาเร็ธ ตัวอย่างของเปรสิเดียม
คำสอนเรื่องพระกายทิพย์พระคริสตเจ้าอาจนำเฉพาะบางส่วนมาใช้ได้กับการประชุมต่าง ๆ ของคณะพลมารีย์ เป็นต้น การประชุมเปรสิเดียมอันเป็นหัวใจของระบบพลมารีย์
“ที่ใดมีสองหรือสามคนชุมนุมกันในนามของเรา เราอยู่ที่นั่นในหมู่พวกเขา” (มธ 18:20) พระวาจาของพระคริสตเจ้านี้เป็นหลักประกันว่าอิทธิพลของพระองค์ประทับอยู่ในอวัยวะของพระกายทิพย์ มากน้อยตามจำนวนที่อวัยวะนั้นรวมตัวกันมารับใช้พระองค์ พระองค์ทรงกำหนดเรื่องจำนวนเป็นเงื่อนไขแสดงพระฤทธานุภาพเต็มที่ การที่เป็นเช่นนี้อาจมาจากข้อบกพร่องของแต่ละคน คุณความดีของแต่ละคนมีจำกัด ทำให้พระคริสตเจ้าไม่สามารถแสดงพระองค์ในแต่ละคนได้เต็มที่
การเปรียบเทียบตามธรรมชาติง่าย ๆ อาจแสดงให้เราเข้าใจได้ กระจกสีย่อมปล่อยให้เฉพาะแสงที่เป็นสีของมันผ่าน ส่วนสีอื่น ๆ ไม่ยอมให้ผ่านเลยแต่ครั้นกระจกสีต่าง ๆ ทั้งหมดส่องแสงพร้อมกันแล้ว สีต่าง ๆ เหล่านี้จะรวมกันทำให้แสงสว่างงดงามเต็มที่ เช่นเดียวกัน เมื่อคริสตชนคาทอลิกจำนวนหนึ่งรวมกันปฏิบัติงานตามพระประสงค์ของพระคริสตเจ้า คุณภาพของแต่ละคนจะชดเชยความบกพร่องซึ่งกันและกัน ยังผลให้พระองค์สามารถแสดงความดีบริบูรณ์และพระฤทธานุภาพครบถ้วนยิ่งขึ้น
ดังนั้น เมื่อสมาชิกประชุมกันในเปรสิเดียม ในนามและเพื่องานของพระองค์ พระองค์ก็ประทับอยู่พร้อมด้วยฤทธานุภาพดังกล่าวแล้ว มีหลักฐานว่าฤทธานุภาพได้ออกจากพระองค์ ณ ที่นั้น (มก 5:30)
หน้า 179 บทที่ 21 บ้านนาชาเร็ธ ตัวอย่างของเปรสิเดียม
พร้อมกับพระเยซูเจ้าในครอบครัวพลมารีย์น้อย ๆ (เปรสิเดียม) นั้นยังมีพระมารดาและนักบุญโยเชฟอยู่ด้วยทั้งสองมีสัมพันธ์ต่อเปรสิเดียมเช่นเดียวกับที่มีต่อพระองค์ ชวนให้เรามองเปรสิเดียมในทัศนะของบ้านที่นาชาเร็ธ ข้อนี้มิใช่ถือไปตามความเลื่อมใสศรัทธาเท่านั้น แต่มีพื้นฐานเป็นจริงเช่นนั้น เปรุสกล่าวว่า “เราต้องถือว่าสิ่งต่าง ๆ และเรื่องราวของพระเยซูเจ้ามิใช่เรื่องอดีตตายไปแล้ว แต่เป็นสิ่งมีชีวิต คงอยู่ในปัจจุบันและตลอดนิรันดรด้วย”
เช่นเดียวกัน เราอาจคำนึงอย่างใจศรัทธาว่า ห้องประชุมและสิ่งของเครื่องใช้ของเปรสิเดียม เป็นบ้านที่นาซาเร็ธและเครื่องตกแต่งของบ้านนั้นและเราอาจจะเปรียบได้กับความประพฤติของพลมารีย์ต่อห้องประชุมและเครื่องใช้ของ เปรสิเดียมนี้เป็นการทดสอบว่าเขาซาบซึ้ง ถึงความจริงของพระคริสตเจ้า ซึ่งเจริญชีวิตในเราและทำงานผ่านทางเราจริงหรือไม่ เพราะพระองค์ทรงใช้ของที่เรากำลังจับใช้อยู่นั่นเอง
ความคิดเช่นนี้ ชวนให้เราปลาบปลื้ม เป็นเหตุให้ตั้งใจเอาใจใส่ดูแลรักษาสิ่งของต่างๆ ที่เป็นของเปรสิเดียม และทำให้เป็นเสมือนบ้าน
พลมารีย์อาจจะไม่สามารถดูแลห้องประชุมได้เต็มที่ แต่เครื่องใช้อื่น ๆ เกี่ยวกับการประชุมนั้น อาจควบคุมได้มากกว่า เช่น โต๊ะ เก้าอี้ แท่นสมุด หนังสือต่าง ๆ พลมารีย์ได้ให้ความสะดวกอย่างไรแก่แม่พระ ในการจัดการบ้านนาชาเร็ธ คือเปรสิเดียม อย่างที่พระนางได้เริ่มปฏิบัติแล้วที่กาลิลีในอดีต ความช่วยเหลือของพลมารีย์นี้จำเป็นสำหรับพระนาง พลมารีย์จะปฏิเสธเสียก็ได้หรือจะปฏิบัติอย่างละเลยก็ได้ และวิธีนี้จะทำให้งานของพระนางต่อพระกายทิพย์คริสตเจ้าแปรปรวนไป เมื่อเผชิญกับความคิดเช่นนี้ขอให้พลมารีย์พยายามคำนึงว่า พระนางได้จัดการดูแลบ้านของพระนางอย่างไร
หน้า 180 บทที่ 21 บ้านนาชาเร็ธ ตัวอย่างของเปรสิเดียม
บ้านของพระนางเป็นบ้านคนยากจน เครื่องประดับก็ห่างไกลจากความหรูหรา กระนั้นก็ตาม บ้านนั้นต้องงดงามที่สุด เพราะในบรรดาแม่บ้านและมารดาทุกสมัย ก็มีแต่พระนางผู้เดียวมีรสนิยมสูงสุดและความประณีตสุขุม ซึ่งแสดงออกมาในส่วนต่างๆ ของบ้านนี้ ส่วนย่อยเบ็ดเตล็ดแต่ละส่วนจำต้องมีอะไรที่ชวนให้รัก ของธรรมดาทุกชิ้นจำต้องมีเสน่ห์น่าชม เหตุว่าสิ่งต่างๆ เหล่านั้นพระนางรัก และรักแบบของพระนาง เพราะเห็นแก่พระองค์ผู้ทรงสร้างมาและทรงใช้สอยสิ่งเหล่านั้นเหมือนมนุษย์อื่นๆ
พระนางรักษาของเหล่านั้นให้สะอาดสะอ้าน ขัดถูเป็นเงาให้แลดูงดงาม เพราะทุกอย่างนั้นจำต้องอยู่ในสภาพดีสมบูรณ์จริงๆ เราอาจแน่ใจได้ว่า ในเมื่อบ้านน้อย ๆ หลังนี้ไม่เหมือนกับหลังอื่น ๆ เพราะว่าเป็นที่บรรทมของพระผู้ไถ่ เป็นที่ประทับขององค์พระผู้เป็นเจ้า ทุกสิ่งในบ้านนั้นได้มีส่วนในการอบรมพระองค์ผู้สร้างสรรค์สรรพสิ่ง ฉะนั้นทุกสิ่งจึงต้องเหมาะสมกับจุดประสงค์สูงสุดนั้น และเหมาะสมทุกด้าน ทั้งระเบียบ ความสะอาด ความสวยงาม และคุณสมบัติอื่น ๆ ซึ่งพระนางเพียรจัดหามาประดับให้
ทุกสิ่งในเปรสิเดียม ย่อมมีบทบาทเป็นแม่พิมพ์ หล่อหลอมสมาชิกให้เข้าแบบแผน ฉะนั้นควรให้มีคุณลักษณะต่าง ๆ ดังกล่าวของบ้านนาชาเร็ธส่วนพลมารีย์เองก็ต้องมีคุณลักษณะที่ทำให้ผู้อื่นสามารถเห็นพระเยซูเจ้าและแม่พระในตนได้
นักประพันธ์ชาวฝรั่งเศสผู้หนึ่งได้เขียนหนังสือ ชื่อ “ท่องเที่ยวรอบห้องข้าพเจ้า” สมาชิกก็จงคิดท่องเที่ยวรอบเปรสิเดียมของตนบ้าง จงพิจารณาตรวจตราทุกสิ่งที่สะดุดหูสะดุดตาของท่าน ดูพื้น ผนัง หน้าต่าง เครื่องตกแต่ง เครื่องประดับแท่น โดยเฉพาะพระรูปพระมารดา อันเป็นดุจศูนย์กลางของบ้าน แต่ที่สำคัญที่สุดจงสังเกตความประพฤติของบรรดาสมาชิก
หน้า 181 บทที่ 21 บ้านนาชาเร็ธ ตัวอย่างของเปรสิเดียม
(ในที่ประชุม) และวิธีดำเนินการประชุม
ถ้าสิ่งที่เห็นและได้ยินทั้งหมด ไม่สอดคล้องต้องกับบ้านนาซาเร็ธเลย จิตตารมณ์แห่งนาชาเร็ธก็คงมีอยู่ในเปรสิเดียมนั้นน้อยเต็มที เมื่อขาดจิตตารมณ์ดังกล่าว เปรสิเดียมนั้นก็เสมือนยิ่งกว่าตายแล้วเสียอีก
บางครั้งบรรดาเจ้าหน้าที่ ก็คล้ายบิดามารดาที่เหลวไหล มักเป็นเหตุให้ผู้น้อยในปกครองผันผวนปรวนแปรไป แทบทุกครั้งข้อบกพร่องของเปรสิเดียมสืบเนื่องมาจากเจ้าหน้าที่ ถ้าสมาชิกมาไม่ตรงเวลา เข้าประชุมไม่สม่ำเสมอทำงานไม่พอ และทำไม่สม่ำเสมอ ท่าทีรวนเรในที่ประชุม ก็เพราะว่าเจ้าหน้าที่ปล่อยให้เขาประพฤติบกพร่องเช่นนั้น มิได้อบรมเขาให้ดีขึ้น เขาเหลวไหลก็เนื่องจากการฝึกที่ได้รับจากพวกเจ้าหน้าที่
จงเปรียบเทียบข้อบกพร่องเหล่านี้กับบ้านนาชาเร็ธ ลองคิดดูถ้าแม่พระละเลยในเรื่องเล็กน้อย และขาดระเบียบ เลี้ยงอบรมพระกุมารไปตามยถากรรมเช่นนั้น ลองจินตนาการถึงพระนาง อย่างแม่บ้านที่เกียจคร้าน ปล่อยให้บ้านนาชาเร็ธอยู่ในสภาพหักพัง จนเป็นขี้ปากของชาวบ้าน แน่นอนความคิดดังกล่าวช่างขบขันสิ้นดี กระนั้นก็ดี เจ้าหน้าที่คณะพลมารีย์ไม่น้อย ปล่อยปละละเลยให้สิ่งต่าง ๆ ในเปรสิเดียม ซึ่งเทียบกับบ้านนาชาเร็ธ เป็นไปตามยถากรรมอย่างน่าอับอาย ทั้ง ๆ ที่เขาอ้างตนว่า เป็นผู้ดูแลบ้านนั้น แทนตัวพระมารดาเอง
แต่ตรงกันข้าม ถ้าทุกสิ่งทุกอย่างดีครบครัน แสดงให้เห็นความเลื่อมใสศรัทธาของเปรสิเดียม เมื่อนั้นเขาก็รู้แน่ได้ว่า พระคริสตเจ้าประทับอยู่ ณ ที่นั้น เต็มที่สมตามพระวาจา จิตตารมณ์ของครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ มิได้จำกัดอยู่ที่บ้านศักดิ์สิทธิ์ ที่นาซาเร็ธ ที่แคว้นยูเดีย หรือดินแดนใดทั้งสิ้น ฉะนั้นจิตตารมณ์ของเปรสิเดียมก็ไม่มีขอบเขตตายตัวเหมือนกัน (คือต้องนำจิตตารมณ์บ้านนาชาเร็ธมาบำรุงรักษาไว้ในเปรสิเดียม)
หน้า 182 บทที่ 22 บทภาวนาประจำคณะพลมารีย์
“ความรักประสาคาทอลิกต่อพระมารดามีสิ่งดีน่าสรรเสริญ คือไม่ชอบสืบเสาะหารายละเอียดเกี่ยวกับชีวิตของพระนางที่นาชาเร็ธ ชาวเรารู้ว่าการดำเนินชีวิตที่นาชาเร็ธนั้น เป็นไปผิดกับที่มนุษย์ธรรมดาเคยประสบ ยากที่มนุษย์จะเข้าใจได้ ในโลกนี้มีใครบ้างสามารถที่จะวาดภาพของสองชีวิตที่เต็มไปด้วยกิจการเหนือมนุษย์ธรรมดา และทั้งสองชีวิตนี้กลมกลืนครบครันยิ่งในอิริยาบถ ในความรักสนิทสนมกัน และความมุ่งหมายเดียวกัน
เชิญเฝ้าดูจากเนินเมืองนาชาเร็ธ จะเห็นสตรีผู้หนึ่งทูนไหบนศีรษะ ออกไปตักน้ำที่บ่อ มีเด็กชายอายุ 15 ปีคนหนึ่งเคียงข้างไปด้วย ข้าพเจ้ารู้ว่าสองคนนี้รักกันอย่างแน่นแฟ้น ชนิดที่หาไม่พบแม้ในหมู่เทวดาที่เฝ้าอยู่ต่อหน้าพระบัลลังก์พระเจ้า แต่ข้าพเจ้าก็รู้ด้วยว่าข้าพเจ้าไม่มีสิทธิรู้เห็นมากกว่านี้ หาไม่คงตายเพราะความพิศวงหลงใหลเป็นแน่” (Vonier : The Divine Maternity)
บทที่ 22
บทภาวนาประจำคณะพลมารีย์
ต่อไปนี้คือบทสวดต่าง ๆ ของคณะพลมารีย์ แบ่งไว้ตามวิธี ที่จะสวดในเวลาประชุม เมื่อสวดตามลำพัง ไม่จำเป็นต้องถือตามลำดับดังนี้
พลมารีย์สนับสนุนจะสวดบทภาวนาทั้งหมดนี้ทุกวัน
เมื่อสวดเป็นตอน ๆ ให้ทำเครื่องหมายกางเขน เมื่อเริ่มและจบบทภาวนาของแต่ละตอน ถ้าสวดติดต่อกันรวดเดียว ให้ทำเครื่องหมายกางเขนเมื่อเริ่มต้นและตอนจบเท่านั้น
1. บทภาวนาเปิดประชุม
เดชะพระนามพระบิดา…
หน้า 183 บทที่ 22 บทภาวนาประจำคณะพลมารีย์
ก. เชิญเสด็จมา ข้าแต่พระจิตเจ้า…
ร. เชิญเสด็จมาสถิตในดวงใจสัตบุรุษ และทรงบันดาลให้ลุกร้อนด้วยความรักของพระองค์
ก. โปรดประทานพระจิตของพระองค์ และสรรพสิ่งจะอุบัติขึ้นมา
ร. แล้วพระองค์จะทรงเนรมิตแผ่นดินขึ้นใหม่
ก. เราจงภาวนา
ข้าแต่พระเจ้า พระองค์ทรงสอนใจสัตบุรุษด้วยการส่องสว่างของพระจิต โปรดให้ข้าพเจ้าทั้งหลายซาบซึ้ง ในความเที่ยงธรรมโดยพระจิตนั้นและโปรดให้ได้รับความบรรเทาจากพระองค์ท่านเสมอ เดชะพระคริสตเจ้าองค์พระผู้เป็นเจ้าของข้าพเจ้าทั้งหลาย อาแมน
ก. ข้าแต่พระเป็นเจ้า ขอทรงเผยปากช้าพเจ้า
ร. และลิ้นข้าพเจ้าจะได้ร้องสรรเสริญพระองค์
ก. ช้าแต่พระเจ้า โปรดเสด็จมาช่วยข้าพเจ้า
ร. ข้าแต่พระเป็นเจ้า โปรดเร่งมาช่วยข้าพเจ้า
ก. พระสิริรุ่งโรจน์แด่พระบิดา และพระบุตร และพระจิตเจ้า
ร. เหมือนในปฐมกาล บัดนี้และทุกเมื่อตลอดนิรันดร อาแมน
แล้วสวดลูกประคำ 50 เม็ด
วันทาพระราชินี พระแม่ผู้ทรงเมตตากรุณา ทรงเป็นชีวิต ความอ่อนโยน และความหวังของลูกทุกคน ลูกผู้เป็นลูกหลานที่ถูกเนรเทศของเอวา ขอวันทาร้องหาพระแม่ ถอนใจคร่ำครวญร่ำไห้ในเหวน้ำตานี้ โปรดเถิดพระแม่ ผู้ทรงช่วยเหลือเกื้อกูลลูก โปรดทอดพระเนตรเมตตามายังลูก และเมื่อชีวิตเนรเทศนี้ผ่านพ้นไปแล้ว โปรดแสดงให้ลูกเห็นพระเยชู พระบุตรผู้ทรงได้รับพระพร ข้าแต่พระแม่ผู้เมตตากรุณา พระแม่ผู้โอบอ้อมอารีมารีย์พรหมจารีผู้มีพระทัยอ่อนโยน
หน้า 184 บทที่ 22 บทภาวนาประจำคณะพลมารีย์
ก. โปรดภาวนาอุทิศแก่เราเถิดพระชนนีเจ้าข้า
ร. เพื่อเราสมจะได้รับตามคำสัญญาของพระคริสตเจ้า
ข้าแต่พระเป็นเจ้า พระเอกบุตรของพระองค์ได้ทรงเจริญชีวิตสิ้นพระชนม์และกลับคืนชีพ เพื่อให้เราได้บำเหน็จความรอดตลอดนิรันดร์ ชาวเรารำพึงตามเรื่องราวแห่งสายประคำอันศักดิ์สิทธิ์ยิ่งของพระนางพรหมจารีมารีย์นี้อยู่ โปรดเถิด ขอโปรดให้เราได้ปฏิบัติตามแนวทางที่ช้อรำพึงเหล่านี้สอน และประสบสิ่งซึ่งข้อเหล่านี้สัญญาไว้ด้วย เดชะพระคริสตเจ้าของเรา อาแมน
ก. พระหฤทัยอันศักดิ์สิทธิ์ยิ่งของพระเยซูเจ้า
ร. ทรงเมตตาเทอญ
ก. ดวงหทัยนิรมลของพระนางมารีย์
ร. ช่วยวิงวอนเทอญ
ก. นักบุญโยเชฟ
ร. ช่วยวิงวอนเทอญ
ก. นักบุญยอห์น ผู้นิพนธ์พระวรสาร
ร. ช่วยวิงวอนเทอญ
ก. นักบุญหลุยส์มารีย์ กรีญอง เดอ มงฟอร์ต
ร. ช่วยวิงวอนเทอญ
เดชะพระนามพระบิดา …
2. บทกาเตนาของคณะพลมารีย์ (บทสายสัมพันธ์)
ใช้สวดตอนกลางการประชุม และพลมารีย์ทุกคนสวดประจำวัน
พระนางนั่นคือใครหนอ เสด็จมาดุจรุ่งอรุณ งามดั่งดวงจันทร์รุ่งโรจน์ดั่งดวงอาทิตย์ และน่าเกรงชามดุจกองทัพที่เรียงรายเป็นขบวนรบ
1. วิญญาณข้าพเจ้า ถวายสดุดีแด่พระเป็นเจ้า
2. และจิตใจข้าพเจ้าโสมนัสยินดีในพระเจ้าผู้ไถ่กู้ข้าพเจ้า
3. เพราะพระองค์ทรงเหลียวแลความต่ำต้อยแห่งข้าบริการ
หน้า 185 บทที่ 22 บทภาวนาประจำคณะพลมารีย์
พระองค์ ตั้งแต่นี้ไปมนุษย์ทุกสมัยจะเรียกข้าพเจ้าว่า เป็นผู้มีบุญ
4. เพราะพระเจ้าผู้ทรงสรรพานุภาพ บันดาลให้บังเกิดแก่ข้าพเจ้าซึ่งเหตุการณ์อันใหญ่ยิ่ง และพระนามของพระองค์ศักดิ์สิทธิ์
5. พระมหากรุณาของพระองค์แผ่ไปตลอดทุกกาลสมัย โปรดบรรดาผู้มีความยำเกรง
6. พระองค์ทรงยกพระหัตถ์ แสดงพระฤทธานุภาพ ทรงขจัดผู้มีใจมักใหญ่ใฝ่สูงให้กระจายไป
7. พระองค์ทรงผลักไสบรรดาผู้ทรงอำนาจออกจากบัลลังก์และทรงยกย่องคนใจสุภาพ
6. พระองค์ทรงชุบเลี้ยงคนอดอยากให้อิ่มหนำด้วยโภคทรัพย์และทรงขับเศรษฐีให้กลับไปมืเปล่า
9. พระองค์ทรงเกื้อกูลอิสราเอล ผู้รับใช้พระองค์ โดยระลึกถึงพระมหากรุณา
10. ตามที่ได้ตรัสสัญญาไว้แก่บรรพบุรุษของเรา แก่อับราฮัมและบุตรหลานตลอดไป
11 . พระสิริรุ่งโรจน์แด่พระบิดา และพระบุตร และพระจิต
12. เหมือนในปฐมกาล บัดนี้และตลอดนิรันดร อาแมน
พระนางนั่นคือใครหนอ เสด็จมาดุจรุ่งอรุณ งามดั่งดวงจันทร์ รุ่งโรจน์ดั่งดวงอาทิตย์และน่าเกรงขามดุจกองทัพที่เรียงรายเป็นขบวนรบ
ก. โอ้พระนางมารีย์ผู้ปฏิสนธินิรมล
ร. ขอช่วยวิงวอนเพื่อเรา ผู้เข้ามาขอพึ่งด้วยเทอญ
ก. เราจงภาวนา
ข้าแต่พระเยซูคริสตเจ้า พระองค์ทรงเป็นคนกลางระหว่างมนุษย์
หน้า 186 บทที่ 22 บทภาวนาประจำคณะพลมารีย์
กับพระบิดายังทรงพอพระทัยแต่งตั้งพระนางพรหมจารีมารีย์ พระมารดาของพระองค์ให้เป็นมารดาของเรา และเป็นคนกลางระหว่างเรากับพระองค์ด้วย ขอโปรดบรรดาผู้มาขอความสงเคราะห์จากพระองค์ ให้ยินดีที่ได้รับความสงเคราะห์ทั้งหมดทางพระนางเทอญ อาแมน
3. บทภาวนาเฉพาะพลมารีย์
ให้สวดตอนปิดประชุม ได้วางแบบให้สวดได้ง่าย
เดชะพระนามพระบิดา …
ข้าแต่พระชนนีพระเจ้า ลูกทั้งหลายหลบภัยมาพึ่งพระแม่ โปรดอย่าเมินเฉยต่อคำวอนขอในยามทุกข์ร้อนของลูก แต่โปรดช่วยลูกให้พ้นภัยทั้งสิ้นเสมอเถิด พระมารดาพรหมจารีผู้ทรงได้รับพระพร (เมื่อประชุมเปรสิเดียมให้ออกชื่อเปรสิเดียม)
ร. ช่วยวิงวอนเทอญ
มิใช่ประชุมเปรสิเดียมให้สวดดังนี้
ก. พระนางมารีย์ผู้นิรมล คนกลางจ่ายพระหรรษทานทุกประการ
ร. ช่วยวิงวอนเทอญ
ก. อัครทูตสวรรค์มีคาแอลและอัครทูตสวรรค์คาเบรียล
ร. ช่วยวิงวอนเทอญ
ก. คณะอำนาจสวรรค์ กองพลทูตสวรรค์ของพระนางมารีย์
ร. ช่วยวิงวอนเทอญ
ก. นักบุญยอห์น แบปติสต์
ร. ช่วยวิงวอนเทอญ
ก. นักบุญเปโตรและเปาโล
ร. ช่วยวิงวอนเทอญ
(ต่อไปนี้ให้สวดพร้อมกันจนถึง อาแมน ครั้งแรก หลังจากนั้นพระสงฆ์ก่อและทุกคนรับ “อาแมน”)


หน้า 187 บทที่ 22 บทภาวนาประจำคณะพลมารีย์
ข้าแต่พระเจ้า
เรารับใช้อยู่ใต้ร่มธงของพระนางมารีย์ โปรดให้เรามีความเชื่อในพระองค์อย่างสมบูรณ์และมีความไว้ใจในพระนาง ซึ่งจะทำให้เราชนะโลกอย่างแน่นอน ขอประทานให้เรามีความเชื่อ พร้อมด้วยความรักอันลุกร้อนเพื่อให้เราสามารถประกอบกิจทุกอย่าง เพราะความรักต่อพระองค์อย่างบริสุทธิ์ใจ โดยถือว่าการรับใช้เพื่อนมนุษย์เป็นการรับใช้พระองค์เอง โปรดให้เรามีความเชื่อมั่นคงดุจหลักศิลา อันจะทำให้เราสงบหนักแน่น ท่ามกลางความยากลำบากและความไม่สมหวังในชีวิต โปรดให้เรามีความเชื่อกล้าหาญเด็ดเดี่ยว ในอันที่จะกล้าคิดทำการใหญ่โต เพื่อพระสิริรุ่งโรจน์ของพระองค์และเพื่อวิญญาณได้รอด โปรดให้ความเชื่อนั้น เป็นดังลำไฟประจำคณะพลมารีย์เพื่อนำเราเดินหน้าไปด้วยความสนิทสนมกลมเกลียว เพื่อจุดไฟความรักต่อพระองค์ ให้ลุกโพลงทุกแห่งหน เพื่อส่องสว่างบรรดาผู้อยู่ในความมืดและเงาแห่งความตาย เพื่อบรรดาใจเย็นเฉยจะได้เกิดลุกร้อน เพื่อนำชีวิตกลับคืนสู่ผู้ที่จมอยู่ในบาป ความเชื่อนั้นจะนำเราไปตามทางสันติสุข เพื่อว่าการรณรงค์ในชีวิตผ่านพ้นไปแล้ว คณะพลมารีย์ของเราจะได้รวมกันให้พร้อมหน้า โดยไม่มีใครขาดสูญแม้แต่คนเดียว ในพระราชัยแห่งความรักและสิริมงคลของพระองค์ อาแมน
ก. ขอให้วิญญาณของพลมารีย์และสัตบุรุษที่ถึงแก่กรรมแล้ว
จงประสบสุข เดชะพระเมตตาของพระเป็นเจ้าเทอญ อาแมน
(แล้วพระสงฆ์อวยพรให้ ถ้าไม่มีพระสงฆ์ก็ – เดชะพระนามพระบิดา …)
“ความเชื่อของพระนางมารีย์มีมาก ยิ่งกว่าของมวลมนุษย์และเทวดาทั้งหมด พระนางแลเห็นพระบุตรที่ถ้ำเลี้ยงสัตว์เมืองเบธเลเฮม และเชื่อว่าพระองค์คือผู้สร้างโลก
เมื่อเห็นพระองค์ต้องลี้ภัยจากเฮร็อด ความเชื่อของพระนางก็มิได้หวั่นไหว คงเชื่อว่าพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกษัตริย์ทั้งปวง
หน้า 188 บทที่ 23 บทภาวนาเปลี่ยนแปลงไม่ได้
เห็นพระองค์ทรงบังเกิด ก็เชื่อว่าพระองค์มีมาแต่นิรันดร เห็นพระองค์ยากจนขาดแม้เครื่องใช้สอยที่จำเป็น ถึงกระนั้นพระนางก็ยังเชื่อว่าพระองค์เป็นเจ้าแห่งสากโลก”
เห็นพระองค์ประทับนอนบนฟางหญ้า พระนางยังเชื่อว่าพระองค์เป็นพระผู้ทรงสรรพานุภาพ เห็นพระองค์ไม่ตรัสแม้แต่คำเดียว พระนางก็ยังเชื่ออยู่ว่า พระองค์เป็นพระญาณสุขุมนิรันดร ได้ยินพระองค์ทรงร่ำไห้ ก็เชื่อว่าพระองค์นี่แหละ คือความชื่นชมของสรวงสวรรค์
ในที่สุดพระนางเห็นพระองค์จะสิ้นพระชนม์ ถูกสบประมาทเอนกอนันต์ถูกตรึงกับไม้กางเขน แม้ความเชื่อของผู้อื่นทั้งสิ้นสั่นคลอนไปแล้ว แต่พระนางยังเชื่อแน่วแน่ว่าพระองค์คือพระเป็นเจ้า” (St. Alphonsus Liguori)
[ข้อความที่คัดมานี้ มิใช่ส่วนใดส่วนหนึ่งในบทภาวนาของพลมารีย์]
บทที่ 23
บทภาวนาเปลี่ยนแปลงไม่ได้
บทภาวนาต่าง ๆ ของคณะพลมารีย์ต้องถือว่าเปลี่ยนแปลงไม่ได้แม้ในคำวิงวอนก็ห้ามเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นนักบุญประจำชาติ ประจำถ้องถิ่น หรือนักบุญพิเศษโดยเฉพาะก็ตาม และไม่ว่าในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมนั้น อาจจะเป็นเหตุผลน่าฟังก็ตาม
นี่เป็นเรื่องเรียกร้องให้เสียสละ แต่ก่อนที่จะเรียกร้องนี้ก็ได้มีการเสียสละแล้ว และเป็นการเสียสละอันยิ่งใหญ่ที่สุดชนิดหนึ่ง ซึ่งบรรดาผู้ที่รู้จักประเทศอันเป็นแหล่งปรากฎข้อบังคับเหล่านี้ และที่รู้จักว่าชาวไอริชรักบูชานักบุญผู้เริ่มแพร่ศาสนาในประเทศของตนสักเพียงไรนั้น ย่อมรับรองทันทีว่าเป็นความจริง
หน้า 189 บทที่ 24 นักบุญองค์อุปถัมภ์ชองคณะพลมารีย์
จริงอยู่ การผ่อนผันให้มีคำวิงวอนพิเศษ ในตนเองก็มิได้ก่อให้เกิดความผิดแผกไปกว่าธรรมเนียมปกติเท่าใดนัก แต่ก็ส่อให้เห็นว่า ได้เกิดเชื้อแห่งการแตกต่างในระบบขึ้นแล้ว และพลมารีย์รังเกียจแม้แต่เชื้อนี้
อนึ่งจิตตารมณ์ของพลมารีย์ ย่อมแสดงออกให้เห็นได้โดยทางบทภาวนาของคณะ และเป็นการสมควรอยู่ที่บทภาวนานี้ โดยอาศัยที่เป็นแบบเดียวกันถี่ถ้วนที่สุด ไม่ว่าสวดวิงวอนกันในภาษาใดเวลาใด ย่อมแสดงให้เห็นความเป็นหนึ่งเดียวกันครบครันทางความคิด จิตใจ กฎเกณฑ์ และการปฏิบัติ ซึ่งพลมารีย์เตือนให้สมาชิกทุกคนไม่ว่าในที่ใดก็ตาม ถือปฏิบัติภายใต้ธงชัยของตน
“ท่านเป็นบุตรของพระคริสตเจ้าฉันใด ขอให้เป็นบุตรของกรุงโรมฉันนั้น” (นักบุญแพทริก)
“พระเจ้าข้า สิ่งที่ข้าพเจ้าวอนขอ คือโปรดให้ข้าพเจ้าได้รับพระหรรษทานที่จะพากเพียรกระทำสิ่งนั้น” (นักบุญโธมัส โมร์)
บทที่ 24
นักบุญองค์อุปถัมภ์ของคณะพลมารีย์
1. นักบุญโยเชฟ
ในบทภาวนาของคณะพลมารีย์ ชื่อนักบุญโยเชฟ อยู่ถัดจากคำวิงวอนดวงพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าและพระนางมารีย์ เพราะในสรวงสวรรค์นั้นนักบุญโยเชฟอยู่ในตำแหน่งรองต่อจากทั้งสองพระองค์
ท่านเป็นหัวหน้าครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ ปฏิบัติหน้าที่สำคัญและพิเศษเกี่ยวกับพระเยซูเจ้าและพระนางมารีย์ ท่านเป็นนักบุญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่ยังคง
หน้า 190 บทที่ 24 นักบุญองค์อุปถัมภ์ชองคณะพลมารีย์
ให้ความช่วยเหลืออย่างเดียวกันนี้เองแก่พระกายทิพย์ของพระเยชูเจ้า และแก่พระมารดาของพระกายทิพย์นั้น พระศาสนจักรดำรงอยู่และดำเนินกิจการอยู่ได้ทุกวันนี้ รวมทั้งงานของพลมารีย์ก็เช่นเดียวกัน ล้วนเป็นเพราะท่านค้ำจุนไว้ ความเอาใจใส่ของท่านไม่เคยล้มเหลว แต่มั่นคง ดำเนินด้วยความสนิทสนมฉันบิดากับบุตร จะเป็นรองเพียงเล็กน้อยเมื่อเปรียบกับความโอบอุ้มฉันมารดาของพระนางมารีย์ พลมารีย์จะต้องซาบซึ้งถึงความจริงข้อนี้
การจะให้ความรักของนักบุญโยเชฟบังเกิดผลอย่างจริงจังในตัวเรา เราก็ต้องเปิดใจสนองตอบท่านจนสุดกำลัง ด้วยการประพฤติตนให้สมกับความทุ่มเทที่ท่านให้เราอย่างมากมาย พระเยเจ้าและพระนางมารีย์ระลึกถึงท่านอย่างไม่ว่างเว้น ในพระคุณที่ท่านเคยปกป้องคุ้มครองท่านทั้งสองด้วยการภาวนาอย่างสม่ำเสมอ
ฉลองนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางพรหมจารี ตรงกับวันที่ 19 มีนาคม สำหรับการฉลองวันที่ 1 พฤษภาคมนั้น เป็นการฉลองนักบุญโยเชฟกรรมกร และที่พึ่งของผู้ใช้แรงงาน
“เราไม่อาจแยกชีวประวัติของพระเยซูเจ้าจากพระชนมชีพในพระกายทิพย์ของพระองค์ที่ยังดำรงไปในพระศาสนจักร จึงไม่เป็นการไร้เหตุผล ที่สมเด็จพระสันตะปาปาหลายพระองค์ทรงประกาศตั้งนักบุญโยเชฟเป็นองค์อุปถัมภ์ของพระศาสนจักร แม้กาลสมัยและเหตุการณ์จะผันแปรไปต่าง ๆ แต่ภารกิจที่ท่านนักบุญได้รับมอบหมายยังคงเป็นอยู่อย่างเดิม ในฐานะเป็นผู้อุปถัมภ์แห่งพระศาสนจักรของพระคริสตเจ้าท่านจึงเป็นผู้ประกอบภารกิจของพระองค์ในโลกนี้สืบไป นับแต่สมัยบ้านนาซาเร็ธเรื่อยมา ครอบครัวของพระเป็นเจ้าเติบโตและแผ่ไพศาลไปจนสุดปลายพิภพ หัวใจของนักบุญโยเชฟก็พลอยขยายไปตามขนาดความเป็นบิดาที่ได้รับใหม่ด้วย และกว้างขวางเหนือกว่าความเป็นบิดาที่พระเจ้าทรงสัญญาไว้แก่มหาบุรุษอับราฮัม บิดาของมนุษย์นับเรือนล้านนั้นอีก วิธีการ
หน้า 191 บทที่ 24 นักบุญองค์อุปถัมภ์ชองคณะพลมารีย์
ที่พระเป็นเจ้าทรงใช้กับมนุษย์ยังคงเดิมเสมอ พระดำริของพระองค์ไม่ได้กลับกลายเป็นอย่างอื่น พระองค์ไม่ได้เปลี่ยนแปลงแผนการของพระองค์ตามพระทัยชอบ ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งเดียวกัน มีระเบียบและติดต่อกันตลอด นักบุญโยเซฟท่านบิดาเลี้ยงของพระเยเจ้าก็เป็นบิดาเลี้ยงของบรรดาน้อง ๆ ของพระเยซูเจ้าด้วย คือเป็นบิดาเลี้ยงของมวลคริสตชนคาทอลิกตลอดทุกสมัย นักบุญโยเชฟ ภัสดาของพระนางมารีย์ผู้ให้บังเกิดพระเยซูเจ้ายังคงสัมพันธ์กับพระนางสืบมา ตลอดเวลาที่พระศาสนจักรก็บังเกิดสัตบุรุษเรื่อย ๆ มาในโลก โดยเหตุฉะนี้ ผลมารีย์ของพระนางมารีย์ผู้กำลังขยายพระราชัยของพระเป็นเจ้า ณ โลกนี้กล่าวคือพระศาสนจักร ก็มีสิทธิ์เรียกร้องความคุ้มครองพิเศษจากท่านนักบุญผู้เป็นประมุขของพระศาสนจักรที่เกิดใหม่ คือครอบครัวศักดิ์สิทธิ์นั่นเอง” (พระคาร์ดินัล Suenens)
2. นักบุญยอห์น ผู้นิพนธ์พระวรสาร
ในพระวรสาร นักบุญยอห์นได้รับสมญาว่า “ศิษย์ที่พระเยซูเจ้าทรงรัก” และเป็นแบบฉบับของความภักดี ต่อดวงพระทัยศักดิ์สิทธิ์ของพระเยซูเจ้าท่านชื่อสัตย์ต่อพระองค์จนถึงที่สุด ท่านแนบแน่นอยู่กับดวงพระทัยของพระคริสตเจ้า จนกระทั่งท่านได้เห็นกับตาว่าดวงพระทัยนั้นนิ่งไปและถูกแทง เมื่อสิ้นพระชนม์แล้ว ภายหลังท่านแสดงตนเป็นตัวอย่างความศรัทธาภักดีต่อดวงหทัยนิรมลของพระนางมารีย์ นักบุญยอห์นนั้นผ่องแผ้วบริสุทธิ์เหมือนทูตสวรรค์ จึงได้เข้าแทนที่พระเยซูเจ้าในความสัมพันธ์กับพระมารดา และได้ถวายตัวรับใช้พระนางด้วยความรักกตัญญูเยี่ยงบุตร จนตลอดชีวิตของพระนาง
จะกล่าวถึงพระวาจาที่สาม ซึ่งพระเยซูเจ้าตรัสลงมาจากกางเขนนั้นมีความหมายมากกว่าเพียงเพื่อเป็นตามประสงค์ของบุตร ที่จะให้ความคุ้มครองพระมารดาของพระองค์เท่านั้นไม่ สำหรับนักบุญยอห์น พระองค์
หน้า 192 บทที่ 24 นักบุญองค์อุปถัมภ์ชองคณะพลมารีย์
ท่านให้หมายถึงมนุษยชาติ โดยเฉพาะบรรดาผู้ที่อาศัยความเชื่อได้เข้ามาสนิทชิดกับพระองค์ ด้วยวิธีนี้เองที่พระนางมาย์ได้รับสถาปนาเป็นพระมารดาของมวลมนุษย์ ที่เป็นน้องของพระเยซูผู้เป็นพี่คนโต นักบุญยอห์นจึงเป็นผู้แทนบรรดาลูกบังเกิดใหม่ของพระเป็นเจ้า และเป็นบุคคลแรกที่เข้าในสภาพผู้สืบทายาท เป็นแบบฉบับของคนที่ตามมาภายหลัง ท่านยังเป็นนักบุญที่พลมารีย์จงรักภักดีอย่างสุดซึ้ง
นักบุญยอห์นรักพระศาสนจักร ตลอดจนเหล่าวิญญาณในพระศาสนจักรท่านยอมรับใช้พระศาสนจักรอย่างเต็มกำลังความสามารถ ท่านเป็นอัครสาวกผู้ประพันธ์พระวรสารและได้รับเกียรติเทียบเท่ามรณสักขี
ท่านเป็นพระสงฆ์ของพระนางมารีย์ จึงเป็นนักบุญอุปถัมภ์พิเศษสำหรับพระสงฆ์ที่เกี่ยวกับพลมารีย์ในการรับใช้คณะ ซึ่งมุ่งมั่นเป็นตัวแบบมีชีวิตชีวาของพระนางมารีย์
วันฉลองนักบุญยอห์น ตรงกับวันที่ 27 ธันวาคม
“เมื่อพระเยชูเจ้าทรงเห็นพระมารดา และศิษย์ที่รักยืนอยู่ใกล้ ๆ จึงตรัสกับพระมารดาว่า “แม่ นี่คือลูกของแม่” แล้วตรัสกับศิษย์ผู้นั้นว่า “นี่คือแม่ของท่าน” ตั้งแต่เวลานั้นศิษย์ผู้นั้นก็รับพระนางเป็นมารดาของตน” (จากบทพระวรสารในมิสซาฉลองพระนางมารีย์ คนกลางจ่ายพระหรรษทานทุกประการ – ยน 19:26-27)
3. นักบุญหลุยส์มารีย์ กรีญอง เดอ มงฟอร์ต
“เมื่อคำนึงถึงการรับรองรายอื่น ๆ เกี่ยวกับความเหมาะสมในการยอมรับบรรดานักบุญที่เป็นองค์อุปถัมภ์พิเศษก็ดี ประจำท้องถิ่นก็ดี เมื่อรวมชื่อนักบุญองค์นี้เข้าด้วยแล้ว ตอนแรกดูจะเปิดโอกาสให้เกิดการถกเถียงกันได้ อย่างไรก็ตาม เราสามารถจะยอมรับได้อย่างปลอดภัยว่า ไม่มีนักบุญท่านใดที่มีบทบาทในความเจริญก้าวหน้าของคณะพลมารีย์ยิ่งไปกว่าท่านนักบุญองค์นี้
หน้า 193 บทที่ 24 นักบุญองค์อุปถัมภ์ชองคณะพลมารีย์
“หนังสือคู่มือเล่มนี้เต็มไปด้วยจิตตารมณ์ของท่าน บทภาวนาล้วนสะท้อนถ้อยคำของท่านเอง ท่านเปรียบเสมือนอาจารย์ของพลมารีย์ ดังนั้นการที่พลมารีย์สวดวอนขอท่าน จึงถือได้ว่าเป็นสิ่งพึงกระทำที่เหมาะสมแล้ว” (จากมติที่ประชุมพลมารีย์ให้รับนักบุญหลุยส์มารีย์ กรีญอง เดอ มงฟอร์ตไว้ในรายชื่อนักบุญ เพื่อสวดขอเป็นที่พึ่ง)
ท่านได้รับประกาศชื่อในทำเนียบนักบุญ เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 1947 วันฉลองของท่านตรงกับวันที่ 28 เมษายน
“ท่านมิใช่เพียงแต่ผู้ตั้งคณะ แต่ยังเป็นธรรมทูตด้วย และยิ่งกว่าธรรมทูตเสียอีกเพราะเรายังเห็นคุณลักษณะอื่น ๆ ของท่านคือ ท่านเป็นนักปราชญ์ และนักเทวศาสตร์ซึ่งได้เผยคำสอนเกี่ยวกับพระนางพรหมจารี ชนิดที่ไม่มีใครเคยคิดมาก่อน … ท่านเป็นผู้สำรวจรากฐานความศรัทธาภักดีต่อพระแม่มารีย์อย่างลึกซึ้ง และแพร่ความศรัทธาภักดีนี้อย่างกว้างขวางยิ่ง จนกระทั่งเป็นที่แจ่มแจ้งว่า ท่านเป็นโมษกป่าวประกาศการแสดงองค์ในสมัยปัจจุบันของพระนางมารีย์ นับแต่เมืองลูร์ดจวบจนฟาติมา นับแต่การประกาศสัจธรรมเรื่องการปฏิสนธินิรมลจวบจนถึงคณะพลมารีย์
ท่านนี่แหละเป็นผู้เกริ่นการที่พระราชัยแห่งพระเจ้าจะมาถึง โดยอาศัยพระนางมารีย์ ท่านนี่แหละเป็นผู้บอกข่าวความรอดที่ใคร ๆ ก็เฝ้าคอยกันมานาน ซึ่งเมื่อถึงกำหนดแล้ว พระนางพรหมจารี พระมารดาของพระเจ้า จะนำมาสู่มนุษยโลกโดยดวงหทัยนิรมลของพระนาง” (พระคาร์ดินัล เตเดสกีนี อัครสงฆ์ประจำพระมหาวิหารนักบุญเปโตรปราศรัยในโอกาสเปีดผ้าคลุมรูปท่านนักบุญหลุยส์มารีย์ กรีญอง เดอ มงฟอร์ต ในพระมหาวิหารนักบุญเปโตร เมื่อ 8 ธ.ค. 1948)
“ข้าพเจ้าเห็นล่วงหน้าได้อย่างชัดเจนว่า สัตว์บ้าคลั่งต่างพากันแยกเขี้ยวเหมือนผีที่จะมาฉีกกัดหนังสือเล่มเล็ก ๆ นี้ และท่านผู้ที่พระจิตเจ้าดลบันดาลให้เขียนหนังสือนั้นด้วย หรือไม่ก็เอาหนังสือนั้นใส่หีบไปฝังไว้ในความมืดให้มิดชิดอย่าได้ปรากฎอีกต่อไป
หน้า 194 บทที่ 24 นักบุญองค์อุปถัมภ์ชองคณะพลมารีย์
เจ้าสัตว์ร้ายยังจะเล่นงานและทำลายล้างผู้ที่อ่านหนังสือนั้น หรือที่ปฏิบัติตามที่มีเขียนไว้ แต่จะแปลกอะไร ยิ่งดีเสียอีกด้วย ภาพนิมิตนี้ให้กำลังใจข้าพเจ้า และทำให้ข้าพเจ้ามีหวังในความสำเร็จ คือการที่จะมีกองทัพที่มีอานุภาพยิ่งใหญ่ประกอบด้วยทหารกล้าทั้งชายและหญิงของพระเยซูเจ้าและพระนางมารีย์ รวมกำลังเพื่อต่อสู้ปีศาจ โลกและความเลวร้ายของมนุษย์ ที่เพิ่มพูนตามกาลเวลาอันตรายที่จะมาถึง” (นักบุญหลุยสัมารีย์ กรีญอง เดอ มงฟอร์ต มรณะ 171 6, ความศรัทธาภักดีต่อพระนางมารีย์)
4. อัครทูตสวรรค์มีคาแอล
“แม้อัครทูตสวรรค์มีคาแอล จะเป็นทูตสวรรค์ผู้ทรงศักดิ์ที่สุดในสวรรค์ ท่านก็ยังเป็นผู้มีความร้อนรนที่สุด ที่จะถวายพระเกียรติแด่พระนางมารีย์และชักนำให้ผู้อื่นกระทำตามด้วย ขณะเดียวกันท่านพร้อมเสมอที่จะขอมีเกียรติได้รับใช้พระนาง ไปติดต่อกับผู้ใดในบรรดาผู้รับใช้ของพระนาง” (นักบุญออกัสติน)
อัครทูตสวรรค์มีคาแอลเป็นองค์อุปถัมภ์ของผู้ได้รับเลือกมาโดยตลอด ทั้งในพันธสัญญาเดิม และพันธสัญญาใหม่ ท่านเป็นผู้ปกป้องพระศาสนจักรด้วยความจงรักภักดี แม้กับพวกยิวซึ่งหันหลังให้พระศาสนจักรดูเหมือนท่านจะยิ่งเพิ่มความเอาใจใส่ เพราะพวกยิวเป็นญาติทางสายโลหิตของพระเยซูเจ้า พระนางมารีย์และนักบุญโยเซฟ พลมารีย์ล้วนทำงานอยู่ในอารักขาของท่านอัครทูตสวรรค์มีคาแอล อาศัยการดลใจของท่านอัครทูตสวรรค์ พลมารีย์จะต้องทำงานด้วยความเมตตา นำประชากรที่พระเป็นเจ้าเคยกระทำพันธสัญญานิรันดรให้กลับคืนสู่ความรอด
วันฉลองอัครทูตสวรรค์มีคาแอล “ผู้บัญชาการกองทัพของพระยาห์เวห์” (ยชว 5:14) ตรงกับวันที่ 29 กันยายน
หน้า 195 บทที่ 24 นักบุญองค์อุปถัมภ์ชองคณะพลมารีย์
“ตามที่มีบันทึกอยู่ในหนังสือวิวรณ์ มีทูตสวรรค์จำนวนมากดำเนินชีวิตร่วมกับพระตรีเอกภาพ ท่ามกลางความสว่างอันรุ่งโรจน์ เมื่อใดถึงช่วงเวลาที่พระญาณเอื้ออาทรทรงกำหนด ทูตสวรรค์เหล่านั้นก็จะรับใช้ไปในฐานะเป็นทูตสวรรค์ เพื่อแสดงบทบาทในประวัติศาสดร์แห่งความรอดของมนุษย์
เจ้าของบทจดหมายถึงชาวฮีบรูถามเองดอบเองว่า “แล้วทูตสวรรค์เป็นอะไรเล่าทุกองค์ล้วนเป็นจิตที่มีหน้าที่รับใช้พระเจ้า พระองค์ทรงส่งทูตสวรรค์มารับใช้ผู้ที่จะต้องได้รับความรอดพ้น” (ฮบ 1:1 4) เรามีหลักฐานจากพระคัมภีร์ว่า ทูตสวรรค์ที่ดีมีภาระหน้าที่ปกป้องคุ้มครองมนุษย์ และเป็นห่วงเป็นใยให้มนุษย์เอาวิญญาณรอด นี่เป็นสิ่งที่พระศาสนจักรเชื่อและสั่งสอนเสมอมา” (พระดำรัสของสมเด็จพระสันตะปาปายอห์นปอล ที่ 2 ตรัสแก่บรรดาที่เข้าเฝ้าทั่วไปเมื่อ 6 สิงหาคม 1986)
5. อัครทูตสวรรค์คาเบรียล
ในพิธีกรรมทางศาสนาบางตอน พระศาสนจักรยกย่องทั้งอัครทูตสวรรค์คาเบรียลและมีคาแอลคู่กัน ในฐานะเป็นอัศวินและจอมทัพสวรรค์ผู้นำทัพสวรรค์ แม่ทัพนิกรทูตสวรรค์ ข้าราชบริพารของพระเป็นเจ้า ผู้อารักขาและผู้นำทางของมวลมนุษย์
อัครทูตสวรรค์คาเบรียลเป็นผู้นำสารแจ้งแก่แม่พระ ท่านนำคำสรรเสริญของพระตรีเอกภาพมามอบแก่พระนางมารีย์ ท่านเป็นผู้แจ้งพระธรรมล้ำลึกเรื่องพระตรีเอกภาพให้มนุษย์ทราบเป็นครั้งแรก เป็นผู้แจ้งถึงการที่พระบุตรจะรับบังเกิดเป็นมนุษย์ ยืนยันถึงการปฏิสนธินิรมลของพระนางมารีย์ และมอบถ้อยคำท่อนแรกของบทวันทามารีย์
ก่อนหน้านี้ที่กล่าวถึงอัครทูตสวรรค์มีคาแอล มีความห่วงใยถึงชาวยิวบางทีก็กล่าวได้เช่นกันสำหรับอัครทูตสวรรค์คาเบรียล มีความห่วงใยต่อชาวมุสลิม ชาวมุสลิมเชื่อว่าท่านอัครทูตสวรรค์เป็นผู้นำศาสนามาให้พวกเขา
หน้า 196 บทที่ 24 นักบุญองค์อุปถัมภ์ชองคณะพลมารีย์
ความเชื่อนี้แม้จะไม่มีหลักฐานยืนยัน แต่ก็แสดงถึงความตั้งใจ ซึ่งท่านทูตสวรรค์จะชดเชยในทางที่เหมาะสม คือส่องสว่างในจิตใจชาวมุสลิมให้รู้แจ้งว่าคริสตศาสนามีท่านเป็นผู้อารักขา และท่านเองไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรเลย มนุษย์ต้องร่วมมือแก้ไขกันเองเสมอ
พระเยชูเจ้าและพระนางมารีย์มีความสำคัญเด่นอย่างประหลาดในคัมภีร์โกรานบันทึกไว้ในสาระเกือบเหมือนพระวรสาร แต่ไม่มีหน้าที่เฉพาะอะไรเลยทั้ง 2 พระองค์ดำรงอยู่ในความเชื่อของชาวมุสลิมลอย ๆ รอจนกว่าจะมีผู้มาช่วยอธิบายยืนยันให้พวกเขาเห็น เป็นที่พิสูจน์แล้วว่าพลมารีย์มีพรพิเศษในเรื่องนี้ และชาวมุสลิมยินดีต้อนรับพลมารียั ยังมีสาระอีกมากมายในคัมภีร์โกรานที่ควรได้รับการอธิบายให้เข้าใจ
ฉลองอัครทูตสวรรค์มีคาแอล คาเบรียล และราฟาแอล กระทำพร้อมกันคือวันที่ 29 กันยายน
“พระคัมภีร์บอกเราถึงเหตุการณ์ที่ผู้สูงส่งที่สุดในสวรรค์ท่านหนึ่งได้ประจักษ์นำพระธรรมล้ำลึกการบังเกิดเป็นมนุษย์ของพระเยซูเจ้า มาแจ้งแก่พระนางมารีย์ ทูตสวรรค์แจ้งให้พระนางมารีย์รับเป็นพระมารดาของพระเจ้า ซึ่งการเป็นพระมารดาพระเจ้านี้พระนางจะทรงไว้ซึ่งอำนาจราชศักดิ์เหนือทูตสวรรค์ทั้งหลาย พระสันตะปาปาปีโอ ที่ 12 ทรงนิพนธ์ไว้ว่า “อาจกล่าวได้ว่า อัครทูตสวรรค์คาเบรียลเป็นทูตสวรรค์องค์แรกแห่งข้าราชบริพารทั้งหลายของพระนางมารีย์” (Ad Coeli Reginam)
อัครทูตสวรรค์คาเบรียลยังเป็นองค์อุปถัมภ์ของผู้รับมอบหมายหน้าที่สำคัญ ๆ ซึ่งนำสารไปทูลพระเป็นเจ้า ท่านเป็นผู้นำสารจากพระเป็นเจ้ามายังพระนางมารีย์ ในขณะนั้นพระนางมารีย์ทรงเป็นผู้แทนมนุษยชาติและอัครทูตสวรรค์เป็นผู้แทนนิกรทูตสวรรค์ และหลังจากวาจาที่โต้ตอบระหว่างพระนางกับท่าน ซึ่งจะดลใจมนุษย์จนถึงสิ้นพิภพ ก็ทำให้เกิดสายสัมพันธ์อันใหม่ เป็นผลทำให้เกิด ‘สวรรค์ใหม่’ กับ ‘โลกใหม่’
หน้า 197 บทที่ 24 นักบุญองค์อุปถัมภ์ชองคณะพลมารีย์
ช่างน่าพิศวงสักเพียงไร สำหรับผู้ที่นำพระราชสารมาสู่พระนางมารีย์ และช่างคิดผิดเสียนี่กระไร ที่จะลดหน้าที่ของท่านเหลือเพียงการบอกเล่าที่จะจำมาเท่านั้นตรงกันข้ามท่านผู้นั้นมีความเข้าใจที่แจ่มแจ้งที่สุดในสิ่งที่ตนกระทำ สิ่งที่ตนขอจากพระนางนั้นได้รับความเห็นชอบและการรับรองจากสวรรค์ ท่านตอบคำถามทุกข้อของพระนางมารีย์ด้วยความเคารพ ในฐานะที่ท่านเป็นโฆษกและผู้ที่ไว้วางพระทัยของพระเป็นเจ้า
จากการประจักษ์ของท่านกับพระนางมารีย์นี้ มนุษยชาติก็กลับมีชีวิตขึ้นใหม่ เอวาคนใหม่ทรงซ่อมแชมความหายนะที่เอวาคนเดิมได้ก่อขึ้น อาดัมคนใหม่ ศีรษะของพระกายทิพย์ ซึ่งรวมเหล่านิกรทูตสวรรค์ด้วย ทรงไถ่มนุษยชาติคืนมา และมิใช่แต่เท่านั้น พระองค์ยังทรงทำให้เกียรติมงคลของเหล่านิกรทูตสวรรค์ ซึ่งด่างพร้อยเพราะการกบฏ กลับสมบูรณ์ดังเดิมด้วย” (Dr. Michael O’ Carroll, C.S.Sp.)
6. คณะอำนาจสวรรค์ กองพลทูตสวรรค์ของพระนางมารีย์
“Regina Angelorum พระราชินีคณะทูตสวรรค์ ช่างน่าปลาบปลื้มเสียนี่กระไร เป็นการลิ้มรสสวรรค์ล่วงหน้า ที่รู้ว่าพระนางมารีย์ พระมารดาของเราทรงมีกองทัพทูตสวรรค์ห้อมล้อมอยู่ตลอดเวลา” (พระสันตะปาปายอห์น ที่ 23)
“พระนางมารีย์เป็นนางพญากองทัพสวรรค์ นิกรทูตสวรรค์เป็นกองทหารเรืองเดชน่าเกรงขาม ดุจกองทัพที่เรียงรายเป็นขบวนรบ” (Boudon : The Angels)
ตั้งแต่แรกเริ่ม ในบทภาวนาของพลมารีย์ มีการวอนขอนิกรทูตสวรรค์ เช่น
อัครทูตสวรรค์มีคาแอล ช่วยวิงวอนเทอญ
อารักขทูตสวรรค์ของพระเจ้า ช่วยวิงวอนเทอญ
หน้า 198 บทที่ 24 นักบุญองค์อุปถัมภ์ชองคณะพลมารีย์
เกี่ยวกับเรื่องนี้ก็ต้องสมมุติว่า แม้เราไม่เห็นความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างทูตสวรรค์และคณะพลมารีย์อย่างชัดเจน เราก็ต้องคำนึงว่า เรามีทูตสวรรค์เป็นผู้คอยนำทาง เมื่อกาลเวลาผ่านไป จะเห็นชัดยิ่งขึ้นว่าพลมารีย์นั้นต้องอาศัยกองทัพสวรรค์ คือกองทัพสวรรค์และกองทัพพลมารีย์ปฏิบัติการคู่เคียงกัน ความสัมพันธ์ระหว่างนิกรทูตสวรรค์และนิกรโลกนั้นมีหลายลักษณะ พลมารีย์ทุกคน ทั้งประจำการและสนับสนุน ต่างมีทูตสวรรค์ประจำตัว ซึ่งจะร่วมมือกับพลมารีย์ ต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่ทุกกรณี
ในความเป็นจริง สงครามต่อสู้กับอธรรมนั้น มีความหมายกับทูตสวรรค์ยิ่งกว่ากับพลมารีย์เสียอีก เพราะทูตสวรรค์เห็นผลร้ายที่ตามมาของทุกเรื่อง ซึ่งกระทบถึงพระสิริรุ่งโรจน์ของพระเจ้าและคุณค่าของวิญญาณอันมิรู้ตาย ดังนั้นความสนใจของนิกรทูตสวรรค์จึงมุ่งมั่นเข้มข้น และความช่วยเหลือของทูตสวรรค์จะมิรู้สิ้นสุด นิกรทูตสวรรค์อื่น ๆ ต่างร่วมทำสงครามปราบอธรรมด้วยกันทั้งสิ้น อาทิเช่นคนที่พลมารีไปติดต่อช่วยเหลือ ต่างก็มีอารักขทูตสวรรค์คอยช่วยเหลือเช่นกัน
นอกจากนี้ กองทัพสวรรค์ต่างก็จะเร่งมาร่วมรณรงค์ เพราะสงครามที่พลมารีย์กระทำนั้น เป็นส่วนหนึ่งของมหาสงครามที่กองทัพทูตสวรรค์กระทำการต่อสู้กับชาตาน และบริวารของมันตั้งแต่แรกแล้ว
ในพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ ได้กล่าวถึงนิกรทูตสวรรค์อย่างมากมายหลายร้อยแห่ง ล้วนแต่แสดงให้เห็นว่า ท่านเหล่านี้กำลังทำสงครามแบ่งเบาให้มนุษย์และคอยช่วยเหลือป้องกันเรา ท่านเข้ารับหน้าที่ในจังหวะสำคัญ ๆ จนมีประโยคกล่าวถึง เช่น “พระเจ้าทรงส่งทูตสวรรค์ลงมา” นิกรทูตแห่งสวรรค์ทั้งเก้าคณะ มีหน้าที่อารักขาต่างๆ กัน เช่น อารักขาบุคคล อารักขาสถานที่ อารักขาเมือง อารักขาประเทศ ปกป้องธรรมชาติ และ
หน้า 199 บทที่ 24 นักบุญองค์อุปถัมภ์ชองคณะพลมารีย์
บางพวกยังให้ความพิทักษ์ทูตสวรรค์ด้วยกันด้วย
ในพระคัมภีร์ยังมีระบุว่า อาณาจักรของคนต่างศาสนาก็มีทูตสวรรค์ผู้อารักขาคอยคุ้มครอง (ดน 4:10, 20 ; 10:13) ทูตสวรรค์ทั้งเก้าคณะมีชื่อดังนี้ คณะทูตสวรรค์ อัครทูตสวรรค์ เครูบิม เชราฟิม คณะอำนาจ คณะเจ้า คณะพระที่นั่ง คณะฤทธิ์ และคณะนาย
นิกรทูตสวรรค์เหล่านี้ให้ความช่วยเหลือทั้งในลักษณะเป็นคณะและเป็นแต่ละองค์ ทำหน้าที่ดั่งเช่นกองทัพอากาศช่วยรบบนพื้นดิน
ที่สุดคณะพลมารีย์เห็นว่าถ้อยคำวิงวอนทูตสวรรค์ตามที่ใช้อยู่เดิมนั้น ยังไม่ได้แสดงให้เห็นบทบาทของนิกรทูตสวรรค์อย่างเด่นชัด จึงได้เห็นพ้องต้องกันว่า
ก. ควรจะเปลี่ยนคำภาวนาเสียใหม่ให้เหมาะสม
ข. ให้มีคำ “กองทัพ” ควบคู่กับนิกรทูตสวรรค์ พระเยชูเจ้าเองทรงนำมาใช้เช่นกันเมื่อทรงถูกมารผจญ พระองค์ตรัสว่า “ท่านคิดว่าเราจะอ้อนวอนพระบิดาเจ้าให้ส่งทูตสวรรค์มากกว่าสิบสองกองพลมาช่วยเราบัดนี้มิได้หรือ” (มธ 26:53)
ค. พระนามพระนางมารีย์ ควรนำเข้าไว้ในบทสวดตอนนี้ด้วย พระนางเป็นราชินีนิกรทูต่สวรรค์ พระนางทรงบัญชากองทัพทูตสวรรค์อย่างแท้จริงและนับเป็นพระหรรษทานใหม่ ที่พลมารีย์จะเคารพพระนางในพระนามที่เต็มไปด้วยความหมายนี้
หลังจากที่ได้ปรึกษาหารือกันเป็นเวลานาน สมาชิกพลมารีย์มีมติเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 1962 ให้ใช้คำวอนขอดังนี้
คณะอำนาจสวรรค์ กองพลทูตสวรรค์ของพระนางมารีย์ ช่วยวิงวอนเทอญ
หน้า 200 บทที่ 24 นักบุญองค์อุปถัมภ์ชองคณะพลมารีย์
ฉลองอารักขเทวดา ตรงกับวันที่ 2 ตุลาคม
มีสมาคมชื่อสหายทูตสวรรค์ (Philangeli) ซึ่งเผยแผ่ความรู้และความศรัทธาต่อคณะทูตสวรรค์ สำนักงานกลางของสมาคมนี้ ตั้งอยู่ที่ 129 Spencer Road, Harrow Weald, Middlesex HA3 7 BJ, England
ตำแหน่งราชินีแห่งกองพลทูตสวรรค์ของพระนางมารีย์จะถือเป็นเกียรติแด่พระนางแต่อย่างเดียวก็หาไม่ ข้าราชบริพารของพระนางมารีย์ก็มีส่วนร่วมมือกับข้าราชบริพารของพระเยซูเจ้า ผู้ทรงเป็นเจ้าเด็ดขาดเหนือทุกสิ่ง นักเทววิทยายังมิได้อธิบายให้เราเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งถึงความหมายของการครอบครองร่วมกันของพระนางกับพระคริสตเจ้า แต่เป็นที่แจ้งชัดว่าอำนาจราชศักดิ์ของพระนางเป็นบ่อเกิดของกิจการและผลจากกิจการนี้แผ่กระจายออกไปจนสุดขอบจักรวาล ทั้งที่แลเห็นได้และมิอาจแลเห็นได้ พระนางทรงปกครองทูตสวรรค์ที่ดี ชื่อสัตย์และทรงควบคุมเทวดาเลวร้าย
“โดยทางพระนาง สัมพันธภาพระหว่างมนุษย์และทูตสวรรค์จึงบังเกิดขึ้นและโดยสัมพันธภาพนไม่มีวันถูกลบล้างไปนี้ สิ่งสร้างทุกสิ่งจะกลับไปสู่จุดหมายปลายทางที่แท้จริง นั่นคือพระสิริรุ่งโรจน์แห่งพระตรีเอกภาพ ความเป็นพระราชินีของพระนางเป็นโล่ป้องกันเรา เพราะพระมารดาองค์อุปถัมภ์ของเรา มีอำนาจที่จะบงการให้คณะทูตสวรรค์มาช่วยเราได้ สำหรับพระนาง นี่คือการร่วมรณรงค์กับพระบุตรในอันที่จะปลดแอกและทำลายอาณาจักรของชาตานให้สูญสิ้นไปจากโลก” (DR. Michael O’Carroll, C.S.Sp.)
7. นักบุญยอห์น ผู้ทำพิธีล้าง (ยวง บัปติสตา)
เรื่องนี้แปลก และอธิบายยาก ว่าทำไมต้องรอจนถึง วันที่ 18 ธันวาคม 1949 ที่พลมารีย์แต่งตั้งเป็นทางการ ให้นักบุญยอห์น ผู้ทำพิธีล้าง เป็นนักบุญอุปถัมภ์ของคณะ ทั้ง ๆ ที่นักบุญองค์นี้เกี่ยวพันใกล้ชิดกับโครงการความศรัทธาของคณะพลมารีย์ มากกว่านักบุญองค์อุปถัมภ์อื่น ๆ นอกจากนักบุญโยเชฟ
หน้า 201 บทที่ 24 นักบุญองค์อุปถัมภ์ชองคณะพลมารีย์
ก. นักบุญยอห์น ผู้ทำพิธีล้าง เป็นแบบอย่างของพลมารีย์ คือเป็นผู้นำหน้าพระเยซูเจ้า เตรียมทางรับเสด็จให้ตรง ท่านเป็นแบบฉบับของพลังกล้าแข็งและความศรัทธามั่นคงไม่หวั่นไหวในการดำเนินงานของท่าน แม้ท่านจะต้องเอาชีวิตเข้าแลกท่านก็พร้อม และท่านก็ตายเพราะหน้าที่จริงๆ
ข. ยิ่งกว่านั้น ท่านได้รับการอบรมเพื่องานของท่านจากพระนางมารีย์เอง เช่นเดียวกับที่พลมารีย์หวังจะได้รับจากพระนางเช่นนั้น นักบุญอัมโบรซีโอกล่าวว่า เหตุที่พระนางมารีย์ไปเยี่ยมและค้างอยู่กับนางเอลีชาเบธเป็นเวลานาน ก็เพื่อจะกล่อมเกลาหนูน้อยประกาศกผู้ยิ่งใหญ่นั่นเอง เราสดุดีการอบรมนี้ด้วยบทกาเตนา อันเป็นหัวใจบทภาวนาของเรา ซึ่งกำหนดให้พลมารีย์ทุกคนสวดประจำวัน
ค. เรื่องราวการเสด็จเยี่ยมของพระนางมารีย์นั้น แสดงเป็นครั้งแรกถึงความสามารถของพระนางในหน้าที่คนกลางผู้แจกจ่ายพระหรรษทานและนักบุญยอห์น ผู้ทำพิธีล้าง เป็นคนแรกที่ได้รับ จึงเห็นได้ตั้งแต่เริ่มต้นมาแล้ว ต้องถือว่านักบุญยอห์น ผู้ทำพิธีล้าง เป็นองค์อุปถัมภ์พิเศษของพลมารีย์ ในงานของพลมารีย์ที่ไปติดต่อหรือเยี่ยมเยียนไม่ว่าจะในรูปแบบใด และที่จริงก็งานของพลมารีย์ทั้งหมดด้วย ทั้งหมดนี้ก็เป็นความพยายามร่วมมือกับพระนางมารีย์ในหน้าที่คนกลางแจกจ่ายพระหรรษทานนั่นเอง
ง. ท่านเป็นส่วนประกอบสำคัญองค์หนึ่งในงานกอบกู้โลกของพระเยซูเจ้า ส่วนประกอบทั้งหมดนี้ควรมีปรากฎในการเผยแผ่ธรรมทุกคณะที่ปรารถนาจะถ่ายทอดภารกิจของพระองค์ ผู้นำยังจำเป็นเสมอ หากท่านมิได้มาเตรียมแนะนำพระเยชูเจ้าและพระนางมารีย์ ทั้งสองพระองค์อาจจะไม่เข้ามาอยู่ในช่วงนั้นก็เป็นได้ พลมารีย์จะต้องตระหนักถึงหน้าที่พิเศษของนักบุญยอห์นนี้ และมีความเชื่อในท่าน เพื่อขอท่านให้ติดตามการทำงานของตน
หน้า 202 บทที่ 24 นักบุญองค์อุปถัมภ์ชองคณะพลมารีย์
“ถ้าพระเยซูเจ้าเป็น ‘ผู้เสด็จมา’ อยู่เป็นนิจ นักบุญยอห์นก็ย่อมเป็นผู้มาก่อนพระองค์เสมอ เพราะวิธีการที่พระคริสต์ทรงบังเกิดเป็นมนุษย์ยังสืบเรื่อยมาในพระกายทิพย์ของพระองค์” (Danielou.)
จ. ตอนที่เหมาะสำหรับวอนขอนักบุญยอห์น คือ ในบทปิดประชุมต่อจากคำวอนขอคณะอำนาจสวรรค์ บทภาวนานี้ชวนให้เห็นภาพกองทัพพลมารีย์เคลื่อนพล เบื้องบนมีพระจิตเจ้าแสดงพระองค์ ผ่านทางพระนางมารีย์เป็นลำไฟ มีกองพลทูตสวรรค์สนับสนุนอยู่ ภายใต้บัญชาการของอัครทูตสวรรค์มีคาแอล และอัครทูตสวรรค์คาเบรียล พร้อมทั้งหน่วยสอดแนมและกองระวังหน้ามีนักบุญยอห์นทำหน้าที่สำคัญของท่านอย่างเคย แล้วยังมีแม่ทัพนายกองคือนักบุญเปโตรและเปาโล
ฉ. นักบุญยอห์น ผู้ทำพิธีล้าง มีวันฉลอง 2 วัน คือฉลองวันเกิดวันที่ 24 มิถุนายน และวันที่รับเป็นมรณสักขีคือวันที่ 29 สิงหาคม “ข้าพเจ้าเชื่อว่าอิทธิพลล้ำลึก ของนักบุญยอห์น ผู้ทำพิธีล้าง ยังคงมีอยู่ในโลกทุกวันนี้ ใครก็ตามที่เชื่อในพระเยชูคริสตเจ้า จิตตารมณ์และคุณธรรมของนักบุญยอห์นผู้ทำพิธีล้าง ย่อมมาถึงวิญญาณบุคคลนั้นก่อน ตระเตรียมเขาให้เป็นคนสมบูรณ์ไว้รอรับเสด็จพระเยซูเจ้า โดยทำให้ทางคดเคี้ยวในวิญญาณ ราบเรียบ แม้จนทุกวันนี้จิตตารมณ์และคุณธรรมของนักบุญยอห์น ย่อมไปถึงก่อนที่พระเยซูเจ้าพระผู้ไถ่จะเสด็จมา” (Origen)
8. นักบุญเปโตร
“นักบุญเปโตร ในฐานะประมุขคณะอัครสาวก ท่านก็เป็นองค์อุปถัมภ์ที่สำคัญก่อนใคร ๆ เหมาะสมสำหรับเป็นผู้นำองค์กรแพร่ธรรม ท่านเป็นสมเด็จพระสันตะปาปาพระองค์แรก ท่านเป็นผู้แทนพระสันตะปาปาทุกพระองค์ รวมทั้งองค์ปัจจุบัน การวอนขอนักบุญเปโตร เป็นการแสดงออกอีกครั้ง ถึงความจงรักภักดีของพลมารีย์ที่มีต่อกรุงโรม ศูนย์กลางแห่ง
หน้า 203 บทที่ 24 นักบุญองค์อุปถัมภ์ชองคณะพลมารีย์
ความเชื่อของเรา แหล่งกำเนิดอำนาจการปกครอง ระเบียบวินัยและเอกภาพ” (จากมติของคณะพลมารีย์ ที่แต่งตั้งนักบุญเปโตรอยู่ในรายชื่อที่วอนขอ)
ฉลองนักบุญเปโตรและเปาโลวันที่ 29 มิถุนายน
“เราบอกท่านว่า ท่านเป็นศิลา และบนศิลานี้ เราจะสร้างพระศาสนจักรของเราประตูนรกจะไม่มีวันชนะพระศาสนจักรได้ เราจะมอบกุญแจอาณาจักรสวรรค์ให้ ทุกสิ่งที่ท่านจะผูกบนแผ่นดินนี้จะผูกไว้ในสวรรค์ด้วย ทุกสิ่งที่ท่านจะแก้ในแผ่นดินนี้ ก็จะแก้ในสวรรค์ด้วย” (มธ 16:18-19)
9. นักบุญเปาโล
“วิญญาณที่จะช่วยวิญญาณอื่นให้รอด จะต้องยิ่งใหญ่และแผ่กว้างดุจมหาสมุทร การจะช่วยโลกให้กลับใจ วิญญาณนั้นก็จะต้องใหญ่หลวงยิ่งกว่าโลกอีก” นักบุญเปาโลเป็นเช่นนั้นจริง นับแต่แสงสว่างเจิดจ้าจากสวรรค์ครอบคลุมตัวท่าน และส่องเข้าไปในวิญญาณของท่าน จุดไฟในใจของท่านจนลุกโพลง ทำให้เกิดความปรารถนาแรงกล้า ที่จะประกาศให้โลกทั้งโลก ได้รู้จักพระนามและความเชื่อของพระเยซูเจ้า งานของท่านทำให้ท่านได้ชื่อว่า เป็นธรรมทูตของคนต่างศาสนา
ท่านประกาศสอนพระธรรมโดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย จวบจนวิญญาณของท่านที่ไม่ยอมจำนนต่อผู้ใด ถูกจ้วงด้วยดาบที่นำวิญญาณของท่านไปเฝ้าพระเจ้า แต่สาส์นต่าง ๆ ที่ท่านเขียนไว้มิได้ตายตามท่าน ยังคงทำงานแพร่ธรรมของท่านอยู่และจะดำรงอยู่เป็นนิจนิรันดร์
ด้วยเหตุนี้พระศาสนจักรจึงผนวกชื่อของท่านคู่กับนักบุญเปโตรในบทภาวนาของพระศาสนจักร ซึ่งเป็นการเหมาะสมอย่างที่สุด เพราะท่านนักบุญผู้ยิ่งใหญ่ทั้งสอง ได้ทำให้กรุงโรมศักดิ์สิทธิ์ ด้วยการถวายชีวิตเป็นมรณสักขีที่เมืองนั้น
หน้า 204 บทที่ 25 ภาพสัญลักษณ์คณะพลมารีย์
พระศาสนจักรฉลองนักบุญเปโตรและเปาโลในวันเดียวกัน (คือวันที่ 29 มิถุนายน)
“ข้าพเจ้าลำบากตรากตรำมากกว่าเขา ถูกจองจำมากกว่าเขา ถูกโบยตีมากกว่าเขา จนนับครั้งไม่ถ้วน ต้องเผชิญกับความตายหลายครั้ง ข้าพเจ้าถูกชาวยิวลงแส้ห้าครั้งครั้งละสามสิบเก้าที ข้าพเจ้าถูกชาวโรมันเฆี่ยนตีสามครั้ง ถูกขว้างด้วยหินหนึ่งครั้ง เรืออับปางสามครั้ง ลอยคออยู่กลางทะเลหนึ่งคืนกับหนึ่งวัน ข้าพเจ้าต้องเดินทางเสมอต้องเผชิญอันตรายในแม่น้ำ อันตรายจากโจรผู้ร้าย อันตรายจากเพื่อนร่วมชาติ อันตรายจากคนต่างชาติ อันตรายในเมือง อันตรายในถิ่นทุรกันดาร อันตรายในทะเล อันตรายจากพี่น้องทรยศ ข้าพเจ้าต้องทำงานเหน็ดเหนื่อย ลำบากตรากตรำ อดนอนบ่อยๆ ต้องหิวกระหาย ต้องอดอาหารหลายครั้ง ต้องทนหนาว ไม่มีเสื้อผ้าสวมใส่” (จดหมายนักบุญเปาโลถึงชาวโครินธ์ ฉบับที่ 2 บท 11:23-27)
บทที่ 25
ภาพสัญลักษณ์คณะพลมารีย์
1. ปกหนังสือคู่มือเล่มนี้ ได้พิมพ์ภาพสัญลักษณ์คณะพลมารีย์ โดยจิตรกรหนุ่มมีฝีมือชาวดับลินได้วาดภาพนี้มอบให้คณะพลมารีย์ เนื่องจากเป็นผลงานที่ทำขึ้นด้วยจิตตารมณ์พลมารีย์ ภาพนี้จึงเป็นหนึ่งในแง่ความงดงามและสร้างแรงบันดาลใจ แม้จะย่อขนาดเล็กลงมาแล้วก็ตาม
2. ภาพนี้เป็นภาพสมบูรณ์ที่สุด แสดงลักษณะความเลื่อมใสศรัทธาของคณะพลมารีย์ได้อย่างน่าพิศวง
3. ในภาพจะแลเห็นบทภาวนาต่างๆ ของพลมารีย์ บทร้องหาพระจิตเจ้าและบทสายประคำ ซึ่งเป็นบทภาวนาเปิดประชุมวาดเป็นภาพ
หน้า 205 บทที่ 25 ภาพสัญลักษณ์คณะพลมารีย์
นกพิราบอยู่เหนือพระนางมารีย์ทรงประทานความสว่างและไฟความรักของพระองค์แก่พระนาง บทภาวนานี้พลมารีย์สวดภาวนาเป็นเกียรติแด่วาระสำคัญซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของทุกยุคทุกสมัย คือวาระที่พระนางยินยอมให้พระบุตรทรงรับเอากาย บันดาลให้พระนางเป็นทั้งพระมารดาของพระเจ้าและเป็นมารดาแห่งพระหรรษทาน ฉะนั้นสมาชิกพลมารีย์ ลูกของพระนางจึงผูกพันตนเองกับพระนางทางสายประคำ โดยระลึกถึงพระดำรัสของสมเด็จพระสันตะปาปาปีโอ ที่ 9 ที่ว่า “ข้าพเจ้าจะชนะลกได้ ถ้าข้าพเจ้ามีกองทัพที่สวดสายประคำ”
นอกจากนั้นยังมีความคิดที่โยงไปถึงวันพระจิตตาคม ซึ่งพระนางมารีย์ เป็นท่อธารโปรยปรายพระคุณต่าง ๆ ของพระจิต อาจกล่าวได้ว่าวันนั้นเป็นวันรับศีลกำลังของพระศาสนจักร เป็นวันที่พระจิตเจ้าประกาศตั้งพระศาสนจักรด้วยสัญญาณที่แลเห็นได้ บันดาลให้พระศาสนจักรลุกโพลงด้วยไฟแห่งการเผยแผ่ธรรมเพื่อนิมิตแผ่นดินใหม่ สมเด็จพระสันตะปาปาปีโอ ที่ 12 ตรัสว่า “ด้วยการเสนออันทรงฤทธิ์ของพระนางมารีย์นี้เอง ที่ทำให้พระศาสนจักรซึ่งเพิ่งเกิด ได้รับพระคุณอย่างมากมายจากพระจิตขององค์พระผู้ไถ่” หากไม่ได้พระนาง ไฟแห่งการเผยแผ่ธรรมจะไม่ลุกร้อนในใจมนุษย์ได้เลย
4. บทกาเตนานั้นวาดเป็นกรอบลูกโช่รอบรูปภาพ ตามชื่อกาเตนา (ในภาพภาษาลาติน แปลว่า โช่)
ส่วนภาพพระนางมารีย์นั้นช่างเหมาะสมกับถ้อยคำในบทนำ (Antiphon ) ที่ว่า พระนางเสด็จมาดุจรุ่งอรุณ งามดั่งดวงจันทร์ รุ่งโรจน์ดั่งดวงอาทิตย์ และน่าเกรงขามดุจกองทัพที่เรียงรายเป็นขบวนรบ ที่หน้าผากประดับด้วยดวงดาวแสงประกาย หมายถึงพระนางที่เป็นดาวประจำรุ่งโดยแท้
หน้า 206 บทที่ 25 ภาพสัญลักษณ์คณะพลมารีย์
ซึ่งได้รับรังสีพระหรรษทานการไถ่บาปอย่างบริบูรณ์ตั้งแต่แรก และบอกให้รู้ถึงรุ่งอรุณแห่งความรอด
บทมักญีฟิกัต (Magnificat) ในภาพจะแลเห็นวรรคแรก ซึ่งแสดงให้เห็นความคิดที่อยู่ในใจพระนางตลอดเวลานั้น ถ่อมตัวประดับเป็นตัวอักษรไฟอยู่เหนือพระเศียรพระนาง บทมักญีกัต สดุดีชัยชนะแห่งความสุภาพถ่อมตนของพระนาง พระเป็นเจ้าทรงประสงค์จะใช้สาวพรหมจารีผู้ถ่อมตนแห่งนาชาเร็ธ เพื่อการพิชิตต่าง ๆ ของพระองค์ในปัจจุบัน ไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่าเมื่อสมัยก่อน และอาศัยมนุษย์ที่เป็นหนึ่งเดียวกับพระนางพระเป็นเจ้ายังทรงประกอบกิจใหญ่หลวงต่างๆ ให้สำเร็จเพื่อพระนามของพระองค์
บทก่อและบทรับ เป็นบทจากวันสมโภชพระนางผู้ปฏิสนธินิรมลบดขยี้หัวงูปีศาจ ถ้อยคำที่ปรากฏในกรอบของรูปคือ “เราจะทำให้เจ้าและหญิงเป็นศัตรูกัน ให้ลูกหลานของเจ้า และลูกหลานของนางเป็นศัตรูกันด้วย เขาจะเหยียบหัวของเจ้า และเจ้าจะกัดส้นเท้าของเขา” (ปฐก 3:15) ก็มาจากวันสมโภชแม่พระปฏิสนธินิรมลด้วย
ภาพนั้นแสดงถึงสงครามที่ไม่รู้จบ ระหว่างพระนางมารีย์กับเจ้างูปีศาจ ระหว่างลูกหลานของพระนางกับเผ่าพันธุ์ของปีศาจ ระหว่างพลมารีย์กับอำนาจชั่วร้าย ซึ่งถอยร่นพ่ายแพ้ไม่เป็นขบวน
บทกาเตนา มาจากบทภาวนาวันฉลองพระนางมารีย์ คนกลางแจกจ่ายพระหรรษทานทั้งสิ้น พระมารดาของพระเจ้า และมารดาของมวลมนุษย์
ตอนบนของภาพคือพระจิตเจ้า ผู้ประทานสิ่งดีงามทั้งหลาย ตอนล่างคือลูกโลกห้อมล้อมด้วยคนทั้งดีและเลว หมายถึงโลกมนุษย์ ตรงกลางระหว่างพระจิตและโลกคือองค์พระนางมารีย์ ผู้เปี่ยมด้วยหรรษทานลุกโชติ
หน้า 207 บทที่ 25 ภาพสัญลักษณ์คณะพลมารีย์
ช่วงด้วยความรักเป็นท่อธารในสกลโลก เพื่อรับคำวอนขอ (จากมนุษย์สู่พระเป็นเจ้า) และแจกจ่ายพระหรรษทาน (จากพระเป็นเจ้าสู่มนุษย์)
แต่ก่อนอื่น พระนางจะแจกจ่ายพระหรรษทานให้บรรดาลูกๆ ที่ซื่อสัตย์ที่สุดก่อน เช่น นักบุญยอห์น ที่ได้แนบสนิทบนพระอุระของพระเยเจ้าและรับพระนางเป็นมารดาของตนด้วยความรักแท้จริง ถ้อยคำในกรอบรูปที่เขียนว่า “แม่ นี่คือลูกของแม่, และนี่คือแม่ของท่าน” (ยน 19:26-27)
บ่งให้เห็นถึงการประกาศมารดรภาพ ท่ามกลางมหันตวิปโยคบนเนินกัลป์วารีโอ
5. ส่วนบทภาวนาปิดประชุม สะท้อนอยู่ในทุกส่วนของภาพ สมาชิกพลมารีย์วาดเป็นกองทัพนับพลไม่ถ้วน เดินหน้าเป็นขบวนรบ มีพระนางมารีย์นำทัพ ต่างถือธงของพระนาง “มือขวาถือกางเขน มือซ้ายถือสายประคำในใจมีพระนามพระเยซูเจ้ากับพระนางมารีย์ ในความประพฤติก็มีความสงบเสงี่ยมและการทรมานกายใจของพระเยซูเจ้าในแนวปฏิบัติ” (นักบุญหลุยส์มารีย์ กรีญอง เดอ มงฟอร์ต)
คำภาวนาของพลมารีย์ตอนนี้ เป็นคำภาวนาขอความเชื่อที่จะดลบันดาลให้สัญชาติญาณ และกิจการธรรมดาในชีวิต กลายเป็นสิ่งเหนือธรรมชาติบันดาลให้เขาเกิดความกล้า และสามารถกระทำทุกสิ่งเพื่อพระคริสตเจ้าผู้ทรงเป็นพระมหากษัตริย์
ความเชื่อดังกล่าวแสดงในภาพเป็นลำไฟ หลอมดวงใจพลมารีย์ให้เป็นหนึ่งเดียว และนำไปสู่ชัยชนะจนบรรลุถึงแดนสวรรค์นิรันดร ด้วยการแผ่กระจายไฟแห่งความรัก อันทรงชีวิตของพระเป็นเจ้า ตลอดทางที่ผ่านไป
ลำไฟนี้คือพระนางมารีย์ ที่ทรงช่วยโลกให้รอดด้วยความเชื่อของพระนาง (ในขอบภาพมีถ้อยคำว่า “เป็นบุญของท่านที่ได้เชื่อ” ลก 1:45)
หน้า 208 บทที่ 25 ภาพสัญลักษณ์คณะพลมารีย์
และขณะนี้พระนางนำบรรดาผู้สรรเสริญพระนางว่าเป็นผู้มีบุญ ให้ฟันฝ้าโลกอันมืดมน โดยไม่มีการผิดพลาด ไปสู่ความรุ่งโรจน์นิรันดรของพระเป็นเจ้า
6. บทภาวนาจบด้วยการชี้แสดงงานของพลมารีย์ จนถึงวาระพิพากษาประมวลพร้อม เวลานั้นพลมารีย์ที่ซื่อสัตย์ จะอยู่กันอย่างพร้อมหน้าโดยไม่มีใครขาดสูญแม้สักคนเดียว เพื่อรับมงกุฎอันไม่รู้สลายแห่งสมาชิกภาพของตน
ในระหว่างนี้ ก็จะเป็นการภาวนาเพื่อบรรดาผู้ที่จบการต่อสู้แล้วและที่กำลังรอการคืนชีพอย่างรุ่งเรือง และอาจต้องการคำภาวนาของเพื่อนสมาชิกด้วยกัน
“ในพันธสัญญาเดิม มีข้อความปรากฎว่า พระยาห์เวห์เสด็จนำหน้าเขาเหมือนเสาเมฆเพื่อชี้ทาง และเวลากลางคืนก็เสด็จนำหน้าเขาเหมือนเสาเพลิงเพื่อส่องสว่าง ดังนี้เขาจึงเดินทางได้ทั้งกลางวันกลางคืน ส่วนเสาเพลิงนั้นอยู่ข้างหน้าเขาในเวลากลางคืน (อพย 13:21) เสาเมฆและเสาเพลิงนี้ เป็นภาพหมายถึงพระแม่มารีย์และหน้าที่ต่างๆซึ่งพระนางปฏิบัติเพื่อชาวเรา” (นักบุญอัลฟอนโช ลิโกวรี)
หน้า 209 บทที่ 26 แตสเซรา
บทที่ 26
แตสเซรา
แผ่นพับเล็ก ๆ ที่เรียกว่า “แตสเซรา” บรรจุบทภาวนาต่างๆ ของพลมารีย์ และภาพสัญลักษณ์ของคณะ. พิมพ์ไว้แจกสมาชิกพลมารีย์ทุกคนทั้งประจำการและสนับสนุน
แตสเซรา เป็นภาษาลาติน หมายเฉพาะถึง “เบี้ย” หรือ สลักสำคัญซึ่งเพื่อนฝูงจะให้กันไว้ เพื่อให้อนุชนรุ่นหลัง ใช้แสดงตนให้เป็นที่รู้จักกันไว้เสมอ สำหรับทหาร ใช้แผ่นป้ายสี่เหลี่ยมจารึกรหัสที่เป็นสัญญาณ แจกจ่ายให้รู้กันในกองทัพโรมัน
คณะพลมารีย์นำคำ “แตสเชรา” มาใช้เรียกแผ่นพับเล็ก ๆ ซึ่งบรรจุบทภาวนาและภาพสัญลักษณ์ของคณะ โดยมีความมุ่งหมายดังต่อไปนี้
ก. เพื่อแจกจ่ายให้ทั่วกันในคณะพลมารีย์
ข. บันทึกรหัสสัญญาณของพลมารีย์ คือ บทภาวนาของคณะและ
ค. เป็นสลักสำคัญถึงเอกภาพ และภราดรภาพ ระหว่างพลมารีย์ทั้งมวลไม่ว่าจะอยู่ที่ใด
บังเอิญความคิดถึงสากลภาพอันเดียวกันนี้ ใช้ได้กับคำลาดินอื่นอีกสิบกว่าคำ ที่ใช้หมายถึงลักษณะของระบบ คำเหล่านี้ช่วยการติดต่อระหว่างกันจนเป็นสิ่งที่จะขาดเสียมิได้ การโต้แย้งว่าคำเหล่านั้นทำให้เกิดภาษาต่างประเทศในคณะพลมารีย์ ก็เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ เพราะคำเหล่านี้ได้ยึดรากมั่นคงจนกลายเป็นคำของพลมารีย์ไปแล้ว และจะเป็นการอยุติธรรมอย่างร้ายแรงแก่พลมารีย์ ที่จะกำจัดคำที่มีประโยชน์และทำให้แตกต่างจากผู้อื่นนี้ไปเสีย
หน้า 210 บทที่ 27 แว็กซิลลุมของพลมารีย์ ธงชัยของคณะพลมารีย์
“ในฐานะผู้เดินทางร่วมกันในโลกอนิจจังนี้ ชาวเราทั้งสิ้นต่างอิดโรย แต่ละคนต้องการลำแขนพยุงจากพี่น้อง ป้องกันไม่ให้หมดแรงอยู่ข้างทาง แต่ตามระเบียบของการเอาวิญญาณรอดและพระหรรษทาน พระเป็นเจ้าทรงมีพระประสงค์เจาะจงให้เราสมัครสมานกัน การภาวนาเป็นสิ่งที่กระชับดวงใจและสุ้มเสียงทั้งสิ้นเข้าเป็นหนึ่งเดียวกัน พละกำลังของเราขึ้นอยู่กับการภาวนาร่วมกัน อย่างนี้เท่านั้น จักทำให้เราไม่รู้จักพ่ายแพ้ ขอชาวเราเร่งกระชับความสัมพันธ์ทั้งการภาวนา ความอุตสาหะ และความปรารถนาโดยที่แต่ละอย่างนี้ก็ทรงพลานุภาพอยู่ในตัวแล้ว เมื่อรวมกันเข้าก็ย่อมแข็งแกร่ง เกินที่อะไรจะต้านทานได้” (Ramiere)
บทที่ 27
แว็กซิลลุมของพลมารีย์
ธงชัยของคณะพลมารีย์
แว็กซิลลุมของคณะพลมารีย์ (The Vexillum Legionis) ดัดแปลงมาจากธงประจำกองทัพโรมัน
รูปนกอินทรีบนยอดธงตามแบบของเดิมนั้น ได้เปลี่ยนเป็นรูปนกพิราบซึ่งเป็นเครื่องหมายของพระจิตเจ้า ใต้รูปนกเป็นป้ายขวาง จารึกอักษรว่า “Legio Mariae” คือ คณะพลมารีย์
ระหว่างป้ายขวางกับคันธง เป็นรูปแม่พระปฏิสนธินิรมล (แม่พระแห่งเหรียญอัศจรรย์) อยู่ในวงรี (และมีดอกกุหลาบและดอกช่อนกลิ่นอยู่ระหว่างป้ายและรูปแม่พระ ด้ามธงปักลูกโลก ถ้าสำหรับตั้งโต๊ะ ลูกโลกตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยม รูปทั้งหมดนี้รวมกันให้ความหมายว่าจะชนะโลกได้ ต้องอาศัยพระจิตเจ้าปฏิบัติการผ่านทางพระนางมารีย์และลูกของพระนาง
หน้า 211 บทที่ 27 แว็กซิลลุมของพลมารีย์ ธงชัยของคณะพลมารีย์
ก. รูปแว็กซิลลุมนี้ ควรพิมพับนกระดาษแบบฟอร์มทางการของพลมารีย์
ข. ในการประชุม ควรมีแว็กซิลลุมตั้งไว้บนโต๊ะ เบื้องหน้ารูปแม่พระห่าง 6 นิ้วและเยื้องไปทางขวาของรูป 6 นิ้ว (15 ชม.)
เว็กซิลลุมขนาดตั้งโต๊ะตามปกติสูงรวมทั้งฐานด้วย 12 3/4 นิ้ว (สิบสอง เศษสามส่วนสี่) (32 ซม.) ดูภาพในใบแทรก แว็กชิลลุมที่ทำด้วยโลหะ หรือหินอ่อนสั่งซื้อได้จากคอนซิเลียม
ค. แว็กชิลลุมขนาดใหญ่ใช้สำหรับขบวนแห่หรือพิธีอาชีแอสสูงประมาณ 6/2 ฟุต (หก เศษหนึ่งส่วนสอง) (2 เมตร) เป็นความยาวของคันธงใต้ลูกโลก 2 ฟุต (60 ชม.) (ดูภาพจากใบแทรก) ความสูงที่เหลือควรจะทำตามแบบ ในอัตราส่วน 1 ฟุต ต่อ 1 นิ้ว (12:1) ด้ามธงให้ได้ขนาดปักในฐานที่ไม่ใช่ส่วนใดของแเว็กชิลลุม เพื่อให้ตั้งอยู่ได้ในงานพิธีอาซีแอสหรือขณะที่ไม่มีคนถือ
คอนซิเลียมไม่มีแว็กชิลลุมขนาดใหญ่จำหน่าย แต่ละแห่งควรจะจัดทำเอง ทาสีเอง ไม่ใช่งานยาก เปรสิเดียมที่ต้องการแว็กชิลลุมประณีตงาม จะทำจากวัสดุอื่นที่ต่างจากไม้ก็ได้ จากรูปแบบแว็กซิลลุมนี้ ศิลปีนอาจจะใช้ความสามารถผลิตงานชิ้นงาม ๆ ได้
ง. แว็กซิลลุมนี้สงวนลิขสิทธิ์ จะทำได้เฉพาะเมื่อได้รับอนุญาตจากคอนชิเลียมเท่านั้น
“ธงชัยของพลมารีย์งดงามมาก” (พระสันตะปาปาปีโอ ที่ 11)
หน้า 212 บทที่ 27 แว็กซิลลุมของพลมารีย์ ธงชัยของคณะพลมารีย์

“นักบุญหลุยส์มารีย์ กรีญอง เดอ มงฟอร์ต ตระหนักชัดแจ้งที่สุดว่า ต้องไม่แยกพระนางพรหมจารีออกจากพระจิตเจ้า คณะพลมารีย์ดื่มด่ำด้วยความเชื่อมั่นลึกซึ้งถึงคำสอนของตนเรื่องสายสัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียวกันนี้ และเพราะฉะนั้นคณะก็เสาะแสวงหาให้รู้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ถึงหลักธรรมเรื่องพระจิตเจ้า” (Laurentin)
หน้า 213 28 การปกครองคณะพลมารีย์
บทที่ 28
การปกครองคณะพลมารีย์
1. กฎเกณฑ์ทั่วไปสำหรับทุกระดับหน่วยงานของคณะ
1. การปกครอง ทั้งส่วนกลางและภูมิภาค ของคณะพลมารีย์ดำเนินไปโดยสภาต่าง ๆ หน้าที่ของสภาภายในเขตของตนคือ ทำให้คณะดำรงไว้ซึ่งเอกภาพ รักษาอุดมการณ์ดั้งเดิมของคณะพลมารีย์ คุ้มกันรักษาจิตตารมณ์ของคณะให้ครบครัน ตลอดจนกฎข้อบังคับ และการปฏิบัติ ดังที่กำหนดไว้ในหนังสือคู่มือทางการของคณะ รวมทั้งการขยายองค์กรด้วย
คณะพลมารีย์ในท้องที่ใดย่อมจะดีได้เท่าไรนั้น ก็สุดแล้วแต่สภาเหล่านี้จะสร้างขึ้น
2. ทุกสภาพึงมีการประชุมบ่อยสม่ำเสมอ กฎทั่วไปคือไม่น้อยกว่าเดือนละครั้ง
3. บทภาวนา การจัดที่ประชุม และระเบียบการประชุมไม่ว่าสภาใด ๆ ของพลมารีย์ จะต้องเหมือนกันกับที่ตราไว้ในกรณีเกี่ยวกับเปรสิเดียมเว้นแต่ ก) กำหนดเวลาสั้นยาวไม่จำเป็นต้องนับ ข) คำอบรมยืนยงไม่ต้องอ่าน ค) ถุงทานจะมีหรือไม่มีแล้วแต่จะเห็นสมควร
4. หน้าที่เบื้องแรกของแต่ละสภาคือ ต้องสัตย์ซื่อต่อสภาสูงถัดขึ้นไป
5. การตั้งเปรสิเดียมหรือสภา จำต้องได้รับอนุญาตเป็นทางการจากสภาถัดขึ้นไป หรือจากคอนซิลียม และได้รับอนุมัติจากผู้ใหญ่ฝ่ายพระศาสนจักรที่ตนสังกัด
หน้า 214 28 การปกครองคณะพลมารีย์
6. พระสังมราชแห่งสังฆมณฑล และ คอนซิเลียมสงวนสิทธิ์ที่จะยุบ เลิกเปรสิเดียม หรือ คูเรีย ที่ตั้งขึ้นแล้ว เมื่อถูกยุบ เปรสิเดียมหรือคูเรียนั้นจะขาดจากสภาพเป็นส่วนหนึ่งของพลมารีย์โดยฉับพลัน
7. แต่ละสภามีพระสงฆ์ เป็นจิตตาธิการ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากผู้ใหญ่ฝ่ายพระศาสนจักรที่ตนสังกัด และดำรงตำแหน่งช้าเร็วตามอ้ธยาศัยของผู้แต่งตั้ง จิตตาธิการมีอำนาจชี้ขาด ในเรื่องเกี่ยวกับทางศาสนาและศีลธรรม ซึ่งมีขึ้นในการประชุมสภา และมีอำนาจยับยั้งกิจการทั้งปวง เพื่อรอคอยคำตัดสินเด็ดขาดของผู้ใหญ่ที่แต่งตั้งจิตตาธิการนั้น
จิตตาธิการดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่คนหนึ่งของสภานั้นๆ และมีสิทธิ์ของพลมารีย์ทุกประการ
8. แต่ละสภาจะมีประธาน รองประธาน เลขานุการ และเหรัญญิกและเจ้าหน้าที่อื่น ๆ แล้วแต่สภาสูงถัดขึ้นไปรับรองว่าจำเป็นต้องมี เจ้าหน้าที่สภาจะผ่านการเลือกตั้งให้มีวาระดำรงตำแหน่งสามปี และมีสิทธิ์รับเลือกตั้งใหม่ ให้มีวาระดำรงตำแหน่งเดิมติดต่อกันสามปี (คือรวมทั้งหมดหกปี) เมื่อวาระการดำรงตำแหน่งสิ้นสุดลง พลมารีย์คนนั้นจะทำหน้าที่ในตำแหน่งนั้นต่อไปไม่ได้
จะด้วยเหตุผลกลใดก็ตาม เจ้าหน้าที่คนใดไม่ได้อยู่ในตำแหน่งสมัยแรกจนครบสามปี ให้ถือว่าได้อยู่ครบสามปี นับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่งนั้นในระหว่างเวลาที่ยังไม่สิ้นอายุ เขามีสิทธิ์ได้รับเลือกให้เข้าดำรงตำแหน่งเดิมเป็นระยะเวลาอีกสามปี ซึ่งจะถือว่าเป็นสมัยที่สองของเขา ถ้าเจ้าหน้าที่คนนั้นไม่ได้อยู่ในตำแหน่งสมัยที่สองจนครบสามปี ก็ให้ถือว่าเขาได้เข้ารับตำแหน่งครบหกปี ณ วันที่เชาพ้นจากตำแหน่งนั้น
เมื่อพลมารีย์คนนั้นอยู่ในตำแหน่งครบสองสมัยแล้วจะต้องรอช่วง
หน้า 215 28 การปกครองคณะพลมารีย์
เวลาสามปี ให้ผ่านพ้นไปก่อน จึงจะมีสิทธิ์รับเลือกตั้งเข้าดำรงตำแหน่งเดิมในสภาเดิม ถ้าพลมารีย์คนนั้นจะเข้ารับตำแหน่งอื่นในสภาเดียวกันหรือตำแหน่งอะไรก็ได้ในอีกสภาหนึ่งก็ไม่ต้องมีการทิ้งช่วง
เจ้าหน้าที่สภาทุกคนต้องเป็นสมาชิกประจำการของเปรสิเดียมและต้องปฏิบัติตามคำอบรมยืนยง
9 . การยกสถานภาพของสภา (เช่น จากคูเรียเป็นคอมิเซียม ฯลฯ) ไม่กระทบกระเทือนกำหนดเวลาดำรงตำแหน่งของเจ้าหน้าที่นั้น ๆ
10. เจ้าหน้าที่สภาใดต้องได้รับการเลือกตั้ง ในการประชุมตามปกติของสภานั้น จากสมาชิกของสภา (ได้แก่ เจ้าหน้าที่ของสภาเปรสิเดียมใต้สังกัดเจ้าหน้าที่ของสภาอื่นใดใต้สังกัด และเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับการเลือกตั้งจากสภานั้น) ผู้อยู่ในการประชุมนั้น พลมารีย์ทุกคนมีสิทธิ์ได้รับเลือกตั้งเป็นเจ้าหน้าที่ได้ ถ้าได้รับเลือกและยังไม่ได้เป็นสมาชิกของสภานั้น เขาจะเป็นสมาชิกโดยหน้าที่ (ex offcio) การเลือกตั้งเจ้าหน้าที่ทุกครั้งจะต้องได้รับการอนุมัติจากสภาสูงถัดขึ้นไป แต่ในระหว่างรอคอยนั้น ผู้รับเลือกจะปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อนได้
11. การแจ้งกำหนดสิ้นสุดการดำรงตำแหน่งและการเลือกตั้งถ้าทำได้ให้ประกาศล่วงหน้าแก่สมาชิก ในคราวประชุมก่อนถึงวันประชุมเลือกตั้ง นอกนั้นสภาควรชี้แจงให้ผู้ลงสมัครเลือกตั้งทราบภาระหน้าที่ของแต่ละตำแหน่ง
12. อนุญาตให้ชี้แจง เกี่ยวกับความเหมาะสมของผู้สมัครได้ในขอบเขตที่สมควร หากเจ้าหน้าที่ของสภาเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ ในความเหมาะสมของผู้สมัครคนใดโดยเฉพาะ จะชี้แจงความเห็นชอบในนามของสภา ก็อนุญาตให้ทำได้ แต่การชี้แจงแนะนำนั้น ต้องไม่เป็นการต่อต้าน
หน้า 216 28 การปกครองคณะพลมารีย์
การเสนอชื่อผู้สมัครอื่น ๆ หรือขัดขวางวิธีการเลือกตั้งตามปกติ
13. การเลือกตั้งต้องกระทำโดยลงคะแนนลับ ให้ดำเนินการตามวิธีดังต่อไปนี้
การเลือกตั้งต้องแยกกระทำทีละตำแหน่ง จากสูงมาหาต่ำ แต่ละนามที่เสนอต้องมีผู้ขานชื่อ และมีผู้รับรองอย่างเป็นทางการ ถ้ามีผู้เสนอเพียงชื่อเดียวก็แน่นอนไม่ต้องลงคะแนนเสียง ถ้ามีผู้เสนอสองชื่อหรือมากกว่านี้ และมีผู้รับรองอย่างถูกต้องตามระเบียบ จึงจะมีการลงคะแนน
กระดาษลงคะแนน พึงแจกให้สมาชิกแต่ละคนของสภา (รวมทั้งจิตตาธิการทั้งหมดด้วย) ซึ่งอยู่ ณ ที่นั้นและมีสิทธิลงคะแนน พึงระวังเงื่อนไขที่กล่าวนี้ คือต้องเป็นสมาชิกสภานั้น จึงจะมีสิทธิ์ลงคะแนนได้ เมื่อได้เขียนนามลงในแผ่นกระดาษแล้ว ให้พับอย่างดีและส่งให้เสมียนคะแนนรวบรวมชื่อผู้ลงคะแนนต้องไม่ปรากฏในกระดาษลงคะแนนนั้น
ถ้านับแล้วปรากฏชัดว่าผู้สมัครคนใด ได้รับคะแนนเสียงส่วนมากเด็ดขาด กล่าวคือได้อย่างน้อย 1 คะแนน มากกว่าคะแนนของผู้สมัครคนอื่น ๆ ทั้งหมดรวมกัน (คือมากกว่าครึ่ง) ให้ประกาศว่าผู้นั้นเป็นผู้ได้รับเลือกตั้ง
แต่ถ้าไม่มีผู้ใดได้คะแนนเสียงส่วนมากเด็ดขาด ให้อ่านผลของการลงคะแนนทั้งหมดนั้นให้ทุกคนได้ยิน แล้วผู้สมัครคนเดิมเหล่านั้นต้องรับการลงคะแนนใหม่
ถ้าการลงคะแนนครั้งที่สองปรากฎว่าไม่มีใครได้คะแนนส่วนมากอีกให้คัดชื่อผู้ได้คะแนนน้อยที่สุดออก แล้วลงคะแนนผู้สมัครที่เหลือเสียใหม่
ถ้าการลงคะแนนครั้งที่สามไม่ได้ผลอีก ให้ตัดชื่อผู้ได้คะแนนน้อยที่สุดออก และดำเนินการลงคะแนนเรื่อยไป จนได้ผู้สมัครที่มีคะแนนเสียง
หน้า 217 28 การปกครองคณะพลมารีย์
ส่วนมากเด็ดขาดตามต้องการ
เนื่องจากเป็นการเลือกเจ้าหน้าที่ในองค์กรฝ่ายวิญญาณ จึงไม่ควรปล่อยไปตามบุญตามกรรม ต้องให้การเลือกนั้นเป็นไปโดยเคร่งครัดถูกแบบแผน และจำต้องเอาใจใส่ต่อความลับของบัตรลงคะแนนด้วย
สิ่งจำเป็นที่ต้องทำคือให้บันทึกการเลือกตั้งครบทุกขั้นตอนลงไว้ในรายงานการประชุม และให้นำส่งสำเนาไปยังสภาสูงถัดไปเพื่อพิจารณาเห็นชอบ ในบันทึกการเลือกตั้งจะต้องมีรายชื่อของคนที่เสนอและคนรับรองผู้สมัครรับเลือก ถ้ามีผู้สมัครรับเลือกมากกว่าหนึ่งคน ต้องมีบันทึกไว้ด้วยว่าแต่ละคนได้คะแนนเสียงเท่าไร
14 . ผู้แทนของเปรสิเดียม หรือของสภา ในสภาสูงขึ้นไป ต้องเป็นเจ้าหน้าที่ของเปรสิเดียมหรือของสภานั้น
15. ประสบการณ์ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ประสานงาน เป็นบุคคลที่ช่วยให้สภาสูงสามารถปฏิบัติหน้าที่กำกับดูแลสภาต่าง ๆ ในสังกัดที่อยู่ห่างไกลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ผู้ประสานงานจะติดต่ออย่างใกล้ชิดกับสภานั้น ๆ และจะรวบรวมบันทึกการประชุมต่างๆ ที่ส่งเข้ามาแต่ละเดือน จัดทำเป็นรายงานเพื่อเสนอต่อที่ประชุมสภาสูงเมื่อมีการถามถึง ผู้ประสานงานมีสิทธิ์เข้าร่วมประชุมกับสภาสูงและมีส่วนในกิจกรรมต่างๆ แต่ไม่มีสิทธิ์ออกเสียงลงมติ เว้นไว้เสียแต่ว่าเขาจะเป็นสมาชิกของสภานั้น
16. เมื่อสภาอนุญาตแล้ว บุคคลอื่นจะเป็นสมาชิกพลมารีย์หรือไม่ก็ตามจะเข้าประชุมสภาได้ในฐานะผู้เยี่ยม แต่ไม่มีสิทธิ์ออกเสียงลงคะแนนบุคคลเหล่านี้ต้องรักษาความลับของการประชุมนั้นด้วย
17 . สภาต่าง ๆ ของคณะพลมารีย์ คือคูเรีย คอมิเซียม เรเยีย เซนาตุส
หน้า 218 28 การปกครองคณะพลมารีย์
และคอนชิเลียม ตลอดจนสภาอื่น ๆ ที่อาจตั้งขึ้นตามธรรมนูญ (ของคณะ)
18. ชื่อภาษาลาดินของสภาต่างๆ เหมาะสมดีกับหน้าที่ซึ่งสภานั้นๆดำเนินการอยู่
ในคณะพลมารีย์ พระนางมารีย์ ทรงเป็นพระราชินี พระนางเองทรงเรียกกองพลมารีย์เข้าสู่การรณรงค์อันมีเกียรติ ทรงบัญชาการในยุทธภูมิดลใจเขา และนำเขาไปสู่ชัยชนะด้วยพระนางเอง ถัดจากพระนางลงมาคือสภาพิเศษของพระนาง หรือ “คอนซิเลียม” ซึ่งเป็นตัวแทนที่แลเห็นได้ของพระนาง และมีส่วนช่วยพระนางปกครองสภาต่างๆ ของพลมารีย์
สภาประจำท้องที่ จะเป็นผู้แทนจริง ๆ ส่วนสภาสูงขึ้นไปจำนวนผู้แทนลดลง เนื่องจากสภาศูนย์กลางต่างๆ นั้น ย่อมมีผู้แทนจากแดนห่างไกล ในทางปฏิบัติจะให้ผู้แทนทั้งสิ้นมาร่วมประชุมเสมอย่อมเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นชื่อ “คูเรีย” “คอมิเซียม” “เรเยีย” และ “เซนาตุส” จึงตั้งไว้ในลักษณะและสภาพของสภาเหล่านี้และเหมาะสมแก่บริเวณที่ปกครอง
19. สภาสูงกว่าอาจทำหน้าที่ของสภาต่ำกว่า ควบกับหน้าที่โดยเฉพาะของตนได้ เช่น เชนาตุสอาจทำหน้าที่ของคูเรียด้วยก็ได้ และในทางปฏิบัติก็ทำเช่นนั้นอยู่แล้ว การรวมงานเช่นนี้เป็นประโยชน์และอาจจำเป็นเพราะ
(ก) ตามปกติ เป็นบุคคลเดียวกันนั่นเอง ที่ดำเนินงานทั้งในสภาสูงและสภาท้องที่ ถ้าประชุมครั้งเดียวสำเร็จประโยชน์ของทั้งสองสภา ก็จะเป็นการแบ่งเบาภาระของสมาชิกของพลมารีย์
(ข) แต่ข้อควรพิจารณาที่สำคัญยิ่งกว่านั้นอีก คือ ผู้แทนสภาสูงตามปกติมาจากบริเวณกว้างไกล จนมิอาจเข้าประชุมตามปกติเนืองๆ ครบทุกครั้งได้ ผลก็คือพลมารีย์ใจลุกร้อนกลุ่มน้อย ๆ นี้ จะประสบกับภาระรับผิดชอบอันหนัก และการงานจำนวนมาก จำเป็นอยู่เอง ที่งานส่วนมาก
หน้า 219 28 การปกครองคณะพลมารีย์
จะกระทำกันไปอย่างแกน ๆ หรือไม่ก็ปล่อยให้คั่งค้างอยู่เป็นผลร้ายแก่คณะพลมารีย์
การรวบรวมหน้าที่ของสภาสูงเข้ากับหน้าที่สภาต่ำ จะเป็นหลักประกันให้สมาชิกเข้าประชุมได้มากและสม่ำเสมอ เขาเหล่านี้ไม่เพียงแต่จะทำหน้าที่โดยเฉพาะของสภาต่ำ แต่จะสนใจและได้รู้จักงานของสภาสูงด้วย และจะเป็นไปได้ที่จะรวมคนเหล่านี้ในหน้าที่สำคัญ ทั้งการตรวจตรา การขยายงานและงานธุรการของสภาสูงขึ้นไปด้วย
อาจมีผู้แย้งว่าวิธีเช่นนี้ เท่ากับมอบการปกครองบริเวณกว้างใหญ่ให้แก่หมู่คณะซึ่งแท้จริงเป็นแต่สภาท้องที่ นี่เป็นความเข้าใจผิด เพราะเป็นหัวใจของสภาสูงขึ้นไปเท่านั้นที่เหมาะสมกับท้องถิ่นนั้น ผู้แทนที่สังกัดทุก ๆ สภา มีหน้าที่เข้าประชุม และไม่ต้องสงสัยเขาทำหน้าที่ตามความสามารถดีที่สุดตามมโนธรรมแล้ว ทางเลือกที่ดีคือสภาสูงควรแยกดำเนินงานต่างหาก เช่น ปีหนึ่งประชุมสักสี่ครั้ง วิธีนี้อาจจะสามารถได้ผู้แทนเข้าประชุมจำนวนมาก
ที่จริงข้อเสนอเช่นนี้ ทั้ง ๆ ที่อ้างว่าเพื่อประโยชน์แก่การปกครองแบบมีผู้แทน แต่ที่แท้กลับไกลจากความจริงเช่นนั้น เพราะระยะยาวนานระหว่างที่ยังไม่ถึงการประชุมของตน สภานั้นก็จำเป็นต้องปล่อยให้เจ้าหน้าที่ของตนทำงานไป ดังนั้นสภานั้นก็ได้ชื่อว่าทำการปกครองเพียงในนามเท่านั้น ผลก็คือมิช้าสมาชิกจะสูญเสียความตระหนักในความรับผิดชอบและความสนใจจริงต่อการงานของสภา
ยิ่งกว่านั้นหมู่คณะที่ประชุมนาน ๆ ที จะเป็นคอนเกรส (Congress) มากกว่าสภา จะขาดคุณลักษณะสำหรับการปกครอง ซึ่งข้อสำคัญต้องทำงานต่อเนื่องกัน และสนใจติดต่ออย่างใกล้ชิดกับการบริหารและปัญหาต่างๆ
20. พลมารีย์ทุกคนมีสิทธิติดต่อโดยเอกเทศกับคูเรียหรือสภา
หน้า 220 28 การปกครองคณะพลมารีย์
พลมารีย์ที่สูงกว่า ในการปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องที่รับทราบนี้ สภาจำต้องดำเนินการอย่างรอบคอบ และแน่นอนต้องเคารพต่อสภานั้นและสิทธิของสภาพลมารีย์ที่อยู่ในปกครองของตนนั้น
อาจมีผู้แย้งว่าการติดต่อกับสภาสูงขึ้นไปนอกทางตามปกติ คือจากทางหมู่คณะของตน (เปรสิเดียมหรือสภา) เป็นการขาดความภักดี
ที่จริงไม่ใช่เช่นนั้น เหตุว่าความจริงมีอยู่ว่าจากเหตุผลต่างๆ บางครั้งเจ้าหน้าที่มีเรื่องควรรายงานสภาสูงขึ้นไป กลับหน่วงเหนี่ยวไว้ ดังนั้น หากไม่มีช่องทางทราบจากทางอื่นแล้ว สภาที่สูงกว่านั้น ๆ จะไม่สามารถล่วงรู้เรื่องที่จำเป็นจะรู้นั้นเลย แต่ละสภามีสิทธิ ซึ่งขาดเสีย ก็มิอาจปฏิบัติหน้าที่โดยเหมาะสม ที่จะรู้ว่าในอาณาบริเวณที่รับมอบให้ดูแลนั้น มีอะไรเกิดขึ้นแท้จริงบ้าง สิทธิอันจำเป็นนี้จึงจำต้องสงวนไว้
21. แต่ละระดับคณะพลมารีย์มีหน้าที่ส่งเงินบำรุงสภาสูงถัดขึ้นไป เกี่ยวกับเรื่องนี้ ให้ดูบทว่าด้วยเงินทุนและถุงทาน (บทที่ 34 และ 35)
22. สาระสำคัญยิ่งของสภาพลมารีย์ คือการอภิปรายถึงกิจการและปัญหาต่าง ๆ ของตนโดยเปิดเผยและเสรี ไม่ใช่เป็นเพียงสภาตรวจการหรือชี้ขาด แต่เป็นโรงเรียนสำหรับเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่จะศึกษาอย่างไร หากไม่มีการอภิปราย การนำหลักการ อุดมคติ ฯลฯ ของคณะออกมาแสดง
อีกประการหนึ่ง การอภิปรายนั้นต้องปฏิบัติทั่วหน้ากัน จะอย่างไรก็ตามคูเรียหรือสภาอื่นต้องไม่เป็นเหมือนโรงภาพยนตร์ซึ่งมีคนจำนวนน้อยออกแสดง ฝ่ายคนส่วนใหญ่เฝ้าฟังอย่างเงียบกริบ
สภาจะปฏิบัติงานได้ผลดีเต็มที่ก็เฉพาะเมื่อสมาชิกทุกคน ร่วมมือด้วยเท่านั้น สมาชิกคนหนึ่งก็เสมือนเซลล์หนึ่งของสมอง ถ้าเซลล์ส่วนใหญ่นั้นไม่ปฏิบัติงาน สมองนั้นก็เป็นมหันตภัยแก่เจ้าของสมองเอง ถ้าสมาชิกไม่แสดง
หน้า 221 28 การปกครองคณะพลมารีย์
บทบาทจริงจังในสภา จะเรียกว่าทำหน้าที่ของตนในสภานั้นไม่ได้ ลำพังแต่การฟัง ตนเองอาจได้รับอะไรจากสภาไว้บ้าง แต่ไม่ได้ให้อะไรแก่สภาเลยและเขาอาจออกจากสภาด้วย หัวสมองว่างเปล่าเนื่องจากความจริงทางจิตวิทยามีอยู่ว่า การอยู่เฉย ๆ ทำให้ความจำเฉื่อยชา
สมาชิกของสภาที่มีนิสัยเงียบเสมอนั้น เปรียบได้กับเซลล์ที่ไม่ทำงานแล้วในสมองหรือร่างกายมนุษย์ ไม่ให้อะไรเลยแก่สมองหรือร่างกายตามที่ต้องการ จึงเป็นการผิดหน้าที่ และเป็นอันตรายที่ร้ายแรงยิ่งนักต่อบุคคลนั้น ผู้ใดกลายเป็นอันตรายแบบนี้ขึ้นแก่คณะพลมารีย์ ที่ตนปรารถนาอย่างยิ่งที่จะรับใช้นั้น ก็เป็นเรื่องที่น่าสลดใจ การเย็นเฉย ในที่ซึ่งต้องการกิจการอย่างจำเป็นที่สุดนั้นเท่ากับการเสื่อมแล้ว และสิ่งที่เสื่อมแล้วก็มีแต่จะแพร่หลายกว้างออกไปทุกที
ฉะนั้นตามหลักแล้ว สมาชิกต้องไม่เป็นคนเย็นเฉย จำต้องช่วยเหลือบำรุงชีวิตของคณะ ไม่ใช่เพียงแต่มาประชุมและฟังชีวิตของคณะ แต่ต้องพูดด้วย สมาชิกแต่ละคน ควรมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างน้อยปีละครั้ง ฟังดูก็น่าขัน แต่ก็มีความหมายที่แท้จริงที่สุด คนขี้อายบางคน พอคิดถึงเรื่องจะพูดขึ้นมาคราวใด ดูช่างมีอะไรต่อมิอะไรประดังกันมาขัดขวางเสียทุกที แต่ต้องเอาชนะความกลัวนี้ให้ได้ และในที่นี้จะต้องใช้ความกล้าหาญชนิดที่คณะพลมารีย์คาดหวังให้สมาชิกแสดงไม่ว่าในสถานการณ์ใด ๆ
จะตอบย้อนที่เรากล่าวมาแล้วได้อย่างง่ายๆ ว่า ที่จะทำให้ทุกคนได้พูดในเวลาเพียงที่กำหนดไว้นั้นเป็นการเหลือวิสัยแน่ และก็เป็นเช่นนั้นแน่นอน แต่ปัญหาข้อนั้นเก็บไว้คิดแก้ไขในเมื่อเกิดขึ้นแล้วดีกว่า
ตามปกติแล้ว ปัญหากลับตรงกันข้าม คือหาผู้พูดได้ไม่พอและผู้ที่พูดก็มีแต่คนพูดเก่งหน้าเก่าเพียงไม่กี่คน บางครั้งคารมคล่องแคล่วของ
หน้า 222 28 การปกครองคณะพลมารีย์
ไม่กี่คน เป็นดังหน้ากากบังความเงียบของคนส่วนมากในคณะเสียหมดบางครั้งทีเดียว ประธานเองพูดมากเกินไปจนปิดปากคนอื่นหมด ที่น่ากลัวยิ่งก็คือเสียงของคน ๆ เดียวที่เป็นเหตุทำให้ผู้อื่นเบื่อเป็นที่สุด
บางครั้งประธานก็แก้ตัวในเรื่องนี้โดยอ้างว่าหากตนไม่พูด ก็จะเงียบสนิท บางทีก็อาจจริง แต่ประธานต้องไม่กลัวความเงียบชั่วขณะ เพราะความเงียบนั้นเป็นเสมือนคำเชื้อเชิญสมาชิก ให้ช่วยกันกู้สภาของตนให้กลับมีชีวิตอาศัยเสียงของพวกตน จะเป็นโอกาสให้สมาชิกที่ขลาดกลัวแน่ใจว่าถึงโอกาสของตนแล้ว บัดนี้หากตนจะพูดบ้างคงจะไม่เป็นการแย่งใครพูดเป็นแน่
ประธานควรถือเป็นนโยบายแน่นอนว่า จะไม่กล่าวคำที่ไม่จำเป็นแม้แต่คำเดียว ให้ใช้แนวความคิดนี้เป็นหลักพิจารณาว่าตนควบคุมการประชุมถูกต้องดีแล้วหรือไม่
23. เพื่อช่วยการประชุมให้ดำเนินไปด้วยดี ประธานไม่ควรพูดอย่างท้าทาย ทั้งไม่ตั้งคำถามที่ไม่ให้แนวคำตอบ ทั้งไม่ควรตั้งคำถามยาก ๆ โดยไม่ช่วยหาทางแก้ไว้ด้วย การดำเนินการประชุมด้วยคำถามที่เป็นไปในทางลบอย่างเดียว ย่อมจะทำให้ที่ประชุมนั้นมีแต่ความเงียบ
24. ต้องเอาชนะใจผู้อื่น ไม่ใช่บังคับให้ผู้อื่นยอมรับความเห็นของตนนี่ควรเป็นหลักสำคัญของการประชุมใด ๆ ของคณะพลมารีย์ การเร่งรัดใช้อำนาจบังคับการตัดสิน อาจทำให้เกิดแตกแยกเป็นสองฝ่าย คือฝ่ายน้อยที่ท้อถอยกับฝ่ายมากที่ฮึกเหิม พาให้เกิดความรู้สึกขุ่นเคือง และแตกแยกกันอย่างแก้ไม่ตก แต่ตรงกันข้าม หากการลงมติเป็นผลของการตรวจสอบกันอย่างรอบคอบ และอภิปรายกันอย่างกว้างขวางแล้ว ทุกคนย่อมยินดี ยอมรับด้วยจิตตารมณ์ชนิดซึ่งทำให้ฝ่ายแพ้ก็ได้บุญและฝ่ายชนะก็ไม่ได้เสียกุศลแต่อย่างใด
หน้า 223 28 การปกครองคณะพลมารีย์
ฉะนั้น เมื่อเกิดความแตกแยกกันขึ้น ต้องให้ฝ่ายที่มีเสียงข้างมากอย่างแน่นอนนั้น ใช้ความอดทนอย่างมาก พวกเขาอาจเป็นฝ่ายผิดก็ได้ และการที่ปล่อยให้ฝ่ายผิดเป็นฝ่ายชนะนั้น นับว่าเศร้าสลดอย่างยิ่ง หากทำได้ควรเลื่อนการลงมติไปในการประชุมครั้งต่อไป และอาจจะต้องเลื่อนไปหลายครั้ง เพื่อให้มีเวลาพิจารณากันให้ถี่ถ้วนจริงๆ
ควรให้สมาชิกได้พิจารณาปัญหาทุกแง่ทุกมุม และได้รับการแนะนำให้รู้จักสวดขอความสว่างจากพระเป็นเจ้า ให้ทุกคนเข้าใจถ่องแท้ว่าไม่ใช่เรื่องพยายามให้ความเห็นฝ่ายตนชนะ แต่เป็นเรื่องพยายามทราบถึงพระประสงค์ของพระเป็นเจ้า ในเรื่องที่เป็นปัญหานั้นต่างหาก ด้วยวิธีนี้มักปรากฏว่าสามารถตกลงกันได้เสมอ
25. หากลำพังในเปรสิเดียม ยังต้องพยายามรักษาความสามัคคีปรองดองกัน ทั้งๆ ที่ไม่ค่อยมีโอกาสจะมีความคิดเห็นแตกแยกกันเท่าใดนักก็ในสภาต่าง ๆ เล่า จะต้องใช้ความระมัดระวังสักเพียงไร เหตุว่า
(ก) ในสภา สมาชิกไม่สู้ได้ร่วมงานกันเท่าใดนัก
(ข) ความแตกแยกกันทางความเห็นย่อมมีมาก เนื่องด้วยหน้าที่สำคัญประการหนึ่งของสภาก็คือ ปรับการแตกแยกกันให้เข้ารูป การพิจารณาทำงานใหม่ การพยายามยกมาตรฐานให้ดีขึ้น ความพยายามรักษาระเบียบวินัยทั่วไป การอภิปรายถึงข้อบกพร่องต่างๆ เหล่านี้ล้วนนำให้เกิดความคิดเห็นผิดแผกกันได้ ซึ่งอาจจะขยายตัว อย่างไม่สู้ดีได้อีกด้วย
(ค) เมื่อมีสมาชิกจำนวนมาก บ่อยครั้งมักปรากฎว่า มีสองถึงสามคนซึ่งแม้ทำงานเข้มแข็งดีเยี่ยมแต่เป็นบุคคลที่ยึดมั่นแต่ความเห็นของตนซึ่งเกิดอิทธิพลยุ่งยากมากแก่ที่ประชุม ความสามารถทางการงานของบุคคลประเภทนี้ทำให้มีผู้นิยมเขา พวกนี้ก่อให้เกิดการโต้เถียงกันบ่อย ๆ เป็นเหตุ
หน้า 224 28 การปกครองคณะพลมารีย์
ให้เกิดความบาดหมางน้ำใจกัน ที่สุดบุคคลที่ควรเป็นแบบอย่างแก่ผู้ที่อยู่รองลงไป เป็นบทเรียนของภราดรภาพและวิธีดำเนินการงานของคณะนั้นกลับกลาย เป็นแบบฉบับที่ไม่ดีสำหรับพลมารีย์ทั้งหมด เปรียบได้กับหัวใจที่ฉีดพิษร้ายเข้าไปตลอดเส้นโลหิตของพลมารีย์
(ง) บ่อย ๆ ครั้งจะมีการแสดงความจงรักภักดีที่ผิด เช่น ชอบโจมตีเพื่อนสภาด้วยกันหรือสภาที่สูงกว่า โดยกล่าวหาว่าใช้อำนาจเกินไป หรือไม่ก็ทำอะไรไม่สมควรต่างๆ (ช่างเป็นเรื่องง่ายที่จะทำเรื่องราวให้ฟังดูน่าเชื่อถือและทำให้เขาเห็นด้วย)
(จ) คนเราลงได้รวมกันเข้าเป็นหมู่แล้ว ไม่มีวันที่กิเลส ความดื้อดึงความหยิ่งจองหอง และการไม่ยอมเชื่อ ซึ่งช่อนเร้นอยู่ในแต่ละคนไม่มากก็น้อย จะไม่ระเบิดขึ้นเป็นไฟ และกลายเป็นส่วนประกอบของการประชุมนั้นแม้ว่าทุกคนจะมีความเชื่อ แม้ว่าเป็นนักบวชชุมนุมกันเพื่อกิจฝ่ายพระศาสนาเมื่อได้รวมกันเข้าเป็นหมู่ ไม่ช้าก็แสดงให้เห็นประจักษ์ ซึ่งความอ่อนแอที่เกิดมากับธรรมชาติของมนุษย์ และในจิตตารมณ์รวมทั้งความประพฤติของเขาในวาจาและกิจการ ขัดแย้งกับความชื่อง่าย ๆ ตรงไปตรงมาแบบคริสตชนคาทอลิก
“นี่แหละที่ผู้แต่งหนังสือศรัทธาเรียกว่า ‘ประสาโลก’ และเพราะเหตุนี้แหละจึงตักเตือนชาวเราให้ระวังจงดี ลักษณะดังกล่าวนี้มีอยู่มากบ้างน้อยบ้างในคนทุกหมู่ทุกคณะ ไม่ว่าสูงต่ำ ไม่ว่าชาติใดและอาชีพใด ทั้งที่เป็นฆราวาสตลอดจนที่เป็นนักบวชด้วย” (Newman : In the World)
เหล่านี้ฟังแล้วน่ากลัว แต่เป็นคำของผู้ที่มีความสุขุมทีเดียว นักบุญเกรโกรี แห่ง นาซีอานเน ได้กล่าวไว้อย่างเดียวกัน แต่คนละทำนองถ้อยคำที่แปลกนี้ พิเคราะห์ดูแล้วมีความว่า “โลก” ขาดความรัก ความรักในตัว-
หน้า 225 28 การปกครองคณะพลมารีย์
เราเองยังจืดจาง และความจืดจางไม่สู้ปรากฎเท่าไร เมื่อเกี่ยวกับเครือญาติคนสนิทมิตรสหาย (ล้วนเหมาะกับคนจำนวนน้อย) แต่ละครั้งจำนวนที่เพิ่มมากขึ้น การวิพากษ์วิจารณ์และการปฏิบัติที่ขัดแย้ง ก็จะปรากฏตัวออกมา ความอ่อนแอในความรักมักประกาศตัวออกมา พร้อมกับผลที่ปราศจากความสุข
นักบุญเบอร์นาร์ด กล่าวว่า “พระเป็นเจ้า กับ ความรัก เป็นอันเดียวกัน ที่ใดปราศจากความรัก ที่นั่นก็เต็มไปด้วยกิเลสและราคะทางเนื้อหนัง ความเชื่อเปรียบเสมือนคบเพลิง หากไม่ได้จุดด้วยไฟแห่งความรัก จะไม่สว่างโพลงอยู่นานพอที่จะนำทางเราไปจนถึงความสุขนิรันดรได้ … หากไม่มีความรักจะไม่มีคุณธรรมที่แท้จริงได้เลย”
จะไม่ค่อยเป็นประโยชน์เท่าใดแก่พลมารีย์ หากเพียงแต่อ่านประกาศให้ระวังอันตรายข้างต้นนี้แล้วก็ปฏิญาณว่า “จะไม่ยอมให้เป็นเช่นนี้” กับพวกตนเป็นอันขาด อันตรายอาจเกิดขึ้นได้ และจะเกิดขึ้นแน่ หากในที่ประชุมยังขาดความรัก หากปล่อยให้จิตตารมณ์เหนือธรรมชาติจืดจางลง จึงต้องเฝ้าระวังอยู่เสมอ ในประวัติศาสตร์ปรากฎว่า กองทัพโรมัน แม้ต้องเดินทางไกลมาแล้วสักเท่าไร ก็ไม่เคยค้างคืนโดยไม่ได้ตั้งค่าย ขุดคูล้อมรอบและเสริมที่มั่นอย่างพิถีพิถัน ไม่ว่าจะเป็นการพักเพียงคืนเดียว หรือศัตรูจะอยู่ลิบลับ หรือจะเป็นยามสงบก็ตาม
เพื่อถือตามวินัยอันเคร่งครัดนี้ ให้คณะพลมารีย์ช่วยกันป้องกันค่ายของตน (อันได้แก่ที่ประชุม) ให้พ้นจากการรุกรานของจิตตารมณ์อันร้ายกาจของ “โลก” การป้องกันนี้ได้แก่การกำจัดวาจาและท่าทีใด ๆ อันเป็นภัยต่อความรักให้ห่างไป และโดยทั่วไป พยายามให้ที่ประชุมเปี่ยมด้วยจิตตารมณ์ภาวนาและศรัทธาภักดีเต็มที่แบบพลมารีย์
หน้า 226 28 การปกครองคณะพลมารีย์
“พระหรรษทาน ก็ไม่น้อยกว่าธรรมชาติเหมือนกัน ย่อมมีความรู้สึกและความสะเทือนใจของตน ย่อมมีความรัก ความลุกร้อน ความหวัง ความยินดี และความเศร้าโศก ‘ความรู้สึก’ ต่าง ๆ ของพระหรรษทานนี้ มีเต็มขนาดอยู่เสมอในพระนางพรหมจารีผู้เจริญชีวิตพระหรรษทานยิ่งกว่าชีวิตธรรมชาติ สัตบุรุษส่วนใหญ่อยู่ในสถานะพระหรรษทานยิ่งกว่าอยู่ในชีวิตพระหรรษทาน ส่วนพระนางพรหมจารี ผิดกว่าใครๆ เป็นอันมาก คือ พระนางอยู่ในพระหรรษทานตลอดไป และยิ่งกว่านั้นอีก อยู่ในชีวิตพระหรรษทานและในความสมบูรณ์ของชีวิตพระหรรษทานนั้น ตลอดเวลาทั้งสิ้นที่พระนางอยู่บนพิภพ” (Gibieuf : De la Vierge Souffrante au pied de la Croix)
2. คูเรียและคอมิเซียม
1. เมื่อมีสองเปรสิเดียม หรือมากกว่าตั้งขึ้นในสังฆมณฑลเขตใดแล้ว ควรตั้งคูเรีย (Curia) ขึ้นทำการปกครอง คูเรียประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ทั้งหมด (รวมทั้งจิตตาธิการ) ของเปรสิเดียมต่างๆ ในคูเรียนั้น
2. เมื่อเห็นจำเป็นเพิ่มหน้าที่แก่คูเรียใด นอกเหนือหน้าที่ของตนให้มีอำนาจปกครองคูเรียหนึ่งหรือหลายคูเรีย คูเรียซึ่งมีหน้าที่สูงเช่นนี้ มีชื่อเฉพาะว่า คอมิเซียม (Comitium)
คอมิเซียม ไม่ใช่สภาใหม่ คงทำหน้าที่ในฐานะเป็นคูเรียในเขตของตนและปกครองเปรสิเดียมในสังกัดโดยตรงต่อไป งานที่เพิ่มคือ ดูแลคูเรียหนึ่งหรือหลายคูเรีย
แต่ละคูเรียและเปรสิเดียมซึ่งขึ้นตรงต่อคอมิเซียมใด มีสิทธิ์ส่งผู้แทนเข้าประชุมคอมิเซียมนั้น
เพื่อช่วยไม่ให้ผู้แทนคูเรียต้องเข้าประชุมคอมิเซียมทุกครั้ง (ซึ่งเมื่อรวมกับการประชุมคูเรียของตนด้วยแล้วอาจจะเป็นภาระหนัก) จึงอนุญาตกำหนดให้พิจารณาเรื่องของคูเรียนั้น และให้ผู้แทนของคูเรียนั้นต้องเข้าประชุม
หน้า 227 28 การปกครองคณะพลมารีย์
คอมิเซียม เฉพาะทุก ๆ คราวประชุมครั้งที่ 2 หรือที่ 3 ของคอมิเซียมเท่านั้น
ตามปกติ คอมิเซียมต้องไม่มีอาณาบริเวณกว้างกว่าสังฆมณฑลหนึ่ง
3. จิตตาธิการจะได้รับแต่งตั้งจากสมณะประมุขสังฆมณฑลซึ่งคูเรีย (หรือคอมิเซียม) ปฏิบัติงานอยู่
4. คูเรียมีอำนาจปกครองเปรสิเดียมตามธรรมนูญของคณะพลมารีย์ จะเป็นผู้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ (นอกจากจิตตาธิการ) และควบคุมวาระการดำรงตำแหน่งของเขา เกี่ยวกับวิธีการแต่งตั้ง ให้ดูข้อ 11 บทที่ 14 ว่าด้วยเปรสิเดียม
5. คูเรียจะเอาใจใส่ให้เปรสิเดียม และสมาชิกเปรสิเดียมให้ปฏิบัติตามกฎข้อบังคับอย่างเคร่งครัด ต่อไปนี้เป็นงานสำคัญของคูเรีย
(ก) อบรมและแนะนำเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับหน้าที่และการดำเนินงานทั่วไปของเปรสิเดียม
(ข) รับรายงานของแต่ละเปรสิเดียม ไม่น้อยกว่าปีละครั้ง
(ค) แลกเปลี่ยนประสบการณ์แก่กัน
(ง) พิจารณางานใหม่
(จ) สร้างมาตรฐานให้สูงขึ้น
(ฉ) ควบคุมดูให้แน่ว่า พลมารีย์ทุกคนทำงานที่รับมอบเป็นที่พอใจ
(ช) ขยายคณะพลมารีย์ และกระตุ้นเปรสิเดียม ให้หาสมาชิกสนับสนุน (รวมทั้งการดูแลและจัดการเกี่ยวกับสมาชิกประเภทนี้)
ฉะนั้นจึงเห็นแจ้งชัดว่า คูเรียจำต้องมีใจกล้าหาญบากบั่นอย่างสูงและโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของคูเรีย เพื่อให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างเหมาะสม
6. ชะตากรรมของคณะพลมารีย์อยู่ในมือของคูเรีย และอนาคตของคณะก็ขึ้นอยู่กับความก้าวหน้าของคูเรียด้วย สถานะของคณะพลมารีย์
หน้า 228 28 การปกครองคณะพลมารีย์
ในท้องที่หนึ่ง ๆ ต้องนับว่ายังไม่ปลอดภัย จนกว่าจะมีคูเรียตั้งขึ้น
7. พลมารีย์อายุต่ำกว่า 18 ปี จะเข้าประชุมคูเรียอาวุโสไม่ได้ แต่ถ้าคูเรียอาวุโสเห็นควรให้ตั้งคูเรียเยาวชนซึ่งขึ้นต่ออาวุโส ก็ย่อมทำได้
8. จำเป็นอย่างยิ่งที่เจ้าหน้าที่คูเรียโดยเฉพาะประธาน ควรให้สมาชิกพลมารีย์ในสังกัดคูเรียพบปะได้โดยง่าย เพื่อจะได้ปรึกษาหารือถึงเรื่องความยุ่งยาก ข้อเสนอ หรือเรื่องอื่น ๆ ซึ่งยังไม่ควรนำออกอภิปรายอย่างเปิดเผยได้
9. เป็นที่พึงปรารถนาอย่างยิ่ง ที่เจ้าหน้าที่คูเรีย โดยเฉพาะประธานควรสามารถสละเวลามากเพียงพอ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งของตน เนื่องด้วยความเจริญความสำเร็จของคูเรียขึ้นอยู่กับเรื่องนี้เอง
10. เมื่อจำนวนเปรสิเดียมในสังกัดคูเรียมากขึ้น จำนวนผู้แทนก็จะมากขึ้นด้วย ข้อนี้อาจมีข้อเสียหายบ้าง หากมองในด้านสถานที่ประชุมและด้านการปกครอง แต่คณะพลมารีย์เชื่อว่าข้อเสียหายนี้มีส่วนดีอื่น ๆ ชดเชยเพียงพอทีเดียว คณะถือว่าคูเรียมีหน้าที่อื่นมากกว่าเป็นจักรกลการปกครองเท่านั้น แต่ละคูเรียเป็นหัวใจและสมองของกลุ่มเปรสิเดียมที่ขึ้นอยู่กับคูเรียนั้นโดยที่เป็นศูนย์กลางเอกภาพ ผลที่ตามมาก็คือยิ่งมีเครื่องผูกพัน (คือผู้แทน)ซึ่งเชื่อมคูเรียเข้ากับแต่ละเปรสิเดียม เอกภาพก็ยิ่งแข็งแรง เปรสิเดียมก็จะผลิตจิตตารมณ์ และวิธีการของคณะได้แน่นอนด้วย การประชุมคูเรียนี้ จะเป็นที่อภิปราย และศึกษาสาระสำคัญต่างๆ ของคณะพลมารีย์ ต่อจากนั้นก็จะผ่านไปยังเปรสิเดียม และที่สุดกระจายไปสู่สมาชิก
11. คูเรียจะกำหนดให้แต่ละเปรสิเดียมรับการเยี่ยมเป็นครั้งคราวถ้าทำได้ก็ปีละสองครั้ง โดยมุ่งหมายส่งเสริมกำลังใจแก่เปรสิเดียม และตรวจดูว่าทุกอย่างดำเนินไปตามที่ควรหรือไม่ ข้อสำคัญหน้าที่นี้ไม่ใช่คอยหาเรื่อง
หน้า 229 28 การปกครองคณะพลมารีย์
หรือจับผิด ซึ่งจะลงเอยโดยการมาของผู้เยี่ยมกลายเป็นที่หวั่นเกรง และคำแนะนำกลายเป็นข้อขุ่นเคือง แต่ให้เยี่ยมด้วยจิตตารมณ์ของความรักและความถ่อมตน ถือว่ามีหลายอย่างอาจเรียนได้จากเปรสิเดียมที่รับเยี่ยมเท่ากับที่แนะนำให้
ตั้งใจจะเยี่ยมเช่นนี้เมื่อใด ต้องแจ้งให้เปรสิเดียมนั้นทราบล่วงหน้าอย่างน้อยหนึ่งสัปดาห์
คงจะได้ยินบ้างว่าการเยี่ยมนี้ทำให้เป็นที่ไม่พอใจ เพราะถือว่าเป็น “การแทรกแซงจากภายนอก” ท่าทีเช่นนี้ขาดความเคารพต่อคณะ เนื่องด้วยเปรสิเดียมก็เป็นแต่ส่วนหนึ่งของคณะ และควรจะเป็นส่วนที่จงรักภักดี มือจะพูดกับศีรษะว่า “ข้าไม่ต้องการความช่วยเหลือของเจ้า” ได้หรือ ยิ่งกว่านั้นกลับเป็นการไม่รู้คุณ เพราะที่เปรสิเดียมตั้งอยู่ได้ ไม่ใช่เพราะ “การแทรกแซงจากภายนอก” นั้นดอกหรือ
ช่างไม่มีเหตุผล เพราะเขาจะไม่เต็มใจรับสิ่งที่เขายินดีถือเป็นผลประโยชน์แก่ตนจากอำนาจศูนย์กลางหรือ
ยังเป็นการเขลาด้วย เพราะการทำเช่นนั้น เท่ากับตั้งตนต่อสู้กับประสบการณ์สากล ชำนาญของคนทั่วโลก เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่า คณะใดที่ตั้งขึ้นเรียบร้อยแล้ว (จะเป็นฝ่ายศาสนา พลเรือนหรือทหารก็ตาม) เพื่อจะสามารถรักษาจิตตารมณ์ของคณะ และความมีประสิทธิภาพ จำเป็นอย่างยิ่งที่สมาชิกจะต้องยอมรับ “หลักศูนย์กลาง” ของคณะ ด้วยความเต็มใจ เข้าใจซาบซึ้ง และปฏิบัติตามให้เกิดผล
การเยี่ยมสม่ำเสมอตามหน่วยของคณะ เป็นสิ่งสำคัญที่สุดของการนำหลักการนั้นมาปฏิบัติ ผู้มีอำนาจหน้าที่ใด ๆ ซึ่งรู้จักงานของตนดี จะไม่ละเลยต่อหน้าที่นี้เลย
หน้า 230 28 การปกครองคณะพลมารีย์
นอกจากว่า การเยี่ยมจากคูเรียจำเป็นสำหรับรักษาความปกติเรียบร้อยแล้ว แต่ละเปรสิเดียมควรระลึกว่าการเยี่ยมเป็นส่วนหนึ่งของข้อบังคับด้วย จึงควรรบเร้า ไม่ให้คูเรียมองข้ามหน้าที่นี้ เห็นจะไม่ต้องกล่าวก็ได้ว่าควรต้อนรับผู้เยี่ยมอย่างจริงใจด้วย
ในโอกาสเยี่ยมนี้ ทะเบียนสมาชิกต่าง ๆ สมุดบันทึกของเลขานุการและเหรัญญิก สมุดมอบงาน และรายการอื่น ๆ ของเปรสิเดียม ต้องได้รับการตรวจสอบ เพื่อตัดสินว่าถูกต้องและเก็บไว้ดีไหม นอกนั้นเพื่อให้แน่ใจว่าแต่ละบุคคลที่มีคุณสมบัติครบแล้วได้ถวายคำสัญญาของพลมารีย์หรือยัง
การเยี่ยมตรวจนี้ควรกระทำโดยผู้แทน 2 คนของคูเรีย ไม่จำเป็นต้องจำกัดให้เป็นเจ้าหน้าที่คูเรีย อาจแต่งตั้งพลมารีย์ผู้ชำนาญคนใดเป็นผู้เยี่ยมก็ได้ ผู้เยี่ยมต้องยื่นรายงานการเยี่ยมของตนเป็นลายลักษณ์อักษรต่อเจ้าหน้าที่คูเรีย แบบตัวอย่างรายงานการเยี่ยมอาจขอจากคอนชิเลียมได้
ข้อบกพร่องที่พบ ในขั้นแรกไม่ควรกล่าวขวัญโดยเปิดเผย ไม่ว่าที่เปรสิเดียมนั้นเองหรือที่คูเรีย ควรนำขึ้นปรึกษาจิตตาธิการและประธานของเปรสิเดียมนั้น ถ้าวิธีนี้ไม่ได้ผล จึงควรเสนอเรื่องต่อคูเรีย
12. คูเรียมีความสัมพันธ์กับสมาชิกของคูเรีย เช่นเดียวกับเปรสิเดียมต่อสมาชิกของตน ดังนั้นทุกสิ่งที่กล่าวในหนังสือนี้เกี่ยวกับการเข้าประชุมและหน้าที่ของพลมารีย์ในการเข้าประชุมเปรสิเดียม ก็นำมาใช้ได้เช่นเดียวกันสำหรับผู้แทนเปรสิเดียมในการเช้าประชุมคูเรีย การทำงานอย่างอื่นแม้จะลุกร้อนสักเพียงไร ก็ไม่อาจทดแทนการขาดประชุมคูเรียของเจ้าหน้าที่นั้นได้
13. คูเรียจะประชุม ณ เวลาและสถานที่ ซึ่งคูเรียกำหนดเองด้วยความเห็นชอบของสภาถัดขึ้นไป ถ้าทำได้ควรมีการประชุมอย่างน้อยเดือนละครั้ง เหตุผลเรื่องระยะเวลากำหนดการประชุมนี้ให้ดูส่วนที่ 1 ข้อ 19 ของ
หน้า 231 28 การปกครองคณะพลมารีย์
บทนี้ (ที่กล่าวมาแล้ว)
14. ให้เลขานุการ จัดเตรียมวาระการประชุมล่วงหน้าโดยปรึกษากับประธาน และส่งเป็นหนังสือเวียนไปยังจิตตาธิการและประธานแต่ละคนล่วงหน้า ก่อนการประชุมเปรสิเดียม ซึ่งมีขึ้นก่อนประชุมคูเรีย เป็นหน้าที่ของประธานจะต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่อื่น ๆ ของเปรสิเดียมของตนได้ทราบ
วาระการประชุมนี้ควรทำเป็นแบบชั่วคราว และให้สมาชิกมีเสรีภาพมากที่สุดในการเพิ่มข้ออื่น ๆ
15. คูเรียต้องเฝ้าระวังให้เป็นที่แน่ใจว่า เปรสิเดียมไม่ได้เอนเอียงไปในทางให้ความช่วยเหลือทางวัตถุปัจจัย ซึ่งจะทำให้งานที่ก่อเกิดประโยชน์แท้จริงของคณะพลมารีย์ไร้ผล การตรวจสมุดของเหรัญญิกเป็นครั้งคราวจะช่วยให้คูเรียสามารถทราบได้ว่า ได้มีการโน้มเอียงในทางไม่ถูกนี้แล้วหรือไม่
16. ประธาน (และแน่นอนรวมถึงผู้มีอำนาจหน้าที่อื่น ทั้งหมดด้วย) พึงระวังไม่ให้ถลำลงในความบกพร่องซึ่งดูเหมือนเป็นเรื่องธรรมดาที่สุดคือการรวมความรับผิดชอบทั้งหมดไว้ในมือของตน แม้ในข้อย่อยที่สุด ผลอันหนึ่งของนิสัยเช่นนี้คือทำให้การงานล่าช้า ยิ่งเป็นศูนย์กลางสำคัญมีปริมาณงานมาก อาจทำให้งานสะดุดหมด ยิ่งคอขวดแคบ สิ่งบรรจุยิ่งออกได้ช้า จนบางครั้งมีผู้ทุบขวดเสีย เพราะทนคอยไม่ไหว
แต่ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ การปฏิเสธไม่ยอมให้ผู้ใดเข้ารับผิดชอบบ้าง แม้บรรดาผู้ที่เหมาะสม เป็นการอยุติธรรมทั้งแก่บุคคลเหล่านี้ (ที่ควรแบ่งความรับผิดชอบ) และแก่คณะพลมารีย์ทั้งหมด การดำเนินการรับผิดชอบบ้างตามขนาด เป็นสิ่งจำเป็นแห่งความเจริญทางคุณลักษณะสำคัญของแต่ละบุคคล แท้จริงความรับผิดชอบอาจเปลี่ยนทรายเป็นทองได้
เลขานุการก็ไม่ควรจำกัดอยู่แต่ในงานเฉพาะของตน และเหรัญญิก
หน้า 232 28 การปกครองคณะพลมารีย์
ก็ไม่ใช่ทำแต่บัญชี เจ้าหน้าที่ทั้งหมด แม้กระทั่งสมาชิกอาวุโสและสมาชิกที่มีหวังจะก้าวหน้า ควรจะได้รับมอบหมายให้ทำงานที่มีโอกาสใช้ความคิดริเริ่มของตน และเป็นงานควบคุม ซึ่งเขาจะต้องรับผิดชอบ ทั้งๆ ที่ต้องขึ้นกับผู้ใหญ่ที่สูงขึ้นไป เป้าหมายสูงสุดคือต้องให้พลมารีย์ทุกคน เกิดความรู้สึกรับผิดชอบว่าตนมีส่วนต้องช่วยให้คณะดำรงด้วยดีและแผ่ขยายไป อันเป็นวิธีที่ทรงอานุภาพยิ่งในการช่วยวิญญาณ
“งานทั้งสิ้นของพระเป็นเจ้า มีรากฐานอยู่บนเอกภาพ เพราะงานนั้นมีฐานอยู่บนพระองค์เอง พระองค์ทรงเอกภาพที่สุดอย่างไม่มีอะไรเป็นส่วนประกอบ พระองค์เป็นหนึ่งเดียวอย่างเต็มที่ แต่ทั้ง ๆ ที่พระองค์ทรงเป็นเอกภาพ ทั้งในพระคุณลักษณะและพระจริยวัตรดังที่เราเข้าใจ จึงว่าระเบียบและความกลมกลืนต้องเป็นของธรรมชาติของพระองค์เอง” (John Henry Newman : Order, the Witness and Instrument of Unity. ข้อความที่คัดมานี้และอีก 3 ตอนถัดไป คือต่อท้ายเรเยีย เชนาตุสและคอนชิเลียม ในต้นฉบับเดิม เป็นข้อความต่อกันตลอด)
3. เรเยีย
1. “เรเยีย” (Regia) คือสภาที่คอนชิเลียมมีความเห็นชอบว่าเหมาะแล้วที่จะทำหน้าที่บริหารคณะพลมารีย์ภายในอาณาเขตอันกว้างใหญ่โดยมีสถานภาพ รองลงมาจากเชนาตุส สภาคอนซิเลียมจะเป็นผู้ตัดสินใจเองว่า เรเยียจะขึ้นตรงต่อคอนชิเลียมหรือสังกัดอยู่กับเชนาตุส
2. สภาที่ตั้งอยู่ก่อนแล้ว พอได้รับสถานภาพเป็นเรเยีย จะปฏิบัติภารกิจเดิมต่อไป เพียงแต่เพิ่มความรับผิดชอบใหม่ๆ อีกเท่านั้น (โปรดดูส่วนที่ 1 ข้อ 19 ของบทนี้ ที่ว่าด้วยการปกครองคณะพลมารีย์)
สมาชิกของเรเยียประกอบด้วย
(ก) เจ้าหน้าที่ของทุกองค์กรพลมารีย์ที่ขึ้นตรงต่อเรเยีย
หน้า 233 28 การปกครองคณะพลมารีย์
(ข) สมาชิกทุกคนของสภานั้น ในกรณีที่ได้รับการยกสถานภาพให้เป็นเรเยีย
(ค ) จิตตาธิการของเรเยีย จะได้รับแต่งตั้งจากบรรดาพระสังฆราชของสังฆมณฑลต่าง ๆ ที่สภาเรเยียนั้นมีอำนาจปกครอง
3. เจ้าหน้าที่ของสภาต่าง ๆ ในสังกัดที่ได้รับเลือกตั้งมา จะต้องได้รับความเห็นชอบจากเรเยีย เจ้าหน้าที่เหล่านี้มีหน้าที่เข้าร่วมประชุมเรเยียนอกจากจะมีอุปสรรค (อาทิเช่น ระยะทางไกลมาก ฯลฯ)
4. ประสบการณ์ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าการแต่งตั้งให้มีผู้ประสานงาน (Correspondents) เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดเพื่อช่วยให้เรเยียสามารถกำกับดูแลสภาต่าง ๆ ในสังกัดที่อยู่ห่างไกล ผู้ประสานงานจะติดต่ออย่างใกล้ชิดกับสภานั้น ๆ และจะรวบรวมบันทึกการประชุม ที่ส่งเข้ามาแต่ละเดือน จัดทำเป็นรายงานเพื่อเสนอต่อที่ประชุมเรเยียเมื่อมีการถามถึงผู้ประสานงานมีสิทธิ์เข้าร่วมประชุมกับสภาเรเยีย และมีส่วนในกิจกรรมต่างๆแต่ไม่มีสิทธิ์ออกเสียงลงมติ เว้นเสียแต่ว่าเขาจะเป็นสมาชิกของสภาเรเยีย
5. สภาเรเยียจะต้องส่งสำเนาบันทึกการประชุมทุกครั้ง ไปยังสภาสูงซึ่งสภาเรเยียสังกัดอยู่
6. เมื่อมีแผนการจะเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของสภาเรเยียซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อองค์ประชุมหลัก จะต้องได้รับอนุมัติจากสภาคอนชิเลียมอย่างเป็นทางการก่อน ไม่ว่าสภาเรเยียจะขึ้นตรงต่อสภาคอนซิเลียมหรือสภาเชนาตุสก็ตาม
7 . ในสมัยโรมัน เรเยียเป็นที่นักและสำนักงานของพระมหาสมณะในกาลต่อมา เรเยีย หมายถึงราชธานีหรือราชสำนัก “การที่ทรงเป็นหลายอย่างต่างกันในพระคุณลักษณะ ถึงกระนั้นในบั้นปลาย
หน้า 234 28 การปกครองคณะพลมารีย์
ก็ทรงเป็นแต่หนึ่งเดียวคือทรงเป็นความศักดิ์สิทธิ์ ยุติธรรม สัตย์จริง ความรัก อำนาจ ปรีชาญาณ การที่พระองค์เป็นแต่ละคุณลักษณะนั้นฉับพลันพร้อมกัน ราวกับไม่ได้ทรงเป็นอะไร นอกจากคุณลักษณะนั้น ๆ ประการเดียว ราวกับอย่างอื่นเป็นสูญ นี่เท่ากับแสดงภายในธรรมชาติของพระเป็นเจ้า ให้เห็นระเบียบสูงส่งหาขอบเขตมิได้ และไม่อาจหยั่งถึงได้เลย เป็นคุณสมบัติมหัศจรรย์เช่นเดียวกับคุณสมบัติอื่นใด และเป็นผลลัพธ์ของคุณสมบัติอื่นทั้งหมด” (John Henry Newman : Order, the Witness and Instrument of Unity.)
4. เซนาตุส
1 . สภาที่คอนซิเลียมมีความเห็นชอบว่า เหมาะแล้วที่จะทำหน้าที่บริหารคณะพลมารีย์ภายในประเทศหนึ่ง ให้เรียกว่า “เซนาตุส” (Senatus) สภาเชนาตุสต้องขึ้นตรงต่อคอนชิเลียม
เมื่อสภาเชนาตุสเดียวไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างทั่วถึง เพราะประเทศนั้น ๆ มีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลหรือจะด้วยเหตุผลอื่นใดก็ตามคอนชิเลียมอาจอนุมัติให้มีเซนาตุสได้ถึงสองสภาหรือมากกว่านั้นในประเทศเดียวกัน เซนาตุสแต่ละสภาจะขึ้นตรงต่อสภาคอนชิเลียม และจะทำหน้าที่บริหารคณะพลมารีย์ภายในอาณาบริเวณที่สภาคอนซิเลียมมอบหมายให้
2. สภาที่ตั้งอยู่ก่อนแล้ว พอได้รับสถานภาพเป็นเซนาตุส จะปฏิบัติภารกิจเดิมต่อไป เพียงแต่เพิ่มความรับผิดชอบใหม่ ๆ อีกเท่านั้น (โปรดดูส่วนที่ 1 ข้อ 19 ของบทนี้ที่ว่าด้วยการปกครองคณะพลมารีย์)
สมาชิกของสภาเชนาตุสประกอบด้วย
(ก) เจ้าหน้าที่ของทุกองค์กรพลมารีย์ที่ขึ้นตรงต่อเซนาตุส และ
(ข) สมาชิกทุกคนของสภานั้น ในกรณีที่ได้รับการยกสถานะภาพให้เป็นเซนาตุส
หน้า 235 28 การปกครองคณะพลมารีย์
3. จิตตาธิการของเซนาตุส จะได้รับแต่งตั้งจากบรรดาพระสังฆราชของสังฆมณฑลต่าง ๆ ที่สภาเชนาตุสนั้นมีอำนาจปกครอง
4. เจ้าหน้าที่ของสภาต่าง ๆ ในสังกัดที่ได้รับเลือกตั้ง จะต้องได้รับความเห็นชอบจากเซนาตุส เจ้าหน้าที่เหล่านี้มีหน้าที่เข้าร่วมประชุมเซนาตุสนอกจากจะมีอุปสรรค (อาทิเช่น ระยะทางไกลมาก ฯลฯ)
5. ประสบการณ์ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าการแต่งตั้งให้มีผู้ประสานงาน (Correspondents) เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด เพื่อช่วยให้เซนาตุสสามารถกำกับดูแลสภาต่าง ๆ ในสังกัดที่อยู่ห่างไกล ผู้ประสานงานจะติดต่ออย่างใกล้ชิดกับสภานั้น ๆ และจะรวบรวมบันทึกการประชุม ที่ส่งเข้ามาแต่ละเดือน จัดทำเป็นรายงานเพื่อเสนอต่อที่ประชุมเซนาตุสเมื่อมีการถามถึง ผู้ประสานงานมีสิทธิ์เข้าร่วมประชุมกับสภาเชนาตุส และมีส่วนในกิจกรรมต่างๆ แต่ไม่มีสิทธิ์ออกเสียงลงคะแนน เว้นเสียแต่ว่าเขาจะเป็นสมาชิกของสภาเชนาตุส
6. สภาเชนาตุสจะต้องส่งสำเนาบันทึกการประชุมทุกครั้งไปยังสภาคอนซิเลียม
7. เมื่อมีแผนการจะเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของสภาเซนาตุสซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อองค์ประชุมหลัก จะต้องได้รับอนุมัติจากสภาคอนชิเลียมอย่างเป็นทางการก่อน
“พระเป็นเจ้าทรงเป็นบทบัญญัติหาสิ้นสุดมิได้ เช่นเดียวกับทรงเป็นฤทธิ์อำนาจปรีชาญาณ และความรักหาที่สุดมิได้ด้วย ยิ่งกว่านั้น ความคิดถึงระเบียบเอง ย่อมแสดงให้เห็นความนึกคิดถึงอันดับลดหลั่นลงมา หากมีระเบียบในพระคุณลักษณะของพระเป็นเจ้า พระคุณลักษณะนั้น ๆ ก็ต้องสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และแม้แต่ละพระคุณลักษณะสมบูรณ์ครบครันอยู่ในตัวแล้วก็ตาม แต่ก็ต้องเป็นไปในทำนอง ที่ไม่ทำให้ความ
หน้า 236 28 การปกครองคณะพลมารีย์
สมบูรณ์พูนผลของพระคุณลักษณะอื่น ๆ เสื่อมลง และต้องดูเหมือนโอนอ่อนให้แก่พระคุณลักษณะอื่น ๆ ในบางโอกาสโดยเฉพาะไป” (John Henry Newman : Order, the Witness and Intrument of Unity)
5. คอนซิเลียม
1. จำเป็นต้องมีสภาศูนย์กลางชื่อ “คอนชิเลียมคณะพลมารีย์” (Concilium Legionis Mariae) ซึ่งมีอำนาจหน้าที่สูงสุดในการปกครองคณะพลมารีย์ มีแต่สภานี้เท่านั้นที่
(ก) มีสิทธิ์ตรา เปลี่ยนแปลงหรือตีความกฎข้อบังคับต่างๆ
(ข) มีสิทธิ์ตั้ง หรือไม่รับรองเปรสิเดียมและสภาในอาณัติ ไม่ว่าจะอยู่แห่งหนใด
(ค) มีสิทธ์กำหนดนโยบายของคณะพลมารีย์ในทุกเรื่อง
(ง) มีสิทธิ์ชี้ขาดข้อพิพาทและคำอุทธรณั ปัญหาเกี่ยวกับสมาชิกภาพและประเด็นทั้งปวงว่าด้วยความเหมาะสมของงานหรือวิธีดำเนินการ
(โดยมีเงื่อนไขว่า ทุกข้อจะต้องไม่ขัดกับอำนาจหน้าที่ของผู้ใหญ่ฝ่ายพระศาสนจักร ตามที่มีระบุไว้ในหนังสือคู่มือเล่มนี้)
2. คอนชิเลียมจะประชุมกันเดือนละครั้ง ที่กรุงดับลิน ประเทศไอร์แลนด์
3. คอนชิเลียมอาจมอบฉันทะให้สภาต่ำลงมาหรือเปรสิเดียมหนึ่งใดกระทำภารกิจบางส่วนและอาจเปลี่ยนแปลงฉันทะเวลาใดก็ได้คอนชิเลียม อาจควบภารกิจของสภาในสังกัดหนึ่งสภาหรือมากกว่านั้น เข้าไว้กับภารกิจเฉพาะของตนได้
5. คอนซิเลียมคณะพลมารีย์ประกอบด้วย
(ก) เจ้าหน้าที่จากทุกองค์กรพลมารีย์ซึ่งขึ้นตรงต่อคอนชิเลียม
หน้า 237 28 การปกครองคณะพลมารีย์
(ข) เจ้าหน้าที่ของคูเรียอาวุโสจากอัครสังฆมณฑลดับสิน เป็นองค์ประชุมหลักของคอนชิเลียม
เนื่องจากระยะทางไกลกัน ฯลฯ องค์กรส่วนใหญ่ของพลมารีย์ไม่สามารถเข้าร่วมประชุมเป็นประจำได้ คอนซิเลียมสงวนสิทธิ์ที่จะเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับผู้แทนจากคูเรียต่างๆ ในนครดับลินได้
6. จิตตาธิการคอนชิเลียม จะได้รับแต่งตั้งจากสภาพระสังฆราชแห่งประเทศไอร์แลนด์
7. เจ้าหน้าที่ต่าง ๆ ของสภาในสังกัดคอนชิเลียมที่ได้รับเลือกตั้งมา จะต้องได้รับรองจากคอนซิเลียม
8. คอนชิเลียมจะแต่งตั้งผู้โต้ตอบทางจดหมายเพื่อช่วยให้สามารถกำกับดูแลสภาต่าง ๆ ที่อยู่ห่างไกล ผู้โต้ตอบทางจดหมายจะติดต่ออย่างใกล้ชิดกับสภานั้น ๆ และจะรวบรวมบันทึกการประชุมที่ส่งเข้ามาแต่ละเดือนจัดทำเป็นรายงานเพื่อเสนอต่อที่ประชุมคอนชิเลียมเมื่อมีการถามถึงผู้โต้ตอบจดหมายมีสิทธิ์เข้าร่วมประชุมกับคอนชิเลียม และมีส่วนในกิจกรรมต่าง ๆ แต่ไม่มีสิทธิ์ออกเสียงลงมติเว้นไว้เสียแต่ว่า เขาจะเป็นสมาชิกสภาคอนซิเลียม
9. ตัวแทนที่ได้รับมอบฉันทะอย่างถูกต้องจากคอนซิเลียม มีสิทธิ์เข้าไปในทุกพื้นที่ที่มีคณะพลมารีย์ทำงานอยู่ มีสิทธิ์เข้าเยี่ยมองค์กรพลมารีย์ต่าง ๆ ในพื้นที่นั้น ๆ มีสิทธิ์ดำเนินการในการเผยแผ่คณะพลมารีย์และโดยทั่วๆ ไปแล้ว มีสิทธิ์ปฏิบัติภารกิจซึ่งคอนชิเลียมพึงปฏิบัติ
10. คอนชิเลียมคณะพลมารีย์แต่ผู้เดียวมีสิทธิ์แก้ไขหนังสือคู่มือโดยมีเงื่อนไขว่า จะต้องเป็นไปตามธรรมนูญและกฎข้อบังคับของคณะ
11. คอนชิเลียมจะทำการเปลี่ยนแปลงกฎข้อบังคับไม่ได้ นอกจาก
หน้า 238 29 ความภักดีของพลมารีย์
จะได้รับความยินยอมจากองค์กรส่วนใหญ่ของคณะ องค์กรเหล่านี้จะได้รับแจ้งโดยผ่านทางสภาที่ตนสังกัด ว่ามีการเสนอแนะให้เปลี่ยนแปลงกฎข้อบังคับใดบ้าง และจะมีเวลาให้อย่างเพียงพอเพื่อแสดงทรรศนะเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว องค์กรจะส่งทรรศนะของตนผ่านทางผู้แทน ซึ่งเข้าร่วมประชุมคอนซิเลียมหรือจะส่งไปเป็นลายลักษณ์อักษรก็ได้
“ดังนี้พระฤทธานุภาพของพระเป็นเจ้า หาขอบเขตมิได้โดยแท้ แต่ก็ยังขึ้นกับพระปรีชาญาณและพระยุติธรรมของพระองค์ พระยุติธรรมนั้นก็หาขอบเขตมิได้ด้วยแต่ก็ยังขึ้นอยู่กับความรักของพระองค์ และความรักนั้นก็เช่นกันหาที่สิ้นสุดมิได้ แต่ก็ยังขึ้นกับศักดิ์สิทธิภาพเกินกว่าที่จะถ่ายทอดให้เข้าใจได้
ระหว่างพระคุณลักษณะหนึ่งกับพระคุณลักษณะอีกอย่างหนึ่งย่อมมีความเข้าใจกันดี จึงไม่เกิดการก้าวก่ายกัน เพราะแต่ละพระคุณลักษณะอันยอดเยี่ยมต่างอยู่ในขอบเขตของตนและดังนี้จึงอยู่ในภาวะไร้ขอบเขตเป็นนิจแห่งนิรันดร์ ต่างก็ปฏิบัติภารกิจของตนและหลอมรวมเป็นพระเจ้าหนึ่งเดียวตลอดกาลอย่างไม่มีวันจบสิ้น” (John Henry Newman : Order, the Witness and Instrument of Unity.)
บทที่ 29
ความภักดีของพลมารีย์
จุดหมายทั้งมวลขององค์กรใด ๆ คือการรวมความหลากหลายให้เป็นหนึ่งเดียวกัน นับแต่สมาชิกเรื่อยขึ้นไปจนถึงบรรดาเจ้าหน้าที่พลมารีย์ขั้นต่าง ๆ ต้องมีหลักการแห่งเอกภาพนี้ และยิ่งขาดหลักการนี้เท่าไร ก็ยิ่งห่างไกลจากศูนย์กลางแห่งชีวิตเท่านั้น ในองค์กรอาสาสมัครเช่นนี้ สิ่งที่เชื่อมเอกภาพให้แน่นแฟ้นคือ ความภักดี (ในที่นี้ได้แก่) ความภักดีของสมาชิก
หน้า 239 29 ความภักดีของพลมารีย์
ต่อเปรสิเดียม และต่อผู้ใหญ่ฝ่ายพระศาสนจักรทุกแห่ง
ความภักดีแท้ จะดลใจให้พลมารีย์และเปรสิเดียมและสภา ชิงชังการปฏิบัติงานชนิดไม่ยอมขึ้นแก่ใคร เกี่ยวกับปัญหาสงสัยทั้งมวล ในสถานะยุ่งยากทั้งหมด และเกี่ยวกับงานใหม่หรือการแปรรูปของกิจกรรมทุกอย่างจำต้องพึ่งคำแนะนำและอนุมัติจากผู้ใหญ่ที่ตนสังกัด
ผลแห่งความภักดีคือความนอบน้อมเชื่อฟัง และข้อพิสูจน์ให้เห็นการเชื่อฟัง คือพร้อมที่จะรับสถานการณ์และคำชี้ขาดที่ไม่ถูกใจตน และขอย้ำว่า ยอมน้อมรับอย่างชื่นบานด้วย การเชื่อฟังทันทีและจริงใจนี้เป็นของยากเสมอ บางครั้งถึงกับต้องตัดใจข่มความลำเอียงตามธรรมชาติของตนขนาดขั้นวีรกรรมทีเดียว ซึ่งที่จริงเป็นมรณสักขีอย่างหนึ่ง
นักบุญอิกญาชีโอ แห่ง โลโยลา ได้กล่าวในทำนองนี้ว่า “บรรดาผู้ที่ปลงใจถือการเชื่อฟังด้วยใจกว้าง ได้รับบุญกุศลใหญ่หลวง การเชื่อฟัง ว่ากันทางความเสียสละก็คล้ายการเป็นมรณสักขี” คณะพลมารีย์หวังจะเห็นสมาชิกทุกแห่ง มีจิตตารมณ์เชื่อฟังแบบวีรชนเช่นนี้ ต่อผู้ใหญ่ของตนทุกระดับ
คณะพลมารีย์เป็นกองทัพ กองทัพของพระนางพรหมจารีผู้ถ่อมองค์อย่างที่สุด ในการงานประจำวันของตน จึงต้องแสดงให้เห็นสิ่งที่แสดงออกในกองทัพฝ่ายโลก คือวีรกรรมและความเสียสละ แม้การเสียสละในขั้นสูงสุดและการเรียกร้องให้เสียสละในขั้นสูงสุดนี้ มีอยู่สำหรับสมาชิกพลมารีย์ตลอดเวลาด้วย
จริงอยู่ไม่สู้บ่อยนัก ที่เรียกร้องให้พลีร่างกายรับทรมานและความตายเหมือนทหารฝ่ายโลก แต่ขอให้เขาเหล่านั้น รู้จักยกใจให้สูงยิ่งขึ้นอีกในการเสียสละฝ่ายจิต ให้เขาพร้อมที่จะอุทิศความรู้สึก การตัดสินใจ ความอิสระ การถือตัว เจตจำนงของตน แม้ว่าจะรู้สึกปวดร้าวต่อความชัดแย้งกับตน
หน้า 240 29 ความภักดีของพลมารีย์
เพียงไร จนกระทั่งยอมอ่อนน้อมอย่างเต็มอกเต็มใจ ในเมื่อผู้ใหญ่ต้องการให้เป็นเช่นนั้น
เทนนิสัน กล่าวว่า “การไม่เชื่อฟังเป็นอันตรายร้ายแรง ในเมื่อการเชื่อฟังนั้นเป็นพันธะของกฎระเบียบ” เส้นชีวิตของคณะพลมารีย์จะขาดไป ไม่ใช่สาเหตุอื่นนอกจากขาดการเชื่อฟังอย่างจงใจ ผลลัพธ์อย่างเดียวกัน (คือเส้นชีวิตจะขาดไป) จะเกิดขึ้นหากเจ้าหน้าที่บกพร่องต่อหน้าที่การประชุมจากกระแสชีวิตสำคัญของหมู่คณะ อันตรายร้ายแรงเช่นเดียวกัน ยังเกิดขึ้นจากบรรดาเจ้าหน้าที่หรือสมาชิก ซึ่งเข้าประชุมก็จริงอยู่ แต่จะเนื่องจากเหตุใดก็ตาม ท่าทีของเขาสนับสนุนความแตกสามัคคีเสียมากกว่า
“พระเยซูเจ้าเสด็จกลับไปที่เมืองนาชาเร็ธกับบิดาและเชื่อฟังท่านทั้งสองคน พระมารดาทรงเก็บ เรื่องเหล่านี้ไว้ในพระทัย พระเยซูเจ้าทรงเจริญขึ้นทั้งในพระปรีชาญาณ พระชนมายุและพระหรรษทานเฉพาะพระพักตร์พระเจ้าและต่อหน้ามนุษย์ เรื่องราวทั้งสิ้นที่ผู้เขียนพระวรสารเล่าถึงพระชนมชีพเร้นลับของพระคริสตเจ้า ณ นาชาเร็ธ พร้อมกับพระนางมารีย์และนักบุญโยเชฟมีเพียงเท่านี้ว่า “พระองค์ทรงนอบน้อมต่อท่านทั้งหลาย” และ “เจริญในคุณวุฒิและวัยวุฒิ” (ลก 2:51-52)
มีอะไรขัดกันบ้างกับสภาวะพระเป็นเจ้าของพระองค์ในเรื่องนี้ไหม ไม่มีแน่ พระวจนาตถ์ได้ทรงรับเอากาย ทรงถ่อมพระองค์ลงจนกระทั่งทรงยอมรับธรรมชาติเหมือนกับชาวเรา เว้นแต่บาป พระองค์ตรัสว่า “บุตรแห่งมนุษย์มิได้มาเพื่อให้ผู้อื่นรับใช้ แต่มาเพื่อรับใช้ผู้อื่น” (มธ 20:28) เพื่อ “ทรงถ่อมพระองค์จนถึงกับยอมรับแม้ความตาย” (ฟป 2:38) ดังนั้นพระองค์จึงสมัครพระทัยเชื่อฟังพระมารดา
ที่นาชาเร็ธ พระองค์ทรงเชื่อฟังพระนางมารีย์และนักบุญโยเซฟ พระเป็นเจ้าทรงจัดให้ท่านทั้งสองมีบุญอยู่ใกล้ชิดพระองค์ พระนางมารีย์จึงมีส่วนระดับหนึ่งใน
หน้า 241 30 งานพิธีต่างๆ
พระอำนาจของพระบิดานิรันดร เหนือความเป็นมนุษย์ของพระบุตร พระเยซูเจ้าอาจตรัสถึงพระมารดาของพระองค์ เช่นเดียวกับที่ตรัสถึงพระบิดาเจ้าสวรรค์ว่า “เราทำตามที่พระองค์พอพระทัยเสมอ” (ยน 8:29)” (Columba Marmion : Christ, the Life of the Soul)
บทที่ 30
งานพิธีต่างๆ
แต่ละคูเรียมีหน้าที่เรียกสมาชิกพลมารีย์ในท้องที่หนึ่ง มารวมพร้อมกันเป็นครั้งคราว เพื่อให้รู้จักกันและส่งเสริมความสมัครสมานสามัคคี
งานพิธีของคณะพลมารีย์มีดังต่อไปนี้
1. อาชีแอส
เมื่อคำนึงถึงความสำคัญของความศรัทธาภักดีต่อพระนางมารีย์ในระบบพลมารีย์ จึงแต่ละปีจะต้องจัดให้สมาชิกมีการถวายตัวแก่พระแม่เจ้าพิธีถวายมีทั้งแต่ละคนและรวมพร้อมกัน กำหนดทำวันที่ 25 มีนาคม หรือในวันอื่นที่ใกล้เคียงกัน เรียกว่า “อาชีแอส” (Acies)
คำลาตินนี้ หมายถึง กองทัพเรียงรายเป็นขบวนรบ เหมาะกับพิธีซึ่งพลมารีย์ในฐานะที่เป็นคณะหนึ่งมาประชุมกัน เพื่อรื้อฟื้นความศรัทธาภักดีต่อพระนางมารีย์ พระรชินีแห่งคณะพลมารีย์ รับกำลังและพระพรจากพระนาง เพื่อต่อสู้กับพวกมารในปีต่อไป
ยิ่งกว่านั้น คำนี้ยังตรงกันข้ามกับคำ “เปรสิเดียม” ซึ่งพิจารณาคณะพลมารีย์ซึ่งไม่ได้รวมกันเป็นขบวนรบ แต่กระจัดกระจายกำลังเป็นหมวดหมู่ ต่างปฏิบัติหน้าที่ในอาณาบริเวณเฉพาะของตน
หน้า 242 30 งานพิธีต่างๆ
อาชีแอสเป็นพิธีสำคัญประจำปีของคณะของพลมารีย์ จึงต้องเน้นให้สมาชิกทุกคนเห็นความสำคัญในการเข้าร่วมพิธี เจตจำนงสำคัญของคณะซึ่งเป็นต้นกำเนิดของสิ่งอื่นทั้งหมด คือทำงานเป็นหนึ่งเดียวและขึ้นอยู่กับพระนางมารีย์ พระราชินีของตน
อาชีแอสนี้เป็นการแสดงอย่างสง่า ถึงความกลมเกลียวและความภักดีเป็นการรื้อฟื้น ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม ประกาศความจงรักภักดีของสมาชิก ฉะนั้นพลมารีย์ผู้ใดสามารถเข้าร่วมพิธีได้ แต่ละเว้นเสียย่อมเป็นที่ประจักษ์ชัดว่าผู้นั้นมีจิตตารมณ์ของคณะแต่น้อยหรือไม่มีเลย สมาชิกภาพของบุคคลเช่นนี้ไม่เป็นประโยชน์แก่คณะ
ต่อไปนี้เป็นคำแนะนำเกี่ยวกับพิธีการ
ในวันที่กำหนดกระทำพิธี สมาชิกพลมารีย์จะประชุมพร้อมกันในวัด หากทำได้ ให้ตั้งรูปแม่พระปฏิสนธินิรมล ณ ที่สมควร ประดับด้วยดอกไม้และเทียนอย่างเหมาะสม เบื้องหน้าพระรูปให้ตั้งแว็กซิลลุมจำลองขนาดใหญ่ดังบรรยายแล้วในบทที่ 27
เริ่มพิธีด้วยเพลง (สรรเสริญแม่พระ) บทหนึ่ง แล้วสวดบทเปิดประชุมของพลมารีย์รวมทั้งลูกประคำ ต่อจากนั้น พระสงฆ์องค์หนึ่งปราศรัยเรื่องความหมายของการถวายตัวแด่พระมารดา แล้วเริ่มการแห่ไปยังพระรูปจิตตาธิการต่าง ๆ ออกเดินก่อนเป็นแถวเดี่ยว ถัดไปเป็นพลมารีย์ แถวเดี่ยวเช่นกัน เว้นแต่มีสมาชิกมากจะเดินแถวคู่ก็ได้ เมื่อถึงแว็กชิลลุมแล้ว แต่ละคน (หรือทีละคู่) หยุด มือแตะด้าม แว็กชิลลุม เปล่งวาจาเป็นคำถวายตัวของแต่ละคนว่า
“ข้าแต่พระราชินีและพระมารดาของลูก ลูกเป็นของพระแม่ทั้งสิ้นและสรรพสิ่งที่เป็นกรรมสิทธิ์ของลูกก็เป็นของพระแม่ด้วย”
หน้า 243 30 งานพิธีต่างๆ
แล้วพลมารีย์ปล่อยมือจากแว็กชิลลุม คำนับและกลับไป
ถ้ามีสมาชิกจำนวนมาก การถวายตัวส่วนบุคคลนี้อาจกินเวลาบ้าง แต่ความสง่างามของพิธีนี้ ยิ่งจะซาบซึ้ง ในจิตใจของสมาชิกยิ่งขึ้น จะให้ดีระหว่างที่สมาชิกเดินไปยังพระรูปและเดินกลับ ควรบรรเลงออร์แกนประกอบ
เป็นการไม่ถูกต้องที่จะใช้แว็กซิลลุมเกินกว่า 1 อัน ถึงแม้จะเป็นการรวบรัดให้พิธีเร็วขึ้น แต่เป็นการทำลายเอกภาพของพิธี ยิ่งกว่านั้นการรีบเร่งให้เสร็จพิธีไม่เหมาะสมกับงานนี้เลย เนื่องด้วยลักษณะเฉพาะของพิธีอาชีแอสนั้น คือความเป็นระเบียบและสง่าสมเกียรติ
เมื่อพลมารีย์ทั้งหมดกลับที่แล้ว พระสงฆ์ประกาศ ถวายตัวแด่พระมารดาในนามของทุกคนที่เข้าพิธี ครั้นแล้วทุกคนยืนสวดกาเตนา แล้วถึงพิธีรับพรศีลมหาสนิท ถ้าทำได้ หลังจากนั้นสวดบทปิดประชุมของคณะร้องเพลงบทหนึ่ง เป็นอันเสร็จพิธีอาชีแอส
แน่นอน น่าจะรวมพิธีมิสซาเข้าในพิธีอาชีแอสด้วย คือมีมิสชาแทนการอวยพรศีลมหาสนิท ส่วนรายละเอียดอื่น ๆ ในพิธีเป็นไปตามเดิม มิสซาจะให้ความหมาย และความครบถ้วนแก่พิธีอาชีแอส
การฉลองรหัสธรรมปัสกา (คือมิสซา) จะสำเร็จ และถวายแด่ พระบิดานิรันดร โดยผ่านทาง “คนกลางแต่ผู้เดียว” และในพระจิตเจ้าซึ่งการถวายและของถวายฝ่ายจิตทั้งมวล ที่เพิ่งจะวางไว้ในหัตถ์ของพระมารดา “ผู้ร่วมมือกับพระเป็นเจ้าด้วยใจกว้างขวาง และผู้รับใช้ซึ่งถ่อมตนของพระองค์” (ธรรมนูญพระศาสนจักร ข้อ 61)
คำกล่าวถวายตัวข้างบนนี้ที่ว่า “ลูกเป็นของพระแม่ทั้งสิ้น… ” นั้นไม่ควรกล่าวลอย ๆ หรือโดยไม่ได้คิดอะไรเลย ทุกคนพึงกล่าวด้วยความเข้าใจซาบซึ้ง และสำนึกพระคุณอย่างเต็มเปี่ยม เพื่อช่วยให้เกิดสำนึกเช่นนี้
หน้า 244 30 งานพิธีต่างๆ
ก็ควรศึกษา “บทสรุปสดุดีพระนางมารีย์” ในภาคผนวก 11 เรื่องนี้พยายามให้เราเห็นบทบาทเด่นชัดของพระนางมารีย์ในงานไถ่กู้ให้รอดพ้น และจะแสดงว่าเราแต่ละคนเป็นหนี้พระแม่สักเพียงไร
บางทีบทสรุปสดุดีพระนางมารีย์นี้ อาจนำมาเป็นบทอ่านบำรุงศรัทธาและให้โอวาทในการประชุมเปรสิเดียมล่วงหน้าสักเล็กน้อย ก่อนหน้าพิธีอาชีแอส ยังมีผู้เสนอแนะให้ใช้บทนี้ในพิธีถวายตัวพร้อมกัน เพราะมีพระสงม์หลายองค์เขียนถึงคอนชิเลียม ขอให้จัดบทภาวนาสำหรับถวายตัวพร้อมกัน
“พระนางมารีย์เป็นที่เกรงขามของบรรดาอำนาจนรก พระนาง “น่าเกรงขามดุจกองทัพที่เรียงรายเป็นขบวนรบ” (พชม 6:10) เหตุว่าพระนางเปรียบเหมือนผู้บัญชากองทัพที่หลักแหลม ย่อมรู้จักใช้อำนาจ ความกรุณา และคำวิงวอน เพื่อทำลายศัตรูและเพื่อประโยชน์แก่ข้าบริการของพระนาง” (นักบุญอัลฟอนโช ลิโกวรี)
2. งานประชุมใหญ่ประจำปี
กำหนดในวันที่ใกล้ที่สุดกับวันสมโภชพระนางมารีย์ผู้ปฏิสนธินิรมลตามแต่จะได้ ให้เป็นวันชุมนุมใหญ่ของสมาชิกทั้งหมด (The Annual General Reunion) หากต้องการ อาจจะเริ่มพิธีในวัด มีสวดสายประคำและบทภาวนาอื่น ๆ ของพลมารีย์ บทเพลง บทเทศน์เฉพาะ และพิธีอวยพรศีลมหาสนิท
ต่อจากนั้นเป็นงานรื่นเริง หากยังไม่ได้สวดบทภาวนาของพลมารีย์ในวัด ก็ให้สวดทั้งหมดในเวลานี้ โดยแบ่งเป็น 3 ตอนเหมือนเวลาประชุม
รายการของงานนี้ควรให้มีขอบเขตเป็นงานที่จัดทำขึ้นโดยสมาชิกพลมารีย์ด้วยกัน นอกจากการแสดงเบ็ดเตล็ด ควรให้มีคำปราศรัย หรืออ่านบทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับคณะด้วย
หน้า 245 30 งานพิธีต่างๆ
เห็นไม่จำเป็นต้องเตือนพลมารีย์ว่าในงานนเริงนี้ต้องไม่มีพิธีรีตอง (คือต้องเป็นกันเองจริงๆ โดยเฉพาะเมื่อสมาชิกชุมนุมกันอยู่มาก ๆ ควรระวังเรื่องนี้เป็นพิเศษ ข้อใหญ่ใจความคือให้ผู้มาในงานทั้งหมดรู้จักกันและกันดียิ่งขึ้น
ฉะนั้นในรายการควรจัดให้มีโอกาสได้เคลื่อนไหว ปะปน สนทนากัน ผู้จัดงานควรพยายามอย่าให้สมาชิกจับกลุ่มเป็นพวก ๆ ทำให้เสียเจตนารมณ์ของงานสำคัญนี้ ที่มุ่งมั่นให้สมาชิกเกิดสมัครสมานสามัคคี และรักกันสมเป็นครอบครัวพลมารีย์ด้วยกัน
“ความเบิกบานร่าเริง ทำให้ความเป็นอัศวินฝ่ายวิญญาณของนักบุญฟรันชิสมีเสน่ห์ชวนให้ทุกคนชอบ ในฐานะอัศวินแท้จริงของพระคริสตเจ้า ฟรันชิสมีความสุขสุดที่จะบรรยายในการได้รับใช้พระองค์ ได้ยากจนข้นแค้น และลำบากเหมือนพระองค์และความปีติยินดีในการรับใช้ ในการเลียนแบบและรับทรมานเช่นเดียวกับพระคริสตเจ้านี้ท่านได้ร้องสดุดีเป็นกาพย์กลอนให้ชาวโลกทราบโดยทั่วกัน สิ่งที่ดีเด่นตลอดชีวิตของฟรันชิสก็คือความร่าเริงนี้ ท่านครวญเพลงแห่งความร่เริงเพื่อตนเองและถวายแด่พระเป็นเจ้าภายในใจของท่าน ด้วยความสงบราบคาบและเบิกบานในดวงจิต
ท่านพยายามรักษาอารมณ์ให้ร่าเริงอยู่เสมอไม่ขาดทั้งภายนอกและภายในเมื่ออยู่อย่างกันเองกับบรรดาภราดา ท่านก็รู้จักร่าเริงอย่างบริสุทธิ์เช่นเดียวกัน และทำให้สนุกสนานเต็มที่ จนกระทั่งภราดาเหล่านั้นรู้สึกราวกับอยู่ในบรรยากาศสวรรค์ที่เดียว
การชอบสนุกอย่างนี้ยังปรากฏในการสนทนากับผู้อื่นด้วย คำเทศน์ของท่านเองก็เช่นเดียวกัน ทั้งๆ ที่เต็มไปด้วยเรื่องใช้โทษบาป แต่ก็กลายเป็นเพลงแห่งความปรีดาปราโมทย์ไปได้ และเพียงแต่ท่านปรากฏตัวขึ้นที่ไหน คนทุกชั้นวรรณะต่างก็เบิกบานกันเต็มที่ ณ ที่นั่น” (Felder : The Ideals of St. Francis of Assisi)
หน้า 246 30 งานพิธีต่างๆ
3. งานนอกสถานที่
งานนี้มีมาแต่สมัยแรก ๆ ของคณะพลมารีย์ งานนี้เพียงแต่แนะนำว่าควรจัดทำ แต่ไม่บังคับ อาจจัดเป็นรูปทัศนาจร จาริกแสวงบุญ หรืองานชุมนุมนอกสถานที่อย่างอื่นก็ได้ จะจัดรวมทั้งคูเรีย หรือเป็นเปรสิเดียม ก็แล้วแต่คูเรียจะกำหนด ในกรณีหลังนี้ สองเปรสิเดียมหรือมากกว่าจะจัดรวมกันก็ได้
4. งานฉลองเปรสิเดียม
ขอแนะนำให้แต่ละเปรสิเดียมจัดงานรื่นเริงให้จงได้ในวันใกล้เคียงวันฉลองแม่พระบังเกิด ตามศูนย์ที่มีหลายเปรสิเดียม หากจะรวมกันจัดงานก็ทำได้
บุคคลที่เหมาะสม แม้ไม่ใช่สมาชิกพลมารีย์ก็อาจเชิญมาในงานได้โดยมุ่งหมายเชิญชวนให้เป็นสมาชิกต่อไป
ขอแนะนำให้สวดบทภาวนาของพลมารีย์ทั้งหมด (รวมทั้งลูกประคำ) โดยแบ่งเป็น 3 ส่วนอย่างเวลาประชุมเปรสิเดียม จะกินเวลาของงานรื่นเริงนั้นไม่กี่นาที แต่บรรณาการแด่พระแม่เจ้านี้ จะทำให้งานนั้นสำเร็จผลเพิ่มพูนเกินค่า พระราชินีของพลมารีย์เป็น “เหตุแห่งความยินดีของชาวเรา” และพระนางจะโปรดให้งานนั้นเป็นความสุขพิเศษของเรา
ระหว่างรายการดนตรี ควรแทรกคำปราศรัยสั้น ๆ เกี่ยวกับคณะพลมารีย์อย่างน้อยสักบทหนึ่ง นอกจากทุกคนจะได้เรียนรู้เรื่องคณะมากขึ้นแล้ว ยังช่วยทำให้รายการหลากหลายขึ้น ความสนุกล้วน ๆ มักพาให้จืดชืด
5. งานคอนเกรส
งานคอนเกรสครั้งแรกของพลมารีย์ จัดขึ้นโดยคูเรียแคลร์ (The Clare Curia) ในไอร์แลนด์ เมื่อวันอาทิตย์ปัสกา 1939 ความสำเร็จเป็น
หน้า 247 30 งานพิธีต่างๆ
ผลดีเสมอนั้น นำให้มีผู้ทำตาม และบัดนี้งานพิธีนั้นก็ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบพลมารีย์อย่างแน่นแฟ้น
คอนเกรสควรจำกัดในคูเรียหรือคอมิเซียม หากการชุมนุมขยายวงกว้างกว่านี้ จะออกนอกเจตนารมณ์ดั้งเดิมของคอนเกรส และจะไม่ได้ผลดังตั้งใจไว้ ฉะนั้นไม่ควรใช้คำคอนเกรสไปปะปนกับงานชุมนุมที่อื่นๆ ถ้าหากมี และไม่ควรถือเอางานชุมนุมเหล่านั้นแทนงานคอนเกรส ส่วนผู้เยี่ยมจากเขตอื่น อาจรับเชิญมาร่วมคอนเกรสก็ได้
คอนซิเลียมได้ตรากฎไว้ว่า บริเวณหนึ่ง ๆ ไม่ควรจัดให้มีคอนเกรสเกินกว่าสองปีต่อครั้ง ควรอุทิศเวลาตลอดวันเพื่องานนี้ ถ้าได้อาศัยสถานที่ของนักบวชจะช่วยแก้ปัญหาได้เป็นอันมาก ถ้าทำได้ควรเริ่มด้วยพิธีบูชาขอบพระคุณแล้วจิตตาธิการหรือพระสงฆ์อื่นกล่าวปราศรัยสั้น ๆ และลงท้ายด้วยการรับพรศีลมหาสนิท
วันนั้นควรแบ่งเป็นการประชุมหลายวาระ แต่ละวาระมีหนึ่งญัตติหรือมากกว่าหนึ่ง ทุกญัตติเริ่มด้วยการแถลงข้อมูลประกอบสั้น ๆ จากบุคคลคนหนึ่งที่ได้เตรียมมาล่วงหน้าอย่างดี แล้วทุกคนควรมีส่วนอภิปราย การแบ่งปันความคิดของทุกคนเป็นหัวใจของงานคอนเกรส
อนึ่งขอกำชับว่า เจ้าหน้าที่ควบคุมการประชุมไม่ควรพูดมากหรือคอยแทรกแชงการอภิปราย คอนเกรสก็เหมือนกับการประชุมสภา คือต้องดำเนินไปตามวิธีการของรัฐสภา คือให้ทุก ๆ คนมีส่วนอภิปรายในการประชุมและมีประธานรักษาระเบียบ ประธานบางคนชอบเสริมท้ายคำกล่าวของผู้พูดทุกคน อันเป็นความคิดตรงข้ามกับความคิดของคอนเกรส พึงระวังอย่าปล่อยให้มีขึ้นได้
ผู้แทนบางคนในสภาปกครองสูงขึ้นไปควรมาร่วมด้วย เขาสามารถ
หน้า 248 30 งานพิธีต่างๆ
ทำหน้าที่เป็นพิเศษบางอย่าง เช่น เป็นประธาน หรือผู้กล่าวเปีดอภิปราย ฯลฯ
ควรหลีกเลี่ยงการใช้สำนวนโวหารอันเลอเลิศในการพูดอภิปรายเพราะจะทำให้เกิดความรู้สึกว่าไม่ตรงกับความเป็นจริง นั่นไม่ใช่วิสัยของพลมารีย์ ในบรรยากาศเช่นนั้นจะทำให้ไม่มีใครสามารถออกความคิดเห็นทั้งจะไม่ช่วยแก้ปัญหาใด ๆ ด้วย
บางครั้งสมาชิกพลมารีย์ทั้งหมดเข้าร่วมงานคอนเกรส บางครั้งก็เฉพาะเจ้าหน้าที่เปรสิเดียมต่าง ๆ สำหรับกรณีแรกในการประชุมวาระแรกให้แบ่งสมาชิกออกเป็นกลุ่มตามหน้าที่ต่าง ๆ ของสมาชิก ส่วนสมาชิกอื่น นอกนั้นให้รวมเป็นกลุ่มเดียวกัน แล้วจึงพิจารณาหน้าที่พิเศษและความต้องการของแต่ละกลุ่ม หรืออีกวิธีหนึ่งอาจแบ่งกลุ่มสมาชิกตามงานที่พวกเขากำลังทำอยู่ก็ได้
การแบ่งเช่นนี้ไม่บังคับ และในกรณีใดก็ตามในวาระต่อไปไม่ควรแบ่งซอยกว่านี้อีก จะเป็นการไม่เหมาะ หากเราเชิญสมาชิกให้มารวมกันแล้วและกลับแยกเขาเป็นเวลาส่วนใหญ่ พึงสังเกตด้วยว่าหน้าที่ของพวกเจ้าหน้าที่มีวงกว้างกว่างานประจำเฉพาะหน้าที่แต่ละคน เช่นเลขานุการหากมีหน้าที่อย่างมากแค่สมุดรายงานการประชุม ก็นับว่าเป็นเจ้าหน้าที่ที่บกพร่อง เนื่องจากเจ้าหน้าที่ทั้งหมดเป็นสมาชิกคูเรีย ในวาระประชุมคอนเกรสจึงต้องช่วยกันสืบค้นหาวิธีทำงานของคูเรียให้บรรลุผลสมบูรณ์ ทั้งที่เกี่ยวกับการประชุมของตนและงานบริหารทั่วไปด้วย
คอนเกรสต้องไม่เป็นเพียงการประชุมคูเรียอย่างเดียว แต่ควรครุ่นคิดในรายละเอียดทางการปกครองแบบเดียวกัน และการซักไซ้ต่างๆ เกี่ยวกับสิ่งที่กระทำกันในการประชุมคูเรีย ควรเป็นการศึกษาให้ถึงสาเหตุของปัญหา แน่นอนทีเดียว ทุกข้อที่ศึกษาที่คอนเกรส ควรนำออกบังคับใช้โดยคูเรีย
หน้า 249 30 งานพิธีต่างๆ
เรื่องที่นำมาปรึกษาควรเกี่ยวกับหลักสำคัญของคณะอย่างกว้างๆ คือ
(ก) เรื่องระบบความศรัทธาของพลมารีย์ สมาชิกจะไม่เข้าใจซาบซึ้ง ถึงคณะ นอกจากจะซึมซับถึงระบบความศรัทธาของคณะซึ่งมีแง่พิจารณาได้มากมาย และไม่มีใครปฏิบัติงานพลมารีย์โดยเหมาะสมได้ นอกจากความศรัทธานั้นผูกแน่นแฟ้นกับงาน จนกลายเป็นแรงกระตุ้นและเป็นจิตตารมณ์ของงานนั้น กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ความศรัทธานั้นต้องเป็นสิ่งบันดาลชีวิตให้แก่งาน เช่นเดียวกับวิญญาณให้ชีวิตแก่ร่างกาย
(ข) เรื่องคุณสมบัติของสมาชิกพลมารีย์ และทำอย่างไรจะพัฒนาให้คุณสมบัตินั้นเจริญได้
(ค) เรื่องระบบ อันเป็นระเบียบของคณะพลมารีย์ รวมทั้งการควบคุมการประชุมและการรายงานของสมาชิก อันเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง เช่น วิธีรายงานและออกความเห็นเกี่ยวกับงานนั้น
(ง) เรื่องงานต่าง ๆ ของพลมารีย์ รวมทั้งการปรับปรุงวิธีทำงานและการวางแผนของงานใหม่ ซึ่งจะทำให้พลมารีย์สามารถเข้าถึงทุกคนได้
ในรายงานการประชุมคอนเกรส ควรให้มี ปาฐกถาพิเศษ โดยจิตตาธิการหรือพลมารีย์ผู้ทรงคุณวุฒิ พูดถึงทรรศนะบางประการของความศรัทธาของคณะ อุดมการณ์หรือหน้าที่ของพลมารีย์
แต่วาระการประชุม ควรเริ่มและปิดด้วยการภาวนา บทภาวนาของคณะให้แบ่งใช้ได้ 3 วาระของงานพิธีนี้
จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตรงต่อวาระประชุมและเอาใจใส่บริการผู้มาชุมนุม ความผิดพลาดในเรื่องนี้จะทำให้งานนั้นเสียไปหมด
ถ้ามีคอนเกรส สองคราวสืบเนื่องกันในอาณาบริเวณเดียวกัน ต้องระวังให้รายการแตกต่างกันไว้ ทั้งนี้เนื่องด้วยเหตุผลสามประการคือ
หน้า 250 30 งานพิธีต่างๆ
ข้อแรก เรื่องที่ปรึกษาในคอนเกรสแต่ละครั้งมีจำนวนจำกัด แต่ว่าในไม่กี่ปีต่อมา เรื่องหลายเรื่องจำต้องได้รับการพิจารณาใหม่โดยสิ้นเชิง
ข้อสอง จะต้องไม่ยอมให้เกิดความรู้สึกหยุดนิ่ง ฉะนั้นไม่อะไรก็อะไรต้องเปลี่ยนให้จงได้
ข้อสาม ผลสำเร็จของคอนเกรสครั้งใดครั้งหนึ่งอาจจะเป็นข้อแนะให้ยึดรายการเดียวกันนั้นอีกในโอกาสหน้า แต่ควรจำไว้ว่า ส่วนหนึ่งขอผลสำเร็จนั้นอยู่ที่มีของใหม่แทรกอยู่ด้วย และของใหม่นั้นก็จืดชืดเสียแล้วตั้งแต่งานประชุมครั้งก่อนนั้น หากของใหม่เป็นเครื่องกระตุ้นให้ก้าวหน้าในงานคอนเกรสใหม่แต่ละคราวจำต้องใช้ปฏิภาณเตรียมวางแผนให้แนบเนียน
“ถ้าอยากรู้ว่าจะทำอย่างไรดี ในการเตรียมวิญญาณอันชื่อสัตย์ให้เหมาะสำหรับรับเสด็จพระจิตเจ้า ก็จงหวนระลึกถึงห้องประชุมซึ่งบรรดาสาวกได้มาประชุมกัน ที่นั่นตามรับสั่งของพระอาจารย์เจ้า เขาพากเพียรภาวนา คอยรับฤทธิ์อำนาจจากเบื้องบนที่จะลงมาเหนือเขา และคล้ายกับสวมเสื้อเกราะแก่เขาเพื่อยุทธนาการที่รอเขาอยู่ข้างหน้า
ในที่พำนักรำพึงภาวนาและสงบสุขนั้น เรายังจะพบพระนางมารีย์ พระมารดาของพระเยซูเจ้า ผู้เป็นฝีพระหัตถ์ชิ้นเยี่ยมของพระจิตเจ้า และตำหนักของพระเป็นเจ้าทรงชีวิต จากพระนางนั้น พระศาสนจักรผู้สู้รบก็ได้บังเกิดเหมือนจากครรภ์มารดา ทั้งนี้ด้วยเดชะพระจิตเจ้าองค์เดียวกัน มีนางเอวาคนใหม่ผู้นี้เป็นตัวแทน และยังทรงอุ้มคุ้มครองอยู่เรื่อยไป” (Gueranger : The Liturgical Year)
หน้า 251 31 การขยายคณะและหาสมาชิกใหม่
บทที่ 31
การขยายคณะและหาสมาชิกใหม่
1. ถ้าจะมีหน้าที่อย่างหนึ่งในคณะพลมารีย์ ซึ่งมีผู้ไม่เข้าใจ จนนำมาปฏิบัติให้ครบถ้วน ก็เห็นจะได้แก่ หน้าที่ขยายคณะพลมารีย์ ที่จริงพลมารีย์แต่ละคนและแต่ละเปรสิเดียมก็ได้หาสมาชิกใหม่อยู่แล้ว แต่การพยายามเปิดเปรสิเดียมขึ้นใหม่มีไม่บ่อยนัก คูเรียก็สนใจแต่เรื่องราวในอาณาบริเวณของตน ความกระตือรือร้นที่จะขยายคณะจึงหายาก ต่างเกี่ยงคอยให้สภาสูงขึ้นไปคิดอ่านวิ่งเต้น ข้ามทวีปหรือมหาสมุทรเอาเอง แต่ส่วนตนเองเฉื่อยชาที่จะข้ามเขตวัดหรือสังฆมณฑล เพื่อพยายามนำพลมารียไปตั้งในเขตใหม่
แน่นอนหน้าที่ของพลมารีย์ในเรื่องนี้ ยังมีการเข้าใจผิดกันอยู่ จึงขอชี้แจงหน้าที่นี้ให้เด็ดขาดว่า หน้าที่ขยายคณะไม่ใช่เป็นของสภาสูงแต่ลำพังทั้งไม่ใช่หน้าที่ของเจ้าหน้าที่คูเรียเท่านั้น เป็นหน้าที่ของสมาชิกคูเรียทุกคนไม่ใช่แต่เท่านั้นยังเป็นหน้าที่ของพลมารีย์แต่ละคน ให้ทุกคนตระหนักถึงความจริงนี้
และต้องคอยสอบถามถึงการปฏิบัติของเขาเป็นครั้งคราว การส่งอิทธิพลถึงผู้อื่นด้วยการติดต่อสนทนาหรือทางจดหมาย ย่อมเป็นวิธีแน่นอนอย่างหนึ่งในการปฏิบัติหน้าที่นี้ แต่คนหนึ่ง ๆ ย่อมมีวิธีเฉพาะของตนเป็นคนๆ ไป
พลังผลักดันคณะพลมารีย์ให้แพไปทั่วโลก ไม่ใช่เกิดจากหลายแห่งมากมาย มีน้อยมากอย่างไม่น่าเชื่อทีเดียว หากหลาย ๆ ศูนย์กลางช่วยกันส่งพลังผลักดันเช่นนี้ ในไม่ช้าพลมารีย์คงตั้งอยู่ทุกหนทุกแห่ง และทุ่งนาข้าวของพระเป็นเจ้าคงแน่นไปด้วยคนงานที่สมัครใจมาทำ (ลก 10:2) ฉะนั้น
หน้า 252 31 การขยายคณะและหาสมาชิกใหม่
ควรเตือนสมาชิกให้สนใจถึงความสำคัญ เรื่องขยายคณะและหาสมาชิกนี้บ่อย ๆเพื่อแต่ละคนจะเกิดสำนึกแจ่มแจ้งในหน้าที่เกี่ยวกับสองเรื่องนี้
2. สาขาพลมารีย์ที่มีประสิทธิภาพ จะเป็นแหล่งผลิตความดีสุดคุณนา ก็เมื่อเราทราบแล้วว่า ความดีนี้จะทวีเป็นสองเท่า หากตั้งสาขาที่ 2 ขึ้น สมาชิกทุกคน (และไม่ใช่แต่เจ้าหน้าที่เท่านั้น) จึงควรพยายามช่วยให้สิ่งดีอันพึงปรารถนานี้เกิดขึ้น
ทันทีที่พบว่าการรายงานของสมาชิก และรายการอื่นของระเบียบวาระต้องถูกตัดออกเสมอ เพื่อสามารถปิดประชุมให้ทันเวลากำหนด นี่แสดงว่าการแยกเปรสิเดียมไม่ใช่สิ่งพึงปรารถนาเท่านั้น แต่เป็นสิ่งจำเป็น หากไม่แยกจะเกิดงานคั่งค้าง ทำให้ความสนใจในงานลดน้อยลง และสมาชิกภาพจะร่วงโรยด้วย เปรสิเดียมนั้นไม่ใช่แต่จะสูญเสียพลังอำนาจถ่ายทอดชีวิตไปสู่สาขาอื่นเท่านั้น แต่ตนเองจะคงอยู่ก็ยังยาก
เกี่ยวกับข้อเสนอให้ตั้งเปรสิเดียมขึ้นใหม่ในท้องที่หนึ่ง อาจมีผู้แย้งว่าสมาชิกปัจจุบันก็สามารถทำงานได้เพียงพอกับความต้องการในปัจจุบันแล้ว เรื่องนี้ขอเน้นว่า เนื่องจากจุดประสงค์สำคัญที่สุดของคณะคือการทำให้สมาชิกศักดิ์สิทธิ์ และอาศัยความศักดิ์สิทธิ์นั้นจะช่วยให้ประชาชนส่วนใหญ่ศักดิ์สิทธิ์ด้วย จึงเพียงลำพังเหตุผลประการนี้ จุดหมายประการแรกของคณะ ยังต้องเป็นการพยายามให้จำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้นด้วย
อาจจะเป็นได้ การหางานให้สมาชิกใหม่อาจจะเกิดเป็นปัญหาในพื้นที่ที่ไม่กว้างขวางนัก กระนั้นก็ดี ขอให้รับสมาชิกใหม่และพยายามแสวงหา คณะต้องไม่คิดถึงข้อจำกัดในการงานชองตน มิฉะนั้นจะไม่มีโอกาสได้สมาชิกที่ดีกว่าพวกที่มีอยู่แล้ว เมื่อเห็นว่าเขาทำงานเพียงพอแก่ความต้องการในปัจจุบันแล้วพึงมองให้ไกลกว่านั้นอีก งานเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้เครื่องจักร
หน้า 253 31 การขยายคณะและหาสมาชิกใหม่
เดินได้ จึงต้องหางานให้พบ และก็มีอยู่แล้ว
ในที่ซึ่งมีคณะตั้งอยู่แล้ว ควรจะพยายามจัดหาเจ้าหน้าที่และสมาชิกใหม่ส่วนหนึ่ง (ให้แก่เปรสิเดียมใหม่) โดยนำมาจากเปรสิเดียมที่มีอยู่แล้ว เปรสิเดียมทั้งหลายควรถือเป็นเกียรติอย่างมาก ที่ได้ยอมสละบุคคลที่ดีที่สุดของตน เพื่อจัดตั้งเปรสิเดียมใหม่ขึ้น นี่เป็นวิธีลิดกิ่งไม้อย่างเหมาะสมที่สุดเพื่อให้ต้นไม้เกิดดอกออกผลดียิ่งขึ้น
ตามเมืองหรือถิ่นที่ยังไม่มีสาขาพลมารีย์ตั้งอยู่ อาจจะไม่สามารถหาสมาชิกที่ชำนาญงานพลมารีย์ ในกรณีเช่นนี้ ผู้ตั้งเปรสิเดียมใหม่เหล่านั้นยิ่งจำเป็นต้องพยายามหมั่นศึกษาหนังสือคู่มือ และหาความรู้จากคำอธิบายคู่มือเท่าที่หาได้
เมื่อตั้งเปรสิเดียมแรกในที่ใหม่แห่งใดแห่งหนึ่ง ควรจัดให้ปฏิบัติงานแตกต่างกันให้หลายชนิดที่สุดเท่าที่จะทำได้ วิธีนี้จะทำให้เกิดความสนใจในที่ประชุมได้อย่างแน่นอน และกิจการของเปรสิเดียมก็จะเจริญก้าวหน้าไปเสมอ ยิ่งกว่านั้นยังเป็นการเหมาะกับรสนิยม และความสามารถอันแตกต่างกันของสมาชิกนั้นด้วย
3. จำเป็นจะต้องเตือนให้ระวัง เกี่ยวกับการหาสมาชิกใหม่ ไม่ควรเคร่งครัดเกินไปในการพิจารณาคุณลักษณะของเขา แน่นอน ผู้เป็นสมาชิกมาก่อนเป็นเวลานานพอสมควรแล้วย่อมมีคุณลักษณะสูงกว่ามาตรฐานธรรมดาทั่วไป จำต้องได้รับการใคร่ครวญในการพิจารณาผู้สมัครใหม่ การที่จะเรียกร้องให้ผู้สมัครใหม่มีคุณลักษณะเดียวกับผู้ที่เป็นสมาชิกมาเป็นเวลานาน ย่อมเป็นการไม่ถูกต้อง
เมื่อเปรสิเดียมหาสมาชิกใหม่ได้น้อย โดยมากมักแก้ตัวว่า หาบุคคลที่เหมาะสมไม่ได้ แต่เมื่อพิจารณาสิ่งแวดล้อมทั่วไปให้ดีแล้ว น้อยครั้งนักที่
หน้า 254 31 การขยายคณะและหาสมาชิกใหม่
คำอ้างเช่นนี้พอจะรับฟังได้ อาจจะเป็นได้ว่าความผิดนั้นอยู่ที่เปรสิเดียมเองมากกว่า หรือว่า
(ก) ตนไม่ได้พยายามอย่างจริงจังที่จะหาสมาชิกใหม่ ซึ่งหมายความว่าทั้งพลมารีย์ แต่ละบุคคล หรือทั้งส่วนรวมได้ละเลยหน้าที่ของตน หรือ
(ข) เปรสิเดียมกำลังทำผิด โดยทดลองผู้สมัครเป็นสมาชิกด้วยวิธีเคร่งครัดเกินไป ชนิดที่สมาชิกดั้งเดิมและปัจจุบันส่วนมากก็ไม่อาจทนได้
ผู้ที่รับผิดชอบในเรื่องนี้แย้งว่า ตนไม่ต้องการเสี่ยงรับบุคคลที่ไม่ควรรับเข้าเป็นสมาชิก แต่เพราะเหตุนี้จะทำให้เขาต้องปฏิเสธไม่ยอมให้ทุกคนได้รับผลประโยชน์แห่งการเป็นสมาชิก โดยกันไว้ให้เพียงไม่กี่คน หรือหากจะต้องเลือกระหว่างการเคร่งครัดเกินไปและการลดหย่อนเกินไป เคร่งครัดเกินไปผิดมากกว่า เพราะเท่ากับการทำลายงานแพร่ธรรมที่ต้องการคนงานมาก การเลือกการลดหย่อนนั้นจะเป็นแต่เพียงทำให้เกิดการผิดพลาดขึ้นเท่านั้น แต่สิ่งเหล่านี้พอจะแก้ไขกันได้
เปรสิเดียมจะเดินสายกลาง แต่ก็ต้องเสี่ยงอะไรอยู่บ้าง วิธีเดียวที่จะทำให้รู้แน่ว่าบุคคลผู้นั้นสมควรหรือไม่ ก็คือลงมือทดลองนั่นเอง วิธีป้องกันที่ดีแท้ก็คือบุคคลที่ไม่สมควรนั้น หากสมัครเข้าเป็นสมาชิกจริงๆ ไม่ช้าจะต้องออกเอง เพราะทนปฏิบัติงานไม่ได้
ใครบ้างเคยได้ยินว่า ได้มีการงดไม่จัดตั้งกองทัพขึ้น เพราะกลัวว่าจะมีบุคคลไม่สมควรสมัครเข้าด้วย กองทัพตั้งอยู่ก็เพื่อฝึกหัดและปกครองบรรดาผู้ที่มีความสามารถปานกลาง ซึ่งรวมกันอยู่เป็นจำนวนมาก คณะพลมารีย์ก็เช่นเดียวกัน ในฐานะที่เป็นกองทัพ จำต้องมุ่งให้ได้สมาชิกจำนวนมากพอดู จริงอยู่คณะมีการทดลองก่อนที่จะรับใครเข้าเป็นสมาชิก แต่การทดลองนี้ไม่ควรเป็นชนิดที่คนดีปานกลางจะผ่านไม่ได้ ระบบฝ่ายวิญญาณ
หน้า 255 31 การขยายคณะและหาสมาชิกใหม่
อันประสานกันอย่างแน่นแฟ้นของพลมารีย์นั้น มีไว้เพื่ออบรมและปกครองบุคคลธรรมดาที่ต้องการฝึกหัดและควบคุม ไม่ได้มีไว้สำหรับผู้ที่วิเศษกว่ามนุษย์ธรรมดา จึงไม่ควรคิดที่จะรับเฉพาะผู้ที่ศักดิ์สิทธิ์รอบคอบในขั้นยอดเยี่ยม เพราะมราวาสที่ดีส่วนมากไม่ได้เป็นเช่นนั้น
สรุปความว่า ที่น่าเสียดายนั้น ก็ไม่ใช่ว่าเพราะมีน้อยคนเหลือเกินที่เหมาะสมสำหรับเป็นสมาชิกพลมารีย์ แต่เพราะว่ามีน้อยคนเหลือเกินที่เต็มใจยอมรับภาระของการเป็นสมาชิกต่างหาก จึงเป็นเหตุให้ต้องพิจารณาข้อต่อไปนี้
(ค) บุคคลที่พอจะเป็นสมาชิกได้อาจจะไม่กล้าสมัคร เนื่องจากบรรยากาศของเปรสิเดียมนั้นเคร่งครัดเกินไป หรือมีบางสิ่งซึ่งไม่ถูกใจบุคคลเหล่านั้น
คณะพลมารีย์ ไม่ได้จำกัดเฉพาะคนหนุ่มสาวเข้าเป็นสมาชิก แต่จำต้องพยายามแสวงหาและต้องรับหนุ่มสาวเป็นพิเศษ หากพลมารีย์ไม่จูงใจคนในวัยนี้ก็เป็นการผิดเจตนาของคณะอย่างมาก เพราะการเคลื่อนไหวอันใดไม่จูงใจหนุ่มสาวแล้ว ก็ยากที่จะมีอิทธิพลกว้างขวางได้
ยิ่งกว่านั้น หนุ่มสาวเป็นกุญแจอนาคต ฉะนั้นรสนิยมอันสมเหตุผลของบุคคลในวัยนี้ ควรจะได้รับการเข้าใจและอนุญาต หนุ่มสาวที่ร่าเริงแจ่มใส ใจกว้าง กระตือรือร้นนั้น ไม่ควรถูกกันออกไป ด้วยการกำหนดมาตรฐานอันไม่เหมาะสมกับวัยของเขา หรือเป็นมาตรฐานซึ่งดีแต่คอยเป็นศัตรูกับความชื่นชมยินดีเท่านั้น
(ง) คำที่มักใช้แก้ตัวคือ “ฉันไม่มีเวลา” อาจจะจริง คนส่วนมากจัดเวลาไว้เต็มหมด แต่ไม่ใช่จัดเพื่อกิจกรรมทางศาสนา เขาถือหน้าที่ทางศาสนาไว้อันดับสุดท้าย แทนที่จะคำนึงถึงคุณประโยชน์นิรันดร เขาเหล่านี้
หน้า 256
กลับดำเนินชีวิตไปในแนวทางที่ผิด งานเผยแผ่ธรรมจำต้องอยู่ในอันดับแรก งานอื่นใดก็ตามควรเป็นรองงานเผยแผ่ธรรม “กฎเบื้องต้นของสมาคมฝ่ายศาสนาทุกสมาคม คือให้คนดำรงอยู่ตลอดไปให้ขยายกิจการแพร่ธรรมของตนไปทั่วโลก และให้เข้าถึงวิญญาณให้ได้จำนวนมากที่สุดเท่าที่สามารถทำได้ “จงเพิ่มพูน ทวีจำนวนขึ้นจนเต็มแผ่นดิน” (ปฐก 1:28) กฎแห่งชีวิตข้อนี้ถือว่าเป็นหน้าที่ต้องปฏิบัติของสมาชิกทุกคนของสมาคม คุณพ่อชามีนาด แปลกฎนี้เป็นสูตรดังนี้คือ ‘เราต้องพิชิตเพื่อพระนางมารีย์ ต้องทำให้บรรดาผู้ที่อยู่กับเราเข้าใจว่าการเป็นของของพระนางนั้น ย่อมหวานจับใจสักเพียงไร เพื่อจะได้ชักนำบุคคลจำนวนมากมายเหล่านั้น ให้มาสมทบเดินก้าวหน้าพร้อมกันกับเราด้วย'” (Petit Traite de Marialogie -Marianiste)
บทที่ 32
ข้อคัดค้านที่อาจจะได้รับ
1. “ที่นี่ไม่จำเป็นต้องมีพลมารีย์”
ผู้ที่ลุกร้อนปรารถนาจะเริ่มพลมารีย์ในถิ่นใหม่ อาจประสบข้อคัดค้านที่ว่า พลมารีย์ไม่จำเป็นสำหรับที่นั่น เนื่องจากพลมารีย์ ไม่ใช่องค์กรเพื่อทำงานรูปแบบใดแบบหนึ่งโดยเฉพาะ แต่มุ่งเพื่อพัฒนาความศรัทธาลุกร้อนและจิตตารมณ์คริสตชนคาทอลิก (ซึ่งอาจนำไปใช้ปฏิบัติงานใด ๆ ก็ได้) การคัดค้านเช่นนี้ก็เท่ากับว่า ในถิ่นนั้นไม่จำเป็นต้องมีความศรัทธาลุกร้อนแบบคริสตชนคาทอลิก ซึ่งเป็นการพิสูจน์ว่าผิด เกี่ยวกับเรื่องนี้ คุณพ่อราอุล ปลุส (Pere Raoul Plus) ให้คำนิยามว่า “คริสตชนคาทอลิก คือผู้ที่พระเป็นเจ้าทรงฝากเพื่อนมนุษย์ด้วยกันไว้”
หน้า 257 บทที่ 32 ข้อคัดด้านที่อาจจะได้รับ
ในทุกแห่งไม่มีเว้น จำเป็นอย่างยิ่งต้องมีผู้ประกาศการเผยแผ่ธรรมอย่างจริงจังเพราะเหตุผลหลายประการคือ
ประการแรก ควรเปิดโอกาสให้สัตบุรุษ ที่สามารถเผยแผ่ธรรมได้ให้ดำเนินชีวิตตามนั้น
ประการที่สอง หากปรารถนาจะป้องกันพระศาสนา ไม่ให้กลายเป็นเรื่องตามความเคยชินหรือเรื่องวัตถุนิยมแล้ว ก็ต้องรณรงค์ให้ผู้คนลุกขึ้นมาช่วยกันเผยแผ่ธรรม
ประการที่สาม ต้องให้คนที่อดทนทำงานจริงจัง นำผู้ที่ผิดหวังกับชีวิตหรือผู้ที่มีท่าทีจะหลงทาง ให้กลับคืนสู่ความถูกต้อง
ผู้มีตำแหน่งหน้าที่ต้องรับผิดชอบให้ผู้ที่ตนปกครองดูแล สามารถพัฒนาศักยภาพด้านชีวิตจิตได้อย่างเต็มที่ ถ้าศักยภาพนั้นหมายถึงการเผยแผ่ธรรม ซึ่งเป็นองค์ประกอบจำเพาะอันจะขาดเสียมิได้ของคุณลักษณะคริสตชนคาทอลิกด้วยแล้ว ผู้มีตำแหน่งหน้าที่จะมิต้องรับผิดชอบยิ่งมากไปกว่าอีกกระนั้นหรือ ฉะนั้นจะต้องมีการปลุกจิตสำนึกผู้คนในด้านการเผยแผ่ธรรม แต่เมื่อระดมพวกเขามาแล้ว กลับไม่จัดหากลไกไว้รองรับ ก็เท่ากับว่าทำได้ดีกว่าอยู่เงียบ ๆ เพียงน้อยนิด เหตุว่า ในบรรดาผู้ที่ตอบรับ คงจะมีสักคนสองคนที่เก่งพอจะหาทางออกสำหรับตนเองได้ ทั้งนี้และทั้งนั้นจึงจำต้องมีการจัดตั้งสถาบันสักอย่างในรูปแบบขององค์กรเผยแผ่ธรรม
2. “หาผู้ที่เหมาะสมจะเป็นสมาชิกไม่ได้”
ข้อคัดค้านนี้มักจะเกิดจากความเข้าใจผิดเรื่องคุณลักษณะของสมาชิก กล่าวได้เลยว่า ทุกสำนักงาน ห้างร้าน และแหล่งงานล้วนมีผู้ที่สามารถเป็นพลมารีย์รวมอยู่ด้วยทั้งนั้น
พลมารีย์ที่มีศักยภาพเหล่านี้ อาจเป็นคนที่มีการศึกษาหรือไม่รู้หนังสือ
หน้า 258 บทที่ 32 ข้อคัดด้านที่อาจจะได้รับ
อาจเป็นคนทำงานหรืออยู่ว่างไม่ต้องทำงาน หรือพวกไม่มีงานทำก็ได้ ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะผิว เชื้อชาติ หรือชนชั้นใด แต่มีอยู่ทุกชั้นวรรณะ คณะพลมารีย์มีพระพรพิเศษเรียกพลังซ่อนเร้น ลักษณะนิสัยน่ารักที่ยังไม่ได้พัฒนานี้มารับใช้พระศาสนจักร
มงชินญอร์ อัลเฟร็ด โอราฮิลลี เมื่อศึกษากิจกรรมของพลมารีย์แล้วรู้สึกตื้นตันได้เขียนข้อความไว้ดังต่อไปนี้ “ข้าพเจ้าได้พบ หรือที่ถูกคือ ข้าพเจ้าทราบว่าได้มีผู้เคยค้นพบว่า มีลักษณะของวีรกรรมแฝงอยู่ในบุรุษสตรี ซึ่งดูเพียงผิวเผินก็เสมือนคนธรรมดา แต่ที่แท้เป็นแหล่งพลังงานที่ไม่มีใครค้นพบ
มาก่อน”
มาตรฐานสมาชิกพลมารีย์ ไม่ควรจะสูงส่งจนเกินกว่าที่บรรดาสมเด็จพระสันตะปาปาทรงตั้งปณิธานไว้ เมื่อทรงแถลงว่า จะเป็นคนกลุ่มใดก็ตามเราจะสามารถสร้างผู้นำและฝึกอบรมคนทุกชั้นให้ทำงานเผยแผ่ธรรมได้เสมอ
เกี่ยวกับเรื่องนี้พลมารีย์ควรจะศึกษาให้ละเอียด ข้อ 3 (ข) บทที่ 31 ว่าด้วยการขยายคณะ และหาสมาชิกเพิ่ม รวมทั้งบทที่ว่าด้วย “คณะพลมารีย์เป็นกลไกของธรรมทูต” (บทที่ 40 ข้อ 6) ซึ่งขอให้ขยายจำนวนสมาชิกพลมารีย์ให้กว้างขวาง ในกลุ่มชนที่เพิ่งจะเข้ากลุ่มคริสตชนคาทอลิก
ที่ไหนหาสมาชิกพลมารีย์ยาก แปลว่ามาตรฐานจิตตารมณ์ของที่นั่นอยู่ในระดับต่ำอย่างน่าใจหาย และแทนที่จะถือเป็นข้อพิสูจน์ว่า ไม่ควรจะทำอะไรต่อไป กลับควรจะเป็นการชี้ให้เห็นความสำคัญยิ่งยวดที่จะต้องมีสาขาพลมารีย์เพื่อจะเป็นเชื้อแป้งให้เกิดการฟื้นฟู พึงใคร่ครวญถึงความจริงที่พระเยซูเจ้าทรงสั่งให้ยกมาตรฐานให้สูงขึ้น (มธ 13:33) และพึงระลึกด้วยว่าเพียง 4, 5 หรือ 6 คนก็พอตั้งเปรสิเดียมขึ้นได้แล้ว เมื่อเขาเหล่านี้
หน้า 259 บทที่ 32 ข้อคัดด้านที่อาจจะได้รับ
ปฏิบัติหน้าที่ และเข้าใจถึงความต้องการของงาน ในไม่ช้าก็จะพบสมาชิกที่เหมาะสมได้อีกแน่นอน
3. “จะมีผู้รังเกียจการเยี่ยมของพลมารีย์”
หากเป็นจริงดังว่านี้ ข้อสรุปก็คือควรจะเลือกทำงานอื่น ไม่ใช่เลิกล้มความคิดจะทำงานพลมารีย์ (ซึ่งหมายมุ่งความดีงามแก่มวลสมาชิกและชุมชน) อย่างไรก็ตาม ขอให้ทราบเถิดว่าจนกระทั่งบัดนี้ ไม่เคยปรากฎเลยว่า มีพลมารีย์แห่งใดประสบความลำบากเกี่ยวกับงานเยี่ยมนี้ตลอดไปหรือทั่วไป
หากพลมารีย์ปฏิบัติงานดังที่ว่า คือการเยี่ยมด้วยจิตตารมณ์พลมารีย์แท้แล้วพบกับความเฉยเมยไม่ต้อนรับ ก็แสดงว่าที่นั่นมีความเมินเฉยทางศาสนาหรือไม่ก็ร้ายยิ่งกว่านั้น จนกระทั่งที่ใดยิ่งต้องการพลมารีย์น้อยที่สุด พลมารีย์ก็ยิ่งจำเป็นมากที่สุดสำหรับที่นั้น ความยากลำบากเมื่อเริ่มต้นนี้ไม่ใช่จะทำให้เลิกการเยี่ยม เกือบทุกรายพลมารีย์ที่กล้าเผชิญกับความเมินเฉยเขาจะสามารถเอาชนะอุปสรรคนั้นได้ ทั้งยังสามารถกำจัดสาเหตุร้ายแรงกว่านั้นที่ซ่อนลึกอยู่ภายในด้วย
พลมารีย์ตระหนักในข้อเท็จจริงที่ว่า ครอบครัวเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญทางวิญญาณ เข้าถึงครอบครัวได้ก็เท่ากับดูแลสังคมได้ จะเอาชนะใจครอบครัวได้ก็ต้องไปให้ถึงบ้านของเขา
4. “เด็กทำงานหนักมาทั้งวันแล้ว จำต้องมีเวลาพักผ่อนบ้าง”
ฟังดูก็มีเหตุผล แต่ถ้าถือตามนี้ โลกจะกลายเป็นดูเหมือนไม่มีศาสนา เพราะงานของพระศาสนจักรไม่ได้สำเร็จจากคนที่ว่างงาน ยิ่งกว่านั้น เวลาว่างของหนุ่มสาวเหล่านั้นมีไว้พักจริงหรือ หรือใช้ไปเพื่อสนุกสนานนอกลู่นอกทาง
การทำงานหนักเวลากลางวัน สลับกับความสนุกสนานเพลิดเพลินตอนกลางคืน จะทำให้พวกเขาตกเป็นเหยื่อของลัทธิวัตถุนิยมโดยง่ายดาย
หน้า 260 บทที่ 32 ข้อคัดด้านที่อาจจะได้รับ
หลังจากนั้นไม่กี่ปี พวกเขาจะไม่เหลืออุดมการณ์ในใจเลย ตลอดจนเสียวัยหนุ่มสาวไปก่อนเวลาอันสมควร ค่านิยมในสิ่งสูงส่งพลอยสูญสิ้น และสิ่งต่าง ๆ จะจบลงอย่างน่าเสียดาย นักบุญยอห์น คริสซอสโตม บอกไว้ว่าผู้ที่ไม่เคยพยายามช่วยวิญญาณของเพื่อนมนุษย์ด้วยกันให้รอดพ้นนั้นตนเองจะเอาวิญญาณของตนรอดพ้นได้หรือ
จึงเป็นการฉลาดกว่ามาก ที่จะสนับสนุนให้บุคคลเหล่านี้ สมัครเป็นสมาชิกพลมารีย์ เพื่อถวายผลงานของเขาแด่พระเป็นเจ้า ผลงานแรก ๆ นั้นเองจะดลบันดาลชีวิตทั้งชีวิตของหนุ่มสาว ให้จิตใจดี ใบหน้าสงบ สดชื่นและเป็นหนุ่มสาวยั่งยืน สำหรับเวลาว่างเพื่อพักผ่อน ก็คงมีอยู่อย่างเหลือเฟือ ได้สนุกเพลิดเพลินเป็นสองเท่า เพราะได้รับมาเป็นสองเท่าเช่นกัน
5. “คณะพลมารีย์เป็นเพียงองค์กรหนึ่งที่เหมือนอีกหลาย ๆ องค์กรที่มีอุดมการณ์และโครงการเหมือน ๆ กัน”
จริงอยู่อุดมการณ์มีอยู่มากมาย ใครสักคนที่มีกระดาษและดินสออยู่ในมือก็สามารถจะร่างโครงการสำหรับกิจการที่ดี ๆ ได้ในเวลาไม่กี่นาทีและก็เป็นความจริงที่คณะพลมารีย์เป็นองค์กรหนึ่งในจำนวนเป็นหมื่นองค์กรซึ่งมีวัตถุประสงค์สูงส่งที่จะรณรงค์เพื่อช่วยวิญญาณ และมีโครงการที่ทำงานสำคัญต่าง ๆ แต่ก็ต้องยอมรับความจริงอีกเช่นกันว่า พลมารีย์เป็นองค์กรหนึ่งในจำนวนไม่กี่องค์การที่มีโครงการเผยแผ่ธรรมอย่างจริงจัง
โครงการที่มีอุดมการณ์ไม่ชัดแจ้ง และมีวิธีการโน้มน้าวจิตใจสมาชิกให้ทำงานอย่างกว้าง ย่อมจะได้รับผลงานที่กว้าง ๆ ไม่แจ่มชัดเช่นเดียวกัน คณะพลมารีย์รวบรัดการรณรงค์ให้คงอยู่กับการปฏิบัติฝ่ายจิตแน่ชัด กำหนดการภาวนา งานประจำสัปดาห์ การรายงานประจำสัปดาห์ ล้วนชัดเจนและตายตัว ปรากฏเป็นผลสำเร็จที่แน่นอนเด่นชัดด้วย
หน้า 261 บทที่ 32 ข้อคัดด้านที่อาจจะได้รับ
ประการสุดท้าย และที่สำคัญไม่น้อยกว่าข้ออื่นๆ คือ งานพลมารีย์วางรากฐานการปฏิบัติงานอย่างมีระบบและมีพลังเป็นหนึ่งเดียวกับพระนางมารีย์
6. “งานพลมารีย์นั้นมีองค์กรอื่น ๆ ทำอยู่แล้ว ถ้ามาตั้งคณะพลมารีย์อาจเกิดความขัดแย้งกันได้”
แปลกแท้ ๆ ที่ได้ยินคำกล่าวเช่นนี้ ในเมื่อประชาชนในที่เหล่านี้ไม่น้อยเป็นคริสตชนคาทอลิกที่ขาดการปฏิบัติศาสนกิจ หรือยังไม่เป็นคาทอลิก และเป็นที่ซึ่งไม่ได้รับการดูแลให้เจริญก้าวหน้า
จะเป็นเรื่องน่าเศร้ามาก ถ้าคนเราจะพอใจอยู่ในสถานะเดิมเช่นนั้น เหมือนกับว่าเขาพอใจแล้วที่จะให้เฮรอดครองใจพวกเขา ในขณะเดียวกันปล่อยให้พระเยซูเจ้าและพระมารดาทรงอยู่ในถ้ำเลี้ยงสัตว์อันน่าเวทนาตลอดกาล
บ่อย ๆ คำคัดค้านที่กีดกันคณะพลมารีย์ มักจะเป็นเพื่อประโยชน์ขององค์กรต่างๆ ที่มีแต่ชื่อ ไม่มีผลงาน เป็นกองทัพที่มีอยู่จริง แต่ไม่เคยชนะศัตรูเลย
ยิ่งกว่านั้นงานที่ไม่สำเร็จอย่างสมบูรณ์แบบ จะถือว่าเป็นงานที่กระทำเสร็จแล้วไม่ได้ ด้วยเหตุนี้ งานเผยแผ่ธรรมที่ต้องใช้ผู้ปฏิบัติเป็นร้อยเป็นพัน แต่มาให้คนเพียงสิบ ๆ คนทำ ผลออกมาย่อมไม่เป็นงานสมบูรณ์ บ่อยครั้งองค์กรที่มีสมาชิกน้อย ย่อมแสดงถึงความบกพร่องขาดจิตตารมณ์และแบบแผนการปฏิบัติงานด้วย
แน่นอนว่า หากมอบงานในวงจำกัดสักอย่างให้พลมารีย์ทำ ผลลัพธ์จะออกมาให้เป็นที่เชื่อถือ และสมาชิกในสาขาเล็ก ๆ นั้นอาจจะเหมือนขนมปังห้าก้อน ที่เพิ่มทวีคูณ เลี้ยงดูทุกคนที่หิวโหยให้ได้กินจนอิ่มเหลือเฟือ (มธ 14:16-21)
หน้า 262 บทที่ 32 ข้อคัดด้านที่อาจจะได้รับ
คณะพลมารีย์ไม่ได้กำหนดงานที่ต้องปฏิบัติตายตัว ไม่ได้กำหนดงานใหม่ไว้ล่วงหน้า แต่จะแก้ไขงานที่มีอยู่แล้ว ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
7. “มีองค์กรต่าง ๆ มากอยู่แล้ว ทางที่ถูกควรจะฟื้นฟูแก้ไขคณะที่ดำเนินการอยู่ หรือมิฉะนั้นก็ขยายงานของคณะเหล่านั้นให้ครอบคลุมไปถึงงานที่พลมารีย์เสนอจะทำ”
ข้อนี้อาจเป็นข้อโต้เถียงที่ขัดแย้งกัน คำว่า “มากเกินไป” เป็นความจริงที่ใช้กับทุก ๆ ด้านในชีวิตคนเราก็ได้ กระนั้นก็ดี ไม่มีใครรังเกียจอะไรใหม่ ๆ และบ่อยครั้งที่ของใหม่ ๆ เป็นความก้าวหน้าเสียด้วยซ้ำ ด้วยเหตุนี้คณะพลมารีย์ร้องขอโอกาสที่จะพิสูจน์ตัวเอง คณะพลมารีย์ ไม่ใช่เป็น”เพียงอีกองค์กร” เท่านั้น แต่เป็นองค์กรจากพระเป็นเจ้า หากปิดประตูไม่ยอมรับ ย่อมเป็นการสูญเสียยิ่งใหญ่
ยิ่งกว่านั้นอีก ข้อขัดแย้งดังกล่าว เพียงสมมุติว่างานที่พูดถึงกันอยู่นั้นยังไม่ได้ปฏิบัติ ในกรณีเช่นนี้ยิ่งไม่ถูกต้อง และไม่ใช่วิสัยธรรมดาของมนุษย์ที่จะบอกปัดทดลองเครื่องจักรใหม่ ๆ ในเมื่อที่อื่นได้ทดลองประสิทธิภาพใช้การได้ดีมาแล้ว คงเป็นเรื่องประหลาดมาก หากจะนำข้อขัดแย้งมาเปรียบเทียบกับเรื่องดังจะยกตัวอย่าง เช่น “เราไม่จำเป็นต้องสั่งซื้อเครื่องบิน เรามีเครื่องจักรยนต์มากมายแล้ว แทนที่จะสั่งเครื่องบิน ให้เราพัฒนารถยนต์ให้มันบินได้กันเถอะ”
8. “ที่นี่เล็กนิดเดียว ไม่จำเป็นต้องมีคณะพลมารีย์”
คำกล่าวเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่อะไร แม้จะเป็นสถานที่ไม่ใหญ่โตแต่ชื่อเสียงในทางเลวร้ายกลับไม่เหมือนสถานที่นั้น
แน่ละบางหมู่บ้านอาจจะมีความดีที่กระทำอยู่แล้ว แต่ความดีนั้นอาจจะไม่ลุกร้อน ไม่เจริญทางศีลธรรมและมนุษยธรรม อันเป็นผลให้คน
หน้า 263 บทที่ 32 ข้อคัดด้านที่อาจจะได้รับ
หนุ่มสาวออกจากบ้านเพื่อไปหาความเจริญที่ชุมชนอื่นและไปประสบความหายนะเพราะไปผจญทางโลกที่ขาดการส่งเสริมศีลธรรม
ความลำบากยุ่งยากนี้เกิดจากปัญหาขาดอุดมการณ์ทางศาสนา เพราะแต่ละคนก็มุ่งทำหน้าที่ที่จำเป็นเพื่อเอาตัวรอด เมื่อขาดอุดมการณ์ก็จะเหลือศาสนาที่แห้งแล้งดังทะเลทราย (ไม่ใช่แต่หมู่บ้านเท่านั้นที่เหมือนทะเลทรายเช่นนี้)
การที่จะให้ทะเลทรายฟื้นคืนตัวเป็นที่อุดมเขียวชอุ่มอีกครั้ง จะต้องดำเนินการเสียใหม่ให้สร้างกลุ่มเผยแผ่ธรรมขึ้นสักกลุ่ม เพื่อที่จะเผยแผ่จิตตารมณ์ของตนออกไป และวางแนวทางการดำเนินชีวิตภาคปฏิบัติให้ทุกคน จะมีคนทำงานที่เหมาะสำหรับหมู่บ้านนั้น ชีวิตจะสดใสขึ้นและจะเป็น
การยับยั้งการอพยพย้ายถิ่นทิ้งบ้านไป
9. “งานบางอย่างของคณะพลมารีย์ เป็นงานฝ่ายวิญญาณ ซึ่งตามธรรมดาเป็นงานของพระสงฆ์
ข้อคัดค้านนี้มีคำตอบอยู่ทั่วไปในตอนที่กล่าวว่า “คณะพลมารีย์กับการเผยแผ่ธรรม” (บทที่ 10) โดยเฉพาะความที่ตามมา แต่ขอบอกเสียก่อนว่าไม่มีงานอะไรที่เข้าลักษณะไม่น่าทำ
เป็นที่รู้ว่าไม่น่ามีปัญหาเกี่ยวกับนครหนึ่งในจำนวนนครศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในโลกนั้น กลับปรากฎว่ามีวิญญาณมากมายป่วยด้วยบาปและหมกมุ่นแต่ทางโลก และกำลังหลงใหลกับปัญหาน่าสะพรึงกลัวของอารยธรรมปัจจุบัน
สำหรับเมืองดังกล่าว หรือแห่งอื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน การที่พระสงฆ์จะเยี่ยมสัตบุรุษปีละครั้งสองครั้ง หรือสามสี่ครั้ง แม้ว่าจะเกิดผลบ้าง แต่หาเป็นความคิดที่ถูกต้องไม่ ถ้าทุกอย่างดำเนินไปอย่างดี คนในเมืองนั้นจะต้องเข้ารับศีลเป็นประจำวันมากขึ้น ประจำสัปดาห์มากขึ้น หรืออย่างน้อย
หน้า 264 บทที่ 32 ข้อคัดด้านที่อาจจะได้รับ
ก็เดือนละครั้ง เหตุใดเวลาที่พระสงฆ์ใช้ในการโปรดศีลอภัยบาปสัปดาห์ละสี่หรือห้าชั่วโมง จึงเพียงพอ และเหตุใดจึงเกิดความไม่สมดุลอันน่ากลัวเช่นนั้นเล่า
และก็อีกนั่นแหละ พระสงฆ์จะต้องสนิทสนม และรู้จักเป็นส่วนตัวกับสัตบุรุษในปกครองของท่านสักเพียงไร จึงจะทำหน้าที่ของท่านในการอภิบาลแต่ละวิญญาณในอาณัติได้อย่างดีเยี่ยม นักบุญชาร์ลส์ โบโรเมโอเคยกล่าวไว้ว่าวิญญาณแต่ละดวงนั้นสำคัญ มีความหมายเท่ากับสังฆมณฑลในการอภิบาลของพระสังฆราชทีเดียว
ลองคำนวณคร่าว ๆ ดูก็ได้ หากพระสงฆ์จะใช้เวลาให้สัตบุรุษคนละครึ่งชั่วโมงต่อปี ท่านจะต้องใช้เวลาเท่าไร จะถือว่าครึ่งชั่วโมงต่อคนต่อปีเพียงพอหรือ นักบุญมักดาเลน โชฟี บารัต นอกจากจะสนทนาติดต่อนับครั้งไม่ถ้วนแล้ว ท่านยังต้องจดหมายถึง 200 ฉบับ เพื่อช่วยวิญญาณหนึ่งที่มีปัญหายุ่งยาก
งานพลมารีย์ก็เช่นกัน มีงานมากมายที่พลมารีย์ติดตามอยู่เป็นสิบปีกว่าจะเป็นผล และที่ยังติดตามเพื่อให้ได้ผลก็ยังมีอยู่ หากพระสงฆ์มีภารกิจมาก จนไม่สามารถสละเวลาครึ่งชั่วโมงเยี่ยมสัตบุรุษ ขณะเดียวกันคณะพลมารีย์จะเสนอคนที่มีใจลุกร้อนมาช่วยงานพระสงฆ์ แทนที่ท่านจะดูแลอยู่องค์เดียว กลับมีผู้แทนหลาย ๆ คนที่เชื่อฟังท่านทุกกระบวนความ รู้จักรักษาความลับอย่างเคร่งครัด และอาศัย (การชี้แนะของท่าน) จะสามารถเข้าถึงแต่ละครอบครัวได้อย่างทั่วถึงเช่นเดียวกับตัวท่านเอง บังเกิดพระพรพิเศษที่จะโน้มน้ำวิญญาณให้สูงขึ้น เป็นโอกาสช่วยวิญญาณได้ดีกว่าการช่วยธรรมดา ๆ ที่จำเจ ควรหรือที่พระสงฆ์จะปฏิเสธการเสนอช่วยงานของท่านและตัวท่านเอง
หน้า 265 บทที่ 32 ข้อคัดด้านที่อาจจะได้รับ
“พลมารีย์ให้ประโยชน์อันเป็นพระพรที่มีคุณค่าเสมอกันถึง 2 ประการ ประการแรกคือ พรที่เป็นเครื่องมือนำชัย ซึ่งมีเครื่องหมายแท้จริงของพระจิตเจ้า และข้าพเจ้าใคร่จะถามตนเองว่า ข้าพเจ้ามีสิทธิ์ที่จะละเลยเครื่องมือของพระญาณเอื้ออาทรนี้หรือ ประการที่สอง คือพระพรที่เป็นธารน้ำทรงชีวิตที่สามารถชุบชีวิตภายในให้สมบูรณ์ และข้าพเจ้าอดถามตัวเองไม่ได้ว่าหากข้าพเจ้าได้รับน้ำบริสุทธิ์จากธารน้ำทรงชีวิต ข้าพเจ้าจะไม่ดื่มเชียวหรือ” (Canon Guynot)
10. “เป็นห่วงว่าสมาชิกพลมารีย์จะไม่สามารถรักษาความลับได้”
ที่กล่าวเช่นนี้เท่ากับแสดงว่า ยังไม่เข้าใจถึงความจริงของสถานการณ์ทำนองเดียวกับชาวนาที่ไม่ยอมเกี่ยวข้าว เพราะกลัวว่ามือหนัก เมล็ดข้าวจะร่วง ข้าวในนาจะเสียไป เปรียบเหมือนวิญญาณของคนทั้งหลาย วิญญาณของคนที่น่าเวทนา ยากจน อ่อนล้า ตาบอด และทุพพลภาพ จำนวนมากมายที่ต้องการความช่วยเหลือ ล้นมือเสียจนกลายเป็นสถานการณ์ที่เหลือจะแก้ไขแต่ก็เพราะสภาพการณ์เช่นนี้เองที่พระเยซูเจ้าสั่งให้ออกไปตามทางเดินและตามรั้วต้นไม้ เร่งเร้าผู้คนให้เข้ามาเพื่อทำให้คนเต็มบ้าน เพื่อให้พระราชวังของพระองค์แน่นขนัดไปด้วยผู้ยากไร้ทุพพลภาพ (ลก 14:21-23)
ไม่มีทางใดเลยที่จะสามารถเก็บเกี่ยวในนากว้างใหญ่ไพศาลนี้ได้นอกจากจะใช้กำลังในกองทัพฆราวาสที่ยิ่งใหญ่ ในกรณีเช่นนี้อาจจะมีการรั่วไหลในเรื่องเก็บความลับอยู่บ้าง แต่ว่าในเรื่องความลุกร้อนนั้นแยกกันไม่ออก มีวิธีป้องกันความรั่วไหลอยู่ 2 วิธี คือ ไม่ทำอะไรเลยซึ่งน่าอับอายมากและทำโดยมีวินัยที่เข้มงวด
หัวใจที่สะท้อนความปรารถนาของพระเยซูเจ้าที่จะรวบรวมผู้เจ็บป่วยไว้ในพระอาณาจักรของพระองค์ ดังนั้นต้องถือว่าวิธีการวางเฉย ไม่ร่วม
หน้า 266 บทที่ 32 ข้อคัดด้านที่อาจจะได้รับ
ทุกข์ร้อนด้วยเป็นวิธีการน่าสะพรึงกลัวยิ่ง จึงต้องพากันทุ่มสุดจิตใจที่จะช่วยเก็บเกี่ยววิญญาณทุกขเวทนาทั้งหลาย
ประวัติคณะพลมารีย์ตั้งแต่ต้นจนปัจจุบัน ยังไม่เคยปรากฎว่ามีการขาดความระมัดระวังดังคาดหวัง ไม่ว่าเรื่องเล็กเรื่องใหญ่ และอย่างน้อยก็มีการแสดงให้เห็นถึงการรักษาระเบียบวินัยด้วยความระมัดระวัง
1 1. “อุปสรรคในการเริ่มต้นนั้นจะต้องมีเสมอ”
เกี่ยวกับเรื่องอุปสรรคนี้ ไม่ใช่แต่พลมารีย์เท่านั้นที่ประสบ กิจการเพื่อความดีทั้งหลายต่างผจญมาแล้วทั้งนั้น แต่หากมีความตั้งใจแน่วแน่ที่จะกระทำ ไม่ว่าเรื่องอะไร จะเห็นว่าอุปสรรคที่มองเห็นแต่แรกว่ายุ่งยากลำบากอย่างยิ่งนั้นไม่หนักหนาเท่าไร เหมือนการมองเห็นป่า ก่อนจะเดินเข้าไปจะ
เห็นว่าหนาทึบด้วยต้นไม้ เหมือนเข้าไปไม่ได้ แต่เมื่อเข้าไปใกล้ ก็จะเห็นทางเดินเข้าไปได้ไม่ยากนัก
ขอให้นึกเสมอว่า “ใครที่มัวจดๆ จ้องๆ ตั้งท่าแต่เล็ง จะไม่มีวันยิงอะไรได้เลย ใครที่ไม่กลัวลองเสี่ยง ก็ไม่มีวันได้ ใครที่มัวพะวงแต่ความปลอดภัย ก็จะมีแต่ความอ่อนแอ และการที่สามารถจะทำดีเป็นชิ้นเป็นอันได้บ้างนั้น ล้วนเป็นผลเนื่องมาจากการขาดตกบกพร่องในตอนแรกๆ ไม่น้อยทีเดียว” (พระคาร์ดินัล นิวแมน) พูดถึงงานของพระหรรษทาน ขออย่าให้มีคนทำตนรอบคอบอย่างชาวโลกจนไม่รู้จักพระหรรษทาน เรื่องอุปสรรค และอันตรายอันอาจจะมี ขออย่าได้ยกมากล่าวโดยไม่ได้คิดถึงความช่วยเหลือ โครงสร้างของคณะพลมารีย์ตั้งอยู่บนฐานของคำภาวนา และการทำงานเพื่อช่วยวิญญาณ เป็นสิทธิ์ขาดของพระนางมารีย์อย่างหมดสิ้น ฉะนั้นเมื่อพูดถึงเรื่องนี้ จึงไม่ควรพูดถึงแต่กฎเกณฑ์มนุษย์ แต่ให้พูดถึงกฎเกณฑ์ของพระเป็นเจ้าเป็นหลัก
หน้า 267 บทที่ 33 หน้าที่พื้นฐานของพลมารีย์
“พระนางมารีย์เป็นพรหมจารีพิเศษแต่ผู้เดียวไม่มีผู้ใดเสมอเหมือน (Virgo Singularis) เมื่อกล่าวขวัญถึงพระนาง โปรดอย่าพูดกับข้าพเจ้าถึงเรื่องกฎเกณฑ์ของมนุษย์แต่ให้พูดถึงกฎเกณฑ์ของพระเป็นเจ้าเถิด” (Bossuet)
บทที่ 33
หน้าที่พื้นฐานของพลมารีย์
1. เข้าประชุมเปรสิเดียมประจำสัปดาห์ ตรงเวลาและสม่ำเสมอ (ดูบทที่ 11 โครงการของคณะพลมารีย์)
ก. หน้าที่นี้ปฏิบัติยากเมื่อเหน็ดเหนื่อย มากกว่าเวลาสดชื่น เวลาอากาศแปรปรวนยากกว่าเวลาปลอดโปร่ง และโดยทั่วไปเมื่อนึกอยากจะไปที่อื่น กระนั้นก็ดี จะทดสอบให้เห็นได้ก็แต่ในยามมีอุปสรรค จะมีบุญกุศลแท้ก็เมื่อชนะอุปสรรคไม่ใช่หรือ
ข. เป็นการง่ายที่จะเห็นคุณค่าของการทำงาน มากกว่าค่าของการเข้าประชุมเพื่อรายงานกิจการนั้น กระนั้นก็ตาม การประชุมเป็นหน้าที่สำคัญที่สุด การประชุมเปรียบกับงาน ก็เสมือนรากกับดอกไม้ ขาดราก ดอกก็ดำรงอยู่ไม่ได้
ค. ซื่อสัตย์ต่อการประชุมทั้ง ๆ ที่ต้องเดินทางไปกลับเป็นระยะไกล ย่อมพิสูจน์ถึงทัศนะเหนือธรรมชาติอันน่าดึงดูดของผู้นั้น เพราะหากคิดตามเหตุผลตามธรรมชาติแล้ว จะเห็นว่าค่าของการประชุมนั้นมีน้ำหนักด้อยกว่าเวลาที่เสียไปตามทาง แต่หาใช่เสียเวลาเปล่าไม่ นับเป็นส่วนหนึ่งและเป็นส่วนกุศลพิเศษทีเดียวของงานทั้งหมดที่ทำ ที่พระนางมารีย์เดินทางไกลไปเยี่ยมนางเอลีซาเบธนั้นเป็นการเสียเวลาหรือเปล่า
หน้า 268 บทที่ 33 หน้าที่พื้นฐานของพลมารีย์
“ฤทธิ์กุศลต่าง ๆ ของนักบุญเทเรชามีอยู่แล้ว เธอมีใจกล้าหาญเป็นพิเศษด้วย เธอถือหลักประจำตัวว่า “ต้องพากเพียรไปจนถึงสุดความสามารถก่อนจึงจะบ่น” กี่ครั้งที่เธอไปร่วมสวดบททำวัตรในตอนเช้ามืด โดยรู้สึกวิงเวียนหรือปวดศีรษะอย่างรุนแรง เธอกล่าวว่า “ฉันยังเดินได้ ฉันก็ควรไปประจำหน้าที่” เพราะใจกล้าหาญนี่เองเธอจึงประกอบวีรกรรมได้” (นักบุญเทเรชา แห่งลิซีเออร์)
2. ทำงานที่มอบประจำสัปดาห์
ก. งานนี้ควรมี “สาระ” คือพลมารีย์ต้องอุทิศสัปดาห์ละสองชั่วโมงเพื่องานนั้น แต่พลมารีย์ไม่ต้องเคร่งครัดจำกัดเวลาตามตัวเลขนี้ทีเดียว มีพลมารีย์จำนวนมากอุทิศเวลามากกว่าขั้นต่ำนี้ไปทำงานสัปดาห์หนึ่งหลายวัน หลายคนไปทำทุกวัน งานนั้นต้องเป็นงานที่เปรสิเดียมกำหนดมอบไม่ใช่ทำตามความพอใจของพลมารีย์แต่ละคน การสวดภาวนาหรือกิจศรัทธาอื่นถึงจะน่าชมสักเพียงไร ก็ไม่พอแทนงานที่มอบ แม้จะถือเป็นส่วนหนึ่งก็ไม่ได้
ข. งานนั้นก็เป็นคำภาวนาอีกแบบหนึ่ง และกฎการภาวนาต้องนำมาใช้ในการทำงานนั้น ไม่มีงานใดยั่งยืนหากขาดหลักเกณฑ์เหนือธรรมชาติเป็นกรอบ มิฉะนั้นหากเป็นแต่งานง่าย ๆ ก็จะรู้สึกจำเจน่าเบื่อ ถ้าเป็นงานที่น่าสนใจ แน่นอนต้องมีอุปสรรค จะมีผู้บอกปัดและดูเหมือนจะไม่มีวันสำเร็จไม่ว่างานนั้นจะง่ายหรือยาก ความรู้สึกประสามนุษย์ก็มีแต่จะละเลยเสียแทนที่จะคิดเช่นนั้น พลมารีย์ต้องฝึกให้รู้จักมองทะลุถึงความรู้สึกประสามนุษย์ ซึ่งทำให้งานทุกอย่างมืดมนไปหมด ให้รู้จักแสวงหาหัวใจแท้ของงานเหนือธรรมชาติ ยิ่งงานนั้นคล้ายมหากางเขนเท่าไร ก็ยิ่งต้องตีค่าให้สูงเพียงนั้น
ค. พลมารีย์เป็นทหาร พลมารีย์จึงต้องกระทำหน้าที่ขนาดวีรกรรมไม่น้อยกว่ากรณีทหารฝ้ายโลกนี้กระทำ ทุกสิ่งที่น่ายกย่อง เสียสละตนเอง
หน้า 269 บทที่ 33 หน้าที่พื้นฐานของพลมารีย์
แบบอัศวิน และเข้มแข็งตามลักษณะทหาร เหล่านี้ต้องมีอยู่ในขั้นสูง ในพลมารีย์แท้ของพระนางมารีย์ และแน่นอนต้องฉายแสงให้เห็นในงานของพลมารีย์ด้วย
หน้าที่ของทหารมีได้ต่างๆ บางทีเผชิญกับความตาย บางทีก็ต้องเฝ้ายามอันน่าเบื่อ บางทีก็เช็ดถูโรงทหาร แต่ทุกกรณีต้องถือเป็นหน้าที่ทั้งนั้น ไม่ใช่ชนิดงานที่ทำในหน้าที่ ในทุกกรณีถือความสัตย์ซื่อเช่นเดียวกัน แพ้หรือชนะไม่อาจกระเทือนถึงหน้าที่ได้ พลมารีย์ต้องเข้าใจเรื่องหน้าที่ให้แข็งแกร่งไม่น้อยกว่านี้ ต้องนำออกปฏิบัติในทุกประเภทงานไม่ด้อยกว่านี้ ทั้งในงานไม่สำคัญเลย เช่นเดียวกับในงานยากเข็ญที่สุด
ง. งานของพลมารีย์ ต้องกระทำเป็นหนึ่งเดียวอย่างใกล้ชิดที่สุดกับพระนางมารีย์ยิ่งกว่านั้นยังต้องถือเป็นจุดหมายสำคัญของงานนั้น คือ ให้ความรู้ถึงพระนางมารีย์และให้ความรักแท้ต่อพระนางซึมซาบเข้าไปยังบรรดาบุคคลที่พลมารีย์ติดต่อ จนเป็นเหตุให้วิญญาณเหล่านั้นยอมบริการพระนางอย่างหนึ่ง การรู้จักและความศรัทธาต่อพระนาง เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสุขภาพและความเจริญฝ่ายวิญญาณ
“เหตุว่าพระนางมีส่วนในพระธรรมล้ำลึกของพระเป็นเจ้า และอาจกล่าวได้ว่าพระนางเป็นผู้พิทักษ์ข้อพระธรรมล้ำลึกนั้น ความเชื่อของมนุษย์ทุกสมัยอยู่กับพระนาง ในฐานะเป็นรากฐานประเสริฐ ถัดจากพระเยคริสตเจ้า” (นักบุญปีโอ ที่ 10 : Ad Diem Illum)
ขอนำคำกล่าวของพระสันตะปาปาองค์เดียวกันมาให้พลมารีย์พิจารณาอีกตอนว่า “เมื่อความเลื่อมใสต่อพระนางมารีย์หยั่งรากลึกลงในวิญญาณ เมื่อนั้นแหละ ไม่ใช่ก่อนนั้น ผู้ทำงานเพื่อวิญญาณจึงจะเห็นฤทธิ์กุศล และความศักดิ์สิทธิ์ ประจักษ์เป็นผลจากวิญญาณนั้น ๆ ตามส่วนที่ตนได้เสียสละเพื่อพวกเขา”
หน้า 270 บทที่ 33 หน้าที่พื้นฐานของพลมารีย์
“จำไว้ว่า ท่านกำลังทำการรบอันได้เปรียบ เหมือนพระคริสตเจ้าบนเนินกัลวารีโอ อย่าตกใจกลัวอาวุธที่พระองค์ทำให้คม อย่ากลัวบาดแผลอย่างที่พระองค์ทรงรับ ความมีชัยจะได้มาในสมัยของท่านหรือในภายหน้า ก็ธุระอะไรของท่านเล่า ทำงานต่อไปเถิด เรื่องอื่นมอบให้เป็นธุระของพระคริสตเจ้าเถิด เหตุว่าไม่ใช่หน้าที่ของเราที่จะรู้ถึงวันเวลาที่พระบิดากำหนดไว้ในฤทธานุภาพของพระองค์ จงปักใจแบกภาระอัศวินของท่าน ด้วยความทรหดอดทน แบบบุคคลใจสูง ผู้ล่วงหน้าไปก่อนท่านแล้วนั้นเถิด” (Fr Thomas Gavan Duffy : The Price of Dawning Day)
3. รายงานกิจการที่ทำด้วยวาจาต่อที่ประชุม
นี่เป็นหน้าที่สำคัญมาก และเป็นกิจปฏิบัติชั้นนำอย่างหนึ่งที่ช่วยผดุงความสนใจในงานของคณะพลมารีย์ ที่ให้มีการรายงาน ก็เพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวนี้ และให้ที่ประชุมมีทางทราบเรื่องราวด้วย การเอาใจใส่เตรียมการรายงาน และวิธีรายงานเป็นเครื่องทดสอบสมรรถภาพของพลมารีย์ได้ดี แต่ละรายงานเป็นเสมือนอิฐก้อนหนึ่งในอาคารช่วยเสริมสร้างการประชุมและความสมบูรณ์ของการประชุมขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของการรายงาน แต่ละรายงานที่ขาดหายหรือบกพร่อง นำความเสียหายมาสู่การประชุม ซึ่งเป็นสายธารแห่งชีวิต
ส่วนสำคัญในการฝึกสมาชิก ขึ้นอยู่กับการเรียนรู้วิธีการต่างๆ ของสมาชิกอื่น เท่าที่เปิดเผยจากรายงานของเขา และการรับฟังคำวิจารณ์ในรายงานของตนจากพลมารีย์ผู้มีประสบการณ์ ดังนั้นถ้ารายงานเสนอแต่เรื่องราวเล็กน้อยเต็มที ก็ไม่อาจเป็นเครื่องช่วยเหลือ ทั้งสมาชิกที่รายงานและผู้ที่รับฟัง
วิธีพิจารณารายงาน และวิธีรายงานให้ดูบทที่ 18 ข้อ 9 ว่าด้วย “ระเบียบการประชุมเปรสิเดียม”
หน้า 271 บทที่ 33 หน้าที่พื้นฐานของพลมารีย์
“จงใส่ใจถึงคำ ซึ่งนักบุญเปาโลเรียกร้องให้คริสตชนคาทอลิกช่วย และคิดถึงคำภาวนาเพื่อ ‘มนุษย์ทุกคน เพราะพระเป็นเจ้าประสงค์ให้ทุกคนเอาตัวรอด … เพราะพระคริสตเยชูผู้ทรงมอบพระองค์เป็นสินไถ่สำหรับมนุษย์ทุกคน’ (1 ทธ 2:6) หลักการสากลให้มีหน้าที่และวัตถุประสงค์เกี่ยวกับสากลโลกนี้ มีปรากฎอยู่ในถ้อยคำของนักบุญคริสซอสโตมที่ว่า คริสตชนคาทอลิกทั้งหลาย ท่านจะต้องให้การ ไม่ใช่เกี่ยวกับส่วนตัวท่านเองเท่านั้น แต่เกี่ยวกับทั้งโลกด้วย” (Gratry : Les Sources)
4. พลมารีย์จะละเมิดความลับที่รับมอบมิได้
เกี่ยวกับเรื่องที่ได้ยินเวลาประชุมหรือเมื่อไปติดต่อเยี่ยม เรื่องเหล่านี้รู้กันได้ในฐานะที่เป็นพลมารีย์ และเป็นการทรยศต่อคณะพลมารีย์อย่างหนักสำหรับผู้ที่ฝ่าฝืน จริงอยู่ต้องรายงานในการประชุมเปรสิเดียม แต่ถึงกระนั้นก็จำต้องระมัดระวัง เรื่องนี้ได้แจ้งไว้ละเอียดใน บทที่ 19 ข้อ 20 ว่าด้วย “การประชุมและสมาชิก”
“จงเฝ้ารักษาสิ่งที่ท่านได้รับฝากไว้” (1 ทธ 6:20)
5. สมาชิกทุกคนควรมีสมุดบันทึก
สำหรับเก็บเรื่องราวต่าง ๆ โดยสังเขป (ก) เกี่ยวกับงานที่ต้องลงมือทำอย่างมีระเบียบ (ข) เรื่องที่ผ่านไปแต่ยังไม่เสร็จจะได้ไม่หลงลืม (ค) ไม่มีบันทึกช่วย จะรายงานอย่างเหมาะสมได้ยาก (ง) ฝึกนิสัยให้ทำงานเป็นระเบียบ (จ) งานทำแล้วมีบันทึกไว้เป็นหลักฐาน จะเป็นเครื่องช่วยปลอบใจของสมาชิกในเวลาประสบกับความไม่สำเร็จ โดยคิดถึงผลสำเร็จผลในอดีตของตน
บันทึกนี้ควรทำอย่างรอบคอบ (เช่นใช้รหัสที่ตนเองเท่านั้นเข้าใจ) เพื่อป้องกันผู้ที่ไม่ใช่พลมารีย์ มาทราบข้อความอันไม่ควรทราบนั้น ไม่ควรบันทึกต่อหน้าบุคคลที่เกี่ยวข้องเป็นอันขาด
“จงทำเช่นนี้อย่างเหมาะสมและเป็นระเบียบ” (1 คร 14:40)
หน้า 272 บทที่ 33 หน้าที่พื้นฐานของพลมารีย์
6. พลมารีย์ต้องสวดบทกาเตนา (บทสายสัมพันธ์) ของคณะพลมารีย์ทุกวัน
ส่วนสำคัญของบทนี้ประกอบด้วยบทมักญีฟีกัต (Magnificat) อันเป็นบทภาวนาของพระนางมารีย์เอง และเป็นบทเพลงเวลาเย็นของพระศาสนจักร “เป็นบทเพลงแสดงความถ่อมตน สำนึกคุณ ที่ดีเลิศและสูงศักดิ์กว่าบทเพลงทั้งหมด” (จากหนังสือความศรัทธาภักดีต่อพระนางมารีย์ ข้อ 255 นักบุญหลุยส์มารีย์ กรีญอง เดอ มงฟอร์ต)
ชื่อบทกาเตนานี้ ก็แสดงถึงสายสัมพันธ์ระหว่างคณะพลมารีย์กับชีวิตประจำวันของสมาชิกทั้งมวล ทั้งฝ่ายประจำการและสนับสนุน และเป็นเสมือนเครื่องผูกพันเขาทั้งหมดเข้าด้วยกัน และให้เป็นหนึ่งเดียวกับพระแม่เจ้า ชื่อนี้ยังกระตุ้นเตือนให้เห็นความจำเป็น ต้องสวดทุกวันด้วย ขอให้คิดถึงโซ่ประกอบด้วยลูกโซ่เป็นข้อๆ แต่ละข้อสำคัญ ทำให้สายโซ่สมบูรณ์ ก็เป็นข้อเตือนใจพลมารีย์ทั้งหลาย ไม่ให้ทำตนเป็นลูกโซ่ที่ขาดในบทสายสัมพันธ์ประจำวันของคณะพลมารีย์
พลมารีย์มีกรณีแวดล้อมบังคับให้ลาออกจากสมาชิกประจำการ (และแม้ผู้ที่ออกจากสมาชิกภาพโดยเหตุผลที่มีน้ำหนักน้อยกว่า) ควรปฏิบัติกิจวัตรอันงดงามนั้น อย่างน้อยก็เป็นการรักษาสายสัมพันธ์กับคณะพลมารีย์ไม่ให้สลายตลอดชีวิต
“เมื่อข้าพเจ้าสนทนากับพระเยซูเจ้าอย่างคุ้นเคย ทุกครั้งข้าพเจ้าจะกระทำในนามของพระนางมารีย์ และในฐานะเป็นผู้แทนของพระนาง วันเวลาไม่รู้ลืมที่พระนางทะนุถนอมสนิทสนมกับพระปิยบุตร ณ นาซาเร็ธนั้น พระนางปรารถนารื้อฟื้นเสียใหม่อาศัยข้าพเจ้า โดยอาศัยข้าพเจ้าเป็นอุปกรณ์ พระนางจะได้สนทนาอย่างยินดีกับพระบุตรอีก อาศัยข้าพเจ้าพระนางจะได้โอบอุ้มพระบุตรแนบอุระเหมือนที่เคยทำที่นาซาเร็ธ” (De Jaegher : The Virtue of Trust)
หน้า 273 บทที่ 33 หน้าที่พื้นฐานของพลมารีย์
7. สัมพันธภาพระหว่างสมาชิก
พลมารีย์พร้อมที่จะเอาใจใส่ต่อหน้าที่ รักและให้เกียรติเพื่อนสมาชิกด้วยวิธีทั่วๆ ไป แต่บางครั้งก็ลืมไปว่าจำเป็นต้องแสดงท่าทีปรานีต่อบางสิ่ง ซึ่งดูเหมือนเป็นข้อบกพร่องด้วย การละเมิดในเรื่องนี้จะทำให้เปรสิเดียมขาดพระหรรษทานและอาจเกิดผลร้ายกาจทำให้ผู้อื่นถอนตัวจากสมาชิกด้วย อีกประการหนึ่ง ทุกคนควรสำนึกว่า การเป็นสมาชิกนั้นเป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับการมีประธานหรือเพื่อนสมาชิก ซึ่งตนรู้สึกพอใจหรือไม่พอใจเลย จึงไม่ควรท้อแท้ต่อการสบประมาทที่เป็นจริงหรือที่คิดว่าจริง ต่อความเฉยเมย หรือความขัดแย้ง คำตำหนิ หรือเรื่องอื่น ๆ ทำนองนี้
การรู้จักข่มใจตนเอง ต้องเป็นรากฐานในการงานทั้งมวล เมื่อทำร่วมกัน ขาดข้อนี้ แม้จะทำงานดีที่สุดก็อาจทำให้องค์กรเสียหายได้ ผู้ที่ทำงานพลมารีย์ดีเลิศคือผู้ที่รู้จักวางตน ปรับปรุงตนให้เข้ากับระบบอย่างบริบูรณ์และกลมกลืนที่สุด อีกนัยหนึ่งผู้ที่กล่าวหรือทำสิ่งใดผิดจากความอ่อนหวานอันควรเป็นคุณลักษณะของคณะพลมารีย์ อาจเปิดทางไปสู่ความวิบัติ ดังนั้นทุกคนจงเฝ้าระวังปฏิบัติแต่สิ่งที่จะรวมเข้าเป็นหนึ่งเดียว ไม่ใช่ตรงกันข้าม
เมื่อกล่าวถึงท่าทีของพลมารีย์ต่อพลมารีย์ ก็จำเป็นต้องกล่าวพิเศษถึงเรื่องที่เรียกกันเล่น ๆ แต่ไม่ถูกต้อง “ความอิจฉาริษยา” ขึ้นชื่อว่า “อิจฉา” น้อยนักจะเป็นเรื่องเล็กน้อย เป็นประดุจกรดกัดกินหัวใจของแต่ละบุคคล มันแทรกเข้าไปเป็นพิษได้หมดในสังคมมนุษย์ทั่วไป สำหรับคนเจตนาชั่ว ความอิจฉาก็เป็นพลังร้าย ผลักดันให้กระทำสิ่งน่าสะพรึงกลัว
เช่นเดียวกัน ความอิจฉายังประจญคนใจดีและบริสุทธิ์ อาศัยอารมณ์อ่อนไหวและธรรมชาติน่ารักของเขา เมื่อเห็นคนอื่นเข้ามาแทนที่ตน มีคุณความดีหรือปฏิบัติงานดีกว่า ต้องหลีกทางให้ผู้ที่อายุน้อยกว่าตน เช่นนี้จะรู้สึกลำบากใจสักเพียงไร
หน้า 274 บทที่ 32 ข้อคัดด้านที่อาจจะได้รับบทที่ 33 หน้าที่พื้นฐานของพลมารีย์
ยิ่งเห็นตนอับแสง ก็ยิ่งขมขื่น วิญญาณดีที่สุดก็เคยรันทดใจแบบเงียบ ๆ เช่นนี้ และได้รับบทเรียนว่าตนอ่อนแออย่างไม่น่าเชื่อเลย ทั้งนี้เพราะความขมขื่นนั้น ที่แท้คือความชิงชังอันสุมระอุอยู่นั่นเอง และจวนระเบิดออกมาเป็นไฟแล้ว
อาจจะบรรเทาได้บ้างโดยพยายามลืมเสีย แต่พลมารีย์ต้องเล็งให้สูงกว่าความสงบนั้น พลมารีย์ต้องไม่พึงใจในสิ่งอื่นนอกจากชัยชนะอย่างสิ้นเชิง ต้องพยายามเต็มที่ที่จะพิชิตธรรมชาติที่มาก่อกวนตลอดเวลา เปลี่ยนความเกลียดซึ่งมีอยู่ครึ่งหนึ่งในความอิจฉา เป็นความรักประสาคริสตชนคาทอลิกทั้งหมด แต่การน่าอัศจรรย์นี้จะลุล่วงได้อย่างไร จะสำเร็จก็โดยบำเพ็ญหน้าที่พลมารีย์อย่างเข้มแข็งครบครันที่สุด โดยเห็นและยำเกรงพระคริสตเจ้าในเพื่อนสมาชิกและบุคคลอื่นที่ติดต่อด้วย ตามที่ได้รับการสั่งสอนให้ปฏิบัติเช่นนั้น
เมื่อรู้สึกอิจฉาขึ้นมา ให้รำพึงดังนี้ “บุคคลผู้นั้นเจริญขึ้นทำให้เราไม่สบายใจ แท้จริงไม่ใช่ใครอื่น เป็นพระคริสตเจ้านั่นเอง ความรู้สึกของฉันจึงจำเป็นต้องรู้สึกเหมือนนักบุญยอห์น ผู้ทำพิธีล้าง พระเยซูเจ้าทรงรับพระเกียรติขณะที่เราเสียหาย จึงควรจะชื่นชมที่สุด ให้พระองค์ยิ่งใหญ่ขึ้นแต่ให้ฉันด้อยลง”
ความนึกคิดเช่นนี้ศักดิ์สิทธิ์ชั้นวีรกรรม เป็นอุปกรณ์ให้บรรลุจุดหมายที่ดีเลิศ เปิดช่องให้พระมารดาชำระวิญญาณของพลมรีย์ให้หมดจด ปราศจากมลทินแห่งความฟุ้งเฟ้อ เพื่อว่าแสงสว่างจะได้ฉายโดยผ่านวิญญาณนี้ไปสู่ผู้อื่น (ยน 1:7) เพื่อพระนางจัดสรรให้เขาเป็นผู้ไม่เห็นแก่ตน เป็นผู้นำสารเตรียมหนทางถวายพระคริสตเจ้า (มก 1:2)
ผู้นำข่าวต้องปรารถนาเสมอให้ผู้ที่ตนแจ้งข่าวบดบังแสงของตนผู้ที่จะเผยแผ่ธรรมย่อมมองความเจริญของผู้อื่นรอบ ๆ ตนด้วยใจชื่นชม และ
หน้า 275 บทที่ 33 หน้าที่พื้นฐานของพลมารีย์
ไม่คิดเปรียบความรุ่งเรืองของเขากับของตนเลย ผู้ใดปรารถนาให้ผู้อื่นเจริญเฉพาะเมื่อความเจริญนั้นไม่ทำให้ตนอับเฉาลง ผู้นั้นไม่ใช่ผู้เผยแผ่ธรรม ความคิดริษยาย่อมแสดงให้เห็นว่า เมื่อกระทบประโยชน์ตนเข้าแล้ว ตนต้องขึ้นหน้าก่อน ในเมื่อผู้เผยแผ่ธรรมต้องถือว่าตนเองต้องสุดท้ายเสมอ ยิ่งกว่านั้น จิตตารมณ์ริษยาไม่อาจอยู่ร่วมกับการเผยแผ่ธรรมที่แท้ได้เลย
“อาศัยวาจาที่ทักทายคำนับพระนางมารีย์ทรงเริ่มส่งอิทธิพลทำให้วิญญาณบริสุทธิ์บันดาลให้ยอห์น พ้นจากบาปกำเนิด และขณะเดียวกัน พาให้นางเอลีชาเบธน่าเคารพยิ่งขึ้น
ก็ถ้าวาจาแรกบันดาลให้เกิดสิ่งใหญ่หลวงเพียงนี้ วัน สัปดาห์ เดือน ที่ผ่านเรื่อยมาเล่า จะต้องคิดอย่างไร พระนางโปรดประทานเรื่อยมา … และนางเอลีซาเบธได้รับ และพูดได้เต็มที่ว่า ได้รับโดยปราศจากความริษยา นางเอลีชาเบธนี้เองผู้ที่พระเป็นเจ้าก็โปรดให้เป็นมารดาโดยอัศจรรย์ด้วย ก็ได้โค้งคำนับพระแม่ ญาติผู้อ่อนวัยโดยไม่ได้มีความขมขื่นซ่อนเร้นอยู่แม้แต่น้อย ในการที่พระเป็นเจ้าไม่ได้ทรงเลือกสรรตน
นางเอลีซาเบธไม่ได้อิจฉาพระนางมารีย์ ภายหลังพระนางก็ไม่ได้อิจฉาที่พระบุตรทรงรักบรรดาอัครสาวก ยอห์น ผู้ทำพิธีล้าง ไม่ได้ริษยาพระเยซูเจ้า เมื่อเห็นศิษย์ของตนละทิ้งตนไปหาพระองค์ ท่านดูคนเหล่านั้นจากไป โดยไม่รู้สึกขมขื่นเลย เพียงแต่กล่าวว่า พระองค์มาจากเบื้องบน อยู่เหนือคนทั้งมวล … พระองค์จะต้องทรงยิ่งใหญ่ขึ้น ส่วนข้าพเจ้าจะต้องด้อยลง” (ยน 3:30-31) (Perroy : L’ Humble Vierge Marie)
8. ความสัมพันธ์ระหว่างคู่เยี่ยม
พลมารีย์มีพันธะพิเศษเกี่ยวกับคู่เยี่ยมของตน เลข “สอง” นี้ มีความหมายลึกซึ้ง เป็นสัญลักษณ์ของความรัก ซึ่งบันดาลให้เกิดผลเต็มที่ พระเยชูเจ้าทรงใช้เขาไปล่วงหน้าพระองค์ทีละสองคน แต่ “สอง” ต้อง
หน้า 276 บทที่ 33 หน้าที่พื้นฐานของพลมารีย์
ไม่หมายความเพียงสองคน ที่บังเอิญไปทำงานด้วยกัน แต่หมายถึงความกลมเกลียวกันดังเช่น ดาวิด กับ โจนาธาน ทั้งคู่มีวิญญาณประสานกันเป็นอันเดียวกัน ต่างฝ่ายต่างรักกัน เหมือนวิญญาณของตน (1 ชมอ 18:1)
“ยามกลับมาเขาโห่ร้องด้วยความยินดี นำฟ้อนข้าวกลับมาด้วย” (สดด 126:6)
ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันระหว่างคู่เยี่ยมของตน ประจักษ์ผลและเจริญขึ้นในสิ่งเล็กๆ น้อย ๆ การไม่ถือสัญญา ผิดนัด ไม่ตรงเวลา ขาดความรักด้วยความคิดหรือวาจา กิริยาไม่สุภาพเล็ก ๆ น้อย ๆ แสดงกิริยายกตนข่มท่าน เหล่านี้เท่ากับขุดคูแยกคนทั้งสองนั้น ในกรณีเช่นนี้ ความกลมเกลียวจะดำรงอยู่อย่างไรได้
“รองจากพระวินัย สิ่งที่ค้ำประกันสุดประเสริฐ ว่าคณะนักบวชจะได้รับพระพรและผลสำเร็จแน่ คือความรักฉันพี่น้อง และความสามัคคีกลมเกลียวกัน เราต้องรักพี่น้องของเราทุกคนไม่มีเว้น ถือว่าเขาเป็นลูกคนพิเศษและได้รับเลือกจากพระนางมารีย์ สิ่งที่เราปฏิบัติต่อพี่น้องแต่ละคน พระนางถือว่าปฏิบัติต่อพระนางเอง หรือยิ่งกว่านั้นเท่ากับปฏิบัติต่อพระเยซู พระบุตรของพระนาง สมาชิกของคณะเราทั้งหมด ได้รับพระกระแสเรียกให้มาเป็นบุตรของพระนาง พร้อมกับพระเยซู และในพระเยซู” (Petit Traite de Mariologie Marianiste)
9. การหาสมาชิกใหม่
หน้าที่ส่วนหนึ่งของพลมารีย์ทุกคนคือ จักต้องหาสมาชิกใหม่พระบัญญัติสั่งให้เราต้องรักผู้อื่นเหมือนรักตนเอง ฉะนั้นหากคณะพลมารีย์เป็นพรประเสริฐแก่ตนเองแล้ว ตนจะไม่ขวนขวายนำพระพรนั้นไปยังผู้อื่นหรือ หากเห็นวิญญาณดีขึ้นจากกิจการของคณะ ก็จะไม่ใส่ใจขยายงานนั้นออกไปหรือ
หน้า 277 บทที่ 33 หน้าที่พื้นฐานของพลมารีย์
และที่สุดพลมารีย์จะไม่พากเพียรรวบรวมสมาชิกใหม่หรือ ถ้าหากตรองเห็นว่า คณะพลมารีย์มีแต่ทำให้เขาก้าวหน้าในความรัก และการรับใช้พระแม่มารีย์ พระพรนี้ ถัดจากพระเยซูพระองค์เองแล้ว ก็เป็นพระพรยิ่งใหญ่ที่เราอาจจะได้รับในชีวิต เพราะพระเป็นเจ้าทรงสร้างพระนาง ให้ทรงเป็นราก เป็นความเติบโต และเป็นดอกแห่งชีวิตเหนือธรรมชาติ ทั้งนี้โดยขึ้นอยู่กับพระคริสตเจ้า และไม่อาจแยกจากพระองค์ได้
หากไม่มีใครชักชวน และแนะเตือนเร่งเร้า บุคคลนับจำนวนไม่ถ้วนจะไม่มีวันคิดเข้ามาเดินทางอันประเสริฐนี้เลย ทั้ง ๆ ที่เขาก็ปรารถนาอยู่แล้ว ทางนี้แหละเป็นทางที่จะนำให้บรรลุถึงสิ่งมหัศจรรย์ เป็นคุณแก่เขาเอง และอาศัยตัวเขาจะทำประโยชน์แก่ผู้อื่นด้วย
“ทุกคนมีทางเฟ้นเห็นชัดถนัดหนอ
ที่ใจสูงเลือกทางดีไม่รีรอ
ที่ใจต่ำพอต่ำกระทำทราม
เหลือนอกนั้นน่าสงสาร คือชั้นกลาง
ใจเคว้งคว้างลังเลมีหลากหลาม
จึงทุกคนควรสนใจพยายาม
เลือกทางงามนำวิญญาณสวรรค์ตรง” (John Oxenham)
10. ศึกษาหนังสือคู่มือ
สมาชิกทุกคนมีหน้าที่จะต้องศึกษาหนังสือคู่มือให้ตลอด ตามความสามารถ หนังสือนี้เป็นคำอธิบายทางการของคณะพลมารีย์ กล่าวถึงสิ่งสำคัญต่าง ๆ ไว้สั้น ๆ ที่สุด เพื่อพลมารีย์พึงรู้ถึงหลักการต่างๆ กฎเกณฑ์ วิธีการและจิตตารมณ์ของคณะ
สมาชิก และโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ ที่ไม่รู้จักหนังสือคู่มือ จะไม่สามารถ
หน้า 278 บทที่ 33 หน้าที่พื้นฐานของพลมารีย์
ดำเนินงานตามระบบโดยเหมาะสมได้ ตรงกันข้าม ยิ่งได้ศึกษาคู่มือมากก็ยิ่งมีประสิทธิภาพเพิ่มพูน จะปรากฎผลผิดปกติว่า ยิ่งนานไปยิ่งเกิดความสนใจ และปฏิบัติมาก คุณภาพก็ดียิ่งขึ้น
“ยาวไป” เสียงอุทานนี้ได้ยินบ่อยครั้งทีเดียว และบางทีก็เกิดจากบุคคลที่ไม่รู้จักแบ่งเวลาทำงานให้ได้สัดส่วน วันหนึ่ง ๆ เขาเสียเวลาอ่านหนังสือพิมพ์ตั้งหลายชั่วโมง พอที่จะใช้ศึกษาคู่มือได้มิใช่น้อยทีเดียว
“ยาวและมีรายละเอียดมากเกินไป” นักศึกษาที่เอาจริงเอาจังทางวิชากฎหมายของประเทศ หรือแพทย์ศาสตร์ หรือวิชาการทหาร เมื่อพบตำราเล่มขนาดคู่มือของเรานี้ บรรจุความรู้ทั้งหมดเกี่ยวกับวิชาที่ต้องเรียน เขาจะบ่นเช่นนี้หรือ แทนจะบ่นหรือคิดดังนั้น ภายในหนึ่งหรือสองสัปดาห์ เขาคงจะจดจำทุกข้อความ หรือแม้จนกระทั่งถ้อยคำทุกคำในตำรานั้นได้ตลอด จริงแล้วที่ว่า “บุตรของโลกนี้ มีความเฉลียวฉลาดมากกว่าบุตรของความสว่าง” (ลก 16:8) ส่วนข้อแย้งที่ว่า “คู่มือมีแต่ใจความที่ยาก และเกี่ยวกับเรื่องสูง ๆ สมาชิกธรรมดาหรือผู้เยาว์โดยมาก แทบจะไม่เข้าใจอะไรเลย ทำไมไม่ทำคู่มือฉบับง่าย ๆ สำหรับคนเหล่านั้นบ้าง”
ไม่จำเป็นซี้แจงก็ได้ว่า ข้อเสนอนี้ตรงข้ามกับหลักการศึกษาข้อแรกๆ ซึ่งแนะให้นักเรียนค่อย ๆ เริ่มศึกษาจากสิ่งที่ไม่รู้ไปทีละขั้น หากผู้เรียนรู้สิ่งหนึ่งล่วงหน้าตลอดเวลาแล้ว ไม่เรียกว่าได้ศึกษาเลย และเมื่อไม่มีอะไรใหม่สำหรับเข้าสู่จิตใจแล้ว ขบวนการศึกษาก็ขาดสะบั้นลง
ทำไมพลมารีย์จะต้องเข้าใจคู่มือทีเดียวทันทีทันใด ในเมื่อนักศึกษายังไม่เข้าใจตำราเมื่อแรกเห็น เป็นหน้าที่ของโรงเรียนและแนวการอบรมที่จะสอนให้นักเรียนศึกษารู้แจ้งในสิ่งที่ไม่รู้ และปลูกฝังให้เจริญเป็นวิชาความรู้ต่อไป
หน้า 279 บทที่ 33 หน้าที่พื้นฐานของพลมารีย์
“แม้คำที่ใช้ก็ยาก” แต่เรียนแล้วยังไม่เข้าใจ ศัพท์ในคู่มือใช่ว่าจะสูงเกินไปนัก อาศัยไต่ถามและค้นดูพจนานุกรมก็พอเข้าใจได้ ที่จริงคำเหล่านี้ก็ใช้อยู่ในหนังสือพิมพ์ประจำวัน ที่ทุกคนอ่านอยู่แล้ว ใครเคยได้ยินว่ามีผู้เสนอแนะให้ใช้ภาษาที่ง่ายขึ้นในหนังสือพิมพ์ไหม และพลมารีย์ทุกคนจะให้สมชื่อพลมารีย์และคาทอลิก ก็ต้องหาความรู้เรื่องศัพท์ ซึ่งต้องใช้คำอธิบายเรื่องฝ่ายจิตและหลักการอื่น ๆ ของพลมารีย์ด้วย
พูดถึงศัพท์ในคู่มือ ก็ย้ำถึงข้อความคิดต่าง ๆ ในหนังสือนี้ด้วย ไม่ใช่ข้อคิดที่คลุมเครือ “ในคำสอนของพระศาสนจักร เป็นไปไม่ได้ที่มีคำสอนชั้นในอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งเฉพาะน้อยคนเท่านั้นจะเข้าใจได้” (พระอัครสังฆราช John Charles Mc Quaid) ข้อเท็จจริงนี้ได้รับการยืนยันจากพลมารีย์นับไม่ถ้วนซึ่งเป็นคนชื่อ ๆ สามัญ สามารถเข้าใจข้อความคิดต่างๆ อย่างบริบูรณ์ และยึดเป็นอาหารและส่วนสำคัญแห่งชีวิต ใช่ว่าข้อคิดนั้นไม่ใช่สิ่งจำเป็น
แท้จริงข้อคิดนั้น ๆ ต้องเข้าใจอย่างมีเหตุผล ถ้าการเผยแผ่ธรรมนั้นใคร่จะทำหน้าที่อย่างเหมาะสม เพราะเป็นแต่หลักการสามัญ หรืออีกนัยหนึ่งคือชีวิตแท้ของการเผยแผ่ธรรมนั่นเอง ถ้าไม่เข้าใจหลักการเหล่านั้นเพียงพอการเผยแผ่ธรรมนั้นจะขาดจุดมุ่งหมายที่แท้ อันเป็นรากฝ่ายวิญญาณ และจะไม่สมควรได้ชื่อว่าเป็นงานของคริสตชนคาทอลิกเลย การเผยแผ่ธรรมอย่างคริสตชนคาทอลิก และการรณรงค์ “ทำดี” ที่ขาดหลักเกณฑ์ ต่างกันราวฟ้ากับดิน
ฉะนั้น จำต้องเข้าใจซึมซาบในแนวคิดการเผยแผ่ธรรมตามคู่มือนี้และเปรสิเดียมต้องทำหน้าที่เป็นครูสั่งสอน กระบวนการนี้จะสำเร็จโดยอาศัยการอ่านคู่มือเป็นหนังสือศรัทธา การให้โอวาท และการเร่งรัดพลมารีย์ให้อ่านและศึกษาคู่มืออย่างถูกวิธี ความรู้ต้องไม่ชะงักอยู่เพียงแต่ทฤษฎี การ
หน้า 280 บทที่ 33 หน้าที่พื้นฐานของพลมารีย์
ปฏิบัติงานทุกอย่างต้องเกี่ยวข้องกับหลักที่เราเรียนรู้จากคู่มือ และเช่นนี้จึงจะสามารถเข้าใจความหมายฝ่ายวิญญาณได้
ครั้งหนึ่งมีผู้ถามนักบุญโธมัส อไควนัส ว่า จะเป็นปราชญ์ได้อย่างไร ท่านนักบุญตอบว่า “จงอ่านหนังสือสักเล่มหนึ่ง อะไรที่อ่านหรือได้ยินจงพยายามให้เข้าใจดี ๆ อะไรสงสัยจงหาความรู้ให้แน่นอน”
ในที่นี้ท่านนักบุญไม่ได้ชี้ว่าให้อ่านหนังสือเล่มใดเป็นสำคัญ แต่หมายเพียงหนังสือที่ดีจริง ๆ เล่มใดก็ตาม ที่มุ่งจะถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้อ่าน ฉะนั้นพลมารีย์ก็สามารถถือได้ว่าวาจาของท่านนักบุญเป็นแรงกระตุ้น ให้ศึกษาคู่มืออย่างละเอียดลออจนตลอด
นอกนั้นคู่มือยังมีคุณค่าเหมือนคำสอน คือเสนอพระศาสนาคาทอลิกอย่างง่าย ๆ เข้าใจได้ ตามที่สภาสังคายนาวาติกัน ที่ 2 บัญญัติไว้
“แม้นักบุญโบนาเวนดูรา ถือว่าความรู้เป็นผลของการส่องสว่างภายใน กระนั้นก็ดี ท่านก็สำนึกถึงความจำเป็นต้องบากบั่นพากเพียรในการศึกษา และได้กล่าวถึงนักบุญเกรโกรี โดยยกอัศจรรย์ในงานวิวาห์ที่กานาในแคว้นกาลิลี มาเป็นอุทาหรณ์สำหรับการศึกษา พระคริสตเจ้าไม่ได้เนรมิตน้ำองุ่นจากความเปล่า แต่ตรัสสั่งให้คนใช้ตักน้ำใส่ไหก่อน
เช่นเดียวกัน พระจิตเจ้าก็ไม่ประทานสติปัญญา และความเข้าใจแก่บุคคลที่ไม่ได้บรรจุไห คือปัญญาของตน ด้วยน้ำ คือข้อความที่ศึกษาเล่าเรียน ขาดความบากบั่นก็ไม่ได้รับความสว่าง การเข้าใจถึงความจริงนิรันดรเป็นรางวัลแห่งการออกแรงศึกษาซึ่งไม่มีใครหลีกเลี่ยงข้อนี้ได้” (Gemelli : The Franciscan Message to the World)
11. มีความสำนึกถึงหน้าที่เสมอ
ตามหลักความปรีชาสุขุมจะชี้บอก พลมารีย์ต้องมุ่งนำจิตตารมณ์ของคณะมาใช้กับกิจการในชีวิตประจำวันของตนเสมอ และต้องหาโอกาสส่งเสริมจุดประสงค์ทั่วไปของคณะ คือทำลายอาณาจักรบาป ตัดรากเหง้า
หน้า 281 บทที่ 33 หน้าที่พื้นฐานของพลมารีย์
และมุ่งสถาปนาธงชัยของพระคริสตกษัตริย์ขึ้นแทนที่
“ชายคนหนึ่งพบท่านกลางถนน ขอไม้ขีดก้านหนึ่ง จงพูดกับเขาเถิด อีกสิบนาทีเขาจะถามท่านถึงเรื่องพระเป็นเจ้า” (Duhamel) แต่ทำไมไม่ทำให้แน่ใจขึ้นในการติดต่อเพื่อให้ชีวิตแก่เขา โดยเป็นผู้ขอไม้ขีดจากเขาเสียก่อนเล่า
เป็นธรรมดาเหลือเกิน จนกระทั่งกลายเป็นธรรมเนียม ที่พากันเข้าใจและปฏิบัติศาสนาคริสตชนคาทอลิกเพียงส่วนเดียว คือถือว่าเป็นศาสนาเฉพาะตัว และมุ่งปฏิบัติเพียงเพื่อประโยชน์แก่วิญญาณของตนเท่านั้น ไม่ขอเกี่ยวข้องกับเพื่อนมนุษย์อื่นเลย นี่คือ “ศาสนาคาทอลิกเพียงครึ่งเดียว” ดังที่พระสันตะปาปาปีโอ ที่ 11 ทรงตำหนิไว้ เห็นชัดว่าพระบัญญัติที่สั่งให้เราต้องรักองค์พระเป็นเจ้าสุดจิตใจ สุดวิญญาณ สุดสติปัญญา และต้องรักเพื่อนมนุษย์เหมือนรักตนเอง (มธ 22:37-39) ได้กระทบหูของคนมากมายที่แกล้งทำหูทวนลมเสีย
เห็นได้ว่าการที่ถือมาตรฐานพลมารีย์เป็นขั้นความศักดิ์สิทธิ์ชนิดหนึ่งสำหรับวิญญาณที่รับเลือกเท่านั้น เป็นการคิดตามทัศนะที่ผิดอย่างร้ายแรง เพราะที่จริงเป็นเพียงมาตรฐานเบื้องต้นแบบคริสตชนคาทอลิกเท่านั้น นึกไม่ออกว่าผู้ที่ประพฤติตนในระดับต่ำกว่ามาตรฐานพลมารีย์มากนั้น จะอ้างได้อย่างไรว่า ได้รักเพื่อนมนุษย์ ด้วยความรักตามที่พระบัญญัติใหญ่ยิ่งได้กำชับไว้ ซึ่งความจริงก็เป็นส่วนหนึ่งของบัญญัติรักพระเป็นเจ้านั่นเองและสำคัญจนกระทั่งว่า หากบกพร่องไป อุดมคติคริสตชนคาทอลิกต้องบกพร่องไปด้วย “เราต้องเอาตัวรอดด้วยกัน ต้องไปเฝ้าพระเป็นเจ้าพร้อมกัน พระเป็นเจ้าจะตรัสกับเราอย่างไร ถ้าพวกเราไปเฝ้าพระองค์ โดยขาดคนอื่นๆ” (Peguy)
ความรักต้องทุ่มเทให้เพื่อนมนุษย์ โดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ไม่ว่า
หน้า 282 บทที่ 33 หน้าที่พื้นฐานของพลมารีย์
ส่วนตัวหรือส่วนรวม มิใช่เพียงอารมณ์วูบหนึ่ง แต่เป็นไปในรูปของการให้บริการและพลีตนเอง พลมารีย์ต้องเป็นผู้แสดงคุณลักษณะที่ดึงดูดแห่งชีวิตคริสตชนคาทอลิกแท้นี้ หากแสงสว่างแท้ไม่ส่องสว่างต่อหน้าประชากรโดยอาศัยรังสีนานาชนิดอันดีเด่นของแสงสว่างนั้น กล่าวคืออาศัยตัวอย่างการดำเนินชีวิตคริสตชนคาทอลิกจริง ๆ แล้ว มิใช่เพียงน่ากลัวอันตรายเท่านั้น แต่เป็นสิ่งแน่นอนทีเดียวว่า แสงสว่างนั้นจะไม่ส่องสะท้อนในมาตรฐานธรรมดาของชาวคาทอลิกเลย มาตรฐานนั้นจะตกต่ำลงขนาดเพียงมุ่งให้พ้นนรกเท่านั้น ก็หมายความว่าพระศาสนาได้สูญเสียหมด ซึ่งลักษณะอันสง่างามและไม่เห็นแก่ตน หรืออีกนัยหนึ่ง คือกลับตรงข้ามอย่างน่าขบขันดังที่ใครๆ คิดกันไว้และดังนั้นก็ไม่สามารถชักนำหรือยึดเหนี่ยวผู้ใดอีก
หน้าที่ หมายถึง วินัย ปฏิบัติหน้าที่เสมอ แปลว่าไม่หย่อนวินัย ฉะนั้นวาจา การแต่งกาย มารยาท และความประพฤติทั่วไป ถึงจะราบเรียบเพียงใด ก็ต้องไม่มีอะไรชักนำไปในทางไม่ค่อยดี คนเราชอบค้นหาข้อบกพร้องในบุคคลที่เห็นว่าแข็งขันในเรื่องทางศาสนา ข้อบกพร่องที่เกิดในผู้อื่นแทบไม่มีใครสังเกตเห็น แต่พอเกิดแก่พลมารีย์ ก็จะว่าไม่น่าเป็นไปได้ และจะทำให้ความพยายามทำดีเพื่อผู้อื่นพลอยเสื่อมเสียอย่างกว้างขวาง นี่ไม่ใช่สิ่งไร้เหตุผล เพราะผู้ที่กระตุ้นเตือนผู้อื่นให้ดีขึ้นไป ตนเองต้องมีมาตรฐานที่ดีอยู่แล้วไม่ใช่หรือ
แต่ในเรื่องนี้จำต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามเหตุผล เช่นเดียวกับเรื่องอื่น ๆ ผู้ที่ตั้งใจดีต้องไม่ลดความพยายามในการเผยแผ่ธรรม แม้สำนึกว่าตนเองยังขาดตกบกพร่อง เพราะนั่นหมายถึงอวสานของการเผยแผ่ธรรมทั้งสิ้น ทั้งไม่ต้องคิดว่าบางทีจะเป็นการเสแสร้ง ในเมื่อพูดถึงความครบครัน
ซึ่งตนเองยังไม่มี นักบุญฟรังชิส เดอซาล กล่าวว่า “เปล่าเลย ไม่ใช่การ
หน้า 283 บทที่ 33 หน้าที่พื้นฐานของพลมารีย์
เสแสร้งเมื่อพูดถึงสิ่งที่ดีกว่าที่เราทำ มิฉะนั้นแล้ว พระเจ้าข้า เราจะอยู่กันอย่างไร ก็ต้องเงียบกันหมด”
“คณะพลมารีย์เพ่งเล็งเพียงที่จะนำคาทอลิกขั้นปกติ เราใช้คำ “ปกติ” ไม่ใช่คำว่า “ปานกลาง” ในปัจจุบันบางคนรู้สึกโน้มเอียงคิดไปว่า คาทอลิก “ปกติ” คือผู้ที่ถือศาสนาเพื่อประโยชน์ตนเองทั้งสิ้น ไม่สนใจขวนขวายเรื่องความรอดวิญญาณของผู้อื่นเลย การตัดสินเช่นนี้ จะเป็นการล้อเลียนคาทอลิกที่แท้ และชีวิตคาทอลิกเองด้วย ชีวิตคาทอลิกปานกลาง ไม่ใช่ชีวิตคาทอลิกตามปกติ ดูเหมือนจำต้องวิจารณ์ให้ชัดขึ้น ทำความเข้าใจกันใหม่ เรื่องความสำคัญของ “คาทอลิกดี” หรือ “คาทอลิกผู้ปฏิบัติธรรม” ผู้ใดตกอยู่ในระดับต่ำกว่าขั้นต่ำสุดในการเผยแผ่ธรรม ผู้นั้นไม่ใช่คาทอลิก และขั้นต่ำสุดที่จำเป็นนี้ จะต้องใช้พิจารณาในการพิพากษาประมวลพร้อม ซึ่งบรรดาคาทอลิกผู้ปฏิบัติธรรมไม่ตกต่ำถึงขั้นนั้นเลย นี่แหละเป็นสภาพการณ์ที่ร้ายแรง นี่แหละคือความเข้าใจผิดขั้นพื้นฐาน” (พระคาร์ดินัล Suenens : La theologie deI’Apostolat)
12. พลมารีย์ต้องภาวนาเช่นเดียวกับทำงาน
แม้การสวดบทกาเตนา เป็นหน้าที่ประจำวันอย่างเดียวที่คณะพลมารีย์กำหนดให้สมาชิกประจำการสวด แต่กระนั้นขอเตือนให้สมาชิกสวดบทภาวนาทั้งหมดในใบแตสเชราเป็นกิจวัตรทุกวันด้วย สมาชิกสนับสนุนมีหน้าที่สวดบทเหล่านั้น และจะเป็นที่น่าตำหนิสำหรับฝ่ายประจำการ หากยอมด้อยกว่าฝ่ายสนับสนุนจำนวนนับไม่ถ้วนซึ่งอุทิศคำภาวนาช่วยเหลือ จริงอยู่ฝ่ายสนับสนุนไม่ได้ปฏิบัติงาน กระนั้นก็ดี เป็นที่แน่นอนว่า สมาชิกสนับสนุนได้ถวายบริการแด่พระราชินีของคณะพลมารีย์ มากกว่าสมาชิกประจำการที่ทำงาน แต่ไม่ได้สวด เรื่องนี้ตรงกันข้ามกับเจตนารมณ์ของคณะซึ่งถือว่าสมาชิกประจำการ เป็นดังคมทวนในการจู่โจม และฝ้ายสนับสนุนเป็นแต่ด้ามเท่านั้น
หน้า 284 บทที่ 33 หน้าที่พื้นฐานของพลมารีย์
ยิ่งกว่านั้น ความลุกร้อนและเพียรทนจนถึงที่สุดของสมาชิกสนับสนุนก็ขึ้นอยู่มากกับความแน่ใจว่า ตนกำลังสนับสนุนบริการที่เสียสละตนเองและแท้จริงเป็นวีรกรรมที่ยิ่งใหญ่กว่าตนจะทำได้ เมื่อมีเหตุผลดังนี้สมทบเข้าอีก สมาชิกประจำการต้องตั้งตนเป็นแบบอย่าง และเป็นผู้นำสมาชิกสนับสนุนแต่ฝ่ายประจำการจะเป็นผู้นำที่แท้ได้อย่างไร หากการสวดภาวนาของตนด้อยกว่า ที่เรียกร้องจากสมาชิกสนับสนุน ทำให้สงสัยว่าฝ่ายใดจะบริการคณะพลมารีย์ดีกว่ากัน
พลมารีย์ทุกคน ทั้งประจำการและสนับสนุน ควรเข้าคณะสายประคำศักดิ์สิทธิ์ พระคุณสำหรับสมาชิกจำพวกนี้มีมากมาย (ดูภาคผนวก 7)
“ในคำวิงวอนทั้งสิ้น ต้องมีการออกพระนามศักดิ์สิทธิ์ของพระเยซูเจ้าอย่างน้อยโดยปริยาย แม้จะไม่ได้กล่าววลี “เดชะพระเยซูเจ้าของข้าพเจ้าทั้งหลาย” ก็ตาม เพราะพระองค์เป็นคนกลางจำเป็น ที่เราต้องยื่นคำเสนอให้ ยิ่งกว่านั้นเมื่อผู้วิงวอนเสนอขอพระเป็นเจ้าพระบิดาโดยตรง หรือเมื่อมอบคำขอให้แก่ทูตสวรรค์หรือนักบุญองค์ใดองค์หนึ่ง โดยไม่เอ่ยถึงพระนามมารีย์ ก็ต้องกล่าวถึงพระนางพรหมจารีเช่นเดียวกับที่กล่าวถึงพระบุตรของพระนางพระนามเยซูอยู่ในลักษณะที่ใคร ๆ ต้องวิงวอนโดยตรง เพราะพระองค์ทรงเป็นคนกลางที่จำเป็นแต่ผู้เดียวฉันใด พระนามของแม่พระ ซึ่งเป็นหนึ่งเดียวกับพระบุตรโดยตรง ก็อยู่ในคำเสนอวิงวอนทั้งสิ้น ที่ร้องขอพร้อมพระนามของพระเยซูเจ้าด้วยฉันนั้น เมื่อวิงวอนพระเป็นเจ้า ก็เสมือนหนึ่งวิงวอนพระนางด้วย เมื่อผู้ใดวิงวอนพระคริสตเจ้าในฐานะเป็นมนุษย์ ก็เท่ากับวิงวอนพระนาง เมื่อมีผู้วิงวอนนักบุญ ก็คือวิงวอนพระนางด้วย” (Canice Bourke O.F.M. Cap. : Mary)
13. ชีวิตภายในของพลมารีย์
นักบุญเปาโลกล่าวว่า “ข้าพเจ้ามีชีวิตอยู่มิใช่ตัวข้าพเจ้าอีกต่อไป แต่พระคริสตเจ้าทรงดำรงชีวิตอยู่ในตัวข้าพเจ้า” (กท 2:20) ได้แก่ผู้ที่สามารถ
หน้า 285 บทที่ 33 หน้าที่พื้นฐานของพลมารีย์
เพ่งกระแสความคิด ความปรารถนาและความรักไปยังพระเป็นเจ้าตลอดเวลา แบบฉบับของบุคคลที่บรรลุถึงขั้นนี้แล้ว ก็คือพระแม่เจ้า พระนางทรงเจริญก้าวหน้าด้านความศักดิ์สิทธิ์อย่างต่อเนื่อง วิวัฒนาการฝ่ายจิต ก่อนอื่นมักจะหมายถึงด้านความรักหรือเมตตาจิต และเมตตาธรรม ก็ได้เจริญเติบใหญ่ในจิตใจของพระนางมารีย์ตลอดทั้งชีวิต
“คริสตชนคาทอลิกทุกคน ไม่ว่าจะมีฐานะหรือวิชาชีพใด ต่างได้รับการเชิญชวนให้บรรลุถึงความสมบูรณ์ของชีวิตคริสตชนคาทอลิก และความครบครันด้านความรัก เมตตาจิต… สัตบุรุษทุกคนมีสิทธิ์และหน้าที่ที่จะบรรลุถึงความศักดิ์สิทธิ์และความดีครบครัน ตามสถานภาพชีวิตของตน” (LG 40,42)
ความศักดิ์สิทธิ์ก็คือ คุณธรรมที่ได้มาจากการลงมือปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอตลอดระยะเวลาอันยาวนาน “ความศักดิ์สิทธิ์ทั้งหมดอยู่ตรงที่รักพระและความรักพระทั้งหมดอยู่ตรงที่ทำตามน้ำพระทัยของพระองค์” (นักบุญอัลฟอนโช ลิโกวรี)
“ถ้าอยากจะรู้ว่า จริง ๆ แล้วพระเป็นเจ้าทรงมีพระประสงค์อะไรบ้างกับชีวิตของเรา ก็ต้องดำเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ พร้อมที่จะรับฟังพระวาจาของพระเป็นเจ้าและของพระศาสนจักร ภาวนาอย่างลุกร้อนสม่ำเสมอ ปรึกษาหารือกับผู้แนะแนววิญญาณที่ชาญฉลาดและใจดี และท้ายสุดให้ใช้วิจารณญาณไตร่ตรองพรสวรรค์และความสามารถที่ได้รับจากพระ ตลอดจนเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมรอบ ๆ ตัวเรา และที่เป็นประวัติการณ์” (CL 58)
การฝึกอบรมฝ่ายจิต ที่บรรดาพลมารีย์ได้รับในระดับเปรสิเดียมสามารถช่วยทุกคนให้ก้าวหน้าในความศักดิ์สิทธิ์ได้มากทีเดียว แต่มีข้อจำกัด
หน้า 286 บทที่ 33 หน้าที่พื้นฐานของพลมารีย์
อยู่อย่างหนึ่งคือ การแนะแนววิญญาณที่ได้รับนั้นเป็นไปในทำนองกว้าง ๆ เนื่องจากสมาชิกต่างก็เป็นปัจเจกชน และมีความต้องการส่วนตัวไม่ซ้ำกับใคร ถ้าเป็นไปได้ การแนะแนวกว้าง ๆ ควรเปลี่ยนเป็นแบบเจาะจงเฉพาะตัว หมายความว่าสมาชิกควรมีสิทธิ์ที่จะเลือก “ที่ปรึกษาฝ่ายวิญญาณที่ชาญฉลาด
และใจดี” (เทียบ CL 58)
เพื่อที่จะดำเนินชีวิตคริสตชนคาทอลิกได้ จำต้องยึดถือปัจจัยที่จำเป็น 3 ประการ ซึ่งสัมพันธ์กันทั้งหมด คือสวดภาวนา พลีกรรมและศีลศักดิ์สิทธิ์
(ก) การภาวนา
เราต้องภาวนา ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม เพราะธรรมชาติคนเรามีลักษณะเป็นทั้งส่วนตัวและสังคม การปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนาเป็นหน้าที่ที่บัญญัติไว้อันดับแรกสำหรับเราในฐานะเป็นส่วนตัวก็จริง แต่สังคม ซึ่งผูกพันส่วนบุคคลไว้ด้วยพันธะทางสังคม ก็อยู่ภายใต้บัญญัตินี้เช่นกัน พิธีกรรม เช่น พิธีบูชาขอบพระคุณ(มิสซา )และการทำวัตร เป็นคารวกิจสาธารณะของพระศาสนจักร กระนั้นก็ดี สภาสังคายนาวาติกัน ที่ 2 ขยายความต่อไปว่า “ที่จริงคริสตชนคาทอลิกได้รับการเชื้อเชิญให้ภาวนาพร้อมกันกับคนอื่น ๆ เขายังต้องเก็บตัวอยู่ในห้องและภาวนาต่อพระบิดาเจ้าเป็นการส่วนตัวอีกต่างหาก ใช่แต่เท่านั้น คริสตชนคาทอลิกต้องภาวนามิหยุดหย่อนเลย ตรงตามที่บรรดาอัครสาวกเคยสั่งสอนเอาไว้” (SC 12)
การภาวนาส่วนตัวมีหลากหลายรูปแบบ คือ “สมาธิภาวนา (หรือจิตภาวนา) การพิจารณามโนธรรม การเข้าเงียบ การเฝ้าศีลมหาสนิทและความศรัทธาภักดีต่อพระนางพรหมจารีมารีย์ และแน่นอน ที่เด่นกว่าเพื่อนก็คือ การสวดสายประคำ” (MD 186) “นอกจากจะหล่อเลี้ยงชีวิตจิตของคริสตชนคาทอลิกแล้ว การภาวนาส่วนตัวยังเป็นเหตุให้พวกเขาสามารถ
หน้า 287 บทที่ 33 หน้าที่พื้นฐานของพลมารีย์
ตักตวงผลประโยชน์อเนกอนันต์ จากพิธีกรรมสาธารณะทุกครั้งที่พวกเขามีส่วนเข้าร่วม การภาวนาส่วนตัวช่วยปกป้องไม่ให้การภาวนาต่างๆ ในพิธีบูชาขอบพระคุณมีอันเสื่อมสภาพกลายเป็นพิธีรีตองที่ไร้สาระ” (MD 187)
การอ่านหนังสือเสริมสร้างชีวิตจิต ทำให้เราเชื่อมั่นในการเป็นคริสตชนคาทอลิกของเรายิ่งขึ้น และช่วยเราให้มีจิตสำนึกที่จะภาวนาได้เป็นอย่างดี ถ้าต้องเลือกอ่านแล้วเราควรเลือกพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ ที่มีอรรถาธิบายอย่างถูกต้องแบบคาทอลิก (เทียบ DV 12) และหนังสือจำพวกวรรณคดีบำรุงศรัทธาที่เราสามารถเลือกได้ตามความต้องการและรสนิยมของเรา มาถึงตรงนี้ เราจึงเข้าใจว่า ผู้แนะนำวิญญาณ “ที่ชาญฉลาด” ช่างมีความสำคัญยิ่งยวด ชีวประวัติของบรรดานักบุญที่เขียนไว้อย่างน่าอ่าน มักจะแนะนำเราให้รู้จักกับชีวิตฝ่ายจิต ขณะอ่านชีวประวัตินักบุญ สายตาเราอาจ
ไปสะดุดกับพาดหัวตัวใหญ่ซึ่งจะกระตุ้นชีวิตของเรา ไปสู่คุณธรรมความดีและวีรกรรมก็เป็นได้ บรรดานักบุญคือหลักธรรมและข้อปฏิบัติแห่งความศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นรูปธรรม ถ้าเราเป็นมิตรกับท่าน มิช้ามินาน เราก็จะจำลองแบบคุณธรรมของท่าน
หากเป็นไปได้ พลมารีย์ทุกคนควรเข้าเงียบอย่างเคร่งครัดปีละครั้ง ผลตอบแทนของการเข้าเงียบและการสำรวมจิตใจก็คือ เราจะเห็นกระแสเรียกในชีวิตที่พระเป็นเจ้าทรงลิขิตไว้สำหรับเรา ยิ่งที่ยิ่งชัดขึ้น และเราจะเต็มใจมากขึ้นที่จะดำเนินตามอย่างซื่อสัตย์
(ข) พลีกรรม หรือ การไม่ทำตามใจตนเอง
พลีกรรมคือ การละทิ้งตนเอง เพื่อปล่อยให้พระคริสตเจ้าทรงเจริญชีวิตในตัวเรา และเพื่อให้เราได้มีส่วนร่วมในชีวิตของพระองค์อย่างเต็มที่พลีกรรม ยังหมายถึงการไม่ทำตามใจตน เพื่อแสดงว่าตนรักพระและรักผู้อื่น
หน้า 288 บทที่ 33 หน้าที่พื้นฐานของพลมารีย์
เพราะเห็นแก่พระองค์ เราจำต้องพลีกรรมก็เพราะสืบเนื่องจากบาปกำเนิด สติปัญญาของเรามืดมัวไป เจตนาก็อ่อนเปลี้ย และกิเลสตัณหาก็โน้มน้าวเราให้กระทำบาปอย่างง่ายดาย
ถ้าเราอยากพลีกรรม ขั้นตอนแรกก็คือ เราต้องเต็มใจปฏิบัติตามข้อกำหนดของพระศาสนจักรว่าด้วยเรื่อง วัน เทศกาล และวิธีต่างๆ เพื่อชดเชยใช้โทษบาป ระบบของคณะพลมารีย์หากปฏิบัติตามอย่างถูกต้องก็สามารถฝึกสมาชิกให้รู้จักพลีกรรมอย่างมีประสิทธิภาพทีเดียว
ขั้นตอนถัดมาก็คือ เราต้องน้อมรับด้วยความรักจากพระหัตถ์ของพระเป็นเจ้า ซึ่ง “กางเขน ความยากลำบาก และความผิดหวังต่างๆ ในชีวิต” ทีนี้ก็มีคำถามเกี่ยวกับมัธยัสถ์ประสาททั้ง 5 ของเรา โดยเฉพาะเกี่ยวกับสิ่งที่เราปล่อยตัวเราให้ดู ฟัง หรือพูด การมัธยัสถ์ประสาทภายนอกทั้ง 5 ช่วยเราให้สามารถควบคุมประสาทภายใน ซึ่งได้แก่ความทรงจำและจินตนาการ การพลีกรรม ยังกินความไปถึงการปราบความเกียจคร้าน ความเป็นคนเจ้าอารมณ์ และท่าทีที่เห็นแก่ตัว บุคคลที่รู้จักพลีกรรมตนเอง มักจะมีอัธยาศัยไมตรีและเป็นที่สบอารมณ์ของผู้อยู่รอบข้าง ทั้งที่บ้านและที่ทำงาน
เมื่อพลมารีย์ออกไปเผยแผ่ธรรมเป็นรายบุคคล เป็นธรรมดาอยู่เองที่จะต้องลงเอยด้วยการผูกมิตร อย่างอ่อนหวานนิ่มนวลให้มิตรสหายเหล่านั้นหันมาดำเนินชีวิตอย่างถูกต้อง ก็นับว่านั่นเป็นการพลีกรรมได้เช่นกัน นักบุญเปาโลเคยกล่าวไว้ว่า “ข้าพเจ้าเป็นทุกอย่างสำหรับทุกคน เพื่อข้าพเจ้าจะได้
ใช้ทุกวิถีทางช่วยบางคนให้รอดพ้น” (1 คร 9:22)
เมื่อเราลงทุนลงแรงขจัดอุปนิสัยไม่ดีของเรา และปลูกฝังสิ่งที่ดีงามแทน ก็เท่ากับว่าเราชดเชยใช้โทษบาปของเราเอง และของผู้อื่นที่ร่วมอยู่ในพระกายทิพย์ด้วย ถ้าพระคริสตเจ้า ผู้เป็นศีรษะ ทรงรับทนทรมานเพราะ
หน้า 289 บทที่ 33 หน้าที่พื้นฐานของพลมารีย์
บาปของเรา ก็เป็นการสมควรแล้วที่เราจะต้องร่วมแรงร่วมใจกับพระองค์ ถ้าพระคริสตเจ้าผู้หาความผิดมิได้ ยังทรงรับโทษแทนเราคนผิด ก็แน่นอน เราคนผิดน่าจะทำอะไรดูบ้าง คริสตชนคาทอลิกที่ใจกว้าง จะทำกิจใช้โทษบาปสักอย่างให้แน่ชัดทุกครั้งที่ค้นพบร่องรอยใหม่ ๆ ของบาป
(ค) ศีลศักดิ์สิทธิ์
เราเริ่มสนิทชิดเชื้อกับพระคริสตเจ้าวันที่เรารับศีลล้างบาป เรากระชับความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นเมื่อรับศีลกำลัง และเราทำให้ความแนบแน่นนี้เป็นจริงและบำรุงรักษาไว้ เมื่อรับศีลมหาสนิท เนื่องจากว่าได้มีการพูดถึงศีลศักดิ์สิทธิ์ทั้งสาม ในคู่มือนี้มาแล้ว ดังนั้นจะขอพูดถึงศีลศักดิ์สิทธิ์อีกศีลหนึ่งที่พระคริสตเจ้ายังคงใช้สำแดงพระเมตตายกบาปของเราผ่านทางผู้แทนพระองค์ คือ พระสงฆ์คาทอลิก เราเรียกศีลนี้แตกต่างกันไป เช่น ศีลสารภาพบาป ศีลอภัยบาป ศีลแห่งการคืนดี ที่เราเรียกว่าศีลสารภาพบาปก็เพราะเป็นการสารภาพผิดอย่างตรงไปตรงมา ที่เรียกศีลอภัยบาป ก็เพราะเน้นในแง่การเปลี่ยนแปลง ที่เป็นศีลแห่งการคืนดี ก็เพราะโดยทางศีลนี้ผู้สำนึกผิดสามารถสร้างสัมพันธ์ใหม่กับพระเป็นเจ้า กับพระศาสนจักรและกับมวลมนุษย์ ศีลอภัยบาปเกี่ยวโยงใกล้ชิดกับพิธีบูชาขอบพระคุณ เพราะเราได้รับการยกบาปก็ด้วยผลานิสงส์จากการสิ้นพระชนม์ของพระคริสตเจ้าเป็นการสิ้นพระชนม์เดียวกันกับที่เราเฉลิมฉลองในพิธีบูชาขอบพระคุณ
ขอให้พลมารีย์ทุกคน ฉวยโอกาสพบปะกับพระคริสตเจ้า เป็นส่วนบุคคลในพิธีคืนดีที่พระองค์ทรงเชื้อเชิญให้ไปร่วม และขอให้ทำเช่นนั้นบ่อย ๆจนเป็นกิจวัตร “เหตุว่า การกระทำดังกล่าวจะช่วยเราให้รู้จักตนเองอย่างถ่องแท้และให้เรามีความสุภาพถ่อมตนตามแบบอย่างของคริสตชนคาทอลิก อุปนิสัยไม่ดีของเราจะถูกถอนราก ถ้าเรามีอาการจิตเกียจคร้าน
หน้า 290 บทที่ 33 หน้าที่พื้นฐานของพลมารีย์
ใจเย็นเฉย ก็จะได้รับการบำบัดให้หายขาด มโนธรรมจะกลับสะอาดหมดจดและจิตใจจะแข็งแกร่งขึ้น เราจะได้รับคำแนะนำที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพวิญญาณ พระหรรษทานก็จะเพิ่มพูนด้วยฤทธิ์ของศีลแก้บาปนั้นเอง” (MC 87) เมื่อพลมารีย์ซาบซึ้งถึงสรรพคุณของศีลคืนดีนี้แล้ว ก็ขอสนับสนุนให้มีการแบ่งปันประสบการณ์ของตนกับผู้อื่น จะได้เป็นการชักชวนพวกเขาให้มาใช้บริการของศีลนี้
กล่าวโดยสรุป ความรอดและความศักดิ์สิทธิ์ของวิญญาณ ตลอดจนการปฏิรูปชีวิตคริสตชนในโลกตามแนวทางของพระคริสตเจ้า จะสัมฤทธิ์ผลหรือไม่นั้นย่อมขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของชีวิตพระคริสตเจ้าในวิญญาณแต่ละดวงเป็นสำคัญ จะว่าไปแล้ว นี่เป็นเรื่องชี้เป็นชี้ตายก็ไม่ผิด “วิธีบำเพ็ญจิตใจตามแนวทางของพระแม่มารีย์ ก็เช่นเดียวกันกับความศรัทธาภักดีต่อพระนาง เริ่มก่อร่างสร้างเค้าจากประสบการณ์จริง พร้อมหลักฐานทั้งของแต่ละคนและของชุมชนคริสตชนคาทอลิก ที่สอดแทรกอยู่ท่ามกลางนานาประชาชาติทั่วโลก เมื่อเอ่ยถึงเรื่องนี้ เรา (พระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2) ใคร่หวนรำลึกบุคลิกของท่านนักบุญหลุยส์มารีย์ กรีญอง เดอ มงฟอร์ต ซึ่งท่านได้เคยเสนอแนะว่า การถวายตัวแด่พระคริสตเจ้าผ่านทางพระหัตถ์พระแม่มารีย์ เป็นวิธีที่ชะงัด ช่วยคริสตชนคาทอลิกให้ดำเนินชีวิตอย่างชื่อสัตย์ตามคำมั่นสัญญาแห่งศีลล้างบาป” (RMat 48)
“มีความเกี่ยวโยงกันระหว่างชีวิตฝ่ายจิตของเรากับพระสัจธรรมความเชื่อพระธรรมความเชื่อเป็นดังดวงประทีปเรียงรายอยู่ตลอดวิถีความเชื่อของเรา ดวงประทีปเหล่านั้นจะส่องทางให้สว่างไสว ทำให้เรารู้สึกปลอดภัยทุกย่างก้าว มองในแง่กลับกัน ถ้าเราดำเนินชีวิตตามทำนองคลองธรรมแล้วไซร้ สดิปัญญาและจิตใจของเราก็จะเปิดกว้างเพื่อรับแสงสว่างที่มาจากพระสัจธรรมความเชื่อนั้น” (CCC 89)
หน้า 291 บทที่ 33 หน้าที่พื้นฐานของพลมารีย์
คณะพลมารีย์ให้ความสำคัญกับวิถีชีวิต มากกว่าเคล็ดลับในการประกอบกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง คณะให้การฝึกฝนเพื่อจะเข้าไปมีอิทธิพลในทุกส่วนของการดำเนินชีวิต สมาชิกพลมารีย์ที่ทำตนเป็นพลมารีย์เพียงแต่ชั่ววาระการประชุม กับขณะทำงานที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น หาได้ดำเนินชีวิต
ตามจิตตารมณ์ของคณะพลมารีย์ไม่
จุดประสงค์ของคณะพลมารีย์ก็คือ ช่วยเหลือบรรดาสมาชิก และทุกคนที่สมาชิกไปติดต่อ ให้สามารถดำเนินชีวิตคริสตชนคาทอลิกตามพระกระแสเรียกอย่างไม่ขาดตกบกพร่อง พระกระแสเรียกดังกล่าว ถือต้นกำเนิดมาจากศีลล้างบาป ศีลล้างบาปทำให้เราเป็นพระคริสตเจ้าอีกองค์หนึ่ง “เราไม่เพียงแต่เป็นพระคริสตเจ้าอีกองค์หนึ่ง แต่เป็นพระคริสตเจ้าพระองค์เอง” (นักบุญออกัสติน)
เมื่อได้รวมเข้าเป็นหนึ่งเดียวกับพระคริสตเจ้าในศีลล้างบาปแล้ว สมาชิกพระศาสนจักรของพระองค์ ก็มีส่วนร่วมในบทบาทของพระองค์ในฐานะเป็นพระสงฆ์ ประกาศกและกษัตริย์
เราร่วมภารกิจสงฆ์กับพระคริสตเจ้าโดยถวายคารวกิจทั้งเป็นการส่วนตัวและส่วนรวม คารวกิจที่ประเสริฐสุดก็คือการถวายบูชาขอบพระคุณ เครื่องบูชาฝ่ายจิตได้มาจากการที่เราถวายตัวเราเอง และกิจกรรมทั้งหมดแด่พระบิดาเจ้า เมื่อกล่าวถึงคริสชนมราวาส สภาสังคายนาวาติกัน ที่ 2 กล่าวว่า “เหตุว่าการงานทุกอย่างของพวกเขา การอธิษฐานภาวนาและการรับงานเผยแผ่ธรรมมาเป็นธุระ การดำเนินชีวิตครอบครัวและชีวิตแต่งงาน กิจวัตรประจำวัน การพักผ่อนหย่อนใจและกาย ที่กระทำลงไปขณะมีพระจิตเจ้าประทับอยู่ในวิญญาณ รวมไปถึงความตรากตรำลำบากในชีวิตที่พากเพียร
หน้า 292 บทที่ 33 หน้าที่พื้นฐานของพลมารีย์
อดทน ทั้งหลายนี้ล้วนแล้วเป็นเครื่องบูชาฝ่ายจิต ซึ่งเป็นที่สบพระทัยพระเจ้า เดชะพระเยชูคริสตเจ้า (เทียบ 1 ปต 2:5) ในระหว่างพิธีบูชาขอบพระคุณเป็นการเหมาะสมที่สุดที่จะถวายเครื่องบูชาเหล่านี้แด่พระบิดาเจ้า พร้อม ๆ กันไปกับพระกายของพระคริสตเจ้า เมื่อคริสตชนฆราวาสทูลถวายกิจกรรมที่ศักดิ์สิทธิ์ของพวกเขาเป็นคารวกิจอยู่ทุกแห่งหน ก็เท่ากับว่าฆราวาสถวายโลกทั้งโลกเป็นบูชาแด่พระเป็นเจ้านั่นเอง” (IG 31)
เรายังมีส่วนในภารกิจประกาศกของพระคริสตเจ้าด้วย พระองค์ “ทรงประกาศการสถาปนาพระอาณาจักรของพระบิดา โดยการดำเนินพระชนมชีพเป็นพยานและยืนยันด้วยพระวาจาทรงชีวิต” (LG 35) ในฐานะที่เป็นฆราวาสเราได้รับมอบความสามารถและความรับผิดชอบ ในอันที่จะน้อมรับพระวรสารด้วยความเชื่อ และในอันที่จะไปป่าวประกาศพระวรสารนั้นด้วยวาจาและความประพฤติของตน บริการวิเศษสุดที่เราสามารถมอบให้แก่ใครคนใดคนหนึ่งก็คือ เล่าเรื่องพระสัจธรรมความเชื่อให้เขาฟัง เช่น บอกว่าพระเป็นเจ้าคือใคร วิญญาณมนุษย์คืออะไร อะไรคือจุดหมายปลายทางของชีวิต และตายแล้วไปไหน ข้อสำคัญจะต้องพูดถึงพระเยชูคริสตเจ้า องค์พระสัจธรรมเอง ไม่จำเป็นต้องตอบโต้อธิบายยกข้อพิสูจน์ต่างๆ สิ่งที่เราบอก ขอแต่เพียงให้เรารู้จักสัจธรรมเหล่านั้น และเจริญรอยตาม ให้มีจิตสำนึกว่าสัจธรรมเหล่านั้นเป็นตัวแปรที่ก่อให้เกิดความแตกต่าง ให้พูดถึงสัจธรรมเหล่านั้นเฉกเช่นผู้รู้โดยป้อนข้อมูลพอเหมาะพอดีเพื่อเร้าความสนใจ ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ฟังนึกอยากขวนขวายหารายละเอียดต่อไป
สมาชิกพลมารีย์จะมีโอกาสเรียนรู้เรื่องความเชื่ออย่างลึกซึ้งมากขึ้นและจะรู้ด้วยว่าควรดำเนินชีวิตตามความเชื่อนั้นอย่างไร คณะพลมารีย์ใช้ประสบการณ์และแรงจูงใจที่มีพลัง เพื่อช่วยให้สมาชิกกล้าพูดเรื่องศาสนา
หน้า 293 บทที่ 33 หน้าที่พื้นฐานของพลมารีย์
กับคนแปลกหน้า แต่บรรดาผู้ที่มีสิทธิ์มากที่สุดที่จะเรียกร้องการแผ่เมตตาจิตจากเรา คงหนีไม่พ้นคนที่เราพบเห็นเป็นประจำ ที่บ้าน ที่โรงเรียน ตามตลาด ร้านค้า ณ สถานที่ประกอบวิชาชีพ สถานที่ทำกิจกรรมด้านสังคม และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ตามปกติแล้ว บุคคลเหล่านี้อยู่นอกข่ายภาระหน้าที่ ที่คณะพลมารีย์ได้รับมอบหมายมา ถึงกระนั้น เราก็ต้องรับเอาใจใส่ดูแลพวกเขาเช่นกัน
เรายังร่วมมีส่วนในพระราชกิจกษัตริย์ของพระคริสตเจ้า เมื่อเราพยายามกำจัดบาปในตัวเรา และพร้อมเสมอที่จะรับใช้ให้บริการเพื่อนมนุษย์เหตุว่าปกครองคือบริการ พระคริสตเจ้าตรัสไว้อย่างดีแล้วว่า บุตรแห่งมนุษย์มิได้มาเพื่อให้ผู้อื่นรับใช้ แต่มาเพื่อรับใช้ผู้อื่น และมอบชีวิตของตนเป็นสินไถ่เพื่อมวลมนุษย์ทั้งหลาย (มธ 20:28) ข้อสำคัญคือเราร่วมมือกับพระคริสตเจ้าในภารกิจนี้ โดยประกอบการงานของเราอย่างดี เพราะรักพระและรับใช้ผู้อื่นไม่ว่างานนั้นจะเป็นงานอะไร ทั้งที่บ้านและนอกบ้าน เมื่อเราทำการงานของเราอย่างดี ก็หมายความว่าเราร่วมงานสร้างโลกพร้อมกับพระเป็นเจ้าต่อไปและช่วยให้โลกนี้ดีขึ้น และเป็นสถานที่ที่น่าอยู่มากขึ้น ฆราวาสที่เป็นคริสตชนคาทอลิกได้เปรียบกว่าฆราวาสอื่น ๆ ในอันที่จะทำให้การงานฝ่ายโลกสมบูรณ์ครบถ้วนกระบวนการ และเปี่ยมไปด้วยจิตตารมณ์แห่งพระวรสาร
ขณะถวายคำสัญญาของพลมารีย์ มีตอนหนึ่งเราภาวนาขอให้ได้เป็นเครื่องมือทำงานตามพระประสงค์อันทรงอำนาจของพระจิตเจ้า แน่นอนการกระทำของเรา จะต้องเกิดจากเจตนารมณ์เหนือธรรมชาติเสมอไป แต่เราต้องถวายธรรมชาติมนุษย์ของเราให้เป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดของพระจิตเจ้า
เท่าที่จะทำได้ พระคริสตเจ้าทรงมีพระธรรมชาติพระเจ้า แต่พระธรรมชาติมนุษย์
หน้า 294 บทที่ 33 หน้าที่พื้นฐานของพลมารีย์
ของพระองค์ ก็เข้าไปมีบทบาทในกริยาท่าทาง การกระทำ ตลอดจนภูมิปัญญาส่วนที่เป็นมนุษย์ รวมทั้งสุ้มเสียงและพฤติกรรม ประชาชนรวมทั้งเด็กๆต่างชอบมาติดตามพระองค์ พระองค์ทรงเป็นอาคันตุกะที่ทุกคนยินดีต้อนรับ
นักบุญฟรังชิส เดอ ซาลส์ เป็นบุคคลหนึ่งที่ใช้ความประพฤติและวิถีชีวิตของตนเป็นเครื่องมือ เพื่อนำวิญญาณจำนวนมาก กลับคืนมาหาพระเป็นเจ้า เป็นท่านนักบุญองค์เดียวกันนี้ที่แนะนำว่า ใครที่ปรารถนาปฏิบัติกิจเมตตา ก็ควรปลูกฝังสิ่งที่ท่านให้สมญาว่า “ฤทธิ์กุศลน้อย ๆ” ดังเช่นความเป็นมิตร ความสุภาพอ่อนโยน กิริยามารยาทอันดีงาม ความเห็นอกเห็นใจกัน ความเพียรอดทน และการรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา ไว้ใช้เฉพาะอย่างยิ่งกับคนที่เอาใจยาก
“พระโลหิตเดียวกันระหว่างพระเยชูคริสตเจ้ากับพระนางมารีย์ หมายความถึงการสร้างนิสัยเหมือนกัน รูปร่างหน้าตาเหมือนกัน ความโน้มเอียงเดียวกัน รสนิยมเหมือนกัน ฤทธิ์กุศลเหมือนกัน ไม่ใช่เพราะว่าการมีโลหิตเดียวกันเป็นเหตุให้เหมือนกันเช่นนี้บ่อยครั้งที่สุดเท่านั้น แต่เพราะในกรณีของพระนางมารีย์ (พระนางเป็นพระมารดาด้วยเหตุเหนือธรรมชาติโดยสิ้นเชิง คือเป็นผลของพระหรรษทานอันปกคลุมอยู่) นั้น พระหรรษทานนี้ได้เข้าครอบครองหลักทั่วไปของธรรมชาตินี้ และเจริญขึ้นในพระนางในลักษณะที่ทำให้พระนางเป็นภาพมีชีวิตของพระบุตรในทุกสิ่ง จนกระทั่งใครๆ ได้แลเห็นพระนาง ก็เท่ากับได้ชมโฉมอันงดงามของพระเยชูคริสตเจ้า
ความสัมพันธ์ฐานแม่อันเดียวกันนี้ ซึ่งมีอยู่ระหว่างพระนางมารีย์กับพระบุตรได้ก่อให้เกิดความสนิทสนมกัน ไม่ใช่เพียงการติดต่อและมีชีวิตร่วมกันเท่านั้น แต่ยังทำให้มีการแลกเปลี่ยนดวงใจ และความลับในใจแก่กันด้วย จนกระทั่งพระนางเป็นดุจกระจกเงาฉายความคิด ความรู้สึก ความมุ่งหมาย ความปรารถนา และความประสงค์ทั้งหมดของพระเยชูเจ้า ฝ่ายพระองค์ก็ฉายสะท้อนตอบ ในวิธีวิเศษกว่า ดุจกระจก
หน้า 295 บทที่ 34 หน้าที่ของเจ้าหน้าที่เปรสิเดียม
ไม่มีจุดฝ้า ซึ่งอัศจรรย์แห่งความบริสุทธิ์ ความรัก ความจงรักภักดี ความเมตตาจิตเหลือคณนาชื่งมีอยู่ในวิญญาณของพระนางมารีย์ ฉะนั้นพระนางจึงสามารถกล่าวอย่างมีเหตุผล ยิ่งกว่านักบุญเปาโล ไม่ใช่ข้าพเจ้าดอกที่เจริญชีวิตอยู่บัดนี้ เป็นพระเยเจ้าต่างหากที่เจริญชีวิตอยู่ในตัวข้าพเจ้า” (De Concilio : The Knowledge of Mary)
บทที่ 34
หน้าที่ของเจ้าหน้าที่เปรสิเดียม
1. จิตตาธิการ
เนื่องจากคณะพลมารีย์ถือว่าความสำเร็จทั้งสิ้นของคณะขึ้นอยู่กับความเจริญแห่งคุณภาพฝ่ายวิญญาณของสมาชิก และที่สมาชิกนำออกใช้ในการปฏิบัติงาน จิตตาธิการจึงเป็นตัวจักรสำคัญยิ่งในเปรสิเดียม หน้าที่แรกของท่านคือการสร้างแรงบันดาลใจให้สมาชิกมีชีวิตจิต ท่านเข้าร่วมประชุมเปรสิเดียมและพร้อมกับประธานและเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ท่านจะคอยเอาใจใส่ ให้รักษากฎข้อบังคับของคณะ และให้ระบบพลมารีย์ดำเนินไปทั้งตามจิตตารมณ์และตามตัวอักษร ท่านจะคอยป้องกันไม่ให้เกิดการใช้อำนาจที่ผิด และสนับสนุนอำนาจหน้าที่อันถูกต้องของพลมารีย์
ถ้าเปรสิเดียมของท่านมีค่าสมชื่อ ความลุกร้อนและโอกาสทำความดีต่าง ๆ ก็มีขึ้นแล้วในเขตวัดของท่าน แต่เปรสิเดียมก็ขึ้นอยู่กับจิตตาธิการในเรื่องงานซึ่งควรเป็นงานที่สมควรกับสมาชิก และต้องเป็นงานที่มีความยากลำบาก เปรสิเดียมต้องพึ่งจิตตาธิการคอยกระตุ้น เพื่อชิงชัยชนะต่ออุปสรรคทั้งภายในและภายนอก ยังต้องการให้ท่านเป็นผู้นำก้าวหน้าในด้านความศักดิ์สิทธิ์ฝ่ายวิญญาณ ที่จริงภาระต่างๆ ตกหนักที่จิตตาธิการมาก
หน้า 296 บทที่ 34 หน้าที่ของเจ้าหน้าที่เปรสิเดียม
จนสมเด็จพระสันตะปาปาปีโอ ที่ 11 ทรงนำบทสดุดีตอนหนึ่งมากล่าวว่า “ชะตากรรมของข้าพเจ้าอยู่ในมือของท่าน”
จะเป็นเรื่องน่าเศร้ามาก หากปรากฎว่าได้มอบความไว้วางใจนี้แก่ผู้ไม่สมควร แม้จะเป็นรายเดียวก็ตาม ถึงแม้เป็นแต่เพียงชนน้อย ๆ กลุ่มเดียว ผู้ปรารถนาทำงานเพื่อพระเป็นเจ้า แม่พระและวิญญาณ แต่กลับถูกปล่อยปละไปตามยถากรรม ดังฝูงแกะไร้ผู้เลี้ยงเช่นนั้น หัวหน้าชุมพาบาลจะตรัสประการใด ถึงจิตตาธิการที่ไม่เอาใจใส่หน้าที่ผู้ซึ่งพระองค์มุ่งหมายจะให้เป็น “วิญญาณของหมู่คณะ ที่ดลบันดาลให้เกิดการกระทำที่ดีและบ่อเกิดแห่งความลุกร้อน” (พระสันตะปาปาปีโอ ที่ 11)
จิตตาธิการจะเอาใจใส่เปรสิเดียมของท่าน เหมือนนวกจารย์พึงเอาใจใส่นวกะในอารักขาของตน และขวนขวายไม่หยุดหย่อนที่จะบำรุงจิตวิญญาณของสมาชิกให้งอกงาม ทำให้เกิดกิจการและคุณสมบัติอันเหมาะสมกับพลมารีย์ของพระนางมารีย์ จะเห็นว่าคุณสมบัติฝ่ายจิตวิญญาณเหล่านี้ จะสามารถขึ้นสู่ระดับสูงตามที่มุ่งหมายไว้ ดังนั้นจิตตาธิการไม่จำเป็นต้องวิตกที่จะส่งเสริมเขาขึ้นสู่คุณธรรมยอดเยี่ยม หรืองานใดเข้าขั้นวีรกรรม ก็มอบให้สมาชิกไปทำได้
แม้สิ่งเป็นไปไม่ได้ ยังต้องจำนนต่อพระหรรษทาน และพระหรรษทานมีไว้สำหรับให้เราขอ ถึงกระนั้นจิตตาธิการยังต้องเน้นถึงความสัตย์ซื่อไม่แปรปรวนในรายละเอียดปลีกย่อยของหน้าที่ ว่าเป็นมูลฐานสำคัญให้บรรลุถึงความสำเร็จยิ่งใหญ่ แม้ลักษณะนิสัยเข้มแข็งอาจแสดงออกในโอกาสสำคัญก็จริง แต่ต้องอาศัยโอกาสเล็ก ๆ น้อย ๆ สร้างคุณลักษณะนั้นขึ้นมา จิตตาธิการจะคอยสอดส่องสมาชิกไม่ให้ทำงานด้วยจิตตารมณ์เห็นแก่ตนเอง จนกระทั่งแน่ใจได้ว่าเมื่อเขากลับจากงานไม่ว่าจะประสบผล
หน้า 297 บทที่ 34 หน้าที่ของเจ้าหน้าที่เปรสิเดียม
สำเร็จหรือล้มเหลว แต่ให้สมาชิกทุกคนเตรียมพร้อมเสมอที่จะกลับไปทำหน้าที่ ซึ่งน่าท้อแท้ใจสักพันครั้งก็ได้เมื่อมีคำสั่ง
เช่นเดียวกัน จิตตาธิการจะสอดส่องดูว่า สมาชิก นอกจากจะปฏิบัติงานโดยตลอดอย่างไม่หวาดหวั่นแล้ว ยังต้องเพิ่มเติมคำภาวนาและพลีกรรมเข้าด้วย ท่านจะสอนให้สมาชิกตระหนักว่าเมื่อถึงเวลาที่วิธีการใดๆ ล้มเหลว หรือที่มนุษย์คิดว่าหมดหวัง เมื่อนั้นแหละ พระราชินีของคณะพลมารีย์พระมารดาของเขา ยังอยู่สำหรับจะให้เขาหันเข้าพึ่งด้วยความมั่นใจอย่างยิ่ง และพระนางจะโปรดให้มีชัยชนะ
ที่สำคัญ จิตตาธิการพลมารีย์ มีหน้าที่ส่งเสริมและกระตุ้นให้เปี่ยมด้วยความรักต่อพระมารดาของพระเป็นเจ้าอย่างเข้มข้นชัดแจ้ง และโดยเฉพาะต่อเอกสิทธิ์ต่าง ๆ ของพระนาง ซึ่งคณะพลมารีย์ยกย่องเป็นพิเศษเมื่อก่อสร้างอย่างพากเพียร โดยเรียงหินให้เหมาะทีละก้อนเช่นนี้แล้วจิตตาธิการก็หวังได้ว่าจะตั้งป้อมไว้ในวิญญาณของสมาชิกแต่ละคน ซึ่งไม่มีอะไรสามารถตีแตกได้
ในฐานะเป็นสมาชิกเปรสิเดียม จิตตาธิการจะมีส่วนในการจัดการในการอภิปรายและรับภาระต่าง ๆ ของเปรสิเดียม ทั้งจะเป็น “ครู ที่ปรึกษาและผู้นำ ตามที่เห็นจำเป็น” (พระสันตะป่าปานักบุญปีโอ ที่ 10) อย่างไรก็ดีจิตตาธิการพึงระวังไม่รับเอาหน้าที่ต่าง ๆ ของประธานมาทำด้วยหากมีลักษณะโน้มนำไปในทำนองดังกล่าวจะไม่เป็นผลดีแก่เปรสิเดียม ถ้าจิตตาธิการนอกจากมีศักดิ์เป็นพระสงฆ์ และมีความรอบรู้กว้างขวางมากกว่าผู้อื่นมากมายในเรื่องชีวิตแล้ว ยังมารับหน้าที่ดำเนินกิจการเสียเอง ก็ไม่เกิดผลดีต่อการประชุม การพิจารณาแต่ละเรื่องราว จะกลายเป็นการสนทนากันระหว่างจิตตาธิการและพลมารีย์ผู้เกี่ยวข้อง ส่วนประธานและสมาชิกอื่นส่วนใหญ่
หน้า 298 บทที่ 34 หน้าที่ของเจ้าหน้าที่เปรสิเดียม
ไม่มีส่วนร่วม ต่างสงบนิ่ง เกรงว่าการแทรกแชงของตน จะเป็นการพยายามก้าวก่ายกับการวินิจฉัยของจิตตาธิการ
เมื่อขาดการอภิปรายเรื่องต่างๆ อย่างกว้างขวางและเสรี ทันทีทันใดการประชุมก็จะสูญเสียสิ่งสำคัญที่เป็นเครื่องดึงดูดความสนใจ เป็นพลังสำคัญในการศึกษาอบรม และจุดสำคัญยิ่งของการประชุมเปรสิเดียมเช่นนี้จะไม่ทำงานเมื่อจิตตาธิการไม่อยู่ในที่ประชุม และจะล้มเหลวเมื่อท่านจากไป
“จิตตาธิการจะสนใจเต็มที่ต่อทุกสิ่งที่กล่าวในที่ประชุม ซึ่งที่จริงก็เป็นหน้าที่ของสมาชิกทุกคนอยู่แล้ว ท่านจะไม่จ้องจับทุกคำพูด เพื่อถือโอกาสแสดงทัศนะของตน แน่นอน ท่านจะแสดงความเห็นหรือความรู้แก่ที่ประชุม เมื่อได้รับการเรียกร้องอันแน่ชัด แต่ท่านพึงปฏิบัติดังนี้แต่พอเหมาะ ไม่ ‘บดบัง’ ประธาน ไม่เข้าครอบครองการประชุมเพียงผู้เดียว และนอกจากนั้นท่านจะเกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม เพื่อเป็นตัวอย่างให้สมาชิกทราบว่า ตนควรสนใจ ในญัตติที่ไม่ใช่ของตนสักเพียงไร และด้วยวิธีใด” (Bishop Helmsing)
ในกรณีที่เปรสิเดียมทำงานเกี่ยวกับการศึกษา จิตตาธิการจะคอยควบคุมการเลือกหนังสืออ่าน ท่านจะเอาใจใส่ตรวจตรางานนี้อย่างใกล้ชิด จะไม่ยอมให้ลัทธิคำสอนใดเข้าถึงสมาชิก นอกจากที่สอดคล้องกับหลักธรรมที่พระศาสนจักรรับรองแล้ว
ทันทีที่สวดบทกาเตนาจบ จิตตาธิการควรให้โอวาทสั้น ๆ เป็นต้น การอธิบายคู่มือ (ดูระเบียบการประชุม การให้โอวาท บทที่ 18 ข้อ 11) ในกรณีท่านมิได้เข้าประชุม ให้ประธานทำหน้าที่นี้
ทันทีที่จบบทภาวนาปิดประชุม จิตตาธิการจะอวยพรแก่สมาชิก
“แท้จริงพระคริสตเจ้าทรงตั้งสังมภาพ ไม่ใช่เพื่อเป็นเพียงตัวแทนหรือรับหน้าที่แทนพระองค์เท่านั้น แต่อีกนัยหนึ่งเพื่อเป็นพระองค์เองด้วย กล่าวคือเพื่อพระองค์จะ
หน้า 299 บทที่ 34 หน้าที่ของเจ้าหน้าที่เปรสิเดียม
ได้สำแดงพระฤทธานุภาพทางพระสงฆ์ ฉะนั้นความภักดีและความนับถือต่อพระสงฆ์ก็เป็นความเคารพโดยตรงต่อ ผู้เป็นสงฆ์ตลอดนิรันดร โดยมีผู้แทนเป็นมนุษย์เป็นผู้มีส่วนร่วม” (Benson : Friendship of Christ)
“พระสงฆ์ต้องเป็นดังพ่อบ้านคนนั้น ซึ่งทุกชั่วโมงตลอดวันแต่เช้าจนเย็น ออกไปตามที่สาธารณะ เพื่อเรียกคนงานมาทำงานในสวนองุ่นของพระเป็นเจ้า ถ้าไม่ออกไปเรียกเช่นนี้ ก็เป็นที่หวั่นเกรงว่า คนส่วนมากจะไม่ทำอะไร ‘จงไปทำงานในสวนองุ่นของฉันเถิด’ (มธ 20:6)” (Civardi)
2. ประธาน
1. หน้าที่สำคัญอย่างหนึ่งของประธาน คือต้องเข้าประชุมคูเรีย ซึ่งเปรสิเดียมของตนสังกัด อาศัยวิธีนี้และวิธีอื่นๆ อีก จะทำให้เปรสิเดียมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างมั่นคง กับส่วนสำคัญของคณะพลมารีย์
2. ในการประชุมเปรสิเดียม ประธานจะเป็นผู้นำและอำนวยกิจการจะมอบงาน และรับฟังรายงานกิจการของสมาชิก ประธานต้องจำไว้ว่า ตนอยู่ในที่ประชุม ฐานะเป็นผู้รับมอบหมายจากคณะพลมารีย์ เพื่อดูแลให้ทุกคนถือซื่อสัตย์ต่อระบบอย่างละเอียดลออทุกข้อ บกพร่องต่อการมอบหมายนี้เป็นการไม่ซื่อสัตย์ต่อคณะ กองทัพฝ่ายโลกเรียกความบกพร่องนี้ว่าเป็นการทรยศ และผู้ฝ่าฝืนจะถูกโทษอย่างหนัก
3. ประธานมีภาระรับผิดชอบก่อนผู้อื่นหมด ที่จะต้องตรวจตราดูให้ห้องประชุมพร้อมสรรพ (คือในเรื่องเกี่ยวกับแสงสว่าง อากาศ ที่นั่ง ฯลฯ) เพื่อการประชุมจะได้เริ่มตามเวลา
4. ประธานจะเริ่มประชุมตรงตามเวลานัดหมาย หยุดดำเนินการตามเวลากำหนดสำหรับสวดบทกาเตนา และปิดประชุมตรงตามเวลาที่กำหนดไว้เกี่ยวกับเรื่องนี้ ขอแนะให้ประธานวางนาฬิกาไว้ต่อหน้าบนโต๊ะ
หน้า 300 บทที่ 34 หน้าที่ของเจ้าหน้าที่เปรสิเดียม
5. ประธานจะให้โอวาท เมื่อจิตตาธิการไม่อยู่
6. ประธานจะสอนและควบคุมดูแลเจ้าหน้าที่อื่นในการปฏิบัติหน้าที่ของตน
7. ประธานจะคอยสังเกตเสมอถึงสมาชิกที่มีวุฒิพิเศษ เพื่อเสนอแนะต่อคูเรียในกรณีมีตำแหน่งเจ้าหน้าที่ว่างลง ในเปรสิเดียมของตนเองหรือเปรสิเดียมอื่น เนื่องจากประสิทธิภาพของเปรสิเดียมขึ้นอยู่กับความดีเลิศของเจ้าหน้าที่ จึงควรถือเป็นเกียรติของประธาน ในการอบรมให้ได้เจ้าหน้าที่อันเหมาะสม และดังนี้เป็นการเตรียมอนาคตของคณะพลมารีย์ด้วย
8. ประธานจะต้องนำเพื่อนพลมารีย์ทั้งหมดของตนให้มีระดับจิตใจและความลุกร้อนในขั้นสูง แต่ทั้งนี้ไม่ถึงกับรับทำการงานที่เพื่อนสมาชิกพึงกระทำ มาทำเสียเอง หากประธานไปทำงานแทนสมาชิก จริงอยู่เป็นการแสดงใจลุกร้อน แต่จะขาดการแสดงแบบอย่าง เพราะว่าตนเองจะเป็นผู้กีดกันสมาชิกไม่ให้มีโอกาสทำตามตัวอย่างนั้น
9. ประธานพึงจำไว้ว่า รายงานเสียงกระชิบหรือไม่ชัดเจนเป็นอุปสรรคต่อการประชุม ระหว่างประชุมประธานเองต้องพูดเสียงดังให้ได้ยินทั่วห้อง ถ้าบกพร่องข้อนี้ จะเห็นสมาชิกของตนต่างรายงานชนิดที่ต้องพยายามฟังจึงได้ยิน และการประชุมจะซบเชาลงทันที
10. ประธานมีหน้าที่ต้องคอยดูแล ให้สมาชิกแต่ละคนรายงานพอเหมาะ สมาชิกที่อายหรือไม่ชำนาญ ประธานควรถามนำอย่างสุขุม ตรงกันข้ามบางคนรายงานยืดยาวเกินไป แม้รายงานนั้นดีเลิศ ประธานก็ต้องคอยปรับลงให้ได้สัดส่วนกับเวลาอันมีค่า
11. เพื่ออำนวยการประชุมให้เหมาะสม ประธานควรพูดน้อยตามแต่จะได้ หมายความว่าต้องเดินสายกลางไม่มากไม่น้อยเกินไป วิธีที่เกินไป
หน้า 301 บทที่ 34 หน้าที่ของเจ้าหน้าที่เปรสิเดียม
อย่างหนึ่ง คือประธานดำเนินการประชุมโดยไม่ห้ามปรามหรือสนับสนุนอะไรเสียเลย จนการประชุมเกือบจะเป็นไปตามยถากรรม ผลลัพธ์ก็คือสมาชิกบางคนรายงานห้วน ๆ ไม่กี่คำ แต่บางคนก็พูดไม่รู้จักจบ เมื่อเอาการรายงาน “น้อยเกินไป” กับ “มากเกินไป” มารวมคิดเฉลี่ยเป็นเวลาแล้ว เปรสิเดียมก็อาจดูเหมือนดำเนินกิจการในเวลาอันถูกต้องดี จะเป็นการเสียเวลาที่จะนำสิ่งไม่ถูกต้องมารวมกัน เพราะไม่สามารถทำให้เกิดระเบียบอย่างสมบูรณ์ได้
ที่เกินไปอีกอย่าง คือ การพูดมากเกิน ประธานบางคนก็พูดมากตลอดเวลา ผลก็คือ (ก) ขโมยเวลาของสมาชิกอื่น (ข) บิดเบือนเจตจำนงของเปรสิเดียม ซึ่งมุ่งไม่ให้ใช้ระบบปาฐกถา แต่ให้รวมกันพิจารณา “ลูกต้องอยู่ในบ้านของพระบิดาของลูก” (ลก 2:49) (ค) ยิ่งกว่านั้น การพูดมากเกินไปของประธานเท่ากับกล่อมสมาชิกเข้าสู่สภาพพักผ่อน ไม่มีใครอยากเปิดปาก
พูดมากเกินหรือน้อยเกินนี้ เป็นวิธีที่ใช้ไม่ได้ในการฝึกสมาชิก
12. ประธานต้องปลูกฝังความมีจิตใจเป็นพี่น้องกัน ให้เกิดขึ้นในเปรสิเดียม โดยรู้ไว้ว่าถ้าเรื่องนี้ล้มเหลว อะไรอื่นก็ล้มเหลวหมด ตัวประธานเองต้องประคับประคองความรักนี้ไว้ โดยแสดงความรักซาบซึ้งต่อสมาชิกทุกคนและแต่ละคน และโดยทั่ว ๆ ไปด้วยการวางตัวสุภาพถ่อมตนเป็นแบบอย่างเด่นชัด ประธานต้องบำเพ็ญตนตามพระวาจาของพระคริสตเจ้า ที่ว่า “ผู้ใดที่ปรารถนาจะเป็นคนที่หนึ่งในบรรดาท่านทั้งหลาย ก็จะต้องทำตนเป็นผู้รับใช้” (มธ 20:27)
13. ประธานต้องสนับสนุนให้สมาชิกกล้าแสดงความคิดเห็นให้เต็มใจอาสาทำงานที่ไม่ได้รับมอบ ดังนี้ จะทำให้บังเกิดความรู้สึกสนใจอย่างจริงจังในงานทั้งหมดของเปรสิเดียม
1 4. ประธานต้องปฏิบัติให้เป็นที่มั่นใจได้ว่า พลมารีย์ทุกคนทำงาน
หน้า 302 บทที่ 34 หน้าที่ของเจ้าหน้าที่เปรสิเดียม
(ก) ตามจิตตารมณ์ถูกต้อง
(ข) ตามแนวอันถูกต้อง
(ค) ผลดีที่คณะพลมารีย์ปรารถนาจะเห็นบังเกิดขึ้นในทุกรายนั้นได้สำเร็จสมประสงค์แล้ว
(ง) งานเก่าได้รับการรื้อฟื้นทำใหม่อยู่เนืองๆ และ
(จ) สมาชิกมีจิตใจพร้อมจะทำงานเสมอ โดยจัดให้ริเริ่มงานใหม่สม่ำเสมอ
15. ประธานต้องกำหนดให้สมาชิกได้ใช้ความพยายาม และความเสียสละตนเองสมตามขนาดที่สามารถ ให้งานเล็ก ๆ น้อย ๆ แก่สมาชิกที่สามารถมากเป็นการอยุติธรรมใหญ่หลวงแก่พลมารีย์ผู้นั้น เป็นการทำร้ายประโยชน์นิรันดรของเขา ใครถูกชักจูงให้ทำงานอันไม่มีสาระ ก็คงจะต้องทำเช่นนั้นเป็นแน่ ดังนั้นประธานต้องกระตุ้นทุกคนให้ทำงานเพื่อพระเป็นเจ้า พระองค์ประสงค์ให้ทุกคนทำจนสุดความสามารถ
16. ความผิดต่าง ๆ ของเปรสิเดียมมักจะเป็นความผิดพลาดของประธาน ถ้าประธานยอมรับสิ่งที่ไม่ถูกต้อง สิ่งไม่ถูกนั้นก็จะกลับมาอีก และร้ายกาจยิ่งขึ้น
17. เนื่องจากประธานอำนวยการประชุมราวปีละ 50 ครั้ง และเขาก็ไม่ใช่วิเศษเหนือมนุษย์ จึงบางครั้งบางคราวเขาอาจเกิดอารมณ์ขุ่นเคืองขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ถ้ารู้สึกเช่นนั้น เขาต้องระงับอย่าให้ปรากฎออกมาได้ เพราะไม่มีอะไรจะร้ายแรงเท่าจิตใจที่ขุ่นเคืองเป็นไม่มี เมื่อเริ่มจากคนหนึ่งโดยเฉพาะจากผู้มีอำนาจหน้าที่ไม่ช้าจะลุกลามไปทั่วทุกคนในที่นั้นได้
18. ประธานที่รู้สึกว่า เปรสิเดียมของตนอ่อนแอหรือขาดจิตตารมณ์ควรปรึกษาเป็นการส่วนตัวกับเจ้าหน้าที่ดูเรีย เพื่อเลือกทางที่เหมาะสำหรับ
หน้า 303 บทที่ 34 หน้าที่ของเจ้าหน้าที่เปรสิเดียม
ปฏิบัติ และถ้าได้รับคำแนะนำให้กลับเป็นสมาชิกธรรมดา ประธานควรถ่อมตัวยอมตามคำตัดสินนั้น ซึ่งจะเป็นการนำพระพรอันอุดมมาสู่เขา
19. ประธาน ก็เช่นเดียวกับเจ้าหน้าที่อื่น ๆ และสมาชิกทุกคนต้องปฏิบัติตามข้อผูกพันของการเป็นสมาชิก โดยทำงานตามปกติของเปรสิเดียม การกำหนดข้อบังคับนี้สำหรับประธาน ดูไม่น่าจำเป็น แต่น่าเสียดายที่กลับปรากฎตรงกันข้าม (คือประธานไม่ได้ทำงาน)
20. ที่สุดประธานต้องไม่ขาดคุณสมบัติต่างๆ ซึ่งเจ้าหน้าที่ผู้นำกิจการคาทอลิกคนหนึ่ง (คือพระคาร์ดินัล ปีสชาร์โด) ได้กล่าวเน้นไว้ สำหรับให้เป็นคุณสมบัติที่เด่นชัดเป็นพิเศษของผู้นำทุกท่านในงานของกิจการคาทอลิก คือความอ่อนน้อมเชื่อฟังผู้ใหญ่ฝ่ายพระศาสนจักร ละทิ้งน้ำใจของตน ความรักซึ่งกันและกัน กลมเกลียวกับองค์กรและบุคคลในองค์กรอื่นๆ
“ตั้งแต่วาระที่ดิฉันได้รับมอบหมายให้ดูแลวิญญาณ ดิฉันก็เล็งเห็นทันทีว่าภาระนั้นเกินกำลังดิฉันเสียแล้ว จึงรีบโผเข้าสู่อ้อมพระหัตถ์ของพระคริสตเจ้า ดิฉันถอดแบบเด็ก ๆ ซึ่งเมื่อตกใจกลัว ก็ซบหน้าลงบนบ่าของบิดา ดิฉันก็ร้องทูลว่า พระเยซูเจ้าข้า พระองค์ทรงเห็นแล้วว่า ดิฉันยังเยาว์เกินไป จะเลี้ยงดูลูก ๆ ของพระองค์ แต่ถ้าพระองค์จะใช้ดิฉัน มอบสิ่งที่หมาะสมแก่แต่ละคน ก็โปรดประทานแก่ดิฉันด้วยเถิด และดิฉันจะแจกจ่ายขุมทรัพย์ของพระองค์แก่บรรดาวิญญาณที่มาขออาหารจากดิฉัน โดยไม่ยอมห่างจากพระหัตถ์ของพระองค์ และหันหน้าออกจากพระองค์เลย เมื่อเขาเหล่านั้นรู้สึกชอบใจอาหารนั้น ดิฉันก็รู้ว่า เขาไม่ได้เป็นหนี้บุญคุณดิฉัน แต่เป็นหนี้พระคุณของพระองค์ ตรงกันข้ามหากเขาบ่นว่าอาหารขม ดิฉันจะไม่รู้สึกวุ่นวายใจเลย แต่จะพยายามชี้แจงให้เห็นว่าสิ่งนั้นได้รับมาจากพระองค์ และดิฉันเองก็จะคอยระวังไม่ให้สิ่งอื่นใดแก่เขา (นอกจากที่รับมาจากพระองค์)” (นักบุญเทเรชา แห่งลิซีเออร์)
หน้า 304 บทที่ 34 หน้าที่ของเจ้าหน้าที่เปรสิเดียม
3. รองประธาน
1. รองประธานมีหน้าที่ต้องเข้าประชุมคูเรีย
2. จะเป็นประธานการประชุมเปรสิเดียมในกรณีที่ประธานไม่อยู่ อย่างไรก็ดี พึงเข้าใจว่าตำแหน่งรองนี้ไม่ได้ก่อให้เกิดสิทธิใด ที่จะสืบแทนตำแหน่งประธานที่ว่างลง (หมายความว่า เมื่อตำแหน่งประธานว่างลง สมาชิกอื่นก็มีสิทธิ์รับแต่งตั้งเป็นประธานได้)
คำแนะนำต่อไปนี้ ดัดแปลงมาจากหนังสือคู่มือสมาคมนักบุญวินเซนต์ เดอ ปอล ใช้ได้เช่นเดียวกันสำหรับรองประธานเปรสิเดียมคือ “เมื่อประธานไม่อยู่ โดยเฉพาะเป็นครั้งคราว ให้พึงเข้าใจว่ารองประธานมีอำนาจทั้งสิ้นของประธาน และทำหน้าที่ของประธานอย่างครบถ้วน สมาคมไม่ควรหยุดดำเนินกิจการ เพราะขาดสมาชิกไป 1 ท่าน และก็เป็นเช่นนี้ ถ้าสมาชิก ยังต้องรู้ตระหนักแน่ในใจว่า เป็นหน้าที่ของตนที่จะปฏิบัติแทนประธานอย่างครบถ้วน เมื่อประธานไม่อยู่ หรือมีเหตุขัดข้องเข้าประชุมไม่ได้ เพื่อว่าเมื่อประธานกลับมาจะไม่รู้สึกว่าทุกสิ่งเสื่อมลงเพราะท่านไม่อยู่
3. โดยทั่วไป รองประธานต้องช่วยประธานในการจัดการเปรสิเดียมและดำเนินงานให้ลุล่วงไป บ่อยเกินไปเข้าใจกันว่ารองประธานเริ่มมีหน้าที่เฉพาะเวลาประธานไม่อยู่ นี่เป็นความเข้าใจผิด ซึ่งยังผลร้ายทั้งแก่รองประธานและเปรสิเดียม ทัศนะถูกต้องคือรองประธานต้องร่วมมือใกล้ชิดกับงานของประธาน ทั้งคู่ต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับเปรสิเดียมมาก เช่นเดียวกับบิดามารดาเกี่ยวข้องกับบ้าน หรือแม่ทัพและเสนาธิการเกี่ยวพันกับกองทัพ รองประธานช่วยให้ประธานทำหน้าที่ครบถ้วน จุดประสงค์ก็คือให้รองประธานเป็นเจ้าหน้าที่เอาการเอางาน ไม่ใช่เจ้าหน้าที่สำรองหรือเฉื่อยชา ระหว่างประชุมหน้าที่เฉพาะของเขาคือคอยควบคุมหลายสิ่งซึ่งลอดหูลอดตาประธานไป
หน้า 305 บทที่ 34 หน้าที่ของเจ้าหน้าที่เปรสิเดียม
แต่ล้วนจำเป็นเพื่อเปรสิเดียมดำเนินไปด้วยดี
4. รองประธานมีหน้าที่เฉพาะในการเอาใจใส่เรื่องสมาชิกภาพควรทำความรู้จักกับผู้เข้าใหม่ตั้งแต่โอกาสแรกที่มาประชุม ต้อนรับเขาในเปรสิเดียม แนะนำให้เขารู้จักกับสมาชิกอื่น ก่อนหรือหลังการประชุม คอยดูว่าได้รับมอบงานแล้ว รู้จักข้อบังคับของการเป็นสมาชิก (รวมทั้งการสวดบทกาเตนาทุกวัน) ทั้งให้รู้ว่ามีสมาชิกขั้นเปรโตเรียน และรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้
5. ระหว่างประชุม รองประธานต้องทำเครื่องหมายในสมุดเข้าประชุม
6. รองประธานต้องรักษาทะเบียนต่างๆ เกี่ยวกับสมาชิกประจำการเปรโตเรียน อัดยูตอเรียน และสมาชิกสนับสนุนธรรมดา แต่ละประเภทยังแยกเป็นสมาชิกสมบูรณ์ และระหว่างทดลอง เขาจะต้องสังเกตว่าสมาชิกขั้นทดลองนี้ ได้รับการตรวจสอบเมื่อสิ้นกำหนดทดลองแล้ว ถ้าเห็นว่าสัตย์ซื่อต่อระเบียบข้อบังคับ ก็ให้ย้ายเข้าทะเบียนสมาชิกถาวร
7. รองประธานต้องแจ้งให้สมาชิกประจำการระหว่างทดลองทราบเวลาที่ทดลองจวนจะจบลง และเตรียมการทั้งปวงให้ถวายคำสัญญา
8. รองประธานจะต้องคอยระวังสังเกต เมื่อสมาชิกคนใดคนหนึ่งขาดประชุม และต้องพยายามโดยใช้จดหมายหรือวิธีอื่นป้องกันไม่ให้เขาขาดจากสมาชิกภาพได้
แน่นอนระหว่างบุคคลที่ไม่เคยมีอะไรน่าสงสัยเลยในเรื่องสมาชิกภาพและที่เลิกล้มทันทีเพราะความไม่เหมาะสมนั้น จำต้องมีพวกกลางๆ จำนวนมากที่ยังคงเป็นสมาชิก เพราะสิ่งแวดล้อมภายนอก หรือโดยบังเอิญ พวกนี้จะคงถาวรในสมาชิกภาพ ถ้าได้เจ้าหน้าที่ผู้อารีสักคนคอยเอาใจใส่เป็นพิเศษ
หน้า 306 บทที่ 34 หน้าที่ของเจ้าหน้าที่เปรสิเดียม
จงจำไว้ด้วยว่าการรักษาสมาชิกเก่าไว้นั้นสำคัญแก่คณะพลมารีย์มากกว่าการได้สมาชิกใหม่ ดังนั้นเจ้าหน้าที่ผู้นี้ หากปฏิบัติงานไปโดยสัตย์ซื่อเสมอจะเป็นผู้ก่อให้เกิดกิจการที่ดี และชัยชนะทางวิญญาณอย่างเหลือหลาย จะทำให้เกิดตั้งเปรสิเดียมใหม่อย่างรวดเร็ว จะเป็นงานแพร่ธรรมอย่างพิเศษไปในตัวด้วย
9. รองประธานต้องสอดส่อง ไม่ให้เพิกเฉยในเรื่องภาวนาอุทิศแก่สมาชิกผู้ล่วงลับ หน้าที่นี้ได้ชี้แจงไว้ในบทอื่นโดยเฉพาะ
10. รองประธานจะเยี่ยมสมาชิกที่ป่วย หรือจัดให้พลมารีย์อื่นไปเยี่ยม
11. รองประธานจะคอยดูแลสมาชิกอื่น ๆ ให้หาสมาชิกสนับสนุน โดยเฉพาะสมาชิกขั้นอัดยูตอเรียน และการติดต่อเอาใจใส่สมาชิกดังกล่าวด้วยพวกนวกะแสดงความประหลาดใจต่อนักบุญเทเรชา เมื่อเห็นนักบุญทายความคิดเร้นลับของเขาได้ ‘เคล็ดลับของฉันนะรึมีดังนี้’ นักบุญอธิบาย ‘ฉันไม่เคยตักเตือนพวกเธอ โดยไม่ได้วอนขอพระนางพรหมจารีเสียก่อน ฉันขอพระนางดลใจฉันให้ทำแต่สิ่งที่จะเป็นประโยชน์ที่สุดสำหรับพวกเธอ และฉันเองก็พิศวงบ่อย ๆ ‘ ในสิ่งที่ฉันสอนพวกเธอ ต่อมา ฉันรู้สึกว่า ขณะพูดกับพวกเธอฉันไม่หลงไปที่จะเชื่อว่า เป็นพระเยซูเจ้าที่กำลังตรัสกับพวกเธอโดยอาศัยปากของฉัน’ (นักบุญเทเรชา แห่งลิซีเออร์)
4. เลขานุการ
1. เลขานุการต้องเข้าประชุมคูเรีย
2. เลขานุการรับผิดชอบในการทำรายงานการประชุมของเปรสิเดียม ต้องเตรียมรายงานอย่างรอบคอบ และอ่านอย่างชัดเจน รายงานมีความสำคัญมาก ทั้งลีลาในการอ่านและเนื้อหาของเรื่อง รายงานที่อ่านดี ไม่ยาวหรือสั้นเกินไป ซึ่งแลเห็นชัดว่าเลขานุการได้เอาใจใส่เตรียมมามิใช่น้อย
หน้า 307 บทที่ 34 หน้าที่ของเจ้าหน้าที่เปรสิเดียม
จะเป็นการนำให้วาระประชุมต่อ ๆ ไปดีไปด้วย และเป็นปัจจัยสำคัญให้การประชุมนั้นสัมฤทธิ์ผลด้วย
3. เลขานุการต้องเอาใจใส่เครื่องใช้ไม้สอยของตน ถ้าปรารถนาทำงานให้เกิดผลดี ความจริงเกี่ยวกับความคิดเห็นของคนเรา ปรากฎว่า แม้จะเป็นเลขานุการที่ดี แต่เมื่อเขียนด้วยดินสอหรือปากกาแตก บนกระดาษคุณภาพต่ำ ปกติจะไม่สามารถบันทึกรายงานที่ดีได้ ฉะนั้นรายงานควรเขียนด้วยหมึกในสมุดชนิดดี
4. เลขานุการย่อมไม่ถือว่า งานในหน้าที่เลขานุการพอแล้วสำหรับงานที่เปรสิเดียมมอบ (คือต้องทำงานที่มอบประจำสัปดาห์ตามปกติอีกด้วย)
5. เลขานุการต้องตรงเวลาต่อการเสนอเรื่องราว หรือรายงานที่คูเรียต้องการ และโดยทั่วไปจะต้องรับผิดชอบในการโต้ตอบจดหมายของเปรสิเดียม เลขานุการจะต้องสอดส่องให้มีอุปกรณ์เครื่องเขียนเพียงพอแก่ความต้องการ
6. อย่างไรก็ตาม หน้าที่บางส่วนของเลขานุการ ประธานอาจมอบให้สมาชิกอื่นในเปรสิเดียมทำก็ได้
“พระวรสารบันทึกไว้ว่า ‘พระมารดาทรงเก็บเรื่องทั้งหมดเหล่านี้ไว้ในพระทัย’ (ลก 2:51) ทำไมไม่เขียนบนแผ่นหนังเล่า บ๊อตริเซลลี ถามตนเอง และโดยไม่ต้องคิดจะอธิบายความหมายของข้อความตอนนี้ให้ลึกซึ้งเข้าไปอีก ท่านผู้นี้ก็วาดภาพสดุดีอย่างยอดเยี่ยมแห่งความอิ่มเอิบและสำนึกคุณ เป็นภาพทูตสวรรค์องค์หนึ่งถวายน้ำหมึกในมือขวา มือซ้ายประคองรับต้นฉบับบทมักญีฟีกัต ซึ่งพระนางพรหมจารีเพิ่งจะเขียนเสร็จด้วยอักษรงดงามแบบโกธิก ส่วนพระกุมารแก้มยุ้ยประทับอยู่ในท่าประกาศก พระหัตถ์น้อย ๆ ของพระองค์ดูเหมือนคอยนำนิ้วของพระมารดาเวลาเขียน นิ้วอันละเอียดอ่อนไวต่อความรู้สึก และแทบจะมีความรู้สึกนึกคิดนี้ จิตรกรชาวฟลอเรนซ์ มักวาดออก
หน้า 308 บทที่ 34 หน้าที่ของเจ้าหน้าที่เปรสิเดียม
เป็นภาพแสดงพระนางพรหมจารีตามมโนภาพของเขาเสมอ :
เช่นเดียวกัน ขวดหมึกก็มีความหมาย แม้ไม่ใช่ทอง ไม่ใช่นวรัตน์ เหมือนมงกุฎที่คณะทูตสวรรค์ทูลถวาย แต่เป็นสัญลักษณ์ถึงชัยชนะของพระราชินีสวรรค์และโลกบอกล่วงหน้าถึงทุกสิ่งที่จะบันทึกไว้ในประวัติการณ์ของมนุษย์ตราบเท่าสิ้นพิภพ ให้เป็นเครื่องมือยืนยันการที่ผู้รับใช้ของพระคริสตเจ้า ได้ทำนายถึงสิริมงคลของพระนางเอง” (Vloberg)
5. เหรัญญิก
1. เหรัญญิกต้องเข้าประชุมคูเรีย
2. ต้องรับผิดชอบในการรับ – จ่ายทั้งสิ้นของเปรสิเดียม และทำบัญชีให้ครบถ้วนเรียบร้อย
3.ต้องคอยสอดส่องให้เวียนถุงทานทุกคราวประชุม
4. ต้องจ่ายเงินเฉพาะเมื่อเปรสิเดียมสั่ง และรักษาเงินทุนสำรองไว้ในนามของเปรสิเดียม ตามวิธีการที่เปรสิเดียมสั่ง
5. ต้องระลึกถึงคำแนะนำเรื่องการสะสมเงินทุน ตามที่กล่าวไว้ในบทที่ 35 เรื่องเงินทุน และต้องนำเรื่องนี้เสนอเปรสิเดียมเป็นครั้งคราว
“พระนางมารีย์เป็นพนักงานคลังอาหารของพระตรีเอกภาพ เพราะพระนางรินน้ำองุ่นของพระจิตเจ้า ประทานแก่ผู้ใด มากน้อยเท่าใด สุดแต่พระนางจะพอพระทัย” (นักบุญอัลเบิร์ต ผู้ยิ่งใหญ่)
“พระนางมารีย์เป็นเหรัญญิก ขุมสมบัติของพระนางคือพระคริสตเจ้า พระองค์นี้เองที่พระนางเป็นเจ้าของ และพระองค์นี้เองที่พระนางทรงแจกจ่าย” (St. Peter Julian Eymard)
หน้า 309 บทที่ 35 เงินทุน
บทที่ 35
เงินทุน
1. ทุกหมวดหมู่พลมารีย์ ต้องบริจาคทรัพย์บำรุงสภาสูงถัดขึ้นไปภายใต้กฎเกณฑ์และเงื่อนไขดังต่อไปนี้แล้ว ทุกหมวดหมู่พลมารีย์มีอำนาจเต็มที่ควบคุมเงินทุนของตน และรับผิดชอบทั้งสิ้นเกี่ยวกับหนี้สินของตน
2. หมวดหมู่ต่างๆ ไม่ควรจำกัดเงินส่งบำรุงเป็นเปอร์เช็นต์ หรือจำนวนเงินขั้นต่ำสุด ขอแนะนำว่า เงินทุนที่เหลือหลังจากใช้จ่ายตามความจำเป็นของเปรสิเดียมแล้ว ควรส่งให้คูเรีย เพื่อจุดประสงค์ทั่วไปของคณะ ในเรื่องนี้ก็เช่นเดียวกับเรื่องอื่น ๆ ทั้งหมด ความสัมพันธ์ระหว่างเปรสิเดียมกับคูเรียควรเป็นไปในแบบลูกกับแม่ คูเรียสลวนเอาใจใส่ต่อผลประโยชน์ของเปรสิเดียม ส่วนเปรสิเดียมก็พยายามให้ความช่วยเหลือทุกอย่างแบ่งเบาภาระคูเรีย เป็นการตอบแทน
บ่อย ๆ ทีเดียวเปรสิเดียมไม่สู้ชาบซึ้งถึงความจริงที่ว่า งานบริหารทั่วไปของพลมารีย์ขึ้นอยู่กับเงินบำรุงเปรสิเดียม รู้สึกว่าได้เงินนี้พอดิบพอดีแก่ความจำเป็นของคูเรียเท่านั้น และกระนั้นบางทีก็บำรุงไม่พอ ด้วยเหตุนี้คูเรียจึงไม่อาจช่วยสภาสูงขึ้นไปในภาระหนักเกี่ยวกับการขยายงาน การเปิดและเยี่ยมสาขาต่าง ๆ และค่าใช้จ่ายประจำอื่น ๆ หมายความว่าหน้าที่สำคัญของคณะพลมารีย์ชนิดหนึ่งกำลังจะถูกทอดทิ้ง ทั้งนี้เป็นผลเสียจากการที่ไม่คำนึงถึงนั่นเอง
3. ข้อเสนอ เพื่อใช้จ่ายทั้งสิ้นอันนอกเหนือไปจากธรรมดา เปรสิเดียมต้องนำเสนอคูเรีย เพื่อคูเรียพิจารณาตัดสินว่า มีสิ่งใดผิดพลาดอันเป็นผลเสียหายได้
หน้า 310 บทที่ 35 เงินทุน
4. คูเรียอาจให้เงินช่วยเปรสิเดียมได้ แต่ห้ามรับผิดชอบการเงินเกี่ยวกับงานประการใด ๆ ที่เปรสิเดียมนั้นดำเนินอยู่ ความรับผิดชอบนั้นคงเป็นของเปรสิเดียมเอง จำเป็นต้องวางระเบียบไว้ดังนี้ มิฉะนั้นเปรสิเดียมใดเปิดสโมสร หอพักหรืองานอื่น ๆ ในฐานะที่ตนเป็นเปรสิเดียมที่ตั้งถูกต้องแล้ว จะทำให้เปรสิเดียมอื่นกลายเป็นตัวแทนเก็บเงินให้ตนไปหมด
นอกจากนี้ไม่ว่าเปรสิเดียมใด ไม่ควรเรียกร้องให้เปรสิเดียมอื่นหรือคูเรีย ช่วยตนในเรื่องหาเงินทุนนอกจากให้ด้วยไมตรีจิต
5. การโอนเงินทุนจะต้องได้รับอนุมัติจากคูเรีย นอกจากเปรสิเดียมโอนให้กิจการพิเศษของตนหรือโดยนัยกลับกัน
6. ในกรณีที่เปรสิเดียมหรือสภาพลมารีย์ใดต้องยุบ หรือเลิกกิจการในฐานะเป็นหน่วยของคณะ กรรมสิทธิ์เงินทุนและทรัพย์สินนั้น ต้องส่งมอบแก่หน่วยสูงถัดขึ้นไปที่ตนสังกัด
7. จิตตาธิการจะไม่รับผิดชอบเป็นการส่วนตัวในหนี้สิน ซึ่งท่านเองไม่ได้แนะนำ
8. บัญชีการเงินของเหรัญญิกจะต้องตรวจสอบทุกปี ขอแนะนำให้ตั้งสมาชิก 2 คนจากเปรสิเดียมหรือสภา (ถ้าเป็นสภา) นอกจากเหรัญญิกเป็นเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ
9. (ในกิจการของพลมารีย์) จะเกิดการสุรุ่ยสุร่ายไม่ได้ เมื่อคิดว่าพระนางมารีย์เป็นแม่บ้านที่ประหยัด ฉะนั้นไม่จำเป็นต้องกล่าวว่าทุกหมวดหมู่พลมารีย์ต้องใช้สิ่งของและเงินทุน อย่างประหยัดระมัดระวัง
“มนุษยชาติทั้งหมดรวมเข้าเป็นครอบครัวเดียว ซึ่งแต่ละคนมีส่วนได้รับ และควรมีส่วนบริจาคแก่คณะด้วย ชีวิตควรดำรงตนอยู่และหมุนเวียนเสมอ ชีวิตนั้นเวียนมาถึงทุกคน ผู้ใดขัดให้หยุดก็เสียชีวิตนั้นไป ผู้ใดยินยอมให้เสีย กลับพบชีวิตนั้น แต่ละ
หน้า 311 บทที่ 36 เปรสิเดียมที่ต้องกล่าวเป็นพิเศษ
วิญญาณ หากต้องการมีชีวิตอยู่ ควรมอบตนเองสู่วิญญาณอื่น พระคุณทุกอย่างของพระเป็นเจ้า เป็นพลังที่จำต้องมอบต่อกันเป็นทอด ๆ เพื่อรักษาไม่ให้เสีย และทวีขึ้นเสมอ” (Gratry : The Month of Mary)
บทที่ 36
เปรสิเดียมที่ต้องกล่าวเป็นพิเศษ
1. เปรสิเดียมเยาวชน
1. เปรสิเดียมสำหรับบุคคลอายุต่ำกว่า 18 ปี อาจตั้งขึ้นได้ด้วยความเห็นชอบของคูเรีย และอยู่ภายใต้เงื่อนไขพิเศษเท่าที่เห็นจำเป็น (ดูบทที่ 14 ข้อ 22)
2. วิธีแท้อย่างเดียวเพื่อเรียนรู้เรื่องคณะพลมารีย์ คือปฏิบัติงานตามระบบของคณะ บ่อย ๆ มีการแสดงปาฐกถา เพื่อเร่งเร้าเยาวชนให้จับงานแพร่ธรรมเมื่อเขาออกไปเผชิญโลก แต่แม้ปาฐกถานั้นจะดีเลิศสักเพียงไรเมื่อเทียบกับการปฏิบัติจริง ๆ แล้ว ก็เสมือนนำโครงกระดูกมาเทียบกับร่างกายมีชีวิต ยิ่งกว่านั้น เมื่อขาดปฏิบัติจริง ความตั้งใจหรือปรารถนาจะเริ่มงานแพร่ธรรมก็มีค่าเพียงเล็กน้อย ความไม่ชำนาญงานพาให้ไม่มั่นใจ หรือไม่หากเริ่มไปตามแนวทางของตนเอง ก็แทบรับรองว่าจะลงเอยด้วยความล้มเหลว
3. พึงถือเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นว่า อย่างน้อยประธานของเปรสิเดียมเช่นนี้ควรเป็นผู้ใหญ่ (an ad ult) เป็นที่พึงปรารถนา ให้เจ้าหน้าที่คนที่สองเป็นผู้ใหญ่ด้วย เพื่อเมื่อประธานไม่อยู่จะได้ทำการแทน และเพื่อการขยายตัวต่อไป ถ้าพลมารีย์อาวุโสสองคนนี้ ยังคงเป็นสมาชิกของเปรสิเดียมอาวุโสงานเป็นเจ้าหน้าที่เปรสิเดียม ถือว่าพอเป็นงานประจำสัปดาห์
หน้า 312 บทที่ 36 เปรสิเดียมที่ต้องกล่าวเป็นพิเศษ
แต่ถ้าเขาเป็นสมาชิกของเปรสิเดียมเยาวชนเท่านั้น เขาต้องทำงานมีสาระจริงจังให้ได้ตามส่วนที่ผู้ใหญ่ทำได้ หากเป็นได้ เจ้าหน้าที่ทั้งสองนี้ควรเป็นพลมารีย์ผู้ชำนาญงาน เข้าใจระบบพลมารีย์เป็นอย่างดี และนอกจากนั้นเป็นผู้ที่เหมาะที่จะนำพลมารีย์เยาวชน สำเร็จผลสมความมุ่งหมายของคณะที่ตั้งเปรสิเดียม
จุดประสงค์นี้ ไม่ใช่มุ่งให้ทำงานมีประโยชน์ทางปริมาณเป็นสำคัญ แต่มุ่งฝึกฝนและอบรมวิญญาณสมาชิก ตระเตรียมให้พร้อมไว้สำหรับพลมารีย์อาวุโส เมื่อออกจากโรงเรียนแล้ว
4. เป็นที่แน่ชัดว่า การให้โอวาท (Allocutio) มีความสำคัญเป็นทวีคูณในระบบของคณะ เนื่องจากพลมารีย์เยาวชนหลายคน ยังไม่สามารถอ่านคู่มือให้เข้าใจแจ่มแจ้งเองได้ตลอด ฉะนั้น จิตตาธิการ (หรือประธานเมื่อท่านไม่อยู่) ควรยึดหนังสือคู่มือเป็นพื้นฐานสำหรับการให้โอวาททุกครั้ง ควรอ่านสักตอนหนึ่งสั้น ๆ แล้วอธิบายอย่างละเอียดซื่อ ๆ ตามวิธีที่แน่ใจว่าสมาชิกทุกคนจะเข้าใจได้เต็มที่
ควรอธิบายคู่มือตามวิธีนี้สัปดาห์แล้วสัปดาห์เล่า แต่ต้นจนจบ แล้วกลับต้นใหม่ แต่ที่แท้จริงสมาชิกภาพของเยาวชนแต่ละคน มักหมดอายุลงรวดเร็วจนไม่มีโอกาสได้ทบทวนถึง 2 ครั้ง เหตุนี้การให้โอวาทที่บกพร่องแต่ละคราว เท่ากับเสียโอกาส โดยไม่อาจเรียกกลับคืนได้
5. ถ้าคู่มือได้รับการศึกษาเป็นระบบ ตามวิธีที่แนะนำไว้ในภาคผนวก 10 การศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับความเชื่อ ก็จะเป็นการศึกษาที่เกิดประโยชน์มาก ไม่ทำให้สมาชิกรู้สึกเป็น “การบ้าน” เพิ่มขึ้น จะเป็นการฝึกอบรมอันมีค่ายิ่งแก่เยาวชน ที่จะจรรโลงคณะพลมารีย์อาวุโสต่อไป
หน้า 313 บทที่ 36 เปรสิเดียมที่ต้องกล่าวเป็นพิเศษ
6. เนื่องจากงานที่กำหนดสำหรับเปรสิเดียมอาวุโส อาจจะไม่เหมาะสมสำหรับเปรสิเดียมแบบนี้ได้ จึงต้องอาศัยความเฉลียวฉลาดจัดให้สมาชิกแต่ละคนมีงานอันเป็นสาระจริงจังประจำสัปดาห์ สมกับความสามารถของเขา เยาวชนหลายคนสามารถทำงานที่ถือว่าเป็นงานของอาวุโสและที่จริงควรให้เยาวชนที่ถึงอายุ 16 ทำงานที่มอบให้อาวุโสทำ
งานของเปรสิเดียมควรมีชนิดต่างๆ งานต่างๆ กันจะช่วยให้อบรมได้หลายวิธี โดยที่สมาชิกแต่ละคนไม่สามารถทำงานหมดทุกอย่างได้ วิธีที่ดีที่สุดรองลงมาเพื่อให้ได้ผลทั่วถึงกัน คือคอยดูเมื่อคนอื่นเขาทำงานนั้น ๆ ยิ่งกว่านั้นกิจการต่าง ๆ ของเปรสิเดียมยังชวนให้เกิดความสนใจด้วย
7. สมาชิกเยาวชนทำงานที่มอบอย่างน้อยสัปดาห์ละหนึ่งชั่วโมงคือครึ่งหนึ่งของสมาชิกอาวุโส
8. งานที่เสนอให้ทำคือ
(ก) แจกเหรียญแม่พระอัศจรรย์ตามวิธีการต่อไปนี้ เมื่อประชุมแต่ละคราว ให้แจกเหรียญนี้แก่พลมารีย์คนละหนึ่งหรือสองเหรียญ (ตามแต่กำหนด) เหรียญนี้ถือเสมือนกระสุนปืน ซึ่งทหารของพระนางมารีย์ต้องใช้ทำให้เกิดประโยชน์มากที่สุด คือถ้าทำได้ ให้นำไปให้คนต่างศาสนา หรือคาทอลิกที่เย็นเฉย
ความคิดนี้กระตุ้นเยาวชนให้เกิดมโนภาพและนำไปสู่การเสียสละ สมาชิกควรรับการอบรมให้รู้จักตอบคำถาม ซึ่งอาจจะถูกถาม และรู้จักพูดขึ้นต้นและลงเอยอย่างไร
(ข) การชักนำให้เป็นสมาชิกสนับสนุน ข้อนี้รวมทั้งสอนผู้สมัครใหม่ให้รู้จักสวดภาวนา รวมทั้งการไปเยี่ยมเป็นครั้งคราวเพื่อให้แน่ใจว่าเขาสวดเสมอไป
หน้า 314 บทที่ 36 เปรสิเดียมที่ต้องกล่าวเป็นพิเศษ
(ค) การพยายามหาอย่างน้อยใครสักคนหนึ่งทุกสัปดาห์มาสมทบเพื่อกระทำกิจกรรมต่อไปนี้ ร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณทุกวัน หรือปฏิบัติกิจศรัทธาสักอย่างหรือเข้าเป็นสมาชิกคณะภาวนานุเคราะห์ หรือคณะใดคณะหนึ่ง หรือสมาคมคาทอลิก
(ง) นำเด็กไปร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณและรับศีลมหาสนิท
(จ) ช่วยพิธีบูชาขอบพระคุณ
(ฉ) สอนคำสอน และหาเด็กมาเรียนคำสอน
(ช) เยี่ยมเด็กในโรงพยาบาลหรือสถาบัน หรือที่บ้านของเขา
(ซ) เยี่ยมคนพิการ และคนตาบอด และให้ความช่วยเหลือทุกอย่างที่จำเป็นสำหรับพวกเขา
9. ขอกำชับอย่างหนักแน่นให้ทุก ๆ เปรสิเดียมเยาวชน มีสมาชิกอย่างน้อย 2 คน ทำงานแต่ละชนิดที่ระบุไว้ใน 3 ข้อสุดท้าย คือ (6), (7),(8) งานเหล่านี้หากทำอย่างถูกต้องแล้วจะเป็นการฝึกอย่างดีเลิศสำหรับพลมารีย์ที่ทำงานนั้น และจะเป็นตัวอย่างมาตรฐานสำหรับงานอื่น ๆ ของเปรสิเดียม
10. อนุญาตให้พลมารีย์เยาวชนทำงานร่วมกันกับสมาชิกอาวุโสจากเปรสิเดียมผู้ใหญ่ได้
11. ในกรณีเปรสิเดียมนักเรียนประจำ เป็นที่ปรารถนาให้สมาชิกออกไปทำงานตามปกติข้างนอก แต่บรรดาอธิการ ผู้สำนึกในความรับผิดชอบของตน อาจวิตกเกรงว่าสิทธิพิเศษนี้จะใช้ไปในทางที่ผิด และคิดคำนึงไปถึงภยันตรายอื่นๆ อีก
เกี่ยวกับความวิตกกลัวนี้ควรคิดว่า (ก) ถ้าพลมารีย์นั้นอยู่ในเปรสิเดียมเยาวชนภายนอก เขาก็จะทำงานตามปกตินั้นอยู่แล้ว (ข) การฝึกอบรมเป็นวิธีเดียวสำหรับเตรียมอนาคต
หน้า 315 บทที่ 36 เปรสิเดียมที่ต้องกล่าวเป็นพิเศษ
ถ้าไม่มีเสรีภาพเดี๋ยวนี้ ก็จะไม่มีการฝึกอบรมเลยสำหรับเมื่อถึงเวลาที่ไม่มีใครควบคุมเสรีภาพ งานภายนอกนั้นได้รับการป้องกันสองต่อจากวินัยของโรงเรียน และระเบียบของคณะ จึงเป็นการตระเตรียมที่ดีเลิศสำหรับอนาคต
12. เป็นการถูกต้องที่ตั้งเปรสิเดียมในโรงเรียนที่นักเรียนพากันกลับบ้านหมดเมื่อโรงเรียนปิดภาค ทำให้ไม่อาจประชุมได้ในระหว่างนั้น แต่สมาชิกก็อาจไปทำงานในเปรสิเดียมที่ภูมิลำเนาของตนได้
13. ควรแนะนำให้สมาชิกจำใส่ใจว่า ความศักดิ์สิทธิ์ของตนเองไม่ใช่แต่เป็นวัตถุประสงค์สำคัญของคณะเท่านั้น แต่ยังเป็นปัจจัยสำคัญเกี่ยวกับงานพลมารีย์ด้วย โดยเหตุนี้สมาชิกควรได้รับการส่งเสริมให้ปฏิบัติกิจศรัทธาสนองความประสงค์ของเปรสิเดียมเกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่กิจศรัทธานี้ไม่ควรมอบให้สมาชิก และไม่ควรรายงานต่อที่ประชุม ขอเน้นว่ากิจศรัทธานี้ไม่สามารถแทนงานประจำได้ ถ้าผู้ใดทำต้องถือเป็นเพียงส่วนเพิ่มเติมงานประจำเท่านั้น
14. การเตรียมรายงานนั้น สมาชิกต้องใช้ความคิดพิจารณาเป็นพิเศษ และเจ้าหน้าที่เปรสิเดียมควรอบรมเขาให้รู้จักจัดทำรายงาน ธรรมดางานของเขาคงจะไม่มีเนื้อหาน่าสนใจหรือรายละเอียดมาก จึงจำเป็นต้องพยายามที่จะทำให้การรายงานนี้เป็นไปอย่างน่าฟัง และหลายหลากเสมอ
15. ความสำนึกของพลมารีย์เยาวชน ที่ว่าตนเป็นหนึ่งเดียวกับพลมารีย์อาวุโส ที่กำลังต่อสู้ในสงครามของพระคริสตเจ้า ท่ามกลางความยากลำบากแวดล้อมด้วยภยันตรายบ่อย ๆ และกล้าได้กล้าเสียอย่างใหญ่หลวงนั้นจะย้อมกำลังใจของเขาให้เด็ดเดี่ยว ทั้ง ๆ ที่การงานของเขานั้นเสี่ยงน้อยกว่าและจะฝังแน่นแฟ้นอยู่ในมโนภาพของเขา (ทุกสิ่งในระบบพลมารีย์ก็จะช่วยเขาในเรื่องนี้อยู่แล้ว)
หน้า 316 บทที่ 36 เปรสิเดียมที่ต้องกล่าวเป็นพิเศษ
ความสำนึกเช่นนี้จะช่วยเขา และช่วยผู้อื่นอีกมากมายให้ห่างพ้นจากที่จะถือว่าศาสนาเป็นของจำเจน่าเบื่อ ที่ต้องถือด้วยความจำใจ หากความนึกคิดเช่นนี้ฝังรากลึกในใจวัยรุ่นคนใดแล้ว ก็จะเป็นการเสียหาย ซึ่งแม้ความสำเร็จในด้านศึกษาจะรุ่งโรจน์ ก็หาทดแทนกันได้ไม่
16. กฎเกณฑ์ว่าด้วยการทดลอง ไม่ใช้สำหรับสมาชิกเยาวชนทั้งไม่ต้องถวายคำสัญญาของพลมารีย์ และไม่เข้าร่วมประชุมคูเรียอาวุโส แต่กิจการอื่น ๆ เรื่องบทภาวนา ระเบียบวินัยและการประชุมต่างๆ รวมทั้งถุงทานเหล่านี้ต้องปฏิบัติโดยครบถ้วนและเคร่งครัดที่สุด เช่นเดียวกับกรณีของเปรสิเดียมอาวุโส การย้ายจากสมาชิกเยาวชนเป็นอาวุโส ต้องผ่านระยะทดลองเต็มตามปกติ
17. พลมารีย์อาวุโสที่ทำงานในเปรสิเดียมเยาวชน คำสัญญาในเปรสิเดียมอาวุโส ควรถวายคำสัญญานั้นในเปรสิเดียมเยาวชน การได้เห็นพิธีนี้ จะประทับใจเยาวชนอย่างลึกซึ้ง และพาให้เขาคิดถึงวันที่เขาเองจะได้เป็นสมาชิกสมบูรณ์เมื่อจะถวายคำสัญญานั้นบ้าง
18. มีผู้เสนอบ่อย ๆ ว่า ควรดัดแปลงบทภาวนาเพื่อจะได้ให้เด็ก ๆเป็นสมาชิกได้ง่ายขึ้น ที่ไม่อนุญาตตามข้อเสนอเช่นนั้น จะเห็นได้ชัดจากการอ่านบทที่ 25 นี้ ซึ่งชี้ให้เห็นว่า การเป็นสมาชิกเยาวชนนั้นใกล้เคียงกับการเป็นสมาชิกอาวุโส
“ผู้เยาว์” ไม่ได้หมายความว่า “ไม่มีความสำคัญ” ต้องเสนออุดมการณ์ของกิจการและความเลื่อมใสศรัทธาอย่างสูงแก่สมาชิกเยาวชน ซึ่งโดยทั่วไปเป็นที่หวังว่า เราจะมีส่วนแสดงบทบาทเป็นผู้นำในท่ามกลางเพื่อน ๆ รุ่นราวคราวเดียวกัน แน่นอนหากเด็กคนใดหลังจากอบรมบ้างแล้ว ยังไม่สามารถ
หน้า 317 บทที่ 36 เปรสิเดียมที่ต้องกล่าวเป็นพิเศษ
สวดบทภาวนาของพลมารีย์ทั้งหมดและเข้าใจความหมายได้ ก็ไม่สามารถที่จะบรรลุถึงมาตรฐานนี้ได้
19. ทำนองเดียวกัน มีผู้เสนอให้จัดทำคู่มือที่ง่าย ๆ ให้เหมาะแก่เยาวชนที่จะใช้ ข้อนี้ได้อธิบายไว้ในบทที่ 33 ข้อ 10 ว่าด้วยหน้าที่พื้นฐานของพลมารีย์
20. บิดามารดาและทุกคนที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ ควรร่วมมือเต็มที่กับโครงการพลมารีย์ ซึ่งมีความสำคัญมากที่สุด เยาวชนเหล่านี้กำลังได้รับกล่อมเกลาให้เป็นไปตามที่นักบุญหลุยส์มารีย์ กรีญอง เดอ มงฟอร์ต เรียกว่า “กองทหารหาญของพระเยซูเจ้าและพระนางมารีย์เพื่อรบสู้กับโลก มารร้ายและธรรมชาติอันเลวร้ายในอนาคต อันเต็มไปด้วยภยันตรายนานัปการ”
อาศัยความคิดและโครงการซื่อ ๆ ของพลมารีย์แบบลูกรอก หรือคานงัด หรือเครื่องผ่อนแรงอื่น ๆ ที่ทวีพลังงาน คณะพลมารีย์ก็สามารถทำให้คำสั่งสอนคาทอลิกทั้งมวลมีชีวิตชีวา และผันแปรให้เป็นพลังเพื่อจุดหมายของคริสตชนคาทอลิกทุกอย่าง และขณะเดียวกันพลังงานนี้ก็นำมาใช้ประโยชน์ทันทีได้ด้วย คือทำให้เวลาเรียน เวลาเล่น ที่บ้านและทุกชั่วโมงอื่น ๆ เต็มไปด้วยอุดมการณ์ศักดิ์สิทธิ์และเป็นจริงจังขึ้น บันดาลให้สมาชิกเห็นสิ่งต่างๆ ในโฉมลักษณะใหม่เท่า ๆ กับทำให้โลกเปลี่ยนแปลงใหม่สำหรับเขา คือโฉมลักษณะใหม่
(ก) เกี่ยวกับพระศาสนจักร เมื่อสมาชิกได้สำนึกแล้วว่าเขาเป็นทหารของพระศาสนจักร มีหน้าที่แน่นอนในการสู้รบและรับผิดชอบในการขยายให้แผ่ไพศาล
(ข) เกี่ยวกับหน้าที่การงานทุกวัน จุดสว่างน้อย ๆ ส่องสว่างในห้องฉันใด งานเล็กๆ น้อย ๆ ของพลมารีย์ก็ทำให้สมาชิกเกิดความรู้สึกใหม่ใน
หน้า 318 บทที่ 36 เปรสิเดียมที่ต้องกล่าวเป็นพิเศษ
การงานตลอดสัปดาห์ฉันนั้น สิ่งที่สมาชิกเรียนและปฏิบัติในเปรสิเดียม ย่อมจะนำออกปฏิบัติในชีวิตปกติด้วย
(ค) เกี่ยวกับเพื่อน ๆ ของเขา สมาชิกได้รับคำสั่งสอนให้แลเห็นและปฏิบัติต่อเขาเสมือนต่อพระคริสตเจ้า
(ง) เกี่ยวกับบ้านของตน สมาชิกได้เรียนรู้วิธีจะทำให้บ้านของตนมีบรรยากาศบ้านที่นาซาเร็ธ
(จ) เกี่ยวกับการช่วยเหลือทางบ้าน หรือทางโรงเรียน (ถ้าเป็นเปรสิเดียมในโรงเรียนประจำ) ด้วยจิตตารมณ์ของคณะพลมารีย์ คือ อย่างพระนางมารีย์ที่นาชาเร็ธ เสาะหางานทำ แทนที่จะหนีงาน เลือกงานที่ไม่ถูกใจก่อน ใส่ใจทำงานแม้งานต่ำต้อยที่สุด พยายามอ่อนหวานรอบคอบที่สุดเสมอ ทำงานถวายพระเยซูเจ้าเสมอและคิดว่าตนอยู่เฉพาะพระพักตร์พระองค์
(ฉ) เกี่ยวกับ “หน้าที่” และ “วินัย” สองสิ่งสำคัญยิ่งนี้ตามปกติ เยาวชนพากันเบื่อเป็นยาขม เพราะเกิดจากเข้าใจผิด สองคำนี้สมาชิกเยาวชนจะกลับเข้าใจซึมชาบและเห็นดีงาม เมื่อนำมาเชื่อมกับอีก 2 คำคือ “พระนางมารีย์” และ “คณะพลมารีย์”
(ช) เกี่ยวกับการภาวนา สมาชิกจะตระหนักว่าการภาวนาไม่เพียงแต่ต้องทำตามธรรมเนียมบังคับ แต่ยังเป็นท่อธารแห่งพละกำลัง เป็นเครื่องสนับสนุนการงานของตน และเป็นการช่วยอันมีค่าของตนสมทบกองคลังกุศลของพลมารีย์ และยังเป็นคลังของพระศาสนจักรด้วย
21. บางทีจะไม่เป็นการกล่าวอ้างเกินไปว่า การจัดการเปรสิเดียมให้ดำเนินไปอย่างถูกต้องตามแนวดังกล่าวนั้น เป็นการสร้างอิทธิพลใหญ่หลวงอย่างหนึ่งแก่การอบรมปลูกฝังเยาวชน อิทธิพลนี้จะสร้างสรรค์ผู้เยาว์ให้มีคุณสมบัติทุกประการที่เป็นของคริสตชนคาทอลิกโดยเฉพาะ จะเป็นแม่พิมพ์
หน้า 319 บทที่ 36 เปรสิเดียมที่ต้องกล่าวเป็นพิเศษ
หล่อหลอมผู้เยาว์ให้เป็นคนศักดิ์สิทธิ์ไว้วางใจได้เป็นจำนวนมาก อันจะเป็นความชื่นชมแก่บิดามารดา ผู้ใหญ่ที่ปกครอง และเป็นหลักมั่นของพระศาสนจักร
22. แต่โครงการทั้งหมดนี้ ความหวังทั้งมวลนี้จะสูญเปล่าหากเปรสิเดียมเยาวชนไม่มอบงานอันเหมาะสมแก่สมาชิก หรือไม่ก็ละเลยต่อกฎข้อบังคับต่าง ๆ (ของคณะ) เปรสิเดียมชนิดนั้นกลายเป็นแม่พิมพ์ผิดไป ทำให้สมาชิกเองและผู้อื่นเข้าใจผิด ต่อคณะพลมารีย์ และจะเป็นประโยชน์แก่คณะหากยุบเปรสิเดียมนั้นได้
“เยาวชนไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะมาถูกปรักปรำว่า เป็นตัวปัญหาทำให้พระ-ศาสนจักรเป็นห่วงเป็นใยไม่รู้ว่าจะอภิบาลพวกเขาอย่างไรดี แท้ที่จริงแล้วคือ หนุ่มสาวควรและต้องได้รับการส่งเสริมให้เป็นตัวตั้งตัวตีเสียเอง ประกาศข่าวดีในนามของพระศาสนจักร และมีส่วนร่วมในการพื้นฟูสภาพสังคม วัยหนุ่มสาวเป็นช่วงเวลาที่จะค้นพบตนเองอย่างลึกซึ้ง และรู้ว่าอะไรคือทางเลือกของชีวิต เป็นช่วงเวลาแห่งความเจริญเติบโต ซึ่งควรจะเป็นการเจริญขึ้นทั้งในพระปรีชาญาณ วัยวุฒิ และพระหรรษทานเฉพาะพระพักตร์พระเจ้าและต่อหน้ามนุษย์” (ลก 2:52) (CL 46)
2. เปรสิเดียมสามเณราลัย
“นับว่าเป็นเรื่องสำคัญยิ่งยวด ในอันที่จะตระเตรียมผู้ที่มาเป็นพระสงฆ์ในอนาคต ให้รู้จักร่วมมือกับฆราวาส สภาสังคายนาแถลงไว้ว่า ‘พระสงฆ์ควรเต็มใจรับฟังคริสตชนมราวาส รับความประสงค์ของพวกเขาไว้พินิจพิจารณาฉันพี่น้อง และยอมรับความจริงว่ามราวาสมีประสบการณ์และเชี่ยวชาญในสายงานต่าง ๆ ของชาวโลก …’
ที่ประชุมสมัชชาพระสังฆราชเมื่อไม่นานมานี้ ก็ยังได้เน้นถึงความห่วงใยที่พระศาสนจักรมีต่อฆราวาส ‘เณรควรเป็นผู้มีทักษะในการเสนอแนะสัตบุรุษ เฉพาะอย่างยิ่งเยาวชน ให้รู้ว่ามีสัมมาอาชีพอะไรบ้าง … เหนืออื่นใด
หน้า 320 บทที่ 36 เปรสิเดียมที่ต้องกล่าวเป็นพิเศษ
สามเณรต้องมีความสามารถสอนฆราวาสว่า ขณะที่ประกอบสัมมาอาชีพอยู่นั้น พวกเขาจะต้องอยู่ในโลกสถานะใด และจะต้องพลิกโฉมหน้าโลกโดยอาศัยแสงสว่างแห่งพระวรสารอย่างไร สามเณรยังต้องเป็นผู้ให้กำลังใจฆราวาส โดยยอมรับนับถือว่า นั่นคือภาระหน้าที่ของพวกเขา’ ” (PDV 59)
เป็นที่ประจักษ์ชัดว่า ความรอบรู้เกี่ยวกับองค์กรที่มีประสิทธิภาพและแพร่หลายกว้างขวางระดับคณะพลมารีย์ ย่อมเป็นทรัพยากรล้ำค่า สำหรับผู้ที่กำลังจะเป็นพระสงฆ์และนักบวช กระนั้นก็ดี การศึกษาหาความรู้เรื่องคณะพลมารีย์จากตำราเพียงอย่างเดียว เทียบไม่ได้กับประสบการณ์ที่ได้จากการเป็นสมาชิกพลมารีย์จริง ๆ ฉะนั้น การจัดตั้งเปรสิเดียมสำหรับบรรดาสามเณรดูจะมีความสำคัญไม่ใช่น้อย ในกรณีที่เปรสิเดียมภายในสามเณราลัยเองมีทางเป็นไปได้ยาก ผู้ฝึกหัดก็จะได้รับผลประโยชน์ไม่ยิ่งหย่อน หากเข้าเป็นสมาชิกในเปรสิเดียมภายนอก
ไม่ว่าจะเป็นเปรสิเดียมภายในหรือภายนอก สมาชิกทุกคนจะได้เรียนรู้เรื่องคณะพลมารีย์อย่างถี่ถ้วน ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ และจะได้รับมอบสิ่งซึ่งเรียกกันว่าปรัชญาการเผยแผ่ธรรมอย่างสมบูรณ์ เมื่อเวลามาถึงที่เขาเหล่านั้นรับแต่งตั้งให้ออกไปรับตำแหน่งหน้าที่ ทุกคนก็จะเข้าใจอย่างทะลุปรุโปร่ง ว่าคณะพลมารีย์ ตลอดจนคณะแพร่ธรรมอื่น ๆ เขาดำเนินการกันอย่างไร
มีข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับเปรสิเดียมภายในสามเณราลัยโดยเฉพาะดังต่อไปนี้
ก. จำเป็นทีเดียวที่ต้องมีเวลาเพียงพอสมควรสำหรับประชุมประจำสัปดาห์ เป็นการยากที่จะดำเนินการประชุมในเวลาไม่ถึงหนึ่งชั่วโมง ควรพยายามทุกทางให้ได้เวลามากกว่านี้สักเล็กน้อย ระเบียบการประชุม
หน้า 321 บทที่ 36 เปรสิเดียมที่ต้องกล่าวเป็นพิเศษ
ดังกล่าวในหนังสือคู่มือนี้ ต้องปฏิบัติโดยถูกต้องทุกประการ
ข. ข้อพิจารณาที่สำคัญได้แก่การจัดการแบ่งงานแก่สมาชิกแต่ละคน ถ้าขาดงานอันเป็นสาระ จะนับเป็นเปรสิเดียมไม่ได้ เนื่องจากเวลามีจำกัด และงานที่เหมาะสมก็หาได้ยากในสภาพแวดล้อมชีวิตสามเณราลัยประกอบกับการศึกษาคู่มือต้องได้รับการเอาใจใส่เป็นพิเศษ ฉะนั้น ให้ทำงานปกติอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง เมื่อทำงานไม่ได้หลากหลายก็ต้องชดเชย
ด้วยจิตตารมณ์ที่เข้มข้นขึ้น งานต่าง ๆ ต้องพยายามทำด้วยความครบครันจริง ๆ และให้เน้นความสำคัญของการเป็นหนึ่งเดียวกับพระนางมารีย์
การเลือกเฟ้นงานจะขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและระเบียบของสามเณราลัย ต่อไปนี้เป็นเพียงข้อเสนอแนะ การเยี่ยมตามบ้าน โรงพยาบาลและสถาบันบางแห่ง อบรมผู้สมัครเข้าศาสนา สอนคำสอน เตรียมใจผู้ใหญ่และเด็ก ๆ ก่อนรับศีลศักดิ์สิทธิ์ ที่สำคัญ ไม่ว่าจะเลือกทำงานอะไร ก็ขอให้สอดคล้องกับโครงการฝึกงานด้านอภิบาล ที่ริเริ่มโดยผู้ใหญ่ของสามเณราลัย
ค. ในการรายงานต่อเปรสิเดียม ต้องไม่ใช้ถ้อยคำจำเจ ควรพยายามให้มีชีวิตชีวาและน่าสนใจ หากทำเรื่องนี้ได้สำเร็จ สามเณรที่เป็นสมาชิกพลมารีย์ก็จะกลายเป็นผู้ชำนาญการในศิลปะการรายงาน และมีวุฒิเพื่อสอนศิลปะนั้นให้แก่บรรดาที่จะมาเป็นผู้นำทิศทางของคณะพลมารีย์ในอนาคต
ง. หน้าที่เป็นผู้รักษาระเบียบวินัย หรือที่ไม่มีลักษณะอื่นใดนอกจากจะตรวจการอย่างเดียว ไม่ควรให้เปรสิเดียมเป็นผู้มอบหมาย งานแบบนี้จะทำให้สมาชิกพลมารีย์ (ตลอดจนคณะพลมารีย์เอง) ไม่เป็นที่นิยมในหมู่สามเณรด้วยกัน
จ. การเข้าเป็นสมาชิกพลมารีย์ควรเป็นไปด้วยความสมัครใจอย่างแท้จริงถ้ามีการเกณฑ์กันเข้ามา ทำนองที่ว่าการเป็นพลมารีย์เป็นปกติ
หน้า 322 บทที่ 37 ข้อแนะนำเกี่ยวกับงานชนิดต่างๆ
กิจของทางสถาบันแล้วไซร้ ก็อาจทำให้เปรสิเดียมเสียหายได้ เพื่อเน้นให้เห็นว่านั่นเป็นเรื่องของความสมัครใจจริงๆ ก็เป็นความคิดที่ดีที่จะกำหนดให้ประชุมเปรสิเดียมในช่วงเวลาว่างของสามเณร
ฉ. เปรสิเดียมต้องดำเนินการด้านการประชุมและกิจกรรมต่างๆ โดยไม่ให้กระทบกระเทือนต่อตารางเวลาและกฎข้อบังคับของทางสามเณราลัยแม้แต่น้อย อนึ่ง เงื่อนไขต่าง ๆ ของสมาชิกประจำการ ต้องไม่เปลี่ยนแปลงเลย เพราะจะทำให้ผิดจุดประสงค์ของคณะทั้งหมด สรุปแล้ว ถ้าเปรสิเดียมสามเณราลัยดำเนินการไปอย่างซื่อสัตย์ ผลที่จะตามมาก็คือสามเณรจะมีทัศนคติที่ดีขึ้นเกี่ยวกับพระกระแสเรียก การศึกษาเล่าเรียนและระเบียบวินัยของสถาบัน
บทที่ 37
ข้อแนะนำเกี่ยวกับงานชนิดต่างๆ
บทนี้จะกล่าวถึงวิธีการต่าง ๆ ซึ่งได้จากประสบการณ์ทั่วๆ ไป ว่าเป็นผลดีพิเศษในการทำงานที่คณะมอบหมาย อย่างไรก็ดีเป็นเพียงคำแนะนำ ความต้องการบางชนิดอาจทำให้ต้องทำงานโดยเฉพาะก็ได้ ขอเน้นว่า อย่ายับยั้งห้ามคณะพลมารีย์ทำงานที่ต้องบากบั่น และยากเข็ญ เพราะความเหมาะสมอย่างน่าชมสำหรับทำงานเช่นนั้น งานเบ็ดเตล็ดจะบังเกิดปฏิกิริยาอันไม่พึงปรารถนาต่อจิตตารมณ์พลมารีย์
ตามหลัก ทุก ๆ เปรสิเดียมควรทำงานบางอย่างที่ถือได้ว่าเป็นวีรกรรม แม้เมื่อแรกตั้งก็น่าจะหาสมาชิกได้สัก 2 คนที่มีใจกล้ากระทำเช่นนี้ และ
หน้า 323 บทที่ 37 ข้อแนะนำเกี่ยวกับงานชนิดต่างๆ
มอบหมายให้เขาทำงานนั้น แบบอย่างเด่นชัดของเขานี้เอง จะเป็นเครื่องจูงใจเพื่อสมาชิกอื่น ๆ ให้ทำตามโดยไม่รู้ตัว เมื่อระดับทั่วไป ถึงขั้นนี้แล้วควรจัดให้คู่งานแรกนี้บุกทำงานวีรกรรมอื่นอีก การบุกเบิกแบบก้าวหน้านี้เป็นการขยับมาตรฐานให้สูงขึ้นเรื่อย ๆ เพราะข้อจำกัดตามธรรมชาตินี้ ไม่มีอยู่ในเรื่องเหนือธรรมชาติ เรายิ่งเข้าหาพระเป็นเจ้า ขอบฟ้ายิ่งกว้างขึ้น และมีความเป็นไปได้ยิ่งมากขึ้น
แต่ทันทีคงมีฝ่ายไม่เห็นด้วย ความคิดที่จะวิ่งเข้าเสี่ยงภัยเพื่อพระศาสนานี้ ทำให้หลายคนรู้สึกไม่สบายใจ เกิดบ่นกันทั่วไปว่า “ไม่เหมาะ” และ “ไม่รอบคอบ” แต่ชาวโลกเองก็ไม่พูดแสดงความอ่อนแอแบบนั้น พลมารีย์จึงไม่ควรด้อยกว่าเขาในด้านความกล้าหาญนี้ หากจำเป็นต้องทำงานเพื่อวิญญาณและหากจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีอุดมคติอันสูงส่ง สำหรับอบรมคุณลักษณะของหมู่คริสตชนคาทอลิก เมื่อนั้นความกล้าต้องมาก่อน ส่วนความระมัดระวังนั้นตามมาทีหลัง เชิญใคร่ครวญคำกล่าวของพระคาร์ดินัล ปีเอ ที่ว่า “เมื่อมีความรอบคอบอยู่ทั่วไป ความกล้าหาญก็หมดไปทุกแห่งด้วย และจะเห็นว่าพวกเราจะตายเพราะความรอบคอบนั่นเอง”
อย่าปล่อยให้คณะพลมารีย์ตาย เพราะความรอบคอบเลย
1. งานแพร่ธรรมภายในเขตวัด
พลมารีย์อาจช่วยเสริมสร้างจิตตารมณ์ของชุมชนที่แท้จริงโดยอาศัยวิธีการบางอย่างต่อไปนี้
(ก) การออกเยี่ยมตามบ้าน (พลิกดูข้อ 2 ของบทนี้)
(ข ) จัดพิธีกรรมในวันอาทิตย์และวันฉลองบังคับ ในที่ซึ่งไม่มีพระสงฆ์ไปถวายพิธีบูชาขอบพระคุณ
หน้า 324 บทที่ 37 ข้อแนะนำเกี่ยวกับงานชนิดต่างๆ
(ค) จัดชั้นสอนคำสอน
(ง) เยี่ยมและเอาใจใส่ดูแลคนพิการ ผู้ป่วยและผู้สูงอายุ ถ้าจำเป็นก็รวมทั้งช่วยจัดเตรียมสถานที่ก่อนที่พระสงฆ์จะไปถึง
(จ) นำสวดลูกประคำเวลาสวดศพ และปลงศพ
(ฉ) ที่ไหนมีสมาคมคาทอลิกและคณะต่าง ๆ ที่ทางวัดจัดตั้งขึ้นรวมทั้งสมาคมระดับพระศาสนจักรด้วย พลมารีย์จะส่งเสริมโดยหาสมาชิกใหม่มาเพิ่มและเป็นกำลังใจให้สมาชิกเก่าคงอยู่ต่อไป
(ช) ให้ความร่วมมือกับทุกกิจกรรมด้านแพร่ธรรมและธรรมทูตที่ทางวัดริเริ่ม การกระทำดังกล่าวจะเป็นการช่วยวิญญาณของทุกคน ไม่วิธีใดก็วิธีหนึ่ง ให้เข้ามาอยู่ภายใต้เครือข่ายคุ้มครองของพระศาสนจักร บันดาลให้ทั้งปัจเจกชนและชุมชนอยู่รอดปลอดภัย
ยังมีงานจำเป็นทางวัดอีกหลายอย่าง แม้ว่าสำคัญ แต่ไม่พอที่จะมาเป็นงานมอบหมายสำหรับพลมารีย์อาวุโส ยกเว้นเฉพาะกรณีพิเศษ งานเหล่านั้น ได้แก่ งานเกี่ยวกับพระแท่น ทำความสะอาดตกแต่งวัด คอยต้อนรับดูแลระเบียบระหว่างพิธีในวัด ช่วยมิสชา ฯลฯ ที่ไหนจำเป็น พลมารีย์ก็อาจช่วยจัดระเบียบและกำกับการดำเนินงานดังกล่าว นั่นก็จะเป็นบ่อเกิดพระพรสำหรับผู้ที่รับภาระนี้ แล้วพลมารีย์คงจะมีโอกาสเข้าใกล้ชิดวิญญาณโดยตรงซึ่งเป็นงานที่ยากมากกว่า
“ข้าพเจ้าปรารถนาทำงานเพื่อพระเป็นเจ้า เหมือนพระมารดาแห่งพระหรรษทาน ข้าพเจ้าปรารถนาร่วมงานกับพระองค์ด้วยความยากลำบากและพลีกรรมของข้าพเจ้าเพื่อความรอดของข้าพเจ้าและของโลกทั้งมวล ตามที่พระคัมภีร์กล่าวถึงตระกูลมัคคาบี ซึ่งกระตือรือร้นและกล้าหาญ ที่ไม่ได้ช่วยตนเองให้พ้นภัยเท่านั้น แต่ยังพยายามช่วยพี่น้องร่วมชาติให้ได้จำนวนมากที่สุดอีกด้วย” (Gratry : Month of May)
หน้า 325 บทที่ 37 ข้อแนะนำเกี่ยวกับงานชนิดต่างๆ
2. การออกเยี่ยมตามบ้าน
การออกเยี่ยมตามบ้าน แม้ไม่ได้จัดอยู่ในจำพวกงานที่พลมารียริเริ่มแต่แรก แต่ก็เป็นงานที่นิยมกันมานาน เป็นกิจกรรมที่ทุกเปรสิเดียมให้ความสนใจเป็นพิเศษ เป็นลู่ทางให้พลมารีย์ได้บำเพ็ญประโยชน์มากมาย นับเป็นลักษณะงานอย่างหนึ่งของคณะพลมารีย์
ขณะออกเยี่ยม พลมารีย์มีโอกาสได้พบปะผู้คนมากหน้าหลายตาและมีโอกาสแสดงให้เห็นว่า พระศาสนจักรเป็นห่วงเป็นใยพวกเขาทุกคนและทุกครอบครัวขนาดไหน “พระศาสนจักรใส่ใจให้การอภิบาล ไม่จำเพาะครอบครัวคริสตชนคาทอลิกใกล้ตัว แต่จะขยายอาณาบริเวณการอภิบาลให้ประสานกลมกลืนกับดวงพระหฤทัยของพระคริสตเจ้า พระศาสนจักรจะกระตือรือร้นมากขึ้นกับครอบครัวทั่ว ๆ ไป และโดยเฉพาะกับครอบครัวที่มีปัญหาและยังไม่เรียบร้อย สิ่งที่พระศาสนจักรจะให้พวกเขาทุกคน คือ พระวาจาแห่งความจริง คุณธรรมความดี ความเข้าอกเข้าใจ ความหวัง และความเห็นใจลึกซึ้งกับทุกขเวทนา ที่พวกเขาทนรับ บางครั้งถึงขั้นโศกนาฎกรรม พระศาสนจักรจะยื่นมือเข้าไปช่วยโดยไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ เพื่อพวกเขาจะได้มีสภาพคล้ายคลึงกับครอบครัว ซึ่งพระผู้สร้างได้ทำตัวแบบเอาไว้ตั้งแต่ ‘แรกเริ่มเดิมที’ และที่พระคริสตเจ้าได้เสด็จมาฟื้นฟูด้วยพระหรรษทานแห่งความรอด” (FC 65)
แต่ละเปรสิเดียม ต้องคิดค้นหาวิธีเอาเองว่า จะเข้าไปในแต่ละบ้านอย่างไรดี ที่แน่ ๆ ก็คือพลมารีย์จะต้องแนะนำตนเอง และชี้แจงเหตุผลที่มาเยือน เหตุผลที่มาก็มี เช่น การตั้งรูปพระหฤทัยและถวายครอบครัวแด่พระองค์ การสำรวจสำมะโนสัตบุรุษของวัด และการเผยแผ่สิ่งพิมพ์คาทอลิก
การเยี่ยมบ้านนี้ พลมารีย์ไม่เจาะจงเฉพาะคาทอลิกที่ดำเนินชีวิต
หน้า 326 บทที่ 37 ข้อแนะนำเกี่ยวกับงานชนิดต่างๆ
ในทำนองคลองธรรม แต่เยี่ยมทุกคน ให้เข้ามาอยู่ในข่ายงานแพร่ธรรมของคณะ พลมารีย์อาจเข้าไปเยี่ยมทั้งผู้ที่มิใช่คาทอลิก มิใช่คริสตชน ตลอดจนบรรดาคาทอลิกที่ห่างเหินจากพระศาสนจักร นอกนั้น ผู้ที่สมควรได้รับการเอาใจใส่ก็คือผู้ที่อยู่ในสภาพแต่งงานยังไม่ถูกต้อง ผู้ที่อยากเรียนคำสอน ผู้ที่ไร้ญาติขาดมิตรและคนทุพพลภาพ บ้านแต่ละหลังคือสถานที่ที่กำลังรอรับการบริการอยู่ นี่ควรเป็นมุมมองของพลมารีย์
การเยี่ยมของพลมารีย์ จะดำเนินไปในบรรยากาศแห่งความสุภาพเรียบร้อย ชาวบ้านอาจมีความคิดไขว้เขวเกี่ยวกับการมาเยี่ยม โดยคาดว่าจะถูกตำหนิติเตียน ดังนั้น พลมารีย์ควรตั้งใจไว้ว่า จะเป็นคนฟัง แทนที่จะเป็นคนพูด หลังจากที่ได้พากเพียรตั้งใจฟังอย่างใจเย็นแล้ว จึงค่อยพูดบ้างตามความเหมาะสม
“เมื่อเอ่ยถึงการแพร่ธรรมของมราวาส ไม่มีใครกล้ามองข้ามศักยภาพของครอบครัวในการประกาศข่าวดี
ในยุคต่าง ๆ ของประวัติพระศาสนจักร เป็นต้นในเอกสารสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 ครอบครัวได้ชื่อว่า ‘พรศาสนจักรบ้าน’ หมายความว่า พระศาสนจักรสากลมีคุณลักษณะอะไร ทุกครอบครัวคริสตชนคาทอลิกย่อมจะมีคุณลักษณะนั้น ๆ ด้วย ที่สำคัญที่สุด ถ้าอยากจะเป็นเหมือนพระศาสนจักร ครอบครัวก็ควรเป็นสถานที่ที่พระวรสารได้รับการถ่ายทอดให้แก่กันและกัน และเป็นที่ซึ่งพระวรสารแผ่ขยายไปทั่วสารทิศ
ในครอบครัวที่มีจิตสำนึกพันธกิจนี้ สมาชิกทุกคนต่างเป็นผู้ประกาศข่าวดีและเป็นผู้รับข่าวดีของกันและกัน บิดามารดา หาใช่เป็นเพียงผู้ถ่ายทอดพระวรสารแก่บุตรธิดา แต่ตนเองอาจรับพระวรสารเดียวกันนั้นจากบุตรธิดา ในระดับที่พวกเขาเจริญรอยตาม
ครอบครัวแบบนี้ ก็จะกลับกลายเป็นผู้ประกาศข่าวดีแก่ครอบครัวอื่น ๆ อีก
หน้า 327 บทที่ 37 ข้อแนะนำเกี่ยวกับงานชนิดต่างๆ
มากมายและแก่ประชาชนทั้งละแวกบ้านที่อาศัยอยู่ ครอบครัวที่ฝ่ายหนึ่งมิใช่คาทอลิกก็มีหน้าที่ชี้แนะลูก ๆ ให้รู้จักพระคริสตเจ้า หน้าที่นี้เป็นภาระผูกพันสืบเนื่องมาจากศีลล้างบาปที่ต่างก็ได้รับ พวกเขายังมีหน้าที่ที่ยาก ในอันที่จะเป็นผู้เสริมสร้างความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวภายในครอบครัว” (EN 71)
3. การตั้งรูปพระหฤทัยในครอบครัว
การเผยแผ่ความศรัทธาต่อการตั้งรูปพระหฤทัยในบ้าน เห็นจะเป็นกุศโลบายหนึ่ง ที่พลมารีย์ใช้เพื่อกรุยทางเข้าถึงมิตรภาพกับบรรดาครอบครัว
เป้าหมายและหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่พลมารีย์ใช้เป็นแนวทางเข้าติดต่อกับผู้คน มีอธิบายอย่างละเอียดในบทที่ 39 ว่าด้วย จุดสำคัญในการแพร่ธรรมของพลมารีย์ ในบทดังกล่าว ได้มีการกำชับว่า ถ้าเป็นไปได้ไม่ควรปล่อยปละละเลยบ้านหลังหนึ่งหลังใด และเป้าหมายหลักในบ้านแต่ละหลังก็คือ สมาชิกทุกคน ทั้งเด็กหนุ่มสาวผู้สูงอายุไม่ละเว้น ซึ่งพลมารีย์จะต้องใช้ความพยายามอย่างต่อเนื่อง มีเมตตาจิต ยกระดับชีวิตวิญญาณแต่ละคนให้ได้สักระดับหนึ่ง
พลมารีย์ที่ปฏิบัติงานชิ้นนี้ ย่อมเข้าอยู่ในข่ายที่จะได้รับตามพระสัญญาของพระหฤทัยครบทั้ง 12 ข้อ โดยเฉพาะข้อ 10 ที่ว่า “เราจะประสาทพระพรแก่พระสงฆ์ในอันที่จะสยบคนใจแข็งที่สุด ให้อ่อนลงได้” ข้อนี้ใช้ได้กับผู้แพร่ธรรมในนามของพระสงฆ์โดยปริยาย ความคิดที่ว่ามานี้ เป็นแรงกระตุ้นพลมารีย์ให้มั่นใจเต็มที่ ที่จะรับมือกับรายที่ถูกตราหน้าว่า “สิ้นหวัง”
การเยี่ยมเพื่อตั้งภาพพระหฤทัยจะเกิดผลเกินคาด คือจะเบิกโรงด้วยเรื่องความศรัทธาที่เรียบง่ายถูกอกถูกใจเจ้าของบ้าน การทำความรู้จักมักคุ้น ลำดับต่อมา และการเยี่ยมครั้งต่อไป ก็จะไร้อุปสรรค การแพร่ธรรมของคณะพลมารีย์ก็จะรุดหน้าไม่สะดุดหยุดลง
หน้า 328 บทที่ 37 ข้อแนะนำเกี่ยวกับงานชนิดต่างๆ
เนื่องจากภารกิจของพระนางมารีย์คือสถาปนาพระราชัยของพระเยซูเจ้า จึงเป็นการเหมาะสมยิ่งแล้ว ที่คณะพลมารีย์รับภาระอัญเชิญพระหฤทัยขึ้นครองครอบครัวทั่วไป (การกระทำดังกล่าวจะเป็นทางให้ได้มาซึ่งพระพรนานัปการของพระจิตเจ้า)
“ที่ว่ารักครอบครัว คือรู้นิยมชมชอบคุณงามความดีและความสามารถของครอบครัว และทะนุบำรุงให้มั่นคงตลอดกาล รักครอบครัว คือ ระบุว่าอะไรเป็นพิษเป็นภัยต่อครอบครัว ก็ช่วยกันขจัดออกไป รักครอบครัว คือ มุ่งมั่นเสริมสร้างภาวะแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาครอบครัว หลายต่อหลายครั้งที่ครอบครัวคริสตชนคาทอลิกสมัยใหม่ คิดไปคิดมาแล้วอยากจะทอดอาลัยและรู้สึกเดือดเนื้อร้อนใจ เมื่อเห็นปัญหาที่รุมเร้านับวันมีแต่จะเพิ่มพูน ก็เพราะรักแบบสูงส่งจึงได้ช่วยรื้อฟื้นคืนมาซึ่งเหตุผลต่าง ๆ ที่ทำให้ครอบครัวเชื่อมั่นในตนเอง เชื่อมั่นในโภคทรัพย์ที่มีตามธรรมชาติและที่ได้มาจากพระหรรษทาน และเชื่อมั่นในพันธกิจที่พระเป็นเจ้าทรงมอบหมายให้ ใช่แล้ว ครอบครัวยุคนี้ควรหวนรำลึกฐานะดั้งเดิมของตน ทุกคนต้องติดตามพระคริสตเจ้า” (AAS 72 (1980), 791) (FC 86)
4. การสำรวจสำมะโนสัตบุรุษของวัด
นี่เป็นวิธีดีเลิศในการติดต่อกับชาวคาทอลิก ซึ่งต้องการความเอาใจใส่หรือที่ตกอยู่ในประเภท “ทิ้งวัด” เช่นพวกที่ขาดการติดต่อทุกอย่างกับพระศาสนจักร ให้ไปเยี่ยมในนามของคุณพ่อเจ้าวัด และให้พยายามเข้าทุก ๆ บ้านถ้าทำได้ ผู้รับเยี่ยมจะรู้สึกว่าเป็นของธรรมดา ที่ผู้มาเยี่ยมมักจะขอทราบรายละเอียดทางด้านศาสนา และตามปกติจะยินดีให้ความร่วมมือ เรื่องที่ทราบจากการเยี่ยมเช่นนี้ มีมากจนทำให้พระสงฆ์และพลมารีย์ต้องพากเพียรทำงานติดต่อกันไปอีกนาน
แต่การค้นพบนี้เป็นเพียงงานขั้นต้น และเป็นขั้นง่ายที่สุด การชักนำ
หน้า 329 บทที่ 37 ข้อแนะนำเกี่ยวกับงานชนิดต่างๆ
บรรดาที่พบแต่ละคนกลับเข้าพระศาสนานี่สิ เป็นความรับผิดชอบอันมีเกียรติที่พระเป็นเจ้าทรงมอบให้คณะพลมารีย์ด้วยความไว้วางใจ จึงต้องทำด้วยใจชื่นชม และยืนหยัดไม่รู้จักแพ้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะสาเหตุใดที่อยู่ในวิสัยของพลมารีย์ ขออย่าให้คณะต้องเหลวไหลต่อความไว้วางใจที่มอบหมายนี้ ไม่ต้องกังวลว่า การสู้รบจะยืดเยื้อ การงานจะยากลำบากสักปานใด การไม่ไยดีนั้นจะร้ายแรงสักเพียงไร ใจคนนั้นจะแข็งกระด้างแค่ไหน ถึงจะมีทีท่าหมดหวังเพียงไร ก็ให้ยืนหยัดไปจนถึงที่สุด
อนึ่ง ขอย้ำว่า ไม่ใช่เฉพาะผู้มีใจเย็นเฉยเท่านั้น แต่ทุก ๆ คนไม่มีเว้นต้องได้รับเอาใจใส่อย่างมีเมตตาธรรม
“ในความพยายามแพร่ธรรมในทุ่งนาของพระศาสนจักร เรามีภาระรับมอบเป็นทางการ มีวิธีการมาจากพระจริงๆ มีอาวุธพิเศษของเราเอง คือเราไปหาวิญญาณไม่ใช่ในนามและภายใต้อุปถัมภ์ของพระนางมารีย์เท่านั้น แต่ก่อนอื่นเรายังทำงานอย่างสุดกำลัง ให้วิญญาณเหล่านั้นรักพระนาง เยี่ยงลูกรักแม่ด้วย” (Petit Traite de Marialogie Marianiste)
5. การเยี่ยมโรงพยาบาลรวมทั้งโรงพยาบาลโรคจิต
การเยี่ยมโรงพยาบาล เป็นงานแรกที่คณะพลมารีย์กระทำ และไม่ได้ทำงานอื่นอีกตลอดระยะเวลาหนึ่ง งานนี้ได้ทำให้องค์การอันเยาว์วัยได้รับพระพรอย่างอุดมสมบูรณ์ และคณะปรารถนาให้เปรสิเดียมต่างๆ เอาใจใส่งานนี้เสมอ ต่อไปนี้ เป็นเรื่องราวเขียนไว้แต่สมัยแรกตั้งคณะ แสดงแบบอย่างจิตตารมณ์ อันจะต้องเป็นคุณลักษณะของงานนี้อยู่เสมอ
“แล้วเรียกชื่อคนหนึ่ง สมาชิกคนนั้นเริ่มรายงาน เกี่ยวกับการไปเยี่ยมโรงพยาบาลเป็นเรื่องสั้น ๆ แต่แสดงถึงความสนิทสนมดียิ่งกับคนไข้ ผู้รายงานรับว่ารู้สึกสับสน ที่คนไข้รู้จักชื่อพี่น้องของตนทุกคน แล้วคู่เยี่ยม
หน้า 330 บทที่ 37 ข้อแนะนำเกี่ยวกับงานชนิดต่างๆ
ของเธอก็รายงาน เห็นชัดว่า ไปทำงานเป็นคู่ ข้าพเจ้าสังเกตว่า นอกจากเป็นการถอดแบบอัครสาวกแล้วยังเป็นเครื่องป้องกันไม่ให้เกิดผลัดวันในการเยี่ยมประจำสัปดาห์ด้วย”
“รายงานดำเนินต่อ ๆ กันไปบางห้องมีเรื่องใหม่บ้างและรายงานยืดยาวหน่อย แต่ส่วนมากสั้น ๆ หลายรายน่าขัน หลายรายน่าตื้นตันใจ และทั้งหมดงดงาม คือการเยี่ยมคนไข้ ที่น่าสงสารนั้น รู้สึกจริงจังเหมือนเยี่ยมพระคริสตเจ้าเอง ทุกรายงานแสดงถึงเรื่องนี้อย่างเด่นชัด จะมีใครสักกี่คนมีแก๋ใจทำต่อเลือดเนื้อเชื้อไขของตน ดังที่ปรากฎในรายงานนั้น ทำกันชื่อ ๆ ตามธรรมดา และทั้งนี้ ปฏิบัติต่อผู้ต่ำต้อยในระหว่างประชาชนทั้งสิ้น เมื่อเยี่ยม นอกจากเอาใจใส่คนไข้อย่างละมุนละไมแล้ว ยังแถมช่วยอย่างอื่น เช่น เขียนจดหมาย ช่วยติดต่อกับเพื่อน หรือญาติที่ขาดความเอาใจใส่ หรือรับใช้เบ็ดเตล็ดอื่น ๆ ไม่มีอะไรน่ารังเกียจ หรือต่ำต้อยน้อยค่า”
“จดหมายฉบับหนึ่งจากคนไข้มาถึงผู้เยี่ยม อ่านต่อหน้าที่ประชุม มีตอนหนึ่งเริ่มว่า ‘ตั้งแต่คุณเข้ามาในชีวิตของดิฉัน’ สำนวนเหมือนหนังสืออ่านเล่น ทุกคนหัวเราะ ต่อมาข้าพเจ้าหวนนึกถึงเจ้าของจดหมาย ซึ่งนอนบนเตียงแต่ลำพัง เห็นว่าถ้อยคำนั้นมีความหมายมาก ทำให้ข้าพเจ้าตื้นตันใจด้วย ข้าพเจ้าคิดว่า แม้พูดถึงเพียงรายเดียว ก็เหมือนพูดกับรายอื่น ๆ ทั้งหมดน่าพิศวงอิทธิพลของการรวมกำลังซึ่งสามารถเรียกหลายคนมารวมกันในห้องเดียวและยังสั่งเขาไปทำงาน เหมือนทูตสวรรค์ ลงมาโปรดแก่ชีวิตของคนอื่นอีกนับเป็นพัน ๆ ที่โลกภายนอกพากันลืมเสียหมด” (คุณพ่อมีคาแอล ครีคอน จิตตาธิการ คอนชิเลียมองค์แรก)
ตามธรรมดาเมื่อพลมารีย์ออกเยี่ยม ควรเตือนคนไข้น่าสงสาร ให้รู้จักเล็งเห็นความทุกข์ยากในทางที่ถูก จะได้ยอมรับด้วยจิตตารมณ์ที่เหมาะสม
หน้า 331 บทที่ 37 ข้อแนะนำเกี่ยวกับงานชนิดต่างๆ
ควรชี้ชวนผู้ป่วยให้เห็นว่า ความลำบากอันเขาถือว่าเหลือทนนั้น ที่แท้มีมาเพื่อหล่อหลอมตนเอง ให้คล้ายคลึงพระคริสตเจ้า นับเป็นพระคุณอันใหญ่ยิ่ง นักบุญเทเรซาแห่งอาวิลากล่าวว่า “ไม่มีคุณประโยชน์อะไรใหญ่เท่ากับการที่พระเป็นเจ้า โปรดให้เรามีชีวิตเหมือนพระปิยบุตรเคยดำเนินมาแล้ว” ไม่ใช่การยากที่จะทำให้คนมองดูความทุกข์ยากด้วยทัศนะนี้ และเมื่อเข้าใจจับความได้ครั้งหนึ่งแล้ว จะรู้สึกว่าพิษสงของความทุกข์ยากลดลงครึ่งหนึ่ง
ทำให้ผู้ป่วยสำนึกถึงขุมทรัพย์อันยิ่งใหญ่ฝ้ายวิญญาณที่เขามีโอกาสรับ พึงย้ำบ่อย ๆ ให้เขาระลึกวาจาของนักบุญเปโตร ณ อัลกันดาราที่กล่าวชมเชยบุคคลหนึ่ง ซึ่งอุตส่าห์ทนความเจ็บปวดรวดร้าวอย่างที่สุดว่า “โอคนเจ็บที่มีบุญ พระเป็นเจ้าทรงแสดงให้ข้าพเจ้าเห็นเกียรติมงคลยิ่งใหญ่ที่ท่านสมจะรับเพราะความเจ็บปวดของท่าน คนอื่นสวดภาวนา อดอาหาร ตื่นเฝ้าไม่หลับนอน โบยตนเอง และทำงานใช้โทษบาปอื่นๆ ก็ยังได้กุศลไม่เท่าเทียมท่าน”
เป็นสิ่งพึงปรารถนาให้ใช้จ่ายขุมทรัพย์ฝ่ายวิญญาณเหล่านี้มากมายหลายวิธี ซึ่งแตกต่างกับเวลาที่รับความทุกข์ยาก เนื่องด้วยการสะสมไว้เพื่อตนเอง จะไม่เกิดผลเร้าใจที่มีอิทธิพลถึงขนาดนั้น ดังนั้นพลมารีย์ควรอธิบายให้คนเจ็บเข้าใจ ถึงการแพร่ธรรมทางอุทิศความเจ็บปวด ควรสอนคนเจ็บให้ฝักใฝ่กับธุระฝ่ายวิญญาณของชาวโลก ถวายชุมทรัพย์ความทุกข์ทรมานเพื่อความต้องการต่าง ๆ นานาประการ และดำเนินการรณรงค์อันจำต้องทรงอานุภาพไม่มีอะไรต่อต้านได้ เพราะเป็นทั้งคำภาวนาและกิจใช้โทษบาปในขณะเดียวกัน
“มือที่ชูขึ้นหาพระเป็นเจ้าเช่นนี้” ท่านบอสสุเอต์อุทาน “ฟันฝ่าข้าศึกดีกว่าชักธงขาวยอมแพ้”
หน้า 332 บทที่ 37 ข้อแนะนำเกี่ยวกับงานชนิดต่างๆ
เป้าหมายแรกอันหนึ่งคือชี้ชวนผู้ป่วยให้เป็นสมาชิกสนับสนุนแล้วต่อไปให้เป็นขั้นอัดยูตอเรียน แล้วกลุ่มสมาชิกนี้ จะรวมตัวกันหาสมาชิกจากเพื่อนคนไข้ด้วยกัน แล้วคนไข้จะได้รับการกระตุ้นเตือนให้ช่วยกันและกันทุกวิถีทางด้วย
แล้วถ้าสามารถหาสมาชิกสนับสนุนในหมู่คนไข้ได้ ทำไมไม่หาสมาชิกประจำการในหมู่พวกเขาด้วยเล่า แม้โรงพยาบาลโรคจิตหลายแห่งยังมีหลายเปรสิเดียมที่สมาชิกเป็นคนไข้โรคจิต การตั้งเปรสิเดียมในสถานที่เช่นนี้เท่ากับเริ่มงานอันเป็นเชื้อแป้งฟูทรงพลัง สมาชิกเหล่านี้มีเวลาเหลือเฟือที่จะทำงานท่ามกลางคนไข้อื่น ๆ และสามารถยกระดับตนเองขึ้นสู่ความศักดิ์สิทธิ์ขั้นสูง คุณค่าความเป็นสมาชิกของเขา ทำให้ขั้นตอนการบำบัดรักษาลดน้อยลง ทั้งนี้เป็นที่ประจักษ์รับรู้ทั่วไปในวงการแพทย์ประเภทนี้
เมื่อได้รับการเปิดเผยทัศนะใหม่แห่งชีวิตแล้ว บรรดาคนเจ็บไข้ที่เคยจมดิ่งอยู่ในความเศร้าระทม เพราะคิดว่าตนไม่มีประโยชน์ เป็นแต่ภาระให้ผู้อื่น จะกลับชื่นชมสุดซึ้ง ที่รู้สึกว่าตนยังสามารถทำประโยชน์เพื่อพระเป็นเจ้า
เรื่องสหพันธ์กับผู้ศักดิ์สิทธิ์ จำเป็นต้องดำเนินไปอย่างขะมักเขม้นระหว่างพลมารีย์และผู้ที่รับเยี่ยม คือตามวิธีแลกเปลี่ยนอย่างได้เปรียบระหว่างภาระหนักและผลประโยชน์ เราจะสมมุติไม่ได้หรือว่าคนเจ็บไข้กำลังรับใช้หนี้ส่วนหนึ่งแทนพลมารีย์ ซึ่งพลมารีย์เองจำต้องมีในฐานะเป็นมนุษย์ผู้รู้ตาย แต่ถ้าทุกคนต้องรับทนทรมานด้วยตนเองแล้ว โลกนี้จะมีแต่ผู้ป่วย ดังนั้นบางคนได้รับเอกสิทธิ์จำต้องทรมานเกินกว่าส่วนของตน เพื่อให้คนอื่นสามารถดำเนินงานของโลกต่อไป
พลมารีย์มีอะไรสามารถตอบแทนให้ผู้ป่วย ในการแลกเปลี่ยนฝ่าย-
หน้า 333 บทที่ 37 ข้อแนะนำเกี่ยวกับงานชนิดต่างๆ
วิญญาณนี้บ้าง ไม่มีอะไรอื่น นอกจากรับส่วนงานแพร่ธรรมจากคนไข้ เพราะผู้ป่วยไม่สามารถ (และบางครั้งยังไม่พร้อม) จะบำเพ็ญหน้าที่ส่วนนี้ในฐานะเป็นข้อผูกมัดของคริสตชนคาทอลิกทุกคน
ด้วยเหตุนี้ แต่ละคนจึงต่างยินดีได้รับผลจากการให้ของกันและกัน ที่จริงไม่ใช่เรื่องการแลกเปลี่ยนที่มีสมดุลดอก เพราะผลกำไรที่ได้รับ มีน้ำหนักมากกว่าส่วนที่ตนให้ไป ทั้งนี้ ตามหลักของคริสตชนคาทอลิก ที่ว่าให้หนึ่งย่อมได้ตอบแทนร้อยเท่า (ดู บทที่ 39 ข้อ 20 จุดสำคัญในงานเผยแผ่ธรรมของพลมารีย์)
“ข้าพเจ้าเป็นข้าวสาลีของพระคริสดเจ้า” นักบุญอิกญาซีโอ แห่ง อันติโอกกล่าว ‘และเพื่อให้ข้าพเจ้าเป็นปังสมพระเกียรติของพระเป็นเจ้า ข้าพเจ้าจำต้องถูกเคี้ยวด้วยเขี้ยวสิงโต’ อย่าสงสัยเลย กางเขนอันดีที่สุด ปลอดภัยแท้และศักดิ์สิทธิ์ที่สุดคือกางเขนที่พระเยซูเจ้าเองทรงมอบแก่เรา โดยไม่ได้ปรึกษาเรา
“จงทวีความเชื่อในพระธรรมข้อนี้ ซึ่งเป็นที่ชมชอบของบรรดานักบุญผู้ได้รับการหล่อหลอมในแม่พิมพ์แห่งนาซาเร็ธ จงนมัสการ ถวายพระพร และสรรเสริญพระเป็นเจ้าในการขัดแย้งและการทดลองนานาประการ ซึ่งมาจากพระหัตถ์ของพระองค์โดยตรง จงปราบความรังเกียจตามธรรมชาติของท่าน และพูดอย่างสุดใจของท่านว่า ‘ขอให้สำเร็จตามน้ำพระทัยของพระเป็นเจ้า’ ดังที่แม่พระตรัสตอบท่านอัครทูตสวรรค์คาเบรียลหรือดีกว่านั้นเสียอีก วิญญาณข้าพเจ้าถวายสดุดีพระเป็นเจ้า’ ซึ่งพระนางได้กล่าวตอบนางเอลิซาเบธด้วยบทสดุดีนี้ (Magnificat)” (Mateo Crawley Boevey)
หน้า 334 บทที่ 37 ข้อแนะนำเกี่ยวกับงานชนิดต่างๆ
แต่พอพลมารีย์ในศูนย์ใดมีสมาชิกชำนิชำนาญ และมีความสามารถพอแล้ว ก็ควรเริ่มงานเกี่ยวกับผู้อาภัพที่สุด ในพวกต่ำต้อยที่สุดของพระคริสตเจ้า พวกนี้ถูกละเลย ทำให้ชื่อคาทอลิกพลอยมัวหมองไปด้วย ไม่ควรมีแหล่งใดไกลเกินจนคณะพลมารีย์เข้าไม่ถึง เพื่อค้นหาแกะที่หายไปจากคอก ความกลัวอันไม่มีมูลจะเป็นอุปสรรคข้อแรก แต่จะมีมูลหรือไม่มีมูลก็ต้องมีบางคนทำงานชนิดนี้ ถ้าพลมารีย์ผู้สามารถและฝึกฝนดีแล้ว ทั้งเป็นผู้รู้จักสวดภาวนาและถือวินัยอย่างดีแล้ว ยังไม่พยายามลองทำงานนี้ก็ใครเล่าจะทำ
ตราบใดที่พลมารีย์ ในศูนย์กลางแห่งใดแห่งหนึ่ง ไม่อาจพูดอย่างจริงใจได้ว่า สมาชิกของตนรู้จักคนที่ต่ำต้อยด้อยโอกาสด้วยตนเอง และติดต่อกับบุคคลเหล่านี้ อย่างใดอย่างหนึ่ง กับแต่ละคนและทุก ๆ คน ต้องถือว่างานของคณะพลมารีย์ ในที่นั้นยังอยู่ในขั้นเจริญไม่เต็มที่ และต้องตั้งหน้าพยายามทำงานในด้านนี้ ให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น
ด้วยความปรารถนาจากใจ สมาชิกต้องแสวงหาผู้ด้อยโอกาสในหมู่ชาวโลกไม่น้อยหน้าไปกว่านักค้นหาของหายากและมีค่าในดิน การแสวงหาเช่นนี้ อาจเป็นโอกาสเดียวสำหรับชีวิตนิรันดรของผู้ด้อยโอกาส บ่อยครั้งอิทธิพลที่ดี เข้าไม่ถึงบุคคลเหล่านี้ จึงทำให้เขาหลงเห็นคุกตะรางเป็นสิ่งดีไป
ยิ่งกว่านั้นพลมารีย์ต้องคิดถึงงานนี้ในทัศนะของทหารออกรบ แน่นอนสมาชิกต้องเผชิญกับความเดือดร้อนต่าง ๆ บางทีก็เพียงถูก ‘ลูกกระสุนและลูกศร’ จากคำหยาบคาย บางทีก็ร้ายกว่านั้น คือประสบกับ ‘ปืนยาว’ คือการทุบตี หรือ ‘ปืนใหญ่’ คือการทำร้ายอย่างหนัก สิ่งเหล่านี้อาจทำให้เขาได้อับอายและเจ็บช้ำบ้าง แต่ที่จะทำให้พลมารีย์เกรงกลัวนั้นเป็นไปไม่ได้และไม่ควรทำให้ตกใจแม้แต่น้อย
นี่แหละเครื่องทดสอบ ความเข้มแข็งเยี่ยงทหารดังที่ผ่านเข้ามาใน
หน้า 335 บทที่ 37 ข้อแนะนำเกี่ยวกับงานชนิดต่างๆ
ความคิดของพลมารีย์บ่อย ๆ ทั้งเคยปรารภไว้ก็หลายครั้ง เขาพูดถึงการรณรงค์ นี่แหละพิษสง และผลร้ายของมัน สมาชิกพูดถึงการแสวงหาคนชั่วร้ายที่สุด บัดนี้พบแล้ว จะบ่นไปใยไม่เข้าการ ควรหรือจะมัวพิศวงทำไมว่า คนชั่วประพฤติผิดและทำสิ่งที่น่าอับอาย
รวมความว่า ในทุกกรณีที่ยุ่งยากเป็นพิเศษ หรือเมื่อเผชิญภัยพลมารีย์ควรระลึกว่า “อยู่ในสงคราม” ถ้อยคำนี้ซึ่งเร่งเร้าประชาชนในยามสงครามให้เสียสละ ก็ควรทำให้สมาชิกแข็งแกร่งในการทำสงครามเพื่อวิญญาณและยึดเขาให้มั่นคงอยู่กับงาน ในเมื่อคนส่วนมากทอดทิ้งไป
ข้อแนะนำต่างๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้น ก็ใช้ได้สำหรับพลมารีย์หญิง เท่า ๆ กับพลมารีย์ชาย พระศาสนจักรได้ผลิตมรณสักขีมาตั้งสองพันปีและพลมารีย์หญิงก็ได้แสดงวีรกรรมถึง 8 ปีก่อนตั้งเปรสิเดียมผู้ชาย ฉะนั้นขอเตือนอย่างแข็งแรงเช่นเดียวกันนี้ ให้สมาชิกหญิงรับทราบไว้ด้วยว่า ถ้าผู้ใดจะกล่าวขวัญถึงวิญญาณอันประเสริฐ และคงอยู่ตลอดนิรันดร ก็ต้องให้เตรียมพร้อมเสียสละ ไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่งเพื่อวิญญาณเหล่านั้น
เสียสละอะไร และใครเป็นผู้เสียสละ คำตอบก็คือ ถ้าฆราวาสได้รับคำเรียกร้องให้เสี่ยงอันตราย ก็ฆราวาสที่ไหนเล่า ถ้าไม่ใช่พวกที่พยายามทำตนให้สมเกียรติ กับตำแหน่งพลมารีย์ของพระนางมารีย์ ถ้าการเสียสละที่ยิ่งใหญ่จะต้องเรียกร้องจากฆราวาสคาทอลิก ก็จะเรียกจากใครเล่า ถ้าไม่ใช่พวกที่สมัครใจ และทำพิธีสมัครอย่างสง่า เข้าร่วมบริการของพระนางผู้ประทับบนเนินกัลวารีโอ แน่นอน พวกนี้จะไม่ยอมให้ผิดหวัง หากรับการเรียกร้อง
แต่การเป็นผู้นำก็อาจหลง โดยสำคัญผิดในเรื่องห่วงใยผู้ที่ติดตาม ฉะนั้นขอเตือนจิตตาธิการ และเจ้าหน้าที่ทั้งหมด ให้ตั้งมาตรฐานซึ่งสัมพันธ์
หน้า 336 บทที่ 37 ข้อแนะนำเกี่ยวกับงานชนิดต่างๆ
กันบ้างกับมาตรฐานที่ใช้ในสนามกีฬา โคโลสเซียม (Colosseum) คำนี้อาจไม่เป็นจริงสำหรับนักคำนวณสมัยนี้ แต่โคโลสเซียมก็เป็นการคำนวณเหมือนกัน คือคำนวณถึงคนที่น่ารักมากหลาย ไม่แข็งแรงหรืออ่อนแอกว่าพลมารีย์ของพระนางมารีย์ ซึ่งคิดว่า “คนเราจะตีราคาวิญญาณสักเท่าไรดีหนอ โคโลสเซียมเป็นการสรุปเพียงคำเดียว สิ่งที่กล่าวไว้หลายคำในคู่มือเรื่อง “บริการของคณะพลมารีย์ (บทที่ 4 งานบริการของคณะพลมารีย์) และบทนั้นไม่ได้ตั้งใจที่จะแสดงเพียงความรู้สึกเท่านั้น
งานเกี่ยวกับผู้ด้อยโอกาสหรือถูกทอดทิ้งเป็นงานยากเข็ญและยืดเยื้อ สำคัญอยู่ที่ต้องมีความอดทนอย่างมาก คนจำพวกที่เข้าติดต่อด้วยนี้ ต้องล้มแล้วล้มอีกเสียก่อน จึงลุกขึ้นสำเร็จ ถ้าด่วนใช้วินัยกับพวกนี้ตั้งแต่ต้น จะไม่มีอะไรสำเร็จเลย ชั่วเวลาสั้น ๆ ระบบอันเคร่งครัดจะทำให้สูญเสียบุคคลทั้งหมด ที่ตนตั้งใจจะดูแล และจะคงเหลือแต่คนที่ต้องการการเยียวยาน้อยที่สุด
ฉะนั้น ต้องเอาใจใส่คนถูกทอดทิ้งเป็นพิเศษ คือจำต้องเอาใจใส่เป็นต้นกับบรรดาผู้ที่แม้ผู้มองโลกในแง่ดีที่สุด ก็ยังส่ายหน้าว่าเป็นกรณีหมดหวังจริง ๆ เพราะว่าจิตใจหยาบกระด้างและเย็นเฉยในเบื้องต้นต่อคำเชิญชวนของเขานั้น ดูเหมือนสมกับที่ว่า “หมดหวัง” เสียจริง คนหยาบกระด้าง อกตัญญูคนน่ารังเกียจ
คนที่สังคมไม่ไยดี หรือตัดสัมพันธ์ คนไม่ดีในเมืองใหญ่เหล่านี้ พลมารีย์ต้องพยายามปักใจมั่น ไม่ไยดีต่อการถูกปฏิเสธ ความอกตัญญูและอาการที่แสดงคล้ายว่าหมดหวังนั้น ในพวกนี้มีไม่น้อยที่จะต้องเอาใจใส่เขาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
เห็นชัดว่างานเช่นนี้ ถ้าดำเนินไปตามความคิดดังกล่าว จำเป็นต้อง
หน้า 337 บทที่ 37 ข้อแนะนำเกี่ยวกับงานชนิดต่างๆ
มีคุณธรรมขั้นวีรชน และทัศนคติเหนือธรรมชาติ บำเหน็จในงานยากลำบากเช่นนี้ หากมุ่งเพียงเป้าหมายอย่างเดียวก็จะทำให้ขาดความเป็นมิตรกับพระเป็นเจ้า แต่จะเกิดความชื่นชมยินดีสักเพียงไรถ้าได้ร่วมมือกับ “พระองค์อาศัยความพยายามสม่ำเสมอ ที่สุดสามารถดึงเขาจากโคลนตม และช่วยให้เขามีชีวิตใหม่ เพื่อเชยชมพระเป็นเจ้า” (Newman : Dream of Gerontius)
กิจการพิเศษนี้ได้รับการพิจารณาอย่างยาวนาน เพราะเกี่ยวข้องอย่างแท้จริงกับจิตตารมณ์ทั้งหมดของคณะพลมารีย์ ยิ่งกว่านั้น ในบรรดาบริการที่ให้แก่พระศาสนจักร เรื่องนี้อยู่ในตำแหน่งสำคัญเพราะเป็นการยืนยัน โดยเฉพาะในหลักการของคาทอลิกที่ว่า แม้มนุษย์ต่ำต้อยที่สุดก็เกี่ยวข้องมีความสำคัญสำหรับเรา ไม่ว่าเขาจะสามารถทำประโยชน์หรือถูกใจเราหรือไม่ในเขาเหล่านี้ เราต้องแลเห็นพระคริสตเจ้า เคารพและรักพระองค์ด้วยข้อพิสูจน์ว่า ความรักนี้จะจริงหรือไม่ ย่อมแสดงออกในกรณีแวดล้อมที่ทดสอบความรักนั้น ข้อทดสอบสำคัญ คือต้องรักบุคคลซึ่งตามธรรมชาติของมนุษย์เห็นแล้วรักไม่ลง นี่แหละเป็นเหมือนการทดสอบถึงแก่น ว่าความรักมนุษย์ของเรานั้นแท้หรือเทียม นี่แหละหัวใจของความเชื่อ เป็นจุดยอดเยี่ยมของศาสนาคาทอลิก เพราะปราศจากอุดมคติคาทอลิก ความรักชนิดนี้จะมีอยู่ไม่ได้
จะเป็นความคิดแปลกที่สุด หากแยกความรักนั้นจากรากที่เป็นทั้งความหมายและชีวิต ถ้าจำต้องถือมนุษยธรรมเป็นดังพระวรสารของเราเมื่อนั้นเราก็ต้องตัดสินทุกสิ่ง ตามทัศนะที่เป็นประโยชน์แก่มนุษยชาติ ดังนั้นบางสิ่งที่ยอมรับกันว่า ไร้ค่าแก่มนุษยชาติ หากพิเคราะห์ตามแนวเหตุผลตามหลักดังกล่าวนี้ จำต้องถือเช่นเดียวกับที่พระศาสนาคาทอลิกถือว่าบาปกล่าวคือจำต้องขจัดเสียให้สิ้นไป
หน้า 338 บทที่ 37 ข้อแนะนำเกี่ยวกับงานชนิดต่างๆ
ผลของหลักการนี้ก็คือ การเอาใจใส่เสียสละทุกอย่าง เพื่อบรรดาบุคคลที่ “ถูกทอดทิ้ง” “พวกสิ้นหวัง” “พวกเหลือขอ” และพวกที่ประชาชนไม่พึงปรารถนานั้น ย่อมเป็นการปิดปากชาวโลกที่ป่าวประกาศว่า มีความรักต่อเพื่อนมนุษย์ ซึ่งที่แม้เป็นเพียงคำพูดที่ติดปากของระบบวัตถุนิยม ระบบวัตถุนิยมนี้ แสดงอาการน่าเลื่อมใส จนกระทั่งเริ่มเกิดความยากลำบากขึ้น เมื่อนั้นจะเห็นว่า ความรัก (หรือเท่าที่เห็นภายนอกว่ารัก) จะแสดงเฉพาะต่อบรรดาที่เห็นชัดว่า เป็นพวกที่ไม่ไร้ประโยชน์ จะไม่ไยดีต่อพวกที่รัฐบาลหมายหัวไว้ว่า เป็นพวกไร้ประโยชน์หรือเป็นอันตราย ที่จริง ท่าทีอันเห็นชัดแน่นอนในรัฐนิยมวัตถุสมัยใหม่ คือไม่มีความรักที่เสียเปล่า สำหรับชนชั้น “ไร้ประโยชน์” หรือ “พวกต่ำต้อยที่สุด” สำหรับเรื่องนี้ ทัศนะของเขา ห่างไกลจากทัศนะแท้ประสาคริสตชนคาทอลิก จนกระทั่งไม่สามารถประดิษฐ์ ความรักเทียมขึ้นเทียบกับความรักแท้ของคริสตชนคาทอลิกได้ บรรดาผู้ที่เสียสละตนเองแสดงความรักแท้ของคริสตชนคาทอลิกในชั้นสูง เป็นผู้ป้องกันประชาชนไม่ให้หลงในความรักจอมปลอม นับเป็นบริการสูงสุดแก่พระศาสนจักร
“ท่านก็ว่าเป็นการยากที่จะอดทนติดต่อกับคนไม่ดีเหล่านี้ แต่เพราะเหตุนี้แหละท่านจึงควรพลีตนเพื่อพวกเขาด้วยความรัก จุดประสงค์อันมั่นคงของท่านคือให้เขาละทิ้งบาป นำเขาไปสู่ฤทธิ์กุศล แต่ท่านอาจค้านว่า เขาจะไม่ฟังเสียงท่าน จะไม่ทำตามที่ท่านแนะนำ ท่านจะรู้ได้อย่างไรในเรื่องนี้ ท่านได้ชี้แจงให้เขาฟังและพยายามเอาชนะเขาทุกทางแล้วหรือ ท่านตอบว่าเคยชี้แจงเหตุผลให้เขาฟังบ่อย ๆ แต่บ่อยแค่ไหน ท่านว่าหลายต่อหลายครั้งแล้ว แล้วท่านถือว่าเช่นนั้นบ่อยแล้วหรือ
แม้ท่านจะต้องทำต่อไปตลอดชีวิต ท่านก็ไม่ควรลดละความพยายามหรือหมดหวังเสียเลย ท่านไม่เห็นหรือว่า พระเป็นเจ้าทรงเชื้อเชิญเรา ทางประกาศก ทางอัครสาวกและทางผู้นิพนธ์พระวรสาร และผลเป็นอย่างไร การกระทำของเราได้เป็น
หน้า 339 บทที่ 37 ข้อแนะนำเกี่ยวกับงานชนิดต่างๆ
ตามที่ควรจะเป็นหรือไม่ เราตั้งใจฟังพระองค์ทุกสิ่งไหม อนิจจา ช่างห่างไกลเหลือเกิน กระนั้นก็ดี พระองค์ไม่ได้หยุดยั้งติดตามวิงวอนพวกเรา เพราะอะไร เพราะไม่มีอะไรประเสริฐเทียบเท่าวิญญาณนั่นเอง ‘มนุษย์จะได้ประโยชน์ใดในการที่ได้โลกทั้งโลกเป็นกำไร แด่ต้องเสียชีวิต’ (มธ 16:26)” (นักบุญยอห์น คริสชอสโตม)
7. งานเกี่ยวกับเยาวชน
“แน่นอนบุคคลที่พระเยซูเจ้าทรงเอ็นดูโปรดปรานมาก คือพวกเด็ก พระองค์ทรงอวยพระพรพวกเขา ยิ่งกว่านั้น ยังเคยสัญญาจะประทานอาณาจักรสวรรค์อีกด้วย (เทียบ มธ 19:13-15 ; มก 10:141) ที่สำคัญพระเยซูเจ้าทรงยกย่องบทบาทของเด็กให้เป็นแบบอย่างในอาณาจักรของพระเป็นเจ้า พวกเขาเป็นสัญลักษณ์โดดเด่น และเป็นภาพลักษณ์ยอดเยี่ยมของสถานภาพทางจริยธรรม และทางจิตวิญญาณ ซึ่งทุกคนจะขาดเสียมิได้ เพื่อเข้าสู่พระอาฌาจักรพระเป็นเจ้า และเพื่อให้การที่ยอมมอบความไว้วางใจอย่างสิ้นเชิงแด่พระเป็นเจ้าเป็นไปตามกฎแห่งเหตุผล ‘เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่าถ้าท่านไม่กลับเป็นเหมือนเด็กเล็ก ๆ ท่านจะเข้าอาณาจักรสวรรค์ไม่ได้เลย ดังนั้นผู้ใดที่ถ่อมตนลงเหมือนเด็กเล็ก ๆ คนนี้ ผู้นั้นจะยิ่งใหญ่ที่สุดในอาณาจักรสวรรค์’ (มธ 18:3-5 ; เทียบ ลก 9:48)” (CL 47)
ถ้าการป้องกันรักษาเยาวชนในความเชื่อ และความบริสุทธิ์เป็นที่มั่นใจได้ อนาคตก็จะแจ่มใสสักเพียงไร ถ้าได้เช่นนั้นพระศาสนจักรจะเข้มแข็งอย่างยิ่ง สามารถรับพันธกิจการนำโลกต่างความเชื่อให้กลับใจ และจะสำเร็จภายในเวลาไม่นาน เท่าที่เป็นอยู่การงานส่วนใหญ่ของพระศาสนจักรมุ่งอยู่กับการเยียวยารักษาบาดแผลภายใน
ยิ่งกว่านั้น การป้องกันรักษาไว้ก่อน ย่อมง่ายกว่าแก้ไขภายหลัง คณะพลมารีย์จะเอาใจใส่ทั้ง 2 อย่าง เพราะทั้งสองก็สำคัญที่สุด แต่แน่นอนในสองอย่างนี้ ไม่ควรละเลยงานที่ง่ายกว่า คือการป้องกัน ความยากลำบาก
หน้า 340 บทที่ 37 ข้อแนะนำเกี่ยวกับงานชนิดต่างๆ
ที่เราพยายามป้องกันเด็กหลาย ๆ คนให้พ้นจากความชั่วนั้น จะพอๆ กับที่เราประสบในการพยายามนำผู้ใหญ่เพียงคนเดียวที่ประพฤติผิดให้กลับกลายเป็นคนดี
ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างงานเกี่ยวกับเยาวชน
(ก) การไปร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณของเด็ก พระสังฆราชองค์หนึ่งเมื่อมอบโครงการทำงานแก่พลมารีย์ ได้ยกเรื่องช่วยนำเด็กไปร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณวันอาทิตย์ ว่าเป็นงานสำคัญข้อแรก ท่านถือว่าการที่เด็กขาดพิธีบูชาขอบพระคุณวันอาทิตย์เป็นบ่อเกิดอย่างหนึ่งแห่งความยุ่งยากอื่น ๆ ทั้งหมดในภายหลัง การเยี่ยมบรรดาเด็กในวันอาทิตย์ (จะรู้ชื่อพวกเด็กได้จากทะเบียนของโรงเรียน ฯลฯ) จะทำให้เกิดผลดีที่สุดในเรื่องนี้
อนึ่ง อย่าลืมว่า ลำพังเด็กเองน้อยนักจะประพฤติผิด เมื่อปรากฎว่าเด็ก ๆ ละเลยหน้าที่เบื้องต้นของคาทอลิกข้อนี้ ก็แน่ใจทีเดียวว่า เกิดจากบิดามารดาใจเย็นเฉยและเป็นตัวอย่างไม่ดี การแพร่ธรรมของคณะพลมารีย์จึงควรกระทำไปโดยตระหนักถึงข้อบกพร่องร้ายแรงนี้อีกข้อหนึ่งในกรณีเกี่ยวกับเด็ก ๆ เรื่องนี้ร้ายแรงกว่าเรื่องอื่น ๆ การเยี่ยมเป็นครั้งคราว หรือระยะสั้น จะได้ผลน้อยหรือไม่ได้ผลเลย
(ข) การเยี่ยมตามบ้านเด็ก เกี่ยวกับการเยี่ยมเด็กถึงบ้านของเขาจะต้องเน้นถึงข้อสำคัญอย่างหนึ่ง มีสาเหตุหลายอย่าง ที่ทำให้ผู้ทำงานให้พระศาสนจักร ไม่สามารถเข้าถึงครอบครัวต่างๆ ได้ แต่อาศัยการมาเยี่ยมเด็กในครอบครัวนั้น ก็แน่ใจได้ว่า จะเข้าถึงครอบครัวได้สำเร็จ เพราะความจริงมีอยู่ในความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่กับลูก เพราะพ่อแม่ย่อมเอาใจใส่ลูกมากกว่าต่อตนเอง ตามปกติในใจพ่อแม่จะมีแต่ผลประโยชน์ของลูก จนลืมเอาใจใส่ตนเอง พอนึกถึงลูก หัวใจที่แข็งกระด้างปานใดก็กลับอ่อนลง ตนเอง
หน้า 341 บทที่ 37 ข้อแนะนำเกี่ยวกับงานชนิดต่างๆ
อาจตายด้านต่อพระศาสนา แต่ในส่วนลึกแห่งจิตใจยังไม่อยากเห็นลูกๆ ประสบชะตากรรมเดียวกัน และอดปลื้มใจไม่ได้ เมื่อเห็นพระหรรษทานเกิดผลในลูกของตน เหตุนี้ ผู้ที่ต่อต้านดึงดัน หรือหยาบคายเมื่อมีใครมาเชิญชวนเขาโดยตรงทางเรื่องศาสนา จะกลับยอมต้อนรับ เมื่อผู้เชิญชวนคนเดียวกันนั้นมุ่งไปยังลูก ๆ ของเขา
พลมารีย์ผู้สามารถ เมื่อได้เข้าไปในบ้านแล้ว จะรู้จักวิธีทำให้ ทุกคนในบ้านนั้นได้รับผลการแพร่ธรรมของตน ความสนใจจริงจังต่อเด็ก ๆ ตามปกติเป็นที่จับอกจับใจพ่อแม่ของเด็ก เรื่องนี้สามารถใช้เป็นประโยชน์ในการหว่านจิตตารมณ์เหนือธรรมชาติ โดยที่เราอาศัยเด็กเป็นกุญแจเข้าสู่บ้านพ่อแม่ของเด็ก เช่นเดียวกันยังเป็นกุญแจไขหัวใจของพ่อแม่ และเข้าถึงวิญญาณของพวกเขาด้วย
(ค) สอนคำสอนแก่เด็ก งานอันมีค่ายอดเยี่ยมนี้ ควรต่อเติมด้วยการไปเยี่ยมบ้านเด็ก ที่ไปเรียนคำสอนไม่สม่ำเสมอ หรือโดยทั่วไป เพื่อแสดงความสนใจส่วนตัวต่อเด็ก ๆ และเชื่อมต่อกับคนอื่น ๆ ในครอบครัวด้วยคณะพลมารีย์อาจรับให้บริการแก่สาขาประจำท้องถิ่นของสมาคมพระคริสตธรรมก็ได้ (ดูภาคผนวก 8)
ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างถึงประสิทธิภาพการใช้ระบบพลมารีย์เกี่ยวกับการสอนคำสอนวันอาทิตย์ในวัดที่มีคนอยู่หนาแน่น แม้พระสงฆ์จะใช้ความพยายาม รวมทั้งการขอร้องจากบทเทศน์ ก็มีเด็กมาเฉลี่ยราว 50 คนเท่านั้น ถึงตอนนั้น วัดได้ตั้งเปรสิเดียมหนึ่ง ซึ่งนอกจากสอนคำสอนแล้ว ยังไปเยี่ยมบ้านเด็กด้วย ทำงานผ่านไปเพียงปีเดียว ก็สามารถนำเด็กมาเรียนคำสอนคิดเฉลี่ยได้ราว 600 คน ตัวเลขน่าพิศวงนี้ ไม่ได้รวมผลประโยชน์ฝ่ายวิญญาณที่แผ่ไปยังหมู่ญาติที่เย็นเฉยอีกนับไม่ถ้วนด้วย
หน้า 342 บทที่ 37 ข้อแนะนำเกี่ยวกับงานชนิดต่างๆ
ในงานทั้งหมด พลมารีย์ควรจดจำไว้เป็นหลักปฏิบัติว่า “พระนางมารีย์จะมองดู และปฏิบัติต่อเด็ก ๆ เหล่านี้ที่เป็นลูกของพระนางอย่างไร” ในงานสอนคำสอนนี้ ความคิดดังกล่าวควรจะตระหนักยิ่งกว่างานอื่นๆ ตามธรรมดาเรามักจะรู้สึกเบื่อต่อเด็ก ๆ ได้ง่าย แต่ความผิดที่ร้ายกว่านั้น คือการสอนคำสอนเช่นเดียวกับประกอบธุรกิจของชาวโลก จนเด็ก ๆ รู้สึกว่าการเรียนการสอนนี้เป็นการเพิ่มภาระเวลาเรียนหนังสือขึ้นอีก ถ้าเป็นเช่นนี้เก้าในสิบของข้าวที่จะเกี่ยวจะถูกทอดทิ้งไป ดังนั้นพึงใคร่ครวญอีกสักครั้งว่า “พระมารดาของพระเยซูเจ้าจะสอนเด็กเหล่านั้นอย่างไร ในเมื่อพระมารดาแลเห็นเด็กแต่ละคนนั้น เป็นดังพระปียบุตรของพระนางเอง”
ขณะสอนคำสอนเด็ก สิ่งสำคัญที่ควรนำมาใช้ คือ การท่องขึ้นใจและใช้โสตทัศนูปกรณ์ ควรระมัดระวังเป็นพิเศษในอันที่จะเลือกใช้แต่สื่อการสอนที่ตรงตามทรรศนะของพระศาสนจักรทุกประการทั้งผู้สอนพระคริสตธรรมและผู้เรียนจะได้รับพระคุณการุณย์บางส่วน (EI 20)
(ง) โรงเรียนที่ไม่ใช่คาทอลิก หรือโรงเรียนรัฐบาล ชีวิตของเด็กที่ไม่ได้เข้าโรงเรียนคาทอลิกอยู่ในอันตรายเสมอ และเป็นการยากที่จะป้องกันเขาในระยะต่อ ๆ มา ในข่ายของปัญหาข้อใดข้อหนึ่ง วิธีการเยียวยาต่าง ๆ ตามที่ผู้ใหญ่ฝ่ายพระศาสนจักรแต่ละท้องถิ่นรับรองนั้น คณะพลมารีย์จะยอมรับและนำมาปฏิบัติเต็มความสามารถ
(จ) สมาคมต่าง ๆ สำหรับเยาวชน สำหรับเด็กที่ได้เข้าโรงเรียนที่ดี วิกฤติการณ์จะมาเมื่อถึงวัยออกจากโรงเรียน เขาพ้นจากอิทธิพลคำสั่งสอนที่ดี การยืดเหนี่ยวป้องกัน และการคุ้มกันที่ละเอียดลออของทางโรงเรียนบางครั้งต้องพึ่งทางโรงเรียนทั้งสิ้น เพราะเหตุผลที่ว่า ทางบ้านไม่ได้มีอิทธิพล
หน้า 343 บทที่ 37 ข้อแนะนำเกี่ยวกับงานชนิดต่างๆ
ทางศาสนา หรือเหนี่ยวรั้งเด็กเลย
ความยุ่งยากซับซ้อนยังเพิ่มขึ้นอีก คืออิทธิพลต่าง ๆ ที่กล่าวแล้วนั้นหมดไปจากเด็ก เมื่ออายุต้องเผชิญกับความยุ่งยากมากมายเกี่ยวกับศีลธรรมและน่าเสียดายที่เด็กเหล่านี้พ้นอายุเด็กแล้ว แต่ความคิดความอ่านยังไม่เป็นผู้ใหญ่
ตามธรรมดา การดูแลให้เหมาะแก่เยาวชนในวัยนี้เป็นของยากและมักจะบกพร่องบ่อย ๆ เมื่อถึงระยะหัวเลี้ยวหัวต่อนี้ผ่านไป แม้มีองค์กรเปิดรับคนหนุ่มสาว แต่มักจะไม่มีประโยชน์เพราะความหลงใหลในเสรีภาพเป็นพิษเสียแล้ว
ฉะนั้น การเอาใจใส่ที่ดำเนินอยู่ในโรงเรียน จะต้องคงอยู่ต่อไปบ้าง เมื่อเด็กออกจากโรงเรียนแล้ว วิธีที่จะแนะนำคือ ตั้งสมาคมเยาวชน หรืออย่างน้อยตั้งแผนกเยาวชนขึ้นในสมาคมฝ่ายพระศาสนจักรที่มีอยู่แล้วตามปกติ ทั้งนี้ให้อยู่ในความดูแลของคณะพลมารีย์ ก่อนที่เด็กเหล่านี้จะออกจากโรงเรียน ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องจะจัดการมอบรายชื่อแก่พลมารีย์ แล้วพลมารีย์จะไปติดต่อให้เกิดความคุ้นเคยที่บ้าน และชวนให้เข้าสมาคม บรรดาเด็กที่ไม่อาจชักนำมาเข้าสมาคมได้ ควรเอาใจใส่เยี่ยมเป็นพิเศษ พวกที่มาไม่สม่ำเสมอสมาคมก็ควรเอาใจใส่เช่นกัน
ควรมอบให้พลมารีย์มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลสมาชิกของสมาคมคนละจำนวนหนึ่ง ก่อนสมาคมจะประชุมแต่ละครั้ง พลมารีย์ควรไปเยี่ยมและเตือนบรรดาสมาชิกให้ไปร่วมประชุม การเข้าเงียบประจำปี (อย่างเคร่งครัดถ้าทำได้) และงานรื่นเริงประจำปี ควรระบุอยู่ในระเบียบของสมาคมนี้ด้วย
ไม่มีวิธีใดดีกว่านี้ ความจริงยังไม่มีวิธีอื่นตายตัว ที่เป็นหลักประกันให้เยาวชนไปรับศีลบ่อย ๆ หลังจากออกจากโรงเรียนแล้ว
หน้า 344 บทที่ 37 ข้อแนะนำเกี่ยวกับงานชนิดต่างๆ
ในกรณีเยาวชน ที่ถูกคัดออกจากสถานบำบัด หรือโรงเลี้ยงเด็กกำพร้า ต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ ตามคำแนะนำข้างบนนี้ เนื่องด้วยบางรายไม่มีทั้งบิดามารดาจะดูแล บางรายก็มีผู้ปกครองที่ไม่ดี
(ฉ) การอำนวยการสโมสรเด็ก คณะลูกเสือชายหญิง กลุ่มคนงานคาทอลิก สอนการฝีมือสตรี สาขายุวธรรมทูต ฯลฯ งานเหล่านี้อาจจะถือเป็นงานมอบหมายสำหรับสมาชิกบางส่วนของเปรสิเดียม ไม่ใช่เป็นงานทั้งสิ้นของเปรสิเดียมหนึ่ง แต่ก็เป็นการสมบูรณ์ตามระเบียบ หากเปรสิเดียมใดจะอุทิศตนทำงานเฉพาะบางอย่างดังกล่าวแล้วนี้ อย่างไรก็ดี ในกรณีนี้ต้องเข้าใจว่า การประชุมเปรสิเดียมโดยเฉพาะต้องมี และดำเนินไปตามข้อบังคับ
การที่สมาชิกจะมาประชุมกัน ในฐานะเป็นงานพิเศษเวลาค่ำชนิดหนึ่งเพื่อสวดภาวนา อ่านรายงาน และเสนอรายงานรีบ ๆ 2-3 อย่าง ตามที่มีผู้เสนอแนะนั้น จะแทนการประชุมเปรสิเดียมมิได้ อาจเป็นได้ที่ส่วนสำคัญของการประชุมได้ปฏิบัติถูกต้องแล้ว แต่เชิญอ่านบทที่ 11 ว่าด้วยโครงการของคณะพลมารีย์ จะเห็นว่าการทำรวบรัดเช่นนั้น มีจิตตารมณ์แห่งความมีระเบียบน้อยสักเพียงไร
ความปรารถนาของคณะ คือระหว่างการประชุมในงานพิเศษแต่ละครั้ง ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของพลมารีย์ ควรสวดบทภาวนาของคณะ ตอนเปิดประชุม ตอนกลาง และตอนปิดประชุม ถ้าไม่สามารถสวดสายประคำได้อย่างน้อยควรสวดบทภาวนาอื่น ๆ ในแตสเซรา
(ช) กฎเกณฑ์ของพลมารีย์เกี่ยวกับเยาวชน ดูเหมือนจำเป็นจะเสนอหลักคำแนะนำบางประการ สำหรับพลมารีย์ที่ดำเนินงานสโมสร หรือกลุ่มเยาวชน ตามปกติ วิธีการปฏิบัติ ทั้งหมดมักขึ้นอยู่กับบุคคลที่ดูแลกลุ่มนั้น จึงเกิดมีระบบแตกต่างกันอย่างมากมาย นับแต่ประชุมทุกวัน ถึง
หน้า 345 บทที่ 37 ข้อแนะนำเกี่ยวกับงานชนิดต่างๆ
ประชุมทุกสัปดาห์ นับแต่มุ่งสนุกสนานแท้ หรือฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการอย่างเดียวจนถึงที่เกี่ยวกับศาสนาล้วน ๆ
เห็นชัดว่า ความแตกต่างมากมายนี้ จะทำให้เกิดผลต่างกันมากแต่ใช่จะได้ผลดีที่สุดเสมอก็หาไม่ เช่นที่มุ่งบันเทิงอย่างเดียว ก็ยังเป็นการฝึกเยาวชนที่น่าสงสัยอยู่ แม้จะถือเสียว่า ‘ทำให้เขาพ้นจากการทำผิด’ คำกล่าวที่รู้กันดีก็ว่า “ทำแต่งานไม่มีบันเทิง ทำให้เด็กเคร่งเครียด” แต่ก็มีผู้กลับประโยคนี้เสียใหม่และเป็นความจริงยิ่งขึ้นอีกว่า “เล่นตลอดและไม่ทำงานทำให้เด็กเห็นเป็นเล่นไปหมด”
ระบบของเปรสิเดียมได้แสดงว่า เป็นมาตรฐาน เหมาะกับประชาชนและการงานทุกแบบทุกชนิด เช่นเดียวกัน จะจัดหาระบบที่ใช้มาตรฐานกับเยาวชนทั่วไปไม่ได้หรือ ตามการทดลองที่ทำมาแล้วเห็นว่า โครงการตามแนวต่อไปนี้ จะเกิดผลอย่างน่าพอใจ จึงขอให้เปรสิเดียมที่เกี่ยวกับกลุ่มเยาวชนลองรับปฏิบัติดู
1) อายุไม่เกิน 21 ปี อย่างต่ำไม่จำกัด ควรแบ่งให้อายุไล่เลี่ยกัน
2) สมาชิกทุกคนต้องเข้าประชุมประจำสัปดาห์สม่ำเสมอ ถ้ากลุ่มใดประชุมมากกว่าสัปดาห์ละครั้ง กฎนี้อนุมัติให้ใช้หรือไม่ใช้ได้ตามความเหมาะสมในคราวประชุมเพิ่มเติม
3) สมาชิกแต่ละคนต้องสวดบทกาเจตนาของคณะพลมารีย์ทุกวัน
4) ในการประชุมประจำสัปดาห์ ให้จัดแท่นของพลมารีย์ ตั้งอยู่บนโต๊ะ เหมือนกรณีประชุมเปรสิเดียม หรือตั้งต่างหาก หรือยกสูงขึ้นเพื่อความปลอดภัย
5) ทุกครั้งที่มีการประชุม ให้สวดบทภาวนาของพลมารีย์ รวมทั้งลูกประคำ โดยแบ่งสวดเหมือนในการประชุมเปรสิเดียม
หน้า 346 บทที่ 37 ข้อแนะนำเกี่ยวกับงานชนิดต่างๆ
6) ความยาวทั้งหมดของการประชุมต้องไม่น้อยกว่า หนึ่งชั่วโมงครึ่ง แต่อาจเกินกว่านี้ก็ได้
7) เวลาสำหรับจัดกิจกรรมและอบรม ต้องไม่น้อยกว่าครึ่งชั่วโมงเวลาที่เหลืออาจใช้หย่อนใจก็ได้ตามปรารถนา คำว่า “กิจกรรม” หมายถึงการจัดงานซึ่งมีตามธรรมดาของคณะที่ตั้งขึ้น เช่น เรื่องฟุตบอล หรือสโมสรกีฬา อื่น ๆ คำว่า “อบรม” หมายถึงการฝึกสอน หรือฝึกอบรมในรูปใดรูปหนึ่งอาจจะเป็นศาสนาหรือทางโลกก็ได้ แล้วแต่จะจัดไว้สำหรับสมาชิก
8) ให้สมาชิกทุกคนรับศีลมหาสนิทไม่น้อยกว่าเดือนละครั้ง
9) ควรกระตุ้นให้เป็นสมาชิกสนับสนุนของคณะพลมารีย์ และค่อย ๆ แทรกคำเตือน ให้เขาเกิดความคิดที่จะทำประโยชน์แก่เพื่อนบ้านหรือหมู่คณะด้วย
“เป็นการง่ายที่จะพิจารณาถึงบทเรียนอันมากมาย จากชีวิตของนักบุญยอห์น บอสโก ซึ่งเต็มไปด้วยความขยันชันแข็งเป็นพิเศษ ข้าพเจ้าเลือกไว้เพียงบทเดียวเพราะเห็นว่าสำคัญที่สุดและสำคัญอยู่เสมอ นั่นคือทัศนะของท่านนักบุญเกี่ยวกับความสัมพันธ์อันควรมีอยู่ระหว่างครูกับศิษย์ ผู้ใหญ่กับผู้น้อย ในโรงเรียน หรือวิทยาลัย หรือสามเณราลัย ถูกของท่าน (ยอห์น บอสโก) ที่ชิงชังจิตตารมณ์ชอบเหินห่าง ไม่ยอมให้เข้าใกล้วางท่าปั้นปึ่ง บางทีเพราะมัวแต่พะวงให้ถูกหลัก บางทีเพราะคิดไม่ถึง โดยมากเพราะเห็นแก่ตัวเท่านั้น ผู้หลัก ผู้ใหญ่ ครู อาจารย์ ที่แสดงเช่นนี้ ทำให้ผู้ที่พระเป็นเจ้าทรงมอบหมายให้ตนฝึกอบรมนั้นไม่กล้าเข้าใกลั นักบุญยอห์น บอสโก ไม่เคยลืมคำที่ว่า “เขาตั้งท่านเป็นผู้ปกครองหรือ อย่ายกตนเลย จงอยู่กับเขาเหมือนคนหนึ่งในพวกเขาเอาใจใส่เขาให้ดีเถอะ” (บสร 32)” (Cardinal Bourne)
หน้า 347 บทที่ 37 ข้อแนะนำเกี่ยวกับงานชนิดต่างๆ
8. การเร่ขายหนังสือ
พลมารีย์อาจจัดการเร่ขายหนังสือในที่สาธารณะ เป็นต้นตามถนนหรือใกล้ถนนที่มีผู้คนสัญจรไปมามาก จากประสบการณ์แสดงว่า งานพลมารีย์ประเภทนี้มีค่ามาก ไม่มีทางใดที่ไร้ผล โดยนำการแพร่ธรรมอย่างกว้างขวางไปยังคนดี คนปานกลาง และคนเลว หรือนำพระศาสนาไปสู่หลายๆ คนที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อน ฉะนั้นคณะพลมารีย์ปรารถนาแรงกล้าให้ในทุก ๆ ศูนย์กลางใหญ่ ๆ ควรจัดการเร่ขายหนังสือเช่นนี้อย่างน้อยสักแห่งหนึ่ง
รถสำหรับการนี้ควรสร้างให้มีที่แสดงหนังสือได้มากที่สุด ควรมีหนังสือเกี่ยวกับพระศาสนาในราคาถูกให้มาก ๆ พลมารีย์เองเป็นพนักงานขาย
นอกจากพวกแรกที่ตั้งใจขอดูหนังสือเพื่อที่จะซื้อแล้ว ร้านเร่นี้ยังชักจูงบุคคลเกือบทุกประเภทเข้ามาชมด้วย พวกคาทอลิกที่อยากเข้ามาคุยกับผู้ร่วมศาสนาเดียวกันก็มี พวกที่ไร้จุดหมายและเฉย ๆ เข้ามาชมเป็นการฆ่าเวลาหรือด้วยความมักรู้มักเห็นก็มี พวกที่สนใจพอประมาณ ยังไม่อยู่ในพระศาสนจักร จะเข้าไปติดต่อโดยตรงกับพระศาสนจักรก็ยังลังเลใจก็มี
คนเหล่านี้จะยินดีสนทนากับพลมารีย์ที่สุภาพ เห็นอกเห็นใจที่เป็นพนักงานประจำอยู่ พลมารีย์ที่รับหน้าที่ควรรับการฝึกให้รู้จักใช้การตอบคำถามหรือการซื้อหนังสือนี้ เป็นการเริ่มการติดต่อฉันมิตรกันต่อไป ประการหลังนี้จะเป็นประโยชน์ชักนำคนเหล่านั้นให้รู้จักนึกคิด และกระทำสิ่งที่ยกระดับสูงขึ้น
คาทอลิกจะได้รับการแนะนำให้เข้าช่วย “สิ่งที่เกี่ยวกับคาทอลิก” ผู้ที่ไม่ใช่คาทอลิกจะได้รับการแนะนำให้เข้าใจพระศาสนจักร บางคนเมื่อกลับไปแล้ว ก็ตกลงใจไปร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณและรับศีลมหาสนิททุก ๆ วัน บางคนตกลงเป็นพลมารีย์ประจำการหรือสนับสนุนหรือปาตรีเซียน บางคนกลับคืนดีกับพระเป็นเจ้า บางคนได้รับเมล็ดพันธุ์แห่งความเชื่อจะกลับใจเข้าใน
หน้า 348 บทที่ 37 ข้อแนะนำเกี่ยวกับงานชนิดต่างๆ
พระศาสนจักร คนมาท่องเที่ยวในเมืองจะเกิดสนใจคณะพลมารีย์ (ซึ่งเขาอาจจะไม่ได้พบที่อื่น) และอาจเป็นเหตุจูงใจให้ไปเริ่มงานในถิ่นของตนบ้าง
อย่างไรก็ดี พลมารีย์ไม่ควรยืนอยู่ที่แผงหนังสือเฉย ๆ เพื่อรอให้ผู้คนเข้ามาหา พวกเขาไม่ต้องลังเลใจที่จะเข้าไปใกล้ผู้คนในบริเวณใกล้เคียงเพื่อจะขายหนังสือก็ได้ แต่เพื่อสร้างความสัมพันธ์สำหรับการดำเนินการในขั้นต่อไปตามที่มีกล่าวไว้ในย่อหน้าก่อนนี้
เห็นจะไม่จำเป็นต้องเตือนพลมารีย์ว่า ความเพียรพยายามติดต่อกับบุคคลเหล่านี้ หลังจากรู้จักกัน และเริ่มเป็นมิตรกัน ณ ร้านเร่ขายหนังสือนั้นเป็นส่วนที่จำเป็นอย่างหนึ่งของงานทั้งหมด
ข้อเสนอให้เริ่มเร่ขายหนังสือจะประสบข้อแย้งเสมอว่า ต้องการคาทอลิกที่ชำนาญเป็นพิเศษมาทำหน้าที่นี้และหาไม่ได้ จริงอยู่ความรู้พิเศษในเรื่องคำสอนคาทอลิกจะเป็นประโยชน์ที่สุด แต่แม้ขาดความรู้ดังกล่าวก็ไม่ควรถือเป็นอุปสรรคเริ่มงานนี้ เพราะลักษณะที่ชวนให้ชอบของแต่ละบุคคลต้องถือเป็นข้อสำคัญที่สุด ตามที่พระคาร์ดินัล นิวแมน กล่าวไว้ว่า”คนอื่นล้วนมีอิทธิพลเหนือจิตใจของเรา น้ำเสียงเขาทำให้เราใจอ่อน แววตาเขาสะกดใจเรา การกระทำของเขาเป็นแรงบันดาลใจให้เรา จะมีหลายต่อหลายคนเกิดมาและสิ้นใจไปเพื่อปกป้องข้อความเชื่อข้อหนึ่งข้อใด ผลสุดท้ายไม่มีใครได้เป็นมรณสักขีสักคน” สรุปก็คือความตั้งใจจริงและความอ่อนหวานนั้นสำคัญกว่าความรู้สึกซึ้ง ความรู้สึกซึ้งนี้มักจะพาให้ออกนอกลู่นอกทางและไม่ก่อให้เกิดผลอะไรเลย ตรงกันข้าม คนที่ยอมรับจุดอ่อนตรงๆ ว่า ‘ผมไม่ทราบ’ ย่อมทำให้การสนทนานั้นดำเนินต่อไปอย่างเกิดประโยชน์ได้
จะเห็นว่า ข้อยุ่งยากส่วนใหญ่ซึ่งมีผู้อ้างขึ้นนั้น เกิดจากความไม่รู้อะไรเลยเป็นต้น และสมาชิกธรรมดาก็พอจะเอาชนะได้ อะไรที่ยากบ้าง
หน้า 349 บทที่ 37 ข้อแนะนำเกี่ยวกับงานชนิดต่างๆ
ก็นำเข้าปรึกษาเปรสิเดียมหรือจิตตาธิการ
การโจมตีพระศาสนจักรว่า ทำไม่ดีต่างๆ นานา ว่าได้เบียดเบียนผู้อื่น ขาดความเลื่อมใสนั้น เป็นข้อถกเถียงกันได้ไม่รู้สิ้นสุด และสับสนไม่อาจเกิดผลอะไรเลย ข้อกล่าวหาบางอย่าง อาจมีมูลความจริงอยู่บ้างและดังนั้น จะมีแต่ความยุ่งยากสับสนยิ่งขึ้น ที่จะตอบคำดิฉินของปรปักษ์ในเรื่องเหล่านี้ และเรื่องเล็กน้อยอื่น ๆ จนเป็นที่พอใจแก่เขาโดยสิ้นเชิงย่อมเป็นไปไม่ได้อย่างเด็ดขาด แม้จะคงแก่เรียนสักเพียงไร ทางที่ดีพลมารีย์ต้องคอยซักข้อถกเถียงให้กลายเป็นเรื่องธรรมดาที่สุด คือต้องเน้นว่า พระเป็นเจ้าจำต้องทรงมอบสาส์นไว้แก่โลก ชึ่งมนุษย์เรียกว่า ศาสนา ศาสนาเช่นนั้นโดยที่เป็นเสียงของพระเป็นเจ้า จึงจำต้องเป็นหนึ่งเดียวโดยเด็ดขาดชัดแจ้ง คงที่ ไม่มีวันหลง และต้องอ้างถึงพระราชอำนาจของพระเป็นเจ้า
ลักษณะดังกล่าวนี้ มีอยู่ในพระศาสนจักรคาทอลิกเท่านั้น ลัทธิอื่นหรือระบบอื่นไม่มีเลย ที่สามารถอ้างได้ว่า มีลักษณะอย่างนี้ นอกจากพระศาสนจักร มีก็แต่เรื่องขัดแย้งสับสน จนนิวแมนกล่าวไว้อย่างรุนแรงว่า”หรือว่าพระศาสนจักรคาทอลิกจะเป็นโลกหน้าเองที่มาในโลกนี้ หรือมิฉะนั้นก็ไม่มีอะไรเลยที่แน่นอน ไม่มีอะไรเลยจริงในเรื่องที่เคยคิดกัน เช่นเรื่องเราเกิดมาจากไหน ตายแล้วไปไหน”
ต้องมีพระศาสนจักรเที่ยงแท้ และเที่ยงแท้แต่พระศาสนจักรเดียวศาสนจักรนั้นอยู่ไหน ถ้าไม่ใช่พระศาสนจักรคาทอลิก เช่นเดียวกับการมุ่งตรงไปยังจุดเดียวกัน แนวทางที่เรียบง่ายไปสู่ความเป็นจริงแบบนี้มีผลชาบซึ้งคนสามัญพอใจเชื่อผู้ที่คงแก่เรียนหน่อย แม้เขาจะดื้อดึง กล่าวถึงอกุศลธรรมของพระศาสนจักร แต่ในใจไม่อาจโต้ตอบได้ คนอย่างนี้ต้องเดือนอย่างนั้นๆแต่สุภาพกว่า เขาพิสูจน์มากเกินไปเสียแล้ว ข้อแย้งของเขาอย่างน้อย ก็แย้ง
หน้า 350 บทที่ 37 ข้อแนะนำเกี่ยวกับงานชนิดต่างๆ
กับระบบศาสนาอื่น พอ ๆ กับของพระศาสนจักร ถ้าเขาพิสูจน์ว่า พระศาสนจักรไม่เที่ยงแท้ เพราะว่าบางคนในพระศาสนจักรได้ทำผิด ถ้าอย่างนั้นเขาก็พิสูจน์ได้ผลเพียงว่า ไม่มีศาสนาแท้ในโลกเลย (ถ้าดูแต่เพียงความประพฤติของบางคนในศาสนานั้น)
ล้าสมัยเสียแล้ว ที่โปรเตสแตนต์จะอ้างว่า ลัทธิของเขาเท่านั้น มีสัจธรรมแท้แต่ลัทธิเดียว สมัยนี้ เขา (โปรเตสแตนต์) จะยอมรับอย่างสงบเสงี่ยมว่า ทุกศาสนจักรต่างมีส่วนหนึ่งหรือด้านหนึ่งของสัจธรรมนั้น ข้อนี้อาจจะจริง แต่มีเพียงส่วนเดียวก็ไม่พอ ข้ออ้างนี้เท่ากับยอมรับว่า สัจธรรมนั้นไม่มีใครรู้และไม่มีทางพบได้ เพราะถ้าศาสนจักรหนึ่งมีหลักธรรมบางข้อแท้ ฉะนั้นจึงต้องมีข้ออื่นที่ไม่เที่ยงแท้ เช่นนี้ มีเครื่องหมายอะไรที่จะให้เราดูออกว่าข้อไหนจริงข้อไหนเทียม เพราะว่าเมื่อเราเลือก เราอาจเลือกเอาของเทียมก็ได้ ฉะนั้น ศาสนจักรที่กล่าวถึงคำสอนของตนว่า “ในคำสั่งสอนนี้ มีจริงอยู่บ้าง” ก็ไม่ช่วยเหลืออะไร ไม่นำทางอะไรได้ ตกลงก็ปล่อยท่านอยู่อย่างเดิมเหมือนไม่มีศาสนานั่นเอง
ดังนั้น ต้องย้ำด้วยหลักเหตุผลชัดแจ้งว่า มีพระศาสนจักรเที่ยงแท้ได้แต่หนึ่งเดียว ศาสนจักรนั้นต้องไม่ขัดแย้งในตนเอง ต้องมีพระสัจธรรมครบถ้วน และต้องสามารถชี้ความแตกต่างระหว่างความจริง กับความเท็จได้
“โลกจะหาผู้ช่วยเหลือทรงอานุภาพยิ่งกว่าพระนางไม่มีแล้ว โลกมีอัครสาวกประกาศก มรณสักขี อรหันต์ พรหมจารี องค์อุปถัมภ์ ซึ่งข้าพเจ้าวอนขอ แต่พระราชินีของข้าพเจ้ายังเหนือกว่าผู้เสนอเหล่านั้น สิ่งที่ท่านเหล่านั้นสามารถร่วมกันทำกับพระนาง พระนางแต่ผู้เดียวก็สามารถทำโดยไม่ต้องอาศัยท่านเหล่านั้นเลย เพราะเหตุไรเล่าเพราะพระนางเป็นพระมารดาของพระผู้ไถ่ ถ้าพระนางสงบนิ่งก็ไม่มีใครภาวนา จะไม่มีใครมาช่วยเหลือเรา* ถ้าพระนางภาวนา ทุกคนจะภาวนา และทุกคนจะช่วยข้าพเจ้า” (นักบุญอันแชล์ม : Oratio Eccl.)
หน้า 351 บทที่ 37 ข้อแนะนำเกี่ยวกับงานชนิดต่างๆ
9. การติดต่อกับกลุ่มชน (Crowd Contact)
การเผยแผ่ธรรมมุ่งนำขุมทรัพย์อันอุดมสมบูรณ์ของพระศาสนจักรไปสู่บุคคลทุกคน พื้นฐานของงานชนิดนี้เป็นงานของแต่ละคน และเป็นการเข้าถึงอย่างต่อเนื่องของวิญญาณหนึ่งกับวิญญาณหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า “การติดต่อกัน”
เมื่อใดที่ “การติดต่อกัน” ส่วนบุคคลนี้อ่อนพลังลง พลังที่แท้จริงก็จะลดน้อยถอยลงด้วย คนเราเมื่ออยู่รวมกันเป็นกลุ่มชนจะมีแนวโน้มที่จะถอยห่างจากเราไป เราจึงควรให้กลุ่มชนเข้าหาเราในลักษณะเป็นการส่วนตัว
กลุ่มชนเหล่านี้ประกอบด้วยบุคคลแต่ละคน แต่ละคนล้วนมีวิญญาณอันหาค่าสุดประมาณมิได้ สมาชิกแต่ละคนของกลุ่มชนนั้นๆ ต่างก็มีชีวิตส่วนตัวของตนเอง แต่พวกเขาใช้เวลาส่วนใหญ่ร่วมกันกับชุมชนประเภทใดประเภทหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นกลุ่มชนตามถนน หรือ รวมตัวกัน ณ ที่ใดที่หนึ่ง
เราจึงต้องเปลี่ยนสภาพของกลุ่มชนดังกล่าวให้กระจายเป็นรายบุคคล เพื่อจะสามารถดำเนินการติดต่อเข้าถึงวิญญาณของพวกเขา
พระนางมารีย์เองต้องเฝ้ามองกลุ่มชนเหล่านี้สักเพียงไร ในฐานะที่พระนางเป็นพระมารดาของดวงวิญญาณแต่ละดวงที่ประกอบเป็นกลุ่มชนเหล่านั้น พระนางทรงเป็นกังวลในการจัดหาสิ่งที่จำเป็นสำหรับพวกเขา และดวงหทัยของพระนางก็ปรารถนาให้มีผู้มาช่วยทำงานของพระนาง คือการดูแลพวกเขาเช่นเดียวกับพระนาง
คุณค่าของการเร่ขายหนังสือตามที่สาธารณะได้แสดงให้เห็นกันอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม การแพร่ธรรมอย่างจริงจังต่อกลุ่มชนกระทำได้โดยถือเป็นงานที่แยกออกต่างหาก การเข้าหากลุ่มชนอย่างสุภาพเพื่อพูดกับเขาเรื่องความเชื่อ สามารถนำไปสู่การติดต่อที่ได้ผลดี การเข้าหากลุ่มชนนี้ สามารถ
หน้า 352 บทที่ 37 ข้อแนะนำเกี่ยวกับงานชนิดต่างๆ
ทำได้ตามท้องถนน ในสวนสาธารณอื่น ๆ ที่มีคนอยู่รวมกัน
ประสบการณ์บอกให้ทราบว่า การเข้าหาดังกล่าวปกติได้รับการต้อนรับที่ดี พลมารีย์ทำงานนี้ต้องระลึกว่าการพูดจาและกิริยามารยาทของเขาคืออุปกรณ์การติดต่อ ดังนั้น พวกเขาจึงไม่ควรคาดหวังผลหรือทำตามใจตนเองขณะที่มีการพูดคุยกัน ควรหลีกเลียงการใช้คำที่ส่อเป็นการโต้แย้ง หรือสั่งสอนเขา หรือกำลังวางกฎเกณฑ์ หรือแสดงว่าอยู่ในฐานะที่เหนือกว่าเขา จงเชื่อมั่นว่าพระนางมารีย์ องค์ราชินีของคณะอัครสาวก จะทำให้คำพูดขาดหลักเกณฑ์ของท่านกลับมีน้ำหนัก และเป็นพระนางเกือบทั้งหมดที่เอาใจใส่ให้งานแพร่ธรรมของท่านบังเกิดผล
10. งานเกี่ยวกับคนใช้คาทอลิก
เรื่องนี้อาจทำเป็นส่วนหนึ่งของงานที่เพิ่งกล่าวมาแล้ว หรือทำเป็นงานเฉพาะก็ได้ บ่อยครั้งที่สุดหญิงคนใช้คาทอลิกมักพลัดเข้าไปในครอบครัวที่เมินเฉย หรือเป็นปรปักษ์ต่อความเชื่อ ถูกถือเป็นดังเครื่องจักร ถูกตัดการติดต่อกับบุคคลอื่น มาจากบ้านนอกโดยตรง เข้ามาอยู่ในเมืองอย่างไม่มีเพื่อนฝูง และมักเปิดโอกาสให้ญาติสนิทอันนำไปสู่ความหายนะ บ่อยครั้งเป็นบุคคลที่ถูกทอดทิ้ง ฉะนั้นถ้าได้ติดต่อกับเขา จะเป็นการแพร่ธรรมที่สำคัญไม่น้อย
การที่พลมารีย์ไปเยี่ยมเขาเป็นประจำทุกสัปดาห์ เพื่อเอาใจใส่เรื่องสวัสดิภาพนั้น ก็จะเป็นดุจแสงสว่างสำหรับเขา โดยทั่วไปจุดประสงค์ของการเยี่ยมก็คือ นำหญิงคนใช้นั้นเข้าเป็นสมาชิกสมาคมคาทอลิก ได้คบหาเพื่อนฝูงที่ดี เข้าสโมสรที่เหมาะหากหาได้ และยิ่งกว่านั้น หลายรายยังอาจเชิญชวนมาเป็นพลมารีย์เสียเองก็ได้ งานนี้จะช่วยให้หลายคน ย่างเข้าสู่ทางใหม่ อันเป็นสุขกว่า นำเขาไปสู่ความศักดิ์สิทธิ์และปลอดภัย
หน้า 353 บทที่ 37 ข้อแนะนำเกี่ยวกับงานชนิดต่างๆ
“คิดดูเผิน ๆ ชาวเราคงคาดกันว่า พระมารดาคงแวดล้อมด้วยความยิ่งใหญ่และศักดิ์ศรี อย่างน้อยก็ระหว่างส่วนหนึ่งของเวลาที่พระนางทรงเจริญชีพอยู่ในโลก แต่ความจริง พระญาณเอื้ออาทรทรงจัดการไว้ต่างกับที่เราคาดสักเพียงไร พระนางอาศัยอยู่ในบ้านหลังน้อย ทำงานบ้านสารพัด เช่น กวาดพื้น ซักผ้า ทำครัว ทูนไหไปตักน้ำที่บ่อ ทำงานจิปาถะ ชนิดที่ชาวเรา แม้มีพระเยซูเจ้า แม่พระและนักบุญโยเชฟทรงทำเป็นแบบอย่างแล้ว ยังกล้ากล่าวว่าเป็นงานต่ำต้อย แน่นอน มือของพระนาง หยาบกร้านเพราะงานหนัก บ่อย ๆ พระนางอ่อนเพลียและทำงานเกินกำลัง ความห่วงกังวลต่างๆ ของพระนาง ก็เหมือนกับของภรรยากรรมกรคนหนึ่ง” (Vassall-Phillips : The Mother of Christ)
11. งานที่เกี่ยวกับทหารและคนเร่ร่อน
สิ่งแวดล้อมในชีวิตของคนพวกนี้ นำเขาไปสู่ความเพิกเฉยต่อพระศาสนาและปล่อยเขาให้พลาดพลั้งทำผิดได้ง่าย การแพร่ธรรมในหมู่ชนนี้จึงพึงปรารถนาเป็นทวีคูณ
(ก) เนื่องจากการเข้าไปในค่ายทหาร อาจไม่ง่ายเสมอไปสำหรับพลมารีย์จะให้งานนี้ได้ผลสำหรับทหาร อาจต้องตั้งเปรสิเดียมประกอบด้วยสมาชิกเป็นทหาร หลายแห่งได้ดำเนินงานดังกล่าว และปรากฏว่าได้ผลดีเลิศ
(ข) เพื่อปฏิบัติงานช่วยชาวทะเล ก็จำต้องออกเยี่ยมตามเรือ และต้องจัดหาความสะดวกไว้รับรองเขาบนบก เปรสิเดียมที่ทำงานนี้ ควรสัมพันธ์เป็นเครือเดียวกับสมาคมนานาชาติ ที่รู้จักดี คือ ศูนย์อภิบาลผู้เดินทางทางทะเล (Apostolatus Maris) ซึ่งมีสาขาแผ่ไปตามประเทศต่างๆ ที่อยู่ใกล้ทะเล
(ค) พลมารีย์ต้องระมัดระวัง เคารพต่อวินัยทหาร หรือของชาวเรืออย่างเคร่งครัด อย่าปฏิบัติงานก้าวก่ายกับข้อบังคับ หรือขนบธรรมเนียมของ
หน้า 354 บทที่ 37 ข้อแนะนำเกี่ยวกับงานชนิดต่างๆ
บุคคลเหล่านี้ ที่จริงเขาต้องพยายามดำเนินการแพร่ธรรมให้ทุกคนต้อนรับด้วยความไว้วางใจ เห็นว่าเป็นการช่วยทุกคนให้ก้าวหน้าขึ้นทุกทาง เป็นประโยชน์โดยแท้ต่อการงานของตน และยิ่งกว่าประโยชน์ขึ้นไปอีก คือเป็นความจำเป็นทีเดียว
(ง) คนเดินทาง คนเร่ร่อน และนักแสดงละครสัตว์ จัดอยู่ในจำพวกคนพลัดถิ่น ซึ่งสมควรจะนำเข้ามาอยู่ในขอบเขตของการแพร่ธรรมของพลมารีย์ผู้อพยพและผู้ลี้ภัยก็ควรมีสิทธิ์จะได้รับการแพร่ธรรมนั้นด้วย
“ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ซึ่งกำลังอุบัติขึ้นในโลกปัจจุบันนี้การอพยพเป็นปรากฏการณ์แปลกใหม่อันหนึ่ง กล่าวคือ ในประเทศที่เคยนับถือพระคริสตศาสนามาแต่ก่อน กลับมีประซากรที่ไม่ใช่คริสตชนคาทอลิกยิ่งวันยิ่งทวีจำนวนมากขึ้นพระศาสนจักรเห็นว่าปรากฏการณ์นี้เป็นโอกาสอันดีที่จะสร้างความสัมพันธ์ และการแลกเปลี่ยนด้านวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน ปรากฎการณ์นี้ยังเรียกร้องพระศาสนจักรให้หยิบยื่นอัธยาศัยไมตรี การเสวนา การอนุเคราะห์ หรืออีกนัยหนึ่ง ภราดรภาพ ในบรรดาผู้อพยพนี้ ผู้ลี้ภัยจัดอยู่อันดับต้น และสมควรจะได้รับการเอาใจใส่ดูแลมากที่สุด ทุกวันนี้มีผู้ลี้ภัยเรือนล้านทั่วโลก และพวกเขาเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ พวกเขาหลบลี้หนีภัยจากการถูกกดขี่ข่มเหงทางการเมือง จากความขัดสนแสนทารุณ จากความอดอยากแห้งแล้งขั้นภัยพิบัติ พระศาสนจักรต้องถือว่า พวกเขาก็อยู่ในความรับผิดชอบทั่วๆ ไปของพระศาสนจักรด้วย” (RM 37 (b))
12. การเผยแผ่วรรณคดีคาทอลิก
ชีวประวัติของบุคคลสำคัญนับไม่ถ้วน เช่น นักบุญออกัสติน แห่งฮิปโป และนักบุญอิกญาชีโอ แห่งโลโยลา เป็นภาพแสดงให้เห็นว่า การที่ท่านเหล่านั้นบรรลุเป้าหมายที่สูงกว่าในชีวิต ก็เนื่องมาจากการที่ได้อ่านหนังสือดี ๆ ซึ่งผู้น่านับถือแนะนำให้อ่าน การเผยแผ่วรรณคดีคาทอลิกเป็นโอกาสดี
หน้า 355 บทที่ 37 ข้อแนะนำเกี่ยวกับงานชนิดต่างๆ
เพื่อใช้ในการติดต่อกับผู้คนทุกระดับ ที่เราพอจะหยิบยกเอาเรื่องความเชื่อคาทอลิกมาพูดกันได้ ถ้าไม่ได้รับการศึกษาจากผู้ใหญ่ทางพระธรรมคัมภีร์อย่างต่อเนื่องแล้ว ประชาชนที่ดำเนินชีวิตในโลกที่ไม่ยอมพึ่งพาพระเจ้า ก็ตกอยู่ในสภาพที่เป็นรองเอามาก ๆ เสียงของโลกที่ไม่ยอมพึ่งพาพระเจ้า ดังกลบ
เสียงของพระศาสนจักรหมด ความไม่สมดุลนี้จะต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไขสัญลักษณ์ที่ คริสตชนคาทอลิกได้รับ คือการที่จะต้องช่วงชิงโลกที่ไม่ยอมพึ่งพาพระเจ้ากลับคืนมาถวายพระคริสตเจ้า ภาระนี้เรียกร้องให้เรามีทัศนคติค่านิยมที่ถูกต้อง คือให้เป็นแบบคริสตชนคาทอลิก
สื่อมวลชนประเภทอื่น ๆ ใช่ว่าจะต่ำต้อยด้อยค่าเสียเมื่อไร แต่การอ่านหนังสืออย่างตั้งอกตั้งใจ กล่าวคืออ่านเพื่อเรียนรู้ เป็นแหล่งกำเนิดที่อุดมสมบูรณ์และมีอิทธิพลของอุดมคติ การอ่านบ่อยๆ ทีละเล็กละน้อยย่อมมีประโยชน์ มากกว่าการอ่านรวดเดียวจบ ไม่ใช่ของง่าย ๆ ที่จะทำให้คนหันมาอ่านหนังสือเกี่ยวกับศาสนา จำเป็นต้องเร้าให้พวกเขาเกิดความสนใจและเพื่อไม่ให้ความสนใจนั้นจางหายไป ก็ต้องมีหนังสือให้หยิบง่ายใกล้มือนี่คือการท้าทายสำหรับคาทอลิกที่อยากเป็นนักแพร่ธรร
นอกจากหนังสือและสื่อสิ่งพิมพ์เกี่ยวกับศาสนาแล้ว ยังจะมีหนังสือพิมพ์และนิตยสารคาทอลิก ซึ่งมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
(1) วิเคราะห์ตามเหตุผลเหตุการณ์ที่เป็นข่าวสดและประเมินผลอย่างพินิจพิเคราะห์
(2) ถ้าจำเป็นก็จะแก้ไขความเห็นที่ไม่ถูกต้องหรือเงื่อนงำที่มีเลศนัย
(3) วิจารณ์และให้คำแนะนำเกี่ยวกับผลงานล่าสุดของสื่อมวลชน
(4) เสนอข่าวคราวการเคลื่อนไหวในแวดวงพระศาสนจักรระดับ
หน้า 356 บทที่ 37 ข้อแนะนำเกี่ยวกับงานชนิดต่างๆ
โลกเพื่อกระตุ้นความสนใจในเรื่องที่ทุกคนมีส่วนได้ส่วนเสียและเพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจที่จะมาเสริมความเชื่อ
(6) ปลูกฝังนิสัยชอบอ่านหนังสือประเภทที่อ่านแล้ว สามารถประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้ตราบนานเท่านาน
นอกเหนือไปจากสิ่งพิมพ์แล้ว โสตทัศนูปกรณ์ก็มีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดความเชื่อเช่นกัน
ก่อนใช้สื่อชนิดใดก็ตามที่เกี่ยวข้องกับศาสนา ขั้นตอนที่จะต้องกระทำทุกครั้งคือ จะต้องได้รับการยืนยันจากแหล่งที่น่าเชื่อถือได้ว่า สื่อนั้นๆ สอดคล้องกับคำสั่งสอนของพระศาสนจักร การพิมพ์โฆษณาที่อ้างว่าเป็นคาทอลิก ก็ควรจะเป็นสมดังชื่อ “ไม่ใช่เครื่องหมายการค้าที่ทำให้สินค้าเป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจ ตัวสินค้าต่างหากที่ทำให้เครื่องหมายการค้าเป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจ” (นักบุญยอห์น คริสซอสโตม)
วิธีเผยแผ่วรรณคดีคาทอลิกที่ทดสอบได้ผลมาแล้วมีดังต่อไปนี้คือ
1. ออกเยี่ยมตามบ้านเพื่อถามหาผู้สนใจบอกรับเป็นสมาชิกวารสาร
2. นำส่งหนังสือพิมพ์หรือนิตยสารให้ถึงบ้าน
3. อาสาเป็นพนักงานตามซุ้มและร้านหนังสือของทางวัด
4. เป็นพนักงานเร่ขายหนังสือหรือประจำอยู่ตามแผงลอยในที่สาธารณะ
5. ใช้ปาตรีเซียนให้เป็นผู้แนะนำหนังสือเกี่ยวกับประเด็นที่กำลังพูดถึงกันอยู่
การจัดวางหนังสือและชั้นวางควรจะให้สะดุดตาสะดุดใจ และได้รับการดูแลให้อยู่ในสภาพดี หากจะโฆษณาพระศาสนาคาทอลิก แล้วมาใช้วิธี
หน้า 357 บทที่ 37 ข้อแนะนำเกี่ยวกับงานชนิดต่างๆ
สุกเอาเผากิน ย่อมไม่เป็นการเพียงพอ
ขณะออกตระเวนเผยแผ่วรรณคดีคาทอลิกนี้ พลมารีย์จะไม่ละเลยการแพร่ธรรมแบบที่ทำให้สมาชิกทุกคนในครอบครัวนั้นๆ เกิดความประทับใจ
“พระนางมารีย์เป็นสหายสนิทของพระเยซูเจ้า พระมารดาอยู่เคียงข้างพระบุตรเสมอทุกแห่ง ฉะนั้น ผู้ที่ทำให้เรามีสัมพันธภาพกับพระเป็นเจ้า ผู้ที่ทำให้เรามีสิทธิ์ในทรัพย์สมบัติสวรรค์ คือพระนางกับพระบุตร ไม่ใช่พระคริสตเจ้าองค์เดียว แต่ท่านผู้ศักดิ์สิทธิ์ทั้งสอง ด้วยเหตุนี้ การที่จะแยกพระนางมารีย์ออกจากพระเยซูเจ้า ขณะที่เราถวายคารวกิจทางศาสนา จึงเป็นการลบล้างระเบียบที่พระเป็นเจ้าเองทรงตั้งไว้” (Terrien : La Mere des Hommes)
13. ส่งเสริมธรรมเนียมร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณทุกวัน และความศรัทธาต่อศีลมหาสนิท
“ทุก ๆ วันเป็นที่น่าปรารถนาให้บรรดาสัตบุรุษมีส่วนร่วมในพิธีบูชาขอบพระคุณอย่างขยันขันแข็ง ทุกคนควรใช้โอกาสเดียวกันนี้รับศีลมหาสนิทเป็นการหล่อเลี้ยงวิญญาณ และขอบพระคุณอย่างเหมาะสมสำหรับของขวัญประเสริฐสุดที่พระคริสตเจ้าโปรดประทาน ขอให้จดจำคำเหล่านี้ไว้ ‘พระเยชูคริสตเจ้าและพระศาสนจักร ปรารถนาจะเห็นสัตบุรุษของพระคริสตเจ้าทุกคน ได้เข้าร่วมในงานเลี้ยงอันศักดิ์สิทธิ์ไม่เว้นแต่ละวัน ความปรารถนานี้ตั้งอยู่บนมูลฐานที่ว่า พวกเขาควรร่วมเป็นหนึ่งเดียวกับพระเป็นเจ้าทางศีลศักดิ์สิทธิ์ และตักตวงพละกำลังจากศีลนี้ กำจัดบาป ลบล้างข้อบกพร่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่อาจเกิดขึ้นแต่ละวัน และหาทางป้องกันบาปที่หนักไปกว่านั้นซึ่งคนเราอาจกระทำไปได้เพราะความอ่อนแอ’ (AAS 38 (1905), 401)
ยังมีบางสิ่งบางอย่างที่จะต้องกระทำมากไปกว่านั้นอีก ข้อบัญญัติทางพิธีกรรมกำหนดไว้ว่า ศีลมหาสนิทจะประดิษฐานอยู่ตามวัดต่างๆ อย่าง
หน้า 358 บทที่ 37 ข้อแนะนำเกี่ยวกับงานชนิดต่างๆ
สมพระเกียรติและในตำแหน่งที่โดดเด่นที่สุด สัตบุรุษไม่ควรพลาดโอกาสที่จะไปเฝ้าศีลมหาสนิทเป็นครั้งคราว การเฝ้าศีลมหาสนิทนั้นเป็นการแสดงความกตัญญู เป็นเครื่องพิสูจน์ความรัก เป็นการถวายนมัสการพระคริสตเจ้าผู้สถิตอยู่ในศีลมหาสนิท” (MF 66)
เป็นอันว่า พลมารีย์จะไปร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณและเฝ้าศีลอย่างสม่ำเสมอ โดยไม่คำนึงว่า นั่นก็แค่งานธรรมดา ๆ ชิ้นหนึ่งเท่านั้น หากแต่เป็นกิจกรรมยอดเยี่ยม ซึ่งพลมารีย์ทุกคนพอใจ และมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติอย่างไม่ลดละ (ดูบทที่ 8 พลมารีย์ กับ ศีลมหาสนิท)
“เราเห็นแล้วว่าศีลมหาสนิท ในฐานะเป็นศีลบูชาและศีลศักดิ์สิทธิ์ สรุปความอย่างอุดมบริบูรณ์ ซึ่งทุกอย่างที่พระเยซูเจ้าบนไม้กางเขน ถวายแด่พระเป็นเจ้าและได้รับเป็นประโยชน์แก่มนุษย์ ศีลมหาสนิทเป็นทั้งพระโลหิตบนเนินกัลวารีโอและน้ำค้างจากสวรรค์ในขณะเดียวกัน พระโลหิตที่เรียกร้องพระมหากรุณา ดั่งน้ำค้างทรงชีวิตที่บันดาลให้พืชเหี่ยวแห้งสดชื่น ไถ่บาปชาวเรา และนำพระพรมาสู่ชาวเรา เป็นชีวิตและค่าไถ่ชีวิตกางเขนไม่มีค่ามากกว่านี้ การเลี้ยงครั้งสุดท้ายก็ไม่มีค่ากว่านี้ ทั้ง 2 อย่างรวมกันก็ไม่มีค่ากว่านี้ด้วย ทั้งหมดนี้ยังคงอยู่ ทั้งสองนี้เต็มเปี่ยมด้วยความหวังของมนุษย์
เพราะเหตุเหล่านี้ พิธีบูชาขอบพระคุณจึงได้ชื่อเหมาะสมว่า ธรรมล้ำลึกแห่งความเชื่อ ไม่ใช่เพราะพระสัจธรรมคริสดซนคาทอลิกทั้งมวล ซึ่งเป็นสัจธรรมเรื่องความพินาศของเราเนื่องจากอาดัม และการฟื้นฟูของพระเยซูเจ้า รวมอยู่ในพิธีบูชาขอบพระคุณเท่านั้น เพราะพิธีบูชาขอบพระคุณเป็นเครื่องแสดงบทบาทการไถ่บาปสืบไปท่ามกลางชาวเรา เป็นวีรกรรมฟื้นฟูมนุษยชาติให้สูงส่ง ชดเชยสิ่งที่สูญเสียครั้งก่อนอย่างบริบูรณ์ด้วย และไม่ใช่เป็นเพียงสัญลักษณ์ช้ำชาก แด่เป็นไปจริง ๆ ท่ามกลางเรา อย่างที่พระคริสตเจ้าทรงกระทำด้วยพระองค์เอง” (De la Taille : The Mystery of Faith)
หน้า 359 บทที่ 37 ข้อแนะนำเกี่ยวกับงานชนิดต่างๆ
14. การหาและดูแลเอาใจใส่สมาชิกสนับสนุน
ทุกเปรสิเดียมที่เห็นคุณค่าในพลังแห่งคำภาวนา จะพยายามที่จะทำให้ทะเบียนสมาชิกสนับสนุนของตนนั้นยาวเหยียด เป็นหน้าที่ของพลมารีย์แต่ละคนที่จะหาสมาชิกสนับสนุน และพยายามติดต่อกับเขา
จงพิจารณาความใจกว้างของบรรดาสมาชิกสนับสนุน ที่อุทิศส่วนหนึ่งของลมหายใจอันสูงค่าของวิญญาณของตนแก่คณะพลมารีย์ การกระทำเช่นนี้สามารถนำให้บรรลุถึงความศักดิ์สิทธิ์สักเพียงไร คณะพลมารีย์เป็นหนี้เขาไม่รู้สิ้นสุด หนี้นั้นสามารถชดใช้อย่างงดงามโดยนำบรรดาสนับสนุน ไปสู่ความครบครันทั้งสมาชิกประจำการและสนับสนุน ต่างเป็นลูกของคณะ สมาชิกประจำการเป็นพี่ และพระมารดาของคณะ ก็เช่นเดียวกับแม่ในครอบครัวย่อมหวังพึ่งพี่ให้ช่วยแม่ดูแลพวกน้องๆ
พระนางจะไม่เพียงควบคุมดูการช่วยเหลือนั้นอย่างเดียว แต่จะบันดาลให้การช่วยเหลือนั้นบังเกิดผลดี ให้ “การดูแล” ที่สมาชิกประจำการปฏิบัติต่อสมาชิกสนับสนุนนั้นบังเกิดผลดีเลิศให้แก่เขาทั้งสองฝ่าย ฝ่ายวิญญาณของสมาชิกสนับสนุนจะเกิดความศักดิ์สิทธิ์ขั้นสูง ฝ่ายพลมารีย์ประจำการก็ได้รับบำเหน็จในฐานะผู้สร้างความศักดิ์สิทธิ์นั้น
งานเกี่ยวกับสมาชิกสนับสนุน จะเกิดผลดียิ่ง จนดูเหมือนต้องจัดให้อยู่ในความเอาใจใส่ของสมาชิกเปรสิเดียม ผู้มีมาตรฐานชีวิตจิตขั้นสูงและมีความชำนาญเป็นพิเศษ เพื่อจะได้ปฏิบัติงานนี้ด้วยจิตตารมณ์ของ “พี่” อย่างแท้จริง
“ข้าพเจ้าคิดว่า เป็นที่เห็นชัดว่า ในยุคปัจจุบันที่เต็มด้วยบาปและการเกลียดชังพระเป็นเจ้า พระคริสตเจ้าทรงประสงค์รวบรวมกองทัพฝ่ายวิญญาณมาแวดล้อมพระองค์วิญญาณเหล่านั้นที่อุทิศดวงใจและวิญญาณเพื่อพระองค์และผลประโยชน์ของพระองค์
หน้า 360 บทที่ 37 ข้อแนะนำเกี่ยวกับงานชนิดต่างๆ
ซึ่งพระองค์มีหวังจะได้รับความช่วยเหลือและการปลอบโยน
วิญญาณจะไม่ถามว่า ข้าพเจ้าจำต้องทำมากเท่าไร’ แต่จะถามว่า ‘ข้าพเจ้าจะตอบสนองความรักของพระองค์ได้สักเท่าไร’ เป็นกองทัพวิญญาณที่จะถวายโดยไม่คำนึงถึงมูลค่าที่จะรันทดใจเพียงอย่างเดียว เมื่อตนไม่สามารถทำได้ ถวายได้และทนลำบากได้มากกว่านั้น เพื่อพระองค์ ผู้ได้ทรงเสียสละมากมายเพื่อเขา พูดสั้นๆ เป็นวิญญาณที่ผิดกับคนอื่น ๆ และบางทีในสายตาของชาวโลก อาจถือว่าเป็นคนโง่ เพราะคำขวัญของเขาคือการเสียสละ ไม่ใช่ความสุขส่วนตัว” (Father Wiliam Doyle : Life by Msgr. Alfred O’Rahilly)
“แล้วกองทัพวิญญาณที่สุภาพอ่อนน้อม อุทิศตนเพื่อองค์ความรัก จะมีจำนวนนับไม่ถ้วน ‘ดุจดาวในท้องฟ้า และเม็ดทรายชายทะเล’ จะเป็นที่พรั่นพรึงแก่ชาตานจะช่วยพระนางพรหมจารีบดขยี้หัวงูจองหองให้สำเร็จบริบูรณ์” (นักบุญเทเรชา แห่งลิชีเออร์)
15. การสนับสนุนงานธรรมทูต
คริสตชนคาทอลิกที่แท้จริง ควรให้ความสนใจกับงานธรรมทูตที่เผยแผ่ธรรมอยู่ในต่างถิ่นต่างแดน โดยให้การสนับสนุนด้วยคำภาวนา ด้วยจตุปัจจัยและการปลูกฝังพระกระแสเรียกให้เป็นธรรมทูตในจิตใจของเยาวชน ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับกรณีแวดล้อมของแต่ละบุคคล
ถ้าจะให้ยกตัวอย่าง พลมารีย์อาจรับผิดชอบคณะยุวธรรมทูตแล้วนำพวกเด็กมาชุมนุมกัน และสอนพวกเขาให้รักงานแพร่ธรรมในต่างแดนหรือไม่ก็อาจรวบรวมผู้ที่ยังไม่พร้อมจะเป็นพลมารีย์สมบูรณ์แบบ (บางที่อาจให้เป็นสมาชิกสนับสนุน) และพาให้ทำงานประเภทเย็บปักถักร้อย ฯลฯ ทั้งนี้จะยังให้เกิดผลดี 3 ประการคือ ก) พลมารีย์ทำตนเองให้ศักดิ์สิทธิ์ ข) ชักนำผู้อื่นให้ทำตนเป็นคนศักดิ์สิทธิ์ ค) สนับสนุนงานธรรมทูตในภาคปฏิบัติ
หน้า 361 บทที่ 37 ข้อแนะนำเกี่ยวกับงานชนิดต่างๆ
เกี่ยวกับงานนี้ จำเป็นต้องเน้นเป็นพิเศษ 2 ประเด็น ซึ่งใช้ได้ทั่วไป คือ
ก) อย่าให้แต่ละเปรสิเดียมกลายเป็นตัวแทนทำการเรี่ยไร ไม่ว่าเพื่อจุดประสงค์ใด
ข) การควบคุมดูแลและจัดระเบียบผู้ที่มาเย็บผ้า ให้ถือว่าเป็นงานที่มอบหมายได้ แต่การที่จะลงมือเย็บเอง จะนับว่าเป็นงานมีสาระจริงจังสำหรับพลมารีย์อาวุโสไม่ได้ นอกจากกรณีพิเศษ เช่น ร่างกายทุพพลภาพ
“สมาคมทั้ง 4 ซึ่งได้แก่ สมณะกระทรวงเผยแผ่ความเชื่อ สมณองค์กรนักบุญเปโตร อัครสาวก คณะยุวธรรมทูต และชมรมคณะธรรมทูตมีจุดประสงค์ร่วมในอันที่ส่งเสริมประชากรของพระเป็นเจ้าให้มีจิตตารมณ์ธรรมทูตในต่างถิ่นต่างแดน” (RM 84)
16. ส่งเสริมการเข้าเงียบ
เมื่อพลมารีย์เองได้รับประโยชน์จากการเข้าเงียบแล้ว พลมารีย์ก็ควรจัดให้มีการเข้าเงียบ เผยแผ่ให้ผู้อื่นเข้าใจอย่างกว้างขวาง และที่ใดยังไม่เคยจัดขึ้น จงพยายามให้มีขึ้น
นี่เป็นคำเตือนของสมเด็จพระสันตะปาปาปีโอ ที่ 11 จากพระสมณสาส์นที่นำมากล่าวในตอนท้ายนี้เกี่ยวกับบรรดา “คณะฆราวาส ใจศรัทธาที่ใฝ่ใจใคร่จะรับใช้คณะสงฆ์ (พระฐานานุกรม) โดยทำกิจการคาทอลิก ในการเข้าเงียบอันศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้ เขาจะเห็นคุณค่าของวิญญาณอย่างแจ่มชัดและจะลุกร้อนไปด้วยความปรารถนาที่จะช่วยวิญญาณเหล่านั้น ขณะเดียวกันจะเรียนรู้ถึงจิตตารมณ์ลุกร้อนของการเผยแผ่ธรรม รวมทั้งความมานะชันแข็งและพฤติกรรมอันกล้าหาญต่าง ๆ ในการเผยแผ่ธรรมนั้นด้วย”
ควรสังเกตว่า พระสันตะปาปาทรงเน้นเรื่องการอบรมผู้ประกาศข่าวดีบางทียังไม่มีใครปฏิบัติตามพระประสงค์นี้ คณะแพร่ธรรมจึงยังไม่เกิด ใน
หน้า 362 บทที่ 37 ข้อแนะนำเกี่ยวกับงานชนิดต่างๆ
กรณีเช่นนี้ทำให้สงสัยถึงผลประโยชน์ของการเข้าเงียบ
พลมารีย์ไม่ควรล้มเลิกความพยายามที่จะเผยแผ่ประโยชน์ของการเข้าเงียบ เนื่องจากไม่สามารถจัดหาที่พักแรมที่เหมาะสมได้ เท่าที่ปฏิบัติมาแล้วพิสูจน์ว่าการเข้าเงียบอย่างประจักษ์ผลดี สามารถทำเสร็จได้ในวันเดียวแต่เช้าจนค่ำ ที่จริงไม่มีวิธีอื่นจะนำระบบนี้ออกใช้แก่คนหมู่มาก สถานที่ทุกชนิดที่มีบริเวณบ้าง สามารถดัดแปลงใช้เป็นสถานที่เข้าเงียบสักวันหนึ่งได้และค่าใช้จ่ายสำหรับอาหารธรรมดาสองสามมื้อคงไม่สูงนัก
“พระอาจารย์เจ้าเองชอบชักชวนอัครสาวกไปเข้าเงียบอย่างสงบ ‘จงมาพักผ่อนกับเราตามลำพังในที่สงัดระยะหนึ่งเถิด’ (มก 6:31) และเมื่อทรงละโลกอันเต็มไปด้วยความทุกขเวทนาเพื่อเสด็จขึ้นสวรรค์ พระองค์ทรงปรารถนาให้อัครสาวกคณะนี้ และสานุศิษย์ของพระองศ์ ได้รับการขัดเกลาให้ครบครันในห้องอาหารที่เยรูชาเล็ม ณ ที่นั้นตลอด 10 วัน ที่ได้พากเพียรร่วมอธิษฐานภาวนาเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน (กจ 1:14)
เขาเหล่านั้นได้กลายเป็นผู้เหมาะสมรับพระจิตเจ้า แน่นอนเป็นการเข้าเงียบที่เป็นอนุสรณ์ เป็นรูปแบบของการเข้าเงียบต่อ ๆ มา จากการเช้าเงียบนี้เอง จึงเกิดพระศาสนจักร เต็มด้วยความกล้าหาญและแข็งแกร่งเสมอ และในการเข้าเงียบนั้นมีพระนางพรหมจารีมารีย์ พระมารดาประทับอยู่เป็นองค์อุปถัมภ์ จึงปรากฎบุคคลคณะหนึ่ง ซึ่งเราอาจขนานนามอย่างเหมาะสมว่า ผู้บิกทางกิจการคาทอลิก” (พระสันตะปาปาปีโอที่ 11 สารเวียน Mens Nostra 20 ธันวาคม 1929)
17. สมาคมพระหฤทัยเพื่อบรรดางดดื่มสุรา
งานที่น่ายกย่องสรรเสริญชิ้นหนึ่งสำหรับให้เปรสิเดียมปฏิบัติ คือการหาสมาชิกให้สมาคมพระหฤทัยอย่างไม่ต้องสงสัย วัตถุประสงค์เอกของสมาคม คือส่งเสริมการไม่เสพย์สุรายาเมา เพื่อพระสิริมงคลของพระเป็นเจ้ากรรมวิธีหลักเพื่อบรรลุถึงเป้าหมายดังกล่าว ได้แก่ การภาวนาและการพลีกรรมตนเอง
หน้า 363 บทที่ 37 ข้อแนะนำเกี่ยวกับงานชนิดต่างๆ
สมาชิกทุกคนจะพิสูจน์ว่าตนรักพระเยชูเจ้า โดย ก) รักษาตัวให้ปลอดแอลกอฮอล์ เพื่อประกอบคุณงามความดี ข) กระทำการชดเชยบาปอันก่อเกิดจากการสำมะเลเทเมารวมไปถึงบาปของตนเอง ค) สวดภาวนาและทำการพลีกรรมเพื่อวอนขอพระพรและความช่วยเหลือจากเบื้องบนสำหรับนักดื่มทั้งหลาย และสำหรับทุกคนที่กำลังทนทุกข์ทรมานเพราะสุราเป็นเหตุ
ข้อบังคับของสมาชิกคือ 1) ละเว้นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกประเภทตลอดชีพ 2) ถวายคำปฏิญาณของวีรกรรมนี้วันละ 2 ครั้ง 3) กลัดเครื่องหมายสมาคมอย่างเปิดเผย
คำถวายวีรกรรมนี้คือ
ข้าแต่พระหฤทัยของพระเยซูเจ้า เพื่อเพิ่มพูนพระสิริมงคลและเพื่อบรรเทาดวงหทัยของพระองค์ เพื่อเป็นแบบฉบับอันดีงามและการเสียสละตนเองเพราะเห็นแก่พระองค์ เพื่อเป็นการชดเชยต่อพระองค์ซึ่งบาปการ-เสพสุราเกินควร และเพื่อการกลับใจของบรรดาผู้ติดสุรา ข้าพเจ้าจะงดเว้นเครื่องดื่มมึนเมาทุกชนิดจนตลอดชีวิต
ขั้นตอนการดำเนินการคือ 1) หากได้รับการอนุมัติจากผู้อำนวยการกลางของสมาคมละเว้นการดื่มสุราแล้ว ก็อาจตั้งเปรสิเดียมให้เป็นศูนย์ของบรรดานักดื่มสุรา 2) ในพื้นที่ที่ทางสมาคมได้ตั้งศูนย์ของเขาเอาไว้แล้ว ถ้าทางศูนย์ยินยอม ก็จะอนุโลมให้เปรสิเดียมสังกัดศูนย์นั้นได้ เพื่อส่งเสริมและ
หาสมาชิกมาสนับสนุนสมาคม (ดูภาคผนวก 9)
18. แต่ละแห่งย่อมมีความจำเป็นของตน
พลมารีย์จะใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อบรรลุจุดหมายของคณะตามที่กรณีแวดล้อมของท้องที่เสนอแนะ และตามที่เจ้าหน้าที่ปกครองของคณะพลมารีย์
หน้า 364 บทที่ 37 ข้อแนะนำเกี่ยวกับงานชนิดต่างๆ
รับรอง และแน่นอน ยังต้องสอดคล้องกับความเห็นของผู้ใหญ่ฝ้ายพระศาสนจักรอีกด้วย ขอย้ำอีกว่า การแสวงหางานที่อาจจะทำได้นั้น ควรเป็นไปอย่างกล้าหาญและริเริ่มบากบั่นอยู่เสมอ
งานวีรกรรมทุกชิ้นที่ปฏิบัติภายใต้ร่มธงคาทอลิก ย่อมมีผลเหนือความคิดเห็นในท้องที่ ชนิดที่เราอาจเรียกว่า “แบบสายฟ้า” ได้ ทุกคนแม้ที่ไม่เอาใจใส่ในศาสนา ก็พลอยตื่นตัว หันเข้าปฏิบัติพระศาสนากันจริงจังอีกมาตรฐานใหม่ ๆ เหล่านี้ จะปรับปรุงวิธีดำเนินชีวิตของประชาชนทั้งหมดเสียใหม่
“ไม่ต้องกลัว นี่คือพระวาจาของพระเยซูเจ้า ดังนั้นเราจงขจัดความกลัวเสียในหมู่ชาวเรา ไม่ต้องการคนขลาด ถ้าจำเป็นต้องย้ำพระวาจาของพระคริสตเจ้าที่ว่าไม่ต้องกลัว’ ก็เห็นจะต้องย้ำกันในเรื่องเกี่ยวกับงานของกิจการคาทอลิกนี้ เหตุว่าความหวาดกลัวทำให้จิตใจไม่เหมาะสำหรับทำงาน พาให้ขาดวิจารณญาณถ่องแท้ ดังนั้น ขอย้ำว่า จงขจัดความกลัวให้ห่างไกล ไม่ต้องกลัวอะไรทั้งสิ้น เว้นแต่อย่างเดียว อย่างที่เราอยากจะสอนพวกลูก คือจงยำเกรงพระเป็นเจ้า ถ้ามีความยำเกรงพระเป็นเจ้าแล้วลูกจะไม่กลัวมนุษย์ หรือเหตุการณ์ทั้งสิ้นในโลกนี้เลย
ที่เกี่ยวกับความปรีชาสุขุม ขอให้เป็นไปตามที่พระคัมภีร์จำกัดความไว้ และระลึกถึงบ่อย ๆ ว่าเป็นความสุขุมของลูก ๆ ของพระเป็นเจ้า เป็นความรอบคอบฝ่ายจิตต้องไม่ใช่ และที่จริง ไม่ใช่ความรอบคอบประสาเนื้อหนัง ที่อ่อนแอ เกียจคร้าน โฉดเขลาเห็นแก่ตัวและไร้ค่า” (พระดำรัสของพระสันตะปาปาปีโอ ที่ 11 เมื่อ 17 พฤษภาคม 1931)
หน้า 365 บทที่ 38 ปาตรีเซียน
บทที่ 38
ปาตรีเซียน
ปาตรีเซียนเป็นคณะที่ตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1955 จุดประสงค์ก็เพื่อจะสร้างความรู้ทางพระศาสนาให้แก่ประชาชน สอนเขาให้รู้จักอธิบายด้วยตนเองและเป็นกำลังใจให้รู้จักการแพร่ธรรม เดิมที่เป็นเพียงการทดลอง แต่แล้วกลับเป็นงานที่แน่นอน แม้ตอนแรก ๆ มีผู้เสนอให้เปลี่ยนแปลงแก้ไข เพราะเห็นว่าเป็นเพียงอีกรูปแบบหนึ่งของงานที่ทำกันอยู่แล้ว เช่นการจัดชั้นสอนคำสอน การบรรยายหรือประชุมถามตอบปัญหาต่างๆ
งานเหล่านี้มีความสำคัญตามสภาพของงานก็จริงอยู่ แต่ไม่ได้เข้าถึงปัญหารากฐานของพระศาสนจักร คือปัญหาผู้ใหญ่ไม่รู้เรื่องพระศาสนา และฆราวาสที่ไม่พูดเรื่องพระศาสนาเลย ปาตรีเซียนแสดงความสามารถในเรื่องนี้อย่างได้ผล และควรคุ้มครองให้คงอยู่อย่างเหนียวแน่น ระบบปาตรีเซียนมีสมดุลละเอียดอ่อน หากแทรกแชงระบบนั้นแต่เล็กน้อย อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงถึงรากถึงโคนทีเดียว เปรียบได้กับการหมุนคลื่นวิทยุไปนิดเดียว ก็ผิดสถานีไปเลย
วิธีการของระบบอื่น ๆ คือหาคนหนึ่งหรือหลายคนที่รอบรู้ในงานไปสอนงานให้กลุ่มอื่น ส่วนวิธีของปาตรีเซียน ก็ใช้วิธีของพลมารีย์นั่นเองคือร่วมเป็นหนึ่งเดียวกับงานที่มีอยู่ ทุกคนทำงานร่วมกันเพื่อแสวงหาความรู้
เมื่อวิเคราะห์งานปาตรีเซียน จะเห็นว่าเป็นงานเครือเดียวกับพลมารีย์เพราะมีธาตุแท้ต่าง ๆ ในตัว เหมือนกับคุณลักษณะที่รวมกันเป็นพลมารีย์นั่นเอง ปาตรีเซียนเป็นโครงการหนึ่งของระบบพลมารีย์ มีข่ายงานเกี่ยวกับการศึกษาอบรมเรื่องพระศาสนา
หน้า 366 บทที่ 38 ปาตรีเซียน
ในแผนกนี้ มีพระแม่มารีย์เป็นประธาน พระนางทรงนำพระเยซูเจ้าจากเบื้องบน มาประทานแก่โลก พระนางทรงรับภาระทั้งหมดที่ติดตามมาในเรื่องการติดต่อระหว่างพระเยซูเจ้ากับมนุษย์ ความสำคัญของพระนางในเรื่องนี้ แสดงชัดอยู่ที่แท่นบูชาน้อย ๆ ของคณะพลมารีย์ ซึ่งจะต้องเป็นจุดศูนย์กลางของการประชุมปาตรีเซียนด้วย
กลุ่มปาตรีเซียนรวมอยู่รอบพระนาง เพื่อปรึกษากันเรื่องพระศาสนจักรในทุกแง่ทุกมุม คือเรื่องพระเยชูเจ้า ซึ่งประทับอยู่ท่ามกลางพวกเขา ตามพระสัญญาของพระองค์ การกระทำเช่นนี้ เป็นรูปแบบการภาวนาขั้นสูง ซึ่งทำให้เรื่องต่าง ๆ ในการประชุมง่ายดายขึ้น ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะภาวนา 2 ชั่วโมงติดต่อกัน นี่เป็นเหตุผลหนึ่ง ที่ปาตรีเซียนนั้นทำให้สิ่งต่างๆ ศักดิ์สิทธิ์ขึ้นในขณะที่อธิบาย
ในเปรสิเดียม ความต้องการเบื้องแรก คือให้สมาชิกแต่ละคนรายงานด้วยวาจา ปาตรีเซียนก็เน้นเช่นเดียวกันด้วย วัตถุประสงค์ขั้นแรก คือให้ทุกคนแสดงความคิดเห็นออกมาด้วยวาจา การดำเนินการประชุมจะต้องดำเนินไปสู่เป้าหมายนี้ บรรยากาศการประชุมต้องเป็นไปแบบเพื่อน และเห็นคุณค่าเหมือนในครอบครัวที่ดี แม้บางคนจะพูดมากกว่าคนอื่นบ้าง แต่ทุกคนก็ได้แสดงความคิดเห็นของตน ความราบรื่นของการประชุมขึ้นอยู่กับการไม่เป็นฝ่ายคัดค้าน ศิลปะการโต้วาทีสาธารณะ คือการโจมตี การประณาม และเสียดสีเย้ยหยันฝ่ายตรงข้าม ถ้าเป็นอย่างนี้ในการประชุมปาตรีเซียน สมาชิกจะหายหน้าหมด
ถ้าจิตตารมณ์แบบครอบครัวบังเกิดขึ้นจน “สมาชิกต่ำต้อยที่สุด” รู้สึกเหมือนเป็นกันเอง ก็ถือว่าปาตรีเซียนกลุ่มนั้นมีรากฐานมั่นคงแล้วสมาชิกแต่ละคนจะ “จุดประกายไฟ” ไปยังอีกคนหนึ่ง ดั่งลูกโซ่คล้องต่อ
หน้า 367 บทที่ 38 ปาตรีเซียน
กันไป ช่องว่างของความรู้จะหมดไป ความรู้ที่ไม่ต่อเนื่องจะรวมตัวกันตามหลักคำสอนคาทอลิก เมื่อความรู้ความสนใจเติบโตขึ้น แต่ละคนจะกลายเป็น “ส่วน” หนึ่งในพระกายทิพย์และจะมีชีวิตในพระกายทิพย์นั้นมากขึ้น
ยังมีอีกลักษณะหนึ่งคือวิธีปาตรีเซียน เท่ากับนำเอาคำสอนและวิธีการพลมารีย์มาใช้ นี่เป็นเรื่องสำคัญที่พลมารีย์พึงตระหนักอย่างเต็มที่เพื่อทุ่มเทความเชื่อมั่นในงานปาตรีเซียน เช่นเดียวกับที่เขาทุ่มเทให้กับเปรสิเดียมแล้วเขาจะมีอาวุธพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับงาน
เรื่องจริงที่น่าเศร้า คือชาวคาทอลิกไม่พูดเรื่องพระศาสนากับบรรดาผู้อยู่นอกพระศาสนจักร และพูดแต่น้อยครั้งกับคริสตชนด้วยกัน ศัพท์ที่ใช้เรียกคริสตชนประเภทนี้คือ “พวกลัทธิใบ้” พระคาร์ดินัล ชูแนนส์ สรุปสภาพดังกล่าวไว้ดังนี้ “ที่กล่าวว่าคนนอกพระศาสนจักรจะไม่ฟัง แต่ที่แท้คือคนคาทอลิกไม่พูดต่างหาก”
ดูเหมือนเข้าทำนองที่ว่า โดยเฉลี่ยคาทอลิกจะไม่ช่วยผู้อื่นในเรื่องทางศาสนา ผู้ใฝ่รู้จริงไม่ได้รับคำตอบที่เสาะหา และเกิดความเข้าใจที่ผิด ๆว่าชาวคาทอลิกไม่ใส่ใจเรื่องการกลับใจ
ความล้มเหลวดังกล่าวนี้ขยายออกไปเหมือนกับคุกคามเอกลักษณ์ของคริสตชนเอง เพราะพระศาสนาคาทอลิกไม่ใช่ความเห็นแก่ตัว สภาพการณ์ไม่ได้เลวอย่างที่คิด ข้อใหญ่ใจความคือความเงียบและความไม่ใส่ใจนั้นเกิดจากการขาดความเชื่อมั่นคือ
ก) เขาเหล่านั้นตระหนักเกินไปว่าตนขาดความรู้เรื่องพระศาสนาเขาจึงพยายามเลี่ยงโอกาสที่จะแสดงจุดอ่อนนี้ให้คนอื่นเห็น
ข) แม้พวกที่มีความรู้พอควร แต่เรื่องที่รู้ให้เป็นเรื่องเป็นราวเหมาะสมเหมือนชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่มาประกอบเป็นรถยนต์ หรืออวัยวะต่างๆ
หน้า 368 บทที่ 38 ปาตรีเซียน
มารวมเป็นร่างมนุษย์ ที่ยุ่งยากขึ้นไปอีกคือหลายหัวข้อขาดไป และอีกหลายข้อไม่ได้สัดส่วนกัน แม้จะเอามารวมกัน ผลผลิตก็จะคล้ายกับเครื่องจักรซึ่งชิ้นส่วนประกอบไม่ถูก ก็จะไม่ทำงาน
ค ) อีกหลายกรณีการขาดความรู้เช่นนั้นก็พลอยทำให้ขาดรากฐานความเชื่อมั่นคง กลายเป็นสภาพความเชื่อครึ่ง ๆ กลางๆ คืออยู่ในสภาพผู้ไม่นับถือศาสนา พวกเขาก็อาจเสียความเชื่อไปได้
นี่แหละปัญหา
ปาตรีเซียนเป็นคณะที่พลมารีย์ควบคุม แต่ละกลุ่มต้องสังกัดเปรสิเดียม และประธานกลุ่มต้องเป็นสมาชิกประจำการ เปรสิเดียมหนึ่งอาจมีหลายสาขาก็ได้ แต่ละสาขาต้องมีจิตตาธิการ ซึ่งจิตตาธิการเปรสิเดียมรับรองภราดาหรือภคินีอาจเป็นจิตตาธิการได้ และฆราวาสก็เป็นได้ (ถ้าผู้ใหญ่ของฝ่ายพระศาสนจักรอนุญาต)
ตำแหน่งของป่าตรีเซียนก็เหมือนกับชื่อต่างๆ ในคณะพลมารีย์ได้มาจากชื่อของชาวโรมันโบราณ ปาตรีเซียนเป็นขั้นที่สูงกว่าในลำดับทั้ง 3 ของสังคม คือปาตรีเซียน พลเมือง และทาส
แต่ปาตรีเซียนในคณะพลมารีย์มุ่งรวมชนทุกชั้นในสังคมมาเป็นผู้มีศักดิ์ศรีฝ่ายวิญญาณ ยิ่งกว่านั้นปาตรีเซียน จัดให้เป็นผู้เปี่ยมด้วยความรักประเทศชาติ และรับผิดชอบต่อความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน
ดังนั้นปาตรีเซียนของพลมารีย์ก็ต้องสนับสนุนเรื่องฝ่ายจิตของพระศาสนจักร กฎเกณฑ์ของปาตรีเซียนไม่ได้เข้มงวด ว่าสมาชิกต้องเป็นคนศรัทธา หรือเคร่งครัด ขอเพียงแต่ให้เป็นคาทอลิก ผู้ที่ต่อต้านคาทอลิกอย่างรุนแรงจะเข้ากลุ่มปาตรีเซียนไม่ได้
ผู้ที่ไม่ใช่คาทอลิกจะเข้าปาตรีเซียนไม่ได้ นอกจากพระสังฆราชจะอนุญาต
หน้า 369 บทที่ 38 ปาตรีเซียน
การประชุมปาตรีเซียนกำหนดเดือนละครั้ง การตรงเวลาและประชุมสม่ำเสมอเป็นสิ่งจำเป็น จะงดประชุมไม่ได้นอกจากมีเหตุพิเศษสุดวิสัยทำให้ประชุมไม่ได้ ไม่มีข้อผูกมัดว่าสมาชิกต้องเข้าประชุมทุกครั้ง จำเป็นต้องมีวิธีเตือนสมาชิกให้ทราบถึงการประชุมครั้งต่อไป
แต่ละสาขาไม่ควรมีสมาชิกเกิน 50 คน ซึ่งจำนวนดังกล่าวก็เป็นเรื่องลำบากอยู่แล้ว
การจัดที่ประชุม ที่พึงหลีกเลี่ยงคือการจัดเป็นโรงละครมีเวทีแสดงและที่นั่งชม จะทำให้บรรยากาศไม่เป็นระเบียบ เท่าที่จะทำได้ควรจัดที่นั่งเป็นรูปครึ่งวงกลม แล้วเสริมโต๊ะมาตั้งเป็นรูปวงกลม บนโต๊ะจัดแท่นคณะพลมารีย์ให้มีแว็กซิลลุมเป็นส่วนสำคัญ
ที่ประชุมควรจัดให้น่าสนใจ มีความสะดวกสบายเรื่องที่นั่ง แสงสว่างและอากาศ
ค่าใช้จ่ายเบิกจากถุงทาน และให้รายงานบัญชีต่อที่ประชุมทุกครั้ง
ระเบียบการประชุม
1. เริ่มประชุมโดยยืนสวดบทปาตรีเซียนพร้อมกัน
2. ฆราวาสผู้หนึ่งอ่านหรือพูด จำกัดเวลาไม่เกิน 15 นาที จะกินเวลาน้อยกว่าก็ได้ ถ้านานกว่าก็เหมือนกับทุกสิ่งที่นานเกินไป ถือเป็นอันตรายไม่จำเป็นเสนอเป็นรูปรายงานโดยผู้เชี่ยวชาญ ความเชี่ยวชาญอาจทำให้รู้สึกว่าต้องเรียนรู้มากเกินและกินเวลายาวนาน ซึ่งการประชุมแบบนี้อาจทำให้ล้มเหลว อีกอย่างหนึ่งก็มีผู้เสนอแนะว่า ไม่จำเป็นต้องมีกระดาษรายงาน
แต่แน่ละจำเป็นต้องมีการค้นคว้าเบื้องต้นเกี่ยวกับเรื่องที่จะพูดสิ่งนี้จะสำเร็จเป็นผลดีก็ต้องตั้งบางคนเตรียมเรื่องเอาไว้ การประชุมก็ต้องประกอบด้วย ข้อมูลซึ่งจะนำมาหารือกัน
หน้า 370 บทที่ 38 ปาตรีเซียน
3. เมื่อจบการกล่าวนำอภิปรายแล้ว เป็นการอภิปรายทั่วไปเรื่องอื่น ๆ ทั้งหมดของการประชุมอยู่เพื่อส่วนนี้และส่วนอื่น ๆ ต้องจรรโลงการประชุมให้ทำหน้าที่นี้อย่างเต็มที่ ไม่ถือว่ามีการอภิปราย ถ้าสมาชิกแต่ละคนไม่ได้มีส่วนร่วม ปัญหาสำคัญของปาตรีเซียนคือจูงใจสมาชิกให้พูด ซึ่งตอนแรกจะเป็นคนไม่มีภูมิรู้ หรือผู้ที่ไม่แน่ใจในสิ่งที่จะพูดก็ตาม ปัญหานี้ต้องแก้ให้ได้ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ของตัวสมาชิกเอง และเพื่อความดีของพระศาสนจักร
เกี่ยวกับเรื่องนี้อะไรที่สนับสนุนการพูดต้องนำมาใช้ และอะไรที่มีอิทธิพลขัดขวางพึงขจัดออกไป ท่าทีไม่สุภาพต่อผู้ที่พูดผิด ๆ หรือไร้สาระ (ซึ่งจะมีมากในที่ประชุม) จะเป็นเครื่องทำลายการประชุม จุดประสงค์ของปาตรีเซียนที่ซี้ชวนให้เปิดเผยตนเองเป็นอันล้มเหลว ฉะนั้นเสรีภาพในการพูดจึงสำคัญมาก และจะต้องทะนุบำรุงไว้แม้จะรู้สึกลำบากที่จะแสดงออกมา พึงจำไว้ว่าข้อบกพร่องเหล่านี้มีอยู่บ่อย ๆ ก็เหมือนกับการร้องเพลงนอกวงซึ่งไม่ได้รับการแก้ไข
ดังนั้นสิ่งที่สำคัญคือการช่วยกันแบ่งปัน ไม่ว่าเขาจะฉลาดและพูดถูกต้องแล้ว ผู้ที่รอบรู้สมบูรณ์อาจจะฉายความเป็นเลิศ แต่คนธรรมดาทั่วไปจะสำเร็จประโยชน์มากที่สุด เขากำลังหัดพูดเป็นแล้ว
ในแง่จิตวิทยานับว่าเป็นสิ่งสำคัญคือให้ทุกคนร่วมมีส่วนแบ่งปันกับที่ประชุม และไม่ใช่มุ่งไปยังบุคคลสำคัญคนใดคนหนึ่ง ที่ควรคิดคือเมื่อคนหนึ่งพูดจบลง ผู้ฟังแต่ละคนจะต้องเผชิญ คือคิดหาคำตอบ หรือคิดหาข้อเสนอแนะ (Comment) เพื่อตอบโต้กับหัวข้อนั้น ไม่ใช่คล้ายกับเป็นการร่วมสนทนากับคน 2 คน ฉะนั้นคำตอบโต้จึงควรเป็นไปโดยฉับพลัน และความพร้อมที่จะตอบนี้ คือ จุดประสงค์ของการ ตั้งปาตรีเซียน
จะเป็นการรบกวนสมาชิกของที่ประชุมถ้ามีอะไรมาทำให้จิตใจ
หน้า 371 บทที่ 38 ปาตรีเซียน
ไม่สงบ เช่น ประธานออกความเห็นแทรกเข้ามา ไม่ว่าจะคัดค้านหรือเห็นด้วย หรือว่าผู้อ่านหัวเรื่อง อ่านช้ำ เน้นบางหัวข้อเป็นพิเศษ หรือว่าจิตตาธิการเข้ามาแก้ไขปัญหาความยุ่งยากที่เกิดขึ้น การกระทำใด ๆ ในลักษณะเช่นนี้ถือว่าเป็นการทำลายบรรยากาศการประชุม จะแปรรูปการประชุม เป็นการอภิปรายในกรอบที่คนเพียงเล็กน้อยตั้งคำถามและได้รับคำตอบจากผู้เชี่ยวชาญไม่กี่คน
เป็นสิ่งพึงปรารถนาที่ผู้แสดงความคิดเห็นแต่ละคนจะได้รับการปรบมือ ไม่ใช่เป็นการเสียเวลานอกเรื่อง แต่ตรงข้าม กลับช่วยให้สนใจเรื่องที่พูดได้ชั่วขณะ เช่นเดียวกันเป็นการให้กำลังใจผู้พูดที่ขี้อาย เพราะนึกว่าที่เงียบคือไม่เห็นด้วยกับเรื่องที่พูด นอกนั้นยังมีประโยชน์ให้จังหวะสมาชิกอื่นให้พร้อมที่จะพูดหรือขบคิดข้อความที่ตนเพิ่งได้ฟัง
ประธานควรพากเพียรทนการแสดงความเห็นนอกประเด็น การเตือนสติผู้พูดให้กลับเข้าสู่ประเด็น อาจยังผลให้ที่ประชุมเกิดความประหม่า แต่ถ้าเรื่องออกนอกประเด็นนั้นทำให้คนอื่นเขวตาม ประธานก็ต้องดึงที่ประชุมกลับสู่ประเด็นเสียใหม่
ผู้พูดควรลุกขึ้นพูด แน่นอนถ้านั่งพูดอาจจะรู้สึกสะดวกกว่า แต่เป็นการเสี่ยงที่ทำให้การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น กลายเป็นเพียงการสนทนากัน
สมาชิกไม่ได้ถูกจำกัดให้ออกความคิดเห็นได้เพียงครั้งเดียว แต่ผู้ที่ยังไม่ได้พูดก็มีสิทธิ์ก่อนผู้ที่ได้พูดแล้ว
4. หลังจากเริ่มประชุมมาได้หนึ่งชั่วโมงก็ให้พักการอภิปรายเมื่อถึงตอนนี้ ให้เหรัญญิกรายงานสถานะการเงิน ส่วนถุงทานให้เวียนทันทีที่จิตตาธิการให้โอวาทจบลง
5. พักรับประทานของว่าง ถือเป็นเรื่องสำคัญของการประชุมที่จะไม่มีการงดเว้น จะช่วยให้สำเร็จสมประสงค์คือ
หน้า 372 บทที่ 38 ปาตรีเซียน
ก. เป็นเครื่องแสดงออกทางสังคมต่อสมาชิกปาตรีเซียน
ข. เป็นโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ค. ช่วยให้รู้จักพูดจากัน
ง. เป็นโอกาสติดต่อเรื่องการแพร่ธรรม
มีผู้เสนอแนะให้งดเสิร์ฟอาหารว่างตอนนี้ และใช้เวลาพักนี้เพื่อประโยชน์อย่างอื่น แต่ในทางปฏิบัติคงจะยากที่จะใช้เวลาพักนี้โดยไม่มีของว่างมาช่วยให้สดชื่น ระยะหยุดพักนี้กินเวลา 15 นาที
6. วาระต่อไป จิตตาธิการจะพูดเป็นเวลา 15 นาที ทุกสิ่งในการประชุมดำเนินไปสู่การให้โอวาทนี้ ผู้ฟังจะฟังอย่างตั้งอกตั้งใจ ถือเป็นสิ่งสำคัญของการประชุม พาให้เรื่องที่อภิปรายเข้าสู่ทิศทางถูกต้องเป็นระเบียบยกระดับเรื่องขึ้นสู่เบื้องสูง และดลบันดาลให้สมาชิกรักพระเป็นเจ้าและรับใช้พระองค์อย่างลุกร้อนมากขึ้น
มีผู้กล่าวอีกว่า ทำไมไม่เก็บคำกล่าวของจิตตาธิการไว้ตอนท้ายการประชุม เพื่อให้ท่านสรุปทุก ๆ เรื่องที่พูดกันในการประชุม คำตอบก็คือ คำกล่าวของจิตตาธิการนั้น เพื่อสรุปเรื่องสำคัญ ๆ ไว้อภิปรายต่อไป ถ้าให้ท่านพูดตอนจบก็มิอาจทำตามที่มุ่งหมายนี้ได้ เหตุผลอีกประการหนึ่งคืออาจมีบางคนที่ไม่มีพื้นความรู้อาจจะไม่เข้าใจโอวาททั้งหมดโดยตลอด หลักการตีความ (ซึ่งจะอธิบายภายหลัง) จะนำมาใช้ในการสรุปนี้
7. เมื่อจิตตาธิการกล่าวจบ ก็อภิปรายกันต่อไป จนกระทั่งเหลือ 5 นาทีก่อนปิดประชุม
8. แล้ว (ก) ประธานกล่าวเพียงสั้น ๆ ในนามของที่ประชุมแสดงความขอบคุณผู้กล่าวนำอภิปราย ไม่ต้องมีการขอบคุณเป็นทางการใด ๆ อีก (ข) กำหนดเรื่องที่จะประชุมครั้งต่อไป ควรเป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนา ให้
หน้า 373 บทที่ 38 ปาตรีเซียน
หลีกเลี่ยงเรื่องทางวิชาการ วัฒนธรรม วรรณคดี หรือเศรษฐกิจ (ค) แจ้งเรื่องอื่นๆ
9. แล้วทุกคน ยืน สวดพร้อมกัน คือ บทข้าพเจ้าเชื่อถึงพระเป็นเจ้า
10. พระสงฆ์อวยพรปิดประชุม ทุกคนยืนรับพร เพื่อไม่ต้องแย่งกันคุกเข่าในที่จำกัด
ดังนั้นการประชุมรวมเวลาทั้งหมด 2 ชั่วโมง ขอให้จับเวลาให้เป็นไปตามที่กำหนดนี้ ถ้ารายการใดเกินกำหนด จะทำให้วาระอื่นๆ เสียไปด้วยและเวลาประชุมจะผิดไปหมด ตารางเวลาและรายการให้ดูในหน้าที่อ้างถึงไม่ควรเร่งสรุปให้ทันเวลา ไม่จำเป็นต้องห่วงถ้าเรื่องที่สำคัญยังตกลงกันไม่ได้ ยังจะต้องประชุมกันแล้วประชุมกันอีก แล้วที่สุดก็จะสำเร็จผลดีเอง
ปาตรีเซียนไม่มีงานที่บังคับ ไม่มีงานที่รับมอบหมายจากการประชุม ไม่ควรบังคับให้สมาชิกต้องไปทำงานพิเศษ ควรให้การพบปะฉันมิตรทำให้สมาชิกเจริญก้าวหน้าขึ้นทุกทาง โดยเฉพาะให้เขาเป็นสมาชิกพลมารีย์ประจำการหรือสนับสนุน หรือขั้นอัดยูตอเรียน ถ้าดำเนินการอย่างชาญฉลาดปาตรีเซียนจะเป็นแรงกระตุ้น อันจะยังประโยชน์แก่ทุกคนในชุมชนนั้น
หลักการบางอย่างของปาตรีเซียน
1. จิตวิทยากลุ่มชน มนุษย์ต้องการความช่วยเหลือจากเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน และตามธรรมดาเขาก็รวมกันเป็นกลุ่ม กลุ่มนั้นจะส่งผลดีตามขนาดที่กลุ่มมีกฎเกณฑ์และจิตตารมณ์อย่างไร แต่ละคนพยายามเกาะกลุ่มที่ตนสังกัด โดยปฏิบัติตนทั้งในทางดีและไม่ดีก็ได้ เขาจะเลิกเป็นคนอยู่เฉย ๆ เขาจะร่วมมีส่วนในชีวิตของกลุ่ม ถ้าเขารู้สึกสบายใจในกลุ่ม เขาก็เป็นพลังของกลุ่มนั้น
เมื่อนำมาใช้กับกลุ่มปาตรีเซียนก็หมายความว่ามีพลังเงียบ แต่ไม่
หน้า 374 บทที่ 38 ปาตรีเซียน
อาจต้านทานได้ แผ่ซ่านเข้าไปยังทุกคน รวมทั้งพวกที่มีภูมิรู้น้อยที่สุด ให้ปรับตัวตามสิ่งที่เขาได้ยินได้ฟัง และรับไว้เป็นของตน แน่นอน กลุ่มที่ได้รับผลดีมากเช่นนั้น อาจจะยังรู้สึกไม่ก้าวหน้าก็ได้ เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นเช่นนี้ปาตรีเซียนจัดให้มีเจ้าหน้าที่มีจิตใจเปิดกว้าง และมีบุคคลอื่น ๆ คอยป้อนความคิดเห็นระดับสูงสู่ที่ประชุม อาศัยพลังทางจิตวิทยาของกลุ่ม สมาชิกจะซึมซับความคิดเหล่านี้จนกระทั่งทั้งกลุ่มเจริญก้าวหน้าทางคุณภาพอยู่ตลอดเวลา
2. จังหวะหยุดพูดที่ต้องระวัง การเงียบที่นานระหว่างเสนอข้อคิดเห็นอาจทำให้รู้สึกหงุดหงิด ประธานเกิดหลงผิดรีบเร่งสมาชิกให้พูด ข้อนี้อาจเป็นวิธีที่ผิด เกิดความตึงเครียด ทำให้ทุกคนไม่อยากพูด ควรปรับทัศนะกับครอบครัว ซึ่งปกติไม่ได้พูดกันไม่หยุดปาก และเป็นการเหมาะแล้วที่จะมีการหยุดพูดบ้าง ดังนั้นเมื่อที่ประชุมหยุดเงียบ ก็ให้ทุกคนนั่งสงบเหมือนอยู่ที่บ้าน แล้วจะมีคนพูดขึ้นเอง เมื่อเกิดขึ้นแล้ว บรรยากาศที่ตามมาจะง่าย ๆ ซึ่งคนที่จะพูดก็พูดด้วยความสบายใจ
3. เลื่อนการแก้ปัญหา มีวิธีกว้างๆ เพื่อแก้ปัญหาอยู่ 2 วิธี วิธีแรกคือหาคำตอบโดยตรงจากผู้เชี่ยวชาญ อีกวิธีหนึ่ง คือพยายามแก้ปัญหาด้วยตนเอง
วิธีแรกดูเหมือนเป็นวิธีตรงและง่ายดาย และโดยมากในการศึกษาก็ใช้วิธีนี้ ข้อบกพร่องของวิธีนี้คือบ่อย ๆ ศิษย์เข้าใจคำตอบนั้นเพียงครึ่งเดียวและสติปัญญาและความสำนึกรับผิดชอบของศิษย์ไม่ได้รับการพัฒนาเลย
ส่วนวิธีที่สองต้องบากบั่นมากกว่า เขาโยนปัญหาให้ผู้เรียน ผู้เรียนต้องออกแรงพยายามเอง เมื่อเขาเสนอผลงานอย่างหยาบ ๆ แก่อาจารย์ ก็จะได้รับคำแนะนำอันชาญฉลาด เขาก็จะกลับไปใช้ความพยายามทำให้ดีขึ้น
หน้า 375 บทที่ 38 ปาตรีเซียน
ผลสุดท้ายตามวิธีการพึ่งตนเองนี้ เขาก็จะเป็นผู้รู้อย่างแท้จริง ขณะที่ค่อย ๆ แก้ปัญหาตามวิธีของตน จะรู้สึกว่าง่าย จะจำได้ และเกิดความมั่นใจในเวลาต่อไป
ปาตรีเซียนใช้วิธีแบบที่สองนี้ เมื่อเกิดปัญหาที่ต้องการคำตอบไม่ควรให้ผู้มีหน้าที่ตอบทันที แต่ควรปล่อยให้มีการอภิปรายกัน โดยมากก็จะแก้ปัญหาได้สำเร็จ แต่ถ้ามีความผิดหลงเป็นอย่างมากก็ต้องแก้ไขโดยไม่ทำให้ใครต้องอับอาย จงคิดถึงแม่พระสอนพระกุมารเถิด
4. การตั้งคำถาม ระบบปาฐกถา ชอบให้ผู้ฟังเกิดปฏิกิริยา และเชิญชวนผู้ฟังให้ตั้งคำถาม ผู้ฟังบางคนตอบสนองและองค์ปาฐกก็ตอบ แต่ปาตรีเซียนตรงข้าม ไม่ชอบวิธีนี้ เพราะถือว่าเป็นการขัดจังหวะการอภิปราย เกือบเหมือนกับการที่ไฟฟ้าลัดวงจร หลายคนไม่รู้จักการมีส่วนร่วมการประชุมนอกจากถามปัญหาให้ผู้รู้ตอบ ถ้าพยายามตอบปัญหา การอภิปรายจะสะดุดหยุดลง แล้วที่ประชุมจะกลายเป็นห้องเรียน ซึ่งสมาชิกจะเลิกสนใจการประชุม
กฎทองในเรื่องนี้คือ ใครก็ตามที่ถามปัญหา ก็ต้องแสดงความเห็นของตนเองตอบปัญหานั้นด้วย นี่ก็จะเป็นเครื่องพิสูจน์ว่า สามารถจะเปลี่ยนปัญหานั้นเป็นประโยชน์แก่กระแสการอภิปรายด้วย
5. การสร้างหลักการของปาตรีเซียน การเสริมสร้างความรู้ให้เพิ่มพูน ดังที่พูดกันว่า เหมือนก่ออิฐซ้อนกันทีละก้อนนับว่าดี แต่วิธีของปาตรีเซียนนั้น ใช้วิธีคูณมากกว่า “บวก” กลุ่มปาตรีเซียนสร้างด้วยอิฐทรงชีวิต ในความสำนึกที่ว่าเรื่องใหม่แต่ละข้อล้วนสลับเกี่ยวพันกับทุกเรื่องที่เคยพูดไว้แล้ว เรื่องนั้นออกมาจากพวกเขาและกลับมาใช้กับพวกเขา ความคิดเห็นต่าง ๆ ขยายตัวออกและเกิดความคิดเห็นใหม่ ๆ ต่อไป สิ่งนี้ทำให้ปฏิบัติการยุ่งยาก เป็นงานของพระหรรษทาน เป็นเชื้อที่จะบังเกิดผลในจิตใจ แต่ละคน
หน้า 376 บทที่ 38 ปาตรีเซียน
อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ก็บังเกิดผลร่วมกันด้วย คือส่งผลต่อทั้งกลุ่ม ผลนั้นเปรียบได้กับกระแสธาร รวบรวมลักษณะนิสัยและความคิดของบรรดาสมาชิกไปสู่แรงผลักดันให้ก้าวหน้าทางบวก การเปิดพลังและทิศทางสู่ความเชื่อที่เย็นเฉย และท่าทีทางศาสนาต้องส่งผลในการเปลี่ยนแปลงชีวิตของทุกคน
6. บทบาทที่สำคัญ เปรสิเดียมขึ้นอยู่กับเจ้าหน้าที่เปรสิเดียมฉันใด ปาตรีเซียนก็ขึ้นอยู่กับบุคคลผู้นำในกลุ่ม เขาเหล่านี้พึงระวังบทบาทของตนอย่าให้เลยเถิด ถ้าเขาทำเช่นนั้น ก็จะทำให้สมาชิกสามัญหมดความหมาย ทำให้การประชุมกลายเป็นห้องเรียน ข้อสำคัญ จิตตาธิการ ประธานและผู้กล่าวนำอภิปรายพึงดำเนินไปตามกำหนดเวลา และเรื่องอื่นๆ ที่กำหนดไว้สำหรับตน อย่าให้มีเรื่องอื่นใดมาทำให้ออกนอกระเบียบ คนส่วนมากเป็นคนซื่อ ๆ ธรรมดาจะรู้สึกอึดอัดถ้ามาอยู่ในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญและมีอำนาจฉะนั้นเจ้าหน้าที่ป่าตรีเซียนควรปฏิบัติตามแบบของพระอาจารย์เจ้า ในการถ่ายเทความรู้ให้สัมฤทธิผล คือ “จงมาเป็นศิษย์ของเรา เพราะเรามีใจสุภาพอ่อนโยนและถ่อมตน” (มธ 11:29)
อาจจะกล่าวได้ว่ายิ่งบรรดาผู้ที่เป็นกุญแจเหล่านี้ลดบทบาทของตนระหว่างการอภิปราย ก็ยิ่งทำให้การอภิปรายนั้นคล่องสะดวก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะจำกัดอย่างกวดขัน ให้ท่านเหล่านี้มีเวลาเฉพาะที่กำหนดไว้เขาอาจจะแทรกได้บ้างเหมือนสมาชิกสามัญ แต่ต้องรู้จักประมาณตน
7. “หลักการตีความ”
ความดีเด่นของลักษณะต่างๆ ของ ปาตรีเซียน คือ “หลักการตีความ”เรื่องต่าง ๆ ที่เสนอต่อที่ประชุม ถ้าเกินสติปัญญาของสมาชิกส่วนใหญ่จะเข้าใจได้ ก็ต้องทำให้ทุกคนเข้าใจจนได้ หมายความว่าความคิดต่างๆ ที่ก้าวหน้าและข้อคิดเห็นยาก ๆ สามารถแสดงออก และปรับให้สมาชิกธรรมดาที่สุดเข้าใจได้
หน้า 377 บทที่ 38 ปาตรีเซียน
ความสามารถที่จะนำผู้รู้ดีที่สุด และผู้รู้น้อยที่สุด มาอยู่ในระดับเดียวกัน เข้าใจกัน ถือเป็นเพชรน้ำหนึ่งมีค่าอย่างยิ่ง
จะทำได้อย่างไร สมมุติว่า คำกล่าวเปิดประชุม (หรือคำอภิปรายอื่น ๆ) มีลักษณะก้าวไกล จนเพียงร้อยละสิบของที่ประชุมเข้าใจได้ ฉะนั้น ถ้าเป็นปาฐกถาธรรมดา ถือว่าสูญเปล่า แต่ในปาตรีเซียน คนร้อยละสิบที่เข้าใจ แล้วจะเริ่มอภิปรายเรื่องนั้น ในทางปฏิบัติเขาปรับเรื่องที่ยากนี้ให้เข้ากับมาตรฐานสมาชิกส่วนมาก จนกระทั่งเรื่องที่ยากนั้นลดลงสู่ระดับความเข้าใจของทุกคนแล้วคนอื่น ๆ ก็จะเริ่มพูด และที่สุดก็เหมือนกับนำเมล็ดข้าวโพดมาโม่จนสำเร็จกลายเป็นแป้ง ความคลุมเครือทั้งหมดตามที่กล่าว จะได้รับการตีความหรืออธิบายให้เข้ากับสติปัญญาสามารถของสมาชิกทั้งหมด โดยวิธีนี้ ไม่มีเรื่องอะไรที่เข้าที่ประชุมปาตรีเซียนแล้วจะสูญเปล่าเลย
คุณลักษณะเช่นนี้ของปาตรีเซียน มีคุณค่าเอกในถิ่นที่ยังไม่เจริญ เช่น ตามสนามแพร่ธรรม งานหนักของธรรมทูตในประเทศเหล่านั้น คือสอนให้รู้เรื่องพระศาสนาคาทอลิกอย่างดี โดยที่ธรรมทูตไม่สู้เข้าใจภาษาของเขาและพื้นเพด้านจิตใจก็แตกต่างกับธรรมทูต พลังอธิบายความปาตรีเซียนจะเป็นสะพานเชื่อมช่องว่างที่แตกต่างกันนั้นได้
8. ปล่อยให้พระเจ้าทรงทำงาน
เกี่ยวกับเรื่องนี้ มีการเสี่ยงมากกว่านำอิฐและแบบมาก่อสร้างเป็นอาคารเสียอีก มีหลักการพระหรรษทาน อันเหนือธรรมชาติ ทำให้เราสามารถสร้างอาคารใหญ่โตกว่าวัสดุที่เรามี
เราต้องตระหนักว่า ในเรื่องพระศาสนาที่พระเป็นเจ้าทรงเปิดเผยไม่มีใครตอบอธิบายได้ครบถ้วน ทั้งนี้เพราะจะมีเรื่องความเชื่อและพระหรรษทานเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ แม้ข้อพิสูจน์ชาญฉลาดที่สุดก็ไม่อาจ
หน้า 378 บทที่ 38 ปาตรีเซียน
เชื่อมช่องว่างให้หมดสิ้นได้ แต่ก็ไม่ถูกต้องที่จะถือว่าการพิสูจน์อันชาญฉลาดแม้แต่น้อยนั้นไม่มีประโยชน์ ความจริงก็คือ พระเป็นเจ้าทรงรับแม้ข้อคิดเห็นที่อ่อนด้อยที่สุดไว้ในพระหัตถ์ และทรงจัดการกับสิ่งที่ได้รับนั้น
เมื่อทุกคนทำดีที่สุดแล้ว ช่องว่างที่ดูเหมือนเชื่อมไม่ได้ พระองค์ก็จะทรงจัดการให้เรียบร้อย ช่องว่างนั้นอาจจะแคบกว่าที่เราคิดก็ได้ หรือความคิดเห็นของมนุษย์อาจใหญ่กว่าที่คิดว่าจะเป็นก็ได้ หรือพระเป็นเจ้าทรงเพิ่มสิ่งที่ขาดไปก็ได้ ไม่มีใครสามารถบอกได้ แต่งานทั้งครบก็สำเร็จไปแล้ว
ที่กล่าวมานี้ต้องเป็นปรัชญาของเราเสมอ และในสัดส่วนที่ใหญ่กว่าสำหรับปาตรีเซียน สมาชิกแต่ละคนต้องแสดงความคิดเห็น แม้รู้ว่าไม่ได้สัดส่วนกัน ความพยายามแม้น้อยนิดก็ยังดีกว่าไม่ทำอะไรเลย การทำให้โลกกลับใจ เป็นปัญหาที่ชาวคาทอลิกต้องพยายามทำ ถือว่ายังใช้ความพยายามไม่พอ ตราบใดที่ชาวคาทอลิกมัวกระซิบกับตนเองว่า “ฉันยังรู้ไม่พอ ฉะนั้นเงียบไว้ดีกว่า” สภาพดังกล่าวนี้มีอยู่มากมาย ซึ่งปาตรีเซียนพยายามเข้ามามีส่วนแก้ไข
บทภาวนาของปาตรีเซียน
(ให้ทุกคนยืนสวดพร้อมกัน)
เดชะพระนามพระบิดา…
ข้าแต่พระเยชูเจ้า
โปรดทรงอวยพระพรกลุ่มปาตรีเซียน
ซึ่งช้าพเจ้าทั้งหลายเป็นสมาชิก
เพื่อจะได้ใกล้ชิดยิ่งขึ้นกับพระองค์
และกับพระนางมารีย์ พระมารดาของพระองค์ ที่เป็นมารดาของข้าพเจ้าทั้งหลายด้วย
หน้า 379 บทที่ 38 ปาตรีเซียน
โปรดช่วยข้าพเจ้าทั้งหลายให้รู้จักความเชื่อคาทอลิก
เพื่อข้อความจริงของพระองค์ที่เปลี่ยนชีวิตได้นี้ จะบังเกิดผลในชีวิตของข้าพเจ้าทั้งหลายด้วย
โปรดช่วยข้าพเจ้าทั้งหลายให้เข้าใจถึงการที่พระองค์ร่วมเป็นหนึ่งเดียวกับเรามนุษย์ ทำให้มนุษย์ไม่เพียงเจริญชีวิตในพระองค์เท่านั้น แต่ยังต้องอาศัยซึ่งกันและกันด้วย
เช่น ถ้าผู้ใดอ่อนแอลง ผู้อื่นก็พลอยรับทุกข์ และอาจประสบหายนะไปด้วย
โปรดให้ข้าพเจ้ามองเห็นภาระซึ่งหนักแต่รุ่งโรจน์ ซึ่งทรงมอบแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายและให้ข้าพเจ้าทั้งหลายรับแบกเพื่อพระองค์
ข้าพเจ้าทั้งหลายตระหนักถึงสภาพความเป็นมนุษย์
ถึงความลังเลตามธรรมชาติของข้าพเจ้าทั้งหลาย
ข้าพเจ้าทั้งหลายไม่เหมาะสมที่จะยื่นบ่าแบกภาระของพระองค์
กระนั้นก็ดี ข้าพเจ้าทั้งหลายมั่นใจว่าพระองค์จะทรงมองดูความเชื่อของข้าพเจ้ามากยิ่งกว่ามองดูความอ่อนแอและความจำเป็นถึงงานของพระองค์
ยิ่งกว่าความไม่เหมาะสมของเครื่องมือนั้น
ดังนั้น โดยร่วมเสียงกับคำวิงวอนประสาแม่ของพระนางมารีย์
ข้าพเจ้าทั้งหลายทูลวอนขอจากพระบิดาเจ้าสวรรค์ และจากพระองค์
โปรดประทานพระคุณของพระจิตเจ้า
ให้ดำรงอยู่กับข้าพเจ้าทั้งหลาย
ให้สอนข้าพเจ้าถึงพระธรรมอันประทานชีวิต
และประทานทุกสิ่งที่จำเป็นแก่ข้าพเจ้า
โปรดเถิด เมื่อได้รับพระคุณใหญ่หลวงแล้ว
หน้า 380 บทที่ 38 ปาตรีเซียน
ขอให้ข้าพเจ้าทั้งหลายรู้จักให้ด้วยใจกว้างเช่นเดียวกัน
มิฉะนั้นโลกอาจจะไม่ได้รับผลประโยชน์แห่งการรับเอากายเป็นมนุษย์ และความตายอันแสนทรมานของพระองค์
โปรดอย่าให้หยาดเหงื่อและพระมหาทรมานของพระองค์ต้องเสียไปโดยเปล่าประโยชน์เลย
อาแมน เดชะพระนามพระบิดา …
วาระการประชุม
0.00 – (ยืนขึ้นพร้อมกัน) สวดบทภาวนาของปาตรีเซียน ผู้นำมราวาสอภิปรายปราศรัย (จำกัดเวลา 15 นาที)
0.15 – การอภิปราย
0.59 – รายงานการเงิน และเตือนถึงการเวียนถุงทานทันทีเมื่อพระสงฆ์กล่าวจบ
1.00 – รับประทานของว่าง
1.15 – พระสงฆ์ปราศรัย (จำกัดเวลา 15 นาที)
1.30 – อภิปรายต่อ…เวียนถุงทาน
1.55 – เรื่องที่แจ้งให้ทราบ (ขอบคุณผู้กล่าวนำอภิปราย กำหนดวันและเรื่องที่จะประชุมครั้งต่อไป ฯลฯ)
2.00 – (ยืนขึ้นพร้อมกันสวด) บทข้าพเจ้าเชื่อ | พระสงฆ์อวยพร (ขณะทุกคนยังยืนอยู่)
หน้า 381 บทที่ 38 ปาตรีเซียน
สาขาประจำวิทยาลัยและเยาวชน
สำหรับในกรณีที่ไม่อาจดำเนินการประชุมตามระเบียบปกติ เช่นใน (ก) วิทยาลัยและสถาบันการศึกษา และ (ข) สมาชิกทั้งหมดอายุต่ำกว่า 18 ปี อนุญาตให้ดำเนินการประชุมแบบรวบรัด (กินเวลา 1 ชั่วโมงครึ่ง) ดังนี้
0.00 สวดบทภาวนาของปาตรีเซียน ติดตามด้วยการกล่าวนำ (จำกัดเพียง 5 นาที)
0.05 – การอภิปราย (40 นาที)
0.45 – พัก 10 นาที (งดของว่างก็ได้)
0.55 – คำกล่าวของจิตตาธิการ (10 นาที) ถุงทานจะงดก็ได้
1.05 อภิปรายต่อ (20 นาที)
1.25 เรื่องที่แจ้งให้ทราบ
1.30 – บทข้าพเจ้าเชื่อ และพระสงฆ์อวยพร
“ปาตรีเซียนเป็นเรื่องแบบครอบครัว ความยินดีอย่างหนึ่งในชีวิตครอบครัวคือการได้สนทนากันถึงเรื่องของทุกคนในบ้าน อย่างเปิดเผย ตรงไปตรงมา อย่างจริงใจเราคริสตชนคาทอลิกก็เป็นพี่น้องกันในพระคริสตเจ้า รวมอยู่ในครอบครัวของพระเจ้าคิดถึงความเชื่อของเรา สนทนาอภิปรายกันในจิตตารมณ์ ที่พระอาจารย์เจ้าและอัครสาวกสนทนากันถึงการเทศนา ซึ่งพระองค์ทรงประกาศแต่ละวันในแคว้นกาลิลี นี่แหละจิตตารมณ์ของคณะปาตรีเซียน
การรู้จักพระเยชูคริสตเจ้าในฐานะทรงเป็นอาจารย์น่ารัก น่าพิศวง ในฐานะทรงเป็นเจ้านายและพระเจ้าตามที่ทรงเป็น ก็หมายความว่าเราต้องทำจิตใจเราให้สดชื่นในความจริงของพระองค์ที่ช่วยเราให้รอด และรู้สึกเช่นนี้ตลอดไปในการสนทนาเรื่องเกี่ยวกับศาสนา เช่นเดียวกับที่เราชอบพูดถึงเรื่องลูกของเรา บ้านของเราและการงานของเรา
หน้า 382 บทที่ 39 จุดสำคัญในการแพร่ธรรมของคณะพลมารีย์
พระจิตเจ้าประทานความสว่างให้เรารู้แจ้งในความจริงของพระคริสตเจ้าความจริงเหลานี้เราแบ่งปันกัน และเรียนรู้จากกันและกันในการประชุมปาตรีเซียน ที่นั่นเราเป็นประจักษ์พยานถึงพระคริสตเจ้า ดวงใจของเราลุกร้อนชณะที่พระองค์ตรัสกับเราทางปากของเพื่อนสมาชิก
พระเป็นเจ้าเสด็จมาใกล้เราในกลุ่ม และผ่านทางกลุ่มสมาชิกปาตรีเซียน ความจริงของพระองค์ประทับใจเราลึกซึ้งยิ่งขึ้น และพระศาสนจักร ซึ่งเปรียบดังสนามแห่งความพยายามของเรา ยิ่งที่ยิ่งกลายเป็นจริงจังมากขึ้น จิตใจรับแสงจากอีกจิตใจหนึ่ง ดวงใจลุกโพลงด้วยความเชื่อ พระคริสตเจ้าส่องสว่างในตัวเราแล้ว” (Father P.J. Brophy)
บทที่ 39
จุดสำคัญในการแพร่ธรรมของคณะพลมารีย์
1. จะเข้าใกล้วิญญาณไม่ได้ หากไม่มีพระนางมารีย์
บางครั้ง พระนางมารีย์ถูกกันไว้หลังฉากจากผู้รังเกียจพระนาง วิธีการทำให้คนยอมรับคำสอนคาทอลิกง่ายขึ้นแบบนี้อาจสมเหตุสมผลตามประสามนุษย์ แต่ไม่ได้แสดงถึงความนึกคิดของพระเป็นเจ้าเลย บรรดาผู้ที่ทำเช่นนี้ หาได้สำนึกว่า หากเขาทำเช่นนี้ได้ เขาก็อาจประกาศพระคริสตศาสนาโดยไม่มีพระคริสตเจ้าและโดยที่พระนางไม่มีส่วนในการไถ่บาปได้เหมือนกัน เหตุว่าพระเป็นเจ้าเอง ทรงพระดำริเห็นเหมาะสมที่จัดไม่ให้มีนิมิตหมาย หรือการเสด็จมา หรือการมอบพระเยซูเจ้าหรือการปรากฎของพระองค์เป็นไปโดยขาดพระนางมารีย์เลย
ตั้งแต่เริ่มแรก และก่อนมีโลก พระนางอยู่ในพระดำริของพระเป็นเจ้า เป็นพระเป็นเจ้าเอง ผู้ทรงแรกเริ่มตรัสถึงพระนาง และทรงวาดภาพ
หน้า 383 บทที่ 39 จุดสำคัญในการแพร่ธรรมของคณะพลมารีย์
โชคชะตาเฉพาะสำหรับพระนางชนิดที่ไม่มีของใครมาเทียบได้ เพราะว่าความยิ่งใหญ่ทั้งสิ้นของพระนางได้เริ่มต้นตั้งแต่นานมาแล้ว เริ่มแต่ก่อนสร้างโลกอีกแต่ปฐมกาลความคิดเรื่องพระนางมารีย์ มีอยู่ในพระบิดานิรันดร พร้อมกันกับความคิดเกี่ยวกับพระผู้ไถ่ ซึ่งพระนางมีส่วนเกี่ยวในโชคชะตาของพระผู้ไถ่ด้วย
ดังนั้นแต่ดึกดำบรรพ์แล้ว พระเป็นเจ้าทรงตอบคำถามของผู้สงสัยที่ว่า “พระเป็นเจ้าจำต้องการความช่วยเหลือของพระนางมารีย์หรือ” พระเป็นเจ้าไม่จำเป็นต้องพึ่งพระนางเลยก็ได้ เช่นเดียวกับที่อาจทรงเว้นไม่ต้องพึ่งพระเยซูเจ้าก็ได้ แต่กุศโลบายอันชอบพระทัย มีพระนางมารีย์ประกอบอยู่ด้วย พระองค์ทรงจัดให้พระนางคู่เคียงพระผู้ไถ่ ตั้งแต่วาระแรกที่พระบุตรได้รับพระดำริจะเป็นผู้ไถ่ และจำเป็นต้องเป็นมารดาของผู้ที่เป็นหนึ่งเดียวกับพระผู้ไถ่ด้วย
ดังนี้ แต่นิรันดรทีเดียว พระนางอยู่ในตำแหน่งได้รับยกย่องให้สูงส่งเป็นผู้เดียวในบรรดาสิ่งสร้าง ไกลเกินกว่าจะนำสิ่งสร้างใด ๆ แม้จะสูงสุดล้ำเลิศมาเปรียบได้ แตกต่างจากผู้อื่น ในพระดำริของพระเป็นเจ้า แตกต่างจากผู้อื่นในการตระเตรียมที่พระนางได้รับ ฉะนั้นจึงเหมาะสมที่สุดที่พระนางได้รับการคัดแยกจากสตรีทั้งมวล ในคำพยากรณ์แรกเรื่องการไถ่บาป ซึ่งพระเป็นเจ้าตรัสแก่ชาตานว่า “เราจะทำให้เจ้าและหญิงเป็นศัตรูกัน ให้ลูกหลานของเจ้าและลูกหลานของนางเป็นศัตรูกันด้วย เขาจะเหยียบหัวของเจ้าและเจ้าจะกัดสันเท้าเขา” (ปฐก 3:15) นี่คือสรุปความเรื่องการไถ่บาป ในภายหน้าซึ่งพระเป็นเจ้าเองตรัสไว้
เป็นที่แน่ชัดทีเดียวว่าพระนางมารีย์จะอยู่ในตำแหน่งซึ่งไม่มีใครเหมือน แม้ก่อนบังเกิดและตลอดมาภายหลัง พระนางเป็นปรปักษ์กับชาตาน
หน้า 384 บทที่ 39 จุดสำคัญในการแพร่ธรรมของคณะพลมารีย์
พระนางต่ำกว่าพระผู้ไถ่ แต่อยู่ถัดจากพระองค์ และเหมือนกับพระองค์ (ปฐก 2:18) ไกลจากผู้อื่น ไม่มีประกาศกใด แม้นักบุญยอห์น ผู้ทำพิธีล้างที่พระเป็นเจ้าทรงกำหนดให้ชิดสนิทกับพระองค์เช่นนี้ ไม่มีทั้งกษัตริย์หรือผู้นำคนใด ไม่มีทั้งอัครสาวกหรือผู้ประกาศพระวรสารคนใด แม้กระทั่งนักบุญเปโตรและเปาโลเอง ไม่มีผู้ยิ่งใหญ่คนไหนในบรรดาพระสันตะปาปผู้อภิบาล และนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร ไม่มีทั้งนักบุญองค์ใด ไม่มีทั้งดาวิด ชาโลมอน โมเสส และอับราฮัม ไม่มีดังกล่าวนี้สักผู้เดียว ในบรรดาสิ่งสร้างอันจะมีต่อ ๆ ไป มีพระนางแต่ผู้เดียวเท่านั้น ได้รับพระกรุณาเจาะจงให้เป็นผู้ร่วมงานไถ่กูให้รอด
ไขแสดงแจ้งชัดไม่มีพลาดในคำพยากรณ์ คำพยากรณ์มีต่อ ๆ กันกล่าวถึง “หญิงพรหมจารี” “พรหมจารีและบุตร” “สตรีนั้น” “สตรีและบุตร” “พระราชินีประทับเบื้องพระหัตถ์ขวาของพระมหากษัตริย์” ที่กล่าวถึงเรื่อย ๆ นั้น เป็นประกันว่าสตรีผู้หนึ่งจะเป็นส่วนสำคัญยิ่งในการเอาตัวรอดของชาวเรา คำพยากรณ์นี้ซื้อนาคตของสตรีนั้นไว้อย่างไรบ้าง ก็สิ่งใหญ่หลวงทีเดียวอันสามารถกล่าวถึงสตรีผู้นั้น ไม่ได้เกิดขึ้นกับผลของคำพยากรณ์เหล่านี้ดอกหรือ
ชาวเราไม่ตระหนักถึงความหมายของคำพยากรณ์ เกี่ยวกับปัญหาเรื่องฐานะของพระนางมารีย์ ในพระศาสนาคาทอลิกนี้ ว่าเด็ดขาดและสำคัญสักเพียงใด คำพยากรณ์เป็นเงาของสิ่งที่จะมาถึง เหนือกาลเวลา เป็นร่างสังเขปแผ่วบางของสิ่งห่างไกล แน่นอนคำพยากรณ์จำต้องเด่นชัด ชัดเจน และแท้จริงน้อยกว่าเรื่องจริงที่กล่าวถึง แต่จำเป็นด้วยที่คำพยากรณ์จำต้องรักษาส่วนที่กลมกลืนกับเรื่องจริงนั้น
คำพยากรณ์ซึ่งวาดภาพการไถ่บาป ซึ่งสำเร็จลงโดยสตรีผู้หนึ่งพร้อม
หน้า 385 บทที่ 39 จุดสำคัญในการแพร่ธรรมของคณะพลมารีย์
กับบุตรของพระนาง (และไม่มีคู่ไหนอีก นอกจากคู่นี้) ผู้บดขยี้หัวชาตานคำพยากรณ์นี้จะปรากฎข้อขัดแย้งอย่างรุนแรง หากในการไถ่บาปจริงๆ สตรีนั้นถูกผลักไสไปสู่ฐานะอันมืดมน ฉะนั้นหากเป็นคำพยากรณ์สมชื่อ และหากการเอาตัวรอดขึ้นสวรรค์ เป็นการรับกายเป็นมนุษย์และการสิ้นพระชนม์ของพระเยซูเจ้า เข้ามาอยู่ในวิญญาณมนุษย์ตลอดชีวิตของเขา ซึ่งทั้งพระศาสนจักรและพระคัมภีร์ก็อ้างเช่นนี้) เมื่อนั้นในระบบของคริสตชนคาทอลิก พระนางมารีย์จักต้องควบคู่กับพระเยซูเจ้ามิอาจแยกจากพระองค์ได้ในการไถ่บาปมนุษย์ เป็นเอวาคนใหม่ที่ขึ้นอยู่กับพระองค์ แต่จำเป็นสำหรับพระองค์ด้วยที่จริงไม่ใช่เป็นใครอื่น นอกจากคนกลางแจกจ่ายพระหรรษทานทั้งสิ้นตามที่พระศาสนจักรสรุปหน้าที่สูงส่งของพระนางไว้เช่นนั้น หากสิ่งที่คำพยากรณ์ทำนายไว้ เป็นดินแดนของพระเป็นเจ้าจริง บรรดาผู้สบประมาทพระนางจะไม่มีวันเข้าถึงแดนนั้นได้
ทูตสวรรค์แจ้งข่าวก็แสดงตำแหน่งสำคัญของพระนางเช่นเดียวกัน คำพยากรณ์ได้บรรลุถึงจุดสูงสุด แผนการดึกดำบรรพ์เกี่ยวกับพระนางขณะนี้ใกล้จะเป็นความจริงแล้ว
เชิญพิจารณาดูว่าแผนแห่งความเมตตาของพระเป็นเจ้าได้เป็นจริงอย่างน่าเกรงขามเพียงไร เชิญร่วมจิตใจกับการประกาศสันติภาพครั้งยิ่งใหญ่ที่ไม่เคยมีมาก่อน เป็นการประกาศสันติภาพระหว่างพระเป็นเจ้าและมนุษยชาติเรียกว่า ทูตสวรรค์แจ้งข่าว ในการประกาศนั้น พระเป็นเจ้าโปรดให้อัครทูตสวรรค์องค์หนึ่งเป็นผู้แทนพระองค์ ส่วนผู้แทนฝ่ายมนุษยชาติ คือพระนางซึ่งคณะพลมารีย์มีวาสนาได้รับพระนามมาเป็นชื่อของคณะ พระนางเป็นสตรีที่สุภาพน่ารัก กระนั้นก็ดี โชคชะตาของมนุษย์ชาติทั้งมวลก็ขึ้นอยู่กับพระนางในวันนั้น
หน้า 386 บทที่ 39 จุดสำคัญในการแพร่ธรรมของคณะพลมารีย์
อัครทูตสวรรค์เข้ามาพร้อมกับข่าวอันยิ่งใหญ่ เสนอเรื่องพระบุตรทรงรับเอากาย เพื่อรอรับคำตอบจากพระนาง ไม่ใช่เพียงแต่ทูลให้ทราบเท่านั้น ไม่ได้ละเมิดเสรีภาพในการเลือกของพระนาง จึงในระยะเวลานั้นชะตากรรมของมนุษยชาติสั่นระรัวรอคำตอบของพระนางอยู่ การไถ่กู้ให้รอดเป็นความปรารถนาของพระเป็นเจ้า แต่ในเรื่องนี้ เช่นเดียวกับเรื่องอื่นๆ ที่สำคัญน้อยกว่า พระองค์ไม่ได้ทรงบีบบังคับเสรีภาพของมนุษย์ พระองค์เพียงแต่เสนอประทานคุณประโยชน์ล้ำค่า แต่เป็นเรื่องของมนุษย์ที่จะรับหรือจะปฏิเสธเสียก็ได้
วาระสำคัญที่มนุษย์หลายชั่วอายุคนเฝ้ารอคอย และที่มนุษย์ทุกชั่วอายุคนต่อมาเหลียวหลังเฝ้าดูเช่นเดียวกันนั้น ได้มาถึงแล้ว เป็นวิกฤติการณ์ใหญ่กว่าสมัยใด ๆ เธอเงียบอยู่นิดหนึ่ง แล้วกล่าววาจาว่า “ขอให้เป็นไปกับข้าพเจ้าตามวาจาของท่านเถิด” (ลก 1:38) วาจานี้แหละ นำพระเจ้ามาสู่โลกและลงนามสัญญาสันติภาพยิ่งใหญ่กับมนุษยชาติ
พระบิดาทรงกำหนดให้การไถ่กู้ให้รอดขึ้นอยู่กับพระนาง มีน้อยคนเหลือเกินที่ตระหนักถึงผลทั้งสิ้นที่เกิดจากการตอบยอมรับของพระนางแม้คาทอลิกส่วนใหญ่ ก็ไม่ได้ตระหนักถึงความสำคัญที่พระนางได้มีส่วนแสดงบทบาทนี้ ปราชญ์แห่งพระศาสนจักรสาธยายข้อความเหล่านี้ว่า สมมุติว่าสตรีสาวผู้นั้นปฏิเสธการรับเป็นมารดาตามข้อเสนอ พระบุคคลที่สอง คงจะไม่ได้รับเอาเนื้อหนังจากพระนาง นั่นเป็นเรื่องสำคัญเพียงไร “ให้รู้สึกน่ากลัวเมื่อคิดว่า พระเป็นเจ้าทรงจัดให้ที่พระผู้ไถ่เสด็จมาในโลกนี้ขึ้นอยู่กับคำว่า “ขอให้เป็นไปกับข้าพเจ้า” (ลก 1:38) ของหญิงสาวชาวนาชาเร็ธ เมื่อคิดว่าถ้อยคำนี้ ทำให้โลกเก่าสิ้นสุดลง เริ่มต้นโลกใหม่ ให้คำพยากรณ์เป็นอันสำเร็จ เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อของเวลาทั้งปวง เป็นประกายแรก
หน้า 387 บทที่ 39 จุดสำคัญในการแพร่ธรรมของคณะพลมารีย์
ของดาวรุ่ง ซึ่งแจ้งข่าวรุ่งอรุณของดวงอาทิตย์แห่งความยุติธรรม และเท่าที่เจตนาของมนุษย์จะทำให้สำเร็จได้ ได้สร้างสายสัมพันธ์ นำสวรรค์มาสู่แผ่นดินและนำมนุษยชาติไปหาพระเป็นเจ้า” (Hettinger)
ช่างยิ่งใหญ่จริง ๆ หมายความว่าพระนางเป็นความหวังประการเดียวของมนุษยชาติ แต่โชคชะตาของมนุษย์ก็ปลอดภัยในมือของพระนาง พระนางกล่าวคำยินยอมนั้น ซึ่งแม้เราไม่อาจเข้าใจตลอด กระนั้นก็ดี สามัญสำนึกก็บอกเราว่าต้องเป็นวีรกรรมขั้นสูงสุดที่เคยมีในโลก เช่นที่ในทุกๆ สมัยไม่มีใครสามารถทำได้ นอกจากพระนาง
ครั้นแล้วพระผู้ไถ่ได้เสด็จมาสู่พระนาง ไม่ใช่มาสู่พระนางเองอย่างเดียว แต่ผ่านพระนางมาสู่มนุษยชาติที่ยากจนน่าสงสาร เพื่อมนุษยชาตินี้เองพระนางได้กล่าววาจานั้น พร้อมกับพระองค์ พระนางยังนำคุณความดีทุกอย่างมาให้เรา ซึ่งหมายถึงความเชื่อ อันเป็นชีวิตแท้ของมนุษย์ ไม่มีอะไรสำคัญต้องละทิ้งทุกสิ่งเพื่อความเชื่อ ต้องเสียสละทุกอย่างเพื่อจะได้ความเชื่อเป็นสิ่งมีค่าอย่างเดียวในโลก ฉะนั้นเชิญพิจารณาถึงความเชื่อของมนุษย์ทุกสมัยที่ล่วงไปแล้วจนถึงปัจจุบัน และอีกนับล้านนับไม่ถ้วนที่จะมาภายหน้า ความเชื่อของมนุษย์ทั้งมวลนั้น ขึ้นอยู่กับวาจาของสตรีนั้นแต่ผู้เดียว
ขาดพระนางมารีย์ ก็ไม่มีคริสต์ศาสนาเที่ยงแท้ เพื่อสนองตอบของขวัญอันล้ำค่านี้ แต่นั้นมามนุษย์ทุกสมัยจึงเรียกสตรีนั้นว่าเป็นผู้มีบุญพระนางเป็นผู้นำคริสต์ศาสนามาสู่โลก เราจึงไม่สามารถปฏิเสธให้พระนางเป็นที่เคารพสักการะของคริสตชนได้ แต่คนเป็นอันมากที่ไม่ยอมให้เกียรติแด่พระนาง หลายคนที่หมิ่นประมาทพระนาง หลายคนที่ประพฤติชั่วช้ากว่านั้นอีก จะว่าอย่างไร พวกนี้เคยคิดบ้างไหมว่า พระหรรษทานทั้งปวงที่ตนได้รับนั้น พวกตนเป็นหนี้บุญคุณพระนางเท่าไร พวกนี้เคยติดตามเหตุผล
หน้า 388 บทที่ 39 จุดสำคัญในการแพร่ธรรมของคณะพลมารีย์
หรือเปล่าว่า หากพวกตนถูกกีดกันออกนอกวงของวาจายอมรับของพระนางคืนนั้น การไถ่บาปจะมีวันลงมาสู่โลกเพื่อพวกตนหรือ เขาอยู่นอกวงการพูดอีกอย่างเขาไม่ใช่คริสตชนคาทอลิกเลย แม้เขาจะร้องว่า “พระเจ้าข้าพระเจ้าข้า” ตลอดวันทุกวันก็ตาม (มธ 7:21)
อีกประการหนึ่ง หากพวกเขาเป็นคริสตชนคาทอลิกจริง และได้รับพระพรแห่งชีวิต ก็เป็นเพราะพระนางได้รับมาสำหรับพวกเขา เมื่อพระนางตอบรับเป็นมารดาของพระผู้ไถ่ พูดสั้น ๆ ศีลล้างบาปที่บันดาลให้บุคคลเป็นบุตรของพระเจ้า ขณะเดียวกันก็บันดาลให้เป็นบุตรของพระนางด้วย”
เหตุฉะนั้น ความกตัญญู ชนิดปฏิบัติให้เห็นจริง ต่อพระนางมารีย์ต้องเป็นเครื่องหมายของคริสตชนทุกคน การไถ่บาปเป็นของขวัญร่วมกันของพระบิดาและพระนางมารีย์ ดังนั้นเมื่อขอบพระคุณพระบิดาก็ต้องขอบคุณพระนางด้วย
พระบุตรอยู่กับพระมารดาเสมอ พระเป็นเจ้าไม่ทรงพอพระทัยให้เริ่มสมัยแห่งพระหรรษทาน โดยปราศจากพระนางมารีย์ ทรงพอพระทัยให้ทุกสิ่งดำเนินไปตามวิธีเดียวกันนั้น เมื่อพระองค์ทรงปรารถนา เตรียมนักบุญยอห์น ผู้ทำพิธีล้าง รับหน้าที่นำหน้าพระองค์เอง พระองค์ก็ได้ทำให้ยอห์นศักดิ์สิทธิ์ โดยให้พระมารดาผู้อารีเสด็จไปเยี่ยม
คืนวันพระคริสตสมภพคืนแรก ผู้ที่ไล่พระนางจากประตูบ้านของตนก็ได้ไล่พระองค์ด้วย เขาไม่ได้เฉลียวใจว่า ที่ตนขับไล่พระนางนั้น เท่ากับขับไล่พระองค์ที่ตนเฝ้าคอยอยู่ด้วย
เมื่อคนเลี้ยงแกะผู้เป็นตัวแทนของประชาชนอันได้รับเลือกสรรมาพบพระผู้ไถ่ ที่ทรงสัญญาจะประทานแก่นานาชาติ เขาได้พบพระองค์อยู่กับพระนาง ถ้าเขาหันหนีจากพระนาง ก็จะไม่ได้พบพระองค์ ในวัน-
หน้า 389 บทที่ 39 จุดสำคัญในการแพร่ธรรมของคณะพลมารีย์
พระคริสตเจ้าแสดงองค์ พระองค์ทรงต้อนรับชนต่างศาสนาทั่วโลก โดยมีบรรดาโหราจารย์เป็นตัวแทน แต่บรรดาโหราจารย์พบพระองค์ก็เพราะได้พบพระนาง ถ้าทั้งสามไม่ยอมเข้ามาหาพระนาง พวกเขาก็คงไม่ได้เข้าถึงพระองค์เลย
สิ่งที่ดำเนินไปเงียบ ๆ ณ บ้านนาซาเร็ธ ได้รับการยืนยันอย่างเปิดเผยที่พระวิหาร พระเยชูเจ้าทรงถวายพระองค์เองแด่พระบิดา แต่ทรงอาศัยวงแขนและพระหัตถ์ของพระนาง เพราะพระกุมารนั้น เป็นลูกของพระนางหากไม่มีพระนาง การถวายนั้นจะมิได้มีขึ้น
เราติดตามต่อไป และได้ทราบจากปีตาจารย์ต่างๆ ว่า พระคริสตเจ้าเสด็จออกเทศนา โดยได้รับความยินยอมจากพระนาง เช่นเดียวกัน คำขอร้องของพระนางที่หมู่บ้านคานา ในแคว้นกาลิลี ก็เป็นการประเดิมสัญญาณสิ่งมหัศจรรย์และพระเกียรติคุณยิ่งใหญ่ พิสูจน์ว่าพระองค์ทรงรับมอบงานจากพระบิดาเจ้า
อาดัมคนใหม่ เอวาคนใหม่ และไม้กางเขน เมื่อฉากสุดท้ายบนเนินเขากัลวารีโอ จบบทบาทอันสยดสยองแห่งการไถ่กู้ให้รอด พระเยซูเจ้าถูกตรึงบนไม้กางเขน พระนางมารีย์ประทับอยู่เชิงกางเขน ไม่ใช่เพียงประสามารดารักอาลัยลูก ไม่ใช่โดยบังเอิญแต่อย่างใด แต่อยู่ที่นั่น ในฐานเช่นเดียวกันเมื่อพระบุตรทรงรับเอากาย พระนางอยู่ที่นั่นเป็นตัวแทนของมนุษยชาติรับรองการถวายพระบุตรเพื่อมนุษย์ พระคริสตเจ้าไม่ได้ถวายพระองค์แด่พระบิดาโดยปราศจากการยินยอมของพระนาง และการถวายนั้นกระทำในนามของลูกทั้งสิ้นของพระนาง กางเขนนั้นจะเป็นเครื่องบูชาของลูก ๆ ของพระนางและของพระองค์ด้วย
“เพราะว่าโดยแท้จริงแล้ว พระนางทนทรมาน และเกือบวายชนม์
หน้า 390 บทที่ 39 จุดสำคัญในการแพร่ธรรมของคณะพลมารีย์
พร้อมกับพระบุตรผู้กำลังรับทนทรมาน” นี่เป็นพระดำรัสของพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ที่ 15 “เช่นเดียวกัน พระนางได้สละสิทธิ์ของมารดาเหนือบุตรของตนเพื่อเห็นแก่ความรอดของชาวเรา ถวายพระบุตรเป็นยัญบูชา เท่าที่จะกระทำได้ เพื่อชดเชยให้คุ้มพระยุติธรรมของพระเป็นเจ้า เหตุนี้เราจึงอาจพูดได้อย่างถูกต้องว่า พระนางได้ไถ่มนุษยชาติพร้อมกับพระคริสตเจ้า”
พระจิตเจ้าทรงปฏิบัติงานด้วยกันกับพระนางเสมอ ให้เราติดตามต่อไปถึงวันสมโภชพระจิตเจ้า โอกาสยิ่งใหญ่ เมื่อพระศาสนจักรเริ่มพันธกิจพระนางมารีย์อยู่ที่นั่นด้วย เนื่องจากคำภาวนาของพระนาง พระจิตเจ้าจึงเสด็จมาเหนือพระกายทิพย์ และประทับอยู่พร้อมด้วย “ความยิ่งใหญ่พระอานุภาพ พระสิริรุ่งโรจน์ ความสูงส่งและความรุ่งเรืองเป็นของพระองค์” (1 พศด 29:11)
พระนางทะนุบำรุงทุกอย่างต่อพระกายทิพย์ของพระคริสตเจ้าเช่นเดียวกับที่เคยทะนุถนอมพระวรกายแท้ของพระองค์ กฎนี้ใช้ได้สำหรับวันสมโภชพระจิตเจ้า อันเป็นเสมือนวันพระคริสตเจ้าแสดงองค์อีกก็ว่าได้พระนางจำเป็นสำหรับวันสมโภชพระจิตเจ้า เช่นเดียวกับวันพระคริสตเจ้าแสดงองค์และจะเป็นเช่นนี้สำหรับทุกสิ่งของพระเป็นเจ้าจนถึงเวลาสิ้นพิภพถ้าตัดพระนางมารีย์ออกเสีย ก็ไม่สอดคล้องกับโครงการของพระเป็นเจ้าไม่ว่าเราจะสวดภาวนา ทำงาน หรือพากเพียรสักเพียงไร ถ้าพระนางไม่อยู่ด้วยพระหรรษทานก็ไม่มีประทานมา นี่เป็นความคิดที่มีผลอย่างท่วมทัน
อาจทำให้เกิดคำถามว่า “เช่นนั้นผู้ที่ไม่รู้จักหรือสบประมาทพระนางก็ไม่ได้รับพระหรรษทานเลยหรือ” เขาได้รับพระหรรษทานต่างๆ ก็จริงอยู่เพราะการไม่รู้จักพระนางอาจให้อภัยได้ เพราะความไม่รู้เรื่องจริงๆ แต่จะมีสิทธิ์เรียกร้องเอาสวรรค์ได้แค่ไหน และเป็นวิธีเหมาะสมแล้วหรือที่จะปฏิบัติ
หน้า 391 บทที่ 39 จุดสำคัญในการแพร่ธรรมของคณะพลมารีย์
ต่อพระนาง ที่ช่วยตนให้บรรลุถึงขั้นนั้น ยิ่งกว่านั้นพระหรรษทานที่มาในกรณีแวดล้อมเช่นนั้น เป็นแต่เศษของที่ควรหลั่งไหลมา ดังนั้นงานในชีวิตของเขาจึงล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง
ต้องมอบตำแหน่งอะไรถวายพระนาง บางคนอาจตกใจกล่าวว่าเป็นการดูหมิ่นพระเป็นเจ้า ในอันที่จะมอบอานุภาพทั่วจักรวาลแก่มนุษย์คนหนึ่งที่ถูกสร้างมา แต่ถ้าพระองค์ทรงพอพระทัยโปรดให้เป็นเช่นนั้นก็จะว่าเป็นการหมิ่นพระเกียรติศักดิ์ของพระองค์ได้อย่างไร
ถ้าใครคนหนึ่งพูดว่า แรงถ่วงของโลกเป็นการบั่นทอนอานุภาพของพระเป็นเจ้า คนนั้นคงเบาปัญญาสักแค่ไหน กฎแรงถ่วงมาจากพระเป็นเจ้าและเป็นไปตามพระประสงค์ในธรรมชาติทั่วไป
เหตุไรจึงคิดว่าเป็นการขาดความเคารพต่อพระเป็นเจ้า หากเราจะถวายเกียรติมากมายแด่พระนางมารีย์ ในเรื่องพระหรรษทานเช่นนี้
หากกฎต่าง ๆ ซึ่งพระองค์ทรงจัดสำหรับธรรมชาติ เชิดชูพระเดชา-นุภาพของพระองค์ ก็ทำไมกฎซึ่งทรงวางไว้สำหรับพระนางมารีย์ จะถูกผันแปรเป็นอื่น ไม่ใช่เทิดทูนให้ปรากฏพระทัยดี และพระสรรพานุภาพดอกหรือ
แม้แต่จะยอมรับแล้วว่า เราต้องรับรู้เกียรติคุณพิเศษของพระนาง-มารีย์ ก็ยังมีปัญหาว่ารับรู้อย่างไร มากน้อยเท่าไร บางคนจะถามว่า “ข้าพเจ้าจะแบ่งปันคำภาวนาแด่พระนาง แด่พระเป็นเจ้า หรือนักบุญต่างๆ อย่างไรปริมาณที่ข้าพเจ้าจะต้องถวายแด่พระนางสักเท่าไรจึงเหมาะสม คือไม่มากหรือไม่น้อยเกินไป” คนอื่นอาจจะโต้แย้งว่า “ข้าพเจ้ามิต้องทิ้งพระเป็นเจ้าหรือ ถ้าต้องวิงวอนต่อพระนางโดยตรง”
ความสงสัยประเภทต่าง ๆ นี้ เกิดจากเอาความคิดประสาโลกไปเทียบกับเรื่องสวรรค์ เขาเหล่านี้ คิดถึงพระบิดา พระบุตร พระจิตเจ้า แม่พระ
หน้า 392 บทที่ 39 จุดสำคัญในการแพร่ธรรมของคณะพลมารีย์
และนักบุญต่าง ๆ ราวกับเป็นรูปปั้นมากมาย เมื่อหันไปหารูปหนึ่ง ก็จำต้องหันหลังให้รูปอื่นๆ
อาจต้องใช้หลาย ๆ ตัวอย่าง เพื่อจะให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ได้ การแก้ที่ง่ายที่สุด และในเวลาเดียวกัน เป็นวิธีศักดิ์สิทธิ์ที่สุด สำหรับแก้ข้อยุ่งยากนี้ คือ แนะนำว่า “ถูกแล้ว ท่านต้องถวายทั้งสิ้นแด่พระเป็นเจ้า แต่จงถวายพร้อมกับพระนางมารีย์เถิด” จะเห็นว่าความศรัทธาภักดีต่อพระนางซึ่งดูภายนอกว่าเกินควรแบบนี้ ห่างพ้นจากการฉงนสนเท่ห์ต่างๆ อันเกิดขึ้นเพราะมัวเป็นห่วงการแบ่งปัน และเกรงจะทำมากเกินไปสำหรับพระนางนั่นเอง
ในกิจการทุกอย่างควรสำนึกถึงการตอบรับของพระนางในวันทูตสวรรค์แจ้งข่าว เหตุผลสนับสนุนการปฏิบัติวิธีนี้ มีอยู่ในตอนทูตสวรรค์แจ้งข่าวนั่นเอง ในขณะนั้นมนุษยชาติทั้งสิ้นร่วมเป็นหนึ่งเดียวกับพระนางมารีย์ซึ่งเป็นผู้แทนมนุษย์ทั้งมวล ถ้อยคำของพระนางรวมถ้อยคำของมวลมนุษย์ด้วยและอาจกล่าวได้ว่า พระนางรวมมวลมนุษย์ไว้ด้วย พระเป็นเจ้าพิเคราะห์มวลมนุษย์ทางพระนาง
บัดนี้ ชีวิตประจำวันของคริสตชนคาทอลิกไม่ใช่อะไรอื่น นอกจากทำให้เกิดพระคริสตเจ้าของเราในอวัยวะของพระกายทิพย์ของพระองค์และการเช่นนี้ไม่อาจบังเกิดผลหากขาดพระนางมารีย์ เพราะนี่เป็นผลส่วนหนึ่งของการเสด็จรับเอากายครั้งกระโน้น พระนางจึงเป็นมารดาที่แท้จริงของคริสตชนคาทอลิก เช่นเดียวกับเป็นพระมารดาของพระคริสตเจ้า การยินยอมและการเอาใจใส่ประสาแม่ของพระนาง ย่อมจำเป็นแก่การเจริญเติบโตขึ้นทุกวันของพระคริสตเจ้าในวิญญาณแต่ละดวง เช่นเดียวกับที่จำเป็น ในขณะรับเอากายครั้งกระโน้นของพระองค์
ทั้งหมดนี้เกี่ยวข้องอะไรบ้างกับคริสตชนคาทอลิก เกี่ยวข้องสำคัญ
หน้า 393 บทที่ 39 จุดสำคัญในการแพร่ธรรมของคณะพลมารีย์
หลายอย่าง อย่างหนึ่งคือ คริสตชนคาทอลิกต้องรับรู้อย่างจริงใจและสิ้นสุดจิตใจ ว่าพระนางมารีย์มีตำแหน่งเป็นผู้แทนของตนในการถวายยัญบูชาเริ่มแต่วันรับสาร และสำเร็จบริบูรณ์บนกางเขน เป็นเหตุให้ได้รับการไถ่บาปคริสตชนคาทอลิกต้องยอมรับทุกอย่างที่พระนางได้กระทำแทนตนแต่ครั้งกระโน้น เพื่อตนจะสามารถชื่นชมต่อผลประโยชน์เหลือล้นที่พระนางนำมาให้นั้นโดยสมบูรณ์และไม่ต้องอับอาย
ก็การยอมรับนั้นเล่า จำต้องมีลักษณะอย่างไร การแสดงด้วยกิจการเพียงครั้งเดียวจะเพียงพอไหม จงหาคำตอบคำถามนี้ด้วยการคำนึงเสมอว่าทุกกิจการในชีวิตของเราแต่ละคน ได้กลายเป็นกิจการของคริสตชนคาทอลิกเพราะว่าได้ผ่านทางพระนางมารีย์ เช่นนี้จะไม่เหมาะสมเหตุผลและถูกต้องหรือ ที่ทุกกิจการควรจะกระทำไปด้วยความสำนึกอย่างสุดซึ้งถึงพระคุณของพระนางเช่นเดียวกัน คำตอบจึงเหมือนกับที่ให้ไว้แล้วคือ “ท่านต้องถวายทุกสิ่งแด่พระนาง”
สุดดีพระเจ้าด้วยกันกับพระนางมารีย์ จงคำนึงถึงพระนางอย่างน้อยสักเล็กน้อยตลอดเวลา จงร่วมความตั้งใจและเจตนากับพระนาง จนกระทั่งทุกกิจการที่ทำตลอดวันก็ดี ทุกคำภาวนาที่กล่าวออกมาก็ดี ท่านกระทำไปพร้อมกับพระนาง ไม่ควรกีดกันพระนางออกจากกิจการใดเลย ไม่ว่าจะวอนขอพระบิดา พระบุตรและพระจิตเจ้า หรือนักบุญองค์ใด จงวิงวอนร่วมเป็นหนึ่งเดียวกับพระนางเสมอ
พระนางซ้ำคำวิงวอนพร้อมกับท่าน ริมฝีปากของพระนางและของท่านกล่าวถ้อยคำพร้อมกัน ไม่ว่าสิ่งใดพระนางก็มีส่วนด้วย ดังนี้ พระนางยิ่งกว่าประทับอยู่ข้าง ๆ ท่านเสียอีก อาจกล่าวได้ว่า พระนางประทับอยู่ในตัวท่าน ชีวิตของท่านคือตัวท่านกับพระนางพร้อมกันถวายทุกสิ่งที่ท่านมีร่วมกันนั้นแด่พระเป็นเจ้า
หน้า 394 บทที่ 39 จุดสำคัญในการแพร่ธรรมของคณะพลมารีย์
ความจงรักภักดีต่อพระนางที่แผ่คลุมงานการของเราทุกอย่างเช่นนี้เป็นการรับรู้อย่างงดงามว่า พระนางได้เคยมีส่วน และทุกวันนี้ยังคงมีสืบไปในงานเกี่ยวกับความรอดของเรา ยิ่งกว่านั้นยังเป็นความจงรักภักดีต่อพระนางที่ง่ายที่สุด อาจแก้ข้อสงสัยของบรรดาที่กล่าวว่า “(ต้องให้พระนาง) มากสักเท่าไร” และบรรดาที่เกรงว่าให้พระนางแล้ว เป็นการแย่งมาจากพระเป็นเจ้าแม้แต่คริสตชนคาทอลิกบางคนกล่าวว่า “มากเกินไปแล้ว”
ถึงกระนั้น ก็ขัดกับหลักเหตุผลตรงไหน และบกพร่องในการนมัสการพระผู้ทรงสรรพานุภาพตรงไหน ความผิดข้อหลังนี้ เหมาะสำหรับผู้ที่กล่าวว่าตนหวงแหนพระเกียรติศักดิ์ของพระเป็นเจ้า แต่กลับไม่ทำตามโครงการของพระองค์ พวกเขาอ้างว่าตนเชิดชูพระคัมภีร์ เป็นพระวาจาศักดิ์สิทธิ์ของพระเป็นเจ้า กระนั้นก็ดียังไม่ยอมฟังคำสดุดี ที่ว่าพระองค์ได้กระทำสิ่งใหญ่หลวงแก่พระนางมารีย์ และชนทุกสมัยจะกล่าวว่าพระนางเป็นสุข (ลก 1:48-49)
สำหรับบรรดาผู้สงสัยเหล่านี้ วิธีที่ดีที่สุดคือพูดกับเขาถึงความศรัทธาภักดีที่ดีบริบูรณ์และอุดมไปด้วยผลนี้ และจะให้พลมารีย์พูดแบบไหนถึงพระนางหากไม่ใช่แบบนี้ หากลดความศรัทธาภักดีลงไป ก็จะเหลือพระนางเป็นเพียงบุคคลลึกลับ หากพระนางเป็นแต่เงา หรือเป็นเพียงความคิดเห็นตามความรู้สึก แน่นอน เมื่อนั้นคริสตชนคาทอลิกไม่ใช่เป็นฝ่ายถูก แต่ผู้ที่ไม่เคารพพระนางนั่นสิจะกลับเป็นฝ่ายถูก ตรงกันข้าม การประกาศสิทธิพิเศษของพระนางและตำแหน่งจำเป็นของพระนางในชีวิตคริสตชนคาทอลิก ก็เป็นที่ท้าทาย อันดวงใจที่พระหรรษทานเคยเข้าครอบครอง จะทำเป็นไม่รู้ไม่ได้หากเขาสำรวมใจพิจารณาบทบาทของพระนาง เขาจะต้องเข้ามากราบแทบเท้าพระนางแน่
หน้า 395 บทที่ 39 จุดสำคัญในการแพร่ธรรมของคณะพลมารีย์
จุดประสงค์ของคณะพลมารีย์คือเป็นเงาสะท้อนให้เห็นพระนางมารีย์(ในกิจการของสมาชิก) ถ้าสัตย์ซื่อต่ออุดมการณ์นี้ คณะพลมารีย์ย่อมมีส่วนในพระเกียรติมงคลของพระนาง ฉายแสงไปยังดวงใจบรรดาอยู่ในความมืดมนของความไม่เชื่อ
“นักบุญอัลเบอร์ตผู้ยิ่งใหญ่ ผู้เป็นอาจารย์เรื่องนามของนักบุญ โธมัส อไควนัสได้กล่าวข้อความน่าชื่นใจในคำอธิบายเกี่ยวกับบททูตสวรรค์แจ้งข่าวในพระวรสารท่านกล่าวว่า พระบุตรของพระนางโปรดประทานให้พระมารดามีความดีเลิศปราศจากขอบเขต เพราะว่าความบริบูรณ์ไร้ขอบเขตในผลไม้นั้น ย่อมแสดงถึงความดีเลิศในต้นไม้ด้วย
ในทางปฏิบัติ พระศาสนจักรคาทอลิกมีความศรัทธาต่อแม่พระ เป็นผู้ทรงอำนาจไร้ขอบเขตในอาณาจักรพระหรรษทาน พระศาสนจักรถือว่าพระนางเป็นมารดาของบรรดาผู้รับการไถ่บาป ก็เพราะพระหรรษทานของพระนางแผ่ทั่วถึงทุกคน ในฐานะทรงเป็นพระมารดาของพระเป็นเจ้า พระนางทรงอานุภาพเหนือธรรมชาติอย่างกว้างขวางที่สุด มีประสิทธิภาพที่สุด ทั่วถ้วนที่สุดทั้งในสวรรค์และบนแผ่นดิน เว้นแต่พระตรีเอกภาพ” (Vonier : The Divine Motherhood)
2. ต้องเพียรทน และอ่อนหวานอย่างไม่รู้สิ้นสุดต่อวิญญาณหาค่ามิได้
ในภารกิจของพลมารีย์ต้องแสดงความสุภาพอยู่เสมอ คุณภาพจำเป็นที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ และเป็นต้นเมื่อทำงานติดต่อกับคนต่ำต้อยและคนบาปนั้น คือต้องมีความเห็นอกเห็นใจ และความอ่อนโยนมิรู้สิ้นสุดในชีวิตของเรามีเรื่องชนิดนี้เกิดขึ้นเสมอ คือว่า เราแน่ใจว่าเรื่องนั้นเรื่องนี้ต้องตัดพ้อต่อว่า หรือพูดกันให้เด็ดขาด แต่เมื่อทำตามความคิดแล้วก็รู้สึกเสียใจภายหลัง อาจจะเป็นได้ เราได้ผิดพลาดไปทุกครั้ง แต่เหตุใดเวลานั้นเราจึงไม่เข้าใจว่าทั้งหมดนี้เกิดจากความไม่สุภาพ เพระคิดว่าเหมาะสมกับ
หน้า 396 บทที่ 39 จุดสำคัญในการแพร่ธรรมของคณะพลมารีย์
เขาแล้ว ที่เกิดจากความแข็งกระด้างและความดื้อรั้นในความผิดที่เราเคยบ่นว่ามาแล้วนั่นเอง
ดอกไม้ ซึ่งน่าจะแย้มกลีบ ภายใต้อิทธิพลความอบอุ่นละมุนละไมของความนิ่มนวลและน่าเวทนาในความทุกข์ของผู้อื่น กลับหุบสนิท เมื่อกระทบอากาศเยือกเย็น (อันได้แก่บรรยากาศแข็งกระด้างของเรา) ตรงกันข้ามบรรยากาศเห็นอกเห็นใจซึ่งพลมารีย์ที่ดีมีประจำ ความเต็มใจรับฟัง และสนใจเต็มที่กับเรื่องที่เล่าให้ฟัง เหล่านี้ใครจะขัดขืนได้ และคนใจแข็งที่สุดในจำพวกน่าสงสารเหล่านี้ ก็ต้องยอมแพ้ ยอมจำนนในเวลาห้านาที ซึ่งแม้การตักเตือนและว่ากล่าวมาเป็นเวลาทั้งปี ก็ไม่อาจทำให้เกิดผลเช่นนี้ได้
คนประเภทนี้ ตามปกติเป็นคนโกรธง่ายอยู่แล้ว ยิ่งไปยั่วเขายิ่งเป็นเหตุทำให้เขาเกิดบาป และดื้อรั้นยิ่งขึ้น ถ้าจะช่วยคนเหล่านี้ ต้องชักจูงอย่างตรงกันข้าม จะทำได้โดยปฏิบัติต่อเขาด้วยความอดกลั้นและเคารพอย่างยิ่ง
พลมารีย์ทุกคนควรลุกร้อนในวิญญาณของตน ด้วยถ้อยคำที่พระ-ศาสนจักรถวายเกียรติแด่พระแม่เจ้าว่า “เพราะความระลึกถึงข้าพเจ้าหวานกว่าน้ำผึ้ง การได้ข้าพเจ้าเป็นมรดกหวานยิ่งกว่ารวงผึ้ง” (บรส 24:20) คนอื่นอาจทำให้ได้ผลดีด้วยวิธีเข้มงวดกว่านี้ แต่สำหรับพลมารีย์มีวิธีเดียวสำหรับทำงานของพระ คือวิธีนุ่มนวลอ่อนหวาน
ขอให้พลมารีย์อย่าทิ้งวิธีนี้ไม่ว่ากรณีใด ๆ หากเขาทิ้ง เขาจะไม่ทำความดีแน่ แต่จะก่อให้เกิดผลร้ายอีกด้วย มีคำกล่าวว่าพระเยชูเจ้าประทานแก่พระมารดา แต่เพียงพระราชัยแห่งความเมตตากรุณา ส่วนพระราชัยแห่งความยุติธรรมนั้น ทรงสงวนไว้สำหรับพระองค์เอง พลมารีย์ที่หลงออกนอกทางของพระนาง ย่อมขาดสัมพันธ์กับพระนางผู้เป็นที่พึ่งสำหรับการงานของตนแล้วจะหวังทำอะไรได้สำเร็จ
หน้า 397 บทที่ 39 จุดสำคัญในการแพร่ธรรมของคณะพลมารีย์
เปรสิเดียมแรกของคณะพลมารีย์ ได้ตั้งชื่อว่า แม่พระมหากรุณาที่เป็นเช่นนี้ เพราะงานแรกที่ทำ คือการเยี่ยมโรงพยาบาลซึ่งอยู่ในความดูแลของคณะภคินีแห่งพระมหากรุณา พลมารีย์คิดว่า เขาเองเลือกนามเช่นนั้นแต่ใครจะสงสัยได้ว่า ที่แท้พระนางพรหมจารีผู้อ่อนหวานเอง โปรดประทานให้ด้วยวิธีนี้ ทรงหมายชี้ให้ความกรุณาเป็นคุณสมบัติเอกประจำวิญญาณพลมารีย์
ตามปกติ ไม่เคยพบว่าพลมรีย์ เพิกเฉยในการติดตามคนบาปบางคนติดตามคนบาปด้วยความอดทนเป็นเวลานาน แต่บางคราวก็ได้ประสบกับคนที่ลองดีกับความเชื่อ ความไว้ใจและความรักของตน คนเหล่านี้ดูเหมือนอยู่นอกสารบบคนบาปปกติ เป็นบุคคลชั่วช้าอย่างยิ่ง เห็นแก่ตัวอย่างมากเต็มไปด้วยความเกลียดชังพระเจ้า หรือมีท่าทีเป็นปฏิปักษ์ต่อศาสนา
ดูเหมือนไม่มีจุดอ่อนสำหรับเข้าติดต่อ ไม่มีแววพระหรรษทานหรือร่องรอยการเอาใจใส่วิญญาณเลย น่าเกลียดน่าชัง จนแทบจะเชื่อว่าแม้พระเป็นเจ้าเอง ก็ทรงรังเกียจเขาพอ ๆ กัน ในท่ามกลางความบาปนี้ จะมีอะไรหรือที่พระองค์ทรงเห็นว่าดี ทำให้พระองค์ทรงปรารถนาอยู่ชิดสนิทกับเขาในศีลมหาสนิท หรืออยากให้เขามีส่วนร่วมบรมสุขกับพระองค์ในสวรรค์
การที่จะเอาชนะความรู้สึกอยากจะปล่อยบุคคลจำพวกนี้ไปตามทางของเขา แทบจะเหลือทนทีเดียว กระนั้นก็ดี พลมารีย์จะปล่อยใจอย่างนั้นไม่ได้ ความนึกคิดประสามนุษย์ผิดทั้งหมด ที่แท้พระเป็นเจ้ายังทรงต้องการวิญญาณคนบาปเหล่านั้น ทรงต้องการอย่างมากและร้อนแรง จนกระทั่งทรงส่งพระบุตรของพระองค์ พระผู้เป็นที่รักของชาวเรา ไปหาวิญญาณนั้นและบัดนี้พระองค์ประทับอยู่กับเขา
ต่อไปนี้เป็นข้อคิดที่จะจูงใจพลมารีย์ให้เกิดความพากเพียรจนถึงที่สุด ซึ่งมงชินญอร์ อาร์ เอช เบนสัน กล่าวอย่างไพเราะว่า “หากคนบาป
หน้า 398 บทที่ 39 จุดสำคัญในการแพร่ธรรมของคณะพลมารีย์
เพียงแต่ขับไล่พระคริสตเจ้าเพราะบาปของตน เราจะทิ้งคนบาปนั้นตามลำพังได้ ทั้งนี้เพราะว่า ตามวาจาที่น่าเกรงขามของนักบุญเปาโล ‘คนบาปยังยึดกุมพระคริสตเจ้าอยู่ เขาเหล่านั้นกำลังตรึงพระบุตรของพระเจ้าบน-ไม้กางเขน และประจานพระองค์อีกครั้งหนึ่ง (ฮบ 6:6) ดังนั้น เราจะปล่อยให้คนจำพวกนี้ทำตามใจเขาไม่ได้”
เป็นความคิดที่น่าเตือนใจสักเพียงไร พระคริสตเจ้า จอมกษัตราธิราชของเรา ตกในเงื้อมมือศัตรู จะต้องชิงชัยกันตลอดชีวิต จะต้องต่อสู้กันอย่างทรหด จะต้องติดตามไม่ละลด เท่าไรก็ยอม ขอแต่ให้วิญญาณนั้นต้องกลับใจก็แล้วกัน เพื่อพระคริสตเจ้าจะได้พ้นจากความทุกข์ทรมาน
ทุกสิ่งตามธรรมชาติจะต้องทำลายให้หมดสิ้นไป ด้วยการแสดงความเชื่ออันร้อนรน จนทำให้แลเน รักและยืนเคียงข้างพระคริสตเจ้าผู้ถูกตรึงในคนบาปนั้น เหล็กกล้ำาถูกหลอมเหลวเพราะเปลวไฟฉันใด หัวใจแสนกระด้างย่อมอ่อนลงเพราะความรักที่ไม่เปลี่ยนแปลงฉันนั้น
มีผู้ถามพลมารีย์ผู้หนึ่งที่มีความชำนาญกว้างขวาง เกี่ยวกับพวกคนบาปขึ้นชื่อในนครใหญ่แห่งหนึ่งว่า เคยพบคนบาปชนิดหมดหวังจริงๆ ไหมในฐานะเป็นพลมารีย์ เขาอิดเอื้อน ไม่อยากยอมรับว่ามีคนชนิดนั้นอยู่ จึงตอบว่า ที่น่าสะพรึงกลัวมีอยู่มาก แต่ที่หมดหวังมีเพียงเล็กน้อย เมื่อถูกถามรุกหนักเข้า ก็ยอมรับว่าเขารู้จักคนหนึ่ง ดูเหมือนหมดหวังดังกล่าว
แต่เย็นวันนั้นเอง เขาต้องตำหนิตัวเองอย่างหนัก บังเอิญแท้ ๆ เขาพบคนที่เอ่ยถึงที่ถนน พอสนทนากันได้สามนาที อัศจรรย์เหลือเกิน คนนั้นได้กลับใจสิ้นเชิงและตลอดไป
เหตุการณ์อย่างหนึ่งในชีวิตของนักบุญมักดาเลน โซฟี บารัต แสดงให้เห็นการติดตามวิญญาณหนึ่งอย่างน่าสมเพชเวทนา พระญาณเอื้ออาทรของพระเป็นเจ้า
หน้า 399 บทที่ 39 จุดสำคัญในการแพร่ธรรมของคณะพลมารีย์
โปรดให้ท่านพบวิญญาณหนึ่ง ในลักษณะแกะหลงฝูง ท่านก็ได้ติดตามเกลี้ยกล่อมด้วยใจรักเป็นเวลา 23 ปี หากไม่ได้ท่าน แกะนี้ไม่มีวันกลับเข้าฝูงเลย
“หญิงนั้นชื่อ จูลี่ มาจากไหนไม่มีใครทราบ หล่อนไม่เคยเล่าเรื่องของตนเหมือนกันสักครั้ง เธอตัวคนเดียว ยากจน คบยาก ถือแต่ใจตนเอง มีคนกล่าวขวัญว่าผิดกับคนอื่น ๆ ตลบตะแลง ทรยศ สารเลว กระเดียดไปข้างเสียจริต แต่ท่านนักบุญเล็งเห็นเพียงว่าเป็นวิญญาณหนึ่ง ซึ่งพระเยซูผู้เลี้ยงที่ดีทรงพบในที่อันเต็มไปด้วยอันตรายและทรงมอบให้ท่านดูแล
ท่านรับอุปการะเธอ ราวกับลูกในไส้ ส่งจดหมายถึงกว่า 200 ฉบับ ต้องลำบากมากเพราะเรื่องของเธอ ท่านได้รับสนองด้วยคำใส่ร้ายและอกตัญญู แต่ท่านนักบุญก็ไม่ได้ทอดทิ้ง อภัยแล้วอภัยอีก และคงหวังอยู่เสมอ … ลี่ตายหลังท่านนักบุญ 7 ปีและได้กลับคืนดีกับพระเป็นเจ้า” (Monahan : Saint Madeleine Sophie Barat)
3. ความกล้าหาญแบบพลมารีย์
แต่ละอาชีพย่อมเรียกร้องความกล้าหาญตามแบบเฉพาะของงาน และถือว่าผู้ใดขาดความกล้าหาญ เป็นคนไม่คู่ควรกับอาชีพนั้น ความต้องการของคณะพลมารีย์คือความกล้าหาญ โดยเฉพาะทางด้านศีลธรรม
งานของคณะเกือบทั้งสิ้น ต้องเข้าชิดบุคคลโดยมุ่งพาเขาให้ใกล้ชิด กับพระเป็นเจ้ายิ่งขึ้น บางครั้งจะต้องประสบกับความขุ่นเคืองหรือเข้าใจผิดซึ่งแสดงออกเป็นรูปต่างๆ ไม่ถึงกับเสียชีวิตเท่ากับอาวุธในการสงครามก็จริงจากประสบการณ์ที่เห็นมา มีน้อยนักที่กล้าเผชิญ เหตุว่าในจำนวนพัน ๆ คนที่กล้าฝ่ากระสุนปืนและลูกระเบิดนั้น แทบจะไม่มีใครเลย ที่ไม่ระย่อต่อการที่อาจจะได้รับคำเยาะเย้ยหรือต่อคำเกรี้ยวกราด คำวิพากษ์วิจารณ์ สีหน้ายิ้มเยาะ หรือกลัวจะถูกกล่าวหาว่าเป็นนักเทศน์หรือเป็นนักบุญลวงโลก
“คนอื่นเขาจะคิดอะไร จะว่าอย่างไร” อาจทำให้หวั่นกลัว แทนที่จะ
หน้า 400 บทที่ 39 จุดสำคัญในการแพร่ธรรมของคณะพลมารีย์
เป็นเช่นนั้น ควรคิดอย่างบรรดาอัครสาวกคือมีความยินดีที่ได้รับเกียรติที่ถูกสบประมาทเพราะพระนามพระเยซูเจ้า (กจ 5:41)
เมื่อปล่อยให้ความกลัว อย่างที่เรียกกันทั่วไปว่า “ความเกรงใจมนุษย์” เข้าครอบงำเสียแล้ว งานทุกชนิดเพื่อวิญญาณก็ด้อยลง กลายเป็นสิ่งไม่สำคัญไปหมด เชิญมองดูรอบ ๆ จะเห็นเรื่องน่าสลดใจเช่นนี้ ทุกแห่งสัตบุรุษเจริญชีวิตท่ามกลางหมู่ชนต่างศาสนา หรือไม่ใช่คาทอลิก หรือเป็นคาทอลิกที่ละทิ้ง ร้อยละห้าของคนเหล่านี้น่าจะเกลี้ยกล่อมได้ อาศัยความพยายามจริงจังแต่แรกที่จะเสนอคำสอนคาทอลิกแก่เขาเป็นรายบุคคลแล้วร้อยละห้า นั่นแหละจะสามารถทำให้คนส่วนใหญ่กลับใจได้
แต่ความพยายามดังกล่าวก็ไม่ได้กระทำ คาทอลิกเหล่านั้นปรารถนาจะทำ แต่ก็ไม่ได้ลงมือทำอะไรเลย เพราะพลังที่จะทำกิจการนั้นเกิดจากความเกรงใจเขาที่แปรรูปไปได้ต่าง ๆ สุดแต่บุคคล เช่นว่า “รู้จักรักษาตัวรอดเป็นยอดดี” “ต้องเคารพต่อความคิดเห็นของผู้อื่น” “ไม่มีหวังจะสำเร็จ” “รอให้คนอื่นนำก่อน” และวลีอื่น ๆ ที่น่าชม แต่ทั้งหมดก็ลงเอยโดยไม่ได้ทำอะไรเลย
ประวัตินักบุญเกรโกรี เธามาเตอร์กัส เล่าว่า เมื่อท่านจวนจะตายได้ถามคนที่อยู่ล้อมรอบว่า คนที่ไม่เชื่อถึงพระเจ้าในเมืองนั้นมีเท่าไร เขาตอบทันทีว่า “สิบเจ็ดคน เท่านั้น”
พระสังฆราชผู้กำลังจะมรณภาพ หยุดคำนึงนิดหน่อยถึงตัวเลขที่บอกแล้วอุทานว่า “แหม ช่างตรงกับจำนวนผู้ที่เชื่อถึงพระเจ้าในเมืองนี้ เมื่อฉันมารับตำแหน่งสังฆราชที่นี่” เมื่อเริ่มงานท่านพบคนมีความเชื่อสิบเจ็ดคนเวลาท่านจากไป เหลือคนที่ไม่เชื่อสิบเจ็ดคนด้วย
อัศจรรย์แท้ กระนั้นก็ดี พระหรรษทานของพระเจ้าก็ไม่ได้หายไป
หน้า 401 บทที่ 39 จุดสำคัญในการแพร่ธรรมของคณะพลมารีย์
ในระหว่างหลาย ๆ ศตวรรษที่ผ่านไป ความเชื่อและความกล้าหาญวันนี้ยังสามารถเรียกร้องพระหรรษทานได้คล่อง เพื่อทำให้เกิดผลเช่นเดียวกันความเชื่อตามปกติยังไม่ขาดหาย แต่ขาดความกล้าหาญ
เมื่อตระหนักเช่นนี้ คณะพลมารีย์ต้องจัดการให้สมาชิกของตนมีความสุขุมต่อความรู้สึกเกรงใจมนุษย์อยู่ ขั้นแรกโดยอาศัยวินัยเข้มแข็งขัดขวางไม่ให้ความเกรงกลัวมนุษย์ปฏิบัติงานได้ ขั้นสอง โดยอบรมพลมารีย์ให้ระวังความเกรงใจมนุษย์ เช่นเดียวกับทหารระวังความขลาด ต้องสอนให้พลมารีย์รู้จักทำงานต่อสู้กับการโจมตีของการเกรงใจมนุษย์นี้ ให้เข้าใจว่าความรัก ความภักดี และระเบียบวินัย จะใช้การไม่ได้เลย หากเขาขาดความเสียสละกล้าหาญ
พลมารีย์ขาดความเข้มแข็งกล้าหาญ สำหรับบุคคลชนิดนี้เราไม่รู้จะพูดอย่างไรถูก นอกจากใช้คำกล่าวของนักบุญเบอร์นาร์ด ที่ว่า “น่าขายหน้าแท้ ๆ ที่เป็นสมาชิกอ่อนแอของประมุขที่รับมงกุฎหนาม”
“ถ้าท่านต่อสู้เฉพาะเมื่อรู้สึกจะต้องสู้ บุญกุศลของท่านจะอยู่ที่ไหน จะเป็นอะไรไปเล่า แม้ท่านไม่มีความกล้าหาญ หากท่านปฏิบัติงานอย่างคนที่กล้าหาญแท้หากท่านรู้สึกเกียจคร้านจนไม่อยากหยิบด้ายเส้นหนึ่ง แต่กระนั้นท่านก็ทำเพื่อความรักต่อพระเยชูเจ้า ท่านก็ได้บุญกุศลมากยิ่งกว่างานใหญ่โตที่ทำโดยมีความศรัทธาเป็นแรงหนุน จงดีใจที่พระคริสตเจ้าโปรดให้ท่านรู้สึกถึงความอ่อนแอของตนเอง เพื่อเป็นโอกาสให้ท่านช่วยวิญญาณจำนวนมากให้รอดพัน” (นักบุญเทเรชา แห่งลิซีเออร์)
4. กิจการอันเป็นสัญลักษณ์
หลักการพื้นฐานของคณะพลมารีย์มีอยู่ว่า เมื่อทำงานใดต้องพยายามทำให้ดีที่สุด ไม่ว่าง่ายหรือยาก ต้องทำด้วยจิตตารมณ์ของพระนางมารีย์
มีเหตุผลอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญมาก คือ ในการทำงานฝ่ายวิญญาณ
หน้า 402 บทที่ 39 จุดสำคัญในการแพร่ธรรมของคณะพลมารีย์
บอกไม่ได้ว่าต้องใช้ความบากบั่นสักเท่าไร เกี่ยวกับวิญญาณ ใครจะบอกได้ว่าถึงจุดไหนจึง “พอ” และแน่นอน เป็นต้น ข้อนี้ใช้สำหรับงานที่ยากลำบากมากยิ่งขึ้น เมื่อเผชิญกับงานยากลำบาก เรามักเห็นความลำบากนั้น ใหญ่โตเกินไปและวนเวียนอยู่ แต่คำว่า “ไม่ไหว” ที่ว่า “ไม่ไหว” นั้น โดยมากไม่ใช่พ้นความสามารถเสียเลยทีเดียว ปรัชญาเมธีกล่าวว่ามีน้อยอย่างที่พ้นวิสัยความหมั่นเพียรและชาญฉลาด แต่เราเองที่วาดภาพว่าไม่สามารถ และทำให้เป็นเช่นนั้นจริง ๆ เพราะท่าทีของเรา
ถ้าต้องเผชิญกับงานที่เป็นไปไม่ได้จริง ๆ กล่าวคือเกินความสามารถของมนุษย์ แน่นอนหากปล่อยตามสติปัญญาของเราเอง เราจะไม่ทำสิ่งที่เราเห็นว่าไร้ประโยชน์ ไม่ว่าในกรณีที่เราคิดเอาเองว่าเหนือความสามารถหรือเป็นเรื่องที่เหนือความสามารถจริง 1 บางทีด้วยวิธีนี้เราอาจจะทิ้งงานที่มีความสำคัญยิ่งที่เราต้องทำโดยไม่ได้แตะต้องเลยถึงสามในสี่ แปลว่างานสงครามอันไพศาลของคริสตชนคาทอลิกได้ลดลงเป็นการซ้อมรบย่อย ๆ ไปแล้ว
ดังนั้นสูตรของพลมารีย์ จึงเรียกร้องความพยายามอย่างเต็มที่ในทุกกรณี ความพยายามคือหลักประการแรก ไม่ว่าสำหรับเรื่องตามธรรมชาติหรือเหนือธรรมชาติ การไม่ยอมรับว่าไม่สำเร็จนั้นจะพาไปสู่ความสำเร็จได้ท่าทีเช่นนี้เท่านั้นสามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้ อาจเกิดผลดียิ่งกว่านั้นได้อีกเพราะว่า การทำเช่นนี้เป็นการยอมรับฟังเสียงพระวรสาร ที่ว่าอาศัยพระเป็นเจ้าแล้วไม่มีอะไรที่เหลือวิสัยเลย เป็นการสนองตอบคำเรียกร้องของพระคริสตเจ้าให้มีความเชื่อชนิดที่เคลื่อนภูเขาลงทะเลได้
การคิดจะชิงชัยฝ่ายวิญญาณ แต่ขณะเดียวกันไม่ได้ปลุกจิตใจของตนให้แน่วแน่ทรหดนั้น เป็นความคิดที่แปลกประหลาดทีเดียว
ชาบซึ้งเช่นนี้แล้ว ความกังวลสำคัญยิ่งของพลมารีย์ คือ ทำให้
หน้า 403 บทที่ 39 จุดสำคัญในการแพร่ธรรมของคณะพลมารีย์
จิตตารมณ์ของสมาชิกเข้มแข็ง
“ทุกสิ่งที่ไม่ไหว แบ่งได้เป็นสามสิบเก้าขั้น แต่ละขั้นทำได้” คำขวัญของคณะพลมารีย์ฟังดูคล้าย ๆ กับขัดแย้งกันในตัวเอง ถึงกระนั้นคิดอย่างนี้แหละสมเหตุผลยิ่ง เป็นรากฐานสร้างสัมฤทธิผล สรุปปรัชญาแห่งความสำเร็จ เหตุว่าจิตใจได้สงสัย นึกว่าไม่ไหวเสียแล้ว ร่างกายก็พลอยหมดแรงไม่ยอมทำอะไรตามไปด้วย ในกรณีเช่นนี้ พออะไรยากเป็นต้องบอกว่า ไม่ไหวไปเสียหมด
ฉะนั้น เมื่อเผชิญกับสิ่งยากๆ เหล่านี้ จงทำตามคำขวัญนั้น คือแบ่งออกเป็นขั้น ๆ แบ่งแล้วชิงชัยทีเดียว กระโดดครั้งเดียวจะให้ถึงขั้นสูงสุดบนบ้านไม่ได้ แต่อาจถึงขั้นนั้นได้ทางบันได ก้าวขึ้นไปทีละขั้น เช่นเดียวกันเมื่อต่อสู้กับความยากลำบาก จงก้าวทีละขั้นเถิด ยังไม่ต้องกังวลถึงขั้นต่อไปดังนั้น จงรวมกำลังจดจ่ออยู่ที่ขั้นแรกก่อน เมื่อสำเร็จแล้ว ไม่เร็วก็ช้า จะมีวิธีก้าวขึ้นไปถึงขั้นที่สองเอง ก้าวขึ้นไปเถอะ แล้วขั้นที่สามจะปรากฏ และอีกขั้นต่อ ๆ ไป หลังจากฟันฝ่าไปได้มากพอใช้ บางทีไม่ครบสามสิบเก้าขั้นตามคำขวัญ ซึ่งใช้จำนวนที่เป็นการเล่นคำมากกว่า เมื่อนั้นท่านจะรู้สึกว่าตนได้ผ่านประตูแห่งความหวังแล้ว
พึงสังเกตว่า ความสำคัญอยู่ที่กิจการ ไม่ว่าจะลำบากถึงขนาคไหนจำต้องลงมือสักขั้นหนึ่ง แน่นอนขั้นนั้นควรให้ได้ผลเท่าที่จะได้ แต่ถ้าก้าวที่ได้ผลไม่ปรากฏ ก็ต้องก้าวขั้นรองลงมา ถ้าขั้นรองก็ยังไม่เห็นก็ต้องแสดงกิจกรรมสักอย่าง แม้ภายนอกดูคล้ายจะไม่มีประโยชน์อะไร อย่างน้อยก็ยังพาให้ใกล้สู่จุดหมาย ท่าทีเด็ดขาดที่คล้ายกับการท้าทายนี้ที่คณะพลมารีย์ชอบขนานนามว่า “กิจการอันเป็นสัญลักษณ์”
ใช้วิธีนี้ สิ่งที่พ้นวิสัยตามความนึกคิดของเราจะหมดสิ้นไป และ
หน้า 404 บทที่ 39 จุดสำคัญในการแพร่ธรรมของคณะพลมารีย์
ตรงกันข้าม หากเรื่องนั้นพ้นวิสัยจริง ๆ กิจการอันเป็นสัญลักษณ์ที่เราพยายามปฏิบัติด้วยจิตตารมณ์แห่งความเชื่อนี้จะเข้ารณรงค์อย่างทรหดและอาจเห็นผล คือกำแพงเมืองเยริโกต้องพังทลายลง
“ในรอบที่เจ็ด บรรดาสมณะเป๋าแตร และโยชูวาสั่งประชากรว่า ‘จงตะโกนร้องออกศึก เพราะพระยาห์เวห์ทรงมอบเมืองแก่ท่านแล้ว .. ‘ ประชาชนตะโกนร้องออกศึก เสียงแตรดังขึ้น เมื่อประชากรได้ยินเสียงแตร เขาตะโกนร้องออกศึกดังกึกก้องกำแพงเมืองก็พังทลายลง ประชากรบุกเข้าเมือง แต่ละคนวิ่งตรงไปข้างหน้า และเขายึดเมืองได้” (ยชว 6:16-20)
5. ต้องปฏิบัติงานอย่างเข้มแข็ง
คณะพลมารีย์ขาดจิตตารมณ์ของตน ก็เหมือนกับร่างกายที่ไร้ชีวิตจิตตารมณ์ของคณะ ที่เปลี่ยนแปลงสมาชิกได้มากมาย ไม่ใช่ลอยอยู่ในอากาศรอให้หายใจเข้าไป จิตตารมณ์สำคัญยิ่งนั้น เป็นผลิตผลของพระหรรษทานที่เกิดจากความพยายาม ขึ้นอยู่กับงานที่ทำ และวิธีที่พลมารีย์แต่ละคนนำออกใช้ทำงานนั้น หากขาดความบากบั่นจิตตารมณ์นี้จะมอดดับลงได้
เนื่องจาก (ก) รีรอไม่เริ่มงานเพราะเห็นว่ายาก
หรือ (ข) ขาดความสามารถ ไม่เห็นงานที่มีอยู่มากมายแม้ในสถานที่เล็กที่สุด
แต่เป็นต้น (ค) เนื่องจากกลัวต่อคำวิพากษ์วิจารณ์ จึงอาจมีความรู้สึกพยายามจะเลี่ยงงานยากหรือมอบให้สมาชิกทำแต่งานที่ไม่สำคัญ
แต่ขอเตือนทุกคนว่ากลไกคณะพลมารีย์มีจุดหมายที่จะควบคุมดูแลงานอันมีสาระจริงจัง
ฉะนั้น จึงไม่มีเหตุผลที่จะจัดตั้งระบบพลมารีย์ในที่แห่งใดเลยหากไม่ได้จัดการให้ทำงานมีสาระสำคัญดังกล่าว กองทัพที่ไม่ยอมสู้รบ
หน้า 405 บทที่ 39 จุดสำคัญในการแพร่ธรรมของคณะพลมารีย์
ก็เสียชื่อเปล่า ๆ เช่นเดียวกันสมาชิกเปรสิเดียมใด ไม่ทำงานสำคัญชนิดใดชนิดหนึ่งก็ไม่มีสิทธิ์ได้ชื่อว่าเป็นพลมารีย์ของพระนางมารีย์ ขอย้ำอีกว่ากิจศรัทธา ไม่เพียงพอนับเป็นงานมีสาระตามข้อผูกมัดของคณะ
เปรสิเดียมที่เย็นเฉย ไม่ใช่เพียงไม่ซื่อสัตย์ต่อจุดมุ่งหมายของคณะพลมารีย์ที่แพร่ธรรมอย่างเอาการเอางานเท่านั้น แต่ยังอยุติธรรมอย่างหนักต่อคณะด้วย ทำให้คนทั่วไปเข้าใจว่า คณะไม่เหมาะสำหรับทำงานบางอย่างซึ่งที่แท้ในกรณีนี้ พลมารีย์มีความสามารถอย่างแท้จริง แต่ไม่ได้นำมาทำงานนั้นต่างหาก
6. การควบคุมงานโดยเปรสิเดียม
เปรสิเดียมต้องเป็นผู้มอบหมาย สมาชิกไม่มีอิสระจะทำงานใด ๆที่นึกว่าเหมาะ ในนามของคณะพลมารีย์ อย่างไรก็ตาม กฎเกณฑ์นี้ไม่ควรแปลความอย่างเคร่งครัด จนกีดกันสมาชิกไม่ให้ทำความดีตามโอกาสที่เขาพบที่จริงพลมารีย์ต้องสำนึกตนว่าอยู่ในหน้าที่เสมอ งานที่พบเข้าโดยบังเอิญก็สามารถรายงานเสนอต่อที่ประชุมคราวต่อไปก็ได้ และถ้าเปรสิเดียมอนุมัติก็เป็นงานพลมารีย์ตามปกติ
แต่ในเรื่องเช่นนี้ เปรสิเดียมควรระมัดระวัง หลายคนที่มีน้ำใจดีมักมีความโน้มเอียงที่จะทำอะไรเสียทุกอย่าง นอกจากสิ่งที่ควรทำ รับทำงานทุกแห่ง แทนที่จะประจำอยู่กับงานที่ตนได้รับมอบหมาย บุคคลเหล่านี้ให้โทษยิ่งกว่าให้คุณ หากไม่เหนี่ยวรั้งไว้ จะพาให้วินัยของคณะพลมารีย์เสื่อมเสียได้มาก
ถ้าความรู้สึกรับผิดชอบที่ตนมีต่อเปรสิเดียม คือคิดว่า ตนเป็นดังผู้ถือสารจากเปรสิเดียมด้วยคำสั่งที่แน่นอน และกลับมารายงานให้เปรสิเดียมทราบถึงการปฏิบัติงานที่ตนได้รับมอบไป ถ้าความรู้สึกรับผิดชอบนี้สั่นคลอน
หน้า 406 บทที่ 39 จุดสำคัญในการแพร่ธรรมของคณะพลมารีย์
ในไม่ช้าก็จะหยุดทำงาน หรือมิฉะนั้นก็เป็นบ่อเกิดแห่งภัยพิบัติแก่คณะพลมารีย์ หากความผิดพลาดอันหนักเป็นผลมาจากการที่ปล่อยให้ทำงานโดยอิสระดังกล่าวแล้ว เป็นคณะพลมารีย์ที่ควรจะถูกตำหนิ แม้ความผิดนั้นเกิดจากสมาชิกที่ไม่เคารพต่อระเบียบของคณะพลมารีย์ก็ตาม
เมื่อพลมารีย์ที่กระตือรือร้นเป็นพิเศษนี้บ่นว่าความพยายามทำความดีต่าง ๆ ของตนถูกกีดกันจากวินัยที่มีมากเกินไป เรื่องนี้ควรพิจารณาตามหลักที่กล่าวข้างต้น แต่ก็จำเป็นต้องระวังเสียงบ่นที่มีเหตุผลอันถูกต้องจุดประสงค์สำคัญที่สุดของวินัย คือ ส่งเสริมคนให้รุดหน้า ไม่ใช่ถอยหลัง แต่บางคนไม่รู้จักการใช้อำนาจหน้าที่ นอกจากปฏิเสธหรือคอยห้ามผู้อื่นเท่านั้น
7. เยี่ยมเป็นคู่ ช่วยคุ้มกันวินัยของพลมารีย์
การเยี่ยมควรไปเป็นคู่ ที่กำหนดเช่นนี้ คณะพลมารีย์มีความมุ่งหมายดังนี้คือ ข้อแรก เพื่อความปลอดภัยของพลมารีย์ ตามปกติไม่ใช่เพราะออกไปนอกถนน แต่ไปเยี่ยมบ้านนั่นแหละจึงต้องการความระมัดระวัง
ข้อสอง การเยี่ยมเป็นคู่เป็นโอกาสให้กำลังใจแก่กันและกัน ลดความรู้สึกเกรงใจ หรือความกลัวเมื่อต้องเยี่ยมสถานที่ หรือบ้านที่ยุ่งยากซึ่งเกรงว่าจะได้รับการต้อนรับอย่างเย็นชา
ข้อสาม เป็นการเกณฑ์ให้ทำตามวินัย เป็นประกันเรื่องตรงต่อเวลาและซื่อสัตย์ ในการเยี่ยมตามกำหนด หากปล่อยตามลำพังคนเดียว อาจจะเปลี่ยนเวลาหรือเปลี่ยนแปลงการเยี่ยมประจำสัปดาห์ได้ง่าย ๆ ความเหนื่อยล้าดินฟ้าอากาศวิปริต การลังเลใจที่จะต้องเยี่ยมรายที่น่าเบื่อหน่าย เหล่านี้มักเกิดขึ้นได้ง่าย ถ้าไม่ได้นัดไว้กับผู้อื่น ผลก็คือ การเยี่ยมไม่เป็นระเบียบไม่สม่ำเสมอ ไม่ได้ผล และในที่สุดก็ทอดทิ้งทั้งหมด
เมื่อมีพลมารีย์ผิดนัดกับคู่เยี่ยม ตามปกติให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้ คือ
หน้า 407 บทที่ 39 จุดสำคัญในการแพร่ธรรมของคณะพลมารีย์
ถ้างานเยี่ยมนั้น เป็นโรงพยาบาล หรืองานอื่นซึ่งไม่ต้องเสี่ยงภัยใด ๆ แน่นอนให้พลมารีย์ผู้มานั้นไปทำโดยลำพังได้ ตรงกันข้าม ถ้าเป็นงานที่พลมารีย์ต้องประสบกับเรื่องยุ่งยาก หรือในบริเวณที่มีชื่อเสียงไม่ค่อยดี พลมารีย์ต้องงดการเยี่ยมนั้นเสีย พึงเข้าใจว่าการอนุญาตให้เยี่ยมโดยลำพังดังกล่าว เป็นเรื่องยกเว้นพิเศษ การผิดนัดกับคู่เยี่ยมซ้ำแล้วช้ำอีก เป็นเรื่องที่เปรสิเดียมพึงระวังให้มาก
การให้เยี่ยมเป็นคู่นี้โปรดอย่าเข้าใจว่าทั้งสองต้องพูดพร้อมกันกับบุคคลเดียวกัน เช่น ไปเยี่ยมคนไข้ในโรงพยาบาลตึกใด พลมารีย์ก็แยกไปพูดจากับคนไข้ เช่นนี้ ถูกระเบียบและน่าจะกระทำด้วย
8. ต้องรักษาลักษณะแนบเนียนภายในของงานพลมารีย์
คณะพลมารีย์ต้องระวังอันตรายที่จะตกเป็นเครื่องมือของนักปฏิรูปสังคมที่มีใจลุกร้อนเกินไป งานของคณะพลมารีย์มีคุณลักษณะสำคัญคือเป็นงานที่สุภาพเรียบง่าย เริ่มจากดวงใจของพลมารีย์แต่ละคน เจริญขึ้นเป็นจิตตารมณ์ลุกร้อน และความรักต่อเพื่อนมนุษย์ อาศัยการติดต่อกับผู้อื่นเป็นรายบุคคลโดยตรงและพากเพียร พลมารีย์พยายามยกระดับจิตใจของชุมชนทั้งหมดขึ้น
งานนี้กระทำไปเงียบ ๆ มุ่งให้หลักธรรมคำสอนคาทอลิก และความรู้สึกแบบคาทอลิก ซึมซาบเข้าไปในชุมชน มากยิ่งกว่าปราบความชั่วร้ายเพื่อให้ความชั่วร้ายหมดสิ้นไปเอง เนื่องจากขาดเนื้อดินดีจะงอกงามไม่ได้ เมื่อใดการดำเนินชีวิตและถือทัศนะคติแบบคาทอลิกแท้ได้เจริญอย่างมั่นคงในหมู่ประชาชน แม้จะเป็นไปอย่างช้า ๆ ก็ตาม เมื่อนั้นคณะพลมารีย์จึงจะถือว่าตนเองได้ชัยชนะอย่างแน่แท้แล้ว
ข้อสำคัญคือลักษณะแนบเนียนภายในของการเยี่ยมแบบคณะ
หน้า 408 บทที่ 39 จุดสำคัญในการแพร่ธรรมของคณะพลมารีย์
พลมารีย์นั้นต้องพิทักษ์รักษากันอย่างหวงแหน ถ้าพลมารีย์ได้ชื่อว่าเป็นผู้คอยคันหาความผิดออกมาเปิดเผย ก็จะรักษาลักษณะนี้ไว้ไม่ได้ เมื่อนั้นการเยี่ยมของพลมารีย์ไปตามบ้านเรือน เช่นเดียวกับความเคลื่อนไหวอื่น ๆ จะถูกจับตาสังเกตด้วยความสงสัย แทนที่จะได้รับความเป็นเพื่อน ไว้วางใจได้ ก็จะระแวงว่า พลมารีย์ออกสืบสาวราวเรื่องเพื่อคณะของตน ไปปรากฏตัวที่ไหนคงไม่พ้นถูกรังเกียจและนี่ก็หมายถึงจุดจบของคุณประโยชน์ที่แท้ของคณะพลมารีย์
ฉะนั้น บรรดาผู้มีหน้าที่ดำเนินงานคณะพลมารีย์ ควรไตร่ตรองว่าเมื่อนำชื่อคณะพลมารีย์ไปเกี่ยวข้องกับงานอื่น ๆ ซึ่งแม้จะดีในตัวเอง แต่ใช้วิธีการที่แตกต่างจากคณะพลมารีย์ มีองค์กรพิเศษต่าง ๆ ตั้งขึ้นเพื่อต่อสู้กับความชั่วร้ายในปัจจุบันแล้ว เมื่อถึงคราวจำเป็นที่องค์กรต้องพึ่งพิงพลมารีย์และการสนับสนุนตามความสามารถของพลมารีย์ ขอให้คณะพลมารีย์ซื่อสัตย์ต่อระเบียบวินัยและวิธีการทำงานของพลมารีย์
9. ปรารถนาให้เยี่ยมทีละบ้านต่อกันไป
การเยี่ยมของคณะพลมารีย์ ควรกระทำเท่าที่จะทำได้ จากบ้านหนึ่งไปยังอีกบ้านหนึ่งติดต่อกัน โดยไม่ต้องคำนึงถึงบุคคลต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในบ้านนั้น หาไม่บางคนจะคิดว่าตนถูกเพ่งเล็งโดยเฉพาะและอาจผิดใจกันได้
แม้แต่บ้านที่ไม่ใช่คาทอลิกก็ไม่ควรข้ามไป เว้นแต่มีเหตุผลสำคัญ เช่น มีการต่อต้านอย่างเด่นชัดก็ไม่ควรเยี่ยม ไม่ควรเข้าติดต่อเพื่อโจมตีเรื่องศาสนา แต่มุ่งสร้างมิตรภาพ ควรอธิบายให้ทราบว่า ที่มาเยี่ยมทุกบ้านนี้ก็เพื่อให้รู้จักคุ้นเคยกับคนในบ้านนั้น ๆ วิธีนี้จะจูงใจให้หลายบ้านที่ไม่ใช่คาทอลิกต้อนรับด้วยไมตรี จะเป็นกรณีหนึ่งที่พระญาณเอื้ออาทร อาจใช้เป็นเครื่องมือสำหรับประทานพระหรรษทานแก่บรรดา “แกะตัวอื่น ๆ” ซึ่งทรงปรารถนาให้เข้ามาอยู่ในคอกเดียวกัน
หน้า 409 บทที่ 39 จุดสำคัญในการแพร่ธรรมของคณะพลมารีย์
มิตรภาพต่อชาวคาทอลิกที่มีจิตใจเป็นผู้แพร่ธรรมที่แท้ จะช่วยขจัดอคติต่างๆ ได้มากมาย และเมื่อเขานับถือชาวคาทอลิกแล้ว ก็ไม่เป็นปัญหาที่จะเคารพต่อพระศาสนจักรคาทอลิกด้วย เขาคงจะสอบถามเรื่องราวต่างๆขอหนังสือ และถัดไปสิ่งสำคัญกว่านี้อาจจะตามมาด้วย
10. ห้ามช่วยเหลือทางวัตถุ
ห้ามให้ความช่วยเหลือทางวัตถุ แม้ในสิ่งเล็กน้อยทีเดียว และจากประสบการณ์แสดงว่า จำเป็นต้องกล่าวว่า เสื้อผ้าเก่าๆ ก็นับอยู่ในข่ายต้องห้ามด้วย
ในการห้ามเช่นนี้ คณะพลมารีย์ไม่ได้สบประมาทการให้ปันวัตถุบรรเทาทุกข์เลย คณะเพียงแต่ประกาศว่า จะทำเช่นนั้นไม่ได้สำหรับพลมารีย์การทำทานช่วยคนยากจนเป็นงานกุศล หากทำเพราะเห็นแก่พระเป็นเจ้าจริง ๆ เป็นสิ่งสูงส่ง สมาคมสำคัญหลายคณะวางระบบอยู่บนหลักการนี้ ที่เด่นมาก
คือสมาคมนักบุญวินเซนต์เดอปอล ซึ่งคณะพลมารีย์ยินดีประกาศว่า ได้ติดบุญคุณมากมายในเรื่องแบบอย่างและจิตตารมณ์ของสมาคมนี้ มากจนอาจกล่าวได้ว่ารากฐานของพลมารีย์ มาจากสมาคมนักบุญวินเชนต์เดอปอลนั่นเอง แต่พลมารีย์หมายมุ่งไปยังหน้าที่อีกด้านหนึ่ง ระบบพลมารีย์ตั้งอยู่บนหลักการนำความดีงามฝ่ายวิญญาณไปสู่พลเมืองทุกคน โครงการของพลมารีย์กับโครงการให้วัตถุบรรเทาทุกข์ จึงเข้ากันไม่ได้ในทางปฏิบัติ ที่ไม่ให้ทำดังนี้เพราะ
(ก) ผู้ที่ไม่ต้องการบรรเทาทุกข์ มักจะไม่ยินดีต้อนรับตัวแทนขององค์กรประเภทนั้นที่มาเยี่ยม เขากลัวว่าการเยี่ยมเช่นนั้น ในสายตาของเพื่อนบ้าน จะเห็นว่าเป็นการนำสิ่งของมาช่วย ดังนั้นเปรสิเดียมที่ได้ชื่อว่าให้สิ่งของ ทำให้งานของตนแคบลง การช่วยเหลือทางวัตถุ สำหรับสมาคมอื่นอาจเป็นกุญแจสำหรับเปิด แต่สำหรับพลมารีย์กลับเป็นกุญแจปิดตนเอง
หน้า 410 บทที่ 39 จุดสำคัญในการแพร่ธรรมของคณะพลมารีย์
(ข) บรรดาผู้ที่หวังจะได้รับความช่วยเหลือทางวัตถุ เมื่อผิดหวังก็ขุ่นเคืองใจและตัดความสัมพันธ์กับพลมารีย์
(ค) แม้ในระหว่างผู้ที่ต้องการการบรรเทาทุกข์ พลมารีย์ก็ไม่อาจแผ่ความดีฝ่ายวิญญาณสำเร็จอาศัยการให้อย่างเดียว ขอให้พลมารีย์มอบเรื่องนี้เป็นหน้าที่ของสมาคมอื่น ซึ่งมีหน้าที่ทำงานนี้โดยเฉพาะและมีพระหรรษทานเฉพาะสำหรับงานนั้น แน่นอนพลมารีย์จะไม่มีพระหรรษทานสำหรับเรื่องนี้ เพราะทำเช่นนั้นเป็นการขัดกฎบังคับ เปรสิเดียมที่ผิดพลาดในเรื่องนี้ จะประสบแต่ความยุ่งยากอย่างหนัก และจะมีแต่นำความเศร้าสลดมาสู่คณะพลมารีย์
พลมารีย์เป็นรายบุคคลอาจอ้างว่า เป็นหน้าที่ของแต่ละคนพึงทำบุญตามลำพัง และอธิบายว่า ตนไม่ประสงค์ช่วยเหลือในฐานะพลมารีย์ แต่ให้เป็นการส่วนตัว หากพิจารณาคำอ้างนี้ให้ดี จะเห็นว่าต้องเกิดความยุ่งยากอะไรตามมาอย่างแน่นอนบ้าง สมมุติเรื่องที่ปกติอาจจะเกิดขึ้นว่า คนหนึ่งก่อนเข้าเป็นพลมารีย์ ไม่เคยช่วยเหลือทางวัตถุ ในการไปเยี่ยมตามบ้านเขาได้พบคนที่ตนเนว่ากำลังขัดสนไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง วันไปเยี่ยมเป็นทางการของคณะ เขางดเว้นไม่ได้ให้อะไร แต่ในวันอื่นต่อมา “ในฐานะส่วนตัว” เขาก็ได้ให้
แน่นอนเขาละเมิดกฎของคณะ เพราะให้ความช่วยเหลือทางวัตถุและแน่นอนการไปเยี่ยมสองแบบนี้ทำให้เกิดการเข้าใจผิด เขาไปเยี่ยมครั้งแรกในฐานะเป็นพลมารีย์ เขารู้เรื่องราวต่าง ๆ ในฐานะพลมารีย์ ผู้รับข้าวของก็รู้ว่าเขาเป็นพลมารีย์ แน่นอน คนเหล่านั้นแยกแยะไม่ออกว่า พลมารีย์และบุคคลส่วนตัวนั้นแตกต่างกันอย่างไร คงเห็นอยู่นั่นเองว่า เป็นการบรรเทาทุกข์ทางวัตถุของพลมารีย์ และพลมารีย์ก็เห็นพ้องว่า คนเหล่านั้นตัดสินถูกแล้ว
หน้า 411 บทที่ 39 จุดสำคัญในการแพร่ธรรมของคณะพลมารีย์
ขอให้จำไว้ว่า การที่สมาชิกคนหนึ่งไม่นบนอบ หรือขาดความระมัด-ระวังในด้านนี้ อาจทำให้ทั้งเปรสิเดียมเสียไปด้วย จะให้ได้ชื่อว่าเป็นการช่วยทางวัตถุนั้นไม่ยากเลย ไม่ต้องการถึงร้อยราย สักสองรายก็พอแล้ว
ถ้าพลมารีย์คนหนึ่ง จะเนื่องจากเหตุผลใดก็ตาม ตั้งใจจะช่วยคนจนรายหนึ่ง จะให้พลมารีย์ทั้งคณะเกี่ยวข้องทำไม จะมอบให้เพื่อนหรือตัวแทนใดที่เหมาะสมนำไปให้โดยสงวนนามไม่ดีกว่าหรือ หากไม่เต็มใจดังกล่าวในกรณีเช่นนี้ ย่อมบ่งว่า พลมารีย์ผู้นั้น แสวงบำเหน็จฝ่ายโลกยิ่งกว่าฝ่ายสวรรค์สำหรับการแสดงกิจเมตตานั้น
อย่างไรก็ดี พลมารีย์จะไม่เมินเฉยต่อความขาดแคลนทางวัตถุ ซึ่งจะพบเห็นอย่างแน่นอนในการเยี่ยม เขาควรเสนอเรื่องแก่องค์การอื่นที่เหมาะสำหรับการช่วยเหลือชนิดนั้น แต่เมื่อพยายามจริง ๆ แล้ว ยังหาใครช่วยเหลือไม่ได้ พลมารีย์ก็ยังยื่นมือไปช่วยเขาไม่ได้อยู่นั่นเอง เพราะนั่นไม่ใช่งานของคณะ และเป็นสิ่งเหลือวิสัยที่จะนึกคิดว่า ในสังคมสมัยใหม่ ไม่มีบุคคล หรือหมู่คณะใดเลยที่สามารถช่วยบรรเทาทุกข์ได้ในกรณีเช่นนี้
“ไม่ต้องสงสัย ความเมตตาที่เราแสดงต่อผู้ยากจน โดยช่วยเหลือเขาในยามขาดแคลน ย่อมเป็นที่โปรดปรานของพระเป็นเจ้า แต่ใครจะปฏิเสธได้ว่ามีตำแหน่งสูงกว่านั้นอีก สำหรับผู้มีใจลุกร้อน พยายามสั่งสอนและตักเตือนผู้อื่น อันเป็นการยังประโยชน์แก่วิญญาณ ไม่ใช่เพียงคุณประโยชน์ฝ่ายโลก แต่เป็นคุณประโยชน์อันจะดำรงตลอดนิรันดร” (AN)
เนื่องจากกฎข้อนี้ได้รับการตีความแคบเกินไป จึงจำเป็นต้องยืนยันว่า งานบริการต่างๆ ไม่ถือเป็นการช่วยเหลือทางวัตถุ ตรงกันข้ามขอแนะนำให้ปฏิบัติด้วย จึงไม่มีใครกล่าวหาพลมารีย์ว่าดีแต่พูดเรื่องทางศาสนาและไม่สนใจไยดีกับความต้องการของประชาชน พลมารีย์ควรพิสูจน์ถึงความจริงใจ
หน้า 412 บทที่ 39 จุดสำคัญในการแพร่ธรรมของคณะพลมารีย์
ในคำพูดของตน โดยทุ่มเทความรักและให้บริการในทุกรูปแบบที่อนุญาต
11. การเรี่ยไรเงิน
คล้ายกันมากกับการช่วยเหลือทางวัตถุและต้องห้ามเช่นเดียวกันคือ ใช้การเยี่ยมตามปกติของพลมารีย์ เพื่อประโยชน์ในการเรี่ยไรเงิน ทำเช่นนั้นอาจได้เงินแน่นอนก็จริง แต่เสียบรรยากาศทำประโยชน์ฝ่ายวิญญาณและเป็นตัวอย่างดีเลิศของนโยบาย ที่เรียกว่า “เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย”
12. ห้ามการเมืองในคณะพลมารีย์
ทุกสาขาคณะพลมารีย์ ต้องไม่ยอมให้ผู้ใดใช้อิทธิพล เพื่อจุดประสงค์ใด ๆ ทางการเมือง หรือเพื่อช่วยพรรคการเมืองใดๆ
13. แสวงหาและสนทนากับทุกคน
แก่นแท้ของงานทางพระศาสนา คือ ปรารถนาเข้าถึงทุกบุคคล ให้ทุกคนเข้าสู่ขอบข่ายการแพร่ธรรม ไม่ใช่เฉพาะแต่ผู้ที่เย็นเฉย คริสตชนดีมีความเชื่อ และผู้ที่ยากจน หรือต่ำต้อย แต่ครอบคลุมตลอดหมดทุกคน
โดยเฉพาะ ยิ่งมีผู้ที่เชื่อผิด ๆ หรือผู้ที่ไม่มีความเชื่อมากเท่าไร ก็ยิ่งกระตุ้นเตือนพลมารีย์ให้เพิ่มความพยายามยิ่งขึ้นตามส่วน แม้จะมีผู้ทอดทิ้งพระศาสนาชนิดที่หมดหวังสักเพียงไร พลมารีย์ก็ไม่ควรจะท้อถอย แม้ปรากฎภายนอกว่ามีผู้ถูกทอดทิ้งและหมดหวังอย่างสิ้นเชิงแล้วก็ตาม แต่จะไม่มีสักคนเดียวที่ความเชื่อ ความกล้าหาญและความเพียรทนของพลมารีย์จะทำให้เกิดผลไม่ได้
อีกประการหนึ่ง จะเป็นการจำกัดขอบเขตภารกิจของคณะแคบเกินไปหากมัวสนใจแต่พวกที่เลวร้าย ผลมารีย์ไม่ควรเพลินเสาะหาเฉพาะแกะที่หลงฝูงหรือตกในมือผู้ร้าย จนลืมว่างานชนิดอื่นยังมีอีกมาก คือ กระตุ้นคนอีก
หน้า 413 บทที่ 39 จุดสำคัญในการแพร่ธรรมของคณะพลมารีย์
จำนวนมาก ซึ่งแม้พระเป็นเจ้าทรงเรียกเขาให้เป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ ยังดำเนินชีวิตเพียงปฏิบัติหน้าที่เฉพาะข้อสำคัญ ๆ เท่านั้น บุคคลที่พอใจทำเพียงข้อผูกมัดเช่นนี้ กว่าจะชักนำให้หันเข้าดำเนินงานเลื่อมใสร้อนรนได้สำเร็จ ต้องอาศัยการหมั่นไปเยี่ยมหลายครั้งติดต่อกันด้วยความพากเพียรมาก
แต่ถ้า ตามที่คุณพ่อเฟเบอร์กล่าวว่า นักบุญองค์หนึ่งมีค่าเท่ากับคริสตชนธรรมดาหนึ่งล้านคน และถ้าตามที่นักบุญเทเรชา แห่งอาวิลา กล่าวว่าวิญญาณหนึ่ง มิใช่เป็นนักบุญแล้ว แต่กำลังแสวงหาความศักดิ์สิทธิ์อยู่ ก็มีคุณค่าปรากฎเฉพาะพระพักตร์พระเป็นเจ้ายิ่งกว่าวิญญาณนับพันที่เจริญชีวิตแบบธรรมดา การช่วยคนให้พ้นจากชีวิตจำเจ หันมาดำเนินชีวิตศักดิ์สิทธิ์ก้าวแรก ๆ สำเร็จ เป็นที่น่าปลื้มใจสักเพียงไร
14. ไม่มีใครเลวเกินจนแก้ไม่ได้และไม่มีดีจนเกินไป
บุคคลที่พลมารีย์เข้าเยี่ยมแล้ว ไม่ควรมีแม้แต่คนเดียวที่ยังอยู่ในลักษณะเดิมเหมือนเมื่อพบครั้งแรก ไม่มีสักคนเดียวที่ดีจนไม่อาจนำมาใกล้ชิดพระเป็นเจ้ามากขึ้นอีกได้ บางครั้งพลมารีย์รู้สึกตัวว่าได้พบผู้ที่ศักดิ์สิทธิ์กว่าตนมาก แต่แม้เช่นนั้นก็ไม่ควรสงสัยตนเองว่าจะไม่สามารถทำความดีใหญ่หลวงได้ ตนยังเผยแผ่ความคิดใหม่ การอุทิศตนใหม่ ๆ ได้ ยังทำให้ความเคยชินกลับมีชีวิตชีวาได้ แน่นอนชีวิตปฏิบัติการเผยแผ่ธรรมอย่างร่าเริงของพลมารีย์คงเป็นตัวอย่างชักจูงผู้อื่นด้วย ดังนั้นไม่ว่าพลมารีย์กำลังติดต่อกับนักบุญหรือคนบาปก็ตาม ขอให้ทำงนสืบไปโดยมั่นใจ รู้สำนึกว่าตนอยู่ที่นั้นไม่ใช้ในสภาพคนขัดสนฝ่ายวิญญาณ แต่ในฐานะตัวแทนของคณะพลมารีย์ของพระนางมารีย์ “อันเป็นหนึ่งเดียวกับเจ้าอาวาสและพระสังฆราช ตลอดจนสมเด็จพระสันตะปาปาและพระคริสตเจ้า” (พระสันตะปาปาปีโอ ที่ 11 พระ-สมณสาส์น ลงวันที่ 23 ธันวาคม 1922)
หน้า 414 บทที่ 39 จุดสำคัญในการแพร่ธรรมของคณะพลมารีย์
15. การแพร่ธรรมอย่างผิวเผินมีค่าน้อย
จุดประสงค์ของแต่ละเรื่อง คือ ต้องให้ได้ผลดีแน่นอนและมากมายความดียิ่งใหญ่ต้องให้บังเกิดแก่คนจำนวนมากถ้าทำได้ ถ้าไม่ได้ ความดียิ่งใหญ่นั้นต้องให้บังเกิดแก่คนจำนวนน้อยลงบ้าง แต่อย่าพอใจทำความดีเล็กน้อยแก่คนจำนวนมากเป็นอันขาด
พลมารีย์ที่ดำเนินตามวิธีหลังนี้ ทำความผิดอยู่อย่างหนึ่ง คือถือว่างานที่เขาทำนั้นสำเร็จแล้ว ซึ่งที่จริงตามความคิดของคณะพลมารีย์ เป็นงานซึ่งเริ่มต้นได้เพียงนิดเดียว เช่นนี้จะทำให้คนอื่นไม่กล้าทำต่อไปอีก อันตรายอีกอย่าง คือ เวลาเกิดความท้อถอย จะเป็นว่าความดีเล็กน้อยที่ทำแก่คนจำนวนมากนั้น เป็นเหมือนไม่ได้ทำความดีแก่ใครเลย ความรู้สึกว่าเป็นสมาชิกที่ขาดประสิทธิภาพเช่นนี้เป็นภัยแก่สมาชิกเอง
16. เคล็ดลับแห่งอิทธิพลคือความรัก
ขอเน้นว่า ความดีที่แท้และกว้างขวางมีพื้นฐานอย่างเดียว คือตั้งอยู่บนหลักมิตรภาพระหว่างพลมารีย์กับผู้ที่ไปติดต่อ มิฉะนั้นความดีที่ทำจะเป็นเพียงเล็กน้อย หรือไม่ทนทาน เรื่องนี้ต้องจำใส่ใจ เป็นต้นในการเยี่ยมเพื่อตั้งภาพพระหฤทัยในครอบครัวหรือการรณรงค์เพื่อหนังสือคาทอลิกเรื่องหลังนี้แม้จะดีเลิศในตัวมันเองและเป็นบ่อเกิดแห่งพระพรแต่ไม่ควรถือว่าเป็นเป้าหมายสำคัญ การเยี่ยมที่บังเกิดผลเร็ว เช่น การตั้งภาพพระหฤทัย ฯลฯ แล้วไม่ได้ติดต่ออีกนั้น ในสายตาของคณะพลมารีย์ถือว่าได้เก็บเกี่ยวผลที่ตั้งใจไว้ได้เพียงเล็กน้อย การเยี่ยมแต่ละครอบครัว ต้องทำอย่างต่อเนื่องหากให้พลมารีย์คู่เดียวทำ จะก้าวหน้ได้อย่างเชื่องช้า จึงจำเป็นต้องมีพลมารีย์หลายคนและหลายเปรสิเดียม
หน้า 415 บทที่ 39 จุดสำคัญในการแพร่ธรรมของคณะพลมารีย์
17. พลมารีย์แลเห็น และรับใช้พระคริสตเจ้าในแต่ละคนที่ไปทำงานติดต่อ
ไม่ว่าที่ไหนและในกรณีใด ไม่ควรไปเยี่ยมด้วยจิตตารมณ์ทำคุณต่อมนุษย์ หรือสงสารผู้เคราะห์ร้ายตามประสามนุษย์เท่านั้น “ท่านทำสิ่งใดต่อพี่น้องผู้ต่ำต้อยที่สุดของเราคนหนึ่ง ท่านก็ทำสิ่งนั้นต่อเรา” (ม6 25:40) พลมารีย์ต้องจดจำพระวาจานี้ไว้ในใจ คือต้องเห็นพระคริสตเจ้าในเพื่อนมนุษย์ (ซึ่งหมายถึงมนุษย์ทุกคน ไม่เว้นใครเลย) และให้บริการแก่เขาตามความรู้สึกเช่นนั้น คนชั่ว คนอกตัญญู คนโฉดเขลา ผู้ตกทุกข์ คนอัปลักษณ์ ผู้ที่สังคมทอดทิ้ง บรรดาผู้ที่เรารู้สึกรังเกียจตามธรรมชาติเหล่านี้ พลมารีย์ต้องมองในแง่ใหม่นี้หมด แน่นอนเขาเหล่านี้เป็นพี่น้องต่ำต้อยที่สุดของพระคริสตเจ้าและ (อย่าลืมพระวาจาของพระองค์) เราต้องบริการคนเหล่านั้นอย่างให้เกียรติและเต็มไปด้วยความเคารพ
พลมารีย์จะจำใส่ใจไว้เสมอว่า ตนมาเยี่ยมไม่ใช่ฐานะผู้ใหญ่มาเยี่ยมผู้น้อย ไม่ใช่ฐานะผู้เสมอกันออกเยี่ยมกัน แต่ในฐานะผู้น้อยเยี่ยมผู้ใหญ่ ฐานะผู้รับใช้เยี่ยมพระเยซูเจ้า เพราะขาดจิตตารมณ์เช่นนี้ จึงเกิดท่าทีแบบเจ้าขุนมูลนาย ผู้ใดเยี่ยมด้วยจิตตารมณ์แบบหลังนี้จะไม่เกิดผลดี ทั้งตามธรรมชาติและเหนือธรรมชาติ เขาทนต้อนรับเฉพาะเมื่อผู้เยี่ยมมีของติดมือไปฝากด้วยตรงกันข้ามผู้เยี่ยมที่สุภาพเรียบร้อยมีกิริยามารยาทน่ารัก เมื่อขอเข้าเยี่ยมบ้านไหนจะได้รับการต้อนรับอย่างชื่นชมแม้ไม่มีของกำนัลเป็นวัตถุ และจะเกิดมิตรภาพแท้ได้อย่างรวดเร็ว พลมารีย์ควรใส่ใจว่าเครื่องแต่งกายหรือท่าที วาจาที่เกินปกติ จะเป็นอุปสรรคระหว่างผู้เยี่ยมกับผู้รับเยี่ยม
18. พระนางมารีย์รักและเฝ้าดูแลพระบุตรผ่านทางพลมารีย์
ถ้อยคำของพลมารีย์ที่อธิบายถึงความสำเร็จในการเยี่ยม ที่ยุ่งยากและไม่สนุกเลยว่า “เราทำให้เขาชอบเราได้” นั้น เป็นการสรุปวิธีการของ
หน้า 416 บทที่ 39 จุดสำคัญในการแพร่ธรรมของคณะพลมารีย์
พลมารีย์ที่น่าชมเชย เพื่อจะก่อให้เกิดความรักเช่นนี้ สิ่งแรกจำเป็นต้องแสดงก็คือ รักผู้ที่ตนไปเยี่ยม ไม่มีวิธีอื่นใด ไม่มีนโยบายอื่น ไม่มีกุญแจอื่นที่จะนำให้บรรลุถึงอิทธิพลแท้ได้เลย นักบุญออกัสติน แสดงข้อคิดเช่นกันแต่เป็นโวหารอีกอย่างหนึ่งเมื่อท่านกล่าวว่า “รักเถิด แล้วจะทำอะไรก็ได้ตามใจชอบ”
ในชีวประวัติของนักบุญฟรังชิส อัสชีซี มีถ้อยคำงดงามตอนหนึ่งซึ่งเชสเตอร์ตัน กล่าวถึงหลักการพิเศษของคริสตชนคาทอลิกว่า “นักบุญฟรังชิสมองเห็นภาพพระเป็นเจ้าทวีขึ้น แต่ไม่ซ้ำชากเลย สำหรับท่านนักบุญมนุษย์คือมนุษย์เสมอและไม่หายไปไหน ไม่ว่าในฝูงชน หรือในทะเลทรายท่านให้เกียรติแก่ทุกคน คือไม่ใช่เพียงรัก แต่ยังเคารพทุกคนด้วย สิ่งที่ทำให้ท่านมีอำนาจประจำตัวพิเศษกว่าผู้อื่น คือ ตั้งแต่สมเด็จพระสันตะปาปาจนถึงยาจก ตั้งแต่สุลต่านของชีเรียในปราสาท จนถึงโจรผู้ร้าย เสื้อผ้าขาดกะรุ่งกะริ่งคลานออกมาจากป่า ไม่มีสักคนเดียวที่มองดูนัยน์ตาสีน้ำตาลอันลุกวาวของท่านฟรังชิส แบร์นาร์โดเน แล้ว ไม่แน่ใจว่าท่านนักบุญสนใจในตนอย่างแท้จริง ท่านสนใจชีวิตภายในของแต่ละคนแต่เกิดจนตาย ว่าตนเองได้รับการยกย่องและนับถืออย่างจริงจัง”
แต่เราจะสามารถรักตามคำสอนในแบบนี้ได้หรือ โดยแลเห็นองค์พระคริสตเจ้าในทุกคนที่เราพบปะ พอคิดได้ดังนี้ ความรักก็จะลุกร้อนขึ้นอนึ่ง เป็นที่แน่นอนที่สุดว่า พระนางมารีย์ประสงค์ให้มีผู้ถวายความรักต่อพระกายทิพย์ของพระบุตรสุดที่รักของพระนาง เช่นเดียวกับพระนางเองเคยทะนุถนอมพระกายจริงของพระองค์มาแล้ว ในเรื่องนี้พระนางจะช่วยเหลือพลมารีย์ของพระนาง ที่ใดพระนางเห็นมีวี่แวว เตรียมพร้อมที่จะรัก พระนางจะบันดาลให้ลุกเป็นเพลิงร้อนแรงทีเดียว
หน้า 417 บทที่ 39 จุดสำคัญในการแพร่ธรรมของคณะพลมารีย์
19. ทุกประตูเปิดรับพลมารีย์ที่ถ่อมตนและมีสัมมาคารวะ
ผู้ที่ไม่เคยงาน กลับใจเมื่อคิดถึง “การเยี่ยมครั้งแรก” แต่พลมารีย์ไม่ว่าใหม่หรือที่อาวุโสแล้ว เมื่อชาบซึ้งในข้อความข้างต้นดี ก็เท่ากับมี “วาจาสิทธิ์” เข้าไหนเข้าได้ทุกบ้านไป
ต้องจดจำไว้ว่า ที่เราเข้าบ้านไหนได้นั้น ไม่ใช่เพราะเรามีสิทธิ์แต่อย่างใดเลย ย่อมต้องแล้วแต่อัธยาศัยของผู้อยู่ในบ้านต่างหาก ฉะนั้นเข้าบ้านไหนจะต้องแสดงมารยาทด้วยความเคารพ เสมือนเข้าทำเนียบของผู้ยิ่งใหญ่บอกกล่าวถึงธุระพร้อมกับขออนุญาตเจ้าบ้านอย่างสุภาพ ตามปกติมักทำให้ประตูเปิดกว้างและได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี ต่อจากนั้นพลมารีย์ต้องจำไว้ว่า ตนไม่ได้มาแสดงปฐกถาหรือชักถามมากมาย แต่เข้าไปทำความสนิทสนม อันจะเป็นหนทางถ่ายทอดความรู้และอิทธิพลในภายหน้า
มีคำกล่าวว่า เกียรติมงคลพิเศษของเมตตาจิต คือการรู้จักเข้าใจผู้อื่น โลกที่น่าเศร้านี้ ไม่เคยขาดแคลนสิ่งใดมากกว่านี้ เพราะ “ประชาชนส่วนใหญ่ดูเหมือนมีความทุกข์ จากความรู้สึกว่าถูกทอดทิ้ง ไม่มีความสุขเพราะไม่มีใครเอาใจใส่ ไม่มีใครปรับทุกข์ด้วย” (Duhamel)
ไม่ควรเอาใจใส่ให้คร่ำเครียดนักกับความลำบากขั้นต้น แม้ที่ใดมีคนแสดงความหยาบคาย ให้ตอบแทนด้วยความดี เขาจะรู้สึกละอายใจไปเองและจะบังเกิดผลดีในภายหลัง
ความสนใจต่อเด็ก ๆ เปิดโอกาสให้ได้สนทนาปราศรัยกัน เช่น อาจถามถึงความรู้ด้านคำสอนคาทอลิกและการรับศีลต่าง ๆ ของเด็ก ซึ่งในระยะแรกสำหรับผู้ใหญ่ก็อาจรู้สึกไม่พอใจ หากเราไปถามเขา โดยอาศัยเด็ก ก็อาจฝากบทเรียนมีประโยชน์ไปถึงพ่อแม่ได้ด้วย
ขณะลากลับควรเปิดทางไว้สำหรับการเยี่ยมครั้งต่อไป การแสดง
หน้า 418 บทที่ 39 จุดสำคัญในการแพร่ธรรมของคณะพลมารีย์
ความพอใจที่ได้มาเยี่ยมและหวังที่จะมาเยี่ยมอีกในสัปดาห์หน้า ทำให้การอำลาเป็นไปตามธรรมชาติ และเป็นการเตรียมที่ดีสำหรับการกลับมาเยี่ยมอีกด้วย
20. ท่าทีการเยี่ยมสถาบัน
พลมารีย์ที่เยี่ยมสถาบันแห่งใดแห่งหนึ่ง ต้องจำไว้ว่า ตนอยู่ที่นั่นด้วยอนุญาตพิเศษ ว่าตนเป็นผู้เยี่ยมเช่นเดียวกับเมื่อไปเยี่ยมตามบ้านทั่วไปเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลมักจะสงสัยว่า ผู้เยี่ยมผู้มีจิตเมตตา ขณะที่มาเยี่ยมคนไข้นั้น อาจลืมไปว่าตนจำต้องเคารพเจ้าหน้าที่และระเบียบข้อบังคับของสถาบันด้วย พลมารีย์ไม่ควรบกพร่องในเรื่องนี้ ควรเยี่ยมในเวลาที่เหมาะสมไม่ควรนำยาหรือสิ่งต้องห้ามอื่น ๆ ไปให้คนไข้ ทั้งไม่ควรโต้เถียงใด ๆ ซึ่งเป็นเรื่องภายในของที่นั้น
เมื่อมีผู้ปรับทุกข์ว่าเจ้าหน้าที่หรือผู้ป่วยคนอื่นกระทำสิ่งที่ไม่ดีกับตนอย่างไร พลมารีย์ไม่มีหน้าที่จะไปจัดการแก้ไขความเดือดร้อนนั้น แม้จะมีมูลความจริงก็ตาม แน่นอน พลมารีย์จะฟังเรื่องที่เล่าด้วยความเห็นอกเห็นใจและพยายามจูงใจให้ยอมรับทนถวายแด่พระเจ้า และตามปกติเรื่องควรจบลงแค่นั้น ถ้าเป็นเรื่องที่พลมารีย์รู้สึกขุ่นเคือง ก็มีวิธีคลายความรู้สึกนี้ โดยนำเรื่องนั้นมาปรึกษากันในเปรสิเดียม เปรสิเดียมจะพิจารณากรณีแวดล้อมให้ถ่องแท้ และถ้าจำเป็นก็จะให้คำแนะนำที่เหมาะสมเพื่อปฏิบัติต่อไป
21 . พลมารีย์ต้องไม่พิพากษาใคร
ไม่ใช่เพียงกิริยามารยาทของพลมารีย์ แต่เป็นความคิดจิตใจของพลมารีย์ ต้องแสดงว่าเปี่ยมด้วยความเคารพนี้ การพิพากษาเพื่อนบ้านหรือการอวดอ้างความนึกคิดตลอดจนความประพฤติของตน เสมือนเป็นมาตรฐานที่ทุกคนต้องปฏิบัติตาม เป็นการขัดกับหน้าที่ของพลมารีย์ พลมารีย์ต้องไม่ถือว่า ผู้ที่แตกต่างกับตนด้วยประการใด ๆ ก็ตาม เช่น ผู้ที่ไม่ตอบรับ
หน้า 419 บทที่ 39 จุดสำคัญในการแพร่ธรรมของคณะพลมารีย์
หรือแม้เป็นศัตรูกับตนต้องเป็นบุคคลที่ใช้ไม่ได้
มีหลายคน ทำอะไรดูเหมือนมีช่องให้ผู้อื่นติเตียน พลมารีย์ไม่ควรไปวิจารณ์ เพราะที่สุด บ่อยครั้งผู้ที่ถูกติเตียนก็เหมือนบรรดานักบุญที่ถูกกล่าวหาอย่างผิด ๆ อนึ่ง ในชีวิตของหลายคนปรากฎว่ามีความผิดหนัก ๆ ไม่ใช่น้อย แต่พระเป็นเจ้าเท่านั้นทรงแลเห็นดวงใจและสามารถตัดสินตามสภาพที่แท้จริงได้ เพราะ Gratry กล่าวว่า “คนเป็นอันมากเกิดมาไม่ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เกิดมาโดยขาดการอบรมด้านศีลธรรมจากบิดามารดาและบางครั้งตลอดชีวิตอันยุ่งยากของเขา เขาได้รับแต่อคติและแบบอย่างที่ไม่ดี แต่นั่นแหละเมื่อถึงเวลาต้องให้การ เขาจะไม่ถูกเรียกร้องมากกว่าที่เขาได้รับ”
นอกจากนั้น ยังมีคนเป็นอันมาก ที่เกิดมาในความร่ำรวย ชีวิตของเขาห่างไกลจากพลีกรรมทั้งสิ้น และเราก็ต้องรับด้วยความชื่นชมว่าจิตตารมณ์ทุกวันนี้เป็นเช่นนี้ แต่พลมารีย์ต้องพิจารณาให้รอบคอบ อาจเป็นเช่นนิโคเดมัสก็ได้ ท่านมาเฝ้าพระเยชูเจ้าอย่างลับ ๆ ในเวลากลางคืน ทำประโยชน์มากแก่พระองค์ พาเพื่อนหลายคนมารู้จักพระองค์ รักพระองค์อย่างสัตย์จริง และสุดท้ายได้มีบุญพิเศษที่ได้ฝังพระศพของพระองค์ด้วย
บทบาทของพลมารีย์ คือ อย่าพิพากษาหรือติเตียนใครเลย ต้องคิดถึงเสมอว่าดวงตาอันอ่อนโยนของพระนางมารีย์จะมองดูเหตุการณ์และบุคคลเหล่านั้นอย่างไร และเมื่อนั้นให้เขาปฏิบัติตามแบบฉบับของพระนางเถิด ข้อปฏิบัติอย่างหนึ่งของ อิเดล ควิน คือไม่ค้นหาความผิดของใครโดยมิได้หารือกับแม่พระเสียก่อน
22. ท่าทีต่อเสียงวิพากษ์วิจารณ์
ในหนังสือเล่มนี้ พูดถึงบ่อย ๆ เรื่องกลัวถูกวิพากษ์วิจารณ์ อันทำให้
หน้า 420 บทที่ 39 จุดสำคัญในการแพร่ธรรมของคณะพลมารีย์
การงานหยุดชะงัก แม้ผู้ที่มีความตั้งใจดีที่สุด อาศัยหลักการต่อไปนี้เป็นเครื่องช่วยเหลือได้ กล่าวคือ วัตถุประสงค์สำคัญอย่างหนึ่งของคณะพลมารีย์ เมื่อทำตามจะเกิดผลไพศาล คือสร้างมาตรฐานสูงส่งทางความคิดและการปฏิบัติสมาชิกพยายามเจริญชีวิตในการแพร่ธรรม และวิธีนี้เป็นการยกระดับชีวิตฆราวาสอย่างสูงเด่น อาศัยสัญชาตญาณซึ่งชักนำมนุษย์ให้เลียนแบบสิ่งใดที่ประทับใจตน แม้ไม่เจตนา ทุกคนจะพากันเลียนแบบมากบ้างน้อยบ้าง
สัญญาณอย่างหนึ่งอันแสดงว่า ได้เกิดผลดีขึ้นแล้ว คือ หลายคนจะยินดีเลียนแบบอย่างเปิดเผย สัญญาณอีกอย่างที่แลเห็นได้ง่ายกว่า คือจะมีความคิดเห็นขัดแย้งเกิดขึ้น กับบรรดามาตรฐานที่ต่ำกว่า คอยกระตุ้นมโนธรรมของคนทั่วไป และก็เช่นเดียวกับเรื่องสะกิดใจคนอื่นๆ ย่อมก่อให้เกิดปฏิกิริยาไม่สบายและคิดจะต่อสู้ และไม่ช้าก็จะดีขึ้นตามที่ถูกติเตียนแต่ถ้าไม่มีปฏิกิริยาอย่างใดเกิดขึ้นเลย ก็เป็นเครื่องพิสูจน์ได้ว่า ยังไม่มีระดับชีวิตที่สูงขึ้น
ฉะนั้น ไม่จำเป็นจะต้องวุ่นวายใจเลย หากกิจกรรมของพลมารีย์ก่อให้เกิดการติเตียนบ้าง ตราบใดที่คำติเตียนนั้นไม่ได้เกิดขึ้นเพราะวิธีการอันบกพร่องของเรา ขอให้ใส่ใจเพียรพยายามในการแพร่ธรรมคือ “มนุษย์เราเอาชนะกันได้ด้วยความรักและเมตตา ด้วยแบบอย่างสงบราบเรียบอันไม่ข่มอีกฝ่ายหนึ่งให้อับอาย และไม่บีบบังคับให้ยอมแพ้ ยิ่งใครตั้งหน้าแต่จะข่มด้วยแล้ว จะไม่มีใครชอบให้มาข้องแวะเลย” (Giosue Borsi)
23. จำต้องไม่ท้อใจเลย
บางครั้ง งานที่เสียสละมากที่สุด ถึงขั้นวีรกรรม กลับได้ผลเพียงเล็กน้อย พลมารีย์ไม่สนใจในผลที่เกิดขึ้น กระนั้นก็ดี การทำงานโดยรู้สึกว่าจะไม่เกิดผลเลยนั้น ไม่เป็นการดีสำหรับตน แต่อาจจะเป็นเครื่องปลอบใจ
หน้า 421 บทที่ 39 จุดสำคัญในการแพร่ธรรมของคณะพลมารีย์
เตือนให้มานะพยายามยิ่งขึ้น ถ้าเขาระลึกได้ว่า เขาป้องกันบาปได้เพียงประการเดียวเท่านั้น ก็เป็นกำไรหาที่เปรียบไม่ได้แล้ว เพราะบาปประการนั้นอาจจะเป็นความผิดอันใหญ่หลวง เกิดผลเสียหายติดตามมาไม่รู้สิ้นสุด
“แม้น้ำหนักจะน้อยนิดสักเพียงไร ก็มีบทบาทในการทรงตัวของดวงดาว ดังนั้น พระเจ้าข้า มีแต่พระองค์เท่านั้นทรงเข้าพระทัยและหยั่งรู้ว่าเมื่อข้าพเจ้าจรดปากกาน้อย ๆ นิดเดียวไปบนแผ่นกระดาษ การโคจรของดาวต่างๆ ก็หวั่นไหวกระเทือน มีส่วนช่วยส่งเสริมและนับเข้าเป็นส่วนหนึ่งของดาวเหล่านั้นด้วย ในโลกของสติปัญญาก็เช่นกัน ความคิดอ่านดำเนินชีวิตและผจญภัยอย่างชับซ้อนในโลกแห่งสติปัญญา อันเป็นโลกที่เลิศลอยกว่าโลกวัตถุสุดจะคะเนได้ เป็นโลกที่รวมกันหนาแน่น ไพศาล เพียบพร้อมและสลับชับซ้อนยิ่ง โลกฝ่ายวัตถุและสติปัญญาเป็นฉันใด โลกทางศีลธรรมก็เป็นฉันนั้น” (Giosue Borsi)
บาปแต่ละประการทำให้โลกศีลธรรมหวั่นไหว ทำให้วิญญาณของทุกคนปวดร้าว บางครั้ง ลูกโซ่ห่วงแรกในกระบวนการนี้ก็แลเห็นได้ เมื่อคนหนึ่งนำอีกคนหนึ่งทำบาป แต่จะแลเห็นหรือไม่เห็นก็ตาม บาปก็นำไปสู่บาปและทำนองเดียวกัน หลีกเลี่ยงบาปหนึ่งย่อมป้องกันไม่ให้ทำบาปอื่นอีกเช่นเดียวกัน การหลีกบาปที่สองจะไม่ป้องกันบาปที่สามหรือ และเป็นดังนี้ต่อไปไม่รู้สิ้น จนกระทั่งโซ่นั้นคล้องโลกทั้งโลก ยาวเหยียดตลอดทุกกาลสมัยดอกหรือฉะนั้น เมื่อกล่าวว่าคนบาปแต่ละคนที่กลับใจมาสู่ชีวิตที่ดี จะมากเกินไปหรือเปล่าก็อาจจะเป็นภาพเตือนให้เห็นกองทัพคนดีเดินตามเขาไปสวรรค์
ด้วยเหตุนี้แหละ เพื่อป้องกันบาปหนักแม้แต่ข้อเดียว จึงสมควรทำงานอย่างขยันขันแข็งที่สุด แม้จะต้องพยายามตลอดชีวิตก็ตาม เพราะในการนี้วิญญาณทุกดวงจะได้รับพระหรรษทานเป็นพิเศษ การหลีกเลี่ยงบาป
หน้า 422 บทที่ 39 จุดสำคัญในการแพร่ธรรมของคณะพลมารีย์
ข้อนั้นอาจเป็นการชี้โชคชะตา หรือเป็นการยกระดับฝ่ายวิญญาณขึ้น ซึ่งเมื่อถึงเวลาจะเปลี่ยนประชาชนทั้งมวล จากชีวิตไม่มีพระเจ้า มาสู่ชีวิตคุณธรรมความดี
24. เครื่องหมายกางเขนคือสำคัญแห่งความหวัง
แต่อันตรายที่ทำให้ท้อแท้ไม่ได้อยู่ที่คณะพลมารีย์ที่กำลังถูกต่อต้านแม้จะรุนแรงเพียงไรก็ตาม แต่อยู่ที่ความทุกข์ในใจที่พลมารีย์อดรู้สึกไม่ได้เมื่อความเกื้อกูลและสิ่งแวดล้อมซึ่งหวังพึ่งได้เป็นนักหนากลับล้มเหลวไปหมดมิตรสหายไม่ร่วมมือ คนดี ๆ ไม่มี อุปกรณ์ใช้ไม่ค่อยได้ และอะไรที่พอจะพึ่งพิงได้กลับทรยศต่อความสงบสุขของเราไปเสียหมด เราจะเก็บเกี่ยวคุณงามความดีได้ไม่น้อยทีเดียวถ้าเคียวไม่ที่อหรือไม่เกิดบกพร่องต่างๆ ในหมู่คณะของเรา หรือไม่มีกางเขนซึ่งเรารับอยู่
การหมดความอดทน เมื่อช่องทางทำความดีแก้วิญญาณลดลง อาจเป็นภัยก็ได้ ทำให้เราเกิดความท้อแท้ ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นจากฝ่ายปรปักษ์
ต้องจำไว้เสมอว่า งานของพระคริสตเจ้า ย่อมมีเครื่องหมายของพระองค์เองประทับไว้ คือ เครื่องหมายกางเขน ขาดรอยประทับนี้อาจชวนให้สงสัยถึงลักษณะเหนือธรรมชาติของงานได้ ผลลัพธ์ที่แท้จริงก็จะไม่บังเกิดขึ้น
เจเนต เอิสไกน์ สจ๊วต กล่าวถึงหลักนี้ไว้อีกอย่างหนึ่งว่า “ถ้าท่านเอาใจใส่อ่านประวัติความศักดิ์สิทธิ์ ประวัติพระศาสนจักร และแม้จากประสบการณ์ของท่าน ซึ่งต้องเพิ่มพูนขึ้นทุกปี จะเห็นว่างานของพระเป็นเจ้าไม่ได้เป็นไปตามที่เราคิดหรือเลือกเลย”
เป็นความคิดที่มหัศจรรย์ กล่าวคือ สิ่งแวดล้อมซึ่งตามสายตาอันจำกัดของมนุษย์ ดูเหมือนไม่เป็นไปตามอุดมคติ และทำลายความก้าวหน้าในงานกลับไม่ใช่อุปสรรคขัดต่อความสำเร็จ แต่เป็นสิ่งจำเป็นเพื่ออำนวยความสำเร็จ
หน้า 423 บทที่ 39 จุดสำคัญในการแพร่ธรรมของคณะพลมารีย์
ไม่ใช่เรื่องน่าตำหนิ แต่กลับเป็นตรารับรองของแท้ ไม่ใช่สิ่งที่จะถ่วงความพยายาม แต่เป็นเชื้อเพลิงหล่อเลี้ยงความพยายามและช่วยให้ประสบความสำเร็จ เหตุว่าแต่ไหนแต่ไรมาแล้ว พระเป็นเจ้าทรงพอพระทัยแสดงฤทธานุภาพบันดาลความสำเร็จจากสภาพที่สิ้นหวัง และบันดาลให้โครงการยิ่งใหญ่สำเร็จบริบูรณ์ด้วยอุปกรณ์ที่ไม่เหมาะสมเลย
แต่พลมารีย์ต้องจดจำข้อความสำคัญนี้ไว้ ถ้าจะให้ความยากลำบากกลายเป็นสิ่งมีคุณค่า ต้องอย่าให้เกิดจากความบกพร่องของพลมารีย์ ถ้าเกิดจากความผิดของตนเอง ด้วยการละเมิดหรือฝ่าฝืนกฎพลมารีย์ คณะพลมารีย์ก็ไม่มีหวังได้รับพระหรรษทาน
25. สำเร็จก็ยินดี ไม่สำเร็จคือความสำเร็จที่ต้องรอ
จงคิดให้ถูกว่า การงานน่าจะเป็นบ่อเกิดแห่งความชื่นชมยินดีที่ไม่รู้จักจบสิ้น สำเร็จก็ชื่นชม ไม่สำเร็จก็เป็นการใช้โทษบาป เป็นการปฏิบัติความเชื่อ ยิ่งน่าชื่นชมสำหรับพลมารีย์ที่รู้จักคิดและเห็นว่าที่ไม่สำเร็จนั้นเป็นเพียงความสำเร็จที่เลื่อนกำหนดไปและใหญ่โตขึ้น อนึ่ง เป็นความยินดีตามธรรมชาติที่ได้รับการต้อนรับด้วยการยิ้มแย้มชอบใจจากบรรดาผู้ที่รู้จักคุณค่าของการเยี่ยม แต่ท่าทีอันน่าสงสัยของคนอื่น ๆ น่าจะนำความบรรเทาใจอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้นอีก เพราะแสดงว่านั่นต้องมีอะไรขาดตกบกพร่อง ซึ่งหลงหูหลงตาอยู่จนกระทั่งบัดนี้ จากประสบการณ์ของพลมารีย์ปรากฏว่า ความรู้สึกของคริสตชนคาทอลิก แม้จะมีความเย็นเฉยทางศาสนามาเกี่ยวข้องด้วยย่อมแสดงความยินดีต่อผู้เยี่ยมอย่างมีไมตรีจิต เห็นอกเห็นใจ ถ้าผิดจากนี้มักปรากฎว่าวิญญาณนั้นเข้าขั้นอันตรายเสียแล้ว
26. ท่าทีต่อข้อบกพร่องของเปรสิเดียมและสมาชิกพลมารีย์
ต้องพากเพียรต่อข้อบกพร่องของเปรสิเดียมหรือพลมารีย์แต่ละคน
หน้า 424 บทที่ 39 จุดสำคัญในการแพร่ธรรมของคณะพลมารีย์
เมื่อปรากฎข้อเท็จจริงว่าความลุกร้อนกลับเย็นเฉย มีท่าทีเมินเฉยต่อการ-ปรับปรุง ความรู้สึกฝ่ายโลกแสดงให้เห็นชัดอย่างน่าสลดใจ ก็ไม่ควรท้อถอยข้อคิดต่อไปนี้จะช่วยในกรณีแวดล้อมเช่นนั้นได้บ้าง
ถ้าพลมารีย์เหล่านั้น ทั้ง ๆ ที่มีระบบของคณะพลมารีย์คอยสนับสนุนและยังได้รับอิทธิพลจากคำภาวนาและกิจศรัทธาของคณะอย่างไม่ต้องสงสัยกระนั้นก็ดียังบกพร่อง ถ้าไม่มีคณะพลมารีย์เสียเลยมาตรฐานของเขาจะเป็นอย่างไร จึงไม่สามารถผลิตคนงานทรงคุณค่าเพียงไม่กี่คน ซึ่งจำเป็นในการตั้งเปรสิเดียมที่ดีสักเปรสิเดียมหนึ่งได้
ตามเหตุผลก็เห็นชัดว่า ระดับวิญญาณเหล่านั้นต้องยกให้สูงขึ้น ไม่ว่าจะลำบากเพียงไร ทางดีที่สุด และที่จริงเป็นทางเดียว ที่จะปฏิบัติในเรื่องนี้คือใส่เชื้อแป้งการแพร่ธรรมให้แพร่หลายไปในหมู่ประชาชน จนกระทั่งทั้งหมดฟูขึ้น (มธ 13:33)
ฉะนั้นเครื่องมือที่นำมาใช้ในการประกาศข่าวดี ต้องได้รับการอบรมด้วยความพากเพียรและอ่อนโยนไม่รู้สิ้นสุด จิตตารมณ์คาทอลิกธรรมดายังเป็นสิ่งเติบโตช้า ฉะนั้น ทำไมจะหวังให้จิตตารมณ์แพร่ธรรมเติบโตขึ้นในพริบตาเดียวเล่า ถ้าหมดกำลังใจแล้ว วิธีแก้วิธีเดียวนี้ก็จะหมดสิ้นไปด้วย
27. ห้ามการแสวงหาประโยชน์ส่วนตัว
คณะพลมาย์ต้องไม่ยอมตกเป็นเครื่องมือแสวงหาประโยชน์ทางวัตถุส่วนตัว แก่สมาชิกใด ๆ หากมีสมาชิกคนใดคนหนึ่งแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวอย่างไม่สมควร ไม่ว่าจะเป็นการกระทำภายนอกหรือภายในคณะพลมารีย์ก็ตาม
28. ห้ามให้ของขวัญแก่สมาชิก
ห้ามสาขาต่าง ๆ ของคณะพลมารีย์ให้เงิน หรือของขวัญคล้ายคลึงกัน
หน้า 425 บทที่ 39 จุดสำคัญในการแพร่ธรรมของคณะพลมารีย์
แก่สมาชิกของตน ถ้ายินยอมให้ทำ จำนวนของขวัญเช่นนี้จะขยายตัวและกลายเป็นภาระหนักทางการเงิน เรื่องนี้ต้องระวัง เป็นต้น เมื่อคำนึงถึงบุคคลจำนวนมากที่มีรายได้น้อย ซึ่งคณะพลมารีย์ภูมิใจได้ไว้เป็นสมาชิก
ฉะนั้น ถ้าเปรสิเดียม หรือสาขาอื่นใดของคณะพลมารีย์ ต้องการยกย่องพฤติการณ์ใดเป็นพิเศษในชีวิตของสมาชิก ก็ทำได้โดยมอบช่อดอกไม้ฝ่ายวิญญาณให้
29. ไม่มีชั้นวรรณะในคณะพลมารีย์
โดยทั่วไป คณะพลมารีย์คัดค้านการตั้งเปรสิเดียม ซึ่งรับสมาชิกในวงจำกัดเฉพาะชั้นวรรณะ หรือหมู่เหล่าของประชาชน เหตุผลก็คือ (ก) จำกัดวงเกินไปคือกีดกันผู้อื่น ผลลัพธ์คือเสื่อมเสียภราดรภาพ (ข) วิธีดีที่สุดในการหาสมาชิก ตามปกติคือหาสมาชิกจากเพื่อนของตน พวกนี้อาจไม่มีคุณลักษณะพอจะร่วมเปรสิเดียมที่จำกัดชั้นวรรณะนั้นได้ (ค) มักปรากฎว่าเปรสิเดียมใดสมาชิกมีวิถีชีวิตแตกต่างกัน ย่อมมีประสิทธิภาพมากที่สุด
30. ต้องมุ่งหมายประสานสามัคคี ไม่ใช่ตัดความสัมพันธ์
โดยที่คณะพลมารีย์มีจุดประสงค์แน่นอนแล้ว จึงควรลดการแบ่งแยกและความขัดแย้งกันในโลก วิธีการนี้ต้องเริ่มในหน่วยของคณะพลมารีย์ คือในเปรสิเดียมนั่นเอง จะเป็นการเปล่าประโยชน์ทีเดียวสำหรับคณะพลมารีย์ที่จะพูดถึงความปรองดอง หากในขณะเดียวกันกลับส่งเสริมความแตกแยกโดยสนับสนุนความแตกแยกนี้ไว้ในระบบของคณะเอง
ดังนั้น ขอให้คณะพลมรีย์คิดถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันและความรักระหว่างสมาชิกในพระกายทิพย์ และพยายามจัดองค์กรให้เป็นไปตามนั้น เมื่อคณะพลมารีย์ได้นำบุคคลหลากหลายประเภทมารวมเป็นเพื่อนสมาชิกในเปรสิเดียมหนึ่ง ก็นับว่าได้ทำงานเป็นผลสำเร็จแล้ว การติดต่อ
หน้า 426 บทที่ 39 จุดสำคัญในการแพร่ธรรมของคณะพลมารีย์
ด้วยความรักได้เริ่มขึ้นแล้ว และการแพร่หลายอันศักดิ์สิทธิ์จะชยายตัวออกไปทั้งอาจเข้าปราบและทำลายความสับสนของโลกรอบเราได้
31. ไม่ช้าก็เร็ว พลมารีย์ต้องประสบงานยากเข็ญที่สุด
การเลือกงานอาจก่อให้เกิดความลังเลใจได้ ปัญหาที่ร้ายแรงอาจมีอยู่แต่บางทีพระสงฆ์อาจไม่กล้ามอบให้เปรสิเดียมที่ตั้งขึ้นใหม่รับไปจัดการความจริงไม่ควรปล่อยให้เห็นสาเหตุของความน่ากลัวอยู่ทั่วไป มิฉะนั้นจะตรงกับพระดำรัสของนักบุญปีโอ ที่ 10 ที่ว่า อุปสรรคใหญ่ยิ่งของการแพร่ธรรมอยู่ที่คนดีพากันวิตก หรือที่ถูกตราหน้าว่าเป็นคนขลาดกลัว
อย่างไรก็ตาม หากยังลังเลใจอยู่ก็ให้เริ่มงานด้วยความระมัดระวังและให้เปรสิเดียมเลือกทำงานที่ง่ายกว่า ยิ่งได้ประชุมมากครั้ง และยิ่งได้ความชำนาญมากขึ้น จะปรากฎว่ามีสมาชิกบางคนสามารถที่จะทำงานที่ยากที่สุดได้อย่างแน่นอน เมื่อนั้นก็มอบให้สมาชิกเหล่านี้ทำงานที่ลังเลใจในตอนแรก ต่อมาจึงให้คนอื่น ๆ ทำ แล้วแต่ความต้องการของงาน และแล้วแต่สมาชิกจะพิสูจน์ว่า ตนสามารถทำได้ แม้มีพลมารีย์เพียงคู่เดียวทำงานที่ยากเข็ญก็จะยังผลส่งเสริมงานของสมาชิกที่เหลืออย่างแน่นอน
32. ทัศนะต่ออันตราย
ระบบพลมารีย์นี้จะลดจำนวนเหตุร้ายที่อาจเกิดขึ้นให้เหลือน้อยที่สุด แต่สำหรับงานสำคัญบางอย่างอาจมีการเสี่ยงบ้าง ฉะนั้นถ้าได้ตริตรองโดยสงบและเห็นว่า (ก) ถ้าเฉยเสีย งานที่จำเป็นเกี่ยวกับความรอดของวิญญาณจะไม่มีผู้ทำหรือทำเพียงบางส่วน (ข) ได้พยายามทุกวิถีทางแล้วเพื่อรักษาความปลอดภัย เมื่อนั้นขอให้พลมารีย์ดำเนินการต่อไปด้วยเครื่องมือที่ได้คัดเลือกแล้ว พลมารีย์จะทำเป็นนิ่งเฉยไม่ได้ ในเมื่อเห็นเพื่อนมนุษย์กำลังไปสู่ความพินาศ “ขอพระเป็นเจ้าโปรดช่วยเราให้รอดพ้นจากความสงบ
หน้า 427 บทที่ 39 จุดสำคัญในการแพร่ธรรมของคณะพลมารีย์
แบบคนโง่เขลา ขอพระองค์ช่วยเราให้รอดพ้นจากสันติสุขแบบคนขลาดกลัวเถิด” (De Gasperin)
33. คณะพลมารีย์ต้องอยู่ในแนวหน้าในสมรภูมิของพระศาสนจักร
พลมารีย์ร่วมส่วนความเชื่อของพระนางมารีย์ในชัยชนะขององค์พระบุตรของพระนาง พระนางเชื่อว่าอานุภาพแห่งบาปในสากลโลกประสบความพ่ายแพ้แล้วต่อการสิ้นพระชนม์และการกลับคืนพระชนมชีพของพระเยซูเจ้า สมาชิกพลมารีย์ทุกคนขอมีส่วนร่วมในความเชื่อนี้ของแม่พระด้วย ยิ่งเรามีความสนิทชิดเชื้อกับแม่พระเท่าใด พระจิตเจ้าก็ยิ่งจะโปรดให้เราได้ลิ้มรสชัยชนะของพระเยซูเจ้ามากขึ้นเท่านั้น ในการรบสู้ทั้งหมดของพระศาสนจักร เมื่อมีจิตสำนึกเช่นนี้แล้ว พลมารีย์ควรเป็นแรงบันดาลใจแก่พระศาสนจักรทั้งมวล โดยรับมือกับปัญหาและความเลวร้ายของสังคมด้วยความวางใจและกล้าหาญ
“ก่อนอื่นเราต้องศึกษาทำความรู้จักกับยุทธวิธีเอาไว้ เราไม่ได้ทำศึกเพียงเพื่อแผ่พระศาสนจักร แต่เพื่อนำวิญญาณให้มาสนิทสัมพันธ์กับพระคริสดเจ้า เป็นการรณรงค์ที่แปลกประหลาดที่สุด เพราะไม่ใช่เป็นการต่อสู้กับศัตรู แต่ต่อสู้เพื่อศัตรู อย่าให้คำว่า “ศัตรู” ทำให้เราเข้าใจไขว้เขว
ผู้ที่ไม่ใช่คาทอลิก ก็ไม่ต่างอะไรกับคาทอลิก คือเขาเป็นมนุษย์พร้อมกับวิญญาณอมตะ ซึ่งพระเป็นเจ้าทรงเนรมิตมาตามพระฉายาของพระองค์ และพระคริสตเจ้ายอมสิ้นพระชนม์เพื่อไถ่กู้คืนมา แม้ว่าเขาอาจจะเป็นปฏิปักษ์อย่างมากกับพระศาสนจักรหรือกับพระคริสตเจ้าก็ตาม เป้าหมายของเราอยู่ที่การทำให้เขากลับใจ ไม่ใช่อยู่ที่การเอาชนะ เราต้องจำไว้เสมอว่า ปีศาจอยากให้วิญญาณของเขาและของเราด้วยต้องตกนรก ฉะนั้นเราต้องต่อสู้กับปีศาจเพื่อพระองค์
หน้า 428 บทที่ 39 จุดสำคัญในการแพร่ธรรมของคณะพลมารีย์
เราอาจจำใจต่อต้านบุคคลหนึ่งบุคคลใดเพื่อกีดกันเขาไม่ให้ทำอันตรายวิญญาณอื่น ๆ แต่ตลอดเวลาเราอยากเอาชนะใจเขาเพื่อวิญญาณของเขาเองจะได้รอด เราต้องต่อสู้โดยอาศัยฤทธิ์อำนาจของพระจิตเจ้า และพระองค์คือองค์ความรักระหว่างพระบิดากับพระบุตร ถ้าทหารหาญของพระศาสนจักรไปสู้รบด้วยความจงเกลียดจงชังอยู่ในจิตใจ ก็เท่ากับว่าพวกเขากำลังต่อสู้กับองค์พระจิตเจ้าเอง” (F. J. Sheed : Theology for Beginners)
34. พลมารีย์ต้องเผยแผ่ทุกสิ่งที่เป็นคาทอลิก
พลมารีย์จะไม่ละเลยการใช้เสื้อจำพวก เหรียญ และเครื่องหมายต่าง ๆ ที่พระศาสนจักรรับรองแล้ว การแจกจ่ายและแพร่ความศรัทธาเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ เป็นการเปิดท่อธาร ดังมีตัวอย่างมากมาย ซึ่งพระเป็นเจ้าทรงพอพระทัยให้พระหรรษทานหลั่งไหลมาตามท่อธารนั้น
โดยเฉพาะควรคิดถึงเรื่องเสื้อจำพวกแม่พระสีน้ำตาล อันเป็นเครื่องแบบซึ่งพระนางเองเป็นผู้มอบให้ บางคนแปลความตามตัวอักษรที่ว่าใครตายขณะสวมเสื้อนี้จะไม่ตกนรก’ แต่นักบุญคลาวด์ เดอ ลา กอลอมเบียร์ไม่ยอมแปลข้อความนี้อย่างเคร่งครัด ท่านว่า ‘ใคร ๆ อาจทำเสื้อจำพวกหายก็ได้ แต่ใคร ๆ ที่สวมเสื้อนั้นเวลาจะตายนั่นแหละรอด’ (Pere Raoul Plus)
เช่นเดียวกัน พลมารีย์จะส่งเสริมความศรัทธาตามบ้าน ให้เขาแขวนรูปภาพเกี่ยวกับพระศาสนาตามผนัง ติดตั้งกางเขนและรูปปั้น ให้ใช้น้ำเสกและสายประคำเสกมีพระคุณการุณย์ บ้านที่ดูหมิ่นสิ่งคล้ายศีลของพระศาสนจักรจะทอดทิ้งศีลศักดิ์สิทธิ์ที่ละเล็กละน้อย เป็นต้นเด็ก ๆ ต้องอาศัยสิ่งภายนอกชวนให้เกิดความศรัทธา ฉะนั้นบ้านที่ขาดรูปตั้งหรือรูปภาพศักดิ์สิทธิ์ ยากที่เด็กจะได้รับลักษณะที่แท้ และเป็นแก่นสารแห่งความเชื่อได้
หน้า 429 บทที่ 39 จุดสำคัญในการแพร่ธรรมของคณะพลมารีย์
35. พรหมจารีควรประกาศสรรเสริญ คือนำเรื่องแม่พระไปบอกสอนแก่มวลมนุษย์ เพราะพระนางเป็นมารดาของเขาทุกคน
หัวข้อที่สมเด็จพระสันตะปาปาเลโอ ที่ 13 ทรงโปรดปราน คือ เรื่องพระแม่ทรงเป็นพระมารดาของมวลมนุษย์ และเรื่องที่พระเป็นเจ้าทรงปลูกฝังเมล็ดพันธุ์แห่งความรักต่อพระนางไว้ในใจมนุษย์ทุกคน แม้ในบรรดาผู้ที่เกลียดชังพระนางหรือไม่รู้จักพระนาง เมล็ดพันธุ์แห่งความรักนี้ย่อมเจริญเติบโต และเช่นเดียวกับเมล็ดพันธุ์อื่น ๆ จะพัฒนาตามสภาพที่เหมาะสมเราจึงต้องเข้าถึงวิญญาณทั้งหลายและบอกเขาให้รู้ถึงบทบาทความเป็นมารดาของพระแม่มารีย์
สภาสังคายนาวาติกัน ที่ 2 ได้ประกาศเรื่องมารดรภาพสากลของพระแม่ (เรื่องพระศาสนจักร ข้อ 53, 65) และยังประกาศว่า พระนางทรงเป็นแหล่งกำเนิดและแบบอย่างสำคัญยิ่งของการแพร่ธรรม พระศาสนจักรต้องอาศัยพระนางในความพยายามที่จะช่วยมวลมนุษย์ให้รอด (ข้อ 66)
สมเด็จพระสันตะปาปาปอล ที่ 6 ทรงเรียกร้องให้ทุกแห่ง โดยเฉพาะที่ซึ่งชนส่วนมากไม่ใช่คาทอลิก ให้สัตบุรุษได้รับการฝึกสอนอย่างดี เรื่องบทบาทความเป็นมารดาของพระแม่มารีย์ เพื่อให้เขาแบ่งปันขุมทรัพย์ความรู้นั้นแก่พี่น้องที่ขัดสนกว่า
ยิ่งกว่านั้นพระสันตะปาปายังทรงมอบมนุษยชาติทั้งมวลให้พึ่งดวงหทัยชองพระนางมารีย์ เพื่อพระนางจะมอบภารกิจของพระนาง คือนำมวลวิญญาณไปยังพระคริสตเจ้า ที่สุดเพื่อให้เป็นที่ประจักษ์ถึงหน้าที่ของพระนางในความเป็นแม่และการรวมเป็นหนึ่งเดียวกันของครอบครัวมนุษย์พระสันตะปาปาทรงถวายพระเกียรตินามแด่พระนางว่า “พระมารดาแห่งเอกภาพ”
หน้า 430 บทที่ 39 จุดสำคัญในการแพร่ธรรมของคณะพลมารีย์
ฉะนั้นเขาผิดหลงไปอย่างน่าเศร้าที่ถือว่าแม่พระเป็นเครื่องกีดขวางเรื่องเอกภาพของคริสตชนคาทอลิก เราควรขจัดเรื่องนี้ให้เหลือแต่น้อยพระนางทรงเป็นพระมารดาแห่งพระหรรษทานและเอกภาพ จนกระทั่ง ถ้าปราศจากพระนาง เหล่าวิญญาณจะไม่พบวิถีชีวิตของตน
ขอให้พลมารีย์อิงหลักความจริงข้อนี้ เมื่อพยายามจะสอนวิญญาณให้กลับใจ ใครอธิบายสิ่งที่บางครั้งเราเรียกไม่ถูกต้องว่า เป็นความศรัทธาของพลมารีย์ต่อพระนางมารีย์ ความศรัทธานี้ไม่ใช่สมบัติเฉพาะของพลมารีย์แต่สืบเนื่องมาจากคำสอนซึ่งพลมารีย์ได้รับจากพระศาสนจักร
“พระศาสนจักรยกย่องพระนางมารีย์พรหมจารี ให้เป็นแบบฉบับ เพื่อบรรดาสัตบุรุษจะได้เอาแบบอย่างเสมอมา เราคงจะถอดแบบวิถีดำเนินชีวิตของแม่พระไม่ได้เพราะขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมซึ่งเป็นพื้นเพของแม่พระเกือบจะไม่มีปรากฎให้เห็นอยู่เลย ทุกวันนี้เราถอดแบบอย่างของแม่พระได้ในวิถีชีวิตส่วนตัว แม่พระน้อมรับน้ำพระทัยของพระอย่างเต็มใจและอย่างรับผิดชอบ (เทียบ ลก 1:38) แม่พระสดับตรับฟังพระวาจาของพระเจ้าและปฏิบัติตาม และเป็นเพราะว่าความเมตตาและจิตใจที่พร้อมรับใช้เป็นแรงผลักดันให้แม่พระประกอบกิจการต่างๆ แม่พระสมควรแล้วที่จะเป็นแบบอย่าง เพราะแม่พระเป็นศิษย์คนแรกและสมบูรณ์แบบที่สุดในบรรดาศิษย์ของพระคริสตเจ้า คุณลักษณะทั้งหมดของพระนางมารีย์ยึดถือเป็นบรรทัดฐานได้ทุกกาลสมัยทุกแห่งตลอดไป” (MCul 35)
หน้า 431 บทที่ 40 จงไปเทศน์สอนพระรสารแก่มนุษย์ทั้งมวล
บทที่ 40
จงไปเทศน์สอนพระวรสารแก่มนุษย์ทั้งมวล
(มก 16:15)
1. พระดำรัสสั่งสุดท้าย
วาจาสุดท้าย แม้เปล่งออกในขณะยุ่งยากสับสน หรืออ่อนล้า ก็ถือเป็นของสำคัญ ก็จะเห็นเป็นอย่างไรเล่าสำหรับพระดำรัสสั่งของพระคริสตเจ้าต่ออัครสาวก อันถือว่าเป็นพระประสงค์และพินัยกรรมของพระองค์ ประทานในวาระน่าเกรงขามกว่าการประทานพระบัญญัติบนเขาชีนาย คือ เป็นส่วนครบบริบูรณ์ของพระบัญญัติต่าง ๆ ที่ประทานแก่โลก ประทานแล้วเสด็จขึ้นสวรรค์ทันที พระองค์ทรงสวมพระมหิทธิศักดิ์ของพระตรีเอกภาพอย่างบริบูรณ์ ขณะที่ตรัสว่า “ท่านทั้งหลายจงออกไปทั่วโลก ประกาศข่าวดีให้มนุษย์ทั้งป่วง” (มก 16:15)
พระวาจานี้เป็นประเด็นสำคัญของคริสตชนคาทอลิก ความเชื่อต้องหมั่นแสวงหา มนุษย์ทุกคนด้วยความลุกร้อนมิรู้ดับ บางครั้งความลุกร้อนขนาดนั้นหายไป ไม่มีผู้ใดเอาใจใส่วิญญาณของผู้อื่น ทั้งบรรดาผู้ที่อยู่ในและนอกพะศาสนจักร แต่ถ้าพระดำรัสสั่งวันเสด็จขึ้นสวรรค์ไม่มีใครเอาใจใส่ก็จะเป็นการเสียหายมากมายสักเพียงไร ต้องสูญเสียพระหรรษทาน ส่วนความเชื่อก็ต้องลดน้อยถอยลง แม้กระทั่งหมดลงไปด้วย เชิญมองดูรอบๆจะเห็นว่ามีกี่แห่งแล้วต้องสูญเสียอย่างน่าสลดใจเช่นนั้น
เมื่อพระคริสตเจ้าตรัสว่า ทั้งมวล ก็หมายความว่า ทั้งหมดจริงๆพระองค์ทรงแลเห็นแต่ละคนจริง ๆ และสำหรับทุกคนนี้ “พระองค์ต้องถูกสวมมงกุฎหนาม ต้องแบกกางเขน ถูกตอกตะปู ถูกหอกแทงสีข้าง ถูกพวก
หน้า 432 บทที่ 40 จงไปเทศน์สอนพระรสารแก่มนุษย์ทั้งมวล
คนพาลจ้องมองเย้ยหยัน ต้องโศกเศร้าเหลือคณนานัป โศกศัลย์สุดคาดคะเนสลบแล้วสลบเล่า เจ็บปวดรวดร้าวที่สุด และสิ้นพระชนมับนเขากัลวารีโอ”มหันตทุกข์เช่นนี้ ต้องไม่ผ่านไปเสียเปล่า พระโลหิตนั้น บัดนี้ต้องนำไปถึงทุกคนซึ่งพระองค์ประทานสำหรับเขาอย่างเต็มที่
ภารกิจที่เราได้รับมอบหมายในฐานะเป็นคริสตชนคาทอลิกนั้นกระตุ้นเตือนให้ออกไปหามนุษย์ทุกคนในทุกที่ทุกแห่งหน ไม่ว่าจะต่ำต้อยที่สุด สูงส่งที่สุด อยู่ใกล้ อยู่ไกล เป็นสามัญชน เป็นคนต่ำช้าที่สุด อยู่ในกระท่อมแสนไกล ที่ตกทุกข์ได้ยากทุกคน ที่ชั่วร้ายแบบปีศาจ ในกระโจมไฟอันโดดเดี่ยว เป็นโสเภณีที่กลับใจ เป็นคนโรคเรื้อน ผู้ที่ใคร ๆ หลงลืม เป็นทาสสุรายาเมาและพยศชั่ว ชนชั้นอันตราย ที่อาศัยในถ้ำและเร่ร่อนไปกับกองเกวียน
บรรดาที่อยู่ในสนามรบ ที่หลบซ่อนตัวอยู่ ที่ซึ่งคนหลีกเลี่ยง สิ่งปรักหักพังที่มีมนุษย์ ช่องอันธพาลต่ำช้าที่สุด ทะเลน้ำแข็งอันเวิ้งว้าง ในทะเลทรายร้อนระอุ ในป่ารกชัฏ ตามบึงบางหมอกมัว ตามเกาะที่ไม่ปรากฏในแผนที่พวกป้าเถื่อนที่ยังไม่มีใครเคยพบ ไปจนถึงที่ที่ไม่มีใครรู้จัก เพื่อแสวงหาว่ามีใครอยู่ที่นั่นบ้างหรือไม่ ไปจนสุดหล้าฟ้าเขียว อย่าให้ใครรอดพ้นการเสาะแสวงหาของเราได้ มิฉะนั้นพระเยซูเจ้าผู้อ่อนโยนจะไม่พอพระทัยได้
หากจะว่า คณะพลมารีย์ต้องครุ่นคำนึงอยู่กับพระดำรัสสั่งสุดท้ายนั้นก็ไม่ผิด จึงต้องเป็นหลักแรกว่า ต้องตั้งต้นสร้างความสัมพันธ์ติดต่อกับวิญญาณรอบด้าน ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ถ้าทำดังนี้และสามารถทำได้แน่ ถ้าจัดให้มีคณะพลมารีย์ตั้งขึ้นทั่วทุกหนทุกแห่ง ซึ่งจะเป็นไปได้ในไม่ช้านัก เมื่อนั้นแหละพระดำรัสสั่งของพระคริสตเจ้าจึงจะเข้าสู่ความสำเร็จสมพระประสงค์
จะสังเกตเห็นว่า พระคริสตเจ้าไม่ได้สั่งว่าต้องทำให้ทุกคนกลับใจ
หน้า 433 บทที่ 40 จงไปเทศน์สอนพระรสารแก่มนุษย์ทั้งมวล
แต่เพียงให้เข้าถึงทุกคนเท่านั้น การทำให้ทุกคนกลับใจอาจพ้นความสามารถของมนุษย์ แต่ไม่พ้นวิสัยในการเข้าถึง และถ้าเข้าติดต่ออย่างใกล้ชิดสนิทสนมจริง ๆ ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ผลจะเป็นอย่างไร แน่นอนว่าจะมีผลเกิดขึ้นไหนเลยพระคริสตเจ้าจะสั่งให้ทำสิ่งที่ไม่มีความหมายหรือไม่จำเป็น เมื่อเข้าใกล้แบบรู้ใจกันแล้ว อย่างน้อยก็ได้ปฏิบัติตามพระดำรัสสั่งแล้ว นี่เป็นเรื่องสำคัญ ถัดไป ไฟของพระจิตเจ้าอาจจะอุบัติซ้ำก็ได้
คนทำงานที่ใจร้อนพากันเชื่อว่า เมื่อได้บากบั่นจนสุดกำลังก็แปลว่าได้ทำตามที่พระเป็นเจ้าทรงคาดหวัง อนิจจา ออกแรงแต่ลำพังคนเดียวเช่นนั้นจะทำไปได้แค่ไหน บากบั่นโดดเดี่ยวเช่นนั้น ไหนเลยพระองค์จะพอพระทัยและพระองค์ก็จะไม่บันดาลให้เกิดความดีจากสิ่งที่เขาไม่ได้พยายาม เหตุว่างานของพระศาสนาต้องทำไปเหมือนกับงานอื่น ๆ ที่เหลือบ่ากว่าแรงคนเดียวทำเป็นงานที่ต้องระดมกำลังคน จัดเป็นองค์กร จนกระทั่งได้ผู้ร่วมงานเพียงพอ
หลักการระดมกำลัง พยายามร่วมแรงกับผู้อื่นนี้ เป็นส่วนสำคัญของการทำหน้าที่ร่วมกัน หน้าที่นี้หมายความไม่เฉพาะสำหรับผู้ใหญ่ฝ่ายพระศาสนจักรหรือพระสงฆ์เท่านั้น แต่สำหรับพลมารีย์และคาทอลิกทุกคนด้วย เมื่อละลอกคลื่นแพร่ธรรมเริ่มจากผู้มีความเชื่อทุกคนก็รวมเป็นน้ำบ่าไปทั่วโลก
“ท่านรู้สึกว่า พลังทำงานของท่านจะพอ ๆ กับความปรารถนา และความก้าวหน้าในความเชื่อของท่านเสมอ เพราะการทำคุณประโยชน์ฝ่ายสวรรค์ไม่เหมือนกับฝ่ายโลกท่านย่อมได้รับพระพรของพระเจ้าอย่างไม่มีขนาดหรือขอบเขต ธารแห่งพระหรรษทานหลั่งไหลมาเสมอ ไม่มีขีดจำกัด ไม่มีท่อตายตัวกำหนดน้ำทรงชีวิต ชาวเราจงเตือนความกระหายน้ำเหล่านี้ เปิดดวงใจรับ น้ำนั้นก็จะหลั่งไหลมาสู่เรา มากน้อยตามขนาดความเชื่อของเรา จะทำให้เรารับได้” (St. Cyprian of Carthage)
หน้า 434 บทที่ 40 จงไปเทศน์สอนพระรสารแก่มนุษย์ทั้งมวล
2. พลมารีย์ต้องมุ่งเข้าหาวิญญาณแต่ละดวง
“แม้เห็นคนไปรับศีลมหาสนิทแน่นโต๊ะศักดิ์สิทธิ์ในพิธีบูชาขอบพระคุณเวลาเช้า ก็อย่ามองไม่เห็นไม่ทราบถึงความจริงอันน่าสะพรึงกลัว เช่น ครอบครัวทั้งครอบครัวมีแต่เรื่องยุ่งเหยิง หรือแม้ทั้งหมู่บ้านเหลวไหลราวกับความชั่วช้ามาครอบครองไว้
ประการที่สองควรจำไว้ว่า แม้บางแห่ง บาปมีความเข้มข้นและน่ารังเกียจสักเพียงไร ครั้นแพร่ออกไปแล้ว ใช่ว่าจะลดความชั่วร้ายน้อยลงไม่
ประการที่สาม แม้เราเห็นความชั่วช้าเกิดผลเต็มที่แล้ว ผลชั่วดั่งทะเลตาย แต่รากของมันได้แผ่ไปใต้ดินทั่วทุกมุม ที่ใดมีความเฉื่อยชา หรือบาปเบาเริ่มก่อตัวขึ้น ที่นั้นกำลังจะเกิดความชั่วร้ายต่าง ๆ ที่ใดมีคนงาน ที่นั่นก็มีงานให้ทำ หากไม่มีอะไรอื่น เพียงพูดปลอบโยนคนชราน่าสงสารในสถานพยาบาล หรือสอนเด็กเล็กทำสำคัญมหากางเขนและตอบคำถามว่า “ใครสร้างโลก” แม้เนเป็นเรื่องเล็กน้อย ท่านก็ได้ชื่อว่าได้ปราบความชั่วส่วนหนึ่งอย่างจริงจังแล้ว
ประการที่สี่ และนี่เป็นสารแห่งความหวังของผู้ประกาศข่าวดี เมื่อเห็นความชั่วประดังเข้ามา ทำให้เสียกำลังใจ ความวุ่นวายดังกล่าวนี้สามารถแก้ไขได้ ยังมียาขนานหนึ่ง มีเพียงขนานเดียวเท่านั้น คือต้องใช้ระบบของพระศาสนจักรเข้าแก้ไขด้วยความเข้มแข็งและพากเพียร
ภายใต้ความเลวร้ายที่เพิ่มขึ้น เพียงเห็นภายนอกก็หวั่นกลัวนั้นยังมีความเชื่อ ซึ่งเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม ยังใฝ่ฝันความดีอยู่ ถ้ามีคนใกล้ชิดช่วยเกลี้ยกล่อมชักนำในแง่ดี โดยชี้ให้เห็นความหวังว่า ทุกสิ่งทุกอย่างอาจแก้ไขได้ แม้แต่คนบาปหนักที่สุดก็ยังสามารถจะพบพระสงฆ์และรับศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ได้
หน้า 435 บทที่ 40 จงไปเทศน์สอนพระรสารแก่มนุษย์ทั้งมวล
เมื่อรับศีลศักดิ์สิทธิ์แล้วจะเกิดการเปลี่ยนแปลงใหม่ และไม่มีวันสูญสิ้นไปได้ พลังยิ่งใหญ่ซึ่งเกิดจากพระคริสตเจ้าในศีลศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ นั้นปรากฏอย่างชัดแจ้ง และเราต่างพิศวงที่ได้พบอัศจรรย์ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในชีวิต แบบนักบุญออกัสติน หรือมารีย์ มักดาเลนา
สำหรับรายอื่น ๆ มีการเยียวยาที่น่าทึ่งน้อยกว่า แรงผลักดันของนิสัยไม่ดี และอิทธิพลเก่ายากที่จะต่อสู้ได้ เขาจะหกล้มครั้งแล้วครั้งเล่า อาจจะไม่มีวันกลับเป็นพลเมืองดีได้ แต่อาจจะได้รับพระพรเหนือธรรมชาติเพียงพอสำหรับชีวิต ที่จะนำตนเข้าถึงฝั่งในบั้นปลาย เช่นนี้ จุดประสงค์อันยิ่งใหญ่ก็ได้สำเร็จไปแล้ว
ที่จริง มีทางพลาดพลั้งน้อยสำหรับพลมารีย์ที่มีความเชื่อชื่อๆ และอดทน ไม่ว่าปฏิบัติงานที่ใด หรือในที่มืดมนเพียงไรก็ทำได้ กฎมีอยู่สั้นๆ คือแผ่ขยายอาณาจักรศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ และความศรัทธาที่ประชาชนนิยมให้กว้างไกลแล้วบาปก็จะสลายตัวไปต่อหน้า จงทำดีทั่วทุกแห่งเถิด และท่านจะกอบกู้โลกทั้งมวล เพียงแต่หักด่านศัตรูได้สักแห่งก็พอแล้ว จงดัดแปลงเครื่องมือให้เหมาะสมกับความต้องการ
มีหกครอบครัวที่อาศัยบ้านเดียวกันห่างเหินจากพิธีบูชาขอบพระคุณและศีลศักดิ์สิทธิ์ทั้งไม่ยอมฟังคำเตือน ลองชวนสักครอบครัวหนึ่งในจำนวนนี้ให้ทำอะไรสักอย่างที่ต้องการความร่วมมือเพียงเล็กน้อยบ้าง เช่น การตั้งรูปพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าในบ้านนั้น แล้วท่านก็จะได้ชื่อว่าเป็นผู้มีชัยชนะแล้วครอบครัวนั้นจะพยายามปรับปรุงตัวเองให้ดีขึ้น และคนอื่นจะทำตาม ที่สุดหมู่ชนที่ฉุดกันให้ต่ำลง เพราะตัวอย่างไม่ดีก็จะค่อย ๆ ช่วยกันเป็นแบบฉบับทำตัวให้ดีขึ้น” (คุณพ่อมิคาแอล ครีดอน จิตตาธิการองค์แรกของคอนชิเลียม)
หน้า 436 บทที่ 40 จงไปเทศน์สอนพระรสารแก่มนุษย์ทั้งมวล
“มหาโจรคนนี้ ขโมยสวรรค์แท้ ๆ ไม่มีใครเคยได้รับคำมั่นสัญญาเช่นนี้มาก่อนเขาเลยสักคน ไม่ว่าจะเป็นอับราฮัม อิสอัค ยากอบ โมเสส ประกาศก หรืออัครสาวก โจรผู้นี้ขึ้นหน้าท่านที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด ที่จริงความเชื่อของเขาก็ขึ้นหน้าท่านเหล่านั้นด้วย
เขาเห็นพระเยซูทนทุกข์ทรมานแต่กลับนมัสการราวกับพระองค์ทรงพระสิริรุ่งโรจน์ เห็นพระองค์ทรงถูกตรึงการเขน กลับวิงวอนราวกับพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ โจรผู้น่าสรรเสริญ เห็นคนถูกตรึงกางเขนแท้ ๆ กลับประกาศก้องว่าเป็นพระเป็นเจ้า” (นักบุญยอห์น คริสชอสโตม)
3. ความสัมพันธ์พิเศษกับพระศาสนจักรน้องสาวของเรา ธรรมประเพณีออร์โธดอกซ์
ภารกิจแห่งการนำข่าวสารของพระเยชูคริสตเจ้าไปสู่ทุกคน ซึ่งพระสันตะปาปาปอล ที่ 6 กล่าวว่าเป็น “หน้าที่ที่สำคัญของพระศาสนจักร” (EN 1+) เป็นเรื่องที่เชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับพันธกิจอันยิ่งใหญ่ของพระศาสนจักรในการส่งเสริมการฟื้นฟูความเป็นหนึ่งเดียวกันในระหว่างคริสตชนเราระลึกถึงบทภาวนาขององค์พระผู้เป็นเจ้าในอาหารค่ำมื้อสุดท้าย “เพื่อให้ทุกคนเป็นหนึ่งเดียวกัน เช่นเดียวกับที่พระองค์ทรงอยู่ในข้าพเจ้าและข้าพเจ้าอยู่ในพระองค์ เพื่อให้เขาทั้งหลายอยู่ในพระองค์และในข้าพเจ้า โลกจะได้เชื่อว่าพระองค์ทรงส่งข้าพเจ้ามา” (ยน 17:21)
ในช่วงเริ่มต้นของสภาสังคายนาวาติกัน ครั้งที่สอง (1962-1965)ความเป็นหนึ่งเดียวกันของคริสตชนเป็นเรื่องหนึ่งที่มีความสำคัญยิ่งเป็นอันดับแรกของพระศาสนจักรคาทอลิกในยุคนี้ สภาสังคายนาได้ชี้ให้เห็นว่า “การแบ่งแยกของคริสตชนเป็นเรื่องที่ขัดแย้งกับพระประสงค์ของพระคริสตเจ้าอย่างเปิดเผย เป็นที่สะดุดแก่โลก และทำลายต้นกำเนิดแห่งความศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญที่สุด ที่ให้ออกไปประกาศข่าวดีแก่สิ่งสร้างทั้งปวง” (UR : 1)
หน้า 437 บทที่ 40 จงไปเทศน์สอนพระรสารแก่มนุษย์ทั้งมวล
จากบริบทข้างต้น การอ้างอิงพระสมณลิขิตของพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 เรื่อง “Orientale Lumen” ต่อไปนี้ แสดงให้เห็นว่าการฟื้นฟูเพื่อความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคริสตศาสนิกชนของพระศาสนจักรตะวันออกนั้นเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง
“อันเนื่องมาจากข้อเท็จจริงที่เราเชื่อว่าธรรมประเพณีของพระศาสนจักรตะวันออกที่ควรค่าแก่การคารวะนั้น ถือเป็นมรดกส่วนหนึ่งที่สำคัญของพระศาสนจักรของพระคริสตเจ้า จึงมีความจำเป็นที่คริสตชนคาทอลิกควรจะต้องมีความสนิทสนมคุ้นเคยกับธรรมประเพณีนั้นด้วย เพื่อที่พระศาสนจักรจะได้รับการฟื้นฟูขึ้นใหม่โดยธรรมประเพณีนั้น และเพื่อเป็นการให้กำลังใจในกระบวนการที่มุ่งสู่ความเป็นหนึ่งเดียวกันในวิธีที่พิเศษสุดเท่าที่จะเป็นไปได้สำหรับทั้งคริสตชนคาทอลิกและออร์โธดอกช
พี่น้องชายหญิงของพระศาสนจักรคาทอลิกตะวันออกของเรา ผู้ถือธรรมประเพณีนี้ด้วยชีวิต พร้อมกับพี่น้องชายหญิงออร์โธดอกซ์ของเรา สมาชิกของพระศาสนจักรคาทอลิกตามธรรมประเพณีแบบลาตินต้องทำความคุ้นเคยอย่างดียิ่งกับขุมทรัพย์นี้ และดังนั้นจึงรู้สึกพร้อมกับพระสั่นตะปาปาถึงความปรารถนาอันลึกซึ้งในการแสดงออกอย่างเต็มที่ถึงความเป็นสากลของพระศาสนจักรในการฟื้นฟูพระศาสนจักรและโลก การฟื้นฟูนี้ต้องไม่เป็นเพียงการแสดงออกโดยธรรมประเพณีเดียวหรือชุมชนเดียว เราทุกคนสามารถรับการเปิดเผยจากพระเจ้าได้อย่างสมบูรณ์และรับขุมทรัพย์อันมิอาจแบ่งแยกของพระศาสนจักรสากลนี้ ซึ่งได้รับการสงวนรักษาและเติบโตในชีวิตของพระศาสนจักรตะวันออกเช่นเดียวกันกับในพระศาสนจักรตะวันตกด้วย (ข้อ 1)”
พระสันตะปาปายังตรัสกับพระศาสนจักรออร์โธดอกซ์ว่า:
“เรามีความเชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิดซึ่งผูกมัดเราไว้ด้วยกัน คือ เรามีทุกสิ่งที่เกือบจะเหมือนกัน และเหนือสิ่งอื่นใดเรากระหายหาความเป็นหนึ่งเดียวกันอย่างแท้จริง (ข้อ 3)”
หน้า 438 บทที่ 40 จงไปเทศน์สอนพระรสารแก่มนุษย์ทั้งมวล
พระศาสนจักรออร์โธดอกซ์เป็นพระศาสนจักรน้องสาวของเราอย่างแท้จริง เราต้องสนับสนุนทุกวิถีทางเท่าที่จะเป็นไปได้ในการฟื้นฟูและเป็นหนึ่งเดียวกันระหว่างเราตามพระประสงค์ของพระคริสตเจ้า และดำเนินตามคำแนะนำของเอกสาร “Unitatis Redentegratio” ของสภาสังคาย-
นาวาติกันครั้งที่สอง
เพื่อที่จะสรุปเรื่องนี้จากข้ออ้างอิงที่กล่าวเอาไว้แล้ว การกลับใจของบรรดาผู้ที่ไม่ใช่คริสตชนคาทอลิกนั้น ไม่สามารถประยุกต์ใช้ได้กับพี่น้องชายหญิงในพระศาสนจักรออร์โธดอกซ์ของเราได้
4. แสวงหาผู้กลับใจเข้าพระศาสนจักร
สมเด็จพระสันตะปาปาปีโอ ที่ 11 ทรงประกาศอย่างสง่างามว่า “พระศาสนจักรตั้งขึ้นไม่ใช่เพื่อเหตุอื่น นอกจากเพื่อขยายพระราชัยของพระคริสตเจ้าไปทั่วแผ่นดิน เพื่อมนุษย์ทั้งสิ้นจะได้รับผลของการที่พระองค์ทรงไถ่บาป”
ฉะนั้นจึงเป็นเรื่องน่าเศร้า ที่คริสตชนคาทอลิกเจริญชีวิตท่ามกลางกลุ่มชนมากมายที่อยู่นอกพระศาสนจักร และพยายามเพียงเล็กน้อยหรือไม่พยายามเลย ที่จะนำเขาเหล่านั้นเข้าสู่พระศาสนจักร บางทีเรื่องนี้เนื่องมาจากคิดว่า การเอาใจใส่คริสตชนคาทอลิกเองเป็นปัญหาที่สำคัญ จนกระทั่งลืมว่าคนต่างความเชื่อก็เป็นส่วนหนึ่งของปัญหานี้เช่นเดียวกัน จะน่าประหลาดใจหรือไม่ หากว่าในที่สุดคริสตชนคาทอลิกก็ไม่ได้รับการป้องกันรักษา ทั้งคนนอกก็ไม่ได้นำเข้ามา
อย่าเข้าใจผิดเลย ความเชื่อต้องนำไปให้ผู้ต่างความเชื่อทุกคนรู้จักความขลาดกลัว ความเกรงอกเกรงใจ และอุปสรรคทั้งมวลต้องก้าวข้ามเสียคิดแต่อย่างเดียวว่า จะแบ่งพระพรความเชื่อนั้นแก่ทุกคนที่ยังไม่ได้รับ ต้อง
หน้า 439 บทที่ 40 จงไปเทศน์สอนพระรสารแก่มนุษย์ทั้งมวล
นำพระวรสารไปให้ถึงทุกคน
ความพยายามให้ถึงจุดมุ่งหมายนี้ ตามความคิดของนักบุญฟรังชิสเชเวียร์ ต้องเหมือนกับความพยายามของผู้ที่มีความรู้สึกลุกร้อนจนระงับไม่อยู่แต่คนอื่น ๆ จะแนะนำให้ใช้ความสุขุมรอบคอบ ถูกแล้วต้องใช้ความสุขุมในวงการของตน สำหรับคุ้มกันกิจการที่จำเป็น แต่ไม่ใช่เพื่อขัดขวางกิจการนั้นหน้าที่เหมาะสมสำหรับความสุขุมรอบคอบในระบบใดๆ คือ หน้าที่ยับยั้งซึ่งมักเข้าใจผิดว่าต้องใช้ความสุขุมรอบคอบ เป็นเครื่องจักรสำหรับทำงานครั้นไม่เห็นผลงานเกิดขึ้นก็ประหลาดใจ
มีความจำเป็นที่ต้องมีบุคคลเช่นนี้ คือคนที่ไม่กังวลแต่เรื่องของตนเองดำรงชีวิตอยู่เหนือความกลัวอันไร้สาระ ไม่หลงผิดในเรื่องที่พระสันตะปาปาเลโอ ที่ 13 ทรงตราไว้ในจำพวกอาชญากรรมที่เกินประมาณ เป็นความกล้าบ้าบิ่นฝ่ายหนึ่ง และอีกฝ่ายหนึ่งที่เรียกกันผิด ๆ ว่า ความสุขุมรอบคอบ วิญญาณถูกพัดพาไปตามกระแสที่ไหลเชี่ยวแห่งกาลเวลา ความพยายามที่ล่าช้าจะได้วิญญาณอื่นมาบ้าง แต่คงไม่ใช่ วิญญาณทั้งหมดเหล่านั้นที่ นรกตลอดนิรันดรจะรวบรวมไว้หมดสิ้นแล้ว!
“ถ้ามัวแต่พูดว่าประชาชนไม่พร้อมที่จะรับพระวรสาร ก็เลยลงเอยด้วยการไม่มีใครพร้อมที่จะนำพระวรสารไปสู่เขา” (พระคาร์ดินัล I.J. Suenens)
คนนอกพระศาสนจักรถูกคลื่นชัดไปมาอยู่ในทะเลแห่งความสงสัยหัวใจของเขาต้องการการพักผ่อน แต่เขาจำเป็นต้องได้รับคำเชิญชวนให้แน่ใจว่าในพระศาสนจักรมีความเชื่อและความสงบแท้ ก้าวแรกที่จะเกลี้ยกล่อมได้ คือเข้าใกล้ชิดเขา “ข้าพเจ้าจะเข้าใจได้อย่างไร ถ้าไม่มีใครอธิบาย” (กจ 8:30-31)
ถ้าคริสตชนคาทอลิกนิ่งเฉยในเรื่องนี้ แล้วเขาจะขจัดความเข้าใจผิดที่น่าเศร้าใจ ออกไปได้อย่างไร ก็เมื่อเห็นภายนอกยังเย็นเฉยอยู่ จะให้ปรปักษ์
หน้า 440 บทที่ 40 จงไปเทศน์สอนพระรสารแก่มนุษย์ทั้งมวล
ของพระศาสนจักรเข้าใจความเชื่ออันอบอุ่นซึ่งมีอยู่ภายในได้อย่างไร พวกปรปักษ์กลับน่าจะได้รับการอภัยไม่ใช่หรือ เมื่อเขาคิดว่าสิ่งที่พระศาสนจักรเชื่อ แต่แทบจะไม่ได้แสดงความกระตือรือร้นเลยนั้น ก็ไม่แตกต่างกับความไม่เชื่อของพวกเขา
บางคนมักคิดว่า เราได้ทำงานเพียงพอแล้ว เมื่อชาวคาทอลิกได้แพร่-ธรรมทางสื่อสารมวลชน หรือแสดงปาฐกถาต่อที่ประชุม แต่ที่จริงการกระทำเช่นนี้ได้ผลน้อย เพราะขาดการติดต่อเป็นรายบุคคล หากการกลับใจต้องอาศัยการเข้าถึงมหาชนแล้ว สมัยปัจจุบันอันเป็นสมัยเทคโนโลยีของการสื่อสารก็น่าจะเป็นสมัยที่ผู้คนพากันกลับใจครั้งหนึ่ง ๆ เป็นจำนวนมากทีเดียว แต่ตรงข้าม แม้จะรักษาคริสตชนคาทอลิกเองไม่ให้เสีย ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเสียแล้ว
ต้องเข้าติดต่อสนิทสนมเป็นรายบุคคลจึงจะได้ผล มิฉะนั้นป่วยการเปล่า สื่อมวลชนเหล่านี้มีไว้สำหรับปลุกใจหรือสนับสนุนบุคคลเหล่านั้น ตามแผนการนำ “แกะฝูงอื่น” มาหานายชุมพาบาลที่ดี แต่หัวใจของโครงการนั้นอยู่ที่บุคคลต่อบุคคลเกลี้ยกล่อมกัน
ตามกฎที่ปกครองโลกฝ่ายจิตวิญญาณที่ท่านเฟรเดริก โอชานัมกล่าวไว้นั้นการดึงดูดของวิญญาณหนึ่งให้สูงขึ้น กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือต้องปฏิบัติตามกฎแห่งความรักต่อเพื่อนมนุษย์ ของกำนัลขาดผู้ให้ก็ไร้ผล แต่บ่อยเหลือเกิน คริสตชนคาทอลิกทำตนอยู่ในสภาพช่วยตนเองไม่ได้ เขาเชื่อว่าอคติและการไม่รู้ความจริงของบุคคลนอกพระศาสนจักรนั้น หยั่งรากลึกยากที่จะแก้ไขได้
อคตินั้นมีหลายอย่างด้วยกัน ติดเป็นประเพณีมาตั้งแต่เกิด และแข็งแกร่งเพราะการศึกษาอบรม คริสตชนคาทอลิกทั่วไปจะเอาอะไรมาคัดค้านกับบรรดาผู้ที่ไม่เชื่อเหล่านี้ แต่ไม่ต้องกลัว อาศัยคำสอนของพระศาสนจักร
หน้า 441 บทที่ 40 จงไปเทศน์สอนพระรสารแก่มนุษย์ทั้งมวล
ของพระศาสนจักรเข้าใจความเชื่ออันอบอุ่นซึ่งมีอยู่ภายในได้อย่างไร พวกปรปักษ์กลับน่าจะได้รับการอภัยไม่ใช่หรือ เมื่อเขาคิดว่าสิ่งที่พระศาสนจักรเชื่อ แต่แทบจะไม่ได้แสดงความกระตือรือร้นเลยนั้น ก็ไม่แตกต่างกับความไม่เชื่อของพวกเขา
บางคนมักคิดว่า เราได้ทำงานเพียงพอแล้ว เมื่อชาวคาทอลิกได้แพร่-ธรรมทางสื่อสารมวลชน หรือแสดงปาฐกถาต่อที่ประชุม แต่ที่จริงการกระทำเช่นนี้ได้ผลน้อย เพราะขาดการติดต่อเป็นรายบุคคล หากการกลับใจต้องอาศัยการเข้าถึงมหาชนแล้ว สมัยปัจจุบันอันเป็นสมัยเทคโนโลยีของการสื่อสารก็น่าจะเป็นสมัยที่ผู้คนพากันกลับใจครั้งหนึ่ง ๆ เป็นจำนวนมากทีเดียว แต่ตรงข้าม แม้จะรักษาคริสตชนคาทอลิกเองไม่ให้เสีย ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเสียแล้ว
ต้องเข้าติดต่อสนิทสนมเป็นรายบุคคลจึงจะได้ผล มิฉะนั้นป่วยการเปล่า สื่อมวลชนเหล่านี้มีไว้สำหรับปลุกใจหรือสนับสนุนบุคคลเหล่านั้น ตามแผนการนำ “แกะฝูงอื่น” มาหานายชุมพาบาลที่ดี แต่หัวใจของโครงการนั้นอยู่ที่บุคคลต่อบุคคลเกลี้ยกล่อมกัน
ตามกฎที่ปกครองโลกฝ่ายจิตวิญญาณที่ท่านเฟรเดริก โอชานัมกล่าวไว้นั้นการดึงดูดของวิญญาณหนึ่งให้สูงขึ้น กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือต้องปฏิบัติตามกฎแห่งความรักต่อเพื่อนมนุษย์ ของกำนัลขาดผู้ให้ก็ไร้ผล แต่บ่อยเหลือเกิน คริสตชนคาทอลิกทำตนอยู่ในสภาพช่วยตนเองไม่ได้ เขาเชื่อว่าอคติและการไม่รู้ความจริงของบุคคลนอกพระศาสนจักรนั้น หยั่งรากลึกยากที่จะแก้ไขได้
อคตินั้นมีหลายอย่างด้วยกัน ติดเป็นประเพณีมาตั้งแต่เกิด และแข็งแกร่งเพราะการศึกษาอบรม คริสตชนคาทอลิกทั่วไปจะเอาอะไรมาคัดค้านกับบรรดาผู้ที่ไม่เชื่อเหล่านี้ แต่ไม่ต้องกลัว อาศัยคำสอนของพระศาสนจักร
หน้า 442 บทที่ 40 จงไปเทศน์สอนพระรสารแก่มนุษย์ทั้งมวล
จะเป็นโครงการใดก็ตาม ควรให้ความสนใจดังต่อไปนี้
ก) การศึกษาเกี่ยวกับศาสนา ไม่ควรถกเถียงกัน แต่ควรแสวงหาด้วยความจริงใจ
ข ) เมื่อมีผู้กลับใจแล้ว ควรติดตามเอาใจใสให้แน่ใจว่า มิตรภาพจากคาทอลิกนั้นยังดำรงอยู่ หรือถ้าเหมาะสมก็เชิญชวนให้เขาเป็นสมาชิกพลมารีย์ ไม่มีใครมีความสามารถเท่าคนเหล่านี้ในการตอบคำถามของบรรดาผู้ที่เคยเป็นพวกเดียวกับตนมาก่อน
ค) ควรติดตามคนที่เคยได้รับการอบรมสั่งสอนมาบ้างแล้วแต่ขาดความเพียรเพียงพอ (ทราบได้จากรายชื่อที่ผู้ชำนาญการฝึกอบรมจัดทำไว้) เท่าที่เคยพบ เห็นว่า ผู้ที่เหลวไหลยังมีความปรารถนาที่จะเป็นคริสตชนคาทอลิก แต่มักจะมีเหตุบังเอิญให้ขาดเรียน เพราะความอายหรือผลัดวันประกันพรุ่งจึงไม่ได้มาเรียนอีก
ง) โอกาสติดต่ออย่างได้ผลกับผู้ไม่ใช่คาทอลิกมีอยู่มากมายถ้าพลมารีย์เพียงแต่ติดต่อกับเขาตามวิธีธรรมดาแบบคริสตชนคาทอลิกเมื่อบุคคลนั้นเกิดปัญหาอึดอัดใจ ทุกข์โศกหรือเดือดร้อนเรื่องใด พลมารีย์ย่อมเตือนให้เขาภาวนา หรือแนะให้อ่านหนังสือช่วยบรรเทาทุกข์ พูดกับเขาถึงความรักของพระเป็นเจ้าและแม่พระผู้เป็นมารดาของเรา เพื่อเป็นการปลอบใจและยกระดับจิตใจของเขาขึ้น
วิธีอันเกิดผลดีเช่นนี้ใช้ได้กับผู้ไม่ใช่คริสตชนคาทอลิกขณะที่ต้องประสบความทุกข์ยาก แต่ก็ไม่มีใครนำไปใช้ เรื่องพระศาสนากลับไม่มีใครกล้าพูด มีแต่แสดงความรู้สึกประสาโลก ซึ่งไม่สามารถปลอบโยนหรือเกิดผลสำเร็จอะไรเลย ขอให้พลมารีย์ใช้วิธี (อย่างคริสตชนคาทอลิก) ที่เกิดผลสมบูรณ์ในการติดต่อเถิด ในเวลานั้นเขาจะยินดีรับฟังวาจาเกี่ยวกับเรื่อง
หน้า 443 บทที่ 40 จงไปเทศน์สอนพระรสารแก่มนุษย์ทั้งมวล
เหนือธรรมชาติด้วยความรู้คุณ และวาจานั้นจะสามารถเจริญต่อไปจนเกิดดอกออกผลได้
จ) หลายแห่งได้จัดให้มีการเข้าเงียบหนึ่งวันสำหรับผู้ไม่ใช่คริสตชนคาทอลิก ตามมาตรฐานประกอบด้วย การร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณ ปาฐกถาสามครั้ง ประชุมไขปัญหา อาหารกลางวัน อาหารว่าง พิธีอวยพรศีลมหาสนิทบางทีมีภาพยนต์ที่มีคำอธิบายประกอบ ถ้าใช้สถานที่ของนักบวชด้วยยิ่งดีเพื่อช่วยให้เกิดบรรยากาศเหมาะสม ช่วยขจัดความเข้าใจผิด และอคติต่างๆ
กำหนดวันจัดงานให้แน่นอน ออกบัตรเชิญ แจ้งตารางเวลา ให้พลมารีย์ในตำบลนั้น หรือโดยวิธีใดก็ตาม แจกบัตรเชิญให้ผู้ไม่ใช่คริสตชนคาทอลิกพร้อมทั้งอธิบายความหมายของการเข้าเงียบให้เข้าใจ จะใช้บัตรนี้ให้ถูกต้องโดยอาศัยจิตวิทยาช่วย
ฉะนั้น อย่าแจกบัตรเชิญเหมือนกับใบปลิวโฆษณา ควรทำสถิติของผู้ที่ได้รับบัตรนี้ และในเวลาต่อมาควรสอบทานดูว่า เขาได้ใช้บัตรเชิญให้เป็นประโยชน์อย่างไร แจกบัตรเชิญให้ผู้ที่มีหวังว่าจะไปเข้าเงียบได้ พลมารีย์หรือผู้ช่วยที่รับบัตรเชิญไปแจก เท่ากับยอมรับหน้าที่เชิญคนมาเช้าเงียบหากบัตรเชิญเหลืออยู่ในมือ ย่อมถือว่าเขายังทำหน้าที่ไม่สำเร็จ
ถือเป็นธรรมเนียมว่าผู้ที่ไม่ใช่คริสตชนคาทอลิกจะมีเพื่อนคริสตชนคาทอลิกซึ่งเป็นผู้ช่วยนำให้เขามาเข้าเงียบนั้นเป็นผู้เอาใจใส่ จุดประสงค์ในเรื่องนี้คือเพื่อช่วยให้ผู้ที่ไม่ใช่คริสตชนคาทอลิกรู้สึกคุ้นกับสภาพใหม่ เพื่อตอบปัญหาต่าง ๆ และสนับสนุนให้เขาพบพระสงฆ์ในวันนั้นด้วย ไม่จำเป็นต้องสงบนิ่งการเข้าเงียบนี้เปิดรับทั้งชายและหญิงและควรรักษาจุดมุ่งหมายของตนไว้ ฉะนั้นคริสตชนใหม่และคริสตชนใจเย็นเฉย ไม่ควรให้เข้ามาปะปนด้วย
หน้า 444 บทที่ 40 จงไปเทศน์สอนพระรสารแก่มนุษย์ทั้งมวล
หากเชิญชวนได้มากเท่าไร จำนวนผู้เข้าเงียบมากขึ้น คนที่เข้าพระศาสนาก็มากขึ้นเป็นเงาตามตัว จากประสบการณ์แสดงว่าผลเกิดเป็นสัดส่วนตามกันเช่นนี้เสมอ ด้วยเหตุนี้ เมื่อทวีจำนวนการติดต่อเบื้องต้นได้สองเท่า (ซึ่งอยู่ในมือของเราจะทำได้แน่นอน) ก็จะทวีคนกลับใจได้สองเท่าด้วย
“เพื่อให้ทุกคนเป็นหนึ่งเดียวกัน เช่นเดียวกับที่พระองค์ทรงอยู่ในข้าพเจ้า และข้าพเจ้าอยู่ในพระองค์ เพื่อให้เขาทั้งหลายอยู่ในพระองค์และในข้าพเจ้า” (ยน 17:21)
“หากนำความช่วยเหลือของแม่พระออกจากหลักฐานพระวรสาร ลบการเป็นประจักษ์พยานของพระนางในพระศาสนจักรคาทอลิก จะขาดความเชื่อมโยงไม่ใช่เพียงลูกโซ่ข้อเดียว แต่จะขาดทั้งสายทีเดียว ไม่ใช่เป็นเพียงช่องโหว่หรือรอยร้าวในอาคารเท่านั้น แต่ขาดรากฐานทั้งหมดไปด้วย ความเชื่อในสิ่งมหัศจรรย์เกี่ยวกับพระบุตรทรงรับเอากาย ความเชื่อซึ่งถ่ายทอดกันมาหลายชั่วอายุ ความเชื่อของมนุษย์โลกทั้งหมดขึ้นอยู่กับสักขีพยานข้อเดียว หน่วยเดียว เสียงเดียว นั่นคือพระนางพรหมจารีมารีย์” (Cardinal Wiseman : The Actions of the New Testament)
5. ศีลมหาสนิท อุปกรณ์แห่งการกลับใจ
บ่อยครั้งเป็นการเสียเวลามากเกินไปในการถกเถียงเพื่อการพิสูจน์ซึ่งแม้พิสูจน์ได้ทั้งหมดก็ไม่สามารถชักจูงใครมาสู่พระศาสนจักรได้ ในการอภิปรายต่าง ๆ ควรมุ่งให้คนต่างความเชื่อได้แลเห็นวี่แววของขุมทรัพย์ที่มีอยู่ในพระศาสนจักร ไม่มีวิธีอื่นใดได้ผลดีเท่ากับคำสอนเรื่องศีลมหาสนิท
แม้ผู้ที่ไม่ค่อยรู้จักพระเยชูเจ้า ไม่ค่อยเข้าใจเรื่องเท่าไร ยังสรรเสริญพระองค์อย่างมากมาย ตามที่ประจักษ์แก่สายตามนุษย์ เขายอมรับว่าพระองค์ทรงฤทธานุภาพเหนือธรรมชาติอย่างไม่ซ้ำแบบใคร สรรพสิ่งเชื่อฟังพระองค์คนตายกลับคืนชีพ ความพิการต่างๆ พอได้ยินพระองค์ตรัสสั่งก็เตลิดหนีไปเกลี้ยง จนกล่าวกันว่าอดีตคนไข้เหล่านั้นมีชีวิตยืนยาวอย่างน่าอัศจรรย์
หน้า 445 บทที่ 40 จงไปเทศน์สอนพระรสารแก่มนุษย์ทั้งมวล
พระองค์ทรงกระทำสิ่งเหล่านี้ด้วยพระอานุภาพของพระองค์ เพราะแม้เป็นมนุษย์ พระองค์ก็ยังเป็นพระเจ้านิรันดร ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่ง ผู้มีพระวาจาอันทรงฤทธานุภาพ
พระคัมภีร์เล่าว่า ครั้งหนึ่งพระเยซูเจ้าผู้ทรงเป็นทั้งมนุษย์และพระเจ้าซึ่งเป็นสิ่งอัศจรรย์ที่สุด ได้ทรงกระทำสิ่งน่าอัศจรรย์ใจคือตั้งศีลมหาสนิท “พระเยซูเจ้าทรงบิขนมปังประทานให้บรรดาศิษย์ ตรัสว่า ‘จงรับไปกินเถิดนี่เป็นกายของเรา’ ” (มธ 26:26) นี่คือคำอันทรงฤทธิ์ของพระคัมภีร์ แต่มีอีกกี่คนที่ไม่เข้าใจความหมายของคำนี้ “ถ้อยคำนี้ขัดหูจริงใครจะฟังได้” (ยน 6:60)
การทักท้วงของบางคน แม้ในบรรดาสานุศิษย์ของพระองค์เอง ได้สะท้อนก้องเรื่อยมาหลายศตวรรษ ยังความเสียหายแกวิญญาณนับไม่ถ้วน “คนนี้เอาเนื้อของตนให้เรากินได้อย่างไร” (ยน 6:52) ที่พวกศิษย์คิดไม่เชื่อ ดังนั้น ยังพอให้อภัยได้ เพราะท่านยังไม่เข้าใจธรรมชาติที่แท้จริงของพระองค์ซึ่งประทับยืนอยู่ท่ามกลางพวกเขา
แต่ผู้ที่ยอมรับรู้พระเทวภาพและพระสรรพานุภาพของพระคริสตเจ้ายังมีเมฆหมอกอะไรมาบดบังจิตใจพวกเขาเล่า แน่นอน พวกเขาควรจะเห็นว่าเป็นการลวงโลกสักเพียงไร ฉะนั้นไม่น่าจะคิดเลย หากว่าพระบุคคลพระเจ้าองค์เดียวกันนั้น เมื่อตรัสอย่างสง่ากับคนธรรมดาว่า “กายของเรา”ขณะเดียวกันกลับหมายความว่า “ไม่ใช่กายของเรา”
ขอให้คนพวกนี้พิจารณาคำคมเชิงตรรกวิทยาของท่านปาสกาลที่ว่า “ข้าพเจ้าเกลียดความโฉดเขลา ที่ไม่เชื่อเรื่องศีลมหาสนิท หากพระวรสารเป็นความจริง หากพระเยชูคริสตเจ้าเป็นพระเจ้า ยังจะมีอะไรที่ทำให้เชื่อยากกว่าเรื่องนี้อีกเล่า”
หน้า 446 บทที่ 40 จงไปเทศน์สอนพระรสารแก่มนุษย์ทั้งมวล
เรื่องที่ท้าทายอันยิ่งใหญ่เช่นศีลมหาสนิทนี้ เมื่อใครได้ยินแล้วจำต้องสนใจ การอธิบายแล้วอธิบายเล่าถึงเรื่องพระสิริรุ่งโรจน์สูงสุดของพระศาสนจักรให้พี่น้องที่แตกแยกออกไปได้ฟังนั้น ทำให้เขาต้องเพ่งพิศรำพึงว่าเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ และผู้ที่ดีจริงหลายคนจะคิดคำนึงหาเหตุผลเอาเองว่า “ถ้าเรื่องนี้จริง ทุกวันนี้ข้าพเจ้าก็ขาดทุนไม่ใช่น้อย” ความคิดปวดร้าวใจเช่นนี้ จะก่อให้เกิดแรงกระตุ้นตนเองเป็นเบื้องต้น ให้ก้าวเข้าสู่บ้านแท้ของตน (คือพระศาสนจักร)
บุคคลนอกพระศาสนจักรไม่ใช่น้อยที่อ่านพระคัมภีร์ พยายามรำพึงและภาวนาด้วยใจซื่อ เพื่อนำพระเยซูเจ้าออกจากอดีตอันคลุมเครือในประวัติศาสตร์ พวกเขารู้สึกชื่นชม เมื่อคำนึงเห็นภาพพระคริสตเจ้าชัดเจนกำลังทำงานแห่งความรัก ถ้าเขาเหล่านี้เพียงเข้าใจว่า ในพระศาสนจักรมีความน่าอัศจรรย์แห่งศลมหาสนิท ซึ่งสามารถนำพระเยเจ้าตามที่พระองค์เป็นอยู่พระองค์ทั้งครบ ในสภาพมีพระกายแท้ พร้อมกับพระเทวภาพ มาอยู่ในชีวิตปัจจุบันของเขาได้ ถ้าเขาจะได้เห็นจริงว่าอาศัยศีลมหาสนิท พวกเขาสามารถสัมผัสพระองค์ สนทนากับพระองค์ ชื่นชมพระองค์ ถวายการต้อนรับพระองค์อย่างใกล้ชิด สนิทสนมมากกว่าที่สหายรักของพระองค์กระทำที่เบธานี
ยิ่งกว่านั้นอีก อาศัยการรับศีลมหาสนิท โดยร่วมใจเป็นหนึ่งเดียวกับพระนางมารีย์ พวกเขาจะสามารถถวายอย่างใกล้ชิดต่อพระวรกายของพระเยชูเจ้าเยี่ยงพระมารดา และดังนี้ จึงหมายความด้วยว่าสามารถชอบพระคุณพระองค์พอเพียงกับพระคุณทั้งสิ้นที่พวกเขาได้รับจากพระองค์
แน่นอน พระคุณวิเศษของศีลมหาสนิทนั้นจำต้องอธิบายแก่ปวงชนต่างความเชื่อ เพื่อให้เขาแสวงหาความสว่างต่อไป แล้วพระเยซูเจ้าจะโปรดให้
หน้า 447 บทที่ 40 จงไปเทศน์สอนพระรสารแก่มนุษย์ทั้งมวล
เขาเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับพระองค์ เช่นเดียวกับศิษย์ (สองคน) ที่เดินทางไปเมืองเอมมาอุส ใจของพวกเขาลุกร้อนเมื่อพระองค์สนทนาตามทาง และทำให้พวกเขาเข้าใจพระวาจา “ที่ฟังยาก” ของพระองค์ เมื่อตรัสว่า “จงรับไปกินเถิด นี่เป็นกายของเรา” (มธ 26:26) “เขาก็ตาสว่างและจำพระองค์ได้เมื่อทรงบิขนมปัง (ลก 24:13-35)
การรับรู้เรื่องศีลมหาสนิท ทำให้ความเข้าใจผิด และอคติต่างๆ ที่ทำให้เข้าใจไขว้เขว ทำให้ทัศนะเรื่องสวรรค์มืดมนนั้น กลับละลายสูญไปสิ้นดุจเกล็ดหิมะถูกแสงแดดละลาย จนกระทั่งผู้ที่เดินแต่มองไม่เห็นทาง จะอุทานด้วยความปลาบปลื้มว่า “ฉันรู้อย่างเดียวว่าฉันเคยตาบอด และบัดนี้มองเห็นแล้ว” (ยน 9:25)
“พระนางเจ้าแห่งศีลมหาสนิทคือพระนางมารีย์ ในฐานะผู้แจกจ่ายพระหรรษ-ทานทั่วไป ทรงรับหน้าที่สมบูรณ์และเด็ดขาด จัดการเกี่ยวกับศีลมหาสนิทและพระหรรษ-ทาน อันเป็นผลของศีลมหาสนิทนั้น เพราะว่าศีลศักดิ์สิทธิ์นี้เป็นอุปกรณ์มีประสิทธิภาพยิ่งเกี่ยวกับความรอด เป็นผลเลิศแห่งการไถ่บาปซึ่งพระเยเจ้านำมาสู่ชาวเรา
ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นภาระของพระนางที่จะทำให้พระเยซูเจ้าเป็นที่รู้จักและเป็นที่รักในศีลศักดิ์สิทธิ์นี้ เป็นหน้าที่ของพระนางที่จะเผยแผ่เรื่องศีลมหาสนิทไปทั่วโลกทวีจำนวนวัดทั้งสร้างขึ้นในหมู่ประชาชาติต่างความเชื่อ ป้องกันความเชื่อในศีลมหาสนิทต่อต้านกับพวกเฮเรติก และผู้ไม่เลื่อมใสศรัทธา
เป็นกิจของพระนางที่จะตระเตรียมวิญญาณให้ไปรับศีลมหาสนิท นำเขาไปเฝ้าศีลมหาสนิทบ่อย ๆ และเฝ้าอยู่เฉพาะพระพักตร์พระองค์โดยสม่ำเสมอ พระนางเป็นคลังของพระหรรษทานทั้งสิ้น ซึ่งบรรจุอยู่ในศีลมหาสนิท” (Tesniere : Mois de Notre-Dame du T.S. Sacrement)
หน้า 448 บทที่ 40 จงไปเทศน์สอนพระรสารแก่มนุษย์ทั้งมวล
6. ปัญหาหมู่ชนที่ทอดทิ้งศาสนา
บัดนี้ ถึงปัญหาน่ากลัวเกี่ยวกับการทอดทิ้งศาสนา ซึ่งมีอยู่มากมายทั่วไป ในศูนย์กลางต่าง ๆ ของโลกหลายต่อหลายแห่ง มีหมู่ชนทั้งเมืองซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นคาทอลิก แต่ดำเนินชีวิตชนิดที่ไม่รู้จักพิธีบูชาขอบพระคุณหรือศีลศักดิ์สิทธิ์หรือแม้การสวดภาวนาแต่อย่างใดเลย
ในย่านเช่นนี้แห่งหนึ่งสำรวจพบว่า ในจำนวนพลเมือง 20,000 คนมีคริสตชนคาทอลิกที่ปฏิบัติศาสนกิจจริงๆ เพียง 75 คน อีกแห่งหนึ่ง มีผู้ไปร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณ เพียง 400 คนจากจำนวน 30,000 คน และอีกแห่งหนึ่งไปร่วมพิธีมิสชา 40,000 คนจากจำนวน 900,000 คน
น่าสลดใจที่บ่อยครั้งทีเดียวมีการทอดทิ้งศาสนาในย่านต่างๆดังกล่าวนี้ ถูกปล่อยปละละเลยยิ่งวันยิ่งร้ายแรงและทวีขึ้น ไม่มีผู้ใดพยายามอย่างจริงจังที่จะยื่นมือเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย โดยอ้างว่าการเข้าหาโดยตรงจะไร้ผล หรือจะเกิดขัดเคือง และบางทีอาจมีอันตรายด้วย แต่ประหลาดแท้ข้ออ้างเช่นนี้มีผู้ยอมรับว่าถูกต้อง แม้ในจำพวกผู้ที่คิดว่าเป็นเรื่องปกติที่มิชชันนารีควรไปสุดมุมโลกเพื่อเผชิญกับภยันตราย และแม้แต่ความตาย
เรื่องแสนเศร้าเกี่ยวกับท้องที่เช่นนี้คือ พระสงฆ์ไม่สามารถเข้าติดต่อโดยตรงกับบุคคลเหล่านั้น ผลที่ร้ายแรงอย่างหนึ่งของการละทิ้งศาสนาก็คือทำให้บุคคลเหล่านั้นต่อสู้กับพระสงฆ์ ผู้เป็นบิดาฝ่ายวิญญาณของตน และขับไล่ท่านไม่ให้เกี่ยวข้องกับพวกตน
ในกรณีเช่นนี้ คณะพลมารีย์สามารถทำประโยชน์ได้ดีเลิศ คณะพลมารีย์เป็นผู้แทนพระสงฆ์ และดำเนินงานตามแผนการของท่าน แต่ยังเป็นของประชาชน จึงไม่ถูกกีดกันไว้แต่ไกล พลมารีย์ดำเนินชีวิตอย่างเดียวกับสามัญชน ฉะนั้นพวกทอดทิ้งศาสนาจึงไม่สามารถทำลายงานของคณะพลมารีย์
หน้า 449 บทที่ 40 จงไปเทศน์สอนพระรสารแก่มนุษย์ทั้งมวล
ได้ แม้จะกล่าวมุสาป้องกันไม่ให้เขาใกล้ชิด ซึ่งได้เคยปฏิบัติต่อชนชั้นต่างกัน เช่น พระสงฆ์
มนุษย์จะเอาอะไรมาแลกกับวิญญาณของตน (มก 8:37) มนุษย์จะต้องบากบั่นสักเพียงไรเพื่อวิญญาณของเพื่อนของเขา แน่นอนต้องเป็นความบากบั่นในขั้นสูงสุด แม้กระทั่งต้องเสียชีวิต หากจำเป็น ท้องที่อันกว้างขวางที่ทอดทิ้งศาสนาเหล่านั้น จำต้องนำพระวรสารไปป่าวประกาศด้วยความตั้งใจแน่วแน่ไม่น้อยกว่าในประเทศมิสชังที่ห่างไกล ไม่ได้แนะนำว่าควรจะมองข้ามพวกที่ออกปากว่า “หมดหวัง” หรือพวกอ้างว่า “มีอันตราย” ไปเสียหมด เพราะว่าบางอย่างที่เขากล่าว อาจนำผลสำเร็จ และความปลอดภัยมาสู่การรณรงค์ของคณะพลมารีย์ก็ได้
แต่ต้องไม่ยอมให้คำพูดคำใดของบุคคลเหล่านั้นเป็นเหตุให้การปฏิบัติงานต้องหยุดชะงักเป็นอันขาด จำต้องแสดงความเชื่อยิ่งใหญ่ หากต้องการเคลื่อนภูเขาแห่งความชั่วร้าย คือเป็นความเชื่ออย่างที่นักบุญอิกญาชิโอกล่าวถึงเมื่อท่านกล่าวว่าความไว้วางใจในพระเป็นเจ้าของท่านใหญ่หลวงนักเพียงที่ท่านพร้อมสรรพที่จะออกไปสู่ทะเลลึก ในเรือเล็ก ๆ ที่ไม่มีพาย และไม่มีใบเลย
จะเห็นว่า ความเป็นมรณสักขีไม่ได้รอท่าพลมารีย์ แต่เป็นความสำเร็จในขั้นสูงที่รอคอยพวกเขาอยู่ ทุกวันนี้มีวิญญาณจำนวนมากมายกำลังรอให้มีผู้ไปแนะนำโดยตรงเป็นครั้งแรก
วิธีติดต่อ ในสถานการณ์ดังที่สมมุติไว้นั้น เมื่อไม่มีใครรู้จักแม้ข้อ-บังคับเบื้องต้นที่ง่ายที่สุด เมื่อนั้น ในตอนแรก ๆ ผลมารีย์จะต้องพยายามเน้นถึงเรื่องจำเป็นที่สำคัญที่สุด คือ การร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณ
ให้จัดหาแผ่นพับที่ใช้ภาษาง่าย ๆ แต่จับใจ ที่อธิบายถึงความดีงาม
หน้า 450 บทที่ 40 จงไปเทศน์สอนพระรสารแก่มนุษย์ทั้งมวล
และอานุภาพของพิธีบูชาขอบพระคุณ ยิ่งแผ่นพับนี้มีภาพสอดสีประกอบเรื่องจะได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อมีแผ่นพับพร้อมแล้ว พลมารีย์จะออกเยี่ยมทีละบ้านติดต่อกัน จะแจกแผ่นพับนี้ให้แก่ผู้ยินดีรับคนละใบ พร้อมกับหาทางชักชวนให้เลื่อมใสต่อพิธีบูชาขอบพระคุณถ้าทำได้ เห็นจะไม่ต้องเตือนว่าในทุก ๆโอกาส ท่าทีของพลมารีย์ต้องอ่อนโยนและพากเพียรอย่างไม่มีขอบเขต อย่าเอาแต่ชักถามหรือดูว่าผู้บกพร่องเป็นอันขาด
ขั้นแรกคงถูกบอกปัดเป็นจำนวนมาก แต่จะเกิดผลสำเร็จทันทีมากรายเป็นการตอบแทน ต่อไปก็ใช้วิธีเยี่ยมตามปกติของพลมารีย์ โดยมีจุดประสงค์ว่าจะพยายามผูกมิตรภาพแท้กับบุคคลที่รับเยี่ยม ได้เป็นมิตรแล้วอย่างอื่นก็จะได้แทบทุกครั้ง
ในกรณีที่มีการกลับมาปฏิบัติศาสนกิจใหม่นั้น ต้องทำเหมือนทหารที่เล็งเตรียมยึดจุดยุทธศาสตร์แห่งใดแห่งหนึ่ง เพราะแต่ละแห่งนั้น จะจูงให้ยึดแห่งอื่นได้ต่อไป พอยึดได้จำนวนมากแล้วประชามติจะเริ่มแปรรูป ทุกคนในถิ่นนั้นจะพิจารณาสังเกตพลมารีย์ ทุกคนจะพูด วิจารณ์และคิด หัวใจที่เคยเย็นเฉยจะเริ่มลุกร้อน
ปีแล้วปีเล่า จำนวนผู้ที่กลับมาใหม่จะมีไม่น้อย ตลอดเวลาหลายปีท่าทีทั่วไปของประชาชนต่อศาสนาดูเหมือนจะไม่มีอะไรเปลี่ยน ก็เหมือนบ้านที่ปลวกกินเสียพรุน ภายนอกดูดี เมื่อถูกกระทบก็พังทันที เช่นเดียวกันจะมีเหตุการณ์บางอย่างที่แสดงว่าจิตใจของประชาชนนั้นได้หันเข้าหาพระเจ้าแล้ว
ผลของความบากบั่น เมืองหนึ่งมีพลเมือง 50,000 คน พูดได้ว่าแทบไม่มีใครปฏิบัติศาสนกิจเลย นอกจากสภาพความเพิกเฉยนี้ ยังมีสิ่งผิดปกติทุกชนิดแอบแฝงอยู่ มีหลายแห่งที่พระสงฆ์เข้าไปแล้วจะต้องได้รับการเย้ยหยัน มีผู้ตั้งเปรสิเดียมหนึ่งขึ้นด้วยจิตตารมณ์แห่งความเชื่อ และลงมือ
หน้า 451 บทที่ 40 จงไปเทศน์สอนพระรสารแก่มนุษย์ทั้งมวล
ดำเนินงานเยี่ยม ทั้ง ๆ ที่ดูท่าไม่มีหวังเกิดผลเลย แต่แล้วใครๆ ก็พิศวงในผลสำเร็จต่อเนื่องกันราวกับสายน้ำ ทวีขึ้นทั้งจำนวนและความสำคัญ ในขณะที่พลมารีย์เองก็เพิ่มขึ้นทั้งจำนวน และประสบการณ์ในการทำงาน
หลังจาก 3 ปีแห่งความสำเร็จนไม่ได้คาดหวัง ผู้ปกครองฝ่ายพระศาสนจักรได้จัดให้มีการชุมนุมรับศีลมหาสนิท สำหรับผู้ชาย และคิดว่าคงจะมีสัก 200 คน แต่ความจริงผู้มารับศีลมหาสนิทมีจำนวนถึง 1, 100 คนแสดงว่าประชาชนทั้งมวลรู้สึกได้ผลอย่างลึกซึ้งจากงานแพร่ธรรม 3 ปีนั้น
แค่นี้ก็พอเห็นความสำเร็จขั้นสุดท้ายอยู่แล้ว และชนชั้นต่อไปในเมืองนั้นจะมองเห็นสิ่งต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไปหมด ความศักดิ์สิทธิ์จะเข้าครอบครองในถิ่นที่ครั้งหนึ่ง ใคร ๆ ก็เย้ยหยันพิธีบูชาขอบพระคุณและล้อเลียนพระสงฆ์ท้องถิ่นอื่น ที่มีสิ่งแวดล้อมดังกล่าวนี้ ควรหาวิธีบำบัดทำนองเดียวกันด้วย
“พระเยซูเจ้าจึงตรัสกับบรรดาศิษย์ว่า “จงมีความเชื่อในพระเจ้าเถิด” เราบอกความจริงกับท่านว่า ถ้าผู้ใดบอกภูเขาลูกนี้ว่า “จงยกตัวขึ้นและทิ้งตัวลงไปในทะเลเถิด”โดยไม่มีใจสงสัย แต่เชื่อว่าสิ่งที่เขาพูดนั้นจะเป็นจริง มันก็จะเป็นเช่นนั้น ดังนั้น เราบอกท่านทั้งหลายว่า ทุกสิ่งที่ท่านวอนขอในการอธิษฐานภาวนา จงเชื่อว่าท่านจะได้รับ และท่านก็จะได้รับ” (มก 11:22-24)
7. คณะพลมารีย์เป็นผู้สนับสนุนงานธรรมทูต สภาพการณ์ของงานธรรมทูต
งานธรรมทูต ณ ที่นี้ หมายถึงงานที่บรรดาธรรมทูตมอบให้มนุษยชาติต่าง ๆ และทุกหมู่เหล่าที่ยังไม่รู้จักพระคริสตเจ้า หรือยังไม่เชื่อในพระองค์พระศาสนจักรยังไม่ได้ลงรากท่ามกลางชนชาติเหล่านั้น ทั้งวัฒนธรรมของพวกเขาก็ยังไม่ได้สัมผัสกับพระคริสต์ศาสนา
ชนชาติที่พระศาสนจักรจะต้องเข้าไปประกาศพระวรสารนั้น ต่างมีระดับวัฒนธรรม กาศึกษาและสถานภาพทางสังคมแตกต่างห่างไกลกันมาก
หน้า 452 บทที่ 40 จงไปเทศน์สอนพระรสารแก่มนุษย์ทั้งมวล
แม้ภายในประเทศเดียวกัน เราจะพบเห็นว่า มีทั้งเมืองที่เต็มไปด้วยประชากรและหมู่บ้านเล็ก ๆ ที่กระจัดกระจายอยู่ตามชนบท เราจะพบเห็นความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยกับคนจน ระหว่างผู้ที่มีการศึกษาสูงกับผู้ที่ด้อยการศึกษาระหว่างกลุ่มชนที่มีเชื้อชาติและภาษาที่แตกต่างกัน
มองไปในระดับโลกแล้ว จำนวนผู้ที่ไม่รู้จักพระคริสตเจ้า กำลังเพิ่มขึ้นรวดเร็วกว่าจำนวนของผู้มีความเชื่ออันแท้จริง
บรรดาธรรมทูตที่ประกอบด้วยพระสงฆ์ นักบวชหรือมราวาสต่างมุ่งหน้าไปสู่ท้องนาอันไพศาลนี้ เนื่องจากธรรมทูตเป็นคนต่างด้าว จึงรู้สึกว่าอุปสรรคตัวสำคัญอยู่ที่ความแตกต่างกันทางเชื้อชาติ ภาษาและวัฒนธรรมประสบการณ์และการฝึกฝนจะช่วยแก้ไขจุดอ่อนเหล่านี้ได้บ้าง แต่ไม่สามารถขจัดให้หมดไป
ภาระหน้าที่ของเหล่าธรรมทูตในดินแดนที่เข้าไปบุกเบิกใหม่ ก็คือจัดตั้งกลุ่มชนคริสตชนชาวพื้นเมือง ซึ่งในที่สุดก็จะพัฒนาเป็นวัดต่างๆ ที่พึ่งตนเองได้และพร้อมที่จะรับช่วงออกไปประกาศพระวรสารต่อ ๆ ไป
เริ่มแรก บรรดาธรรมทูตจะรีบทำความรู้จักและผูกมิตรกับผู้คนรอบข้างที่ไหนพอทำได้ ก็จะให้บริการสาธารณูปโภคที่จำเป็น เช่น โรงเรียนและสถานพยาบาล เพื่อเป็นพยานยืนยันถึงเมตตาจิตแบบคริสตชนคาทอลิกและจะได้มีโอกาสสัมผัสใกล้ชิดกับชาวพื้นเมือง เมื่อมีผู้กลับใจมาถือศาสนาเหล่าธรรมทูตก็จะคัดเลือกเขาเหล่านั้น เป็นครูคำสอน และเป็นบุคลากรอื่น ๆ ของพระศาสนจักร
บรรดาธรรมทูต หรือครูคำสอนชาวพื้นเมืองก็สอนพระธรรมคำสอนแก่บรรดาผู้ที่มีความประสงค์จะเรียน พูดอย่างตรงไปตรงมา การปลุกจิตสำนึกให้อยากเรียนรู้พระธรรมคำสอนก็คือทำให้คนกลับใจนั่นเอง ตามแผนการ
หน้า 453 บทที่ 40 จงไปเทศน์สอนพระรสารแก่มนุษย์ทั้งมวล
ของพระเป็นเจ้าแล้ว การที่คน ๆ หนึ่งนึกอยากจะเรียนคำสอนโดยปกติแล้วได้ไปรู้จักคุ้นเคยกับฆราวาสคาทอลิกก่อนและหลังจากนั้นจึงได้ไปรู้จักกับพระสงฆ์ เป็นเรื่องของมิตรภาพและความไว้วางใจกันที่ค่อย ๆ เจริญเติบโตขึ้น ผู้ที่มาขอให้พระสงฆ์สอนคำสอน มักจะพูดทำนองเดียวกันว่า “ที่มานี่ก็เพราะได้ไปรู้จักกับคาทอลิกคนหนึ่งก่อน”
เมื่อธรรมทูตประสบความยุ่งยากใจ คณะพลมารีย์ก็ขอเสนอตัวเป็นเครื่องมือนำให้คนกลับใจ และให้ยึดมั่นในความเชื่อตลอดไป สมาชิกพลมารีย์เป็นคนพื้นเมือง ตอนแรก ๆ ก็อาศัยจิตตาธิการเป็นธรรมทูตระดับผู้นำ ช่วยอบรมสั่งสอนให้ผู้ที่กลับใจใหม่ ได้ออกไปประกาศพระวรสารอย่างต่อเนื่องและมีระเบียบ พลมารีย์ผิดแผกไปจากธรรมทูต ตรงที่ไม่ได้แทรกซึมเข้าไปในสังคมจากภายนอก พลมารีย์อยู่ที่นั่นแล้ว ถ้าเขาได้รับการฝึกอบรมอย่างเหมาะสม ก็สามารถที่จะทำหน้าที่เป็นแสงสว่าง เป็นเกลือและเชื้อแป้งของชุมชนตามแบบอย่างคริสตชนรุ่นแรก ๆ
การขยายคณะพลมารีย์
ขณะที่คณะพลมารีย์เติบใหญ่ทั้งในแง่ปริมาณและคุณภาพ ก็เป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องเพิ่มจำนวนเปรสิเดียม เพื่อทุกคนจะได้มีโอกาสฝึกฝนตนเองอย่างดี บางทีบรรดาจิตตาธิการคงจะมีความสามารถพอที่จะควบคุมเปรสิเดียม องค์ละมากกว่า 1 เปรสิเดียมขึ้นไป บางทีอาจจะใช้พวกครูคำสอนและผู้ที่มีประสบการณ์ ให้ไปเป็นประธานเปรสิเดียมที่กำลังฝึกใหม่และมีหวังจะไปได้ ทุกครั้งที่ตั้งเปรสิเดียมขึ้นมาใหม่ ก็หมายความว่า มีการเกณทัทหารที่มีความเชื่อจำนวน 10 ถึง 20 นายให้เข้าประจำการ
ความสำเร็จในนโยบายเพิ่มเปรสิเดียม ก็หมายความว่า พระสงฆ์แต่ละองค์ก็คงได้กำกับดูแลการทำงานของผู้แพร่ธรรมจำนวนมาก ผลลัพธ์
หน้า 454 บทที่ 40 จงไปเทศน์สอนพระรสารแก่มนุษย์ทั้งมวล
ก็คือนอกจากภารกิจอันสูงส่งแล้ว ท่านจิตตาธิการก็สวมบทบาทเกือบทั้งหมดของพระสังฆราช ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระสังฆราช เจ้าพระคุณก็จะพบว่าภายใต้การปกครอง มีคนที่อุทิศตนทำงานแพร่ธรรมจำนวนมากมาย ซึ่งทุกคนอยู่ในระเบียบที่เข้มแข็ง และโดยผ่านทางพลมารีย์เหล่านี้ เจ้าพระคุณก็จะสามารถเทศน์สอนพระวรสารแก่ทุกคนภายในเขตสังฆมณฑล
ทุกอย่างที่นำมาเสนอ ณ ที่นี้ ไม่ใช่เป็นโครงการในฝัน แต่เป็นผลงานที่ประสบความสำเร็จในการแพร่ธรรมตามท้องที่สภาพต่างๆ เป็นเวลานาน
หน้าที่ที่กำหนดชัดเจนของพลมารีย์แต่ละคน
ตามโครงกรที่ได้เสนอเอาไว้ พลมารีย์แต่ละคนจะได้รับมอบให้ปฏิบัติงานในขอบเขตที่เจาะจงเอาไว้อย่างดี คณะพลมารีย์จะทำการสำรวจพื้นที่ปฏิบัติงาน และแบ่งออกเป็นส่วนย่อย ๆ พอเหมาะกับคน ๆ หนึ่ง เพื่อรับไปปฏิบัติด้วยความรับผิดชอบจริงจัง สมาชิกพลมารีย์แต่ละคนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองทั้งหมดแต่ผู้เดียว พลมารีย์จะได้รับการอบรมให้ตระหนักว่าตนมาปฏิบัติด้วยความสมัครใจที่จะรับใช้พระสงฆ์สุดแต่ท่านจะกำหนด โดยผ่านทางพระสงฆ์ พลมารีย์ก็จะร่วมเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในการปฏิบัติภารกิจของพระศาสนจักร วัตถุประสงค์ข้อหนึ่งของระบบคณะพลมารีย์ คือ ทำให้สมาชิกแต่ละคนสำนึกถึงความรับผิดชอบของตนและจัดวางตัวให้สมาชิกแต่ละคนรับผิดชอบต่อหน้าที่ต่างๆ ให้เหมาะกับที่ได้รับความไว้วางใจ
หน้าที่ที่เหมาะสำหรับมอบให้พลมารีย์ปฏิบัติก็มี เช่น
(ก) ช่วยธรรมทูตตระเตรียมสัมภาระก่อนออกเดินทางไปเยี่ยมหมู่บ้านที่อยู่โดดเดี่ยวห่างไกล เป็นครั้งคราว
(ข) สอนคำสอนให้คริสตชนสำรอง หาคนใหม่มาเพิ่มและสนับสนุนให้มาเรียนเป็นปกติ
หน้า 455 บทที่ 40 จงไปเทศน์สอนพระรสารแก่มนุษย์ทั้งมวล
(ค) เตือนใจคริสตชนคาทอลิกที่ปล่อยปละละเลย ให้กลับมาปฏิบัติศาสนกิจเสียใหม่
(ง) จัดศาสนกิจแทนในที่ที่ไม่มีพิธีบูชาขอบพระคุณ
(จ) ทำหน้าที่เป็นศาสนบริกรตามโอกาสที่จำเป็น
(ฉ) เอาใจใส่ช่วยให้ผู้ที่ใกล้จะสิ้นใจได้รับการอภิบาล และงานปลงศพแบบคริสตชนคาทอลิก งานเมตตาจิตฝ้ายวิญญาณหรือฝ่ายกาย ก็ขึ้นอยู่กับความจำเป็นของแต่ละท้องถิ่น
พลมารีย์ต้องมีความรู้เรื่องคำสอนพระศาสนจักรอย่างดีด้วยไหม
ระดับความรู้ย่อมสุดแล้วแต่งานที่ทำว่าต้องการระดับใด แน่นอนเพื่อจะทำให้คนกลับใจและเป็นกำลังใจให้เขาซื่อสัตย์ยึดมั่นตลอดไป พลมารีย์มีความรู้ขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับความเชื่อก็เพียงพอแล้ว ปรากฎการณ์ที่พระศาสนจักรเจริญเติบโตรวดเร็วในยุคแรก ๆ ก็พอที่จะยกมาสนับสนุนข้ออ้างดังกล่าวได้เป็นอย่างดี หลาย ๆ ครั้งที่มีคนกลับใจ ก็เพราะได้รับการชักชวนจากสมาชิก ถูกกดขี่ข่มเหง ซึ่งดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมที่มีอำนาจ มั่งมีและฉลาดปราดเปรื่อง
ณ ที่นี้ เราจะไม่หยิบยกเรื่องการสอนที่เป็นรูปแบบ ซึ่งก็เป็นเรื่องจำเป็นเสมอสำหรับพลมารีย์ แต่เราจะพูดเรื่องที่หัวใจดวงหนึ่งพยายามถ่ายทอดขุมทรัพย์อันล้ำค่าของตนไปให้หัวใจอีกดวงหนึ่ง พลมารีย์จะทำการถ่ายทอดให้ผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อมีระดับการศึกษาไล่เลี่ยกัน ส่วนความเหลื่อมล้ำทางสังคมนั้น ประสบการณ์ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าไม่ได้เป็นอุปสรรค เพราะสามารถข้ามไปมาหาสู่กันได้ คาทอลิกที่มั่นใจในความเชื่อของตน แม้จะรู้น้อย แต่อย่างน้อยเขาก็มีความเชื่อ และสามารถถ่ายทอดทัศนคตินี้ให้เข้าถึงจิตใจของผู้ที่เขาต้องการให้มีส่วนร่วมในความเชื่อนั้นด้วย
หน้า 456 บทที่ 40 จงไปเทศน์สอนพระรสารแก่มนุษย์ทั้งมวล
แต่เขาจะไม่นำความสามารถนี้ของเขาออกมาใช้ เว้นเสียแต่ว่าจะมีแรงกระตุ้นจากองค์การหนึ่งใด หรือแรงกดดันอื่น มากระตุ้นให้เขากระทำเช่นนั้น หลังจากที่ได้สอนอบรมแล้ว คงจะมีสักคนในจำนวนนั้นที่จับจ้องหาโอกาสเหมาะที่จะแบ่งปันความเชื่อของตนแก่คนอื่นต่อๆ ไป
คณะพลมารีย์ คือแม่พระทำงาน
การนำพลมารีย์เข้ามาใช้หมายความว่านำพลังยิ่งใหญ่ 2 อย่างมาสู่ดินแดนชนต่างความเชื่อ (ก) หลักการจัดงานเป็นระเบียบ ซึ่งมีแต่เพิ่มพูนความสนใจ และพละกำลังมากยิ่งขึ้น และ (ข) สิ่งที่ทรงอานุภาพยิ่ง คืออิทธิพลประสาแม่ของพระนางมารีย์ ซึ่งมีอยู่บริบูรณ์ในระบบของคณะพลมารีย์ และแจกจ่ายอย่างอุดมสมบูรณ์แก่วิญญาณ โดยผ่านทางการแพร่ธรรมอันเข้มแข็งของคณะ
จริงทีเดียว การฉายแสงแห่งความเชื่อไม่อาจสำเร็จนอกจากประสานงานกับพระนาง ความบากบั่นใด 1 ที่พระนางไม่ได้ควบคุมดูแลก็เหมือนน้ำมันที่ไม่มีตะเกียง บางทีเนื่องจากสำนึกซาบซึ้งถึงความจริงนี้ไม่พอ ความสำเร็จอันเด่นชัดด้านการกลับใจในสมัยปัจจุบันจึงหายาก
ในสมัยแรก ๆ คนทั้งชาติกลับใจได้รวดเร็ว และนักบุญชีริลแห่งอาเล็กชันเดรีย ก็ได้ประกาศในสังคายนาที่เมืองเอเฟชัส ปี 431 อย่างแน่ใจว่าอาศัยพระนางมารีย์ ทุกคนจึงได้กลับใจมาหาพระคริสตเจ้า
ยิ่งกว่านั้น นักบุญฟรังชิส เซวียร์ องค์อุปถัมภ์ผู้ยิ่งใหญ่ของมิสชังก็กล่าวดังที่ได้แก่ตัวท่านเองแล้วว่า ไม่ว่าที่ใดก็ตาม หากท่านไม่ได้วางรูปพระมารดา ณ เชิงมหากางเขน ถิ่นเหล่านั้นต่างแข็งข้อต่อพระวรสารที่ท่านนำไปประกาศทุกแห่งไป
ถ้าอาศัยการแพร่ธรรมของพลมารีย์ กิจการอันมีผลดียิ่งของพระนาง
หน้า 457 บทที่ 40 จงไปเทศน์สอนพระรสารแก่มนุษย์ทั้งมวล
มารีย์ สามารถบังเกิดขึ้นแก่เนื้อนาประเทศที่ไม่ใช่คาทอลิกได้ เหตุใดสมัยอย่างที่ท่านนักบุญชีริลกล่าวถึงนั้น จึงไม่อุบัติขึ้นในโลกอีก เพื่อให้ดินแดนของชนชาติต่าง ๆ มาน้อมรับความเชื่อแบบคริสตชนสืบไปเล่า
“ชาวประมงเหล่านั้นต้องอวดดีอย่างโฉดเขลา หรือมิฉะนั้นก็ได้รับการดลใจอันสูงส่งแบบสวรรค์แท้ ๆ ลองพิจารณางานที่พวกเขาคิดจะทำสักหน่อย ไม่มีพระราชาจักรวรรดิ หรือสาธารณรัฐใด ดำรินโยบายสูงลิ่วเช่นนั้น ทั้ง ๆ ที่ดูเหมือนไม่มีหวังได้รับความช่วยเหลือจากมนุษย์เลย ชาวกาลิลีพวกนี้ ก็ได้จัดแบ่งโลกเป็นเขตเพื่อชิงชัยต่อไปพวกเขาได้วางแผนเด็ดขาดที่จะประกาศพระนามพระเยซูเจ้าไปทั่วโลก พวกเขาปรารถนาจะสถาปนาคารวกิจใหม่ เครื่องบูชาใหม่ กฎเกณฑ์ใหม่ ทั้งนี้ พวกเขาว่าเพราะมนุษย์คนหนึ่ง ซึ่งคนอื่นได้ตรึงบนกางเขนที่กรุงเยรูชาเล็ม ได้ประกาศิตไว้เช่นนั้น” (Bossuet)
8. การจาริกแสวงบุญ เพื่อพระคริสตเจ้า (Peregrinatio pro Christo)
ความกระตือรือร้นที่จะติดต่อกับทุกวิญญาณ ต้องเริ่มกับผู้ที่อยู่ใกล้ตัวเราก่อน ความกระตือรือร้นนี้ต้องไม่หยุดอยู่ ณ ที่นั้น แต่ควรเคลื่อนออกไปจากบรรยากาศชีวิตปกติ จุดประสงค์นี้จะสำเร็จง่ายขึ้นเมื่อดำเนินไปตามขบวนการพลมารีย์ที่เรียกว่า การจาริกแสวงบุญเพื่อพระคริสตเจ้า ชื่อนี้รับจากโคลงธรรมทูตของพวกฤษีตะวันตก เป็นบทประพันธ์อมตะของมงตาเลมเบิร์ต (Montalembert)
กลุ่มคนที่ไม่รู้จักแพ้คณะนี้ “จงออกจากแผ่นดินของท่าน จากญาติพี่น้อง จากบ้านของบิดา” (ปฐก 12:1) และตระเวนทั่วทวีปยุโรปในช่วงศตวรรษที่ 6 และ 7 และปลูกฝังความเชื่ออีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่อาณาจักรโรมันได้พินาศ ทำให้ความเชื่อนี้หมดไป
ด้วยอุดมการณ์เดียวกันนี้ การแสวงบุญนี้ก็ส่งคณะพลมารีย์ ที่มีเวลาและอุปกรณ์จำกัด จาริกไปยังสถานที่ห่างไกล ซึ่งมีสภาพทางศาสนาเสื่อมโทรม
หน้า 458 บทที่ 40 จงไปเทศน์สอนพระรสารแก่มนุษย์ทั้งมวล
เป็น “ตัวแทนในการทำงานที่ยากและไม่เป็นที่นิยมกัน เพื่อเผยแสดงให้เห็นว่าพระคริสตเจ้าคือพระผู้ไถ่กู้โลก งานนี้ต้องเป็นงานของประชาชน” (พระสันตะป่าปาปอล ที่ 6) สถานที่ใกล้เคียงไม่ใช่ลักษณะของการแสวงบุญแบบนี้ หากเป็นไปได้ควรเป็นคนละประเทศ
หลักการเดินทางและผจญภัยเพื่อความเชื่อเช่นนี้ แม้ว่าจะใช้เวลาเล็กน้อยหนึ่งหรือสองสัปดาห์ ก็จะสามารถเปลี่ยนแนวคิดของพลมารีย์ และทำให้ภาพของพลมารีย์ทุกคนเด่นชัดขึ้น
9. ชาวบ้านพระแม่มารีย์ (Incolae Mariae)
ที่จริง จิตใจของผู้มีน้ำใจดีในหลายกรณี จะไม่ยินดีกับการไปทำงานเพียงหนึ่งหรือสองสัปดาห์ แต่ประสงค์จะมีโอกาสทำงานได้มากกว่านั้น ณ ดินแดนที่ห่างไกลจากที่อยู่ของตน
พลมารีย์ดังกล่าว ที่สามารถหารายได้ครองชีพในแดนไกลได้นานๆ เช่น 6 เดือน 1 ปี หรือมากกว่านั้น โดยไม่ทำให้ครอบครัวเดือดร้อนหรือมีพันธะอื่นใด อาจได้รับการแต่งตั้งจากสภาคอนชิเลียม หรือเซนาตุส หรือเรเยีย เพื่อไปงานเผยแผ่พระศาสนาในระยะเวลาที่เหมาะสม แน่นอนการไปทำงานดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าหน้าที่ของสถานที่ที่จะไปทำงานนั้นด้วย อาสาสมัครเหล่านี้เรียกว่า ชาวบ้านพระแม่มารีย์ เป็นคำที่แสดงถึงการไปอยู่ยังต่างแดนชั่วคราว โดยมีจิตตารมณ์การเสียสละร่วมกับพระแม่มารีย์
10. การแสวงหาวิญญาณในวันอาทิตย์ (Exploratio Dominicalis)
การแสวงหาวิญญาณวันอาทิตย์ เป็นคำที่อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเป็นการแสวงบุญระยะสั้น และอาจแปลได้ว่าเป็นการเสาะหาวิญญาณในวันอาทิตย์
หน้า 459 บทที่ 41 ใหญ่ยิ่งกว่าหมดคือความรัก
ขอให้เปรสิเดียมทุกแห่งในโลก หากเป็นไปได้ ควรสละเวลากันทั้งเปรสิเดียม อย่างน้อยปีละครั้งในวันอาทิตย์ เพื่อไปทำงานในเขตที่มีปัญหาก็ได้ ที่อยู่ไกลกว่าปกติบ้าง แต่ก็ต้องไม่ไกลจนเสียเวลาเดินทางไปกลับมากเกินไป งานนี้ไม่จำกัดเวลาเพียง 1 วัน อาจเป็น 2 หรือ 3 วันก็ได้ การทำงานในวันอาทิตย์เช่นนี้ จะช่วยให้สมาชิกของคณะส่วนใหญ่ (หลายกรณีทั้งเปรสิเดียม)มีส่วนร่วมในการเผชิญภัย เป็นที่ยอมรับว่าแม้จะมีน้ำใจดีเพียงใดก็ตามการจาริกแสวงบุญเพื่อพระคริสตเจ้านั้นสมาชิกส่วนใหญ่อาจจะไม่สามารถปฏิบัติตามได้เสมอไป
จากประสบการณ์แสดงว่า จำเป็นที่จะต้องเน้นสิ่งที่คอนชิเลียมย้ำอยู่บ่อย ๆ คือ การแสวงหาวิญญาณวันอาทิตย์นี้ เป็นโครงการทำงานทั้งเปรสิเดียม ฉะนั้นสภาต่าง ๆ และเปรสิเดียมทั้งหลายพึงระลึกถึงจุดประสงค์นี้เมื่อมีการจัดงานแสวงหาวิญญาณวันอาทิตย์
บทที่ 41
“ใหญ่ยิ่งกว่าหมดคือความรัก”
(1 คร 13:13)
พระนางมารีย์ทรงเปี่ยมด้วยความรัก จนพระเป็นเจ้าทรงเห็นสมควรแล้วที่จะโปรดให้พระนางปฏิสนธิและบังเกิดพระองค์ผู้เป็นองค์ความรักเองคณะพลมารีย์ซึ่งเจริญอยู่ได้ด้วยความศรัทธาภักดีและพยายามถอดแบบพระนาง จึงต้องมีความรักอันเข้มข้นแบบพระนางเป็นพิเศษ คณะพลมารีย์ต้องเปี่ยมไปด้วยความรักเสียก่อน จึงจะนำความรักไปมอบให้แก่โลกต่อไปฉะนั้นเป็นเรื่องสำคัญที่จะปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้โดยถี่ถ้วน
หน้า 460 บทที่ 41 ใหญ่ยิ่งกว่าหมดคือความรัก
1. สำหรับการรับเข้าในคณะพลมารีย์ ต้องไม่ถือความแตกต่างกันทางสังคม เชื้อชาติหรือผิวพรรณ ทุกคนต้องผ่านการทดสอบอยู่ประการเดียวคือเป็นผู้เหมาะสมที่จะเป็นสมาชิก คณะพลมารีย์ทำการแพร่ธรรมกับผู้คนโดยตรงก็จริง แต่ที่ได้ผลมากกว่าก็โดยทางอ้อม คือ ต้องการดำเนินชีวิตท่ามกลางประชาคมเสมือนเป็นเชื้อหมักแป้ง ถ้าจะให้ชุมชนทั้งหมดมาอยู่ในความดูแลของกิจการพลมารีย์ คณะพลมารีย์ก็ต้องประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นตัวแทนของชนทุกระดับในชุมชนนั้น
2. ภายในคณะพลมารีย์ ให้มีความชื่อแท้จริง ไม่ใช่กลั่นแกล้งขึ้นมาและความรักกันและกันโดยบริสุทธิ์ใจระหว่างสมาชิก ไม่มีการแตกต่างกันในด้านใด นอกจากการแตกต่างซึ่งอาจเกิดขึ้นจากความก้าวหน้าในจิตตารมณ์และการงานของคณะพลมารีย์เท่านั้น ถ้าจะต้องรักคนต่ำต้อยที่สุดในบรรดาที่พลมารีย์ให้บริการ ก็ยิ่งต้องรักพี่น้องร่วมคณะเดียวกันให้มากกว่านั้นอีก
จิตตารมณ์เลือกที่รักมักที่ชังแสดงให้เห็นชัดว่า ตนไม่ใช่เป็นเพียงสมาชิกที่ไม่ดีบริบูรณ์เท่านั้น แต่ยังขาดจิตตารมณ์ความรัก อันเป็นคุณสมบัติประการแรกของสมาชิกภาพด้วย ความนึกคิดและจิตตารมณ์ทั้งมวลของคณะพลมารีย์ คือ ความรัก ความเห็นอกเห็นใจกันอย่างจริงจัง ซึ่งก่อนจะแผ่รังสีความอบอุ่นออกไปข้างนอก จักต้องลุกโชน ร้อนแรงอยู่ในวงสมาชิกด้วยกันก่อน “ถ้าท่านมีความรักต่อกัน ทุกคนจะรู้ว่า ท่านเป็นศิษย์ของเรา” (ยน 13:35)
ความรักที่ปฏิบัติในหมู่คณะ มิช้าจะปฏิบัติต่อวงกว้างออกไป ความสัมพันธ์ที่เชื่อมสมาชิกภาพไว้ด้วยกัน ก็จะส่งผลออกไปในหมู่มนุษย์ภายนอกด้วย
หน้า 461 บทที่ 41 ใหญ่ยิ่งกว่าหมดคือความรัก
3. ท่าทีต่อองค์กรอื่น ซึ่งมีวัตถุประสงค์สอดคล้องกับภารกิจของพระศาสนจักร ก็ควรเป็นท่าทีที่แสดงว่า คณะพลมารีย์พร้อมที่จะให้ความร่วมมือและช่วยเหลือเท่าที่จะทำได้ ไม่ใช่ว่าคาทอลิกทุกคนจะต้องมาสมัครเป็นสมาชิกพลมารีย์ เพราะข้อเรียกร้องของคณะไม่ใช่ถือง่ายนัก อย่างไรก็ดีเราควรสนับสนุนให้ทุกคนมีส่วนร่วมในงานของพระศาสนจักร ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง พลมารีย์สามารถผลักดันเรื่องนี้ขณะออกแพร่ธรรม และขณะติดต่อกับแต่ละบุคคล กระนั้นก็ดี พึงสังเกตอยู่ข้อหนึ่ง คือ พลมารีย์จะให้ความร่วมมือกับองค์กรอื่น อย่างไรก็ตาม ขออย่าให้เป็นการเพิ่มภาระจนกระทั่งทำให้งานแพร่ธรรมของตนเองได้รับความเสียหาย เรายังต้องใช้วิจารณญาณว่าจะให้ความช่วยเหลืออะไรแก่ใครและมากน้อยแค่ไหน ถ้าอยากทราบอะไรเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ เชิญพลิกไปอ่านหัวข้อที่ว่าด้วย “การควบคุมงานโดยเปรสิเดียม” (บทที่ 39 ข้อ 6) และ “ต้องรักษาลักษณะแนบเนียนภายในของงานพลมารีย์” (บทที่ 39 ข้อ 8)
4. ท่าทีต่อพระสงฆ์เจ้าอาวาส ควรแสดงความเคารพรักฉันบุตรต่อบิดาฝ่ายวิญญาณและต่อชุมพาบาล พลมารีย์ควรแบ่งเบาความกังวลของท่านและช่วยท่านด้วยคำภาวนา และถ้าเป็นไปได้ก็ช่วยด้วยแรงงาน เพื่อท่านจะได้แก้ปัญหาของท่านได้ง่ายขึ้น และปฏิบัติหน้าที่ให้สัมฤทธิ์ผลมากกว่า
เนื่องจากพระสงฆ์เจ้าอาวาสได้รับมอบฉันทะจากพระเป็นเจ้า ให้เป็นผู้ประกาศพระธรรมคำสอนและแจกจ่ายพระหรรษทานผ่านทางศีลศักดิ์สิทธิ์พลมารีย์จึงควรสนใจเป็นสื่อให้ชาวบ้านมีการติดต่อกับท่าน ซึ่งเป็นผู้เก็บรักษาพระพรเหล่านั้นไว้ และแนะนำให้ชาวบ้านไปรับศีลอภัยบาปในกรณีที่สายสัมพันธ์กับพระเป็นเจ้ามีอันขาดสะบั้นลง
หน้า 462 บทที่ 41 ใหญ่ยิ่งกว่าหมดคือความรัก
สำหรับรายที่เหินห่างกับพระสงฆ์ จะด้วยเหตุผลที่ถูกต้องหรือไม่ถูกต้องก็ตาม จำเป็นที่พลมารีย์จะต้องเข้าไปเป็นผู้ประสาน
ผู้ป่วยหนักบางรายกว่าจะไปหาแพทย์ได้ก็เป็นเรื่องยากเย็นแสนเข็ญหลายครั้งต้องอาศัยคู่แต่งงาน ครอบครัวหรือเพื่อนสนิทมาเกลี้ยกล่อมกว่าจะยอมได้
เมื่อสุขภาพฝ้ายวิญญาณอยู่ในอันตราย ส่วนมากขึ้นอยู่กับคนที่อยู่ใกล้ชิดจะมีเมตตาจิตแบบไหน
พลมารีย์ที่ได้รับการอบรมจะช่วยเป็นคนกลางระหว่างพระสงฆ์กับวิญญาณนั้น ๆ ให้ดำเนินการไปอย่างละมุนละม่อม นี่คือเมตตาจิตในรูปแบบที่เลอเลิศ พลมารีย์ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของพระศรีชุมพาบาล ผู้ทรงเชื้อเชิญพวกเขา โดยทางศีลล้างบาป ให้มาร่วมทำงานกับพระองค์
“แม้ข้าพเจ้าพูดภาษาของมนุษย์และของทูตสวรรค์ได้ ถ้าไม่มีความรักข้าพเจ้าก็เป็นแต่เพียงฉาบหรือสิ่งที่ส่งเสียงอึกทึก แม้ข้าพเจ้าจะประกาศพระวาจา เข้าใจธรรมล้ำลึกทุกข้อและมีความรู้ทุกอย่าง หรือมีความเชื่อพอที่จะเคลื่อนภูเขาได้ ถ้าไม่มีความรักข้าพเจ้าก็ไม่มีความสำคัญแต่อย่างใด แม้ข้าพเจ้าจะแจกจ่ายทรัพย์สินทั้งปวงให้แก่คนยากจน หรือยมมอบตนให้นำไปเผาไฟ ถ้าไม่มีความรักข้าพเจ้าก็มิได้รับประโยชน์ใดความรักย่อมอดทน มีใจเอื้อเนื้อ ไม่อิจฉา ไม่โอ้อวดตนเอง ไม่จองหอง ไม่หยาบคายไม่เห็นแก่ตัว ความรักไม่ฉุนเฉียว ไม่จดจำความผิดที่ได้รับ ไม่ยินดีในความชั่ว แต่ร่วมยินดีในความถูกต้อง ความรักให้อภัยทุกอย่าง เชื่อทุกอย่าง หวังทุกอย่าง อดทนทุกอย่างความรักไม่มีสิ้นสุด แม้การประกาศพระวาจาจะถูกยกเลิก แม้การพูดภาษาที่ไม่มีใครเข้าใจจะยุติ แม้ความรู้จะหมดสิ้น” (1 คร 13:1-8)
หน้า zzz ภาดผนวก 1 พระสมณสาส์นและพระดำรัสต่างๆ ของสมเด็จพระสันตะปาปา